Pages

Pages

05 พฤษภาคม 2553

หยิบคำพระ สอนนักลงทุน โดย ท่าน ว วชิรเมธี ภาค 1


หยิบคำพระ สอนนักลงทุน โดย ท่าน ว วชิรเมธี ภาค 1

ถ้ากล่าวถึงพระนักคิดนักสอนอันเป็นที่รู้จักกว้างขวางในยุคนี้ชื่อหนึ่งที่ใครต่างนึกถึงคือ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว. วชิรเมธี) ผู้เจริญแล้วทั้งในทางธรรมและทางโลก การคิด หรือนำคำสอนต่างๆ มาเผยแผ่ในมุมมองใหม่ๆ ด้วยคำสอนบทเดิมๆ ที่หลายต่อหลายคนมองว่าน่าเบื่อ ให้ได้กลับกลายมาเป็นสิ่งที่ไม่ยากที่จะเข้าใจ วันนี้จึงใคร่ขอประทานอนุญาตินำคำสอนในชุด สอนวานิชให้เป็นเศรษฐีเพื่อให้สอดคล้องกับเราทั้งหลายผู้ชื่นชอบในการลงทุน

เศรษฐีในทัศนทางพุทธ
อันคำว่า “เศรษฐี” นั้นความหมายจริงๆ หมายถึงการเป็นผู้ประเสริฐ ทุกวันนี้เรากำลังเข้าใจผิดกับคำว่า “วาณิช” อันแปลว่าผู้มีทรัพย์มาก แต่ทั้งนี้หากแม้ว่า การเป็นผู้ที่มีทรัพย์มากแต่มิได้ทำการสิ่งใดอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมก็จะเป็นได้แต่เพียงมหาวาณิชเท่านั้น ผู้ที่จะสามารถเรียกได้ว่าเป็น “เศรษฐี” ที่แท้จริงนั้นต้องมีการแบ่งปันแก่ผู้อื่น แก่สังคม ต้องรู้จักเปลี่ยนเงินเป็นบุญ เปลี่ยนทุนเป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งปันทรัพย์สินเงินทอง ทรัพยากร หรือการแบ่งปันโอกาสให้กระจายไปในวงกว้าง ซึ่งถ้าวาณิชกลายเป็นเศรษฐี ก็จะช่วยให้สังคมได้ประโยชน์อย่างมาก

ธรรมกับการลงทุน
ธรรมกับการลงทุนเป็นเรื่องที่ควบคู่ไปด้วยกัน เนื่องจากในการลงทุนต้องใช้ทั้งสติและปัญญาพร้อมทั้งการมีวินัยในตัวเองจึงจะประสบความสำเร็จ ด้านธุรกิจก็ต้องดำเนินงานด้วยหลักธรรมาภิบาล และสร้างเครือข่ายคนดีที่ไว้ใจได้ในการลงทุนหากมุ่งแต่กำไรสูงสุด แล้วสังคมอยู่ไม่ได้ เราซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในสังคมก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน ดังนั้นนักลงทุนต้องมีมิติของสังคมที่มากกว่าCSR เป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิต เพราะเมื่อเราได้จากสังคม ก็ควรให้แก่สังคมกลับด้วย เรียกว่ามีจิตสำนึกสาธารณะ ภายใต้ 3 แนวคิด คือ 1. เปลี่ยนตนเองจากวาณิชให้เป็นเศรษฐี คือรู้จักเปลี่ยนเงินให้เป็นประโยชน์สาธารณะ 2. เปลี่ยนเงินเป็นบุญ เปลี่ยนทุนเป็นธรรมและ 3. ต้องรู้จักฝากชื่อเสียงเรียงนามเอาไว้ในโลก ให้เพื่อนมนุษย์ระลึกถึงคุณความดีสมชีวิตา

การลงทุนหรือทำสิ่งใดนั้น ต้องรู้จักสถานภาพทางเงินของตนคือรู้จักพอเพียง ถ้าเป็นคนรวย แล้วทำตัวจนเกินไป เช่นใส่เสื้อผ้าม่อฮ่อมเอาปลาทูมาห้อยก็ผิดหลัก เราควรใช้เงินให้เหมาะสมกับสถานะการเงินที่เรามีอยู่ ไม่ควรใช้เงินมากหรือน้อยจนเกินไป รู้จักประหยัดพอเพียง คนจนก็ใช้เงินอย่างเหมาะสมกับเงินที่เรามีอยู่ รู้จักทางสายกลาง คือ ไม่เบียดเบียนตนเอง และ เบียดเบียนผู้อื่น หัวใจเศรษฐีมี 4 ข้อคือ อุ อา กะ สะ
อุ หมายถึง การขยันทำมาหาเลี้ยงชีพอา หมายถึง รักษาทรัพย์ที่มีอยู่กะ หมายถึง คบกัลยาณมิตรสะ หมายถึง การอยู่อย่างพอเพียงพระพุทธองค์ทรง สอนว่าเก็บเงินก้อนหนึ่งไว้เป็นเงินคงคลังหาเงินได้แล้ว ต้องให้ญาติพี่น้องใช้เงินต่อเงิน ทำธุรกิจ เสียภาษีให้รัฐ บำรุงสมณะชีพราหมณ์ ทำบุญให้กับญาติพี่น้องที่
ล่วงลับไปแล้ว การลงทุนต้องมีความเข้าใจ กำไรต้องไม่ตีโพยพาย ขาดทุนก็ต้องรู้เท่าทันรู้จักเข้าใจโลกธรรม อย่าให้โลภมันมากระทบเรา (ต่อภาค 2)

from http://www.efinancethai.com/investor_station/filepdf/INV060510.pdf


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น