16 พฤศจิกายน 2552

ความฉลาดสำหรับโลกอนาคต ..โดย หนูดี...วนิษา เรซ

ความฉลาดสำหรับโลกอนาคต ..โดย หนูดี...วนิษา เรซ

รลงทุน หาเงิน ออนไลน์ stock money set หนูดี วนิสา เวซ
5 ความฉลาดสำหรับโลกอนาคต
โดย หนูดี...วนิษา เรซ

เคย สงสัยไหมคะว่า คนที่จะอยู่ต่อไปในโลกอย่างดีในโลกยุคหน้า ต้องมีคุณสมบัติ หรือลักษณะอย่างไรบ้าง...และเราจะเตรียมลูกของเราอย่างไรให้เขาดำรงอยู่ได้ ไม่ใช่แค่อยู่รนอดได้นะคะ แต่อยู่ได้อย่างสง่างาม ประสบความสำเร็จในสิ่งที่เขามุ่งหวัง แถมยังมีความสุข และเหลือเวลาพร้อมด้วยทรัพย์สินที่จะช่วยเหลือคนอื่นๆ ได้อีกต่างหาก ...หนูดีว่า นี่คือสิ่งมุ่งหวังของพ่อแม่ทุกๆ คน

แต่เราจะทำอย่างไรดีคะ ที่จะให้เด็กๆ ของเรามีความพร้อมที่จะก้าวไปถึงจุดนั้นได้ ในเวลาที่เราไม่ได้อยู่ดูแลเขาอีกต่อไปแล้ว

คำ ถามนี้ มีคนๆ หนึ่งลองตอบได้น่าสนใจมาก...ท่านอาจารย์คนเก่งของหนูดีเอง ที่ฮาร์วาร์ด ชื่อ ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ เพิ่งเขียนหนังสือเล่มใหม่เอี่ยม ชื่อ Five Mind for the Future ซึ่งท่านเซ็นชื่อหน้าปกและส่งมาอ่านให้หนูดีอ่านเล่นที่บ้าน แทนคำขอบคุณที่หนูดีส่ง ?ผ้าพันคอไหมไทย? ไปให้ท่านสวมหน้าหนาว ...ซึ่งจริงๆ แล้ว ผ้าผืนนั้น เป็นผ้าปูโต๊ะขนาดเล็กและยาวค่ะ หนูดีเห็นท่านพันคอไปแล้วเลยไม่กล้าแก้ความเข้าใจผิดกับท่าน...แต่แอบเอามา เขียนถึงดีกว่าค่ะ แก้คิดถึง

หนังสือเล่มนี้สนุกมาก...อ่านเพลิน เลย เพราะอาจารย์หนูดีชวนคุยว่าในโลกยุคหน้า คนเราต้องเก่งด้านไหนบ้าง ต้องคิดถึงให้ได้แบบไหนบ้างถึงจะอยู่รอดอย่างประสบความสุขความสำเร็จสูงที่ สุดด้วย ถึงแม้ท่านจะเป็นเจ้าของทฤษฎีเรื่องอัจฉริยภาพหลายประการ แต่ท่านไม่ได้พูดถึงอัจฉริยภาพเป็นเรื่องใหญ่เลย

มาดูกันไหมคะว่า มีความฉลาดอะไรบ้างที่เราน่าฝึกลูกๆ (และรวมถึงตัวเราด้วย) ให้เก่งกาจ...แต่ดูแล้ว ให้ยึดหลักกาลามสูตรนะคะ ว่าอย่าเชื่อไปทั้งหมด ในห้าความคิดนี้ อาจจะมีด้านที่หก ที่คนเขียนมองพลาดไปแล้วลืมเขียน อาจจะมีด้านไหนที่ไม่จำเป็น หรืออาจจะไม่น่าจะจำเป็นทั้งห้าด้านเลยก็ได้ค่ะ...การอ่านไป ตั้งคำถามไป เป็นนิสัยที่หนูดีถูกอาจารย์ท่านนี้ล่ะค่ะ ฝึกมาตลอดปีเลยว่า ห้ามเชื่อทฤษฎีไหนง่ายๆ แค่เพราะมันน่าเชื่อ อย่าเชื่อแค่เพราะอาจารย์เราเป็นคนบอก อย่าเชื่อแค่เพราะคนพูดเป็นคนดัง ฯลฯ... เพราะหากเราฝึกคิดแบบนี้ แล้วเห็นช่องโหว่ได้...วันหนึ่งเราเอง ก็อาจเป็นคนคิดค้นทฤษฎีใหม่ๆ มาอุดช่องโหว่นั้นเองก็ได้นะคะ



