ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึง ๆ ในธุรกิจค้าปลีก แม็คโครก็เล็งปัดฝุ่นโครงการ "ซูเปอร์ 10" เพื่อช่วยเหลือบรรดาร้านค้าโชว์ห่วย ซึ่งจะช่วยให้ตัวแม็คโครเองอยู่รอดได้ในระยะยาวด้วยสุชาดา อิทธิจารุกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจศูนย์ค้าส่งระบบค้าส่งและสมาชิก "แม็คโคร" เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมนำโครงการ "ซูเปอร์ 10" ซึ่งเคยเปิดใช้มาก่อนหน้านี้กลับมาใช้อีกครั้ง โดยได้พัฒนาวิธีการทำงานให้สามารถขยายเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ค้ารายย่อยได้มากขึ้น จากเดิมที่ค่อนข้างจำกัด เพราะเห็นว่าหากมีจำนวนมากเกินไปจะทำให้แข่งขันกันเอง
ซูเปอร์ 10 จะช่วยค้าปลีกรายย่อยอย่างไร?
ในโครงการนี้ แม็คโครจะคัดเลือกร้านค้าปลีก 10 ร้านค้า ต่อหนึ่งสาขาของแม็คโครต่อเดือนเข้าโครงการ โดยร้านค้าปลีกดังกล่าวจะเป็นผู้เลือกและแนะนำสินค้าตามที่ต้องการ และแม็คโครจะเป็นผู้รวบรวมว่าสินค้าใดจากลูกค้า 10 ราย เป็นที่ต้องการมากที่สุด จากนั้นจะนำไปเจรจากับซัพพลายเออร์ เพื่อต่อรองราคา
แนวคิดการนำซูเปอร์ 10 กลับมาใช้ เนื่องจากเห็นว่าการแข่งขันของธุรกิจค้าปลีกปัจจุบัน ผู้ค้ารายใหญ่ขยายเครือข่ายร้านขนาดเล็กจนสร้างผลกระทบต่อผู้ค้ารายย่อยที่ไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้
โครงการซูเปอร์ 10 นั้นมีขึ้นครั้งแรกในปี 2545
ในปีนั้น แม็คโครเปิดตัวโครงการ "ซูเปอร์ 10" ในช่วงปี 2545 โดยใช้งบประมาณ 20 ล้านบาท หลังปรับตำแหน่งทางการตลาดใหม่มุ่งสู่ความเป็น "ศูนย์ค้าส่งระบบเงินสดและสมาชิก" เต็มตัว
สถานการณ์ในขณะนั้น กลุ่มค้าปลีกดิสเคาท์สโตร์รุกเปิดตลาดอย่างหนัก ทำให้ผู้ประกอบการแต่ละรายจำต้องปรับตัวครั้งใหญ่ มุ่งใน "ธุรกิจหลัก" เจาะตรงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
โครงการซูเปอร์ 10 ของไทยเป็นประเทศนำร่องในภูมิภาคเอเชียที่นำแนวคิดมาจากแม็คโครต่างประเทศ เช่น ละตินอเมริกา แอฟริกา ที่ช่วยเหลือลูกค้าซึ่งเป็นร้านค้าปลีกรายย่อยและประสบความสำเร็จมาแล้ว
ทั้งนี้ซูเปอร์ 10 เป็นแผนการตลาดที่แม็คโครเห็นว่าจะช่วยเพิ่มยอดขายทางอ้อมในระยะยาว ด้วยการช่วยเหลือร้านโชห่วยให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคา โดยการสนับสนุนทางด้านต้นทุนสินค้าราคาต่ำ และรายการส่งเสริมการขายจากแม็คโครและซัพพลายเออร์
ตามรายละเอียดของโครงการในตอนนั้น สยามแม็คโครจะเข้าไปช่วยจัดกิจกรรมสนับสนุนทางด้านการตลาดให้กับร้านค้าเหล่านี้ ด้วยการจัดพิมพ์ใบปลิวโฆษณาสินค้า ป้ายแสดงราคาสินค้า และถุงใส่ของเพื่อให้ร้านค้านำไปใช้ในการขายที่ร้านของตนเอง
ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการจะได้สิทธิ์เป็นผู้คัดเลือกรายการ สินค้าที่จะนำไปขาย และสามารถกำหนดราคาขายปลีกของตนเองได้ โดยสยามแม็คโครมีเงื่อนไขเพียงว่าร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ ไม่ควรจะตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันกันเอง
"เดิมเราเน้นคัดเลือกสินค้าขายดีให้ร้านค้าเลือกแล้วนำไปต่อรองราคากับซัพพลายเออร์ แต่ซูเปอร์ 10 ไม่สามารถขยายโครงการได้มากนักบนถนนสายเดียวกัน ต้องจำกัดผู้ร่วม ไม่เช่นนั้นจะแข่งขันกันเอง แต่วิธีการใหม่จะทำให้โครงการขยายตัวได้มากขึ้นและรองรับผู้ค้ารายย่อยให้เข้าร่วมได้มากกว่าเดิม" สุชาดา กล่าว
แม็คโครนั้นจัดเป็น "โมเดิร์นเทรด" ที่เข้าเมืองไทยมาตั้งแต่ต้น ๆ
บมจ.สยามแม็คโคร (makro) เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างกลุ่มบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี กับกลุ่มบริษัท SHV Holdings N.V. ของเนเธอร์แลนด์ ผู้ดำเนินธุรกิจค้าส่งชื่อดังของยุโรปเจ้าของชื่อ "แม็คโคร" เข้ามาครั้งแรกเมื่อปลายปี 2532 โดยใช้ชื่อ "แม็คโคร" เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทในเครือ SHV ที่ทำธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย
แม็คโครเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษ 2530 แต่หลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ และการเข้ามาของบรรดาโมเดิร์นเทรดประเภทดิสเคาท์สโตร์ (อย่างเทสโก้ คาร์ฟูร์ ฯลฯ) ทำให้การแข่งขันรุนแรงมาก ประกอบกับกระแสต้านโมเดิร์นเทรดจากบรรดาโชห่วยและผู้ประกอบการในธุรกิจค้าปลีกไทยที่ได้รับผลกระทบ ทำให้แม็คโครต้องปรับตัวอย่างหนักต้องหันมาโฟกัสในธุรกิจค้าส่งสินค้าอาหารมากขึ้น
เน้นให้ชัดเจนมากที่สุด ว่าตนเองเป็น "ศูนย์ค้าส่งระบบค้าส่งและสมาชิก"
อนาคตของแม็คโครจะเป็นอย่างไร?
โครงการซูเปอร์ 10 จะช่วยโชว์ห่วยได้ขนาดไหน?
ช่วยแม็คโครได้มากน้อยเพียงใด?
บทวิเคราะห์
"จตุรยักษ์โมเดอร์นเทรด" ซึ่งหมายถึงบิ๊กซี แมคโคร โลตัส คาร์ฟูร์ ไม่ได้มียุทธศาสตร์เหมือนกันทุกประการ แม้จะเป็นปลาที่อยู่ในข้องเดียวกันก็ตาม
โลตัสทำตัวเป็นภัยคุกคามโชห่วยมากที่สุด เพราะไม่หยุดเพียงแค่การเปิดห้างขนาดใหญ่ แต่ยังบี้ทุนท้องถิ่นขนาดจิ๋วทั่วไทยด้วยการปูพรมเปิดโลตัสเอ็กซเพลสทั่วไทย
ยุทธศาสตร์การเปิดโลตัสเอ็กซเพลสถูกต่อต้านไม่เพียงในประเทศไทยเท่านั้น กระทั่งในอังกฤษซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของเทสโก้ก็ถูกต่อต้านอย่างหนัก เพราะเป็นการย่ำยีบีทาทุนโชห่วยจนแทบไม่มีที่ยืน
ยุทธศาสตร์นี้ทำให้จตุรยักษ์โมเดอร์นเทรดเดือดร้อนอย่างหนัก เพราะถูกต่อต้านจากทุนท้องถิ่นซึ่งประกอบด้วยพันธมิตรหลายกลุ่มไม่เพียงทุนโชห่วยที่ถูกดันเป็นแนวหน้าเท่านั้น
จริงๆการที่โมเดอร์นเทรดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทสโก้โลตัสแผ่กิ่งก้านสาขากลางกรุงและกลางเมืองใหญ่ในต่างจังหวัดนั้น ถือว่าหาได้ยากในต่างประเทศ เพราะไม่มีประเทศใดในโลกจะเหมือนประเทศไทยอีกแล้ว คืออยากจะเปิดห้างที่ไหนก็เปิดไปเลย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่กลางเมืองขนาดไหนก็ตาม ไม่มีใครห้าม ทั้งๆที่ประเทศอื่นๆนั้นห้ามกันอย่างเคร่งครัดทีเดียว
การทำอะไรได้ตามอำเภอใจโดยไม่มีใครคอยขัดนั้นทำให้เกิดความฮึกเหิม
เมื่อพื้นที่กลางเมืองหมด ก็ต้องใช้กลยุทธ์ใหม่ๆในการเจาะตลาด ซึ่งไม่เห็นอะไรจะดีกว่าการใช้โมเดล "โลตัสเอ็กสเพรส" ซึ่งใช้ได้ผลมาแล้วในปั้มน้ำมัน
โลตัสคงเห็นอัรตราการเจริญเติบโตของ 7-11 ซึ่งโตวันโตคืนถึง 3,000 สาขา ก็ไม่เห็นมีใครไปโจมตีอะไรเลย ทั้งๆที่ 7-11 ก็ถือว่าเป็นโมเดอร์นเทรดประเภทหนึ่งเหมือนกัน ก็คงคิดว่าเหล่าโชห่วยตายไปหมดแล้วกระมัง หรือคิดอยากจะทำอะไรได้
ทว่ารุกของโลตัสเอ็กสเพรสนั้นถือว่าเป็นการรุกครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อโชห่วยท้องถิ่นมาก ลำพัง 7-11 ในต่างจังหวัดนั้นไม่เป็นที่นิยมเท่าไหร่นักหรอก เพราะเป็นร้านเล็กๆ ไม่มีของอะไรขายมากนัก แถมของที่ขายนั้นมีราคาสูง ต่างจังหวัดจึงไม่ค่อยมีใครนิยม ทว่าเอ็กสเพรสของโลตัสนั้นเป็นภัยคุกคามต่อโชห่วยและบรรดาธุรกิจท้องถื่นๆ เพราะโลตัสเอ็กสเพรสได้รวมตลาดสด ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา ฯลฯ เข้าด้วยกัน ด้วยเนื้อที่ที่ใหญ่กว่า และเจตจำนงในการรุกตลาดต่างจังหวัดเต็ม ทำให้โชห่วยซึ่งถูกรุกไล่จนไม่มีที่ยืนแล้วให้รุกขึ้นมาสู้
ถ้าจะว่าก็เหมือน ดร.ทักษิณ ที่คุมอำนาจทุกหัวระแหง และเหิมเกริมมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันตนก็มีจุดอ่อนอยู่มากตั้งแต่ก่อนจะขึ้นเป็นนายกฯแล้ว เมื่อสร้างจุดอ่อนเพิ่มขึ้นอยู่ทุกวัน ก็ยากที่จะอยู่ได้เมื่อเผชิญกองทัพพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งถึงที่สุดก็ล้มรัฐบาลได้
กองทัพโชห่วยและผู้สนับสนุนที่ประท้วงไปทั่วทุกระแหงนั้น ก็เพราะทนการรุกราวพายุบุแคมต่อไปไม่ไหว ต้องลุกขึ้นมาประท้วงกลางแดด ก็เพื่อต้องการสร้างเงื่อนไขให้รัฐบาลออกกฎหมายค้าปลีกจัดการกับโมเดอร์นเทรดให้หมด
เมื่อโลตัสยังแข็งขืนขยายสาขาโลตัสเอ็กซเพลสต่อไปนั้น ก็จะตกอยู่ในสภาพเดียวกันกับที่ทักษิณ ชินวัตร เผชิญกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพียงแต่ว่าใครจะเป็นหน่วยกล้าชนที่มีพลังเหมือนกลุ่มพันธมิตรฯที่มีคุณสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นหัวหอก
ถ้าไม่มีคนอย่างคุณสนธิในกลุ่มพันธมิตรต้านโลตัสเอ็กซเพลส ก็ยากที่สกัดระบอบโลตัสฯที่กระจายไปถึงรากหญ้าทั่วประเทศไปได้
โมเดอร์นเทรดเองก็หวั่นไหวเหมือนกันว่าหากระบอบอันแข็งแกร่งของตน กดดันทุนท้องถิ่นมากไม่มีที่ยืนนั้นจะเกิด "อารยะขัดขืน" แล้วจะอยู่ลำบาก
อันที่จริงหากโชห่วยสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแบบสิ้นทรากนั้นก็ไม่เป็นผลดีต่อวงการค้าปลีกโดยรวมแต่อย่างใดเลย เพราะโชห่วยคือหนึ่งในขาหยั่งสำคัญที่สร้างสมดุลย์ให้เกิดขึ้นในวงค้าปลีก กล่าวสำหรับแมคโครนั้น ลูกค้าหลักคือโชห่วยนั่นเอง เพราะอยู่ในธุรกิจค้าส่ง
กลยุทธ์ของแมคโครครั้งนี้ได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง ในสถานการณ์ที่โมเดอร์นเทรดกำลังกลายเป็นผู้ร้ายนั้น การออกมาช่วยโชห่วยของแมคโครนั้นทำให้แมคโครฉีกภาพลักษณ์จากโมเดอร์นเทรดอื่นๆได้ทันที
ไม่ต้องพูดถึงว่ายังสามารถต่ออายุโชห่วยไปได้อีกเฮือก แต่ไม่รู้ว่าจะไปได้สักกี่น้ำ เพราะสถานการณ์ของแมคโครเองก็ใช่ว่าจะดีนัก เพราะในบรรดาจตุรยักษ์โมเดอร์นเทรดนั้น แมคโครอ่อนแอที่สุด
from http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=53454
My personal blog about health, hobby, stock & investment, information technology, self improvement, tax and travel.
Pages
▼
Pages
▼
28 พฤศจิกายน 2553
iPad เป็น Game Changer อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ จริงหรือ ?
...ในที่สุด 27 มกราคม 2010 วันที่ทุกคนรอคอยก็มาถึง Apple เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ นาม “iPad”…
“iPad” เป็นอุปกรณ์ที่ Steve Jobs นิยามว่า เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาที่เข้ามาเติมช่องว่างระหว่าง โทรศัพท์ SmartPhone และ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก คือโจทย์ข้อสำคัญที่ Steve Jobs จะใช้นิยามตลาด ตัว “iPad” เอง Steve Jobs ถึงกับเรียกว่าเป็น “Truly Magical and Revolutionary Product” เลยทีเดียว
จากนิยามของ “ช่องว่าง” ดังกล่าว พบว่า อุปกรณ์ที่เข้าข่ายและมีจำหน่ายอยู่แล้วในตลาด คือ “Netbook”
สิ่งที่ Steve Jobs พยายามบอกก็คือ Netbook นั้น เป็นเพียงคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ราคาถูก ใช้จอภาพที่มีคุณภาพต่ำ ความเร็วในการทำงานของเครื่องช้า จึงไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ของ “ช่องว่าง” ดังกล่าว ได้ดีที่สุด
แต่สิ่งที่ตอบโจทย์ได้ดีที่สุด คือ อุปกรณ์ประเภทที่เรียกว่า “Tablet” หรือบางบริษัทเรียกว่า “Slate” นั่นเอง
ภาพรวมตลาด “Tablet”
“Tablet” หรือ “Slate” จริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับวงการไอที เพราะมีกันมานานแล้ว แต่ไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากมีราคาค่อนข้างสูงไม่น้อยไปกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กอีกทั้งตัวเครื่อง รวมถึงระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ ไม่ได้ออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานแบบพกพาติดตัวมากนัก ตลาด “Tablet” จึงเป็นตลาดที่เงียบเหงา และเหมือนรอคอยเวลาดับสลาย
แต่สิ่งหนึ่งที่เข้ามาจุดประกายให้ตลาด “Tablet” เริ่มมีความหวังอีกครั้ง นั่นคือ การมาของเครื่องอ่าน E-Book “Kindle” ของ Amazon.com
ด้วยยอดขายตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงรุ่นปัจจุบันกว่า 1.49 ล้านเครื่อง จนนิตยสาร Fortune นำ Jeff Bezos ขึ้นปก พร้อมยกย่องว่า “Next Revolution” ของ Amazon.com คือการสร้าง Kindle ให้กลายเป็น “iPod of Print”
“Kindle” สร้างปรากฏการณ์ ยึดครองส่วนแบ่งการตลาดกว่า 60% ในตลาดเครื่องอ่าน E-Book
นักวิเคราะห์หลายๆ คนคาดการณ์ว่า “Kindle” รุ่นใหม่นอกจากจะเป็นเครื่องอ่าน E-Book แล้ว จะมีความสามารถมากขึ้น ใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กก็เป็นได้
ตลาดเครื่องอ่าน E-Book เริ่มคึกคัก คู่แข่งรายสำคัญอย่าง Barnes & Noble ก็ออกผลิตภัณฑ์ชื่อ “Nook” เข้ามาชน
Sony E-Reader ก็ออกรุ่นใหม่ เพื่อหวังดึงส่วนแบ่งตลาดจาก Kindle พร้อมพัฒนาหน้าร้านขายหนังสือออนไลน์ “E-Book Store” ของตนขึ้นมา
เมื่อเครื่องอ่าน E-Book ขายได้มากขึ้น ย่อมดึงดูดบรรดาธุรกิจสิ่งพิมพ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทำให้ธุรกิจสิ่งพิมพ์เริ่มขยับทิศทางของตนมาเป็นฟอร์แมตดิจิตัลมากขึ้น สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ อีกทั้งบริษัทต่างๆ แทบไม่มีต้นทุนอะไรเพิ่มขึ้นมาเลย
เมื่อ Distribution Cost เป็นศูนย์ รายได้ที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว ก็กลายเป็นกำไรเต็มๆ
อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์และธุรกิจเครื่องอ่าน E-Book เติบโตอย่างมีนัยยะสำคัญ จนใครๆ ก็มองกว่า “Tablet” กำลังจะกลับมา
ก่อนหน้างานเปิดตัว “iPad” ของ “Apple” ไม่กี่วัน ก็มีงานระดับโลกที่สำคัญมากงาน คือ Consumer Electronics Show หรือ “CES2010”
บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายใหญ่ของโลก ทั้ง HP, Lenovo, Sony หรือ Dell ก็มาเปิดตัว Tablet รุ่นใหม่ของตนทั้งนั้น
ปี 2010 คือ ปีของ Tablet จริงๆ
แล้ว “iPad” ของ Apple มีดีอย่างไร
ตัว “iPad” นั้น มีรูปร่างภายนอก คล้ายกับ iPhone หรือ iPod Touch แบบที่ขยายส่วนให้ใหญ่ขึ้น
หน้าจอ LED-backlit IPS LCD เป็นจอภาพที่สามารถให้มุมมองให้กว้างกว่าจอ LCD ทั่วไป ที่มักมองชัดในมุมที่แคบ
หน่วยประมวลผล (CPU) ความเร็ว 1GHz ที่ Apple ออกแบบเอง เรียกว่า “A4” ที่สามารถประมวลผลได้รวดเร็วใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กและใช้พลังงานต่ำ
การควบคุมอุปกรณ์ใช้เทคโนโลยีแบบ “Multi-touch” แบบที่ใช้ใน iPhone หน้าจอสามารถตั้งตรงและหมุนได้เมื่อจับจอเอียง พร้อม “Virtual Keyboard” ที่ช่วยในการป้อนข้อความต่างๆ
ด้วย Hardware ของ “iPad” ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบสวยงามน่าใช้ มีหน้าจอการแสดงผลที่ดีที่สุด และใช้วิธีการควบคุมเครื่อง ป้อนข้อมูล ที่ง่ายที่สุด
และจุดขายที่แตกต่างที่สำคัญที่สุดของ iPad และเป็นหัวใจของผลิตภัณฑ์ทุกตัวของ Apple ก็คือ “User Experience”
แม้ว่าตัว “iPad” ไม่ได้มี Hardware ที่สมบูรณ์แบบ (ไม่มีช่องใส่หน่วยความจำเพิ่ม, ไม่มีช่องต่อ USB และไม่มีกล้อง) แต่ก็เป็นแบบออกแบบโดยใช้เทคโนโลยี Hardware ที่เรียกได้ว่าดีที่สุดในการนำเสนอ “User Experience” ที่ดีที่สุด สู่ลูกค้า
User Experience ของ Apple ถูกถ่ายทอดออกมาด้วยหน้าจอการใช้งานที่สวยงามและง่ายต่อผู้ใช้ ทำให้ผลิตภัณฑ์ของ Apple มีความ Sexy มีเสน่ห์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มักจะขาดหายไป สำหรับอุปกรณ์ไฮเทค ทั่วไป
“Software” หรือ “Application” ที่ใช้บน “iPad” ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่ง เมื่อสามารถใช้ “Apps” ที่ออกแบบมาสำหรับ iPhone จำนวนกว่า 140,000 ตัวได้เลยทันที
ราคาที่เอื้อมถึง คือปัจจัยของ “Critical Mass”
สิ่งหนึ่งที่สร้างความประหลาดใจที่สุดให้กับทุกคนที่ติดตามข่าวของ Tablet ตัวนี้ก็คือ ราคา จากที่เคยคาดหมายว่าจะอยู่ที่ $999 ขึ้นไป แต่ราคาเริ่มต้นเพียงแค่ $499 เท่านั้น
ถูกกว่าที่คิดครึ่งหนึ่ง! แถมไม่มีการล็อกขายกับผู้ให้บริการโทรศัพท์ เหมือนเช่นในกรณีของ iPhone
เหตุผลที่ Apple ตั้งราคา “iPad” ออกมาต่ำ อย่างแรก ต้องการทลายกำแพงราคาในใจผู้บริโภค เรียกได้ว่า ต้นทุนในการเป็นเจ้าของ “iPad” นั้น ต่ำกว่าที่ทุกคนคาดคิด และลบล้างภาพในอดีต ที่ Tablet เดิมๆ มีราคาสูงออกไปจนหมดสิ้น
เหตุผลที่สอง เพื่อสกัดดาวรุ่งอย่าง “Kindle”
ด้วยราคาเริ่มต้นที่แพงกว่า “Kindle” ของ Amazon.com เพียง $10แต่ได้อุปกรณ์ที่ทรงพลังมากกว่า Spec ดีกว่าทุกอย่าง “Kindle” จะถูกมองว่าเป็นของแพงขึ้นมาทันที
เหตุผลที่สาม คือ ต้องการกวาดฐานลูกค้าขนาดใหญ่ เพื่อสร้างอำนาจต่อรอง
การประหยัดจากขนาด (Economy of Scale) ที่จะเกิดขึ้น เมื่อมีการผลิตจำนวนเยอะๆ แล้ว ยังเกิด “Network Effect” หรือคุณค่าที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อมีผู้ใช้มากขึ้น
คุณค่าที่ว่านี้ คือ การขาย Content ซึ่ง “iPad” ได้เพิ่มศักยภาพในการดูหนัง วิดีโอต่างๆ ให้ดีขึ้น ด้วยเทคโนโลยีการแสดงผลที่ดี และมีระบบหน้าร้านขายหนังและวิดีโอคลิปต่างๆ ที่ยอดเยี่ยมอย่าง “iTunes”
กลายเป็น “Portable Theater” ที่มีจำนวนมหาศาล ทำให้ค่ายหนังต่างๆ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากการขาย Content ของตัวเองได้ และถึงแม้ว่า “iPad” จะไม่ได้เปิดตัวมาเป็นเครื่องอ่าน E-Book แต่วัตถุประสงค์หลักอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้จำนวนมากต้องการ คือ “การอ่าน”
แน่นอนว่าอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ สำนักพิมพ์หนังสือต่างๆ จะได้ประโยชน์จากการขาย E-Book ให้กับผู้ใช้ “iPad” เหมือนกับที่ค่ายเพลงและค่ายหนังได้รับจากการขายเพลงและหนัง
ยิ่งฐานลูกค้าใหญ่มากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งดึงดูดใจค่ายเพลง ค่ายหนังและค่ายหนังสือมากเท่านั้น และที่สำคัญ ยังเป็นการเพิ่ม “อำนาจต่อรอง” ของ Apple ให้สูงขึ้น อย่าลืมว่าอำนาจต่อรองเป็นที่มาของ Business Model และเรื่องการสร้างรายได้ นอกเหนือจากการขาย “iPad”
แล้วมันคือ “Game Changer” จริงรึเปล่า
โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่า “iPad” จะเป็นสิ่งที่ Apple ใช้เป็นตัวพลิกเกม เพื่อเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม โดยเฉพาะธุรกิจหนังสือและอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ต่างๆ
ปัจจุบัน มูลค่าของตลาด E-Book ทั้งหมด มีราวๆ 1.3% ของตลาดหนังสือที่เป็นกระดาษ ที่มีมูลค่ากว่า 90,000 ล้านเหรียญ
ตัวเลข 1.2 พันล้านเหรียญ ไม่ใช่จำนวนน้อยๆ ...
หนังสือ ก็เหมือนกับเพลง ที่รูปแบบธุรกิจจะเปลี่ยนแปลงจากการขาย “Physical Product” มาสู่ “Digital Product”
ด้วยการขับเคลื่อน โดยใช้กลไกสำคัญ คือ “ช่องทางการกระจายสินค้าและขาย” ที่ช่วยให้ ต้นทุนการขนส่งและต้นทุนการขายลดลงเหลือเท่ากับศูนย์หรือน้อยมาก เพราะเป็นการทำผ่านอินเทอร์เน็ตและหน้าร้านออนไลน์
Apple มีสิ่งนี้อยู่แล้ว คือ iTunes Store สำหรับเพลงและหนัง, App Store สำหรับ Application และ iBookStore สำหรับ E-Book บน “iPad”
ทั้ง iTunes และ App Store เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมหาศาล ด้วยยอดขายก้อนใหญ่ รวมไปถึงจำนวนสมาชิก iTunes ที่สามารถซื้อสินค้าได้ กว่า 125 ล้านคน
เมื่อเปรียบเทียบกับ “Kindle” ของ Amazon.com หลายๆ คนอาจจะแย้งว่า “Kindle” นั้นเหมาะกับการอ่านหนังสือมากกว่า
ด้วยเทคโนโลยีแบบ “E-Ink” ที่ช่วยให้ผู้อ่าน สามารถอ่านหนังสือได้อย่างสบายตาและใกล้เคียงกับกระดาษจริงๆ ทำให้จุดขายของเครื่องอ่าน E-Book ทุกรุ่น คือต้องใช้ “E-Ink”
“iPad” ไม่สามารถสู้เครื่องอ่าน E-Book รุ่นอื่นได้ เพราะไม่ได้เป็น “E-Ink” รึเปล่า?
กรอบอันแรกที่ขีดวงเครื่องอ่าน E-Book ไว้ คือ “E-Ink” และกลายเป็นกรอบที่ผู้ผลิตเครื่องอ่าน E-Book ส่วนใหญ่ทำตามกัน ด้วยความเชื่อที่ว่า คนเราต้องการอ่าน E-Book ด้วยความรู้สึกสบายตาและเหมือนอ่านหนังสือที่เป็นกระดาษให้มากที่สุด
เครื่องอ่าน “E-Book” ทุกรุ่นในตลาด มีการแสดงผลแบบขาวดำ (Grayscale) แต่ “iPad” ที่จะตั้งใจจะขาย E-Book เช่นกัน กับมองต่างกันไป
พฤติกรรมการอ่านหนังสือของคนทั่วไป คงอ่านติดต่อกันราวๆ 2-3 ชั่วโมง น้อยคนนักที่จะอ่านหนังสือ 10 ชั่วโมงติดต่อกัน
“iPad” จึงไม่จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีที่ออกแบบมาให้คนอ่านหนังสือติดต่อกันได้ 10 ชั่วโมงมาใช้ และรูปแบบของหนังสือที่ผู้อ่านอยากจะอ่านใน 2-3 ชั่วโมง คงจะไม่เหมือนเดิม
E-Book แบบเดิมๆ จะถูกท้าทายด้วย “Interactive E-Book” ที่มาพร้อมภาพประกอบที่มีสีสันสวยงาม มีทั้ง VDO และเสียงครบครัน สามารถคลิกและลิงค์ไปได้ และมีการโต้ตอบกับผู้ใช้ได้
ตัวแทนจาก “New York Times” ได้บอกไว้ว่า หนังสือพิมพ์ฉบับ Digital สำหรับ iPad นั้น “น่าอ่าน” กว่าฉบับที่ทำขายบน Kindle มากจนเทียบกันไม่ติด
ลองจินตนาการถึง “หนังสือพิมพ์ที่มีชีวิต” อย่างในหนัง “Harry Potter” ถ้าทำได้จริง Apple จะกลายเป็นคนที่สามารถทำ Hat-trick ได้
เพราะเป็นคนที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมเพลง โทรศัพท์มือถือ และวงการสิ่งพิมพ์ ...
