26 กันยายน 2552

กฎของเมล็ดพันธุ์ (The Apple Tree )

กฎของเมล็ดพันธุ์ (The Apple Tree )

Take a good look at an apple tree.
มองดูต้นแอ๊บเปิ้ลต้นหนึ่งให้ดี

There might be five hundred apples on the tree, each with ten seeds. That’s a lot of seeds!
มันอาจจะมีผลแอ๊บเปิ้ลอยู่ 500 ผล แต่ละผล มีเมล็ดพันธุ์อยู่ 10 เมล็ด มันจึงเมล็ดพันธุ์จำนวนมากมาย

We might ask, “Why would you need so many seeds to grow just a few more trees?”
เราอาจจะถามว่า “ทำไมคุณถึงต้องใช้เมล็ดพันธุ์มากมายเพื่อที่จะปลูกต้นแอ๊บเปิ้ลเพียงไม่กี่ต้น

Nature has something to teach us here. It’s telling us: “Most seeds never grow.
ธรรมชาติมักจะบอกอะไรเราบางอย่าง.. มันกำลังบอกเราว่า “มีเมล็ดพันธุ์จำนวนมาก ไม่ได้เจริญงอกงาม”

So if you really want to make something happen, you had better try more than once.”
ฉะนั้น ถ้าคุณปรารถนาจะให้บางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น คุณน่าจะลองทำสิ่งนั้นมากกว่าแค่ 1 ครั้ง

This might mean: นี่อาจจะหมายถึง
You’ll attend twenty interviews to get one job.
คุณอาจจะต้องสอบสัมภาษณ์ถึง 20 ครั้งเพื่อจะให้ได้งานสักงานหนึ่ง

You’ll interview forty people to find one good employee.
คุณอาจจะต้องสัมภาษณ์คน 40 คนเพื่อที่จะได้ลูกจ้างดี ๆ สักคน

You’ll talk to fifty people to sell one house, car, vacuum cleanner, insurance policy, idea......
คุณอาจจะต้องพูดกับคน 50 คนเพื่อจะได้ขายบ้านหนึ่งหลัง, รถยนต์, เครื่องดูดฝุ่น, กรมธรรม์ประกัน หรือไอเดีย

And you might meet a hundred acquaintances to find one special friend.
และคุณอาจจะได้พบปะคนเป็นร้อยเป็นร้อยเพื่อที่จะเจอเพื่อนดี ๆ สักคน

When we understand the “Law of the Seed”, we don’t! get so disappointed.
เมื่อเราเข้าใจ "กฎของเมล็ดพันธุ์" เราก็จะไม่ต้องมาคอยผิดหวัง

We stop feeling like victims. Laws of nature are not things to take personally. We just need to understand them - and work with them.
เราจะไม่รู้สึกว่าเราเป็นเหยื่อ กฎของธรรมชาติ ไม่ใช่สิ่งที่จะเอามาใช้ได้เองตรงๆ เราเพียงแค่ต้อง เข้าใจและลองค่อย ๆ ปฏิบัติดู

IN A NUTSHELL สั้น ๆ ง่าย ๆ ก็คือ
Successful people fail more often. They plant more seeds.
ผู้คนที่ประสบความสำเร็จก็ล้มเหลวได้บ่อย แต่พวกเค้าก็ใช้เมล็ดพันธุ์มากกว่า (ถึงจะประสบความสำเร็จ)

When Things Are Beyond Your Control here’s a recipe for permanent misery….......
เวลาอะไร ๆ ไม่ได้เป็นอย่างที่คิด… สูตรสำเร็จของคนที่ไร้ซึ่งความสุขก็คือ

a) Decide how you think the world SHOULD be.
1) ตัดสินว่า โลกมันควรจะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้
b) Make rules for how everyone SHOULD behave.
2) ตั้งกฎเกณฑ์ว่าผู้คนควรจะทำตัวยังไง

Then, when the world doesn’t obey your rules, get angry! That’s what miserable people do!
และ.. เมื่ออะไร ๆ ไม่เป็นไปตามกฎของคุณ… ก็โกรธซะ !! นั่นแหละ คือสิ่งที่คนไร้ความสุขเค้าทำกัน

Let’s say you expect that: เอาเป็นว่า ถ้าคุณคาดหวังว่า
Friends SHOULD return favours. เพื่อน ควรจะตอบแทนอะไรคุณบ้าง
People SHOULD appreciate you. ผู้คนควรจะชื่นชมคุณ
Planes SHOULD arrive on time. : เครื่องบิน น่าจะลงตรงเวลา
Everyone SHOULD be honest. : ทุก ๆ คนควรจะซื่อสัตย์
Your husband SHOULD remember your birthday. : สามี (แฟน) ควรจะจำวันเกิดคุณได้

These expectations may sound reasonable.
ความคิดพวกนี้ ฟังดูเหมือนมีเหตุผล

But often, these things won’t happen! So you end up frustrated and disappointed.
แต่บ่อยครั้ง สิ่งพวกนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้น และ มันก็จบลงที่.. คุณรู้สึกรำคาญใจและผิดหวัง

There’s a better strategy. Have less demands. Instead, have preferences!
มันมีหลักเกณฑ์ที่ดีกว่านี้ ลดความต้องการให้น้อยลง แล้วเปลี่ยนเป็นความชอบแทน

For things that are beyond your control, tell yourself:
สำหรับสิ่งต่าง ๆ ที่เกินคาด ก็บอกตัวเองว่า

