Pages

Pages

25 กุมภาพันธ์ 2553

Roe and roa

ROE vs. ROA part 2

ROE(return on equity) หรือ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และ ROA (return on total asset ) หรืออัตราผลตอบแทนต่อเงินลงทุนทั้งหมด เป็นอัตราส่วนทางการเงินอีกสองตัวที่นักลงทุน(รวมทั้งผมด้วย)นำมาใช้ในการคัดกรองเบื้องต้นเพื่อที่จะค้นหาหุ้นที่จะนำมาศึกษาและลงทุนต่อไป และเท่าที่มีประสบการณ์เคยใช้มานั้นถือว่าช่วยกรองหุ้นได้ดีทีเดียวครับ

เนื้อหาในตำราแนววีไอหลายเล่มกล่าวถึงค่า ROE และ ROA ไว้ พอสรุปดังนี้ครับ

***ROE (return on equity or return on shareholders’ equity) อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น คำนวณได้จาก กำไรสุทธิ หารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น

***ROE=net profit/equity เป็นการวัดประสิทธิภาพในการสร้างผลกำไรจากเงินลงทุนที่ผู้ถือหุ้นลงทุนไป ตัวเลขที่ได้คิดเป็นเปอรเซ็นต์ การวิเคราะห์ ROE มีชื่อเสียงที่สุดเห็นจะเป็นการวิเคราะห์ตาม DuPon model ซึ่งวิเคราะห์ลึกลงไปในรายละเอียดถึงส่วนประกอนของ ROE

ROE = return on sale * asset turnover *financial leverage = กำไรสุทธิ/ยอดขาย * ยอดขาย/สินทรัพย์ * สิทรัพย์/ส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ ROE = ROA*financial leverage (เพราะ ROA = Return on sale* Asset turnover) Return on sale(ROS) = net profit/sale กำไรสุทธิ/ยอดขาย จะเป็นตัวชี้ว่ากำไรเป็นเท่าใด สำหรับยอดขายที่เกิดขึ้นแต่ละบาท Asset turnover = sale/asset ยอดขาย/สินทรัพย์ อัตราส่วนนี้จะบ่งบอกว่า จำนวนรายได้ที่บริษัทสามารถทำได้จากแต่ละบาทของสินทรัพย์ที่บริษัทใช้ไป

Financial leverage = asset/equity สินทรัพย์/ส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนนี้ชี้ให้เห็นว่า ทุกๆส่วนของผู้ถือหุ้นหนึ่งบาท บริษัทใช้สินทรัพย์ไปกี่บาท

ROA(return on asset ) = net profit/total asset กำไรสุทธิ/สินทรัพย์ อัตราส่วนนี้จะบ่งชี้ว่าจำนวนกำไรที่ได้เกิดจากการใช้สินทรัพย์แต่ละบาท

จากสูตร ROE = ROA*Financial leverage จะเห็นได้ว่า หากบริษัทที่มีหนี้สินน้อย financial leverage จะมีค่าใกล้เคียง1 ซึ่งจะมีผลให้ค่า ROE กับ ROA มีค่าใกล้เคียงกัน ROE ของบริษัท จะช่วยบอกฐานะการแข่งขัน,กลยุทธ์การดำเนินงานที่บริษัทเลือกใช้ รวมไปถึงความยืดหยุ่นทางการเงินของบริษัทนั้นๆ
หนังสือ The new Buffettology กล่าวไว้ พอสรุปได้ว่า

*** บริษัทที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืนส่วนใหญ่จะมี ROE และ ROA เป็นเปอรเซ็นต์สูง อย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ สิ่งสำคัญคือต้องต่อเนื่องยาวนานหลายปี เพราะ ความต่อเนื่องยาวนานจะช่วยบ่งชี้ว่าความได้เปรียบแข่งขันนั้นมีความยั่งยืน***

***บริษัทที่แข่งขันกันแต่ในเรื่องราคา(price competitive) มักจะมีค่า ROE และ ROA ต่ำกว่าเฉลี่ย และมีความผันผวนไม่มีความสม่ำเสมอ*** ตัวเลข ROE และ ROA นี้ยิ่งสูง ก็ยิ่งดี

สำหรับตัวเลขค่าเฉลี่ยต้องสูงเท่าใดนั้น ในหนังสือ The new Buffettology นั่นกล่าวอ้างตัวเลขค่าเฉลี่ยของตลาดหุ้นในอเมริกา ว่าตลอด50ปีที่ผ่านมามีค่าประมาณ12% ดังนั้นตัวเลข ROE และ ROA ที่ใช้คือมากกว่า12%

***การใช้ ROA ในกลุ่มธนาคาร,บริษัทเงินทุน และธนาคารเพื่อการลงทุน ตัวเลข ROA ที่ใช้ หากเฉลี่ยสูงกว่า1ถือว่าดีแล้ว แต่สูงกว่า1.5 ก็ถือว่าดีเยี่ยมแล้ว***
สำหรับผมชอบใช้ROE และ ROA ประมาณ 15 % ,ยิ่งสูงยิ่งดี



จุดด้อยของค่า ROE และ ROA มีดังนี้

1) จุดอ่อนของการใช้ ROE เพียงลำพังอาจผิดพลาดได้ เพราะอาจได้ตัวเลข ROE ที่สูงๆแต่เกิดจากบริษัทก่อหนี้สูง ดังนั้นควรดูตัวเลขอื่นๆประกอบเช่น ค่าd/e เป็นต้น

2)ค่า ROA,ROE เป็นตัวเลขผลประกอบการในอดีต มิได้บอกว่าในอนาคตจะเป็นเช่นนั้นเสมอไป

from http://stock-in-focus.blogspot.com/2009/07/roe-roa.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น