31 มกราคม 2552

โปรตีนนั้นสำคัญฉไน

โปรตีน...นั้นสำคัญไฉน


โปรตีนกลายเป็นสารอาหารที่มีประชากรขาดมากที่สุด ตัวหนึ่งก่อให้เกิดปัญหาทุพโภชนาการขาดโปรตีนและพลังงานที่เรียกว่ากวาร์ชิ โอกอร์ การขาดโปรตีนส่งผลให้ร่างกายไม่เจริญเติบโต เสียมวลกล้ามเนื้อ ภูมิต้านทานโรคลดลง ระบบหัวใจและปอดมีปัญหา หากขาดโปรตีนเรื้อรังจะส่งผลให้เสียชีวิตได้



โปรตีน เป็นสาอาหารสำคัญที่ผู้คนมักจะลืมนึกถึง เพราะเข้าใจว่าร่างกายต้องการโปรตีนเพียงหนึ่งกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่ง กิโลกรัมต่อวันเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้ว ร่างกายต้องการโปรตีนในปริมาณน้อยกว่าคาร์โบไฮเดรตและไขมัน บริโภคน้อยเกินไปก็เกิดปัญหา บริโภคมากเกินไปก็ไม่ดีเพราะโปรตีนไม่สะสมในร่างกาย แม้โปรตีนจะสลายเป็นพลังงานได้ 4 กิโลแคลอรี/กรัม หรือให้พลังงานเท่าๆ กับคาร์โบไฮเดรต แต่ปรากฏว่าในภาวะปกติร่างกายกลับไม่ยอมใช้โปรตีนสร้างพลังงานแต่ชอบที่จะ สงวนไว้มากกว่า



โปรตีนกับโรคเรื้อรัง

แต่ เดิมเคยมีรายงานว่าโปรตีนบางชนิดเช่น โปรตีนจากนมวัวอาจก่อปัญหาให้เกิดเบาหวานในเด็ก แต่ผลของการติดตามศึกษาในปัจจุบันยังไม่สามารถยืนยันในประเด็นนี้ได้ ในกรณีของโรคมะเร็ง พบว่าคนที่บริโภคโปรตีนต่ำหรือมากเกินไปอาจเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง

มีรายงานวิจัยที่น่าสนใจอย่างเช่น รายงาน the Nurses’ Health Study ซึ่งทำการศึกษาประชากรกลุ่มใหญ่ที่ทำงานเป็นพยาบาลนับหมื่นคน ใช้เวลาศึกษาต่อเนื่องเป็นเวลานานถึง 14 ปี พบว่าผู้ที่บริโภคโปรตีนในปริมาณที่เกินปริมาณความต้องการของร่างกายแต่ไม่ มากจนเกินไปนักคือเฉลี่ย 110 กรัม/วัน เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดน้อยกว่าคนที่บริโภคโปรตีนแค่ 68 กรัม/วัน ข้อมูลนี้เองที่ทำให้นักวิชาการเริ่มให้ความสนใจต่อการบริโภคโปรตีนเพื่อ ป้องกันโรคมากขึ้น



โปรตีนกับการลดน้ำหนัก

ปัจจุบัน โรคอ้วนกลายเป็นปัญหาใหญ่ของโลก นักโภชนาการมักแนะนำให้คนอ้วนลดการบริโภคไขมันเนื่องจากพลังงานสูงกว่าสาร อาหารอื่นๆ อย่างไรก็ตามวิธีลดความอ้วนที่ผู้คนให้ความสนใจมากวิธีหนึ่งคือการบริโภค อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ ซึ่งสามารถลดน้ำหนักได้รวดเร็ว แม้ในระยะยาวจะให้ผลไม่ต่างจากวิธีบริโภคอาหารไขมันต่ำก็ตาม วิธีการเช่นนี้ส่งผลให้ความนิยมบริโภคไขมันและโปรตีนสูงขึ้น

มีรายงานวิจัยที่สนับสนุนอาหารโปรตีนสูง-คาร์โบไฮเดรตต่ำว่าให้ผลดีกว่า อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ-โปรตีนสูง-ไขมันสูง ข้อมูลจากวิทยาลัยแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด อธิบายว่าเหตุที่อาหารโปรตีนสูง (แต่ไม่สูงมากจนเกินไป) ช่วยลดน้ำหนักได้เนื่องจากอาหารโปรตีนสูงอยู่ในทางเดินอาหารได้นานโดยใช้ เวลาย่อยนานกว่าคาร์โบไฮเดรต

การที่อาหารอยู่ในทางเดินอาหารเป็นเวลานานส่งผลให้คนเราอิ่มได้นานเมื่ออิ่ม นานทั้งยังใช้พลังงานในการย่อยมากกว่า ย่อมทำให้พลังงานโดยรวมที่ร่างกายได้รับในหนึ่งวันลดน้อยลง ผลที่ตามมาคือน้ำหนักตัวลดลง สิ่งที่ควรระวังก็คือ ความสนใจเฉพาะสัดส่วนของโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตในอาหาร หากมีมากเกินไปอาจทำให้ขาดความใส่ใจต่อสารอาหารกลุ่มอื่น อย่างเช่น วิตามิน เกลือแร่และสารไฟโตนิวเทรียนท์ที่มีมากในผักผลไม้ได้ ก่อให้เกิดการขาดสารอาหารอื่นๆ ตามมา



โปรตีนจากถั่วเหลือง

ปัจจุบัน ถั่วเหลืองได้รับความสนใจกันมากเนื่องจากเป็นพืชที่ให้โปรตีนสูง แม้จะเป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากกรดอมิโนที่จำเป็นบางตัวในโปรตีนจาก ถั่วเหลืองมีปริมาณน้อยกว่าในเนื้อสัตว์ แต่ข้อด้อยในส่วนนี้แก้ไขได้ด้วยการบริโภคถั่วเหลืองร่วมกับพืชบางชนิด เช่น งา ธัญพืช หรือด้วยการเสริมโปรตีนจากนมหรือเนื้อสัตว์บางส่วน

องค์การ อาหารและยาของสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้กล่าวอ้างว่าโปรตีนจากถั่วเหลืองอาจลด ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ เนื่องจากโปรตีนจากถั่วเหลืองช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดแอลดีแอลหรือไขมันเลวใน เลือด ในส่วนของการป้องกันมะเร็งชนิดต่างๆ แม้จะมีการกล่าวถึงประโยชน์ของโปรตีนจากถั่วเหลืองทางด้านนี้อยู่บ้างแต่ยัง ไม่มีข้อมูลวิจัยใดๆ ที่ยืนยันได้เด่นชัดนัก



ข้อแนะนำการบริโภคโปรตีน

นักโภชนาการแนะนำให้บริโภคโปรตีนจากหลายแหล่ง เป็นต้นว่าจากทั้งพืชหลากหลายชนิด เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเมล็ดแห้ง งา และ ธัญพืชขัดสีต่ำ และจากสัตว์ เช่น ปลา และสัตว์ปีก ในกรณีการบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์บกให้ระวังปัญหาจากไขมันสัตว์ ไว้บ้าง ที่สำคัญคือ ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนจากพืชหรือสัตว์ ควรรับประทานให้ได้ปริมาณตามสัดส่วนความต้องการของร่างกายแต่ละคน การรับประทานมากจนเกินไปอาจส่งผลเสียต่อมวลกระดูกทำให้เกินปัญหากระดูกโปร่ง บางได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความยอดนิยม (ล่าสุด)

บทความยอดนิยม (1 ปีย้อนหลัง)