”I WOULD PREFER AN “A”, BUT IF “B” HAPPENS, IT’S OK TOO!”
เราอยากจะให้เป็น เอ มากกว่า แต่ถ้าเป็น บี … ก็โอเค ได้เหมือนกัน

This is really a game that you play in your head. It is a shift in attitude, and it gives you more peace of mind ...
มันเป็นแค่เกมของความคิดในหัว คือเปลี่ยนอุดมการณ์ มันจะทำให้จิตใจคุณสุขสงบขึ้น

You prefer that people are polite ... but when they are rude,
it doesn’t ruin your day. You prefer sunshine ... but rain is ok!
คุณอยากให้ผู้คนสุภาพ แต่ถ้าเค้าเกิดหยาบคายขึ้นมา.. มันก็ไม่ได้บ่อนทำลายวันของคุณ
คุณอาจจะอยากให้ท้องฟ้าสดใส แต่ถ้าฝนเกิดตก.. ก็โอเค

To become happier, we either need to : ถ้าอยากจะมีความสุขมากขึ้น เราก็เลือกที่
a) change the world, or : เปลี่ยนแปลงโลกทั้งใบ หรือ
b) change our thinking. It is easier to change our thinking! : เปลี่ยนแปลงความ คิดเราเอง

~เปลี่ยนความคิดของเราเอง ง่ายกว่านะ ~

IN A NUTSHELL สั้น ๆ ง่าย ๆ ก็คือ

It’s not what happens to you that determines your happiness.
สิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณ ไม่ใช่สิ่งที่จะกำหนดความสุขของคุณ

It’s how you think about what happens to you.
แต่มันเป็นความคิดของคุณเองต่างหาก ความคิดต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณ

ที่มา : Chitkhanty Loy


ชีวิตพอเพียงของมหาเศรษฐีอันดับสองของโลก Warren Buffet วอร์เรน บัพเฟตต์

ชีวิตพอเพียงของมหาเศรษฐีอันดับสองของโลก Warren Buffet วอร์เรน บัพเฟตต์
แปลโดย Wilai Trakulsin

มี รายการสัมภาษณ์หนึ่งชั่วโมงของสถานีโทรทัศน์ CNBC สัมภาษณ์ วอร์เรน บัพเฟตต์ มหาเศรษฐีอันดับสองของโลก ( รองจากบิล เกตส์) ซึ่งบริจาคเงินให้การกุศล 31,000 ล้านดอลล่าร์ ต่อไปนี้คือแง่มุมบางส่วนที่น่าสนใจยิ่งจากชีวิตของเขา:

1. เขาเริ่มซื้อหุ้นครั้งแรกเมื่ออายุ 11 ขวบ และปัจจุบันบอกว่ารู้สึกเสียใจที่เริ่มช้าไป!

2. เขาซื้อไร่เล็กๆ เมื่ออายุ 14 โดยใช้เงินเก็บจากการส่งหนังสือพิมพ์

3. เขายังอาศัยอยู่ในบ้านเล็กหลังเดิมขนาด 3 ห้องนอน กลางเมืองโอมาฮา ที่ซื้อไว้หลังแต่งงานเมื่อ 50 ปีก่อน เขาบอกว่ามีทุกสิ่งที่ต้องการในบ้านหลังนี้ บ้านเขาไม่มี รั้ว หรือกำแพงล้อม

4. เขาขับรถไปไหนมาไหนต้วยตนเอง ไม่มีคนขับรถหรือคนคุ้มกัน

5. เขาไม่เคยเดินทางด้วยเครื่องบินส่วนตัว แม้จะเป็นเจ้าของบริษัทขายเครื่องบินส่วนตัวที่ใหญ่ที่สุดในโลก

6. บริษัท เบิร์กไช แฮทะเวย์ ของเขามีบริษัทในเครือ 63 บริษัท เขาเขียนจดหมายถึงซีอีโอของบริษัทเหล่านี้เพียงปีละฉบับเดียว เพื่อให้เป้าหมายประจำปี เขาไม่เคยนัดประชุมหรือโทรคุยกับซีอีโอเหล่านี้เป็นประจำ

7. เขาให้กฎแก่ ซีอีโอ เพียงสองข้อ
กฎข้อ 1 อย่าทำให้เงินของผู้ถือหุ้นเสียหาย
กฎข้อ 2 อย่าลืมกฎข้อ 1

8. เขาไม่สมาคมกับพวกไฮโซ การพักผ่อนเมื่อกลับบ้าน คือทำข้าวโพดคั่วกินและดูโทรทัศน์

9. บิล เกตส์ คนที่รวยที่สุดในโลก เพิ่งพบเขาเป็นครั้งแรกเมื่อห้าปีก่อน บิล เกตส์คิดว่าตนเองไม่มีอะไรเหมือนวอร์เรน บัพเฟตต์เลย จึงให้เวลานัดไว้เพียงครึ่งชั่วโมง แต่เมื่อบิล เกดส์ได้พบบัฟเฟตต์จริงๆ ปรากฏว่าคุยกันนานถึงสิบชั่วโมง และบิล เกตส์กลายเป็นผู้มีศรัทธาในตัววอร์เรน บัพเฟตต์

