27 ตุลาคม 2552

บัญญัติ 10 ประการ สำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่า ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากรณ์

บัญญัติ 10 ประการ สำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่า ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากรณ์

บัญญัติ 10 ประการ สำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่า มีดังต่อไปนี้

Idea 1. อย่าคิดว่าการซื้อหุ้นคือการซื้อกระดาษเพียงหนึ่งแผ่น
ดร. ท่านบอกในเชิงว่า เราควรคิดว่าเราซื้อหุ้นตัวนี้ เพราะว่าเราอยากเป็นส่วนหนึ่งของกิจการนั้นๆ อยากเติบโตไปพร้อมๆกัน
อย่าไปคิดว่ามันเป็นเพียงหุ้นกระดาษเพียงหนึ่งใบ มันจะทำให้เรามองไม่เห็นคุณค่าของกิจการนั้นๆ เราไม่ได้ลงทุนด้วยใจ

ดร. ท่านเน้นย้ำว่า อย่าไปสนใจราคาที่ผันผวนในระยะสั้น เพราะสุดท้ายแล้ว ราคาจะวิ่งเข้าหา "มูลค่าที่เหมาะสม" ของตัวมัน
นั่นคือ หากบริษัทสามารถทำกำไรได้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง สุดท้ายแล้วปัจจัยหลักที่จะทำให้ราคาเคลื่อนตัวก็คือ "กำไร"


Idea 2. ต้องรู้ว่าบริษัทนั้นประกอบกิจการอะไร ต้องเข้าใจตัวธุรกิจได้ง่าย
ดร. ท่านบอกในเชิงว่า เราควรรู้ว่าบริษัทนี้ดำเนินธุรกิจหลัก ที่นำมาซึ่งรายได้ คืออะไร เช่น หากเรารู้ว่าบริษัทนี้ผลิตขนมปัง
หรือว่าบริษัทนี้ขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ... อย่างนี้คือเราสามารถเข้าใจในตัวกิจการได้
แต่ถ้าเป็นพวกกิจการโรงงานน้ำมัน หรืออุตสาหกรรมปิโตรเคมี ... เรามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวธุรกิจมากน้อยแค่ไหน
ความเสี่ยงในการลงทุนจะแปรผันตรงตาม "ความไม่เข้าใจ" ในตัวธุรกิจนั้นๆ


Idea 3. ต้องลงทุนในกิจการที่ดี ราคาไม่แพง
คำว่า "กิจการที่ดี" อาจจะเป็นคำที่ดูคลุมเคลือ มันไม่ใช่ตัวเลข ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับแต่ละคนในการ "ตีความ"
ว่ากิจการที่ดีเป็นอย่างไร ? ส่วนราคาไม่แพง นั่นก็คือยึกหลักว่า ก่อนตัดสินใจซื้อหุ้น ควรเผื่อค่า MOS ไว้ให้เพียงพอ
เพื่อป้องกันความเสี่ยงหากเกิดสภาวะไม่ปกติ เหมือนเช่นที่ผ่านมา เป็นต้น


Idea 4. ควรมีการกระจายความเสี่ยงของหุ้น แต่อย่ามากจนเกินไป
ดร. ท่านบอกว่า ไม่ควรลงทุนในหุ้นเพียงตัวใดตัวหนึ่ง เพราะเราอาจ "คาดการณ์" ตัวธุรกิจนั้นๆพลาดได้ ความเสี่ยงจะเกิดขึ้นทันที
ท่านแนะนำว่า อย่างน้อยถือไว้สัก 4-5 ตัว จะเป็นการกระจายความเสี่ยงที่สมเหตุสมผล มันจะช่วย balance ความเสี่ยงได้มากขึ้น
อย่าถือจำนวนหุ้นมากเกินไป เพราะเราจะดูแลได้ไม่ทั่วถึง การ focus ต่อหุ้นแต่ละตัวจะทำได้ไม่ดีพอ


Idea 5. ห้ามให้พอร์ทของหุ้นว่างเปล่า
ข้อนี้ต้องฟังกันดีๆ ดร. ท่านบอกในเชิงว่า หากเราตั้งใจไว้แล้วว่าจะลงทุนในหุ้นทั้งหมด 60% จากพอร์ทเงินทั้งหมด
เราก็ต้องมีหุ้นอยู่ในพอร์ทในอัตราส่วน 60% ตลอดเวลา ... ไม่ควรเพิ่ม และ ไม่ควรลดลง ให้มากหรือน้อยไปกว่านี้
60% ของพอร์ทไม่ได้หมายความว่า คุณต้องกอดหุ้นตัวนั้นตลอดไป ห้ามขาย
ดร. ท่านบอกไว้ว่า เราสามารถ "เปลี่ยน" ตัวหุ้นได้ แต่อย่าเปลี่ยน 60% นั้นให้กลายเป็นเงินสด แต่ให้เปลี่ยนเป็นหุ้นตัวอื่นแทน


Idea 6. ถือหุ้นที่ปลอดภัยแม้ว่าเศรษฐกิจจะตกต่ำ
"หุ้นที่ปลอดภัย" เราจะตีความได้อย่างไรดี ?
บริษัทอะไรที่จะได้รับผลกระทบน้อยที่สุด เมื่อยามเศรษฐกิจตกต่ำ ใช่บริษัทที่ผลิตเกี่ยวกับสินค้าอุปโภค บริโภคหรือเปล่า ?
คำตอบของข้อนี้ขึ้นอยู่กับ "มุมมอง" และ "ประสบการณ์" ของแต่ละคนครับ