ปัจจัยสำคัญ ที่ผลักดันให้ “iPad” ประสบความสำเร็จ
Factor
User Experience
- ประสบการณ์ที่ผู้ใช้จะได้รับ ผ่านทาง User Interface ที่สวยงาม ตื่นตาตื่นใจ และใช้งานง่าย
- iPad เป็นอุปกรณ์ที่นำอินเทอร์เน็ตมาอยู่ในมือของผู้ใช้ ด้วยการใช้งานที่ดีกว่าการใช้อินเทอร์เน็ตบน PC แต่สามารถควบคุมได้ด้วยปลายนิ้วสัมผัส ซึ่งไม่สามารถทำได้บนหน้าจอ PC
การตั้งราคา
มีความสำคัญทางจิตวิทยาต่อลูกค้า รวมไปถึงเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อ (ถูกว่าโน้ตบุ๊กและราคาต่างกับโทรศัพท์มือถือไม่มาก)
-เพื่อสร้างฐานลูกค้าขนาดใหญ่ เพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับผู้ผลิต Content ช่วยให้ Apple สามารถกำหนด Business Model ที่ต้องการได้ง่ายขึ้น
Distribution Channel (iTunes)
- เป็นช่องทางขายที่ประสบความสำเร็จและมีฐานลูกค้าอยู่แล้วมากกว่า 125 ล้านคน เจ้าของ Content ย่อมอยากขายสินค้าของตนผ่านช่องทางนี้
Content และ Application
- การเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ของผู้ใช้ จากการอ่าน E-Book ขาวดำ มาสู่การอ่าน E-Magazine ที่มีสีสันสดใส ภาพประกอบที่สวยงาม รวมไปถึง Animation ต่างๆ ที่นำไปสู่ Experience ที่ดีกว่า E-Book แบบเดิม
- Application ที่สามารถใช้ได้ทันที กว่า 140,000 ตัว ในวันแรกที่เปิดตัว iPad และผู้ที่ซื้อ App สำหรับใช้บน iPhone อยู่แล้ว สามารถใช้กับ iPad ได้โดยไม่ต้องซื้อใหม่อีกรอบ ทำให้เกิด Value of Money หรือ ความคุ้มค่ากับผู้ใช้ เพิ่มขึ้นมาทันที
- จอที่ใหญ่ถึง 9.7” ทำลายข้อจำกัดด้านขนาดหน้าจอของ iPhone ไป ทำให้ Application อย่าง Games ได้ประโยชน์เต็มที่ เกมบน iPad จะออกมาเยอะกว่าเกมบน iPhone และเกมเดิมที่มีอยู่ จะเล่นได้สนุกมากขึ้น
ปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้น จากการเปิดตัวของ iPad
- การเติบโตของอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ ธุรกิจหนังสือ จากเดิมที่มีรายได้หลักจากการขาย “Physical Books” มาเป็นการสร้างยอดขายหลักจาก “Digital Books” เนื่องจากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นไม่มาก ต้นทุนด้านการขนส่งสินค้า (Distribution Cost) แทบไม่มี เพราะดาวน์โหลดผ่านอินเทอร์เน็ต และเสียเพียงค่าวางจำหน่ายบน “Online Store” เท่านั้น
- รูปแบบการใช้งานอินเทอร์เน็ต Web Browsing , Email และ Social Networking จากเดิมที่ใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ หน้าจอเล็ก ใช้งานไม่สะดวก แต่ iPad จะกลายเป็นอุปกรณ์ที่สามารถทำงานดังกล่าวและใช้ทดแทนกันได้ ทำให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจากทุกที่ ทุกเวลา
- เปลี่ยนรูปแบบของการอ่าน E-Book จาก E-Ink ที่มีลักษณะอ่านง่ายสบายตา แต่เป็นสีขาวดำและไม่น่าสนใจ กลายเป็น E-Book ที่มีลักษณะเป็น Interactive E-Book ที่มาพร้อมสีสัน เสียง และภาพเคลื่อนไหว สร้างตลาดใหม่สำหรับ Interactive E-Book ทำให้คู่แข่งขันของตลาดนี้ ไม่ได้มีเพียงสำนักพิมพ์เท่านั้น แต่ยังมีบรรดาเจ้าของเว็บไซต์เพิ่มเข้ามาด้วย
- เกมแบบ Multi-player จะได้รับความนิยมสูง หน้าจอขนาดใหญ่ ผนวกกับความสามารถด้าน Multi-touch ทำให้เกมหนึ่ง อาจจะมีการแบ่งจอเพื่อเล่นหลายคนพร้อมกัน บนiPad เครื่องเดียวกัน หรือหลายเครื่อง ลองนึกภาพการช่วยกันต่อ Jigsaw เกมง่ายๆ อย่าง Photo Hunt หรือเกมยากๆ แนว Action ต่อสู้กัน หรือเกมขับรถแข่ง
from http://www.positioningmag.com/magazine/details.aspx?id=86089
“iPad” เป็นอุปกรณ์ที่ Steve Jobs นิยามว่า เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาที่เข้ามาเติมช่องว่างระหว่าง โทรศัพท์ SmartPhone และ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก คือโจทย์ข้อสำคัญที่ Steve Jobs จะใช้นิยามตลาด ตัว “iPad” เอง Steve Jobs ถึงกับเรียกว่าเป็น “Truly Magical and Revolutionary Product” เลยทีเดียว
จากนิยามของ “ช่องว่าง” ดังกล่าว พบว่า อุปกรณ์ที่เข้าข่ายและมีจำหน่ายอยู่แล้วในตลาด คือ “Netbook”
สิ่งที่ Steve Jobs พยายามบอกก็คือ Netbook นั้น เป็นเพียงคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ราคาถูก ใช้จอภาพที่มีคุณภาพต่ำ ความเร็วในการทำงานของเครื่องช้า จึงไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ของ “ช่องว่าง” ดังกล่าว ได้ดีที่สุด
แต่สิ่งที่ตอบโจทย์ได้ดีที่สุด คือ อุปกรณ์ประเภทที่เรียกว่า “Tablet” หรือบางบริษัทเรียกว่า “Slate” นั่นเอง
ภาพรวมตลาด “Tablet”
“Tablet” หรือ “Slate” จริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับวงการไอที เพราะมีกันมานานแล้ว แต่ไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากมีราคาค่อนข้างสูงไม่น้อยไปกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กอีกทั้งตัวเครื่อง รวมถึงระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ ไม่ได้ออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานแบบพกพาติดตัวมากนัก ตลาด “Tablet” จึงเป็นตลาดที่เงียบเหงา และเหมือนรอคอยเวลาดับสลาย
แต่สิ่งหนึ่งที่เข้ามาจุดประกายให้ตลาด “Tablet” เริ่มมีความหวังอีกครั้ง นั่นคือ การมาของเครื่องอ่าน E-Book “Kindle” ของ Amazon.com
ด้วยยอดขายตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงรุ่นปัจจุบันกว่า 1.49 ล้านเครื่อง จนนิตยสาร Fortune นำ Jeff Bezos ขึ้นปก พร้อมยกย่องว่า “Next Revolution” ของ Amazon.com คือการสร้าง Kindle ให้กลายเป็น “iPod of Print”
“Kindle” สร้างปรากฏการณ์ ยึดครองส่วนแบ่งการตลาดกว่า 60% ในตลาดเครื่องอ่าน E-Book
นักวิเคราะห์หลายๆ คนคาดการณ์ว่า “Kindle” รุ่นใหม่นอกจากจะเป็นเครื่องอ่าน E-Book แล้ว จะมีความสามารถมากขึ้น ใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กก็เป็นได้
ตลาดเครื่องอ่าน E-Book เริ่มคึกคัก คู่แข่งรายสำคัญอย่าง Barnes & Noble ก็ออกผลิตภัณฑ์ชื่อ “Nook” เข้ามาชน
Sony E-Reader ก็ออกรุ่นใหม่ เพื่อหวังดึงส่วนแบ่งตลาดจาก Kindle พร้อมพัฒนาหน้าร้านขายหนังสือออนไลน์ “E-Book Store” ของตนขึ้นมา
เมื่อเครื่องอ่าน E-Book ขายได้มากขึ้น ย่อมดึงดูดบรรดาธุรกิจสิ่งพิมพ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทำให้ธุรกิจสิ่งพิมพ์เริ่มขยับทิศทางของตนมาเป็นฟอร์แมตดิจิตัลมากขึ้น สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ อีกทั้งบริษัทต่างๆ แทบไม่มีต้นทุนอะไรเพิ่มขึ้นมาเลย
เมื่อ Distribution Cost เป็นศูนย์ รายได้ที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว ก็กลายเป็นกำไรเต็มๆ
อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์และธุรกิจเครื่องอ่าน E-Book เติบโตอย่างมีนัยยะสำคัญ จนใครๆ ก็มองกว่า “Tablet” กำลังจะกลับมา
ก่อนหน้างานเปิดตัว “iPad” ของ “Apple” ไม่กี่วัน ก็มีงานระดับโลกที่สำคัญมากงาน คือ Consumer Electronics Show หรือ “CES2010”
บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายใหญ่ของโลก ทั้ง HP, Lenovo, Sony หรือ Dell ก็มาเปิดตัว Tablet รุ่นใหม่ของตนทั้งนั้น
ปี 2010 คือ ปีของ Tablet จริงๆ
แล้ว “iPad” ของ Apple มีดีอย่างไร
ตัว “iPad” นั้น มีรูปร่างภายนอก คล้ายกับ iPhone หรือ iPod Touch แบบที่ขยายส่วนให้ใหญ่ขึ้น
หน้าจอ LED-backlit IPS LCD เป็นจอภาพที่สามารถให้มุมมองให้กว้างกว่าจอ LCD ทั่วไป ที่มักมองชัดในมุมที่แคบ
หน่วยประมวลผล (CPU) ความเร็ว 1GHz ที่ Apple ออกแบบเอง เรียกว่า “A4” ที่สามารถประมวลผลได้รวดเร็วใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กและใช้พลังงานต่ำ
การควบคุมอุปกรณ์ใช้เทคโนโลยีแบบ “Multi-touch” แบบที่ใช้ใน iPhone หน้าจอสามารถตั้งตรงและหมุนได้เมื่อจับจอเอียง พร้อม “Virtual Keyboard” ที่ช่วยในการป้อนข้อความต่างๆ
ด้วย Hardware ของ “iPad” ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบสวยงามน่าใช้ มีหน้าจอการแสดงผลที่ดีที่สุด และใช้วิธีการควบคุมเครื่อง ป้อนข้อมูล ที่ง่ายที่สุด
และจุดขายที่แตกต่างที่สำคัญที่สุดของ iPad และเป็นหัวใจของผลิตภัณฑ์ทุกตัวของ Apple ก็คือ “User Experience”
แม้ว่าตัว “iPad” ไม่ได้มี Hardware ที่สมบูรณ์แบบ (ไม่มีช่องใส่หน่วยความจำเพิ่ม, ไม่มีช่องต่อ USB และไม่มีกล้อง) แต่ก็เป็นแบบออกแบบโดยใช้เทคโนโลยี Hardware ที่เรียกได้ว่าดีที่สุดในการนำเสนอ “User Experience” ที่ดีที่สุด สู่ลูกค้า
User Experience ของ Apple ถูกถ่ายทอดออกมาด้วยหน้าจอการใช้งานที่สวยงามและง่ายต่อผู้ใช้ ทำให้ผลิตภัณฑ์ของ Apple มีความ Sexy มีเสน่ห์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มักจะขาดหายไป สำหรับอุปกรณ์ไฮเทค ทั่วไป
“Software” หรือ “Application” ที่ใช้บน “iPad” ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่ง เมื่อสามารถใช้ “Apps” ที่ออกแบบมาสำหรับ iPhone จำนวนกว่า 140,000 ตัวได้เลยทันที
ราคาที่เอื้อมถึง คือปัจจัยของ “Critical Mass”
สิ่งหนึ่งที่สร้างความประหลาดใจที่สุดให้กับทุกคนที่ติดตามข่าวของ Tablet ตัวนี้ก็คือ ราคา จากที่เคยคาดหมายว่าจะอยู่ที่ $999 ขึ้นไป แต่ราคาเริ่มต้นเพียงแค่ $499 เท่านั้น
ถูกกว่าที่คิดครึ่งหนึ่ง! แถมไม่มีการล็อกขายกับผู้ให้บริการโทรศัพท์ เหมือนเช่นในกรณีของ iPhone
เหตุผลที่ Apple ตั้งราคา “iPad” ออกมาต่ำ อย่างแรก ต้องการทลายกำแพงราคาในใจผู้บริโภค เรียกได้ว่า ต้นทุนในการเป็นเจ้าของ “iPad” นั้น ต่ำกว่าที่ทุกคนคาดคิด และลบล้างภาพในอดีต ที่ Tablet เดิมๆ มีราคาสูงออกไปจนหมดสิ้น
เหตุผลที่สอง เพื่อสกัดดาวรุ่งอย่าง “Kindle”
ด้วยราคาเริ่มต้นที่แพงกว่า “Kindle” ของ Amazon.com เพียง $10แต่ได้อุปกรณ์ที่ทรงพลังมากกว่า Spec ดีกว่าทุกอย่าง “Kindle” จะถูกมองว่าเป็นของแพงขึ้นมาทันที
เหตุผลที่สาม คือ ต้องการกวาดฐานลูกค้าขนาดใหญ่ เพื่อสร้างอำนาจต่อรอง
การประหยัดจากขนาด (Economy of Scale) ที่จะเกิดขึ้น เมื่อมีการผลิตจำนวนเยอะๆ แล้ว ยังเกิด “Network Effect” หรือคุณค่าที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อมีผู้ใช้มากขึ้น
คุณค่าที่ว่านี้ คือ การขาย Content ซึ่ง “iPad” ได้เพิ่มศักยภาพในการดูหนัง วิดีโอต่างๆ ให้ดีขึ้น ด้วยเทคโนโลยีการแสดงผลที่ดี และมีระบบหน้าร้านขายหนังและวิดีโอคลิปต่างๆ ที่ยอดเยี่ยมอย่าง “iTunes”
กลายเป็น “Portable Theater” ที่มีจำนวนมหาศาล ทำให้ค่ายหนังต่างๆ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากการขาย Content ของตัวเองได้ และถึงแม้ว่า “iPad” จะไม่ได้เปิดตัวมาเป็นเครื่องอ่าน E-Book แต่วัตถุประสงค์หลักอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้จำนวนมากต้องการ คือ “การอ่าน”
แน่นอนว่าอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ สำนักพิมพ์หนังสือต่างๆ จะได้ประโยชน์จากการขาย E-Book ให้กับผู้ใช้ “iPad” เหมือนกับที่ค่ายเพลงและค่ายหนังได้รับจากการขายเพลงและหนัง
ยิ่งฐานลูกค้าใหญ่มากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งดึงดูดใจค่ายเพลง ค่ายหนังและค่ายหนังสือมากเท่านั้น และที่สำคัญ ยังเป็นการเพิ่ม “อำนาจต่อรอง” ของ Apple ให้สูงขึ้น อย่าลืมว่าอำนาจต่อรองเป็นที่มาของ Business Model และเรื่องการสร้างรายได้ นอกเหนือจากการขาย “iPad”
แล้วมันคือ “Game Changer” จริงรึเปล่า
โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่า “iPad” จะเป็นสิ่งที่ Apple ใช้เป็นตัวพลิกเกม เพื่อเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม โดยเฉพาะธุรกิจหนังสือและอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ต่างๆ
ปัจจุบัน มูลค่าของตลาด E-Book ทั้งหมด มีราวๆ 1.3% ของตลาดหนังสือที่เป็นกระดาษ ที่มีมูลค่ากว่า 90,000 ล้านเหรียญ
ตัวเลข 1.2 พันล้านเหรียญ ไม่ใช่จำนวนน้อยๆ ...
หนังสือ ก็เหมือนกับเพลง ที่รูปแบบธุรกิจจะเปลี่ยนแปลงจากการขาย “Physical Product” มาสู่ “Digital Product”
ด้วยการขับเคลื่อน โดยใช้กลไกสำคัญ คือ “ช่องทางการกระจายสินค้าและขาย” ที่ช่วยให้ ต้นทุนการขนส่งและต้นทุนการขายลดลงเหลือเท่ากับศูนย์หรือน้อยมาก เพราะเป็นการทำผ่านอินเทอร์เน็ตและหน้าร้านออนไลน์
Apple มีสิ่งนี้อยู่แล้ว คือ iTunes Store สำหรับเพลงและหนัง, App Store สำหรับ Application และ iBookStore สำหรับ E-Book บน “iPad”
ทั้ง iTunes และ App Store เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมหาศาล ด้วยยอดขายก้อนใหญ่ รวมไปถึงจำนวนสมาชิก iTunes ที่สามารถซื้อสินค้าได้ กว่า 125 ล้านคน
เมื่อเปรียบเทียบกับ “Kindle” ของ Amazon.com หลายๆ คนอาจจะแย้งว่า “Kindle” นั้นเหมาะกับการอ่านหนังสือมากกว่า
ด้วยเทคโนโลยีแบบ “E-Ink” ที่ช่วยให้ผู้อ่าน สามารถอ่านหนังสือได้อย่างสบายตาและใกล้เคียงกับกระดาษจริงๆ ทำให้จุดขายของเครื่องอ่าน E-Book ทุกรุ่น คือต้องใช้ “E-Ink”
“iPad” ไม่สามารถสู้เครื่องอ่าน E-Book รุ่นอื่นได้ เพราะไม่ได้เป็น “E-Ink” รึเปล่า?
กรอบอันแรกที่ขีดวงเครื่องอ่าน E-Book ไว้ คือ “E-Ink” และกลายเป็นกรอบที่ผู้ผลิตเครื่องอ่าน E-Book ส่วนใหญ่ทำตามกัน ด้วยความเชื่อที่ว่า คนเราต้องการอ่าน E-Book ด้วยความรู้สึกสบายตาและเหมือนอ่านหนังสือที่เป็นกระดาษให้มากที่สุด
เครื่องอ่าน “E-Book” ทุกรุ่นในตลาด มีการแสดงผลแบบขาวดำ (Grayscale) แต่ “iPad” ที่จะตั้งใจจะขาย E-Book เช่นกัน กับมองต่างกันไป
พฤติกรรมการอ่านหนังสือของคนทั่วไป คงอ่านติดต่อกันราวๆ 2-3 ชั่วโมง น้อยคนนักที่จะอ่านหนังสือ 10 ชั่วโมงติดต่อกัน
“iPad” จึงไม่จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีที่ออกแบบมาให้คนอ่านหนังสือติดต่อกันได้ 10 ชั่วโมงมาใช้ และรูปแบบของหนังสือที่ผู้อ่านอยากจะอ่านใน 2-3 ชั่วโมง คงจะไม่เหมือนเดิม
E-Book แบบเดิมๆ จะถูกท้าทายด้วย “Interactive E-Book” ที่มาพร้อมภาพประกอบที่มีสีสันสวยงาม มีทั้ง VDO และเสียงครบครัน สามารถคลิกและลิงค์ไปได้ และมีการโต้ตอบกับผู้ใช้ได้
ตัวแทนจาก “New York Times” ได้บอกไว้ว่า หนังสือพิมพ์ฉบับ Digital สำหรับ iPad นั้น “น่าอ่าน” กว่าฉบับที่ทำขายบน Kindle มากจนเทียบกันไม่ติด
ลองจินตนาการถึง “หนังสือพิมพ์ที่มีชีวิต” อย่างในหนัง “Harry Potter” ถ้าทำได้จริง Apple จะกลายเป็นคนที่สามารถทำ Hat-trick ได้
เพราะเป็นคนที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมเพลง โทรศัพท์มือถือ และวงการสิ่งพิมพ์ ...
ปัจจัยสำคัญ ที่ผลักดันให้ “iPad” ประสบความสำเร็จ
Factor
User Experience
- ประสบการณ์ที่ผู้ใช้จะได้รับ ผ่านทาง User Interface ที่สวยงาม ตื่นตาตื่นใจ และใช้งานง่าย
- iPad เป็นอุปกรณ์ที่นำอินเทอร์เน็ตมาอยู่ในมือของผู้ใช้ ด้วยการใช้งานที่ดีกว่าการใช้อินเทอร์เน็ตบน PC แต่สามารถควบคุมได้ด้วยปลายนิ้วสัมผัส ซึ่งไม่สามารถทำได้บนหน้าจอ PC
การตั้งราคา
มีความสำคัญทางจิตวิทยาต่อลูกค้า รวมไปถึงเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อ (ถูกว่าโน้ตบุ๊กและราคาต่างกับโทรศัพท์มือถือไม่มาก)
-เพื่อสร้างฐานลูกค้าขนาดใหญ่ เพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับผู้ผลิต Content ช่วยให้ Apple สามารถกำหนด Business Model ที่ต้องการได้ง่ายขึ้น
Distribution Channel (iTunes)
- เป็นช่องทางขายที่ประสบความสำเร็จและมีฐานลูกค้าอยู่แล้วมากกว่า 125 ล้านคน เจ้าของ Content ย่อมอยากขายสินค้าของตนผ่านช่องทางนี้
Content และ Application
- การเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ของผู้ใช้ จากการอ่าน E-Book ขาวดำ มาสู่การอ่าน E-Magazine ที่มีสีสันสดใส ภาพประกอบที่สวยงาม รวมไปถึง Animation ต่างๆ ที่นำไปสู่ Experience ที่ดีกว่า E-Book แบบเดิม
- Application ที่สามารถใช้ได้ทันที กว่า 140,000 ตัว ในวันแรกที่เปิดตัว iPad และผู้ที่ซื้อ App สำหรับใช้บน iPhone อยู่แล้ว สามารถใช้กับ iPad ได้โดยไม่ต้องซื้อใหม่อีกรอบ ทำให้เกิด Value of Money หรือ ความคุ้มค่ากับผู้ใช้ เพิ่มขึ้นมาทันที
- จอที่ใหญ่ถึง 9.7” ทำลายข้อจำกัดด้านขนาดหน้าจอของ iPhone ไป ทำให้ Application อย่าง Games ได้ประโยชน์เต็มที่ เกมบน iPad จะออกมาเยอะกว่าเกมบน iPhone และเกมเดิมที่มีอยู่ จะเล่นได้สนุกมากขึ้น
ปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้น จากการเปิดตัวของ iPad
- การเติบโตของอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ ธุรกิจหนังสือ จากเดิมที่มีรายได้หลักจากการขาย “Physical Books” มาเป็นการสร้างยอดขายหลักจาก “Digital Books” เนื่องจากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นไม่มาก ต้นทุนด้านการขนส่งสินค้า (Distribution Cost) แทบไม่มี เพราะดาวน์โหลดผ่านอินเทอร์เน็ต และเสียเพียงค่าวางจำหน่ายบน “Online Store” เท่านั้น
- รูปแบบการใช้งานอินเทอร์เน็ต Web Browsing , Email และ Social Networking จากเดิมที่ใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ หน้าจอเล็ก ใช้งานไม่สะดวก แต่ iPad จะกลายเป็นอุปกรณ์ที่สามารถทำงานดังกล่าวและใช้ทดแทนกันได้ ทำให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจากทุกที่ ทุกเวลา
- เปลี่ยนรูปแบบของการอ่าน E-Book จาก E-Ink ที่มีลักษณะอ่านง่ายสบายตา แต่เป็นสีขาวดำและไม่น่าสนใจ กลายเป็น E-Book ที่มีลักษณะเป็น Interactive E-Book ที่มาพร้อมสีสัน เสียง และภาพเคลื่อนไหว สร้างตลาดใหม่สำหรับ Interactive E-Book ทำให้คู่แข่งขันของตลาดนี้ ไม่ได้มีเพียงสำนักพิมพ์เท่านั้น แต่ยังมีบรรดาเจ้าของเว็บไซต์เพิ่มเข้ามาด้วย
- เกมแบบ Multi-player จะได้รับความนิยมสูง หน้าจอขนาดใหญ่ ผนวกกับความสามารถด้าน Multi-touch ทำให้เกมหนึ่ง อาจจะมีการแบ่งจอเพื่อเล่นหลายคนพร้อมกัน บนiPad เครื่องเดียวกัน หรือหลายเครื่อง ลองนึกภาพการช่วยกันต่อ Jigsaw เกมง่ายๆ อย่าง Photo Hunt หรือเกมยากๆ แนว Action ต่อสู้กัน หรือเกมขับรถแข่ง
from http://www.positioningmag.com/magazine/details.aspx?id=86089
ปฏิวัติ “สิ่งพิมพ์”
ปลายนิ้วที่ได้สัมผัสจอ iPad ไม่ว่าจะมุมขวาล่าง ในการพลิกเปลี่ยนหน้าหนังสือ การยืดชิดจีบนิ้วเพื่อซูมเข้าออกดูภาพและตัวอักษรในขนาดที่ต้องการ การพลิ้วเลื่อนขึ้นลง และการเคาะนิ้วเบาๆ เพื่อสัมผัสชมภาพเคลื่อนไหวในหน้าหนังสือ ทำให้ยิ่งคอนเฟิร์มว่า iPad เกิดมาเพื่อสิ่งนี้ แม้ e-Reader จะเป็นเครื่องอ่านหนังสือดิจิตอลที่เกิดก่อน และทำยอดขายได้ดีในอเมริกา แต่สำหรับในไทยกระแสเงียบ และเมื่อ iPad โชว์ตัวว่าอ่านได้และให้ความบันเทิงมากกว่า e-Reader ในไทยแทบจะถูกฝังกลบจนมิด ค่ายสิ่งพิมพ์เองตั้งแต่พ็อกเกตบุ๊ก หนังสือพิมพ์ และนิตยสารต่างเริ่มตื่นตัวเพื่อเกาะกระแสให้ทัน เพียงแต่ว่ารอให้แรงอีกนิด ก็พร้อมกระโดดลงจอให้ทัชกันได้ทันที
ผลกระทบของ iPad ต่อธุรกิจสิ่งพิมพ์ ในช่วงแรกที่มีการถกเถียงกันคือการตั้งคำถามว่า iPad จะฆ่าธุรกิจสิ่งพิมพ์ให้หายไปจากโลกนี้หรือไม่... คำตอบคือ อาจจะใช่ ถ้าไม่ปรับตัว และยิ่ง iPad ขายได้จำนวน 3 แสนเครื่องในวันแรก จำนวน 2 ล้านเครื่องภายใน 58 วันทั่วโลก เฉลี่ยนาทีหนึ่งขายได้ 24 เครื่อง (ราวกับแจกฟรี) ความหวังยิ่งชัดขึ้นว่า iPad คืออุปกรณ์ที่มาแทนกระดาษเท่านั้น เพราะคอนเทนต์ที่มีอยู่ในตัวสื่อมวลชน นักข่าว นักเขียนทั้งหลาย จะยิ่งมีค่าหาก iPad วิ่งต่อไปได้เรื่อยๆ จนคนจำนวนมากครอบครอง เพราะนั่นหมายถึงโอกาสที่หนังสือจะถูกอ่านก็มากขึ้น คำตอบในเวลานี้คือ iPad กำลังเป็นสื่อที่ทรงพลังมากขึ้น และหากดึงให้แท็ปเล็ตแบรนด์อื่นๆ เติบโตตามด้วย ก็หมายถึงโอกาสที่มากขึ้นของธุรกิจสิ่งพิมพ์นั่นเอง
แมเนเจอร์ออนไลน์ รวมจุดแข็งรอหลักแสน
วริษฐ์ ลิ้มทองกุล ผู้อำนวยการเว็บไซต์ manager.co.th และ วรมน ดำรงศิลป์สกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านมัลติมีเดีย ในเครือบริษัทเอเอสทีวี ผู้จัดการ ต่างมองเห็นโอกาสในการพัฒนา “สื่อ” ในเครือ ที่มีตั้งแต่ทีวี หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร ให้ไปปรากฏโฉมบน iPad เพียงแต่ว่ายังต้องรอเวลา และสำรวจกระแส iPad อีกสักพัก ซึ่งในจุดที่เหมาะสมกับการลงทุน iPad น่าจะมีคนถือในหลักแสนคน และยังต้องศึกษาและปรับเรื่องเทคนิคเพื่อให้เข้ากับฟีเจอร์ของ iPad ที่สำคัญคือการมีลูกเล่น เพื่อให้คนอ่านรู้สึกว่าคุ้มค่าที่จะจ่ายซื้อ หรือเป็นสมาชิก โดยไม่ใช่เพียงแค่อ่านเวอร์ชั่นเว็บไซต์บน iPad เท่านั้น
สิ่งที่ทั้งสองมองเห็นตรงกันคือ iPad มาเติมช่องว่างระหว่างโน้ตบุ๊กและสมาร์ทโฟน ซึ่งที่ผ่านมาเว็บไซต์ข่าวต่างๆ เกิดขึ้นให้คนได้ดูผ่านจอคอมพิวเตอร์ เกิดกระแสที่คนพึ่งพิงข่าวสารจากออนไลน์จำนวนมาก ต่อมาเมื่อสมาร์ทโฟนได้รับความนิยม เว็บไซต์ข่าวจึงได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นให้คนอ่านบนจอเล็กๆ ในมือได้ เหมือนอย่างที่เครือเอเอสทีวีทำมาระยะหนึ่งบน iPhone
ในมุมของ “วริษฐ์” คือค่ายสื่อที่มีความพร้อมด้านคอนเทนต์ทั้งตัวสิ่งพิมพ์ที่มีหลากหลายประเภท และทีวี หรือวิดีโอคลิป คือความได้เปรียบในการใช้ iPad เป็นสื่อมากที่สุด
สำหรับโมเดลธุรกิจที่น่าจะเป็นไปได้ในการทำรายได้จาก iPad นั้น “วรมน” มองเห็น 2 วิธี คือ 1.ให้คนอ่านฟรี โดยเจ้าของสื่อต้องหารายได้จากโฆษณาเอง ซึ่งโอกาสของโฆษณาจะมีมากขึ้น เมื่อสามารถโฆษณาผ่านเวอร์ชั่นบน iPad มีลูกเล่นมากกว่า เช่น การ Interactive และ 2.การเก็บค่าสมาชิก สำหรับต่างประเทศจะง่ายที่ผู้อ่านส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการจ่ายค่าสมาชิกผ่านบัตรเครดิตทางออนไลน์ แต่สำหรับคนไทยในจุดนี้ยังเป็นอุปสรรค ซึ่งค่ายสื่ออาจต้องเจรจากับค่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ เพื่อผูกกับค่าบริการรายเดือน และเพื่อที่จะทำให้ผู้อ่านรู้สึกคุ้มค่าในการจ่าย ค่ายสิ่งพิมพ์อาจต้องใช้วิธีการขายเหมาหลายเล่มที่มีอยู่ในเครือ เพื่อให้ผู้อ่านได้จำนวนหนังสือมากขึ้น
ในเมื่อตัวสื่อเปลี่ยนไป สำหรับผู้ทำคอนเทนต์เองนั้นในที่สุดแล้วกระบวนการทำงานก็ต้องคิดถึงการใช้ประโยชน์จากสื่อให้มากขึ้น เช่น เมื่อก่อนอาจวางแผนเพียงแค่การทำเนื้อหาเล่าเรื่องผ่านตัวอักษร และภาพเท่านั้น แต่ต่อไปคือการวางแผนเพื่อใช้ภาพเคลื่อนไหวมาประกอบเพื่อให้ตัวอักษรมีชีวิตชีวามากขึ้น
ความสามารถของตัวแท็ปเล็ต หรือแม้แต่ e-Reader ในอนาคตซึ่งน่ารวมถึง iPad ที่คาดการณ์กันว่าเวอร์ชั่นใหม่ๆ จะมีกล้องติดมาด้วยนั้น จะยิ่งทำให้การอ่านหนังสือสนุกมากยิ่งขึ้น และน่าทึ่ง ซึ่ง “วรมน” แชร์ลิงค์ Youtube ว่าด้วยเรื่อง Text 2.0 ซึ่งมีผู้ชมคลิกดูแล้ว 130,000 คน พบนวัตกรรมใหม่ที่กล้องตรวจจับความเคลื่อนไหวของสายตา เช่น อ่านเรื่องเจ้าชายน้อย เมื่อสายตาอ่านไปถึงบรรทัดที่เล่าเรื่องการวาดรูปที่ผู้เขียนเล่าถึงการวาดรูปงูกินช้างเข้าไป มุมหนึ่งของหน้าหนังสือก็แสดงภาพประกอบ และเมื่อถามผู้ใหญ่ว่ากลัวภาพเขาไม๊ คำตอบคือทำไมต้องกลัวหมวกด้วย ภาพก็แสดงให้เห็นเป็นงูที่มีช้างอยู่ข้างในแต่ผู้ใหญ่เป็นเป็นหมวก และผู้ใหญ่ก็หัวเราะในความคิดของเขา
นอกจากนี้ยังมีการแปลคำศัพท์ต่างๆ การแยกคำศัพท์เพื่อให้รู้องค์ประกอบของศัพท์ การให้หนังสือออกเสียงบางคำให้ฟัง หรือหากหลงบรรทัดก็สามารถกลับมาได้ไม่ยาก
iPad VS eBook reader (ในอเมริกา)
ชาว iPad 50% อ่านหนังสือพิมพ์บน iPad VS eBook reader อ่านแค่ 14%
ชาว iPad 38% อ่านนิตยสารบน iPad VS eBook reader อ่านแค่ 11%
*ที่มา ChangeWave survey สำรวจ 3,174 คน
ไทยรัฐพร้อมขยับ
ปลายปี 2551 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ยักษ์ใหญ่หนังสือพิมพ์อันดับ 1 ของไทย มีความเปลี่ยนแปลงในสายผลิตภัณฑ์สื่อเป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี ด้วยการทำธุรกิจเว็บไซต์ข่าวออนไลน์อย่างจริงจัง ภายใต้บริษัทลูกที่ชื่อว่า “เทรนด์ วี จี 3 จำกัด” ที่ดูแลโดย”วัชร วัชรพล” ทายาทรุ่นที่ 3 ของวัชรพล ในตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร แม้หน้าตาของเว็บไซต์ไทยรัฐจะไม่เร้าใจ หรือมีลูกเล่นมากนัก แต่ด้วยแบรนด์ไทยรัฐที่เข้มแข็งทำให้ Thairath.co.th มีที่ยืนค่อนข้างมั่นคงในโลกข่าวออนไลน์ เมื่อสื่อใหม่อย่าง iPad กำลังมา ไทยรัฐก็อาจต้องขยับอีกครั้ง เมื่อความเป็นไปได้ทางธุรกิจพร้อม ไทยรัฐจะเปลี่ยนจากโลกของคลิก มาสู่โลกของการทัชอ่านหนังสือพิมพ์เช่นกัน
“วัชร” บอกว่าเขาและทีมงานกำลังศึกษาและหาช่องทางในการใช้สื่อใหม่อย่าง iPad และแน่นอนตัวเขาเองก็ได้ลองเล่น iPad หลังจากจำหน่ายที่อเมริกาเพียงสัปดาห์เดียวเท่านั้น เพราะเขาเป็นทั้งสาวกของแอปเปิลและ Gadget Lover
สำหรับความเป็นไปได้ทางธุรกิจแล้ว”วัชร”บอกว่ายังไม่อยากเป็น Trendsetter แม้จะสนใจ แต่ก็ไม่โดดลงไปทันที นอกจาก iPad แล้วไทยรัฐยังศึกษาทั้งแอพพลิเคชั่นบนมือถือ โดยเฉพาะแอนดรอยด์ที่กำลังดูว่าจะถึงจุดที่เติบโตขึ้นหรือไม่
ความพร้อมของไทยรัฐการสร้างฐานคอนเทนท์บนโปรแกรมที่เปิดกว้าง พร้อมปรับเพิ่มเมื่อมีโปรแกรมใหม่ ๆ และเป็นเทคโนโลยีที่เป็นกลาง เพื่อเข้าสู่ฟีเจอร์ใหม่และอุปกรณ์ใหม่ได้ เช่น เว็บไซต์ไทยรัฐ ไม่ใช้ Flash เพราะไม่ต้องการให้เว็บช้า และเข้าได้กับทุกโปรแกรม เพราะฉะนั้นหากต้องโดดเข้าจอ iPad ก็ไม่มีปัญหาของการดูโปรแกรมที่ iPad ไม่รองรับ Flash เป็นต้น
สำหรับเทคนิคแล้วไม่ใช่อุปสรรคของไทยรัฐ แต่สิ่งที่เห็นเช่นเดียวกับกลุ่มเอเอสทีวี ผู้จัดการคือโมเดลธุรกิจที่จะทำให้เกิดรายได้จริง ซึ่ง “วัชร” บอกว่า เป็นเรื่องยากที่จะทำให้คนจ่ายเงินซื้ออ่าน โดยเฉพาะการจ่ายเป็นรายครั้งของแต่ละคน แบบ Micro Payment จึงเป็นอีกหนึ่งโจทย์ที่วงการสิ่งพิมพ์ต้องหาคำตอบ
เนชั่น เปิดร้านหนังสือ-ทีวี-อ่านนสพ.