10. วอร์เรน บัพเฟตต์ ไม่ใช้มือถือ และไม่มีคอมพิวเตอร์บนโต๊ะทำงาน

11. เขาแนะนำเยาวชนคนหนุ่มสาวว่า: จงหลีกห่างจากบัตรเครดิตและลงทุนในตัวคุณเอง

ที่สุดของชีวิต คือ มีปัจจัย ๔ อย่างเพียงพอนั่นเอง

๑. มหาเศรษฐีหรือยาจก กินข้าวแล้วก็อิ่ม 1 มื้อ เท่ากัน

๒. มหาเศรษฐีหรือยาจก มีเสื้อผ้ากี่ชุด ก็ใส่ได้ทีละชุด เท่ากัน

๓. มหาเศรษฐีหรือยาจก มีบ้านหลังใหญ่แค่ไหน พื้นที่ที่ใช้จริงๆ ก็เหมือนกันคือ ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัว เหมือนกัน

๔. มหาเศรษฐีหรือยาจก จะมียารักษาโรคดีแค่ไหน ยื้อชีวิตไปได้นานเพียงไร สุดท้ายก็ต้องตาย เหมือนกัน

มองทะลุวัตถุนิยม และเห็นความหมายที่แท้จริงของชีวิต

"When life is giving you a hard time, try to endure and live through it.
You must never run away from a problem.
Convince yourself that you will survive and get to the other side."

"You can fool all the people some of the time, and some of the people all the time,
but you cannot fool all the people all the time."



from http://www.imeem.com/people/nAQyjWW/blogs/2009/03/28/QlXn3FV2/warren-buffet


Mr.Market (Benjamin Graham)


Mr.Market

อาทิตย์ที่แล้วคุณมนตรีได้กล่าวถึง “นายตลาด” หรือ Mr.Market ไปคร่าวๆ บทความคราวนี้เรามาดูกันว่า ”นายตลาด” มีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
“นายตลาด” หรือ Mr.Market เป็นคำที่อาจารย์เบนจามิน เกรแฮม บิดาแห่งการลงทุนแบบเน้นคุณค่าได้บัญญัติขึ้นมาในหนังสือนักลงทุนผู้ชาญฉลาด (Intelligent Investor) ที่เขียนขึ้นเมื่อกว่าห้าสิบปีมาแล้ว