Idea 7. อย่าซื้อๆ ขายๆ (ซื้อหุ้นไม่ควรหวังค่ากับข่าว แต่ควรหวังค่าบ้าน
ตรงตัวเลยครับ อย่าซื้อๆ ขายๆ ก่อนซื้อควรศึกษาหุ้นให้ดี ทำการบ้านเยอะๆ หากคิดว่าตัดสินใจถูกต้องแล้วก็ซื้อ แล้วถือยาวเลยครับ
" ซื้อหุ้นไม่ควรหวังค่ากับข้าว แต่ควรหวังค่าบ้าน " ทำได้ไหมครับ อิอิ

= =


Idea 8.ผลการดำเนินงานไม่จำเป็นต้องดีขึ้นทุกปี แต่โดยเฉลี่ยควรดีขึ้นเรื่อยๆ
ดร. ท่านบอกว่า ไม่จำเป็นว่าผมประกอบการในไตรมาสต่อไป ต้องมีผลประกอบการที่ดีขึ้นเรื่อยๆ (ไม่ต้อง fix มากขนาดนั้น)
ขอเพียงแค่ผลกำไร "เกาะกลุ่ม" กับในช่วงเวลาที่ผ่านมา บริษัทมีกำไรอยู่ในอัตราการเติบโตที่สม่ำเสมอ
อาจจะไม่เพิ่มขึ้นอย่างหวือหวา แต่ขอให้กำไรไม่ผันผวน สามารถคาดการณ์กำไรในอนาคตได้
โดยวัดจากอดีตที่บริษัทสามารถทำกำไรได้อย่างสม่ำเสมอ เท่านี้ก็ถือว่า โอเคแล้ว


Idea 9. ติดตามผลการดำเนินงานในภาคสนาม (ตลาดจริง) อย่าไปดูราคาหุ้นมาก
ดร. ท่านบอกว่า เราควรหมั่นไปดูการดำเนินงานของบริษัทนั้นจริงๆบ้างว่า ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้างในเรื่องของผลประกอบการ
มันไม่ได้ยากจนเกินไป เช่น หากเราซื้อหุ้นเกี่ยวกับสินค้าบริโภคตัวหนึ่ง หน้าที่ของเราก็ควรจะไปเดินดูตลาดที่ขายสินค้านั้น
ดูว่าขายดีไหม คนซื้อเขามีความเห็นอย่างไร หากเทียบกับสินค้าคู่แข่งแล้ว สินค้าเรามี "จุดเด่น/จุดด้อย" อย่างไร
ต้องมาเปรียบเทียบกัน

ยกเว้นกรณีเป็นบริษัทที่ผลิตสินค้าที่ค่อนข้างไกลตัว (หรือดูยาก) เช่น โรงงานผลิตเหล็กรีดร้อน , ชิ้นส่วน electronic
อย่างนี้ก็ลำบากหน่อยในการติดตามความเคลื่อนไหว


Idea 10. เป้าหมายสูงสุดของการลงทุนคือ การถือหุ้นอยู่ในพอร์ทแล้วติดตามดูการเติบโต ในรูปของเงินปันผลที่ได้รับ
ข้อนี้ผมพึ่งคิดได้เหมือนกัน หลังจากที่ได้ฟัง ดร.ท่านพูด แล้วกลับมานั่งคิด .......... " เออ จริงด้วย(ว่ะ) "
ดร. ท่านบอกว่า จุดสูงสุดของการลงทุนก็คือ การที่คุณถือหุ้นได้อย่างสบายใจ โดยได้รับ "เงินปันผล" เป็นสิ่งตอบแทนในทุกๆปี
ดร. ท่านบอกว่า ถึงแม้ในบางช่วงเวลา ราคาหุ้นอาจจะมีการสวิงตัวบ้าง แต่สิ่งที่นักลงทุนได้รับกลับคืนมาแน่ๆ นั่นคือเงินปันผล

ดร. ท่านยกตัวอย่างให้ฟังว่า
ในปีแรกเราลงทุนด้วยเงินจำนวนก้อนหนึ่ง สิ้นปีผ่านไปได้รับเงินปันผล (สมมติ) 10,000 บาท
ในปีต่อมา (ด้วยจำนวนทุนเท่าเดิม) สิ้นปี เราอาจจะได้เงินปันผลเพิ่มเป็น 15,000 บาท
บางครั้งอาจเพิ่มเป็น 20,000 หรือ 30,000 บาท และนั่นคือสิ่งที่นักลงทุนเน้นคุณค่าทุกคน " ต่างรอคอย "

ดร. ท่านสรุปทิ้งท้ายไว้ว่า มันมีทางเป็นไปได้ที่ เงินปันผลจะให้ผลตอบแทน "เท่ากับ" เงินต้นที่เราได้ลงทุนลงไป
... มันมีทางเป็นไปได้นะครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความยอดนิยม (ล่าสุด)

บทความยอดนิยม (1 ปีย้อนหลัง)