อีกหนึ่งโมเดลที่ค่ายสิ่งพิมพ์กำลังขยับ คือโมเดลการเปิดร้านหนังสือออนไลน์ ซึ่งคล้ายกับที่ค่ายสื่อสารอย่างทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด เพิ่งเปิดธุรกิจอีบุ๊ก โดยรวมสำนักพิมพ์หลายแห่งมาเป็นพันธมิตร หรือแม้แต่ค่ายสำนักพิมพ์อมรินทร์เองก็กำลังเร่งพัฒนาอีบุ๊กสโตร์
“อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ” กรรมการอำนวยการ บริษัทเนชั่น บรอดแคสติ้ง จำกัด บอกว่าทุกค่ายสิ่งพิมพ์ต้องปรับตัว เพราะคนจะอ่านหนังสือบน e-Reader และ iPad มากขึ้น
“ทุกสื่อในเครือเนชั่น ตั้งแต่ทีวี หนังสือพิมพ์ และพ็อคเก็ตบุ๊ก กำลังพัฒนาโปรแกรม เพื่อให้คนอ่านบนอุปกรณ์เหล่านี้ได้ โดยโอกาสของสื่อแรกคือพ็อคเก็ตบุ๊ก ที่นอกจากจะรวบรวมคอนเทนท์จากค่ายกรุงเทพธุรกิจบิซบุ๊ก ที่เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับธุรกิจแล้ว ยังจะนำคอนเทนท์ที่นักข่าวเขียนบล็อกเนชั่นมารวมเป็นเล่ม และเปิดโอกาสให้นักเขียนทั่วไปที่สนใจขายพ็อคเก็ตบุ๊กดิจิตอลผ่านเครือข่ายอีบุ๊กของเนชั่น”
เปิดร้านขายหนังสือออนไลน์แล้ว ก้าวต่อไปคือการนำสื่อหนังสือพิมพ์ในเครือทัชอ่านบน iPad และการนำรายการทีวีที่จะนำร่องก่อนคือ Mango TV อีกช่องหนึ่งของทีวีดาวเทียมในเครือเนชั่น
โมเดลที่เครือเนชั่นใช้ในระบบการจ่ายเงินนั้น”อดิศักดิ์” บอกว่า การคิดต่อการดาวน์โหลดหนึ่งครั้ง โดยรวมอยู่ในบิลรายเดือนค่าโทรศัพท์มือถือ หรือตัดเงินจากพรีเพด
“อดิศักดิ์” บอกว่าการที่นักเขียนสามารถจำหน่ายผลงานของตัวเองบนออนไลน์ได้มากขึ้น เพราะคนอ่านหนังสือผ่านหน้าจอที่สะดวกกว่าเดิม ทำให้รูปแบบการธุรกิจจะเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพราะต้นทุนกระดาษ และต้นทุนจัดจำหน่ายผ่านร้านหนังสือลดลง และเจ้าของผลงานก็มีผลตอบแทนที่ดีขึ้น
สิ่งที่เคยยาก และเป็นอุปสรรคสำหรับธุรกิจสิ่งพิมพ์กำลังถูกทำให้สะดวกกว่าเดิม นั่นหมายถึงผลงานที่มากมาย และหลากหลายให้ผู้คนเลือกมากขึ้น
ในวันนี้หากตัวอักษรแรกของค่ายสิ่งพิมพ์ได้เริ่มบรรเลงบนจอ 9.7 นิ้วเมื่อไหร่ นั่นหมายถึงโอกาสที่ธุรกิจสิ่งพิมพ์อาจได้เกิดใหม่และสดใสยิ่งกว่าเดิม
จะเปลี่ยนแปลงหรือว่าปิดตัว
”ผมคิดว่ารากฐานของสังคมที่มีเสรีภาพ คือการมีสื่อที่เป็นอิสระเสรี และแข็งแรง และเราก็ได้เห็นแล้วกับปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกับหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็น Wall Street Journal และ New York Times ผมไม่อยากเห็นสังคมเราดิ่งลงเป็นชาติที่มีแต่บล็อกเกอร์สเท่านั้น และสิ่งที่เราต้องการตอนนี้และตลอดไปคือกองบรรณาธิการข่าว” คำกล่าวนี้แม้ใน mashable.com จะเขียนบอกว่า Steve Jobs ซีอีโอ Appleแสดงการปกป้องสื่อหนังสือพิมพ์อย่างเต็มที่ ก็ตาม แต่นี่คือความปรารถนาที่ทำให้ iPad เข้ามามีบทบาทในธุรกิจสื่อ โดยเฉพาะสิ่งพิมพ์ และกระแสก็มาแล้วพร้อมกับความแรงของ iPad
และก็เป็นไปตามแผนของ Jobs เพราะขณะนี้หนังสือพิมพ์ต่างประเทศต่างพาเหรดให้ทัช เริ่มตั้งแต่ The NewYork Times ที่ Jobs พรีเซนต์ในระหว่างการเปิดตัว iPad และนิตยสารอีกหลายฉบับที่เริ่มนำร่อง แต่นี่คือการเริ่มต้น ที่สิ่งพิมพ์ต่างเลือกว่าจะทำอะไรสักอย่างกับสื่อใหม่อย่าง iPad หรือปิดตัว หลังจากที่สื่อสิ่งพิมพ์ในอเมริกาต่างปิดตัวไปแล้วหลายร้อยแห่ง แม้จะยังไม่มีกรณีศึกษาชัดว่าสำเร็จได้จริงหรือไม่ และที่สำคัญยังราคาแพงกว่าเวอร์ชั่นกระดาษ จนทำให้หลายคนผิดหวัง แต่ทั้งคนผลิตและคนอ่านก็ไม่ย่นย่อ จึงมียอดดาวน์โหลดระดับหนึ่ง เพราะเวอร์ชั่นดาวน์โหลดมีลูกเล่นเพลินมากกว่า
ตัวอย่างเช่น นิตยสาร Popular Science ซึ่งในรูปแบบ Print ค่าสมาชิก 1 ปี อยู่ที่ 12 เหรียญสหรัฐ ถ้าหากสมัครทางเว็บไซต์ของนิตยสาร และ 10 เหรียญสหรัฐหากสมัครผ่านทาง Amazon แต่สำหรับ iPad edition ทางนิตยสารประกาศราคาออกมาแล้วว่า ประมาณ 29.95 เหรียญสหรัฐ
เทียบให้เห็นข้อแตกต่างง่ายๆ 83 เซนต์ต่อฉบับแบบสิ่งพิมพ์ และ 2.50 เหรียญสหรัฐต่อฉบับสำหรับ iPad
เช่นเดียวกับนิตยสาร Time ที่ Ann Moore ซีอีโอของบริษัท Time Inc. ประกาศเมื่อกลางเดือนพฤษภาคมว่า จะเปิดรับสมาชิกนิตยสาร Time บน iPad เร็วๆนี้ และแนวโน้มของราคาก็คงไม่ถูกกว่ารูปแบบกระดาษอย่างแน่นอน เพราะเธอให้เหตุผลที่ชัดเจนว่า
“กลุ่มลูกค้ายินดีที่จะจ่ายเงินให้กับคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ และน่าไว้วางใจ”
Andrew Degenholtz ประธาน ValueMags บริษัทการตลาดสมาชิกนิตยสาร อธิบายถึงความคิดของบรรดาผู้อ่านนิตยสารว่า ทำไมต้องจ่ายแพงกว่า เมื่อไม่ต้องตัดต้นไม่ ไม่ต้องใช้หมึกพิมพ์ และไม่ต้องใช้รถขนส่งขนาดใหญ่ในการจัดส่งนิตยสาร
แต่ในความเป็นจริง มีค่าใช้จ่ายที่สำคัญกว่านั้น คือ ค่าบรรณาธิการ ค่าความคิดสร้าง รวมทั้งการทำวิจัยและการพัฒนา และค่าการผลิต
ที่สำคัญที่สุด คือ นี่เป็นกลยุทธ์การวางราคาอย่างที่ควรจะเป็น
ราคาโหลดแอพฯ จำนวนลูกค้า/โหลด
Wall Street Jornal 17.29 เหรียญสหรัฐ 10,000 ราย
The Times อังกฤษ 9.99 ปอนด์ต่อเดือน 5,000 โหลดภายใน 3 วัน
Finacial Time ฟรี 2 เดือน 130,000 โหลด
Wired 5 เหรียญสหรัฐต่อเล่ม -
Dwell 19.99 เหรียญสหรัฐต่อปี -
from http://www.positioningmag.com/magazine/details.aspx?id=87541
ผลกระทบของ iPad ต่อธุรกิจสิ่งพิมพ์ ในช่วงแรกที่มีการถกเถียงกันคือการตั้งคำถามว่า iPad จะฆ่าธุรกิจสิ่งพิมพ์ให้หายไปจากโลกนี้หรือไม่... คำตอบคือ อาจจะใช่ ถ้าไม่ปรับตัว และยิ่ง iPad ขายได้จำนวน 3 แสนเครื่องในวันแรก จำนวน 2 ล้านเครื่องภายใน 58 วันทั่วโลก เฉลี่ยนาทีหนึ่งขายได้ 24 เครื่อง (ราวกับแจกฟรี) ความหวังยิ่งชัดขึ้นว่า iPad คืออุปกรณ์ที่มาแทนกระดาษเท่านั้น เพราะคอนเทนต์ที่มีอยู่ในตัวสื่อมวลชน นักข่าว นักเขียนทั้งหลาย จะยิ่งมีค่าหาก iPad วิ่งต่อไปได้เรื่อยๆ จนคนจำนวนมากครอบครอง เพราะนั่นหมายถึงโอกาสที่หนังสือจะถูกอ่านก็มากขึ้น คำตอบในเวลานี้คือ iPad กำลังเป็นสื่อที่ทรงพลังมากขึ้น และหากดึงให้แท็ปเล็ตแบรนด์อื่นๆ เติบโตตามด้วย ก็หมายถึงโอกาสที่มากขึ้นของธุรกิจสิ่งพิมพ์นั่นเอง
แมเนเจอร์ออนไลน์ รวมจุดแข็งรอหลักแสน
วริษฐ์ ลิ้มทองกุล ผู้อำนวยการเว็บไซต์ manager.co.th และ วรมน ดำรงศิลป์สกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านมัลติมีเดีย ในเครือบริษัทเอเอสทีวี ผู้จัดการ ต่างมองเห็นโอกาสในการพัฒนา “สื่อ” ในเครือ ที่มีตั้งแต่ทีวี หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร ให้ไปปรากฏโฉมบน iPad เพียงแต่ว่ายังต้องรอเวลา และสำรวจกระแส iPad อีกสักพัก ซึ่งในจุดที่เหมาะสมกับการลงทุน iPad น่าจะมีคนถือในหลักแสนคน และยังต้องศึกษาและปรับเรื่องเทคนิคเพื่อให้เข้ากับฟีเจอร์ของ iPad ที่สำคัญคือการมีลูกเล่น เพื่อให้คนอ่านรู้สึกว่าคุ้มค่าที่จะจ่ายซื้อ หรือเป็นสมาชิก โดยไม่ใช่เพียงแค่อ่านเวอร์ชั่นเว็บไซต์บน iPad เท่านั้น
สิ่งที่ทั้งสองมองเห็นตรงกันคือ iPad มาเติมช่องว่างระหว่างโน้ตบุ๊กและสมาร์ทโฟน ซึ่งที่ผ่านมาเว็บไซต์ข่าวต่างๆ เกิดขึ้นให้คนได้ดูผ่านจอคอมพิวเตอร์ เกิดกระแสที่คนพึ่งพิงข่าวสารจากออนไลน์จำนวนมาก ต่อมาเมื่อสมาร์ทโฟนได้รับความนิยม เว็บไซต์ข่าวจึงได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นให้คนอ่านบนจอเล็กๆ ในมือได้ เหมือนอย่างที่เครือเอเอสทีวีทำมาระยะหนึ่งบน iPhone
ในมุมของ “วริษฐ์” คือค่ายสื่อที่มีความพร้อมด้านคอนเทนต์ทั้งตัวสิ่งพิมพ์ที่มีหลากหลายประเภท และทีวี หรือวิดีโอคลิป คือความได้เปรียบในการใช้ iPad เป็นสื่อมากที่สุด
สำหรับโมเดลธุรกิจที่น่าจะเป็นไปได้ในการทำรายได้จาก iPad นั้น “วรมน” มองเห็น 2 วิธี คือ 1.ให้คนอ่านฟรี โดยเจ้าของสื่อต้องหารายได้จากโฆษณาเอง ซึ่งโอกาสของโฆษณาจะมีมากขึ้น เมื่อสามารถโฆษณาผ่านเวอร์ชั่นบน iPad มีลูกเล่นมากกว่า เช่น การ Interactive และ 2.การเก็บค่าสมาชิก สำหรับต่างประเทศจะง่ายที่ผู้อ่านส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการจ่ายค่าสมาชิกผ่านบัตรเครดิตทางออนไลน์ แต่สำหรับคนไทยในจุดนี้ยังเป็นอุปสรรค ซึ่งค่ายสื่ออาจต้องเจรจากับค่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ เพื่อผูกกับค่าบริการรายเดือน และเพื่อที่จะทำให้ผู้อ่านรู้สึกคุ้มค่าในการจ่าย ค่ายสิ่งพิมพ์อาจต้องใช้วิธีการขายเหมาหลายเล่มที่มีอยู่ในเครือ เพื่อให้ผู้อ่านได้จำนวนหนังสือมากขึ้น
ในเมื่อตัวสื่อเปลี่ยนไป สำหรับผู้ทำคอนเทนต์เองนั้นในที่สุดแล้วกระบวนการทำงานก็ต้องคิดถึงการใช้ประโยชน์จากสื่อให้มากขึ้น เช่น เมื่อก่อนอาจวางแผนเพียงแค่การทำเนื้อหาเล่าเรื่องผ่านตัวอักษร และภาพเท่านั้น แต่ต่อไปคือการวางแผนเพื่อใช้ภาพเคลื่อนไหวมาประกอบเพื่อให้ตัวอักษรมีชีวิตชีวามากขึ้น
ความสามารถของตัวแท็ปเล็ต หรือแม้แต่ e-Reader ในอนาคตซึ่งน่ารวมถึง iPad ที่คาดการณ์กันว่าเวอร์ชั่นใหม่ๆ จะมีกล้องติดมาด้วยนั้น จะยิ่งทำให้การอ่านหนังสือสนุกมากยิ่งขึ้น และน่าทึ่ง ซึ่ง “วรมน” แชร์ลิงค์ Youtube ว่าด้วยเรื่อง Text 2.0 ซึ่งมีผู้ชมคลิกดูแล้ว 130,000 คน พบนวัตกรรมใหม่ที่กล้องตรวจจับความเคลื่อนไหวของสายตา เช่น อ่านเรื่องเจ้าชายน้อย เมื่อสายตาอ่านไปถึงบรรทัดที่เล่าเรื่องการวาดรูปที่ผู้เขียนเล่าถึงการวาดรูปงูกินช้างเข้าไป มุมหนึ่งของหน้าหนังสือก็แสดงภาพประกอบ และเมื่อถามผู้ใหญ่ว่ากลัวภาพเขาไม๊ คำตอบคือทำไมต้องกลัวหมวกด้วย ภาพก็แสดงให้เห็นเป็นงูที่มีช้างอยู่ข้างในแต่ผู้ใหญ่เป็นเป็นหมวก และผู้ใหญ่ก็หัวเราะในความคิดของเขา
นอกจากนี้ยังมีการแปลคำศัพท์ต่างๆ การแยกคำศัพท์เพื่อให้รู้องค์ประกอบของศัพท์ การให้หนังสือออกเสียงบางคำให้ฟัง หรือหากหลงบรรทัดก็สามารถกลับมาได้ไม่ยาก
iPad VS eBook reader (ในอเมริกา)
ชาว iPad 50% อ่านหนังสือพิมพ์บน iPad VS eBook reader อ่านแค่ 14%
ชาว iPad 38% อ่านนิตยสารบน iPad VS eBook reader อ่านแค่ 11%
*ที่มา ChangeWave survey สำรวจ 3,174 คน
ไทยรัฐพร้อมขยับ
ปลายปี 2551 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ยักษ์ใหญ่หนังสือพิมพ์อันดับ 1 ของไทย มีความเปลี่ยนแปลงในสายผลิตภัณฑ์สื่อเป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี ด้วยการทำธุรกิจเว็บไซต์ข่าวออนไลน์อย่างจริงจัง ภายใต้บริษัทลูกที่ชื่อว่า “เทรนด์ วี จี 3 จำกัด” ที่ดูแลโดย”วัชร วัชรพล” ทายาทรุ่นที่ 3 ของวัชรพล ในตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร แม้หน้าตาของเว็บไซต์ไทยรัฐจะไม่เร้าใจ หรือมีลูกเล่นมากนัก แต่ด้วยแบรนด์ไทยรัฐที่เข้มแข็งทำให้ Thairath.co.th มีที่ยืนค่อนข้างมั่นคงในโลกข่าวออนไลน์ เมื่อสื่อใหม่อย่าง iPad กำลังมา ไทยรัฐก็อาจต้องขยับอีกครั้ง เมื่อความเป็นไปได้ทางธุรกิจพร้อม ไทยรัฐจะเปลี่ยนจากโลกของคลิก มาสู่โลกของการทัชอ่านหนังสือพิมพ์เช่นกัน
“วัชร” บอกว่าเขาและทีมงานกำลังศึกษาและหาช่องทางในการใช้สื่อใหม่อย่าง iPad และแน่นอนตัวเขาเองก็ได้ลองเล่น iPad หลังจากจำหน่ายที่อเมริกาเพียงสัปดาห์เดียวเท่านั้น เพราะเขาเป็นทั้งสาวกของแอปเปิลและ Gadget Lover
สำหรับความเป็นไปได้ทางธุรกิจแล้ว”วัชร”บอกว่ายังไม่อยากเป็น Trendsetter แม้จะสนใจ แต่ก็ไม่โดดลงไปทันที นอกจาก iPad แล้วไทยรัฐยังศึกษาทั้งแอพพลิเคชั่นบนมือถือ โดยเฉพาะแอนดรอยด์ที่กำลังดูว่าจะถึงจุดที่เติบโตขึ้นหรือไม่
ความพร้อมของไทยรัฐการสร้างฐานคอนเทนท์บนโปรแกรมที่เปิดกว้าง พร้อมปรับเพิ่มเมื่อมีโปรแกรมใหม่ ๆ และเป็นเทคโนโลยีที่เป็นกลาง เพื่อเข้าสู่ฟีเจอร์ใหม่และอุปกรณ์ใหม่ได้ เช่น เว็บไซต์ไทยรัฐ ไม่ใช้ Flash เพราะไม่ต้องการให้เว็บช้า และเข้าได้กับทุกโปรแกรม เพราะฉะนั้นหากต้องโดดเข้าจอ iPad ก็ไม่มีปัญหาของการดูโปรแกรมที่ iPad ไม่รองรับ Flash เป็นต้น
สำหรับเทคนิคแล้วไม่ใช่อุปสรรคของไทยรัฐ แต่สิ่งที่เห็นเช่นเดียวกับกลุ่มเอเอสทีวี ผู้จัดการคือโมเดลธุรกิจที่จะทำให้เกิดรายได้จริง ซึ่ง “วัชร” บอกว่า เป็นเรื่องยากที่จะทำให้คนจ่ายเงินซื้ออ่าน โดยเฉพาะการจ่ายเป็นรายครั้งของแต่ละคน แบบ Micro Payment จึงเป็นอีกหนึ่งโจทย์ที่วงการสิ่งพิมพ์ต้องหาคำตอบ
เนชั่น เปิดร้านหนังสือ-ทีวี-อ่านนสพ.