ในหนังสือคลาสสิกเล่มนี้ อ.เกรแฮม เขียนเอาไว้ในบทที่เกี่ยวกับความผันผวนของตลาดไว้ว่า “ลองสมมติว่าคุณเป็นเจ้าของหุ้นในบริษัทส่วนตัวบริษัท และคุณมีหุ้นส่วนคนหนึ่งชื่อ “นายตลาด” ทุกๆ วันเขาจะมาเสนอซื้อหรือเสนอขายหุ้นให้กับคุณ
บางครั้งความคิดของเขาเกี่ยวกับราคาหุ้นที่เขาบอกมานั้นก็ดูมีเหตุมีผล แต่ในบางครั้ง ราคาหุ้นที่เขาเสนอมาดูเหมือนจะเป็นราคาที่ดูโง่เขลาในสายตาของคุณ
นักลงทุนที่แท้จริงจะสามารถหาประโยชน์จากราคาซื้อขายหุ้นรายวันของนายตลาด หรืออาจจะปล่อยไว้เฉยๆ ก็ได้ แล้วแต่ความเข้าใจและวิจารณญาณของตนเอง
โดยทั่วไปแล้ว ความผันผวนของราคาหุ้นมีความหมายเพียงอย่างเดียวสำหรับนักลงทุนที่แท้จริง นั่นก็คือเป็นโอกาสที่จะซื้อหุ้นเมื่อราคาลดลง และเป็นโอกาสในการขายหุ้นเมื่อราคาเพิ่มขึ้นอย่างมาก
โดยส่วนใหญ่แล้ว นักลงทุนจะทำผลตอบแทนได้ดีขึ้น ถ้าเขาเลิกสนใจตลาดหุ้น และหันไปให้ความสนใจกับเงินปันผลและผลประกอบการของบริษัทมากกว่า”
นักลงทุนควรมองตลาดหุ้นเหมือน ”นายตลาด” ผู้ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ ราคาที่เขาเสนอซื้อหรือเสนอขายในตลาดหุ้นทุกวันนั้น จะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตามแรงกรรมของความโลภและความกลัว วันไหนที่ ”นายตลาด” อารมณ์ดีก็จะมาให้ราคาหุ้นในราคาที่สูง วันไหนที่เขาอารมณ์ไม่ดี เขาก็จะเทขายหุ้นอย่างกับไม่มีวันพรุ่งนี้
ดังนั้น นักลงทุนสามารถหาประโยชน์จากนายตลาดได้ ไม่ใช่ให้นายตลาดมาชี้นำเรา
ถ้ามาดู ”นายตลาด” ให้ใกล้ๆ ก็จะพบว่า นายตลาดมักจะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
หนึ่ง อารมณ์แปรปวน
“นายตลาด” มักจะมีอารมณ์ไม่ค่อยคงที่ สาเหตุอาจจะเนื่องมาจากเป็นคนไม่อยู่กับร่องกับรอย ส่วนใหญ่มักจะมีอารมณ์ฉุนเฉียว เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย แปรเปลี่ยนไปตามอารมณ์ แต่ถ้าวันไหนอารมณ์ดีๆ ก็จะมาให้ราคาหุ้นสูงๆ ราวกับว่ากลัวจะไม่มีของให้ซื้อ
ถ้าสังเกตดูตลาดหุ้นจะพบกับความแปรปรวนของ”นายตลาด”ได้เป็นอย่างดี บางวันตลาดก็ผันผวนไปมา บางวันดัชนีก็ลดลงทะลุแนวต้านไปเฉยๆ บางวันก็พุ่งขึ้นเหมือนกระดี่ได้น้ำ
ใครอยู่ใกล้ ”นายตลาด” บ่อยๆ จะเริ่มเคยชินและมีนิสัยเหมือนนายตลาดเข้าไปทุกที สุดท้ายก็จะกลายเป็นพวกของนายตลาดเสียอีก
วิธีสังเกตง่ายๆ ว่า ใครเป็นสาวกของ ”นายตลาด” บ้างก็สังเกตได้ง่ายๆ คือ ถ้าวันไหนตลาดหุ้นดีก็จะอารมณ์ดีเป็นพิเศษ
แต่ถ้าวันไหนตลาดหุ้นตก จะหน้านิ่วคิ้วขมวด ไม่อยากให้ใครเข้าใกล้ ใครพูดจาไม่เข้าหูอาจถูกตะเพิดออกมาได้
ใครมีอาการดังกล่าวแสดงว่าถูก”นายตลาด”ชักจูงไปเรียบร้อยแล้ว
สอง ไม่สนใจในมูลค่า
สิ่งสำคัญที่สุดในความเห็นของนายตลาดก็คือ “ราคาหุ้น” ดังนั้นถ้าวันไหน นายตลาดอารมณ์ดีก็จะมาให้ราคาหุ้นในราคาสูง แต่ถ้าวันไหนอารมณ์ไม่ดีก็จะขายหุ้นให้ในราคาถูกๆ
นายตลาดไม่ค่อยได้สนใจใน ”มูลค่าหุ้น” มากนัก เพราะนายตลาดมักจะมี ”สายตาสั้น” มองแค่ใกล้ๆ เพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมง ไม่กี่วัน ดังนั้น ”มูลค่า” ของนายตลาดก็คือ “ราคาหุ้น” ที่อยู่บนกระดานนั่นเอง
สาม ตกใจง่าย
คุณสมบัติอีกประการหนึ่งของนายตลาดก็คือ ขี้ตกใจ เป็นคนขวัญอ่อน เห็นอะไรก็ตกใจไปหมด ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมันขึ้น ราคาน้ำมันลง จีดีพีเพิ่ม จีดีพีลด เงินเฟ้อ เงินฝืด ฯลฯ เรียกว่า มีข่าวอะไรก็มีผลกระทบกับจิตใจ ”นายตลาด” ทั้งนั้นเลย
สังเกตดูจะพบว่า บางครั้งข่าวที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ค่อยมีสาระเท่าไหร่ นายตลาดก็ยังเอาไปขวัญผวาได้บ่อยๆ ทั้งๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับธุรกิจสักเท่าไหร่เลย
สี่ มีสัญชาตญาณหมู่
“นายตลาด” ไม่ชอบอยู่คนเดียว เรียกว่าเป็นคนชอบเข้าสังคม เพื่อนเฮไปไหนก็จะเฮไปนั่น ดูๆ ไปแล้วบางทีอาจจะเข้าข่ายชอบตามกระแส ไม่ค่อยได้ดูว่าทิศทางจะไปทางไหน จะไปดีไปร้ายไม่รู้ รู้แต่ว่าถ้า ”ขาใหญ่” ไปทางไหน จะตามไปทุกที่ ฝรั่งเขาเรียกกันว่า พวกหนูเลมมิ่ง ที่แห่ตามกันไปเรื่อย สุดท้ายก็ตกทะเลตายกันหมด ถึงแม้จะเห็นว่าเพื่อนกำลังกระโดดน้ำตาย เจ้าพวกเลมมิ่งก็ไม่กลัว เลยกระโดดน้ำตายตามเพื่อนไปด้วย
ทั้งอารมณ์แปรปรวน ตกใจง่าย ทำตามคนหมู่มาก รวมทั้งไม่สนใจในมูลค่าหุ้นล้วนเป็นคุณสมบัติของนายตลาด ดังนั้นหลังจากที่เราได้รู้จักคุณสมบัติของ ”นายตลาด” ไปแล้ว บทความคราวหน้าเรามาดูว่าเราจะหาประโยชน์จาก ”นายตลาด” ได้อย่างไร
หรือถ้าไม่อยากตกอยู่ใต้อำนาจของนายตลาดต้องทำอย่างไรบ้าง

from www.thaivi.com


22 กันยายน 2552

ใครบงการเราอยู่ โดย หนูดี-วนิษา เรซ

ใครบงการเราอยู่ โดย หนูดี-วนิษา เรซ

หนูดี วนิสา เรซ สุขภาพ อาหารเสริม รายได้พิเศษ
อยากอารมณ์ดีกว่านี้ไหม ไม่อยากเครียด ไม่สับสน ไม่วุ่นวาย ไม่มองโลกในแง่ร้าย หรืออยากทำอะไรด้วยความสบายใจมากกว่านี้ไหม แม้สักนิดก็ยังดี

ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำในชีวิต ทุกความคิด ทุกการตัดสินใจ ทุกการกระทำ เราทำไปโดยที่มีสมองเป็นผู้สั่งการทั้งสิ้น แต่หลายครั้งเราคิดว่าเราเป็นคนสั่งการให้สมองทำอะไรต่างๆ เราแน่ใจหรือคะว่าเราเป็น “ คนสั่ง ” แต่เพียงผู้เดียว เราไม่ได้เป็นผู้รับคำสั่งจากสมอง และเป็นฝ่ายถูกบงการโดยสมองของเราเองอยู่ด้วย