1. Disciplined Mind สมองคิดเก่งในสาขาที่เราเลือก

ความ คิด ความเก่ง และทักษะแรกนี้จำเป็นมากค่ะ...เมื่อเราเลือกเรียนอะไร เลือกทำอาชีพอะไร เราจำเป็นต้องเก่งและรู้รอบในสาขาวิชาชีพเราให้มากและดีที่สุด เช่น ถ้าเราเลือกเป็นหมอ ก็ให้เป็นหมอที่เก่งมากๆ เลือกเป็นคนขายต้นไม้ ก็ต้องเชี่ยวชาญรู้จักต้นไม้ทุกชนิดทุกพันธุ์ รู้จักการเลี้ยงดู การเพาะ ให้ครบถ้วน เพราะในการที่เราจะเก่งรอบด้านได้ เราต้องเก่งลึกก่อน คือ รู้ให้หมด ในสิ่งที่เป็นของเราอย่างแท้จริง

ดังนั้นตอนเลือกหนแรก ที่นี่ล่ะค่ะที่สำคัญ เพราะนี่คือบ้านหลังแรกของเราเป็นบ้านที่เราต้องดูแลให้ดีที่สุด..และการ เลือกสาขาที่จะเรียนนี้เราก็ต้องย้อนมาดูที่ความชอบหรือความถนัดของเราว่า มันคืออะไร ไม่ต้องไปหาที่ไหนไกลค่ะ บางคนบอกว่า การค้นหาตัวเองเป็นเรื่องยากนั้น มักเป็นคนที่เลือกวิธีผิด คือการวิ่งไปมา ทุกที่เพื่อหาตัวเอง ทั้งๆ ที่ตัวเขาก็อยู่ที่นั่น รอเขาอยู่ตลอดเวลา

ดัง นั้น หน้าที่แรกที่เราต้องฝึกให้ลูกก็คือ การนิ่งและมองให้ดีว่าอัจฉริยภาพที่เรามีติดตัวมาคืออะไร และเราจะพัฒนาเขาต่อไปได้อย่างไร มันอาจจะเป็นด้านดนตรี ภาษา ธรรมชาติ ฯลฯ หรืออาจจะหลายด้านรวมกันก็ได้ค่ะ



2. Synthesizing Mind สมองคิดสังเคราะห์ข้อมูล

นั่น แน่...เก่งด้านเดียวไม่พอแล้วสำหรับโลกยุคหน้าค่ะ เพราะว่าคำว่า ?รู้อะไรกระจ่างแม้อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล? หนูดีต้องขอต่ออีกหน่อยว่า รู้ให้กระจ่างสักสองสามอย่างจะดีกว่าค่ะ สมองของเราไหว สบายอยู่แล้ว...โดยเฉพาะสมองเด็กๆ เพราะเขาชอบเชื่อมโยงข้อมูลเข้าหากัน

ในโลกยุคหน้า คนทำงานส่วนใหญ่จะมีโอกาสเปลี่ยนงานหรือเปลี่ยนอาชีพเฉลี่ยคนละห้าครั้ง เชียวนะคะ เราเรียนจบมาด้านไหน หลายคนก็ไม่ได้ทำงานด้านนั้น หรืองงานหลายอาชีพก็ต้องใช้ความรู้หลายสาขาวิชามารวมกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างหนูดีเลยค่ะ อาชีพหนูดีเป็นสาขาใหม่เรียนว่า Mind, Brain, and Education จะว่าหนูดีเป็นหมอ ก็ไม่ใช่ซะทีเดียว จะวาหนูดีเป็นนักจิตวิทยา ก็ไม่เชิง จะว่าเป็นนักการศึกษา ก็ไม่ใช่ทั้งหมด... และนี้เป็นเทรนด์ที่มาแรงมากค่ะฝนยุคนี้ คือ การเกิดอาชีพใหม่ๆ จากการนำอาชีพดั้งเดิมมาผสมกัน ซึ่งน่าจะเป็นข้อมูลที่พวกเราสะสมกันไว้ในฐานะมนุษยชาตินั้นเยอะมาก การจำกัดตัวเองไว้ในกรอบวิชาเดียว จึงเป็นการจำกัดศักยภาพมนุษย์ ดังนั้น คนเก่งยุคหน้า เลยควรรู้หลายสาขาเพื่ออุดช่องโหว่ของสาขาวิชาเดียว...ในโลกยุคของลูกเรา เราคงได้เห็นอาชีพแปลกๆ ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย ...น่าตื่นเต้นดีนะคะ