อีกหนึ่งโมเดลที่ค่ายสิ่งพิมพ์กำลังขยับ คือโมเดลการเปิดร้านหนังสือออนไลน์ ซึ่งคล้ายกับที่ค่ายสื่อสารอย่างทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด เพิ่งเปิดธุรกิจอีบุ๊ก โดยรวมสำนักพิมพ์หลายแห่งมาเป็นพันธมิตร หรือแม้แต่ค่ายสำนักพิมพ์อมรินทร์เองก็กำลังเร่งพัฒนาอีบุ๊กสโตร์
“อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ” กรรมการอำนวยการ บริษัทเนชั่น บรอดแคสติ้ง จำกัด บอกว่าทุกค่ายสิ่งพิมพ์ต้องปรับตัว เพราะคนจะอ่านหนังสือบน e-Reader และ iPad มากขึ้น
“ทุกสื่อในเครือเนชั่น ตั้งแต่ทีวี หนังสือพิมพ์ และพ็อคเก็ตบุ๊ก กำลังพัฒนาโปรแกรม เพื่อให้คนอ่านบนอุปกรณ์เหล่านี้ได้ โดยโอกาสของสื่อแรกคือพ็อคเก็ตบุ๊ก ที่นอกจากจะรวบรวมคอนเทนท์จากค่ายกรุงเทพธุรกิจบิซบุ๊ก ที่เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับธุรกิจแล้ว ยังจะนำคอนเทนท์ที่นักข่าวเขียนบล็อกเนชั่นมารวมเป็นเล่ม และเปิดโอกาสให้นักเขียนทั่วไปที่สนใจขายพ็อคเก็ตบุ๊กดิจิตอลผ่านเครือข่ายอีบุ๊กของเนชั่น”
เปิดร้านขายหนังสือออนไลน์แล้ว ก้าวต่อไปคือการนำสื่อหนังสือพิมพ์ในเครือทัชอ่านบน iPad และการนำรายการทีวีที่จะนำร่องก่อนคือ Mango TV อีกช่องหนึ่งของทีวีดาวเทียมในเครือเนชั่น
โมเดลที่เครือเนชั่นใช้ในระบบการจ่ายเงินนั้น”อดิศักดิ์” บอกว่า การคิดต่อการดาวน์โหลดหนึ่งครั้ง โดยรวมอยู่ในบิลรายเดือนค่าโทรศัพท์มือถือ หรือตัดเงินจากพรีเพด
“อดิศักดิ์” บอกว่าการที่นักเขียนสามารถจำหน่ายผลงานของตัวเองบนออนไลน์ได้มากขึ้น เพราะคนอ่านหนังสือผ่านหน้าจอที่สะดวกกว่าเดิม ทำให้รูปแบบการธุรกิจจะเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพราะต้นทุนกระดาษ และต้นทุนจัดจำหน่ายผ่านร้านหนังสือลดลง และเจ้าของผลงานก็มีผลตอบแทนที่ดีขึ้น
สิ่งที่เคยยาก และเป็นอุปสรรคสำหรับธุรกิจสิ่งพิมพ์กำลังถูกทำให้สะดวกกว่าเดิม นั่นหมายถึงผลงานที่มากมาย และหลากหลายให้ผู้คนเลือกมากขึ้น
ในวันนี้หากตัวอักษรแรกของค่ายสิ่งพิมพ์ได้เริ่มบรรเลงบนจอ 9.7 นิ้วเมื่อไหร่ นั่นหมายถึงโอกาสที่ธุรกิจสิ่งพิมพ์อาจได้เกิดใหม่และสดใสยิ่งกว่าเดิม
จะเปลี่ยนแปลงหรือว่าปิดตัว
”ผมคิดว่ารากฐานของสังคมที่มีเสรีภาพ คือการมีสื่อที่เป็นอิสระเสรี และแข็งแรง และเราก็ได้เห็นแล้วกับปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกับหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็น Wall Street Journal และ New York Times ผมไม่อยากเห็นสังคมเราดิ่งลงเป็นชาติที่มีแต่บล็อกเกอร์สเท่านั้น และสิ่งที่เราต้องการตอนนี้และตลอดไปคือกองบรรณาธิการข่าว” คำกล่าวนี้แม้ใน mashable.com จะเขียนบอกว่า Steve Jobs ซีอีโอ Appleแสดงการปกป้องสื่อหนังสือพิมพ์อย่างเต็มที่ ก็ตาม แต่นี่คือความปรารถนาที่ทำให้ iPad เข้ามามีบทบาทในธุรกิจสื่อ โดยเฉพาะสิ่งพิมพ์ และกระแสก็มาแล้วพร้อมกับความแรงของ iPad
และก็เป็นไปตามแผนของ Jobs เพราะขณะนี้หนังสือพิมพ์ต่างประเทศต่างพาเหรดให้ทัช เริ่มตั้งแต่ The NewYork Times ที่ Jobs พรีเซนต์ในระหว่างการเปิดตัว iPad และนิตยสารอีกหลายฉบับที่เริ่มนำร่อง แต่นี่คือการเริ่มต้น ที่สิ่งพิมพ์ต่างเลือกว่าจะทำอะไรสักอย่างกับสื่อใหม่อย่าง iPad หรือปิดตัว หลังจากที่สื่อสิ่งพิมพ์ในอเมริกาต่างปิดตัวไปแล้วหลายร้อยแห่ง แม้จะยังไม่มีกรณีศึกษาชัดว่าสำเร็จได้จริงหรือไม่ และที่สำคัญยังราคาแพงกว่าเวอร์ชั่นกระดาษ จนทำให้หลายคนผิดหวัง แต่ทั้งคนผลิตและคนอ่านก็ไม่ย่นย่อ จึงมียอดดาวน์โหลดระดับหนึ่ง เพราะเวอร์ชั่นดาวน์โหลดมีลูกเล่นเพลินมากกว่า
ตัวอย่างเช่น นิตยสาร Popular Science ซึ่งในรูปแบบ Print ค่าสมาชิก 1 ปี อยู่ที่ 12 เหรียญสหรัฐ ถ้าหากสมัครทางเว็บไซต์ของนิตยสาร และ 10 เหรียญสหรัฐหากสมัครผ่านทาง Amazon แต่สำหรับ iPad edition ทางนิตยสารประกาศราคาออกมาแล้วว่า ประมาณ 29.95 เหรียญสหรัฐ
เทียบให้เห็นข้อแตกต่างง่ายๆ 83 เซนต์ต่อฉบับแบบสิ่งพิมพ์ และ 2.50 เหรียญสหรัฐต่อฉบับสำหรับ iPad
เช่นเดียวกับนิตยสาร Time ที่ Ann Moore ซีอีโอของบริษัท Time Inc. ประกาศเมื่อกลางเดือนพฤษภาคมว่า จะเปิดรับสมาชิกนิตยสาร Time บน iPad เร็วๆนี้ และแนวโน้มของราคาก็คงไม่ถูกกว่ารูปแบบกระดาษอย่างแน่นอน เพราะเธอให้เหตุผลที่ชัดเจนว่า
“กลุ่มลูกค้ายินดีที่จะจ่ายเงินให้กับคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ และน่าไว้วางใจ”
Andrew Degenholtz ประธาน ValueMags บริษัทการตลาดสมาชิกนิตยสาร อธิบายถึงความคิดของบรรดาผู้อ่านนิตยสารว่า ทำไมต้องจ่ายแพงกว่า เมื่อไม่ต้องตัดต้นไม่ ไม่ต้องใช้หมึกพิมพ์ และไม่ต้องใช้รถขนส่งขนาดใหญ่ในการจัดส่งนิตยสาร
แต่ในความเป็นจริง มีค่าใช้จ่ายที่สำคัญกว่านั้น คือ ค่าบรรณาธิการ ค่าความคิดสร้าง รวมทั้งการทำวิจัยและการพัฒนา และค่าการผลิต
ที่สำคัญที่สุด คือ นี่เป็นกลยุทธ์การวางราคาอย่างที่ควรจะเป็น
ราคาโหลดแอพฯ จำนวนลูกค้า/โหลด
Wall Street Jornal 17.29 เหรียญสหรัฐ 10,000 ราย
The Times อังกฤษ 9.99 ปอนด์ต่อเดือน 5,000 โหลดภายใน 3 วัน
Finacial Time ฟรี 2 เดือน 130,000 โหลด
Wired 5 เหรียญสหรัฐต่อเล่ม -
Dwell 19.99 เหรียญสหรัฐต่อปี -
from http://www.positioningmag.com/magazine/details.aspx?id=87541
ใครกันแน่ปฏิวัติสิ่งพิมพ์
e-Magazine, e-Book และดิจิตอล แมกกาซีนบน iPad หลายคนอาจถามคำถาม ใครแน่คือผู้ที่เปลี่ยนโฉมหน้าสิ่งพิมพ์ไปสู่โลกดิจิตอลอย่างแท้จริง
ยุค e-Magazine
นับเป็นยุคแรกของการที่นิตยสารฉบับปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์ โดยให้ผู้อ่านโหลดไฟล์ ในรูปแบบนามสกุล PDF มาดูบนเว็บไซต์ เรียกว่าเป็นแค่การเพิ่มทางเลือก จากอ่านบนสิ่งพิมพ์มาอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งการอ่านนั้นไม่แตกต่างจากแมกกาซีน
ยุค e-Book
ต่อมาร้านขายหนังสือออนไลน์ คลอด e-Book ออกสู่ตลาด เช่น Kindle จากค่าย Amazon หรือ Nook จาก Barn & Noble เป็นอีกยุคที่เปลี่ยนผ่านของการอ่านหนังสือ เมื่อหนอนหนังสือจะได้เปลี่ยนบรรยากาศมาอ่านหนังสือบนเครื่องพกพาขนาดจิ๋ว ที่เดินทางไปกับนักอ่านได้ทุกที่ โหลดหนังสือจากอินเทอร์เน็ตมาอ่านได้ฟรี และการอ่านก็สบายตากว่าการดูจากจอคอมพิวเตอร์
ยุค Digital Magazine
แม้ว่า e-Book จะตอบสนองการอ่านได้สะดวกยิ่งขึ้น แต่หลายคนมองว่ายังไม่ใช่จุดเปลี่ยนของดิจิตอลมีเดียที่แท้จริง จนกระทั่งการมาของ iPad ด้วยความนิยมในตัวเครื่อง บวกกับการอยู่ในรูปแบบของแอพพลิเคชั่นบวกกับ Content หลายคนเชื่อว่าการปฏิวัติสิ่งพิมพ์เริ่มขึ้นแล้ว
เมื่อ iPad สามารถเป็นได้ทั้ง Digital Picture Book (แอพพลิเคชั่นที่ประกอบด้วยเนื้อหาจากหนังสือภาพ), Digital Magazine โดยมีตัวอย่างของนิตยสารชื่อดังอย่าง Times นั้นประเดิมคลอดแอพพลิเคชั่นให้ผู้ใช้ iPad สามารถดาวน์โหลดไปเพื่ออ่านบทความ ชมวิดีโอ ฟังโฆษณา และอื่นๆ ได้
ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน คือ นิตยสารจะไม่ได้มีแต่โฆษณาภาพนิ่งอีกต่อไป แต่สามารถแสดงในรูปแบบวิดีโอ พ่วงเครือข่ายสังคม หรือดึงข้อมูลจากระบบ CRM เพื่อโอกาสต่อยอดสู่การซื้อสินค้าได้เลย
ไม่มีอายุ ในโลกของดิจิตอล แมกกาซีน นอกจากค่ายสิ่งพิมพ์จะไม่ต้องรอรอบวันเวลาวางแผง จะวางถี่แค่ไหนก็ทำได้ เนื่องจากไม่มีต้นทุนการพิมพ์ แถมสามารถวัดฟีดแบ็กได้ทันใจ ไม่ต้องรอปลายปี
กำเนิด Ad 3.0 อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์จะต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำงานทั้งระบบ โรงพิมพ์จะกลายเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับสื่อสิ่งพิมพ์จะต้องปรับตัว โฆษณาออนไลน์จะเข้าสู่ยุค Ad 3.0 เปลี่ยนรูปแบบโฆษณาเดิมๆ ไปอย่างสิ้นเชิง
สุธิดา มาไลยพันธุ์ Executive Vice President – Digital Media บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) เชื่อว่า Digital Media คือเซ็กเมนต์ใหม่ที่สิ่งพิมพ์ต้องทำ โดยเฉพาะการมาของ โฆษณา 3.0 ที่จะมีบทบาทต่อไป
“Ad 1.0 คือโฆษณาในก่อนยุคอินเทอร์เน็ตเกิด Ad 2.0 เป็นยุคของเว็บไซต์ โฆษณาเริ่มวัดผลการเข้าชมจากจำนวนคลิกได้ ขณะที่ Ad 3.0 จะทำให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ตรงมากขึ้น กูเกิลคือตัวอย่าง และยังรู้ด้วยว่ารู้ว่าลูกค้าเป็นใคร ชอบอะไร เมื่อกำหนดกลุ่มลูกค้าได้ วัดผลได้ การลงทุนก็คุ้มค่ามากขึ้น และลูกค้าสามารถเลือกได้ ว่าต้องการรับโฆษณาสินค้าอะไรบ้าง”
จุดอ่อนสำคัญของ Digital Media คือปัญหาการถูกก๊อบปี้ แต่หลายคนเชื่อว่าการจัดการลิขสิทธิ์ดิจิตอลหรือ DRM ในโลกของ Digital Media จะเกิดขึ้นอย่างจริงจังในไม่นานนี้ แต่ถ้าแมกกาซีนฉบับใดหารายได้จากโฆษณา ปัญหาการก๊อบปี้ก็ไม่ใช่อุปสรรคแต่อย่างใด
เกิดเซ็กเมนต์ใหม่
นักสังเกตการณ์เชื่อว่า Digital Media จะกระทบต่อสิ่งพิมพ์ดั้งเดิมบางส่วนเท่านั้น โดยสื่อเหล่านี้ควรมอง Digital Media ในฐานะของโอกาสใหม่ ไม่ใช่จุดตายของสื่อสิ่งพิมพ์
วิโรจน์ อัศวรังสี รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิ แอสไพเรอร์ส กรุ๊ป จำกัด เชื่อว่า ดิจิตอล มีเดียจะทำให้เกิดเซ็กเมนต์ใหม่ในตลาด
เขายกตัวอย่าง นิตยสาร People เปิดให้ลูกค้าใหม่ดาวน์โหลด Digital Magazine ในราคา 3.99 เหรียญ แต่สำหรับสมาชิกให้โหลดฟรี เห็นได้ชัดว่าวิธีนี้ทำให้สื่อใหม่ และสื่อใหม่เก่าอยู่รวมกันได้
"เวลานี้ นิตยสารไทยอย่าง Mars ก็เริ่มทำแล้ว อีกเดือน 2 เดือนนี้เราจะเห็นมากขึ้น PC World ของเราก็จะทำเหมือนกัน" วิโรจน์ยืนยันถึงการนำแอสไพเรอร์ส ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตนิตยสารหัวใหญ่ PC World เข้าสู่ดิจิตอลแมกกาซีนในเร็วๆ นี้
วิโรจน์กล่าวว่า ค่ายนิตยสารต้องปรับตัวเพื่อรองรับได้กับทุกแพลตฟอร์มหนังสือดิจิตอลยุคใหม่ e-Book, e-Magazine และล่าสุดคือ Digital Magazineแต่ก็ยอมรับว่าโจทย์นี้จะยังเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกของ Publisher ทั่วโลกก็ตาม
สุปรีย์ ทองเพชร กรรมการผู้จัดการ บริษัท คัลเลอร์ดอกเตอร์ จำกัด มองเห็นโอกาสการเปลี่ยนแปลง เปิดบริษัทรับงานที่ปรึกษาดิจิตอลมีเดีย มองว่า การเกิดของดิจิตอลมีเดียทำให้ธุรกิจสิ่งพิมพ์ต้องปรับตัว โดยเฉพาะเนื้อหา เพราะความที่ข้อความและรูปภาพไม่เพียงพอต่อการสร้าง Digital Media แต่จะต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์แขนงใหม่เพื่อเพิ่มความสนุกสนานและสร้างแรงดึงดูดนักโฆษณา
"ถ้าคิดว่าจะเปลี่ยนแค่จากกระดาษมาเป็นจอภาพมันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้น เราต้องผลิตคอนเทนต์ที่เหมาะสม เราต้องเป็น Template Provider ธุรกิจนี้จะเป็นตัวเสริมให้ธุรกิจ Printed Magazine เพราะเราสามารถเสนอบางเนื้อหาที่รูปเล่มนิตยสารทำไมได้ มาเสริมเนื้อหาในภาพรวมดีขึ้น”
ศัพท์ใหม่ยุค Digital Media
จากคำเรียกแผงจำหน่ายหนังสือพิมพ์นิตยสารตามร้านค้าปลีกว่า News Stand วันนี้เกิดศัพท์คำว่า Hand Stand ขึ้นมาแล้ว เพราะมันคือร้านจำหน่ายหนังสือพิมพ์นิตยสารที่อยู่บนมือของเราเอง
In App Perchaser ศัพท์ใหม่สำหรับเรียกกลุ่มตลาดเซ็กเมนต์ใหม่ ลูกค้ากลุ่มนี้คือผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น เชื่อว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในธุรกิจโฆษณาบนแอพพลิเคชั่นคัญของ Digital Magazine
from http://www.positioningmag.com/magazine/details.aspx?id=90089
ยุค e-Magazine
นับเป็นยุคแรกของการที่นิตยสารฉบับปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์ โดยให้ผู้อ่านโหลดไฟล์ ในรูปแบบนามสกุล PDF มาดูบนเว็บไซต์ เรียกว่าเป็นแค่การเพิ่มทางเลือก จากอ่านบนสิ่งพิมพ์มาอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งการอ่านนั้นไม่แตกต่างจากแมกกาซีน
ยุค e-Book
ต่อมาร้านขายหนังสือออนไลน์ คลอด e-Book ออกสู่ตลาด เช่น Kindle จากค่าย Amazon หรือ Nook จาก Barn & Noble เป็นอีกยุคที่เปลี่ยนผ่านของการอ่านหนังสือ เมื่อหนอนหนังสือจะได้เปลี่ยนบรรยากาศมาอ่านหนังสือบนเครื่องพกพาขนาดจิ๋ว ที่เดินทางไปกับนักอ่านได้ทุกที่ โหลดหนังสือจากอินเทอร์เน็ตมาอ่านได้ฟรี และการอ่านก็สบายตากว่าการดูจากจอคอมพิวเตอร์
ยุค Digital Magazine
แม้ว่า e-Book จะตอบสนองการอ่านได้สะดวกยิ่งขึ้น แต่หลายคนมองว่ายังไม่ใช่จุดเปลี่ยนของดิจิตอลมีเดียที่แท้จริง จนกระทั่งการมาของ iPad ด้วยความนิยมในตัวเครื่อง บวกกับการอยู่ในรูปแบบของแอพพลิเคชั่นบวกกับ Content หลายคนเชื่อว่าการปฏิวัติสิ่งพิมพ์เริ่มขึ้นแล้ว
เมื่อ iPad สามารถเป็นได้ทั้ง Digital Picture Book (แอพพลิเคชั่นที่ประกอบด้วยเนื้อหาจากหนังสือภาพ), Digital Magazine โดยมีตัวอย่างของนิตยสารชื่อดังอย่าง Times นั้นประเดิมคลอดแอพพลิเคชั่นให้ผู้ใช้ iPad สามารถดาวน์โหลดไปเพื่ออ่านบทความ ชมวิดีโอ ฟังโฆษณา และอื่นๆ ได้
ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน คือ นิตยสารจะไม่ได้มีแต่โฆษณาภาพนิ่งอีกต่อไป แต่สามารถแสดงในรูปแบบวิดีโอ พ่วงเครือข่ายสังคม หรือดึงข้อมูลจากระบบ CRM เพื่อโอกาสต่อยอดสู่การซื้อสินค้าได้เลย
ไม่มีอายุ ในโลกของดิจิตอล แมกกาซีน นอกจากค่ายสิ่งพิมพ์จะไม่ต้องรอรอบวันเวลาวางแผง จะวางถี่แค่ไหนก็ทำได้ เนื่องจากไม่มีต้นทุนการพิมพ์ แถมสามารถวัดฟีดแบ็กได้ทันใจ ไม่ต้องรอปลายปี
กำเนิด Ad 3.0 อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์จะต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำงานทั้งระบบ โรงพิมพ์จะกลายเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับสื่อสิ่งพิมพ์จะต้องปรับตัว โฆษณาออนไลน์จะเข้าสู่ยุค Ad 3.0 เปลี่ยนรูปแบบโฆษณาเดิมๆ ไปอย่างสิ้นเชิง
สุธิดา มาไลยพันธุ์ Executive Vice President – Digital Media บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) เชื่อว่า Digital Media คือเซ็กเมนต์ใหม่ที่สิ่งพิมพ์ต้องทำ โดยเฉพาะการมาของ โฆษณา 3.0 ที่จะมีบทบาทต่อไป
“Ad 1.0 คือโฆษณาในก่อนยุคอินเทอร์เน็ตเกิด Ad 2.0 เป็นยุคของเว็บไซต์ โฆษณาเริ่มวัดผลการเข้าชมจากจำนวนคลิกได้ ขณะที่ Ad 3.0 จะทำให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ตรงมากขึ้น กูเกิลคือตัวอย่าง และยังรู้ด้วยว่ารู้ว่าลูกค้าเป็นใคร ชอบอะไร เมื่อกำหนดกลุ่มลูกค้าได้ วัดผลได้ การลงทุนก็คุ้มค่ามากขึ้น และลูกค้าสามารถเลือกได้ ว่าต้องการรับโฆษณาสินค้าอะไรบ้าง”
จุดอ่อนสำคัญของ Digital Media คือปัญหาการถูกก๊อบปี้ แต่หลายคนเชื่อว่าการจัดการลิขสิทธิ์ดิจิตอลหรือ DRM ในโลกของ Digital Media จะเกิดขึ้นอย่างจริงจังในไม่นานนี้ แต่ถ้าแมกกาซีนฉบับใดหารายได้จากโฆษณา ปัญหาการก๊อบปี้ก็ไม่ใช่อุปสรรคแต่อย่างใด
เกิดเซ็กเมนต์ใหม่
นักสังเกตการณ์เชื่อว่า Digital Media จะกระทบต่อสิ่งพิมพ์ดั้งเดิมบางส่วนเท่านั้น โดยสื่อเหล่านี้ควรมอง Digital Media ในฐานะของโอกาสใหม่ ไม่ใช่จุดตายของสื่อสิ่งพิมพ์
วิโรจน์ อัศวรังสี รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิ แอสไพเรอร์ส กรุ๊ป จำกัด เชื่อว่า ดิจิตอล มีเดียจะทำให้เกิดเซ็กเมนต์ใหม่ในตลาด
เขายกตัวอย่าง นิตยสาร People เปิดให้ลูกค้าใหม่ดาวน์โหลด Digital Magazine ในราคา 3.99 เหรียญ แต่สำหรับสมาชิกให้โหลดฟรี เห็นได้ชัดว่าวิธีนี้ทำให้สื่อใหม่ และสื่อใหม่เก่าอยู่รวมกันได้
"เวลานี้ นิตยสารไทยอย่าง Mars ก็เริ่มทำแล้ว อีกเดือน 2 เดือนนี้เราจะเห็นมากขึ้น PC World ของเราก็จะทำเหมือนกัน" วิโรจน์ยืนยันถึงการนำแอสไพเรอร์ส ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตนิตยสารหัวใหญ่ PC World เข้าสู่ดิจิตอลแมกกาซีนในเร็วๆ นี้
วิโรจน์กล่าวว่า ค่ายนิตยสารต้องปรับตัวเพื่อรองรับได้กับทุกแพลตฟอร์มหนังสือดิจิตอลยุคใหม่ e-Book, e-Magazine และล่าสุดคือ Digital Magazineแต่ก็ยอมรับว่าโจทย์นี้จะยังเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกของ Publisher ทั่วโลกก็ตาม
สุปรีย์ ทองเพชร กรรมการผู้จัดการ บริษัท คัลเลอร์ดอกเตอร์ จำกัด มองเห็นโอกาสการเปลี่ยนแปลง เปิดบริษัทรับงานที่ปรึกษาดิจิตอลมีเดีย มองว่า การเกิดของดิจิตอลมีเดียทำให้ธุรกิจสิ่งพิมพ์ต้องปรับตัว โดยเฉพาะเนื้อหา เพราะความที่ข้อความและรูปภาพไม่เพียงพอต่อการสร้าง Digital Media แต่จะต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์แขนงใหม่เพื่อเพิ่มความสนุกสนานและสร้างแรงดึงดูดนักโฆษณา
"ถ้าคิดว่าจะเปลี่ยนแค่จากกระดาษมาเป็นจอภาพมันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้น เราต้องผลิตคอนเทนต์ที่เหมาะสม เราต้องเป็น Template Provider ธุรกิจนี้จะเป็นตัวเสริมให้ธุรกิจ Printed Magazine เพราะเราสามารถเสนอบางเนื้อหาที่รูปเล่มนิตยสารทำไมได้ มาเสริมเนื้อหาในภาพรวมดีขึ้น”
ศัพท์ใหม่ยุค Digital Media
จากคำเรียกแผงจำหน่ายหนังสือพิมพ์นิตยสารตามร้านค้าปลีกว่า News Stand วันนี้เกิดศัพท์คำว่า Hand Stand ขึ้นมาแล้ว เพราะมันคือร้านจำหน่ายหนังสือพิมพ์นิตยสารที่อยู่บนมือของเราเอง
In App Perchaser ศัพท์ใหม่สำหรับเรียกกลุ่มตลาดเซ็กเมนต์ใหม่ ลูกค้ากลุ่มนี้คือผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น เชื่อว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในธุรกิจโฆษณาบนแอพพลิเคชั่นคัญของ Digital Magazine
from http://www.positioningmag.com/magazine/details.aspx?id=90089
Mars on iPad...เล่มแรกนะคร้าบบ
จากยุคสิ่งพิมพ์สู่ยุคเว็บไซต์ เข้าสู่ยุคสมัยe-Book คงไม่มีอุปกรณ์ชิ้นไหนที่จะทำให้อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ได้รับผลกระทบเท่ากับการมาของ iPad และนี่เองทำให้ นิตยสาร Mars ขอเป็น First Mover เข้าสู่โลก Digital Magazine ของแท้ๆ บน iPad ฉบับแรกของไทย
10 ปีที่แล้ว พชร สมุทวณิช บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร Marsได้รับมอบหมายให้นำค่ายสิ่งพิมพ์ เอเอสทีวี ผู้จัดการ ก้าวเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มตัว ทุกวันนี้เว็บไซต์แมเนเจอร์ออนไลน์ กลายเป็นเว็บไซต์ข่าว ที่มียอดคนเข้าดูสูงสุด ทำรายได้แซงหน้าสิ่งพิมพ์ และติดอันดับแรกๆ ของเว็บไซต์ที่มีคนเข้าชมมากที่สุดของเมืองไทย
สิบปีผ่านไป “พชร” กำลังเผชิญกับความท้าทายอีกครั้ง คราวนี้เขาได้รับมอบหมายให้นำพานิตยสาร Mars ในเครือเอเอสทีวีผู้จัดการ ก้าวเข้าสู่โลกของ Digital Magazine ก่อนใคร ด้วยฐานคนอ่านที่เป็นคนรุ่นใหม่ และคุ้นเคยกับการใช้ iPad อยู่แล้ว เขาเชื่อว่า นี่คือ การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของค่ายสิ่งพิมพ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น
“หลายปีมานี้ เราพยายามหาช่องทางใหม่ๆ ในการบริโภคข้อมูลข่าวสาร เพราะทุกคนที่อยู่ในธุรกิจสิ่งพิมพ์ต่างรู้ดีว่าต้นทุน 70% มาจากค่ากระดาษ แต่ถึงแม้จะมี e-Book ออกสู่ตลาด ทั้ง Kindle และยี่ห้ออื่นๆ แต่ก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ได้อย่างแท้จริง เป็นแค่การนำกระดาษไปสู่จอพีซี อรรถรสการอ่านไม่แตกต่างจากเดิม ผมเชื่อว่า iPad จะตอบสนองการบริโภคข้อมูลข่าวสารในการอ่านได้สมบูรณ์แบบ” พชร บอกอย่างเชื่อมั่น
ข้อดีของ iPad ที่แตกต่างจาก e-Book ที่ออกมาก่อนหน้านี้ คือ การที่ผู้อ่านโหลดข้อมูลมาไว้ในเครื่อง จากนั้นก็นำไปอ่านได้ทุกที่ โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา จะลิงค์เฉพาะที่ต้องหาข้อมูลจากเว็บไซต์เพิ่มเติม ผู้อ่านได้รับสะดวกยิ่งขึ้น เพราะไม่ต้องพึ่งเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา การโหลดข้อมูลทำได้เร็วทันใจ
ที่สำคัญ นิตยสารสามารถนำเสนอเนื้อหาและภาพหลากหลาย ไม่จำกัดทั้งจำนวนและลักษณะ ซึ่งทำได้ทั้งที่อยู่ในรูปของวิดีคลิป ภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ โดยไม่ต้องถูกจำกัดเหมือนในยุคสิ่งพิมพ์
อุปกรณ์ iPad เองก็ได้ความนิยมแพร่หลาย คนไทยมีใช้ได้เร็ว ไม่ต่างจากคนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งนอกจากแอปเปิลแล้ว ยังมีผู้ผลิตค่ายต่างๆ ซัมซุง เดลล์ และอีกหลายยี่ห้อตรียมวางผลิตภัณฑ์ในลักษณะเดียวกันนี้ออกสู่ตลาดแล้วเช่นกัน
เมื่อมั่นใจว่า iPad คือทิศทางที่ต้องเดินไป และเทคโนโลยีก็เป็นสิ่งที่ทุกคนเท่าทันกันได้ พชรใช้เวลาศึกษานิตยสารจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ถึงแม้จะมีการเคลื่อนไหวของนิตยสารชั้นนำในต่างประเทศ แต่ยังมีน้อยรายมากที่เข้าสู่ดิจิตอลแมกกาซีนอย่างเต็มรูปแบบ คิดเป็นสัดส่วนเพียงแค่ 10% เท่านั้น ในขณะที่ 90% ยังเป็นเพียงแค่การให้บริการขั้นพื้นฐาน และบริการยังไม่ตอบโจทย์ที่แท้จริง
เขายกตัวอย่าง หนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอนิ่งโพสท์ สร้างแอพพลิเคชั่นบน iPad แต่ก็เป็นแค่การนำข้อมูลบน PDF มาไว้บนจอ ออกแบบนิดหน่อย ซึ่งถือว่าเป็นขั้นพื้นฐานมากๆ หรือแม้แต่นิตยสาร จีคิว ที่แม้จะมีลูกเล่นมากขึ้น เช่น ขยายรูปได้แต่การใช้งานยังไม่สะดวกเท่าที่ควร
ส่วนกรณีของ WIRE Magazine ที่กระโดดเข้าสู่การเป็นดิจิตอลแมกกาซีน สร้างความฮือฮาด้วยลูกเล่นต่างๆ ของการนำเสนอเนื้อหาในรูปของเทคโนโลยี 3D เป็นอีกตัวอย่างที่ดี แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล เช่นการพลิกหน้าหนังสือลำบาก เพราะต้องเข้าโปรแกรมใหม่ตลอดเวลา และความที่เป็นแอพพลิเคชั่นที่นิตยสาร WIRE พัฒนาขึ้นเอง จำเป็นต้องพึ่งพาทีมเทคโนโลยีมาก ซึ่งทำได้ยากในแมกกาซีนทั่วไป