เคยอยากอารมณ์ดี กว่านี้ไหมคะ เคยอยากไม่เครียด ไม่สับสน ไม่วุ่นวาย ไม่มองโลกในแง่ร้าย หรือ อยากทำอะไรด้วยความสบายใจมากกว่านี้ไหมคะ แม้สักนิดก็ยังดี

ถ้าเลือกได้ ใครก็อยากอารมณ์ดี ตลอดเวลา เป็นคนน่ารัก น่าอยู่ใกล้ ใครก็อยากทำงานด้วย แต่บ่อยไปที่เราทำไม่ได้ แล้วเราก็มีข้อแก้ตัวว่า เพราะงานมันเครียดนี่นา งานยุ่ง คนนั้นทำตัวแบบนี้ คนนี้พูดกับเราแบบนั้น แล้วจะอารมณ์ดีได้อย่างไร จะไม่โมโหได้อย่างไร

ถ้าเราเป็นฝ่ายสั่งการสมองของเราจริง เราต้องสั่งการได้หมด ตลอดเวลาว่าให้ตัวเองรู้สึกอย่างไร ทำตัวอย่างไร มีความคิดแบบไหน อารมณ์ดีแค่ไหนได้ทุกเมื่อ แต่ในความเป็นจริงแล้ว แทบจะเป็นตรงกันข้ามค่ะ เพราะแม้เราควบคุมสมองได้ แต่เราก็โดนสมองบงการให้ทำสิ่งต่างๆ เสมอโดยที่เราไม่รู้ตัว

ยิ่งได้รู้จักสมอง หนูดีก็ยิ่งได้รับรู้ว่า มนุษย์อย่างพวกเราแม้ถูกสอนว่า “ให้ฝันให้ไกลและไปให้ถึง” หรือ “ทุกอย่างเป็นไปได้ภายใต้ท้องฟ้านี้...หรือแม้กระทั่งบนฟ้าหรือในอวกาศก็ ตาม”

แต่ จริงแล้วพวกเรามีข้อจำกัดเยอะมาก ทั้งข้อจำกัดทางร่างกาย เช่น เราวิ่งได้ไม่เร็วเท่าเสือดาว เราดำน้ำได้ไม่ลึกเท่าฉลาม เราบินไม่ได้เหมือนนก และข้อจำกัดทางสมอง เช่น เราจำข้อมูลต่อเนื่องเป็นชั่วโมงไม่ได้ทั้งหมดถ้าไม่ได้ใช้การบันทึกช่วยด้วย หรือ เราต้องนอนหลับเป็นประจำสมองจึงจะทำงานได้ตามปกติ รวมถึงการบริหารความเครียด ซึ่งเราต้องทำเป็นประจำไม่เช่นนั้นระบบการคิดโดยรวมมีสิทธิล่มได้ง่ายๆ

แม้เรามีข้อจำกัดเยอะ แต่สิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งลบเสมอไป ทั้งหมดเป็นเพียงเงื่อนไขธรรมชาติที่เป็นหน้าที่ของเราต้องบริหารจัดการ ว่าไปแล้วการที่เรามีข้อจำกัดเยอะอาจยิ่งทำให้เราคิดสร้างสรรค์ได้ดีขึ้นไป ใหญ่

ลองสังเกตดูสิคะว่าเวลาเรารู้สึกสบาย ชีวิตไม่ต้องดิ้นรนอะไรบางครั้งเราก็ไม่คิดค้นอะไรใหม่ๆ แต่ถ้ามองไปที่ประเทศทุรกันดาร ประเทศที่อยู่ในภาวะสงคราม หรือ ประเทศที่ประชากรต้องแย่งกันกินแย่งกันใช้ทรัพยากร จะเห็นว่าพวกเขามีความคิดสร้างสรรค์ในการใช้สิ่งของอันจำกัดที่มีอยู่ให้ เกิดประโยชน์สูงสุดจริงๆ

สมองของเราก็เช่นนั้นนะคะ เพราะมีข้อจำกัดเราเลยต้องคิดวิธีการใช้สมองภาย ใต้ข้อจำกัดให้ได้ดีที่สุด เช่น คิดค้นเครื่องมือจดบันทึก เครื่องมือคำนวณ เครื่องมือสื่อสารดีๆ หรือแม้กระทั่งเครื่องบินที่ลดข้อจำกัดทางกายของเราลง

ว่าไปแล้วสมองก้อนนี้ของเราเป็นอวัยวะรุ่นโบราณทีเดียวซึ่งพัฒนาต่อเนื่องมาเป็นหมื่นๆ ปี ในเมื่อสมองก้อนนี้ถูกวิวัฒนาการมาเพื่อให้เรามีชีวิตรอดอยู่ได้ให้นานที่สุด เพราะฉะนั้น บางครั้งสมองสั่ง การอะไรแปลกๆ ก็อย่าได้ตกใจไป เช่น ถ้าใครเคยบ่นว่า “อ้วนจังเลย ยิ่งกินยิ่งอ้วน” ....แต่พูดแบบนี้บ่อยแค่ไหน พอเห็นอาหารอร่อยก็อดไม่ได้สักที นี่เป็นเรื่องปกติของสมองค่ะ

เพราะว่า การกินเป็นทางรอดชีวิตหลักของเรา หากเราไม่มีอาหารกินเมื่อไร ความตายก็มาถึงเมื่อนั้น ดังนั้น สมองของเรามีคำสั่งติดมาแทบจะในดีเอ็นเอเลยทีเดียวให้เรา “กินทุกครั้งที่เห็นอาหาร” ไม่ว่าเราจะอยากหรือไม่ก็ตาม เพราะว่าสมองก้อนนี้ไม่รับรู้ว่า ปัจจุบัน แค่เรามีเงินก็เดินออกไปซื้ออาหารได้แล้ว