3. Creating Mind สมองคิดสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ

รู้ รอบหลายสาขาวิชา... ที่สำคัญที่สุด คือ การคิดค้นสิ่งใหม่ แนวคิดใหม่ๆ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ขึ้นมาได้ค่ะ เพราะการรู้อย่างเดียว...รู้แล้วความเก่งจบลงแค่ที่ตัวเราก็น่าเสียดาย แต่ถ้าหากเราสามารถนำความเก่งนั้น มาสร้างสรรค์อะไรดีๆ ให้โลกได้ คงคุ้มค่าน่าดูค่ะ ...เพราะฉะนั้น หากเราเป็นนักวิทยาศาสตร์ เราอาจคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ให้วงการศิลปะก็ได้ เช่น หนูดีเพิ่งเห็นนักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่ง คิดค้นนำขยะดีๆ มาผลิตเป็นกระเป๋าดีไซน์สวย น่าใช้เชียว... นี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของการคิดไดเยี่ยมสำหรับโลกยุคหน้าค่ะ

เพราะ ถ้าแค่รู้ข้อมูล... เราก็ฝึกลูกหรือลูกศิษย์ให้เป็นได้ก็แค่เพียงผู้บริโภคข้อมูล แต่ข้อมูลจะมีคุณค่ามากกว่าเป็นเพียงแค่สิ่งที่ถูกเสพก็เมื่อเราสามารถเอา สมองของเราเป็นเครื่องแปลและแปรข้อมูลได้ เปลี่ยนเป็นสิ่งใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์แบบที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน



4. Respectful Mind สมองคิดให้เกียรติคน

ฉลาด แล้ว ทักษะเยี่ยมแล้ว... ไม่น่าจะพอแน่ๆ สำหรับโลกยุคหน้า เพราะ การให้เกียรติคนและการถ่อมตัว เป็นนิสัยที่อัจฉริยะทุกคนต้องฝึกให้มีค่ะ... หนูดีเข้าเรียนฮาร์วาร์ดวันแรก สิ่งแรกที่ได้ยินคือปีนี้ขอให้นักเรียนใหม่ทุกคน ฝึกนิสัยให้เป็นคนถ่อมตัว เพราะคนเก่งที่ให้เกียรติใครไม่เป็น... ในที่สุดแล้วไม่มีใครอยากให้เกียรติเขา และผลงานดีๆ ก็จะมีออกมาไม่ได้ เพราะหาเพื่อนเก่งๆ ดีๆ ร่วมทำงานวิจัยด้วยไม่ได้เป็นคำสอนที่มีค่ามาก... เพราะวันหนึ่งที่เราเป็นคนเก่งมาก ก็จะมีคนชมมาก หากเราไม่รู้จักการประมาณใจให้ถ่อมตัวเสมอ เราก็จะเหลิงและลืมไปว่าทุกคนในโลกนี้คืออัจฉริยะทั้งนั้น ทุกคนเก่งทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เขาเก่งด้านไหนเท่านั้นเอง... ว่าไปแล้ว บทเรียนการถ่อมตัวถ่อมใจ เป็นหนึ่งในบทเรียนที่หนูดีถือว่ามีค่าที่สุดจากฮาร์วาร์ดค่ะ



5. Ethical Mind สมองคิด มีคุณธรรม เห็นความเชื่อมโยงถึงการกระทำของเรากับผู้อื่น

คน เก่งทีได้รับการกล่าวถึงอย่างชื่นชมในยุคนี้ ไม่ใช้คนที่แค่ประสบความสำเร็จเรื่องงาน หาเงินได้เยอะเท่านั้นนะคะ แต่คนที่ใครๆ รักและชื่นชม มักเป็นคนเก่งที่คิดถึงสังคมโดยรวมเป็น... บางคนเรียกทักษะนี้ว่า ?คุณธรรม? แต่หนูดีชอบเรียกว่า ?การเห็นว่า พฤติกรรมของเรามีผลกระทบได้ทั้งทางดีลางร้ายกับผู้อื่น?