ในที่สุดเขาก็พบว่าแอพพลิเคชั่นบนที่ใช้กับนิตยสาร Time น่าจะเป็นคำตอบที่เหมาะสมที่สุด เพราะเป็นแอพพลิเคชั่นมาตรฐานบน iPad ไม่ต้องออกแบบเอง สะดวกในการอ่าน ไม่ซับซ้อน เพราะทำงานบนโปรแกรมเดียว ตอบสนองความเป็นดิจอลแมกกาซีน ได้อย่างแท้จริง
ความพร้อมของฐานข้อมูลก็เป็นเรื่องสำคัญ ใช่ว่านิตยสารทุกฉบับจะทำได้ เมื่อเนื้อหาของ Mars พัฒนาให้ในรูปดิจิตอล เปรียบเป็น “กระทะข่าว” พร้อมนำเนื้อหามาปรุงต่อให้เป็น ดิจิตอลแมกกาซีนได้ทันที การก้าวเข้าสู่ “ดิจิตอล แมกกาซีน” บนiPad จึงเกิดได้เร็วก่อนใคร โดยใช้เวลา 6 เดือน เตรียมเรื่องการออกแบบ และคัดเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้อ่านบน iPad ซึ่งจะมีความแตกต่างจากการบริโภคข่าวบนเว็บไซต์ ที่ต้องการความเร็วและหลากหลายของข้อมูลข่าวสารเป็นหลัก
“หน้าที่ของแมกกาซีนบน iPad คือการเป็นอาหารสมอง เช่น นักธุรกิจ หรือคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย ดูว่าเขาต้องรู้อะไร เราจะคัดเลือกมา10 เรื่องที่เขาควรรู้ในแต่ละวัน เนื้อหาจะลึกขึ้น และนำเสนอได้หลายรูปแบบ จากนั้นอัพเดตให้เขาทุกเช้า พอตื่นมาเขาโหลดข้อมูลไปนั่งอ่านตรงไหนก็ได้ ”
สิ่งแรกแมกกาซีน ดิจิตอล ตอบโจทย์ได้ คือสีสันและความคมชัด ซึ่งเป็นปัญหาที่ไลฟ์สไตล์แมกกาซีนและแฟชั่นต้องเจอมาตลอด เพราะควบคุมได้ยาก แต่เมื่อมาอยู่บน iPad แล้ว หน้าจอที่คมชัด และสีสันสดใส ทำให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป
ส่วนเนื้อหาใน Mars on iPad จะอิงจากตัวแมกกาซีน แต่จะเลือกบางคอลัมน์ และเพิ่มให้มีลูกเล่นการนำเสนอให้มีความหลากหลาย ดูได้ทั้งภาพนิ่ง วิดีโอสัมภาษณ์ผู้บริหาร หนังโฆษณา 3 มิติ พชรเชื่อว่า การอ่านจะกลายเป็นเรื่องสนุกมากขึ้น และตอบสนองการรับรู้ได้ดียิ่งขึ้น
นอกจากดิจิตอล แมกกาซีน ฉีกกฎกติกาในรูปแบบเดิมได้อย่างสิ้นเชิง สร้างโอกาสใหม่ให้กับธุรกิจโฆษณาสามารถนำเสนอสินค้าได้สร้างสรรค์ขึ้น พชรยกตัวอย่าง โฆษณารถยนต์ แทนที่จะเป็นแค่ภาพนิ่งแบบเดิม สามารถใส่คลิปหนังโฆษณา ไฟล์วิดีโอ ผู้บริหารพูดถึงคุณสมบัติของรถ หรือถ้าอยากเลือกดูภาพนิ่งอย่างเดียว ก็ดูได้ไม่จำกัด ทั้งขนาด และจำนวน ดูแล้วอยากจองรถก็ลิงค์ไปที่เว็บไซต์ของบริษัทเจ้าของรถยนต์ได้ทันที
เขายกตัวอย่าง รถยนต์มินิ ต้องการโฆษณารถทั้ง 5 สี ถ้าเป็นเมื่อก่อนคงทำไม่ได้ แต่ถ้าบน iPad เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป คนดูสามารถกดดูสีไปเรื่อยๆ หากอยากรู้ข้อมูล ก็เชื่อมไปดูที่เว็บของมินิ และเลือกโหลดดูรีวิวรถรุ่นนี้จากคอลัมนิสต์
คอลัมน์ Living ของ Mars สามารถนำเสนอกระเบื้องปูพื้น คนอ่านดูเลือกดูภาพกระเบื้องทุกรุ่น ดูได้รู้ด้วยว่าปูแล้วผลเป็นอย่างไร และหากสนใจจะสั่งซื้อก็มีราคา เบอร์ให้ติดต่อเสร็จสรรพ ทำให้คนดูสนุก และเห็นภาพมากขึ้น เจ้าของสินค้าเองก็มีโอกาสขายสินค้าได้ง่ายขึ้น
คอลัมน์รีวิวหนังเป็นอีกตัวอย่าง ผู้อ่านสามารถคลิกดูวิจารณ์หนังจากคอลัมนิสต์เพิ่ม หรือดูตัวอย่างหนังประกอบ หากอยากไปดูในโรงหนังระบบก็ต่อเชื่อมไปที่โรงหนังจองตั๋วได้ทันที เช่นเดียวกับคอลัมน์แนะนำหนังสือ อ่านรีวิวจบอยากซื้อ ระบบเชื่อมเว็บร้านหนังสือ ใน โลกดิจิตอล หากชอบใจเสื้อผ้านางแบบ ก็กดสั่งซื้อได้ทันที พชรเชื่อมั่นว่า นี่คือปฏิวัติรูปแบบของโฆษณาบนแมกกาซีนในอนาคต
ด้วยรูปแบบโฆษณาที่จะมีทางเลือกมากขึ้น ทั้งความหลากหลายของรูปแบบ การทำโปรดักชั่นโฆษณากลายเป็นเรื่องสำคัญ ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ ด้วยความพร้อมของทีมงาน Mars บริษัทในเครือด้วยกัน จะมีบริการรับผลิตโฆษณาให้กับลูกค้า โดยมีให้เลือกตั้งแต่หนังโฆษณาทั่วไป จนถึงหนังโฆษณา 3 มิติ เลือกภาษาที่ใช้ ได้ทั้งไทยและอังกฤษ เพราะเมื่อเป็นแอพพลิเคชั่นบนแอพสโตร์แล้ว ทุกอย่างก็ไร้พรมแดน ไม่มีข้อจำกัด เรื่องของระยะทาง เวลา โหลดอ่านฟรีทั่วโลก
15 ตุลาคม เป็นวันดีเดย์ของ Mars on iPad วางแผง คือบทพิสูจน์ของการเป็น Fist Mover ของนิตยสารเมืองไทย ที่ก้าวเข้าสู่การเป็นดิจิตอล แมกกาซีนเต็มตัวMars on iPad วางแผงแล้วในรูปแบบของแอพพลิเคชั่น ให้ผู้ใช้ iPad ทั่วโลกดาวน์โหลดได้ฟรีทางแอปเปิล แอพสโตร์ ตั้งแต่วันที่
“ไอแพด จะเป็นจุดเริ่มต้น หลังจากนั้นค่ายเอเอสทีวี ผู้จัดการ จะเดินไปกับทุกอุปกรณ์ต่างๆ ทั้ง OS แอนดรอยด์ หรือแพดของยี่ห้อต่างๆ หากในอนาคตจะมีจอให้อ่านหนังสือบนตู้เย็น หรือโต๊ะกินข้าว เราก็จะไป” นี่คือคำยืนยันความพร้อมของการเข้าสู่ ดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต
from http://www.positioningmag.com/magazine/details.aspx?id=90088
10 ปีที่แล้ว พชร สมุทวณิช บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร Marsได้รับมอบหมายให้นำค่ายสิ่งพิมพ์ เอเอสทีวี ผู้จัดการ ก้าวเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มตัว ทุกวันนี้เว็บไซต์แมเนเจอร์ออนไลน์ กลายเป็นเว็บไซต์ข่าว ที่มียอดคนเข้าดูสูงสุด ทำรายได้แซงหน้าสิ่งพิมพ์ และติดอันดับแรกๆ ของเว็บไซต์ที่มีคนเข้าชมมากที่สุดของเมืองไทย
สิบปีผ่านไป “พชร” กำลังเผชิญกับความท้าทายอีกครั้ง คราวนี้เขาได้รับมอบหมายให้นำพานิตยสาร Mars ในเครือเอเอสทีวีผู้จัดการ ก้าวเข้าสู่โลกของ Digital Magazine ก่อนใคร ด้วยฐานคนอ่านที่เป็นคนรุ่นใหม่ และคุ้นเคยกับการใช้ iPad อยู่แล้ว เขาเชื่อว่า นี่คือ การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของค่ายสิ่งพิมพ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น
“หลายปีมานี้ เราพยายามหาช่องทางใหม่ๆ ในการบริโภคข้อมูลข่าวสาร เพราะทุกคนที่อยู่ในธุรกิจสิ่งพิมพ์ต่างรู้ดีว่าต้นทุน 70% มาจากค่ากระดาษ แต่ถึงแม้จะมี e-Book ออกสู่ตลาด ทั้ง Kindle และยี่ห้ออื่นๆ แต่ก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ได้อย่างแท้จริง เป็นแค่การนำกระดาษไปสู่จอพีซี อรรถรสการอ่านไม่แตกต่างจากเดิม ผมเชื่อว่า iPad จะตอบสนองการบริโภคข้อมูลข่าวสารในการอ่านได้สมบูรณ์แบบ” พชร บอกอย่างเชื่อมั่น
ข้อดีของ iPad ที่แตกต่างจาก e-Book ที่ออกมาก่อนหน้านี้ คือ การที่ผู้อ่านโหลดข้อมูลมาไว้ในเครื่อง จากนั้นก็นำไปอ่านได้ทุกที่ โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา จะลิงค์เฉพาะที่ต้องหาข้อมูลจากเว็บไซต์เพิ่มเติม ผู้อ่านได้รับสะดวกยิ่งขึ้น เพราะไม่ต้องพึ่งเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา การโหลดข้อมูลทำได้เร็วทันใจ
ที่สำคัญ นิตยสารสามารถนำเสนอเนื้อหาและภาพหลากหลาย ไม่จำกัดทั้งจำนวนและลักษณะ ซึ่งทำได้ทั้งที่อยู่ในรูปของวิดีคลิป ภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ โดยไม่ต้องถูกจำกัดเหมือนในยุคสิ่งพิมพ์
อุปกรณ์ iPad เองก็ได้ความนิยมแพร่หลาย คนไทยมีใช้ได้เร็ว ไม่ต่างจากคนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งนอกจากแอปเปิลแล้ว ยังมีผู้ผลิตค่ายต่างๆ ซัมซุง เดลล์ และอีกหลายยี่ห้อตรียมวางผลิตภัณฑ์ในลักษณะเดียวกันนี้ออกสู่ตลาดแล้วเช่นกัน
เมื่อมั่นใจว่า iPad คือทิศทางที่ต้องเดินไป และเทคโนโลยีก็เป็นสิ่งที่ทุกคนเท่าทันกันได้ พชรใช้เวลาศึกษานิตยสารจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ถึงแม้จะมีการเคลื่อนไหวของนิตยสารชั้นนำในต่างประเทศ แต่ยังมีน้อยรายมากที่เข้าสู่ดิจิตอลแมกกาซีนอย่างเต็มรูปแบบ คิดเป็นสัดส่วนเพียงแค่ 10% เท่านั้น ในขณะที่ 90% ยังเป็นเพียงแค่การให้บริการขั้นพื้นฐาน และบริการยังไม่ตอบโจทย์ที่แท้จริง
เขายกตัวอย่าง หนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอนิ่งโพสท์ สร้างแอพพลิเคชั่นบน iPad แต่ก็เป็นแค่การนำข้อมูลบน PDF มาไว้บนจอ ออกแบบนิดหน่อย ซึ่งถือว่าเป็นขั้นพื้นฐานมากๆ หรือแม้แต่นิตยสาร จีคิว ที่แม้จะมีลูกเล่นมากขึ้น เช่น ขยายรูปได้แต่การใช้งานยังไม่สะดวกเท่าที่ควร
ส่วนกรณีของ WIRE Magazine ที่กระโดดเข้าสู่การเป็นดิจิตอลแมกกาซีน สร้างความฮือฮาด้วยลูกเล่นต่างๆ ของการนำเสนอเนื้อหาในรูปของเทคโนโลยี 3D เป็นอีกตัวอย่างที่ดี แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล เช่นการพลิกหน้าหนังสือลำบาก เพราะต้องเข้าโปรแกรมใหม่ตลอดเวลา และความที่เป็นแอพพลิเคชั่นที่นิตยสาร WIRE พัฒนาขึ้นเอง จำเป็นต้องพึ่งพาทีมเทคโนโลยีมาก ซึ่งทำได้ยากในแมกกาซีนทั่วไป
ในที่สุดเขาก็พบว่าแอพพลิเคชั่นบนที่ใช้กับนิตยสาร Time น่าจะเป็นคำตอบที่เหมาะสมที่สุด เพราะเป็นแอพพลิเคชั่นมาตรฐานบน iPad ไม่ต้องออกแบบเอง สะดวกในการอ่าน ไม่ซับซ้อน เพราะทำงานบนโปรแกรมเดียว ตอบสนองความเป็นดิจอลแมกกาซีน ได้อย่างแท้จริง
ความพร้อมของฐานข้อมูลก็เป็นเรื่องสำคัญ ใช่ว่านิตยสารทุกฉบับจะทำได้ เมื่อเนื้อหาของ Mars พัฒนาให้ในรูปดิจิตอล เปรียบเป็น “กระทะข่าว” พร้อมนำเนื้อหามาปรุงต่อให้เป็น ดิจิตอลแมกกาซีนได้ทันที การก้าวเข้าสู่ “ดิจิตอล แมกกาซีน” บนiPad จึงเกิดได้เร็วก่อนใคร โดยใช้เวลา 6 เดือน เตรียมเรื่องการออกแบบ และคัดเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้อ่านบน iPad ซึ่งจะมีความแตกต่างจากการบริโภคข่าวบนเว็บไซต์ ที่ต้องการความเร็วและหลากหลายของข้อมูลข่าวสารเป็นหลัก
“หน้าที่ของแมกกาซีนบน iPad คือการเป็นอาหารสมอง เช่น นักธุรกิจ หรือคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย ดูว่าเขาต้องรู้อะไร เราจะคัดเลือกมา10 เรื่องที่เขาควรรู้ในแต่ละวัน เนื้อหาจะลึกขึ้น และนำเสนอได้หลายรูปแบบ จากนั้นอัพเดตให้เขาทุกเช้า พอตื่นมาเขาโหลดข้อมูลไปนั่งอ่านตรงไหนก็ได้ ”
สิ่งแรกแมกกาซีน ดิจิตอล ตอบโจทย์ได้ คือสีสันและความคมชัด ซึ่งเป็นปัญหาที่ไลฟ์สไตล์แมกกาซีนและแฟชั่นต้องเจอมาตลอด เพราะควบคุมได้ยาก แต่เมื่อมาอยู่บน iPad แล้ว หน้าจอที่คมชัด และสีสันสดใส ทำให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป
ส่วนเนื้อหาใน Mars on iPad จะอิงจากตัวแมกกาซีน แต่จะเลือกบางคอลัมน์ และเพิ่มให้มีลูกเล่นการนำเสนอให้มีความหลากหลาย ดูได้ทั้งภาพนิ่ง วิดีโอสัมภาษณ์ผู้บริหาร หนังโฆษณา 3 มิติ พชรเชื่อว่า การอ่านจะกลายเป็นเรื่องสนุกมากขึ้น และตอบสนองการรับรู้ได้ดียิ่งขึ้น
นอกจากดิจิตอล แมกกาซีน ฉีกกฎกติกาในรูปแบบเดิมได้อย่างสิ้นเชิง สร้างโอกาสใหม่ให้กับธุรกิจโฆษณาสามารถนำเสนอสินค้าได้สร้างสรรค์ขึ้น พชรยกตัวอย่าง โฆษณารถยนต์ แทนที่จะเป็นแค่ภาพนิ่งแบบเดิม สามารถใส่คลิปหนังโฆษณา ไฟล์วิดีโอ ผู้บริหารพูดถึงคุณสมบัติของรถ หรือถ้าอยากเลือกดูภาพนิ่งอย่างเดียว ก็ดูได้ไม่จำกัด ทั้งขนาด และจำนวน ดูแล้วอยากจองรถก็ลิงค์ไปที่เว็บไซต์ของบริษัทเจ้าของรถยนต์ได้ทันที
เขายกตัวอย่าง รถยนต์มินิ ต้องการโฆษณารถทั้ง 5 สี ถ้าเป็นเมื่อก่อนคงทำไม่ได้ แต่ถ้าบน iPad เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป คนดูสามารถกดดูสีไปเรื่อยๆ หากอยากรู้ข้อมูล ก็เชื่อมไปดูที่เว็บของมินิ และเลือกโหลดดูรีวิวรถรุ่นนี้จากคอลัมนิสต์
คอลัมน์ Living ของ Mars สามารถนำเสนอกระเบื้องปูพื้น คนอ่านดูเลือกดูภาพกระเบื้องทุกรุ่น ดูได้รู้ด้วยว่าปูแล้วผลเป็นอย่างไร และหากสนใจจะสั่งซื้อก็มีราคา เบอร์ให้ติดต่อเสร็จสรรพ ทำให้คนดูสนุก และเห็นภาพมากขึ้น เจ้าของสินค้าเองก็มีโอกาสขายสินค้าได้ง่ายขึ้น
คอลัมน์รีวิวหนังเป็นอีกตัวอย่าง ผู้อ่านสามารถคลิกดูวิจารณ์หนังจากคอลัมนิสต์เพิ่ม หรือดูตัวอย่างหนังประกอบ หากอยากไปดูในโรงหนังระบบก็ต่อเชื่อมไปที่โรงหนังจองตั๋วได้ทันที เช่นเดียวกับคอลัมน์แนะนำหนังสือ อ่านรีวิวจบอยากซื้อ ระบบเชื่อมเว็บร้านหนังสือ ใน โลกดิจิตอล หากชอบใจเสื้อผ้านางแบบ ก็กดสั่งซื้อได้ทันที พชรเชื่อมั่นว่า นี่คือปฏิวัติรูปแบบของโฆษณาบนแมกกาซีนในอนาคต
ด้วยรูปแบบโฆษณาที่จะมีทางเลือกมากขึ้น ทั้งความหลากหลายของรูปแบบ การทำโปรดักชั่นโฆษณากลายเป็นเรื่องสำคัญ ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ ด้วยความพร้อมของทีมงาน Mars บริษัทในเครือด้วยกัน จะมีบริการรับผลิตโฆษณาให้กับลูกค้า โดยมีให้เลือกตั้งแต่หนังโฆษณาทั่วไป จนถึงหนังโฆษณา 3 มิติ เลือกภาษาที่ใช้ ได้ทั้งไทยและอังกฤษ เพราะเมื่อเป็นแอพพลิเคชั่นบนแอพสโตร์แล้ว ทุกอย่างก็ไร้พรมแดน ไม่มีข้อจำกัด เรื่องของระยะทาง เวลา โหลดอ่านฟรีทั่วโลก
15 ตุลาคม เป็นวันดีเดย์ของ Mars on iPad วางแผง คือบทพิสูจน์ของการเป็น Fist Mover ของนิตยสารเมืองไทย ที่ก้าวเข้าสู่การเป็นดิจิตอล แมกกาซีนเต็มตัวMars on iPad วางแผงแล้วในรูปแบบของแอพพลิเคชั่น ให้ผู้ใช้ iPad ทั่วโลกดาวน์โหลดได้ฟรีทางแอปเปิล แอพสโตร์ ตั้งแต่วันที่
“ไอแพด จะเป็นจุดเริ่มต้น หลังจากนั้นค่ายเอเอสทีวี ผู้จัดการ จะเดินไปกับทุกอุปกรณ์ต่างๆ ทั้ง OS แอนดรอยด์ หรือแพดของยี่ห้อต่างๆ หากในอนาคตจะมีจอให้อ่านหนังสือบนตู้เย็น หรือโต๊ะกินข้าว เราก็จะไป” นี่คือคำยืนยันความพร้อมของการเข้าสู่ ดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต
from http://www.positioningmag.com/magazine/details.aspx?id=90088
โชห่วยยังขลัง
เมื่อโชห่วยยิ่งเติบโตเท่าไหร่ แม็คโครก็ยิ่งมั่นคงแข็งแรงมากขึ้นเท่านั้น แม็คโครจึงต้องอาศัยจังหวะรัฐบาลออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยสินเชื่อ Fast Track และครบรอบ 20 ปี ควักงบ 15 ล้านบาท ลงทุนจัดงาน “ตลาดนัดโชห่วย” ขึ้นเป็นปีที่สอง ครั้งนี้ไม่เพียงมัดใจร้านโชห่วยเดิมเท่านั้น แต่ยังหวังกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่หันมาเปิดร้านโชห่วยมากขึ้น
แม้ร้านโชห่วยจะดูล้าหลังในสายตาคนทั่วไป แต่ไม่ใช่สำหรับแม็คโคร เพราะร้านค้าเหล่านี้คือฐานลูกค้าสำคัญที่แม็คโครต้องดูแลอย่างดี นอกจากไม่ให้เปลี่ยนใจไปไหน ยังต้องอยู่รอดได้ ภายใต้สโลแกน “Makro มิตรแท้โชห่วย” เป็น Positioning ที่แม็คโครใช้หลายปีมาแล้ว
ภายในงาน นอกจากเรื่องจะมีบูธโชห่วยย้อนยุค เพื่อแสดงความผูกพันระหว่างแม็คโครและร้านโชห่วยที่มีมานยาวนานแล้ว ยังนำเรื่องของระบบการจัดการทันสมัย แนวทางการออกรูปแบบร้านโชห่วย ขนาด และรูปแบบต่างๆ เพื่อหวังจูงใจกลุ่มคนรุ่นใหม่หันมาเปิดร้านดังกล่าวขึ้น ขณะเดียวกัน ก็กระตุ้นให้ร้านโชห่วยเดิมลุกขึ้นมาปรับโฉมเพื่อสู้ศึกร้านรีเทลในตลาดได้
“คนรุ่นใหม่นั้น จะมีเอกลักษณ์และแนวคิดเป็นของตัวเอง ขาดแค่ประสบการณ์ทำธุรกิจ ซึ่งออกจากที่นี่ไปวันนี้น่าจะมีไอเดียได้เลยว่า จะมีร้านขนาดเท่าไหร่ จะจัดการด้านการเงินและสินค้าในร้านอย่างไร รวมทั้งขายวันนี้คืนทุนวันไหน” สุชาดา อิทธิจารุกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) เล่า
แม็คโครรู้ดีว่าปัญหาที่พบมากของร้านโชห่วย คือ การขาดการบริหารจัดการที่ดี ทั้งการสั่งซื้อสินค้า การบริหารสต๊อก และการจัดร้านค้า แม็คโครจึงรวบรวมรูปแบบการจัดร้านค้าสำหรับโชห่วยได้ 7 แบบตามทำเลที่ตั้งของร้าน การออกแบบนี้ครอบคลุมตั้งแต่ ชั้นวางสินค้า รถเข็นเคลื่อนที่ ซุ้มสินค้าเบ็ดเตล็ด รถเร่ รถลากพ่วง ร้านค้า 1-2 คูหา และมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง แสดงเป็น Mog up model แบบครบวงจรธุรกิจให้ลูกค้าศึกษาพร้อมคำอธิบาย
ทุกวันนี้แม็คโครมีฐานสมาชิก 500,000 ราย จากโชห่วยในตลาดกว่า 2 ล้านราย โดยมีคู่แข่งเก่าแก่ ยี่ปั๊ว และซาปั๊วแล้ว เวลานี้ยังมีห้างไฮเปอร์มาร์เก็ต เทสโก้ โลตัส บิ๊กซี มาเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว แม็คโครจึงต้องพยายามครองใจร้านโชห่วย ด้วยราคาที่ถูกกว่า แล้วยังใช้กิจกรรมการตลาดมาช่วยเหลือเต็มสูบ
แม็คโครเปิดศูนย์มิตรแท้โชห่วยเป็นครั้งแรกเมื่อ 2 ปีที่แล้ว เพื่อประสานงานกับภาครัฐและเอกชน เน้นให้ความรู้ทางการลงทุนในธุรกิจโชห่วย ถือเป็นอีกหนึ่งในกลยุทธ์ CSR ที่แม็คโครนำมาเดินเกม และปีนี้ถือเป็นโอกาสครั้งที่สองของแม็คโคร ที่มองเห็นโอกาส จากนโยบายรัฐบาลอนุมัติเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยโครงการสินเชื่อ Fast Track วงเงิน 10,000-400,000 บาท ซึ่งอนุมัติภายใน 3 วันให้แก่เอกชนผู้สนใจทำธุรกิจ
เมื่อออกแรงมากขนาดนี้ แม้ว่าปีนี้ธุรกิจจะติดลบถึง 6% ก็ตาม แม็คโครกลับเชื่อว่า จะเติบโต 2-3% สวนกระแสธุรกิจอื่นที่โตติดลบถึง 6% และคาดว่าจะเติบโตรวม 5% ทั้งนี้ปีที่ผ่านมาแม็คโครมียอดขายประมาณ 72,000 ล้านบาท
Launched: 11 กันยายน 2552 อิมแพ็ค เมืองทองธานี นักข่าวสายต่างๆ ประมาณ 50 คน รวมทั้งผู้ร่วมพิธีเปิดกว่า 3,000 คน
Positioning: ศูนย์จำหน่ายสินค้าบริโภคและอุปโภคที่มีคุณภาพในราคาขายส่ง
Target ผู้ประกอบการขนาดเล็กถึงขนาดกลางในธุรกิจร้านโชห่วย ร้านค้าปลีกรายย่อย ร้านอาหาร องค์กรและสำนักงานต่างๆ
Strategy: ใช้กลยุทธ์ CSR เน้นการสร้างแบรนด์ตอบแทนสังคม มุ่งไปที่ร้านโชห่วยซึ่งเป็น SMEs ขนาดเล็กในชุมชนให้พัฒนารูปแบบการจัดการร้าน เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับคอนวีเนียนสโตร์อื่นๆ
Market Analysis: ร้านโชห่วยซึ่งยังคงมีกำลังซื้ออยู่พอสมควร ยิ่งรัฐบาลออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยสินเชื่อ Fast Track วงเงิน 10,000-400,000 บาท ให้แก่เอกชนที่สนใจลงทุนธุรกิจ ซึ่งอนุมัติภายใน 3 วัน
มูลค่าตลาดค้าปลีกค้าส่งไทย 1.4 ล้านล้านบาท
โมเดิร์นเทรด 70%
ค้าปลีกดั้งเดิม อาทิ โชห่วย ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ตลาดสด 30%
ที่มา : สยามแม็คโคร
Did you know?
คำว่า “โชห่วย” มาจากคำในภาษาจีนว่า “โฉวห่วย” โดย “โฉว” แปลว่าปลีกย่อย ส่วน “ห่วย” แปลว่าสินค้า ดังนั้น “โชห่วย” จึงเป็นคำที่คนมักเขียนและเข้าใจผิดอยู่เสมอๆ
from http://www.positioningmag.com/magazine/details.aspx?id=83807
แม้ร้านโชห่วยจะดูล้าหลังในสายตาคนทั่วไป แต่ไม่ใช่สำหรับแม็คโคร เพราะร้านค้าเหล่านี้คือฐานลูกค้าสำคัญที่แม็คโครต้องดูแลอย่างดี นอกจากไม่ให้เปลี่ยนใจไปไหน ยังต้องอยู่รอดได้ ภายใต้สโลแกน “Makro มิตรแท้โชห่วย” เป็น Positioning ที่แม็คโครใช้หลายปีมาแล้ว
ภายในงาน นอกจากเรื่องจะมีบูธโชห่วยย้อนยุค เพื่อแสดงความผูกพันระหว่างแม็คโครและร้านโชห่วยที่มีมานยาวนานแล้ว ยังนำเรื่องของระบบการจัดการทันสมัย แนวทางการออกรูปแบบร้านโชห่วย ขนาด และรูปแบบต่างๆ เพื่อหวังจูงใจกลุ่มคนรุ่นใหม่หันมาเปิดร้านดังกล่าวขึ้น ขณะเดียวกัน ก็กระตุ้นให้ร้านโชห่วยเดิมลุกขึ้นมาปรับโฉมเพื่อสู้ศึกร้านรีเทลในตลาดได้
“คนรุ่นใหม่นั้น จะมีเอกลักษณ์และแนวคิดเป็นของตัวเอง ขาดแค่ประสบการณ์ทำธุรกิจ ซึ่งออกจากที่นี่ไปวันนี้น่าจะมีไอเดียได้เลยว่า จะมีร้านขนาดเท่าไหร่ จะจัดการด้านการเงินและสินค้าในร้านอย่างไร รวมทั้งขายวันนี้คืนทุนวันไหน” สุชาดา อิทธิจารุกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) เล่า
แม็คโครรู้ดีว่าปัญหาที่พบมากของร้านโชห่วย คือ การขาดการบริหารจัดการที่ดี ทั้งการสั่งซื้อสินค้า การบริหารสต๊อก และการจัดร้านค้า แม็คโครจึงรวบรวมรูปแบบการจัดร้านค้าสำหรับโชห่วยได้ 7 แบบตามทำเลที่ตั้งของร้าน การออกแบบนี้ครอบคลุมตั้งแต่ ชั้นวางสินค้า รถเข็นเคลื่อนที่ ซุ้มสินค้าเบ็ดเตล็ด รถเร่ รถลากพ่วง ร้านค้า 1-2 คูหา และมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง แสดงเป็น Mog up model แบบครบวงจรธุรกิจให้ลูกค้าศึกษาพร้อมคำอธิบาย
ทุกวันนี้แม็คโครมีฐานสมาชิก 500,000 ราย จากโชห่วยในตลาดกว่า 2 ล้านราย โดยมีคู่แข่งเก่าแก่ ยี่ปั๊ว และซาปั๊วแล้ว เวลานี้ยังมีห้างไฮเปอร์มาร์เก็ต เทสโก้ โลตัส บิ๊กซี มาเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว แม็คโครจึงต้องพยายามครองใจร้านโชห่วย ด้วยราคาที่ถูกกว่า แล้วยังใช้กิจกรรมการตลาดมาช่วยเหลือเต็มสูบ
แม็คโครเปิดศูนย์มิตรแท้โชห่วยเป็นครั้งแรกเมื่อ 2 ปีที่แล้ว เพื่อประสานงานกับภาครัฐและเอกชน เน้นให้ความรู้ทางการลงทุนในธุรกิจโชห่วย ถือเป็นอีกหนึ่งในกลยุทธ์ CSR ที่แม็คโครนำมาเดินเกม และปีนี้ถือเป็นโอกาสครั้งที่สองของแม็คโคร ที่มองเห็นโอกาส จากนโยบายรัฐบาลอนุมัติเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยโครงการสินเชื่อ Fast Track วงเงิน 10,000-400,000 บาท ซึ่งอนุมัติภายใน 3 วันให้แก่เอกชนผู้สนใจทำธุรกิจ
เมื่อออกแรงมากขนาดนี้ แม้ว่าปีนี้ธุรกิจจะติดลบถึง 6% ก็ตาม แม็คโครกลับเชื่อว่า จะเติบโต 2-3% สวนกระแสธุรกิจอื่นที่โตติดลบถึง 6% และคาดว่าจะเติบโตรวม 5% ทั้งนี้ปีที่ผ่านมาแม็คโครมียอดขายประมาณ 72,000 ล้านบาท
Launched: 11 กันยายน 2552 อิมแพ็ค เมืองทองธานี นักข่าวสายต่างๆ ประมาณ 50 คน รวมทั้งผู้ร่วมพิธีเปิดกว่า 3,000 คน
Positioning: ศูนย์จำหน่ายสินค้าบริโภคและอุปโภคที่มีคุณภาพในราคาขายส่ง
Target ผู้ประกอบการขนาดเล็กถึงขนาดกลางในธุรกิจร้านโชห่วย ร้านค้าปลีกรายย่อย ร้านอาหาร องค์กรและสำนักงานต่างๆ
Strategy: ใช้กลยุทธ์ CSR เน้นการสร้างแบรนด์ตอบแทนสังคม มุ่งไปที่ร้านโชห่วยซึ่งเป็น SMEs ขนาดเล็กในชุมชนให้พัฒนารูปแบบการจัดการร้าน เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับคอนวีเนียนสโตร์อื่นๆ
Market Analysis: ร้านโชห่วยซึ่งยังคงมีกำลังซื้ออยู่พอสมควร ยิ่งรัฐบาลออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยสินเชื่อ Fast Track วงเงิน 10,000-400,000 บาท ให้แก่เอกชนที่สนใจลงทุนธุรกิจ ซึ่งอนุมัติภายใน 3 วัน
มูลค่าตลาดค้าปลีกค้าส่งไทย 1.4 ล้านล้านบาท
โมเดิร์นเทรด 70%
ค้าปลีกดั้งเดิม อาทิ โชห่วย ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ตลาดสด 30%
ที่มา : สยามแม็คโคร
Did you know?