เขาคิดว่าเราต้องออกไปล่าสัตว์มาและทุกครั้งที่ล่าก็เสี่ยงชีวิตเสมอ การกินให้อิ่มที่สุดทุกครั้งจึงเป็นสิ่งที่สมองบงการให้เราทำ และถ้าเราไม่รู้ตัว เราก็จะตกเป็นทาสสมองของตัวเอง และทำในสิ่งที่เราไม่ได้อยากทำอย่างแท้จริง

แม้กระทั่งเรื่องการคิดลบ คิดในแง่ร้าย ซึ่งหนูดีตั้งชื่อเล่นๆ ว่า “สมองฝ่ายอธรรม” ก็เป็นหนึ่งในกระบวนการคิดที่สมองของ เราทำไปเองโดยธรรมชาติ ไม่ใช่เพราะเขาต้องการทรมานเรา แต่การมองในแง่ลบก็เป็นกลไกการป้องกันตัวตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตบนโลก เท่านั้นเอง

การคิดบวกอย่างเดียวทำให้เรามองโลกในแง่เดียว บางครั้งการมองโลกใน “แง่ดี” เกินไปก็มีต้นทุนสูงจนเราไม่อาจจ่ายไหว เช่น โดนหลอกลวงหรือโดนโกง และการคิดลบก็ไม่ใช่คิดลบเสมอไป เราอาจตั้งชื่อใหม่ก็ได้ว่า การคิดให้รอบทุกด้าน จะได้ไม่พลาดโดยไม่ตั้งใจ

การรู้ทันสมองว่า เขาบงการให้เราคิดอะไรและคิดอย่างไร จึงเป็นหนทางสู่อิสรภาพของเรา เพราะถ้าเราไม่รู้แม้กระทั่งว่า เราถูกใครบงการอยู่ เราก็คงไม่สามารถคิดอย่างเป็นอิสระและเป็นตัวของตัวเองได้ และไม่สามารถใช้สมองก้อนนี้ให้คุ้มค่าได้อย่างแท้จริง

วันนี้ หนูดีเลยอยากขอเชิญชวนให้ทุกคนลองมองกลับไปที่สมองของเราก้อนนี้ ที่เราดูแลเขาและเขาก็ดูแลเรามาตลอดทั้งชีวิตที่ผ่านมา แล้วลองถามตัวเองเล่นๆ ว่า...ใครบงการใครกันแน่คะ

from http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/health/20090921/77589/%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88.html


ไขความลับ สมอง&ลงทุน หนูดี..วนิษา เรซ

ไขความลับ สมอง&ลงทุน หนูดี..วนิษา เรซ

"สมอง" กับ "การลงทุน"มีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น เพราะในสมองของคนเรามีหน่วยควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก ..

เมื่อใดที่สามารถเอาชนะความกลัว หวาดวิตกกังวลได้ การตัดสินใจลงทุนก็จะ "ผิดพลาด" น้อยลง !!

หน้าที่ของสมองของคนเรานั้น จะรับรู้เร็วมากกับเรื่องความอยู่รอด ความเป็นความตาย ตลอดจนความกลัว วิตกกังวล โดยโครงสร้างการทำงานของสมอง ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก คือ สมองส่วนหน้า (หน้าผากถึงกลางกระหม่อม) ,ส่วนกลาง (ตรงกลางระหว่างกกหู 2 ข้าง) และ ส่วนหลัง (บริเวณท้ายทอย)

สมองทั้งสามส่วน จะทำหน้าที่แตกต่างกันไป

สมองส่วนหน้า จะทำหน้าที่ในการควบคุมการตัดสินใจ สมองส่วนท้าย จะทำหน้าที่รับข้อมูลเข้า และสมองส่วนกลาง ทำหน้าที่ควบอารมณ์ความรู้สึกของคนเราทั้งหมด ซึ่งมีส่วนสำคัญมากเพราะหากเกิดความผิดปกติ สมองอีกสองส่วนจะไม่สามารถทำงานได้

ที่สำคัญสมองส่วนกลางนี้ จะมีผลโดยตรงต่อการ "ตัดสินใจ" ลงทุนของคนเรา อีกด้วย

"หนูดี".. วนิษา เรซ เจ้าของหนังสือ "อัจริยะ สร้างสุข" ที่กำลังติดอันดับหนังสือขายดีขณะนี้ และในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพจาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด คนแรกของไทย บอกว่า สมองกับการลงทุน จะมีความเกี่ยวเนื่องกัน เพราะในสมองของเราจะมีหน่วยสมองที่ "ควบคุมอารมณ์" หลายแห่ง เช่น ระบบลิมบิก (Limbic Sytem) จะคอยทำหน้าที่รับรู้และประเมินสถานการณ์ต่างๆ

ซึ่งบริเวณนี้จะเรียกว่า "อะมิกดาลา" (Amygdala) เป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างการประเมินข้อมูลจากประสาทรับรู้ต่างๆ ของสมองบริเวณ "คอร์ติคัล คอร์เท็ก" (Cortical cortex) กับการแสดงออกด้านพฤติกรรมของอารมณ์ต่างๆ