การคิดแบบ ให้เกียรตินั้น เรามักจะทำกับอื่นอีกคนเดียว แต่การคิดแบบ ?คุณธรรม? จะเป็นการคิดถึงคนเป็นร้อย เป็นหมั่น เป็นล้านเลยทีเดียวว่า การกระทำของเราจะกระทบกับคนอื่นอย่างไร....เช่น หากวันหนึ่ง เราได้เป็นเจ้าของโรงงานน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุดในโลก เราจะทำอย่างไรกับน้ำเสียของโรงงาน หากเราได้เป็นนักการเมือง เราจะทำอะไรกับเงินภาษีปีละเป็นหมื่นเป็นแสนล้าน

คนเก่งแบบนี้ มีตัวอย่างที่ดีคือ คุณบิล เกตส์ ซึ่งรวยอันดับหนึ่งของโลกติดต่อกันหลายผี แต่ทุกวันนี้ ชีวิตของเราเป็นการกุศลและมีเป้าหมายว่า อยากบริจาคเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ของรายได้ ทำเป็นโครงการต่างๆ ที่ทำให้โลกนี้ดีขึ้น... น่าทึ่งมากนะคะ ที่คนๆ หนึ่ง สร้างอาณาจักรมหึมานี้มาจากศูนย์ และวันหนึ่งจะนำเงินจากแหล่งนี้กลับคืนให้โลก

โลกยุคหน้า คงไม่ใช่โลกที่น่าอยู่นัก หากแต่ละคนคิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัว

ใน การเป็นพ่อแม่ที่ดี คงไม่ใช่แค่การสอนให้ลูกเก่งวิชา สอบได้เกรดสี่เท่านั้น แต่เป็นการสอนให้เขาใช้สมองเขาได้เต็มคุณค่า และรู้ว่าจะใช้สมองนั้นไปทำไมทั้งเพื่อตัวเองและเพื่อสังคม... เป็นโจทย์ที่ไม่ง่ายเลยนะคะ แต่หนูดีว่า การเลี้ยงลูกให้ดี เป็นการให้ของขวัญที่ดีที่สุดกับโลกแล้วค่ะ... นี่เป็นคำที่หนูดีได้ยินเสมอจากแม่ของหนูดีว่า หนูดีเป็นของขวัญมีค่าที่สุดที่แม่มอบให้โลก... และหนูดีเชื่อว่า พ่อแม่คนไหนคิดได้แบบนี้ไม่มีทางที่จะเลี้ยงลูกผิดพลาดค่ะ และเด็กคนนั้นจะมีความสุขมากกับความเก่งของเขา



Brain Tips

เทคนิค สนุกๆ อันหนึ่งของการสอนลูกให้ถ่อมตัว คือ การให้เขาลองเรียนอะไรใหม่ๆ ทุกปี โดยอาจจะคงกิจกรรมด้วยเดิมไว้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น หากเขาเรียนบัลเลย์อยู่ก็ให้เรียนต่อเนื่อง แต่ปีนี้อาจให้เพิ่มเรียนศิลปะ ปีหน้าให้ลองเรียนเต้นละติน อีกปีให้ลองเรียนเทควันโด.. เปลี่ยนไปเรื่อยๆ บ้างค่ะ เพราะเด็กๆ จะไดใช้กล้ามเนื้อมัดที่แปลกออกไป ได้ลองก้าว ลองหมุนตัวแบบที่ไม่เคยหมุน... แต่ประโยชน์ที่แท้จริงคือ การที่เขาจะรู้ว่า โลกนี้ยังมีคนเก่งอีกเยอะแยะ มากมายหลายแบบ...และเราไม่ใช่คนเดียวในโลกที่เก่ง...ถ้าทำได้แบบนี้ เขาจะมีคนให้ทึ่งใหม่ๆ ทุกปี ว่า ครูคนนี้ปั้นดินเก่งจัง โอ้โห เพื่อนใหม่คนนี้ หมุนตัวตามจังหวะซัลซ่าได้ตั้งสามรอบ ในขณะที่เขาหมุนแล้วเซทั้งๆ ที่ในห้องบัลเลย์เขาคือ เด็กเก่งที่สุด...ให้เด็กลองด้วยตัวเองแบบนี้ รับรอง ถ่อมตัวอย่างน่ารักและเป็นธรรมชาติแน่นอนค่ะ

from http://www.liveinbangkok.com/forum/index.php?topic=8154.0


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความยอดนิยม (ล่าสุด)

บทความยอดนิยม (1 ปีย้อนหลัง)