คำว่า “โชห่วย” มาจากคำในภาษาจีนว่า “โฉวห่วย” โดย “โฉว” แปลว่าปลีกย่อย ส่วน “ห่วย” แปลว่าสินค้า ดังนั้น “โชห่วย” จึงเป็นคำที่คนมักเขียนและเข้าใจผิดอยู่เสมอๆ
from http://www.positioningmag.com/magazine/details.aspx?id=83807
ทำไมต้องทำ "ประกันบำนาญ"
ทำไมถึงต้องเลือกทำประกัน และทำไมต้องเป็นประกันแบบบำนาญ รวมถึงใครล่ะ ที่จะได้รับผลประโยชน์จากประกันบำนาญ หาคำตอบได้ใน รายงานของ Fundamentals ฉบับนี้
ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้บริษัทประกันชีวิต สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญมาเป็นส่วนลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ถึง 200,000 บาท จากเดิมที่กำหนดเอาไว้ 100,000 บาท นั้น ส่งผลให้ผู้ที่ซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำเบี้ยประกันมาเป็นส่วนลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท แต่เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมาย และ RMF แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
เรื่องนี้แม้เป็นเรื่องใหม่ ที่บุคคลทั่วไปกำลังสนใจ โดยเฉพาะบริษัทประกันชีวิต ส่วนใหญ่ต่างก็รีบออกผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญ เพื่อเสนอขายให้ทันภายในปี 2553 เพื่อให้ประชาชนที่ซื้อสามารถนำไปใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่จะต้องยื่นแบบการเสียภาษี ในปี 2554 เพื่อให้ทุกคนเล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำประกันแบบบำนาญ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องรู้ก่อนว่าทิศทางประชากรของไทย กำลังไปทางไหน
ทำไมการเพิ่มขึ้นของคนสูงอายุจึงน่าสนใจ
การมีจำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หมายถึงว่าประเทศมีระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้นในการเตรียมรองรับการดูแลผู้สูงอายุที่จะเพิ่มขึ้นให้มี คุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ ยังมีผลกระทบต่อภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม และการบริหารประเทศ เพราะเมื่อโครงสร้างประชากร เริ่มขยับไปสู่การมีประชากรสูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ สัดส่วนของประชากรวัยทำงาน ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ ก็จะลดน้อยลง
ในปี 2533 มีประชากรวัยแรงงาน 10 คน ทำหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุ 1 คน คาดว่าในปี 2563 ภาระของประชากรวัยแรงงาน ในการดูแลผู้สูงอายุจะเพิ่มสูงขึ้น เพราะประชากรวัยแรงงาน ประมาณ 4 คน จะต้องรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุอย่างน้อย 1 คน
1. การสูญเสียรายได้หลัก เมื่อเกษียณอายุแล้ว ก็หมายความว่าไม่มีงานทำ และเมื่อไม่มีงานทำก็ไม่มีรายได้หลักเหมือนเช่นแต่ก่อน ซึ่งจะสวนทางกับค่าใช้จ่ายที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้า และเครื่องแต่งกาย ค่าเดินทาง เป็นต้น ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะมีสัดส่วนลดลงเมื่อเกษียณอายุแล้ว แต่ก็ยังเป็นค่าใช้จ่ายประจำและต่อเนื่องไปจนสิ้นอายุขัย
นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายที่จะต้องจ่ายเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเกษียณอายุแล้ว ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพ ค่าใช้จ่ายเดินทางท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายในการบริจาค และอื่นๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่ทุกคนยังต้องเผชิญเมื่อเกษียณอายุ
2. โรคภัยไข้เจ็บที่มาพร้อมกับการชราภาพ เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุ สิ่งที่ตามมาก็คือโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจพบว่าโรคที่จะมาพร้อมกับการเกษียณอายุสูงสุด 5 อันดับแรก คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด , โรคต่อมไร้ท่อ , โรคระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูกและข้อ , โรคระบบทางเดินอาหาร และโรคระบบทางเดินหายใจ ตามลำดับ หากพิจารณาถึงวิธีการดูแลและรักษาโรคดังกล่าวแล้ว ก็พอจะคาดเดาได้ว่าจะต้องใช้เงินเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลค่อนข้างสูง และเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณอายุ โอกาสที่จะต้องเผชิญกับโรคดังกล่าวก็จะมีเพิ่มตามไปด้วย
3. อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย เงินเฟ้อถือว่าเป็นศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดสำหรับวัยเกษียณเพราะทำให้ทรัพย์สินของผู้สูงอายุมีมูลค่าลดลงและมาตรฐานการครองชีพลดต่ำลง แม้ว่าจะไม่มีใครคิดว่าประเทศไทยจะมีชะตากรรมเช่นเดียวกับประเทศอาร์เจนตินา เมื่อช่วงยุคปี 1980 ซึ่งอัตราเงินเฟ้อสูงมากจนทำลายสังคมทั้งระบบ ความเป็นไปได้ที่รายได้จากเงินบำนาญ 120,000 บาทต่อปี ในอีก 10 ปีข้างหน้าจะมีค่าเพียงแค่ 82,000 บาทก็ได้ บนพื้นฐานที่สมมติฐานว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3.5% หากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มเป็น 4.5% รายได้ที่ได้รับจากบำนาญก็จะมีค่าแค่ 74,000 บาท เท่านั้น และหากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มเป็น 5.5% รายได้ที่ได้รับจากบำนาญก็จะมีค่าแค่ 66,000 บาท เท่านั้น ถือว่ามีมูลค่าแค่ครึ่งหนึ่งของจำนวนเดิม
ซ้ำร้ายไปกว่านั้น เมื่อภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อก็ยิ่งทำให้ผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณยากลำบากมากขึ้นอีกเท่าตัว หากมีชีวิตอยู่ด้วยการพึ่งพาเงินออม จึงเป็นคำถามว่าผู้สูงอายุ หรือ เราๆ ท่านๆ จะมีการรับมืออย่างไรในภาวะอัตราเงินเฟ้อสูงและอัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำติดดิน สิ่งที่เราๆ ท่านๆ ทำได้ คือ การคำนวณดูว่า ท่านต้องการเงินเป็นจำนวนเท่าใดสำหรับวัยเกษียณ โดยรักษามาตรฐานการครองชีพที่ดีของท่านเช่นในปัจจุบัน
ปัจจุบันมีการพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ และสาธารณสุขที่ก้าวล้ำอย่างมาก ทำให้คนที่มีอายุเข้าสู่วัย 60 ปี นั้น อาจจะสามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีก ถึง 19 ปี สำหรับผู้ชายไทย และอีก 21.5 ปี สำหรับผู้หญิงไทย นั่นหมายความว่าผู้ชายไทยจะมีอายุขัยมากถึง 79 ปี และ 81.5 ปี สำหรับหญิงไทย ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ค่อนข้างยาวนาน สำหรับการใช้ชีวิตในช่วงหลังวัยเกษียณของแต่ละคน ซึ่งอาจจะไม่ใช่เรื่องดีนัก เพราะยิ่งมีอายุยืนยาวขึ้นเท่าไร ยิ่งต้องการเงินเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ปัจจุบันคนส่วนใหญ่มองเรื่องการออมเพื่อการเกษียณยังเป็นเรื่องที่รองลงมา ทำให้หลายครัวเรือนจึงประสบปัญหามีเงินออมที่ไม่เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายในวัยเกษียณ ทำให้ต้องกลับไปทำงานเพื่อให้ได้รายได้ที่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ สาเหตุหลักนั้นก็มาจากการประเมินค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณที่ต่ำเกินไป และขาดการวางแผนการเงินให้ได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพเมื่อเข้าสู่ วัยสูงอายุ ส่งผลให้มีการออมเพื่อการเกษียณที่ช้า
ดังนั้น ถ้าใครยังไม่ได้เริ่มออมเงินเพื่อการเกษียณ ก็ควรที่จะเริ่มออมตั้งแต่ตอนนี้ เพราะการออมเงินเพื่อการเกษียณนั้นจะต้องใช้เวลาในการออมอย่างน้อย 15 ปี เพื่อให้เงินออมได้มีเวลาสำหรับการสร้างผลตอบแทนแบบทบต้นอย่างมีนัยสำคัญ การออมเป็นเรื่องของระยะเวลา ยิ่งออมนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งสบายตอนแก่มากขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้น เราจึงควรเริ่มออมเงินเพื่อการเกษียณตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ความจริงในปัจจุบัน คนทั่วไปมีช่วงอายุทำงานอยู่ระหว่าง 25-55 ปี ดังนั้นจึงมีระยะเวลาในการหารายได้ และเก็บเงินออม 30 ปี หากออมเงินเดือนละ 5,000 บาท และได้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5% ต่อปี ก็จะมีเงินออม อยู่ที่ประมาณ 4,161,293 บาท ในขณะที่มีช่วงอายุหลังเกษียณ ซึ่งไม่มีรายได้ แต่ต้องใช้เงินออม จะเริ่มตั้งแต่อายุ 55-85 ปี มีระยะเวลาหลังเกษียณ 30 ปี มีเงินที่ใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณอยู่ที่ 11,599 บาท
"จันทรา บูรณฤกษ์" เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) ให้ทัศนะว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเกี่ยวกับมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการออมในรูปแบบการประกันชีวิตแบบบำนาญ โดยอนุมัติวงเงินหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ เพิ่มจากวงเงินเดิมสำหรับค่าเบี้ยประกันชีวิต 100,000 บาท เป็น 300,000 บาท
ทั้งนี้วงเงินส่วนที่เพิ่มขึ้น 200,000 บาท นั้น ต้องเป็นเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญเท่านั้น และต้อง ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน ซึ่งเมื่อรวมกับเงินได้ที่จ่ายเข้ากองทุนอื่นๆ ประเภทเดียวกันเช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือกองทุนสงเคราะห์ตาม กฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตาม กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (RMF) แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
จากนี้ไป คปภ . จะเร่งประสานกับภาคธุรกิจในการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจรูปแบบของการประกันชีวิตแบบบำนาญที่จะสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมดังกล่าวได้ ว่าต้องมีหลักเกณฑ์ เช่น
1. ต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีระยะเวลาเอาประกันภัย 10 ปีขึ้นไป
2. การจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญ จะจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัย ตั้งแต่อายุ 55 ปี ขึ้นไป และจ่ายต่อเนื่องไปจนผู้เอาประกันภัยอายุเกิน 85 ปี
3. เป็นกรมธรรม์ที่ไม่มีการจ่ายผลประโยชน์อื่นใด ก่อนที่ผู้เอาประกันภัยจะได้รับผลประโยชน์เงินบำนาญที่อายุ ครบ 55 ปี ยกเว้นผลประโยชน์กรณีการเสียชีวิต หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนประกันภัย 1186
เมื่อการออมของประชาชนเพิ่มขึ้น ระดับเงินออมภายในประเทศก็สูงขึ้นก็จะทำให้เศรษฐกิจมีความมั่นคงมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาสังคมผู้สูงอายุที่กำลังจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ และในภาคของผู้ประกอบการก็จะคิดค้นผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตเพื่อนำเสนอให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายทุกระดับ ทุกอาชีพ เพื่อเป็นการร่วมกันสร้างความมั่นคงให้กับประชาชนต่อไป
ใครเหมาะสมจะทำประกันบำนาญ
จากการสำรวจประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่มีการเสนอขายในปัจจุบัน คือ เมืองไทยประกันชีวิต , เอไอเอ , ไอเอ็นจี และธนาคารทหารไทย ที่ผ่านมาการอนุมัติแบบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) มีลักษณะที่คล้ายๆ กัน คือ เป็นแบบประกันที่รับประกันตั้งแต่อายุ 30-55 ปี มีการรับรองการจ่ายเงินเป็นจำนวนเดียวเท่ากันทุกปี เริ่มตั้งแต่ ปีที่ผู้เอาประกันอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปี แล้วแต่แบบประกันที่ลูกค้าเลือกซื้อ โดยจะมีการจ่ายเงินบำนาญให้กับผู้เอาประกันภัยประมาณ 12% ของทุนประกันภัย
ตัวอย่างแบบประกันบำนาญของ เมืองไทยประกันชีวิต แบบ 8555 (บำนาญแบบลดหย่อนได้) รับประกันตั้งแต่อายุ 30-50 ปี ทุนประกัน 1 ล้านบาท สามารถส่งเบี้ยประกันแบบรายเดือน ราย 3 เดือน ราย 6 เดือนและรายปี ส่วนเบี้ยประกันนั้นขึ้นอยู่กับอายุ และเพศ ซึ่งไม่เท่ากัน ผลประโยชน์ที่จะได้รับนั้น เมื่อผู้เอาประกันมีอายุครบ 55 ปี ก็จะได้รับเงินบำนาญปีละ 12% ของทุนประกันที่ 1 ล้านบาท นั่นหมายความว่า ผู้เอาประกันจะได้รับเงินบำนาญปีละ 120,000 บาท ไปจนถึงอายุ 85 ปี
คำถามที่ตามมา คือ กรณีผู้เอาประกันเสียชีวิตก่อนรับเงินบำนาญละ จะทำอย่างไร ตัวอย่างนี้ก็มีให้เห็นเช่นกัน คือ สมมติว่าผู้เอาประกันได้ส่งเบี้ยประกันมาเป็นเวลา 7 ปี แล้วเสียชีวิต ในกรณีนี้ผู้รับผลประโยชน์ก็จะได้รับผลประโยชน์ก็จะได้รับ 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย หรือ มูลค่าเวนคืนในขณะนั้น แล้วแต่จำนวนใดมีค่าสูงกว่า
ในทำนองเดียวกันกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตหลังรับบำนาญไปแล้ว เช่น รับบำนาญไปแล้ว 5 ปี ทายาท หรือ ผู้รับผลประโยชน์ก็จะได้รับผลประโยชน์เท่ากับมูลค่าปัจจุบันของเงินบำนาญที่ยังไม่ได้รับอีก 5 งวด หรือ 5 ปี เพราะตามเกณฑ์ระบุเอาไว้ว่า มีการการันตีรับบำนาญ 10 ปี
คำถามเกี่ยวกับสิทธิเรื่องภาษีและแบบประกันบำนาญที่ลดหย่อนภาษีได้ ยังเป็นเรื่องที่ทุกคนสงสัยอยู่เหมือนเดิม ดังนั้นใครก็ตามที่จะซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ นั้นให้ตั้งสมมติฐานเอาไว้ว่า ต้องเป็นแบบประกันที่ออกหลังจากที่ ครม.อนุมัติเท่านั้น และต้องระบุว่าเป็น "บำนาญแบบลดหย่อนได้" หรือหากสงสัยให้ติดต่อกับตัวแทนฝ่ายขาย หรือเจ้าหน้าที่ของแต่ละบริษัท เท่านี้ก็ได้รับคำตอบแล้ว
ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้บริษัทประกันชีวิต สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญมาเป็นส่วนลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ถึง 200,000 บาท จากเดิมที่กำหนดเอาไว้ 100,000 บาท นั้น ส่งผลให้ผู้ที่ซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำเบี้ยประกันมาเป็นส่วนลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท แต่เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมาย และ RMF แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
เรื่องนี้แม้เป็นเรื่องใหม่ ที่บุคคลทั่วไปกำลังสนใจ โดยเฉพาะบริษัทประกันชีวิต ส่วนใหญ่ต่างก็รีบออกผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญ เพื่อเสนอขายให้ทันภายในปี 2553 เพื่อให้ประชาชนที่ซื้อสามารถนำไปใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่จะต้องยื่นแบบการเสียภาษี ในปี 2554 เพื่อให้ทุกคนเล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำประกันแบบบำนาญ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องรู้ก่อนว่าทิศทางประชากรของไทย กำลังไปทางไหน
ทำไมการเพิ่มขึ้นของคนสูงอายุจึงน่าสนใจ
การมีจำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หมายถึงว่าประเทศมีระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้นในการเตรียมรองรับการดูแลผู้สูงอายุที่จะเพิ่มขึ้นให้มี คุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ ยังมีผลกระทบต่อภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม และการบริหารประเทศ เพราะเมื่อโครงสร้างประชากร เริ่มขยับไปสู่การมีประชากรสูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ สัดส่วนของประชากรวัยทำงาน ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ ก็จะลดน้อยลง
ในปี 2533 มีประชากรวัยแรงงาน 10 คน ทำหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุ 1 คน คาดว่าในปี 2563 ภาระของประชากรวัยแรงงาน ในการดูแลผู้สูงอายุจะเพิ่มสูงขึ้น เพราะประชากรวัยแรงงาน ประมาณ 4 คน จะต้องรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุอย่างน้อย 1 คน
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เป็นนัยสำคัญที่จะส่งผลต่อการลดลงของรายได้เฉลี่ยประชากร การออม การลงทุน รวมถึงรายจ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้น ด้านการประกันสังคม สุขภาพอนามัย และสวัสดิการผู้สูงอายุ นอกจากนี้ในด้านสังคม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในลักษณะนี้ ยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของครอบครัว ซึ่งมีนัยว่า จะมีสมาชิกของครอบครัว ที่จะทำหน้าที่ในการให้การดูแลผู้สูงอายุน้อยลง
สิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญยามเกษียณ
เมื่อเข็มนาฬิกาชีวิตเดินทางมาหยุดที่ตัวเลข 60 เป็นสัญญาณเตือนให้ได้รู้ว่าความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ได้เดินทางมาถึงแล้ว อาจมีหลายท่านที่ยิ้มรับกับช่วงเวลาดังกล่าว เพราะคิดว่าเป็นช่วงเวลาที่จะได้มีความสุข เนื่องจากจะได้มีเวลาพักผ่อนมากขึ้น หลังจากได้ทำงานหนักมาค่อนชีวิต รวมทั้งยังจะมีเวลามากพอที่จะท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ที่อยากจะไป หรือ ทำในสิ่งที่อยากจะทำ มีเวลาอยู่กับลูกหลานมากขึ้น แต่หลายท่านอาจจะลืมคิดไปว่าการเกษียณอายุนั้น นอกจากจะมาพร้อมกับการมีเวลาว่างมากขึ้น และไม่ต้องทำงานแล้ว นั้น ยังมีบางสิ่งที่ตามมาพร้อมกับการเกษียณอายุ คือ
1. การสูญเสียรายได้หลัก เมื่อเกษียณอายุแล้ว ก็หมายความว่าไม่มีงานทำ และเมื่อไม่มีงานทำก็ไม่มีรายได้หลักเหมือนเช่นแต่ก่อน ซึ่งจะสวนทางกับค่าใช้จ่ายที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้า และเครื่องแต่งกาย ค่าเดินทาง เป็นต้น ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะมีสัดส่วนลดลงเมื่อเกษียณอายุแล้ว แต่ก็ยังเป็นค่าใช้จ่ายประจำและต่อเนื่องไปจนสิ้นอายุขัย
นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายที่จะต้องจ่ายเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเกษียณอายุแล้ว ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพ ค่าใช้จ่ายเดินทางท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายในการบริจาค และอื่นๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่ทุกคนยังต้องเผชิญเมื่อเกษียณอายุ
2. โรคภัยไข้เจ็บที่มาพร้อมกับการชราภาพ เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุ สิ่งที่ตามมาก็คือโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจพบว่าโรคที่จะมาพร้อมกับการเกษียณอายุสูงสุด 5 อันดับแรก คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด , โรคต่อมไร้ท่อ , โรคระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูกและข้อ , โรคระบบทางเดินอาหาร และโรคระบบทางเดินหายใจ ตามลำดับ หากพิจารณาถึงวิธีการดูแลและรักษาโรคดังกล่าวแล้ว ก็พอจะคาดเดาได้ว่าจะต้องใช้เงินเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลค่อนข้างสูง และเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณอายุ โอกาสที่จะต้องเผชิญกับโรคดังกล่าวก็จะมีเพิ่มตามไปด้วย
3. อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย เงินเฟ้อถือว่าเป็นศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดสำหรับวัยเกษียณเพราะทำให้ทรัพย์สินของผู้สูงอายุมีมูลค่าลดลงและมาตรฐานการครองชีพลดต่ำลง แม้ว่าจะไม่มีใครคิดว่าประเทศไทยจะมีชะตากรรมเช่นเดียวกับประเทศอาร์เจนตินา เมื่อช่วงยุคปี 1980 ซึ่งอัตราเงินเฟ้อสูงมากจนทำลายสังคมทั้งระบบ ความเป็นไปได้ที่รายได้จากเงินบำนาญ 120,000 บาทต่อปี ในอีก 10 ปีข้างหน้าจะมีค่าเพียงแค่ 82,000 บาทก็ได้ บนพื้นฐานที่สมมติฐานว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3.5% หากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มเป็น 4.5% รายได้ที่ได้รับจากบำนาญก็จะมีค่าแค่ 74,000 บาท เท่านั้น และหากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มเป็น 5.5% รายได้ที่ได้รับจากบำนาญก็จะมีค่าแค่ 66,000 บาท เท่านั้น ถือว่ามีมูลค่าแค่ครึ่งหนึ่งของจำนวนเดิม
ซ้ำร้ายไปกว่านั้น เมื่อภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อก็ยิ่งทำให้ผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณยากลำบากมากขึ้นอีกเท่าตัว หากมีชีวิตอยู่ด้วยการพึ่งพาเงินออม จึงเป็นคำถามว่าผู้สูงอายุ หรือ เราๆ ท่านๆ จะมีการรับมืออย่างไรในภาวะอัตราเงินเฟ้อสูงและอัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำติดดิน สิ่งที่เราๆ ท่านๆ ทำได้ คือ การคำนวณดูว่า ท่านต้องการเงินเป็นจำนวนเท่าใดสำหรับวัยเกษียณ โดยรักษามาตรฐานการครองชีพที่ดีของท่านเช่นในปัจจุบัน
ปัจจุบันมีการพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ และสาธารณสุขที่ก้าวล้ำอย่างมาก ทำให้คนที่มีอายุเข้าสู่วัย 60 ปี นั้น อาจจะสามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีก ถึง 19 ปี สำหรับผู้ชายไทย และอีก 21.5 ปี สำหรับผู้หญิงไทย นั่นหมายความว่าผู้ชายไทยจะมีอายุขัยมากถึง 79 ปี และ 81.5 ปี สำหรับหญิงไทย ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ค่อนข้างยาวนาน สำหรับการใช้ชีวิตในช่วงหลังวัยเกษียณของแต่ละคน ซึ่งอาจจะไม่ใช่เรื่องดีนัก เพราะยิ่งมีอายุยืนยาวขึ้นเท่าไร ยิ่งต้องการเงินเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ปัจจุบันคนส่วนใหญ่มองเรื่องการออมเพื่อการเกษียณยังเป็นเรื่องที่รองลงมา ทำให้หลายครัวเรือนจึงประสบปัญหามีเงินออมที่ไม่เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายในวัยเกษียณ ทำให้ต้องกลับไปทำงานเพื่อให้ได้รายได้ที่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ สาเหตุหลักนั้นก็มาจากการประเมินค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณที่ต่ำเกินไป และขาดการวางแผนการเงินให้ได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพเมื่อเข้าสู่ วัยสูงอายุ ส่งผลให้มีการออมเพื่อการเกษียณที่ช้า
ดังนั้น ถ้าใครยังไม่ได้เริ่มออมเงินเพื่อการเกษียณ ก็ควรที่จะเริ่มออมตั้งแต่ตอนนี้ เพราะการออมเงินเพื่อการเกษียณนั้นจะต้องใช้เวลาในการออมอย่างน้อย 15 ปี เพื่อให้เงินออมได้มีเวลาสำหรับการสร้างผลตอบแทนแบบทบต้นอย่างมีนัยสำคัญ การออมเป็นเรื่องของระยะเวลา ยิ่งออมนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งสบายตอนแก่มากขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้น เราจึงควรเริ่มออมเงินเพื่อการเกษียณตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ความจริงในปัจจุบัน คนทั่วไปมีช่วงอายุทำงานอยู่ระหว่าง 25-55 ปี ดังนั้นจึงมีระยะเวลาในการหารายได้ และเก็บเงินออม 30 ปี หากออมเงินเดือนละ 5,000 บาท และได้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5% ต่อปี ก็จะมีเงินออม อยู่ที่ประมาณ 4,161,293 บาท ในขณะที่มีช่วงอายุหลังเกษียณ ซึ่งไม่มีรายได้ แต่ต้องใช้เงินออม จะเริ่มตั้งแต่อายุ 55-85 ปี มีระยะเวลาหลังเกษียณ 30 ปี มีเงินที่ใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณอยู่ที่ 11,599 บาท
รีวิวกฎเกณฑ์ประกันบำนาญ
"จันทรา บูรณฤกษ์" เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) ให้ทัศนะว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเกี่ยวกับมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการออมในรูปแบบการประกันชีวิตแบบบำนาญ โดยอนุมัติวงเงินหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ เพิ่มจากวงเงินเดิมสำหรับค่าเบี้ยประกันชีวิต 100,000 บาท เป็น 300,000 บาท
ทั้งนี้วงเงินส่วนที่เพิ่มขึ้น 200,000 บาท นั้น ต้องเป็นเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญเท่านั้น และต้อง ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน ซึ่งเมื่อรวมกับเงินได้ที่จ่ายเข้ากองทุนอื่นๆ ประเภทเดียวกันเช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือกองทุนสงเคราะห์ตาม กฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตาม กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (RMF) แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
จากนี้ไป คปภ . จะเร่งประสานกับภาคธุรกิจในการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจรูปแบบของการประกันชีวิตแบบบำนาญที่จะสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมดังกล่าวได้ ว่าต้องมีหลักเกณฑ์ เช่น
1. ต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีระยะเวลาเอาประกันภัย 10 ปีขึ้นไป
2. การจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญ จะจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัย ตั้งแต่อายุ 55 ปี ขึ้นไป และจ่ายต่อเนื่องไปจนผู้เอาประกันภัยอายุเกิน 85 ปี
3. เป็นกรมธรรม์ที่ไม่มีการจ่ายผลประโยชน์อื่นใด ก่อนที่ผู้เอาประกันภัยจะได้รับผลประโยชน์เงินบำนาญที่อายุ ครบ 55 ปี ยกเว้นผลประโยชน์กรณีการเสียชีวิต หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนประกันภัย 1186
"สุทธิ รจิตรังสรรค์" นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ได้แสดงความคิดเห็นว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีที่รัฐบาลและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ช่วยผลักดันมาตรการภาษี เพื่อสนับสนุนการออมในรูปแบบการประกันชีวิตแบบบำนาญ นอกจากนั้นยังเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้มีเงินได้ทำประกันชีวิตแบบบำนาญเพื่อสะสมเงินออมไว้ใช้หลังเกษียณอายุอันจะเป็นการช่วยสร้างหลักประกันความมั่นคงให้กับชีวิตในบั้นปลาย และเพื่อเพิ่มทางเลือกในการออมทำให้การออมของประเทศในระยะยาวเพิ่มมากขึ้น
อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาสังคมที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ และลดภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐในการดูแลผู้สูงอายุในอนาคตได้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวนี้นับเป็นนโยบายของภาครัฐที่ช่วยส่งเสริมการออมของธุรกิจประกันชีวิตอย่างแท้จริง โดยจะเป็นแรงจูงใจที่ช่วยกระตุ้นให้ประชาชนสนใจและหันมาทำประกันชีวิตแบบบำนาญมากขึ้น ช่วยส่งเสริมให้ประชาชนได้มีการวางแผนความมั่นคงให้กับชีวิตในยามชราภาพโดยไม่สร้างภาระให้กับครอบครัว สังคมและประเทศชาติ
เมื่อการออมของประชาชนเพิ่มขึ้น ระดับเงินออมภายในประเทศก็สูงขึ้นก็จะทำให้เศรษฐกิจมีความมั่นคงมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาสังคมผู้สูงอายุที่กำลังจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ และในภาคของผู้ประกอบการก็จะคิดค้นผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตเพื่อนำเสนอให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายทุกระดับ ทุกอาชีพ เพื่อเป็นการร่วมกันสร้างความมั่นคงให้กับประชาชนต่อไป
ใครเหมาะสมจะทำประกันบำนาญ
กลุ่มคนที่เหมาะสมต่อการทำประกันชีวิตแบบคือกลุ่มคนที่มีอายุ ระหว่าง 30-55 ปี โดยไม่จำกัดเฉพาะมนุษย์เงินเดือนเท่านั้น บุคคลที่ไม่มีเงินเดือน ก็สามารถทำได้ ทั้งอาชีพ ค้าขายทั่วไป เกษตรกร ชาวนา ชาวไร่ รับจ้างทั่วไป อาชีพอิสระ กลุ่มบุคคลที่ยังไม่มีประกันชีวิตมาก่อน หรือ กลุ่มคนที่มีประกันชีวิตแล้ว แต่ยังไม่มีแบบบำนาญลดหย่อนภาษี หรือ แม้กระทั่งผู้ที่ลงทุนผ่าน RMF แต่ยังลงทุนไม่ถึง 500,000 บาท หรือ กลุ่มคนที่ไม่ชอบความเสี่ยงในการลงทุน และต้องการผลตอบแทนที่แน่นอน หรือ กลุ่มคนที่ไม่ต้องการเป็นภาระลูกหลาน หรือ แม้กระทั่งคนโสด
จากการสำรวจประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่มีการเสนอขายในปัจจุบัน คือ เมืองไทยประกันชีวิต , เอไอเอ , ไอเอ็นจี และธนาคารทหารไทย ที่ผ่านมาการอนุมัติแบบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) มีลักษณะที่คล้ายๆ กัน คือ เป็นแบบประกันที่รับประกันตั้งแต่อายุ 30-55 ปี มีการรับรองการจ่ายเงินเป็นจำนวนเดียวเท่ากันทุกปี เริ่มตั้งแต่ ปีที่ผู้เอาประกันอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปี แล้วแต่แบบประกันที่ลูกค้าเลือกซื้อ โดยจะมีการจ่ายเงินบำนาญให้กับผู้เอาประกันภัยประมาณ 12% ของทุนประกันภัย
ตัวอย่างแบบประกันบำนาญของ เมืองไทยประกันชีวิต แบบ 8555 (บำนาญแบบลดหย่อนได้) รับประกันตั้งแต่อายุ 30-50 ปี ทุนประกัน 1 ล้านบาท สามารถส่งเบี้ยประกันแบบรายเดือน ราย 3 เดือน ราย 6 เดือนและรายปี ส่วนเบี้ยประกันนั้นขึ้นอยู่กับอายุ และเพศ ซึ่งไม่เท่ากัน ผลประโยชน์ที่จะได้รับนั้น เมื่อผู้เอาประกันมีอายุครบ 55 ปี ก็จะได้รับเงินบำนาญปีละ 12% ของทุนประกันที่ 1 ล้านบาท นั่นหมายความว่า ผู้เอาประกันจะได้รับเงินบำนาญปีละ 120,000 บาท ไปจนถึงอายุ 85 ปี
คำถามที่ตามมา คือ กรณีผู้เอาประกันเสียชีวิตก่อนรับเงินบำนาญละ จะทำอย่างไร ตัวอย่างนี้ก็มีให้เห็นเช่นกัน คือ สมมติว่าผู้เอาประกันได้ส่งเบี้ยประกันมาเป็นเวลา 7 ปี แล้วเสียชีวิต ในกรณีนี้ผู้รับผลประโยชน์ก็จะได้รับผลประโยชน์ก็จะได้รับ 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย หรือ มูลค่าเวนคืนในขณะนั้น แล้วแต่จำนวนใดมีค่าสูงกว่า
ในทำนองเดียวกันกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตหลังรับบำนาญไปแล้ว เช่น รับบำนาญไปแล้ว 5 ปี ทายาท หรือ ผู้รับผลประโยชน์ก็จะได้รับผลประโยชน์เท่ากับมูลค่าปัจจุบันของเงินบำนาญที่ยังไม่ได้รับอีก 5 งวด หรือ 5 ปี เพราะตามเกณฑ์ระบุเอาไว้ว่า มีการการันตีรับบำนาญ 10 ปี
คำถามเกี่ยวกับสิทธิเรื่องภาษีและแบบประกันบำนาญที่ลดหย่อนภาษีได้ ยังเป็นเรื่องที่ทุกคนสงสัยอยู่เหมือนเดิม ดังนั้นใครก็ตามที่จะซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ นั้นให้ตั้งสมมติฐานเอาไว้ว่า ต้องเป็นแบบประกันที่ออกหลังจากที่ ครม.อนุมัติเท่านั้น และต้องระบุว่าเป็น "บำนาญแบบลดหย่อนได้" หรือหากสงสัยให้ติดต่อกับตัวแทนฝ่ายขาย หรือเจ้าหน้าที่ของแต่ละบริษัท เท่านี้ก็ได้รับคำตอบแล้ว
สำหรับคนที่ไม่เคยมีประกันชีวิตเลย
สำหรับบุคคลที่ไม่เคยมีประกันชีวิตเลย สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ดังนั้น คือ
1.เบี้ยประกันชีวิต 100,000 บาทแรก สามารถลดหย่อนได้เต็มจำนวนตามหลักเกณฑ์เดิม
2.เบี้ยประกันชีวิตที่เหลือ 200,000 บาท สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ในวงเงินไม่เกิน 15% ของรายได้พึงประเมิน
1.เบี้ยประกันชีวิต 100,000 บาทแรก สามารถลดหย่อนได้เต็มจำนวนตามหลักเกณฑ์เดิม
2.เบี้ยประกันชีวิตที่เหลือ 200,000 บาท สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ในวงเงินไม่เกิน 15% ของรายได้พึงประเมิน
ตัวอย่างที่ 1
นาย A มีรายได้พึงประเมิน 1 ล้านบาท 15% เท่ากับ 150,000 บาท สามารถหักลดหย่อนภาษีบำนาญใหม่ได้ 150,000 บาท รวมกับหักลดหย่อนภาษีเดิมอีก 100,000 บาท เพราะฉะนั้นเท่ากับว่าสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด 250,000 บาท
ตัวอย่างที่ 2
นาย B มีรายได้พึงประเมิน 2 ล้านบาท 15% เท่ากับ 300,000 บาท สามารถหักลดหย่อนภาษีบำนาญใหม่ได้ 200,000 บาท รวมหักลดหย่อนภาษีได้ 300,000 บาท
สำหรับบุคคลที่มีประกันชีวิตอยู่แล้ว
บุคคลที่มีประกันชีวิตทุกแบบเดิมที่ลดหย่อนภาษีได้ หากใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์เดิมไว้ สมมุติว่า 50,000 บาท เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณ ก็จะสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ดังนี้ คือสามารถหักลดหย่อนภาษีในเงื่อนไขเดิมได้ 100,000 บาทแรกได้ 50,000 บาทอยู่แล้ว ส่วนเบี้ยประกันชีวิตที่เหลืออีก 250,000 บาท นั้นสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ดังนี้
สมมุติว่า นาย A มีรายได้พึงประเมิน 1 ล้านบาท 15% ของรายได้ก็เท่ากับ 150,000 บาท เพราะฉะนั้นสามารถหักลดหย่อนภาษีแบบบำนาญใหม่ได้ 150,000 บาท บวกกับ 50,000 บาทเดิม เพราะฉะนั้นสามารถลดหย่อนภาษีได้ 200,000 บาท
สมมติว่า นาย B มีรายได้พึงประเมิน 2 ล้านบาท 15% ของรายได้ก็เท่ากับ 300,000 บาท เกณฑ์ใหม่ระบุว่า สามารถลดหย่อนภาษีได้ 200,000 บาท เพราะฉะนั้น เมื่อรวมกับค่าเบี้ยประกันชีวิตเดิมที่มีอยู่ 50,000 บาท ก็หมายความว่า นาย B สามารถลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด 250,000 บาท
ทั้งหมดนี้ คือ รายละเอียดของการทำประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่หลายคนที่ใส่ใจการประหยัดภาษี ไม่ควรพลาด
ที่มา http://bit.ly/h5hPZZ
ทั้งหมดนี้ คือ รายละเอียดของการทำประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่หลายคนที่ใส่ใจการประหยัดภาษี ไม่ควรพลาด
ที่มา http://bit.ly/h5hPZZ
27 พฤศจิกายน 2553
cooking robot
The automatic cooking robot jointly developed by Shanghai Jiaotong University, Yangzhou University and an enterprise from Shenzhen can cook more than 600 kinds of dishes of different Chinese cuisine.
from http://www.newlaunches.com/archives/cooking_robot_can_cook_more_than_600_kinds_of_dishes_of_different_chinese_cuisin.php
from http://www.newlaunches.com/archives/cooking_robot_can_cook_more_than_600_kinds_of_dishes_of_different_chinese_cuisin.php
billiards robot
Machines are taking over the world of table-top sports. First we saw the whole battle of masterminds with some over-smart computers in chess, now it’s moved on to a bigger surface, billiards. This robot comes with a camera that’s mounted on the top of it, thus giving it a complete overview of the table. After surveying the table it will recognize where the pockets and the balls are and will use some interesting physics fundamentals to use.