นอกจากนี้ อะมิกดาลา ยังมีส่วนสำคัญในการรับรู้สิ่งที่เป็นอันตราย กระตุ้นให้ร่างกายมีการตื่นตัว พร้อมที่จะตัดสินใจรับมือต่อสิ่งนั้น หรือ เรียกว่า "อะมิกดาลา ไฮแจ็ค"

"อะมิกดาลา เป็นพื้นที่ขนาดเท่าเมล็ดอัลมอนด์ ฝังอยู่บริเวณซีรีบรัม เชื่อมต่อกับไฮโปธารามัส ซึ่งสมองตรงอะมิกดาลา จะทำหน้าที่สำคัญในการควบคุมเหตุผลและอารมณ์ หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินอะมิกดาลาจะทำหน้าที่ตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เพื่อเอาตัวรอดจากความกลัว ด้วยการใช้สัญชาตญาณ ทำให้การตัดสินใจไม่แม่นยำ

ในขณะที่สมองส่วนหน้า จะทำหน้าที่ตัดสินใจอย่างเป็นระบบ มีการวางแผน มีอารมณ์เชิงบวกและมีเวลาในการตัดสินใจที่ยาวกว่า ส่วนสมองส่วนท้าย จะคอยรับข้อมูลเข้า เท่านั้น "

ปกติแล้วระบบอารมณ์จะมี 2 ระบบ คือ อารมณ์ความนึกคิด (Emotion) ที่เป็นอารมณ์พื้นฐานของคนเรา เช่น โกรธ กลัว รังเกียจ แปลกใจ ดีใจ และเสียใจ จะสัมพันธ์กับการทำงานของระบบลิมบิก (limbic system) ในสมองส่วนกลาง ซึ่งเกี่ยวโยงกับการทำงานของสมองส่วนหน้าบริเวณ prefrontal มาเกี่ยวข้องด้วย จึงทำให้คนเรามีลักษณะอารมณ์ความรู้สึกที่หลายหลากมากกว่าในสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนม

ขณะที่อารมณ์ความรู้สึก (Feeling) เช่น อารมณ์หงุดหงิด เป็นต้น

"เรื่องสมองกับการลงทุน จึงเป็นเรื่องการบริหารความเสี่ยง หากเราไม่เข้าใจการลงทุนอย่างดีพอ ก็จะทำให้เกิดความกลัวการขาดทุน ไม่กล้าลงทุน กลัวล้มเหลว กลัวลงทุนผิดพลาด ทุกครั้งที่ตัดสินใจด้วยความกลัว จึงทำให้ผู้ลงทุนใช้สมองไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เราสามารถบริหารความกลัวได้ โดยการหาความรู้และข้อมูลที่เพียงพอ ก็จะทำให้การตัดสินใจลงทุนไม่ผิดพลาด"

เฉกเช่น การลงทุนของหนูดี เธอบอกว่า ปัจจุบันยังไม่กล้าเข้าลงทุนในสิ่งที่มีความเสี่ยง เช่น ตลาดหุ้น แต่อยู่ระหว่างการพยายามเรียนรู้เรื่องการลงทุน และร่วมเข้าฟังสัมมนา ซึ่งทำมาได้ 2 ปีกว่าแล้ว เพื่อทำให้ตัวเองมีความรู้เพียงพอ จากนั้นจึงจะค่อยลงทุนด้วยเงินที่ก้อนใหญ่ขึ้น และกล้าที่จะเสี่ยงมากขึ้น

"ช่วงชีวิตที่ผ่านมา หนูดีไม่เคยบริหารเงินเองเลย เหมือนเด็กไทยทั่วไปที่แม่ให้เงินใช้ และได้ทุนเรียน ขณะที่ "หนูหวาน" น้องสาว ใช้เงินเป็นและบริหารเงินได้เก่งมาก ไม่ว่าจะกินข้าว จ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงต่อสัปดาห์ เรื่องเกี่ยวกับเรื่องเงินทั้งหมด หนูหวานจะเป็นคนจัดการให้หนูดีทุกอย่าง ตรงนี้จึงทำให้หนูดี ไม่รู้จักการบริหารเงินด้วยตัวเอง"

หนูดี เล่าว่า จุดประกายที่ทำให้เธอคิดได้ เมื่อวันที่เรียนจบปริญญาโท เพราะมหวิทยาลัยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน-ลงทุนมาบรรยายและให้แนวทาง การบริหารเงินแก่นักศึกษาจบใหม่ เพื่อจะได้รู้จักการประเมินมูลค่าของตัวเองเมื่อต้องไปสมัครงาน และผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับจากบริษัทผู้ว่าจ้าง เช่น หากคนที่จบจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ควรได้ค่าตัวเท่าไหร่ , Benefit ที่ควรจะได้ มีอะไรบ้าง เช่น ประกันสุขภาพ ประกันฟัน ซึ่งผู้จบใหม่ต้องรู้ว่า ควรจะต่อรองกับผู้ว่าจ้างอย่างไร ตลอดจนการบริหารเงิน หลังจากที่มีรายได้

"เช่น เมื่อได้เงินเดือนมาก้อนแรก ควรจะนำไปทำอะไรบ้าง โดยเขาแนะนำให้นำไปลงทุนเลย เช่น ถ้าเราเริ่มลงทุนตั้งปีแรกที่ทำงาน เมื่อผ่านไป 10ปี จะได้เงิน 10 ล้านบาท เป็นต้น ทำให้เราเห็นภาพการจัดการเงินชัดเจนขึ้น จึงทำให้คิดว่า หนูดีจะใช้เงินอย่างสุรุ่ยสุร่ายไม่ได้อีกต่อไปแล้ว"

สำหรับหลักการบริหารเงินของหนูดีขณะนี้ เมื่อได้เงินก้อนต่อเดือนมา หนูดีจะดูเรื่องค่าใช้จ่ายกับรายได้ โดยเมื่อหาเงินมาได้ต้องให้มากกว่าใช้จ่ายเสมอ และเน้นอยู่แบบพอเพียง ไม่ใช้เงินเกินที่หามาได้

"อย่างรายได้ 1 ปี เท่ากับ 100 หนูดีจะใช้จ่ายไม่เกิน 15-20% ของรายได้ ส่วนที่เหลือ 70-80% จะนำไปลงทุน ไม่ว่าจะเป็นฝากประจำ ลงทุนอสังหา พันธบัตรรัฐบาล แต่ยังไม่ได้ลงทุนในทองคำและหุ้น แต่คิดว่าใน 2-3เดือนข้างหน้านี้ คิดว่าจะเข้าสู่ตลาดหุ้นบ้าง เพราะพอจะเปลี่ยนแปลงการลงทุนในจุดที่รับความเสี่ยงได้มากขึ้น"

แต่ในปัจจุบัน เธอบอกว่า ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัวมาคอยให้คำแนะนำการลงทุนด้วย ซึ่งอาจจะใช้วิธีเปิดพอร์ตกองทุนส่วนบุคคลเป็นของตัวเอง

หนูดี บอกว่า พอร์ตการลงทุนตอนนี้ จะเน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐ หุ้นกู้ เงินฝากประจำ ตั๋วแลกเงิน กองทุนอาร์เอ็มเอฟ แอลทีเอฟ แต่สัดส่วนเงินลงทุนส่วนใหญ่ยังอยู่ในเงินสด

ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ผ่านมา เธอบอกว่า นอนหลับสบายดี แต่ไม่อิ่มนัก เพราะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำมาก ในช่วง 2-3ปีที่ผ่านมา ผลตอบแทนที่ได้ราว 5-6%ต่อปี ถือว่าให้ความสุขมาก ใช้ได้แล้ว

"เหตุที่หนูดีขี้กลัวความเสี่ยง เพราะไม่ได้ถูกฝึกให้ลงทุนมาก่อน จึงมุ่งแต่การเรียนและท่องเที่ยวมากกว่า จึงทำให้เป็นค่อนข้างกลัวความเสี่ยง จึงยังไม่เก่งพอที่จะเข้าลงทุนในอะไรที่เสี่ยงสูง แต่ปัจจุบันหนูดี จะเป็นคนหาข้อมูลการลงทุนด้วยตัวเองทั้งหมด ถ้าหากบริษัทใดมีผลิตภัณฑ์ที่ดี ก็จะเข้าไปหาทันที"

ส่วนเป้าหมายในการลงทุนของหนูดี..

เธอบอกว่า ไม่ได้แค่คิดว่าจะลงทุนแล้วได้เท่าไหร่ เหลือเงินเท่าไหร่ แต่จะต่อยอดไปถึงส่วนอื่นๆ ที่ไม่ใช่เงินด้วย เช่น ให้เงินแม่ ทำมูลนิธิ และนำเงินไปช่วยเหลือลูกอุปถัมถ์ที่ตอนนี้มีอยู่ 8 คน ตลอดจนเป็นเจ้าภาพจัดปฎิบัติธรรมปีละครั้ง ซึ่งก็จะเชิญคนมาพูดและผู้ปฏิบัติธรรมอีก 100 คนมาร่วม โดยปิดรีสอร์ท เลี้ยงอาหาร จากนั้นจะนำเงินทั้งหมดที่ได้ไปถวายวัดทั้งหมด

"เป้าหมายการลงทุนจะมองไปที่การเป็นอิสระทางการเงินและอิสระภาพทางใจ อิสระทางการเงิน ก็คือ ทำงานได้โดยไม่จองจำและเงินที่ได้มาเหลือก็นำมาลงทุนและท่องเที่ยว

อิสระทางใจ คือ มีความสุข ไม่ถูกกดดัน เพราะคนรวยหลายคนมีเงิน แต่ยังมีทุกข์ ไม่มีเหตุผลที่จะมีเงินมากมายไปทำไม หนูดีจึงแบ่งสัดส่วนอิสระทางการเงินและใจออกเป็น 80 ต่อ 20"

หนูดี ย้ำว่า อิสระการเงินจึงไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด แต่อิสระทางการเงินต้องต่อยอดมีอิสระทางใจด้วย

เธอยกคำพูดของนักการเงิน.. "ซูซี่ ออลแมน" ที่บอกว่า "การลงทุนได้เงินไม่ใช่ทั้งหมด แต่ต้องมีอิสระทางใจด้วย ไม่เช่นนั้น ทั้งหมดที่ทำมาจะมีค่าเป็นศูนย์ "

ความลับของสมอง..มีผลต่อการบริหารเงินลงทุนให้เกิดประสิทธิภาพ และสร้างเงินทอง หากเรารู้จักบริหารความเสี่ยงเป็น แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้น ซึ่งเราควรลงทุนมากที่สุด ก็คือ การดูแลสมองของเราให้มี "คุณภาพ" อยู่เสมอๆ ด้วย

from http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/bizweek/20090919/77824/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87&%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99-%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%B5..%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%B2-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%8B.html


บทความยอดนิยม (ล่าสุด)

บทความยอดนิยม (1 ปีย้อนหลัง)