At the end of the day we will have this bot showing up at some fest or if he’s lucky, at some billiards tournament they he gets a shot at competing with the best in the business.
from http://www.newlaunches.com/archives/pr2_robot_that_plays_billiards.php
At the end of the day we will have this bot showing up at some fest or if he’s lucky, at some billiards tournament they he gets a shot at competing with the best in the business.
from http://www.newlaunches.com/archives/pr2_robot_that_plays_billiards.php
25 พฤศจิกายน 2553
แก้ปัญหา oracle sql*plus เป็นภาษาต่างดาว
รูปที่ 1 oracle sql*plus ที่เป็นภาษาต่างดาว
รูปที่ 2 oracle sql*plus ที่เป็นภาษาอังกฤษ
แก้ปัญหา oracle sql*plus เป็นภาษาต่างดาว ทำได้ดังนี้
1. ไปที่ Program File > Oracle > Configuration and Migration Tools > Oracle Administration Assistant
2. คลิกขวาที่ Oracle Homes > OraDBXXg_home1 เลือก properties
3. ที่ NLS_LANG เปลี่ยน property value เป็น AMERICAN_AMERICA.TH8TISASCII
4. ปิด sql*plus แล้วลองเข้าใหม่
22 พฤศจิกายน 2553
ป้ำๆ เป๋อๆ ในกัวลาลัมเปอร์ซิตี้
เดินทางท่อง กรุงกัวลาลัมเปอร์ (KL) ประเทศมาเลเซีย ครั้งนี้ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด
"อะไรวะ"
แท็กซี่หักพวงมาลัย ชิดซ้าย เบรกเอี๊ยด... เล่นเอา 7 สาวที่โดยสารมาหน้าทิ่ม
"ขามาไม่เห็นแท็กซี่คันนั้นคิดค่าบริการอะไรเพิ่มเลย ทำไมขากลับถึงชาร์จ โกงนักท่องเที่ยวรึเปล่าเนี่ย" เพื่อนสาวคนหนึ่งโพล่งขึ้นเป็นภาษาไทย
เหมือนเดาอารมณ์ได้ คนขับแท็กซี่รายนั้นเปิดไฟในรถ พร้อมกับชี้ให้ดูสติกเกอร์ที่แปะอยู่ด้านหน้า
...Excutive Taxi Fares...3 Passengers Extra RM 1.00...4 Passengers Extra RM 2.00 ...
"How many people in my car?" แท็กซี่หันมาถามเสียงดัง
เอ่อ...ก็ใครมันจะไปรู้ล่ะ เล่นบอกก่อนออกสตาร์ทว่า จะชาร์จตั้ง 5 ริงกิต (50 บาท) เลยนึกว่า โดนซะแล้ว ที่ไหนได้...
ทิ้งเวลาให้กับความเงียบเพียงไม่ถึง 5 วินาที พวกเรารีบกล่าวขอโทษขอโพยคนขับแท็กซี่คันนั้นกันพัลวัน พี่แกหันมายิ้มก่อนจะหมุนพวงมาลัยกลับเข้าเส้นทางเดิม ทิ้งตึกปิโตรนาสไว้เบื้องหลัง แล้วพาผู้โดยสารทั้ง 7 เดินทางกลับโรงแรมย่าน "บูกิต บินตัง" อย่างปลอดภัย
1.
แม้จะถูกออกแบบไว้คร่าวๆ แต่การเดินทางท่อง กรุงกัวลาลัมเปอร์ (KL) ประเทศมาเลเซีย ในครั้งนี้ก็ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด เริ่มกันตั้งแต่ด่านตรวจคนเข้าเมืองในสนามบินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ หรือ KLIA (Kuala Lumpur International Airport) เลยทีเดียว เพราะช่วงเวลาที่ไปตรงเผงพอดีกับเทศกาลช้อปกระจาย สบายกระเป๋า งานใหญ่ที่มาเลเซียจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ผู้คนจากทั่วโลกจึงหลั่งไหลพากันมาใช้สตางค์ที่นี่
ปัญหาคือ ต้องรอต่อคิวเพื่อผ่านกระบวนการตรวจคนเข้าเมืองนานร่วม 1 ชั่วโมง ! กว่าจะหลุดออกมาเพื่อพบกับข้อความ "Selamat Datang" (ยินดีต้อนรับ) ที่อยู่ด้านหน้าท่าอากาศยานได้ก็เล่นเอาปวดเมื่อยไปหมด
บ้านเรา (กรุงเทพฯ) กำลังจะมี Airport Link ใช้อย่างเป็นทางการในเร็ววันนี้ แต่ที่มาเลเซียเขามี KLIA Express รถด่วนที่วิ่งเชื่อมสนามบินกับสถานี KL Central ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ใช้มานานเป็นสิบปีแล้ว การเดินทางก็แสนสะดวกสบาย จากสนามบินไปเมืองหลวงระยะทาง 70 กิโลเมตร (โดยทางรถยนต์) ใช้เวลาราวๆ 1 ชั่วโมง แต่ถ้าใช้บริการรถด่วน KLIA Express จับเวลาไว้เลย 28 นาที
ให้หลับตานึกถึงภาพกัวลาลัมเปอร์ที่ฉันรู้จัก ตึกปิโตรนาส กระโดดเข้ามาแสดงตัวตนก่อนใครเพื่อน เหตุเพราะความเป็นที่สุดของตึกแห่งนี้นั่นเอง
ตึกแฝดปิโตรนาส (Petronas Twin Towers, KLCC) เป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัทปิโตรนาสที่ประกอบธุรกิจด้านพลังงาน ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอาร์เจนไตน์ - อเมริกัน ชื่อ Cesar Pelli ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมแบบอิสลาม ปรับโฉมเป็นรูปสามเหลี่ยมแฉกสลับกับครึ่งวงกลมรวมกันได้ 8 คู่ ส่วนเหตุที่ต้องเป็นเลข 8 นั้นก็เพราะเป็นเลขมงคลของชาวจีน ประชากรส่วนหนึ่งของมาเลเซียนั่นเอง
ค่ำคืนที่พระจันทร์กำลังส่องสว่างทั่วท้องฟ้า ฉันแหงนหน้ามองตึกสูงระฟ้าแห่งนี้ด้วยชื่นชมจนเมื่อยคอ ด้วยความสูงที่มากถึง 88 ชั้น (451.9 เมตร) ทำให้ตึกแห่งนี้ได้รับการจดสถิติให้เป็นตึกที่สูงที่สุดในโลกอยู่ระยะหนึ่ง ทว่า ปัจจุบันตึกที่รั้งตำแหน่งนี้คือ "บูร์จ คาลิฟา" (Burj Khalifa) หรือ หอคอยดูไบ ที่สูงถึง 162 ชั้น (818 เมตร)
อย่างไรก็ตาม ตึกแฝดปิโตรนาสก็ยังเป็นความภาคภูมิใจของชาวมาเลเซีย และถือเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่หลายคนมาถึงแล้วต้องไม่พลาดถ่ายภาพคู่เป็นที่ระลึก โดยเฉพาะยามค่ำคืนที่แสงไฟประกายส่องออกมาจากตัวอาคาร จะสวยงามมากเป็นพิเศษ หรือถ้าจะชมวิวตอนกลางวันบนชั้น 41 บริเวณ Skybridge ที่เชื่อมตึกทั้ง 2 เข้าด้วยกันดูจะเหมาะสมที่สุด นักท่องเที่ยวขึ้นไปชมได้ฟรี แต่ต้องบอกก่อนว่า ควรไปเข้าแถวรอรับบัตรคิวตั้งแต่ก่อน 7 โมงเช้า ไม่อย่างนั้นหมดสิทธิ์เข้าชม เพราะที่นี่จำกัดให้ขึ้นชมเพียงวันละ 1,000 คนต่อวันเท่านั้น
นอกจากวิวสวยๆ แล้ว ภายในอาคารสูงลิบแห่งนี้ยังมีทั้งส่วนของสำนักงาน ห้องประชุม ซูเรียเคแอลซีซีชอปปิงมอลล์ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ศูนย์วิทยาศาสตร์ ศูนย์ศิลปะ หรือถ้าโอกาสดีจะมีการแสดง ฟีฮาร์โมนิก ออเคสตร้า หรือ MPO ของมาเลเซียให้ได้ชมกัน แต่ต้องสอบถามตารางการแสดงและจองบัตรล่วงหน้าก่อนเข้าชม
ส่วนคู่หูตึกปิโตรนาสคือ เคแอลทาวเวอร์ (KL Tower) หรือ เมนารา กัวลาลัมเปอร์ (Menara Kuala Lumpur) เป็นหอโทรคมนาคมที่มีความสูง 421 เมตร (สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสูงเป็นอันดับ 4 ของโลก) ถ้าขึ้นไปชั้น TH01 ก็จะเห็นกรุงกัวลาลัมเปอร์ในมุม 360 องศา มุมนี้สวยกว่ามุมที่ตึกปิโตรนาสเยอะ
ว่ากันว่า ปิโตรนาสและเคแอลทาวเวอร์เป็นสัญลักษณ์ของมาเลเซียยุคใหม่ที่ก้าวไปสู่ความเจริญ แต่ท่ามกลางความทันสมัยของสถาปัตยกรรมโลกปัจจุบัน กัวลาลัมเปอร์กลับผสมผสานอดีตของอารยธรรมที่น่าสนใจของประเทศไว้ได้อย่างกลมกลืน
2.
ฉันเดินตามเพื่อนๆ และไกด์ท้องถิ่นไปจนถึงจุดบรรจบของแม่น้ำ 2 สายที่อยู่ใจกลางเมือง นั่นคือ แม่น้ำคลาง (Klang) และแม่น้ำกอมบัก (Gombak) สันดอนปากแม่น้ำตรงนี้เองเป็นที่มาของชื่อ "กัวลาลัมเปอร์" ในภาษามาเลเซีย ที่แปลว่า "สันดอนที่เป็นโคลนตม"
ในอดีตพื้นที่นี้เป็นหมู่บ้านเหมืองแร่ดีบุกที่บุกเบิกโดยกัปตันเรือชาวจีน ต่อเมื่อเวลาผ่านไป กัวลาลัมเปอร์กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้า และเป็นเมืองหลวงของประเทศเมื่อมาเลเซียได้รับเอกราชคืนจากอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1957
ประวัติศาสตร์อันยาวนานถูกเล่าเรื่องผ่านอาคารโบราณและย่านสำคัญๆ ทางประวัติศาสตร์ จัตุรัสเมอร์เดก้า (Merdeka Square) บนถนนราจา คือสถานที่ปลดแอกของชาวมาเลย์ต่อประเทศเจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษ วันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ.1957 ธงยูเนียนแจ็คของอังกฤษถูกชักลงจากยอดเสา และแทนที่ด้วยธงชาติมาเลเซีย แสดงถึงความเป็นเอกราชของมาเลเซียอย่างเป็นทางการ ซึ่งคำว่า Merdeka เป็นภาษามาเลย์ ที่หมายถึง "เอกราช" นั่นเอง
มองขึ้นไปที่เสาธงสูง 100 เมตร บนปลายยอดนั้น ธงชาติมาเลเซียโบกสะบัดไปตามแรงลมอย่างสวยงาม คล้ายความอิสระที่ไม่มีใครหรือสิ่งใดมาขวางกั้นได้อีก
พื้นที่โดยรอบจัตุรัสได้รับการตกแต่งอย่างสวยงาม มีสนามหญ้าขนาดใหญ่ (เหมือนสนามหลวง) เรียกว่า "ปาดัง" ฝั่งตรงข้ามเป็นสถาปัตยกรรมแบบมัวร์ (อินเดีย+อาหรับ) นั่นคือ อาคารสุลต่านอับดุล ซามัด (Sultan Abdul Samad Building) สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นศูนย์บริหารอาณานิคมในสมัยการปกครองของอังกฤษ ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐมีขนาดใหญ่ที่สุดและสวยงามที่สุดในรัฐมาเลย์สมัยนั้น ส่วนระเบียงก็งดงามด้วยโค้งประตูรูปเกือกม้า ยอดโดมสีทองแดงเมื่อต้องแสงอาทิตย์จะวับแววสวยงาม
ระหว่างตึกมีหอนาฬิกาสูง 41.2 เมตร เป็นจุดเด่นที่ได้รับขนานนามว่าเป็น “บิ๊กเบนของมาเลเซีย” อยู่ในโดมสีทองขนาดใหญ่ ส่วน พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์มาเลเซีย (National History Museum) ที่อยู่ไม่ห่างกัน ก็เป็นอดีตที่ทำการของธนาคาร Chartered Bank of India, Australia and China ลักษณะเป็นตึก 3 ชั้น ที่มียอดโดมสี่มุม คลุมด้วยไม้เบอเลียนซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งของมาเลเซีย ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาของชนชาติมลายู ส่วนอาคารที่มียอดโดมสีขาวในแบบศิลปะมัวร์ ตัวอาคารเป็นอิฐสีแดงคาดลายขาวนั้น คือ พิพิธภัณฑ์สิ่งทอ (Textile Museum) ที่มีอายุกว่า 100 ปีแล้ว
ฉันรอสัญญาณไฟเพื่อเดินข้ามกลับไปบริเวณสันดอนปากแม่น้ำ แล้วข้ามสะพานอีกที ตรงนี้ไม่ง่ายเท่าไรนัก เพราะนอกจากจะไม่มีสัญญาณไฟแล้ว รถราบนถนนก็จอแจเสียจนคนรอข้ามถนนอ่อนใจ ถ้าไม่ติดว่าตรงนี้คือทางลัดไป เซ็นทรัลมาร์เก็ต (Central Market) ล่ะก็ คงตัดสินใจเดินตามท้องถนนสายยาวๆ ไปแล้ว
เซ็นทรัลมาร์เก็ต เป็นศูนย์รวมศิลปะและวัฒนธรรม ที่ชาวท้องถิ่นเรียกกันว่า ปาซาร์ เซนิ (Pasar Seni) หรือปาซาร์ บูตาย่า (Pasar Budaya) ในอดีตที่เป็นตลาดขายผักผลไม้ แต่วันนี้มีงานอาร์ตยุคใหม่จำหน่ายมากมาย ทั้งภาพวาด งานแกะสลัก ผ้าบาติก เครื่องจักสาน ฯลฯ ของฝากหลายชิ้นที่อยู่ในมือนักช้อปสาวชาวไทยหลายคนก็ได้มาจากตลาดกลางแห่งนี้
ถนนบูกิตบินตัง (Bukit Bintang) เป็นอีกย่านที่นักช้อปตัวยงพลาดไม่ได้ เพราะที่นี่เป็นศูนย์รวมห้างดังอย่าง พาวิลเลียน, ล็อตเทน, อิเซตัน, เคแอลพลาซ่า, พิคคาโลแกลเลอเรีย ฯลฯ เรียกว่า เดินกันจนเมื่อยน่องแล้วก็ยังไม่ทั่วทุกห้าง
เกือบจะเสียสละขาทั้ง 2 ข้าง ให้กับการชมช้อปบนถนนสายหลักแห่งนี้ไปแล้ว ถ้าไม่บังเอิญว่ามีใครคนหนึ่งเสนอย่าน ไชน่าทาวน์ หรือ ปัตตาลิง สตรีท (Petaling Street) ให้ไปเดินเล่นคลายเมื่อย คิดว่าจะมีอะไรจีนๆ ขายเลยตัดสินใจยกมือก่อนใครเพื่อน แต่พอไปถึงแล้วต้องผิดหวัง เพราะไม่ต่างจากตลาดเซี่ยงหยาง ในเซี่ยงไฮ้เลย ผลก็คือ ต้องไปนั่งนวดขาใน Old China Cafe ร้านอาหารเก่าแก่ที่บรรยากาศสลัวๆ จนทำให้ฉันนึกถึงหนังบางเรื่องของ หว่อง กา ไว ที่บรรยากาศและสีสันคล้ายกันไม่ผิดเพี้ยน
เสพสัมผัสความเป็นเมืองในมหานครใหญ่จนจุใจ วันสุดท้ายเราจึงใช้เวลาทั้งหมดไปกับ ถ้ำบาตู (Batu Caves) ที่อยู่ห่างจาก KL ออกไปราว 13 กิโลเมตร ที่นี่เป็นสถานที่ตั้งของวัดฮินดู ที่สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระขันธกุมาร เทพองค์หนึ่งในศาสนาฮินดู แต่ละปีมีผู้คนมาสักการะนับล้านคน โดยเฉพาะช่วงงาน ไทพูซั่ม (Thaipusam) หรือเทศกาลบูชาเทพเจ้า ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีช่วงเดือนมกราคมกุมภาพันธ์ เวลานั้นคนนับล้านจากทั่วโลกจะมารวมกันที่นี่เพื่อร่วมกันสักการะเทพฮินดู
ขึ้นชื่อว่าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ แน่นอนว่าต้องเข้าถึงยาก จากพื้นราบด้านล่างเราต้องฝ่าบันไดจำนวน 272 ขั้น พร้อมการก่อกวนของลิงเจ้าที่อีกฝูงใหญ่ขึ้นไป ระหว่างทางนกเจ้ากรรมดันขี้ใส่กล้องสุดหวง แต่ไม่เป็นไร นกขี้ใส่เขาว่าโชคดี แต่มันยังไม่จบเท่านี้ เพราะเมื่อปีนขึ้นไปจนถึงถ้ำ ค้างคาวเจ้ากรรม (อีกตัว) ยังขี้ใส่ (อีกรอบ) ตกลงว่าวันนี้จะโชคดีหรือโชคร้ายกันแน่เรา
เดินเข้าไปในโถงถ้ำกลิ่นขี้ค้างคาวอบอวลไปหมด ด้านในลึกๆ มีศาลาประกอบพิธีของพราหมณ์หลายคน เลือกได้ศาลาหนึ่งฉันก็เดินเข้าไปมอบมาลัย และนม เพื่อให้พราหมณ์ใช้ทำพิธี
ชนชั้นวรรณะสูงสุดตามหลักศาสนาฮินดูบรรจงแต้มแป้งสีขาวและสีแดงบนหน้าผากของฉัน ก่อนจะท่องมนต์บางอย่าง พร้อมกับมัดเชือกดำให้ที่ข้อมือ เป็นอันจบพิธี
กำลังจะถอยหลังกลับอยู่แล้วเชียว แต่...พราหมณ์ยื่นถาดบางๆ มาให้ พอฉันทำหน้างงก็มีคนที่อยู่ด้านในเดินมาบอก "เป็นธรรมเนียม เสร็จแล้วต้องให้สตางค์ด้วย"
ถึงบางอ้อ ทำบุญที่ไหนๆ ก็คงขาดปัจจัยไม่ได้จริงๆ ว่าแล้วฉันก็ควัก 10 ริงกิตสุดท้ายในกระเป๋าใส่ถาดให้ไป
........................
"มาเลเซีย" อาจไม่ใช่ปลายทางหลักของนักท่องเที่ยวชาวไทย "กัวลาลัมเปอร์" อาจอยู่ในลำดับกลางๆ ของตารางการชอปปิง แต่ "เพื่อนบ้าน" แห่งนี้ ก็ถือเป็นหนึ่งใน "มิตร" ที่ดีที่สุดของคนไทย
ใครไม่เชื่อต้องไปพิสูจน์เอง
.................
การเดินทาง-ที่พัก
นักท่องเที่ยวชาวไทยไปมาเลเซียได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า แค่มีหนังสือเดินทางเหลืออายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 6 เดือนก็เข้าได้ไม่มีปัญหา สำหรับการเดินทางจากกรุงเทพฯ มีสายการบินให้บริการหลายสาย ทั้งมาเลเซีย แอร์ไลน์, แอร์ เอเชีย, การบินไทย เลือกใช้บริการได้ตามสะดวก แต่มาเลเซียแอร์ไลน์จะมีภาษีดีกว่าตรงที่ ผู้โดยสารสามารถเช็คอินและโหลดกระเป๋าเดินทางขึ้นเครื่องได้เลยตั้งแต่อยู่ในเมืองหลวงกัวลาลัมเปอร์ โดยใช้บริการ KLIA Express รถด่วนที่วิ่งเชื่อมสนามบินกับสถานี KL Central ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ใช้เวลาในการเดินทางจากในเมืองไปสนามบินแค่ 28 นาที โดยตารางเดินรถจะออกทุกๆ 15 นาที จะเข้าเมืองหรือกลับสนามบินจึงค่อนข้างสะดวก ค่าบริการ 25 ริงกิต
การเดินทางในเมืองสามารถใช้บริการ KL Monorail ที่วิ่งเชื่อมสถานีสำคัญๆ ต่างๆ ได้ เหมือนรถไฟฟ้า BTS บ้านเรา ส่วนแท็กซี่มีบริการตลอด 24 ชั่วโมง ราคาเริ่มต้น 2 ริงกิต และเพิ่ม 10 เซ็นต์ ทุกๆ ระยะทาง 150 เมตร หลังเที่ยงคืนราคาจะเพิ่มเป็น 2 เท่า ใช้บริการมากกว่า 2 คน จะเพิ่มขึ้นคนละ 1 ริงกิตตามจำนวนที่เพิ่ม
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับริงกิต (สกุล RM) ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก คิดง่ายๆ 10 บาทเท่ากับ 1 ริงกิต ส่วนเวลาในมาเลเซียจะเร็วกว่าเมืองไทย 1 ชั่วโมง สำหรับที่พักมีหลายราคา โดยเฉพาะย่านบูกิตบินตังที่เป็นย่านชอปปิงกลางเมือง หาที่พักไม่ยาก และสามารถเดินเที่ยวได้สะดวก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวมาเลเซีย ประจำประเทศไทย โทรศัพท์ 0-2636-3380-3 หรือ www.tourismmalaysia.gov.my
from http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/lifestyle/20100821/348972/%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%86-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%8B%E0%B8%AD%E0%B9%86-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%89.html
"อะไรวะ"
แท็กซี่หักพวงมาลัย ชิดซ้าย เบรกเอี๊ยด... เล่นเอา 7 สาวที่โดยสารมาหน้าทิ่ม
"ขามาไม่เห็นแท็กซี่คันนั้นคิดค่าบริการอะไรเพิ่มเลย ทำไมขากลับถึงชาร์จ โกงนักท่องเที่ยวรึเปล่าเนี่ย" เพื่อนสาวคนหนึ่งโพล่งขึ้นเป็นภาษาไทย
เหมือนเดาอารมณ์ได้ คนขับแท็กซี่รายนั้นเปิดไฟในรถ พร้อมกับชี้ให้ดูสติกเกอร์ที่แปะอยู่ด้านหน้า
...Excutive Taxi Fares...3 Passengers Extra RM 1.00...4 Passengers Extra RM 2.00 ...
"How many people in my car?" แท็กซี่หันมาถามเสียงดัง
เอ่อ...ก็ใครมันจะไปรู้ล่ะ เล่นบอกก่อนออกสตาร์ทว่า จะชาร์จตั้ง 5 ริงกิต (50 บาท) เลยนึกว่า โดนซะแล้ว ที่ไหนได้...
ทิ้งเวลาให้กับความเงียบเพียงไม่ถึง 5 วินาที พวกเรารีบกล่าวขอโทษขอโพยคนขับแท็กซี่คันนั้นกันพัลวัน พี่แกหันมายิ้มก่อนจะหมุนพวงมาลัยกลับเข้าเส้นทางเดิม ทิ้งตึกปิโตรนาสไว้เบื้องหลัง แล้วพาผู้โดยสารทั้ง 7 เดินทางกลับโรงแรมย่าน "บูกิต บินตัง" อย่างปลอดภัย
1.
แม้จะถูกออกแบบไว้คร่าวๆ แต่การเดินทางท่อง กรุงกัวลาลัมเปอร์ (KL) ประเทศมาเลเซีย ในครั้งนี้ก็ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด เริ่มกันตั้งแต่ด่านตรวจคนเข้าเมืองในสนามบินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ หรือ KLIA (Kuala Lumpur International Airport) เลยทีเดียว เพราะช่วงเวลาที่ไปตรงเผงพอดีกับเทศกาลช้อปกระจาย สบายกระเป๋า งานใหญ่ที่มาเลเซียจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ผู้คนจากทั่วโลกจึงหลั่งไหลพากันมาใช้สตางค์ที่นี่
ปัญหาคือ ต้องรอต่อคิวเพื่อผ่านกระบวนการตรวจคนเข้าเมืองนานร่วม 1 ชั่วโมง ! กว่าจะหลุดออกมาเพื่อพบกับข้อความ "Selamat Datang" (ยินดีต้อนรับ) ที่อยู่ด้านหน้าท่าอากาศยานได้ก็เล่นเอาปวดเมื่อยไปหมด
บ้านเรา (กรุงเทพฯ) กำลังจะมี Airport Link ใช้อย่างเป็นทางการในเร็ววันนี้ แต่ที่มาเลเซียเขามี KLIA Express รถด่วนที่วิ่งเชื่อมสนามบินกับสถานี KL Central ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ใช้มานานเป็นสิบปีแล้ว การเดินทางก็แสนสะดวกสบาย จากสนามบินไปเมืองหลวงระยะทาง 70 กิโลเมตร (โดยทางรถยนต์) ใช้เวลาราวๆ 1 ชั่วโมง แต่ถ้าใช้บริการรถด่วน KLIA Express จับเวลาไว้เลย 28 นาที
ให้หลับตานึกถึงภาพกัวลาลัมเปอร์ที่ฉันรู้จัก ตึกปิโตรนาส กระโดดเข้ามาแสดงตัวตนก่อนใครเพื่อน เหตุเพราะความเป็นที่สุดของตึกแห่งนี้นั่นเอง
ตึกแฝดปิโตรนาส (Petronas Twin Towers, KLCC) เป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัทปิโตรนาสที่ประกอบธุรกิจด้านพลังงาน ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอาร์เจนไตน์ - อเมริกัน ชื่อ Cesar Pelli ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมแบบอิสลาม ปรับโฉมเป็นรูปสามเหลี่ยมแฉกสลับกับครึ่งวงกลมรวมกันได้ 8 คู่ ส่วนเหตุที่ต้องเป็นเลข 8 นั้นก็เพราะเป็นเลขมงคลของชาวจีน ประชากรส่วนหนึ่งของมาเลเซียนั่นเอง
ค่ำคืนที่พระจันทร์กำลังส่องสว่างทั่วท้องฟ้า ฉันแหงนหน้ามองตึกสูงระฟ้าแห่งนี้ด้วยชื่นชมจนเมื่อยคอ ด้วยความสูงที่มากถึง 88 ชั้น (451.9 เมตร) ทำให้ตึกแห่งนี้ได้รับการจดสถิติให้เป็นตึกที่สูงที่สุดในโลกอยู่ระยะหนึ่ง ทว่า ปัจจุบันตึกที่รั้งตำแหน่งนี้คือ "บูร์จ คาลิฟา" (Burj Khalifa) หรือ หอคอยดูไบ ที่สูงถึง 162 ชั้น (818 เมตร)
อย่างไรก็ตาม ตึกแฝดปิโตรนาสก็ยังเป็นความภาคภูมิใจของชาวมาเลเซีย และถือเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่หลายคนมาถึงแล้วต้องไม่พลาดถ่ายภาพคู่เป็นที่ระลึก โดยเฉพาะยามค่ำคืนที่แสงไฟประกายส่องออกมาจากตัวอาคาร จะสวยงามมากเป็นพิเศษ หรือถ้าจะชมวิวตอนกลางวันบนชั้น 41 บริเวณ Skybridge ที่เชื่อมตึกทั้ง 2 เข้าด้วยกันดูจะเหมาะสมที่สุด นักท่องเที่ยวขึ้นไปชมได้ฟรี แต่ต้องบอกก่อนว่า ควรไปเข้าแถวรอรับบัตรคิวตั้งแต่ก่อน 7 โมงเช้า ไม่อย่างนั้นหมดสิทธิ์เข้าชม เพราะที่นี่จำกัดให้ขึ้นชมเพียงวันละ 1,000 คนต่อวันเท่านั้น
นอกจากวิวสวยๆ แล้ว ภายในอาคารสูงลิบแห่งนี้ยังมีทั้งส่วนของสำนักงาน ห้องประชุม ซูเรียเคแอลซีซีชอปปิงมอลล์ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ศูนย์วิทยาศาสตร์ ศูนย์ศิลปะ หรือถ้าโอกาสดีจะมีการแสดง ฟีฮาร์โมนิก ออเคสตร้า หรือ MPO ของมาเลเซียให้ได้ชมกัน แต่ต้องสอบถามตารางการแสดงและจองบัตรล่วงหน้าก่อนเข้าชม
ส่วนคู่หูตึกปิโตรนาสคือ เคแอลทาวเวอร์ (KL Tower) หรือ เมนารา กัวลาลัมเปอร์ (Menara Kuala Lumpur) เป็นหอโทรคมนาคมที่มีความสูง 421 เมตร (สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสูงเป็นอันดับ 4 ของโลก) ถ้าขึ้นไปชั้น TH01 ก็จะเห็นกรุงกัวลาลัมเปอร์ในมุม 360 องศา มุมนี้สวยกว่ามุมที่ตึกปิโตรนาสเยอะ
ว่ากันว่า ปิโตรนาสและเคแอลทาวเวอร์เป็นสัญลักษณ์ของมาเลเซียยุคใหม่ที่ก้าวไปสู่ความเจริญ แต่ท่ามกลางความทันสมัยของสถาปัตยกรรมโลกปัจจุบัน กัวลาลัมเปอร์กลับผสมผสานอดีตของอารยธรรมที่น่าสนใจของประเทศไว้ได้อย่างกลมกลืน
2.
ฉันเดินตามเพื่อนๆ และไกด์ท้องถิ่นไปจนถึงจุดบรรจบของแม่น้ำ 2 สายที่อยู่ใจกลางเมือง นั่นคือ แม่น้ำคลาง (Klang) และแม่น้ำกอมบัก (Gombak) สันดอนปากแม่น้ำตรงนี้เองเป็นที่มาของชื่อ "กัวลาลัมเปอร์" ในภาษามาเลเซีย ที่แปลว่า "สันดอนที่เป็นโคลนตม"
ในอดีตพื้นที่นี้เป็นหมู่บ้านเหมืองแร่ดีบุกที่บุกเบิกโดยกัปตันเรือชาวจีน ต่อเมื่อเวลาผ่านไป กัวลาลัมเปอร์กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้า และเป็นเมืองหลวงของประเทศเมื่อมาเลเซียได้รับเอกราชคืนจากอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1957
ประวัติศาสตร์อันยาวนานถูกเล่าเรื่องผ่านอาคารโบราณและย่านสำคัญๆ ทางประวัติศาสตร์ จัตุรัสเมอร์เดก้า (Merdeka Square) บนถนนราจา คือสถานที่ปลดแอกของชาวมาเลย์ต่อประเทศเจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษ วันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ.1957 ธงยูเนียนแจ็คของอังกฤษถูกชักลงจากยอดเสา และแทนที่ด้วยธงชาติมาเลเซีย แสดงถึงความเป็นเอกราชของมาเลเซียอย่างเป็นทางการ ซึ่งคำว่า Merdeka เป็นภาษามาเลย์ ที่หมายถึง "เอกราช" นั่นเอง
มองขึ้นไปที่เสาธงสูง 100 เมตร บนปลายยอดนั้น ธงชาติมาเลเซียโบกสะบัดไปตามแรงลมอย่างสวยงาม คล้ายความอิสระที่ไม่มีใครหรือสิ่งใดมาขวางกั้นได้อีก
พื้นที่โดยรอบจัตุรัสได้รับการตกแต่งอย่างสวยงาม มีสนามหญ้าขนาดใหญ่ (เหมือนสนามหลวง) เรียกว่า "ปาดัง" ฝั่งตรงข้ามเป็นสถาปัตยกรรมแบบมัวร์ (อินเดีย+อาหรับ) นั่นคือ อาคารสุลต่านอับดุล ซามัด (Sultan Abdul Samad Building) สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นศูนย์บริหารอาณานิคมในสมัยการปกครองของอังกฤษ ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐมีขนาดใหญ่ที่สุดและสวยงามที่สุดในรัฐมาเลย์สมัยนั้น ส่วนระเบียงก็งดงามด้วยโค้งประตูรูปเกือกม้า ยอดโดมสีทองแดงเมื่อต้องแสงอาทิตย์จะวับแววสวยงาม
ระหว่างตึกมีหอนาฬิกาสูง 41.2 เมตร เป็นจุดเด่นที่ได้รับขนานนามว่าเป็น “บิ๊กเบนของมาเลเซีย” อยู่ในโดมสีทองขนาดใหญ่ ส่วน พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์มาเลเซีย (National History Museum) ที่อยู่ไม่ห่างกัน ก็เป็นอดีตที่ทำการของธนาคาร Chartered Bank of India, Australia and China ลักษณะเป็นตึก 3 ชั้น ที่มียอดโดมสี่มุม คลุมด้วยไม้เบอเลียนซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งของมาเลเซีย ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาของชนชาติมลายู ส่วนอาคารที่มียอดโดมสีขาวในแบบศิลปะมัวร์ ตัวอาคารเป็นอิฐสีแดงคาดลายขาวนั้น คือ พิพิธภัณฑ์สิ่งทอ (Textile Museum) ที่มีอายุกว่า 100 ปีแล้ว
ฉันรอสัญญาณไฟเพื่อเดินข้ามกลับไปบริเวณสันดอนปากแม่น้ำ แล้วข้ามสะพานอีกที ตรงนี้ไม่ง่ายเท่าไรนัก เพราะนอกจากจะไม่มีสัญญาณไฟแล้ว รถราบนถนนก็จอแจเสียจนคนรอข้ามถนนอ่อนใจ ถ้าไม่ติดว่าตรงนี้คือทางลัดไป เซ็นทรัลมาร์เก็ต (Central Market) ล่ะก็ คงตัดสินใจเดินตามท้องถนนสายยาวๆ ไปแล้ว
เซ็นทรัลมาร์เก็ต เป็นศูนย์รวมศิลปะและวัฒนธรรม ที่ชาวท้องถิ่นเรียกกันว่า ปาซาร์ เซนิ (Pasar Seni) หรือปาซาร์ บูตาย่า (Pasar Budaya) ในอดีตที่เป็นตลาดขายผักผลไม้ แต่วันนี้มีงานอาร์ตยุคใหม่จำหน่ายมากมาย ทั้งภาพวาด งานแกะสลัก ผ้าบาติก เครื่องจักสาน ฯลฯ ของฝากหลายชิ้นที่อยู่ในมือนักช้อปสาวชาวไทยหลายคนก็ได้มาจากตลาดกลางแห่งนี้
ถนนบูกิตบินตัง (Bukit Bintang) เป็นอีกย่านที่นักช้อปตัวยงพลาดไม่ได้ เพราะที่นี่เป็นศูนย์รวมห้างดังอย่าง พาวิลเลียน, ล็อตเทน, อิเซตัน, เคแอลพลาซ่า, พิคคาโลแกลเลอเรีย ฯลฯ เรียกว่า เดินกันจนเมื่อยน่องแล้วก็ยังไม่ทั่วทุกห้าง
เกือบจะเสียสละขาทั้ง 2 ข้าง ให้กับการชมช้อปบนถนนสายหลักแห่งนี้ไปแล้ว ถ้าไม่บังเอิญว่ามีใครคนหนึ่งเสนอย่าน ไชน่าทาวน์ หรือ ปัตตาลิง สตรีท (Petaling Street) ให้ไปเดินเล่นคลายเมื่อย คิดว่าจะมีอะไรจีนๆ ขายเลยตัดสินใจยกมือก่อนใครเพื่อน แต่พอไปถึงแล้วต้องผิดหวัง เพราะไม่ต่างจากตลาดเซี่ยงหยาง ในเซี่ยงไฮ้เลย ผลก็คือ ต้องไปนั่งนวดขาใน Old China Cafe ร้านอาหารเก่าแก่ที่บรรยากาศสลัวๆ จนทำให้ฉันนึกถึงหนังบางเรื่องของ หว่อง กา ไว ที่บรรยากาศและสีสันคล้ายกันไม่ผิดเพี้ยน
เสพสัมผัสความเป็นเมืองในมหานครใหญ่จนจุใจ วันสุดท้ายเราจึงใช้เวลาทั้งหมดไปกับ ถ้ำบาตู (Batu Caves) ที่อยู่ห่างจาก KL ออกไปราว 13 กิโลเมตร ที่นี่เป็นสถานที่ตั้งของวัดฮินดู ที่สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระขันธกุมาร เทพองค์หนึ่งในศาสนาฮินดู แต่ละปีมีผู้คนมาสักการะนับล้านคน โดยเฉพาะช่วงงาน ไทพูซั่ม (Thaipusam) หรือเทศกาลบูชาเทพเจ้า ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีช่วงเดือนมกราคมกุมภาพันธ์ เวลานั้นคนนับล้านจากทั่วโลกจะมารวมกันที่นี่เพื่อร่วมกันสักการะเทพฮินดู
ขึ้นชื่อว่าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ แน่นอนว่าต้องเข้าถึงยาก จากพื้นราบด้านล่างเราต้องฝ่าบันไดจำนวน 272 ขั้น พร้อมการก่อกวนของลิงเจ้าที่อีกฝูงใหญ่ขึ้นไป ระหว่างทางนกเจ้ากรรมดันขี้ใส่กล้องสุดหวง แต่ไม่เป็นไร นกขี้ใส่เขาว่าโชคดี แต่มันยังไม่จบเท่านี้ เพราะเมื่อปีนขึ้นไปจนถึงถ้ำ ค้างคาวเจ้ากรรม (อีกตัว) ยังขี้ใส่ (อีกรอบ) ตกลงว่าวันนี้จะโชคดีหรือโชคร้ายกันแน่เรา
เดินเข้าไปในโถงถ้ำกลิ่นขี้ค้างคาวอบอวลไปหมด ด้านในลึกๆ มีศาลาประกอบพิธีของพราหมณ์หลายคน เลือกได้ศาลาหนึ่งฉันก็เดินเข้าไปมอบมาลัย และนม เพื่อให้พราหมณ์ใช้ทำพิธี
ชนชั้นวรรณะสูงสุดตามหลักศาสนาฮินดูบรรจงแต้มแป้งสีขาวและสีแดงบนหน้าผากของฉัน ก่อนจะท่องมนต์บางอย่าง พร้อมกับมัดเชือกดำให้ที่ข้อมือ เป็นอันจบพิธี
กำลังจะถอยหลังกลับอยู่แล้วเชียว แต่...พราหมณ์ยื่นถาดบางๆ มาให้ พอฉันทำหน้างงก็มีคนที่อยู่ด้านในเดินมาบอก "เป็นธรรมเนียม เสร็จแล้วต้องให้สตางค์ด้วย"
ถึงบางอ้อ ทำบุญที่ไหนๆ ก็คงขาดปัจจัยไม่ได้จริงๆ ว่าแล้วฉันก็ควัก 10 ริงกิตสุดท้ายในกระเป๋าใส่ถาดให้ไป
........................
"มาเลเซีย" อาจไม่ใช่ปลายทางหลักของนักท่องเที่ยวชาวไทย "กัวลาลัมเปอร์" อาจอยู่ในลำดับกลางๆ ของตารางการชอปปิง แต่ "เพื่อนบ้าน" แห่งนี้ ก็ถือเป็นหนึ่งใน "มิตร" ที่ดีที่สุดของคนไทย
ใครไม่เชื่อต้องไปพิสูจน์เอง
.................
การเดินทาง-ที่พัก
นักท่องเที่ยวชาวไทยไปมาเลเซียได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า แค่มีหนังสือเดินทางเหลืออายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 6 เดือนก็เข้าได้ไม่มีปัญหา สำหรับการเดินทางจากกรุงเทพฯ มีสายการบินให้บริการหลายสาย ทั้งมาเลเซีย แอร์ไลน์, แอร์ เอเชีย, การบินไทย เลือกใช้บริการได้ตามสะดวก แต่มาเลเซียแอร์ไลน์จะมีภาษีดีกว่าตรงที่ ผู้โดยสารสามารถเช็คอินและโหลดกระเป๋าเดินทางขึ้นเครื่องได้เลยตั้งแต่อยู่ในเมืองหลวงกัวลาลัมเปอร์ โดยใช้บริการ KLIA Express รถด่วนที่วิ่งเชื่อมสนามบินกับสถานี KL Central ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ใช้เวลาในการเดินทางจากในเมืองไปสนามบินแค่ 28 นาที โดยตารางเดินรถจะออกทุกๆ 15 นาที จะเข้าเมืองหรือกลับสนามบินจึงค่อนข้างสะดวก ค่าบริการ 25 ริงกิต
การเดินทางในเมืองสามารถใช้บริการ KL Monorail ที่วิ่งเชื่อมสถานีสำคัญๆ ต่างๆ ได้ เหมือนรถไฟฟ้า BTS บ้านเรา ส่วนแท็กซี่มีบริการตลอด 24 ชั่วโมง ราคาเริ่มต้น 2 ริงกิต และเพิ่ม 10 เซ็นต์ ทุกๆ ระยะทาง 150 เมตร หลังเที่ยงคืนราคาจะเพิ่มเป็น 2 เท่า ใช้บริการมากกว่า 2 คน จะเพิ่มขึ้นคนละ 1 ริงกิตตามจำนวนที่เพิ่ม
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับริงกิต (สกุล RM) ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก คิดง่ายๆ 10 บาทเท่ากับ 1 ริงกิต ส่วนเวลาในมาเลเซียจะเร็วกว่าเมืองไทย 1 ชั่วโมง สำหรับที่พักมีหลายราคา โดยเฉพาะย่านบูกิตบินตังที่เป็นย่านชอปปิงกลางเมือง หาที่พักไม่ยาก และสามารถเดินเที่ยวได้สะดวก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวมาเลเซีย ประจำประเทศไทย โทรศัพท์ 0-2636-3380-3 หรือ www.tourismmalaysia.gov.my
from http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/lifestyle/20100821/348972/%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%86-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%8B%E0%B8%AD%E0%B9%86-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%89.html
21 พฤศจิกายน 2553
หลัก 4 ข้อเลือกแฟรนไชส์ที่ดี
ธุรกิจแฟรนไชส์ถือเป็นอีกทางลอเลือกสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจที่ง่ายและรวดเร็ว อย่างไรก็ดี ก่อนจะตัดสินใจจับคู่ธุรกิจกับแบรนด์ใดนั้น ลองพิจารณาจากหลัก 4 ข้อนี้ดูเสียก่อน
1.เป็นแฟรนไชซอร์ที่ดี เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ต้องสอนทุกสิ่งที่คุณต้องทำเพื่อให้ประสบความสำเร็จและคุณจะไปตามทิศทางนั้นที่เขาได้ลองผิดลองถูกมาแล้ว ประเมินได้จาก 3 สิ่งคือ
1.1โครงการฝึกอบรมให้แน่ใจว่าทุกพื้นที่การทำงานของธุรกิจจะครอบคลุมครบถ้วนและระบบที่อยู่ในสถานที่ให้ความช่วยเหลือคุณเมื่อคุณเรียนรู้วิธีการดำเนินธุรกิจ
1.2ระบบสนับสนุน เพื่อให้ความช่วยเหลือทั้งหมดที่คุณต้องการกับด้านการเปิดร้านใหม่ ตั้งแต่การเลือกอสังหาริมทรัพย์ เจรจาเช่า จัดหาวัสดุก่อสร้างและสินค้าคงคลังและการค้นหาและการฝึกอบรมพนักงาน
1.3คุณจะต้องประเมินสายงานแฟรนไชส์หน่วยสนับสนุน ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าคนเหล่านี้รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับการดำเนินงานของหน่วยใหม่และว่าพวกเขาจะมีให้คุณเมื่อคุณต้องการความช่วยเหลือ ว่าแฟรนไชส์ที่ดีคุณอยู่ในธุรกิจได้ด้วยตัวเอง แต่ไม่ได้ด้วยตัวเองเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นกรณีนี้
2.ความแข็งแกร่งในการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่คุณได้รับการสนับสนุนจากหน่วยแรก ในการปฏิบัติการคุณยังต้องการความช่วยเหลือในการจัดการกับปัญหา ดังนั้นต้องรู้ว่าแฟรนไชซอร์จะให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในการให้ความช่วยเหลือและการฝึกอบรมเพื่อช่วยให้คุณรับมือกับความท้าทาย
คุณควรประเมินความพยายามของแฟรนไชซอร์ที่จะทำให้แฟรนไชส์ประสบความสำเร็จ โดยการชดเชยบางสิ่งบางอย่างไม่ว่าจะเป็นวัสดุหรือสินค้าคงคลัง แทนการเพิ่มกำลังซื้อโดยรวมของโปรแกรมที่ประสบความสำเร็จ เพื่อให้คุณออมเงินไม่ใช่ใช้ทั้งหมดไปกับค่าแฟรนไชส์นี้เป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณา
3. วิธีที่ดีคือโปรแกรมการตลาดหรือไม่ เพื่อที่จะประสบความสำเร็จคุณจะต้องดึงดูดลูกค้ามากพอที่จะสนับสนุนแฟรนไชส์ของคุณ โอกาสแฟรนไชส์ที่ดีจะให้การสนับสนุนทั้งเริ่มต้นและดำเนินโปรแกรมการตลาด
โปรแกรมการตลาดครั้งแรก เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับรถยนต์ ต้องให้ลูกค้าทดลองขับ เพราะเป็นฐานลูกค้าหลัก ให้แน่นใจว่าบริษัทได้กำหนดกลยุทธ์และยุทธวิธีความสำเร็จนี้และเป็นโปรแกรมที่ทำงานอย่างต่อเนื่องในตลาดต่างๆทั่วประเทศ
โปรแกรมการตลาดอย่างต่อเนื่องจำเป็นต้องไดรฟ์ลูกค้าใหม่ ฐานลูกค้าเดิมชดเชยด้วยการขัดสีและบรรลุเป้าหมายการเจริญเติบโต ตรวจสอบว่ามีแฟรนไชส์ที่แข็งแกร่งและเติบโตส่ำเสมอ และสามารถทำได้โดยการเพิ่มจำนวนลูกค้าไม่ใช่กลยุทธ์ด้านราคา
4.ควรใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ ให้เปรียบเทียบความคาดหวังรายได้ ขนาดการลงทุน และวิเคราะห์จำนวนแฟรนไชส์ที่มีอยู่ ดูการเพิ่มขึ้นของรายได้ อย่างแรกพุดคุยกับบริษัท คุยกับแฟรนไชซีที่ลงทุนไปแล้ว และคุยกับแฟรนไซอร์อีกครั้งถึงข้อมูลที่ได้มาเพื่อให้เกิดความมั่นใจกับคำตอบที่ได้มา
เมื่อเป็นคำตอบที่ดีคุณจะรู้ว่าคุณพบโอกาสที่ดีของแฟรนไชส์ แต่ถ้าพบจุดอ่อนก็ควรหาแฟรนไชส์ที่แตกต่างกัน และคุณควรพิจารณาทีมงานแฟรนไชซอร์ที่ต้องทำงานด้วย หากคุณเป็นแฟรนไชส์ใหม่คุณจะต้องมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
from http://manager.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?NewsID=9530000152205
1.เป็นแฟรนไชซอร์ที่ดี เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ต้องสอนทุกสิ่งที่คุณต้องทำเพื่อให้ประสบความสำเร็จและคุณจะไปตามทิศทางนั้นที่เขาได้ลองผิดลองถูกมาแล้ว ประเมินได้จาก 3 สิ่งคือ
1.1โครงการฝึกอบรมให้แน่ใจว่าทุกพื้นที่การทำงานของธุรกิจจะครอบคลุมครบถ้วนและระบบที่อยู่ในสถานที่ให้ความช่วยเหลือคุณเมื่อคุณเรียนรู้วิธีการดำเนินธุรกิจ
1.2ระบบสนับสนุน เพื่อให้ความช่วยเหลือทั้งหมดที่คุณต้องการกับด้านการเปิดร้านใหม่ ตั้งแต่การเลือกอสังหาริมทรัพย์ เจรจาเช่า จัดหาวัสดุก่อสร้างและสินค้าคงคลังและการค้นหาและการฝึกอบรมพนักงาน
1.3คุณจะต้องประเมินสายงานแฟรนไชส์หน่วยสนับสนุน ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าคนเหล่านี้รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับการดำเนินงานของหน่วยใหม่และว่าพวกเขาจะมีให้คุณเมื่อคุณต้องการความช่วยเหลือ ว่าแฟรนไชส์ที่ดีคุณอยู่ในธุรกิจได้ด้วยตัวเอง แต่ไม่ได้ด้วยตัวเองเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นกรณีนี้
2.ความแข็งแกร่งในการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่คุณได้รับการสนับสนุนจากหน่วยแรก ในการปฏิบัติการคุณยังต้องการความช่วยเหลือในการจัดการกับปัญหา ดังนั้นต้องรู้ว่าแฟรนไชซอร์จะให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในการให้ความช่วยเหลือและการฝึกอบรมเพื่อช่วยให้คุณรับมือกับความท้าทาย
คุณควรประเมินความพยายามของแฟรนไชซอร์ที่จะทำให้แฟรนไชส์ประสบความสำเร็จ โดยการชดเชยบางสิ่งบางอย่างไม่ว่าจะเป็นวัสดุหรือสินค้าคงคลัง แทนการเพิ่มกำลังซื้อโดยรวมของโปรแกรมที่ประสบความสำเร็จ เพื่อให้คุณออมเงินไม่ใช่ใช้ทั้งหมดไปกับค่าแฟรนไชส์นี้เป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณา
3. วิธีที่ดีคือโปรแกรมการตลาดหรือไม่ เพื่อที่จะประสบความสำเร็จคุณจะต้องดึงดูดลูกค้ามากพอที่จะสนับสนุนแฟรนไชส์ของคุณ โอกาสแฟรนไชส์ที่ดีจะให้การสนับสนุนทั้งเริ่มต้นและดำเนินโปรแกรมการตลาด
โปรแกรมการตลาดครั้งแรก เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับรถยนต์ ต้องให้ลูกค้าทดลองขับ เพราะเป็นฐานลูกค้าหลัก ให้แน่นใจว่าบริษัทได้กำหนดกลยุทธ์และยุทธวิธีความสำเร็จนี้และเป็นโปรแกรมที่ทำงานอย่างต่อเนื่องในตลาดต่างๆทั่วประเทศ
โปรแกรมการตลาดอย่างต่อเนื่องจำเป็นต้องไดรฟ์ลูกค้าใหม่ ฐานลูกค้าเดิมชดเชยด้วยการขัดสีและบรรลุเป้าหมายการเจริญเติบโต ตรวจสอบว่ามีแฟรนไชส์ที่แข็งแกร่งและเติบโตส่ำเสมอ และสามารถทำได้โดยการเพิ่มจำนวนลูกค้าไม่ใช่กลยุทธ์ด้านราคา
4.ควรใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ ให้เปรียบเทียบความคาดหวังรายได้ ขนาดการลงทุน และวิเคราะห์จำนวนแฟรนไชส์ที่มีอยู่ ดูการเพิ่มขึ้นของรายได้ อย่างแรกพุดคุยกับบริษัท คุยกับแฟรนไชซีที่ลงทุนไปแล้ว และคุยกับแฟรนไซอร์อีกครั้งถึงข้อมูลที่ได้มาเพื่อให้เกิดความมั่นใจกับคำตอบที่ได้มา
เมื่อเป็นคำตอบที่ดีคุณจะรู้ว่าคุณพบโอกาสที่ดีของแฟรนไชส์ แต่ถ้าพบจุดอ่อนก็ควรหาแฟรนไชส์ที่แตกต่างกัน และคุณควรพิจารณาทีมงานแฟรนไชซอร์ที่ต้องทำงานด้วย หากคุณเป็นแฟรนไชส์ใหม่คุณจะต้องมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
from http://manager.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?NewsID=9530000152205
Reit : จุดเปลี่ยนกองทุนอสังหาฯ
Fundamentals สัปดาห์นี้ มีเรื่องราวเกี่ยวกับ REIT มานำเสนอว่าทำไมจึงเป็นจุดเปลี่ยนกองทุนอสังหาริมทรัพย์
นับจากนี้อีกไม่นานนัก “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1)” หนึ่งในทางเลือกการลงทุนที่ได้รับความนิยมจากผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่สม่ำเสมอในระยะยาวกำลังจะกลายเป็น “อดีต” และจะถูกเข้ามาแทนที่ด้วย “กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust : REIT)” แทนในอนาคตอันใกล้นี้
แต่เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่เดิมมีเวลาในการปรับตัว ทาง “สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)” ยังอนุญาตให้ บลจ.สามารถยื่นขอจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ใหม่ได้ และให้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เดิมสามารถเพิ่มทุนเพื่อซื้อทรัพย์สินใหม่ได้อีก “1 ปี” นับจากวันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ ซึ่งคาดว่าน่าจะเริ่มได้ในต้นปี 2554 นี้
พร้อมกันนี้ก็เปิดโอกาสให้มีการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็น REIT ได้ด้วยเช่นกัน
Fundamentals สัปดาห์นี้ มีเรื่องราวเกี่ยวกับ REIT มานำเสนอ
******
@ ก.ล.ต.อนุญาตให้จัดตั้ง REIT
เกี่ยวกับเรื่องนี้ “ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล” เลขาธิการ ก.ล.ต. บอกว่า คณะกรรมการได้อนุมัติหลักการในการจัดตั้ง “กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust: REIT)” ซึ่งจะเป็นทางเลือกการลงทุนรูปแบบใหม่ และเป็นการพัฒนาโครงสร้างการระดมทุนและการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นไปตามแนวทางสากลที่นิยมใช้กันในต่างประเทศ โดยหลักการในการกำกับดูแล REIT จะสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของ REIT ในต่างประเทศ ซึ่งมีความยืดหยุ่นกว่า “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1)” เช่น สามารถลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ได้ทุกประเภท โดยต้องมีวัตถุประสงค์ที่จะจัดหาผลประโยชน์เพื่อให้ได้ค่าเช่า แต่ต้องไม่เป็นการเช่าเพื่อทำธุรกิจที่ไม่เหมาะสมหรือผิดกฎหมาย สามารถกู้ยืมเงินได้มากขึ้นจาก 10% เป็น 50% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ผ่อนคลายข้อจำกัดในการถือหน่วยของบุคคลใดบุคคลหนึ่งมากขึ้นจากไม่เกิน 1 ใน 3 เป็น “ไม่เกิน 50%” เพื่อไม่ให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการกำหนดนโยบาย
“ทั้งนี้ การกำกับดูแล REIT จะมีลักษณะทำนองเดียวกับการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน เช่น เช่น การทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปของอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าที่มีขนาดรายการตั้งแต่ 30% ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทรัสต์ และการทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง จะทำได้ต่อเมื่อได้รับมติเสียงข้างมากจากผู้ถือใบทรัสต์ รวมทั้ง REIT Manager จะต้องมีกรรมการอิสระไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดและไม่น้อยกว่า 3 คน เพื่อเป็นปากเป็นเสียงรักษาสิทธิแทนผู้ถือใบทรัสต์ รวมทั้ง ก.ล.ต. จะกำหนดให้ REIT manager บริหารกองทรัสต์ได้เพียงกองเดียว เพื่อให้มั่นใจว่าจะทุ่มเทให้แก่กองทรัสต์นั้นและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจทำให้ผู้ถือใบทรัสต์ได้รับความเสียหาย ยกเว้นกรณีที่แสดงได้ว่าการบริหารกองทรัสต์อื่นไม่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์”
ความพิเศษของ REIT อีกประการหนึ่ง คือ บริษัทที่มีความชำนาญด้านการลงทุนและการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ที่มีความพร้อมในการจัดการ REIT สามารถขอรับความเห็นชอบจาก สำนักงาน ก.ล.ต.เพื่อบริหารจัดการ REIT ได้ด้วย ทั้งนี้ REIT จะเป็นทางเลือกการลงทุนใหม่ที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุนที่สนใจลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะเป็นวิธีที่ทำให้ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากเหมือนกับการลงทุนโดยตรงและมีข้อจำกัดน้อยกว่าการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากโครงสร้าง REIT มีความเป็นสากลและมีความยืดหยุ่นในการลงทุนและบริหารจัดการมากกว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ “ดังนั้น ในอนาคตท้ายที่สุดจึงไม่ควรมีการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) อีกต่อไป”
“ทางสำนักงาน ก.ล.ต. อยู่ระหว่างหารือกับกรมสรรพากรที่จะให้รูปแบบการจัดเก็บภาษีเกี่ยวกับธุรกรรม REIT ใกล้เคียงกับการลงทุนโดยตรงในอสังหาริมทรัพย์มากที่สุด โดยจะได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นภาระภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ต่อไป”
@ รู้จัก REIT
“จารุพรรณ อินทรรุ่ง” ผู้อำนวยการ ฝ่ายงานเลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต. อธิบายว่า REIT มีคุณสมบัติที่โดดเด่นและแตกต่างจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ทั้งในด้านรูปแบบการลงทุนและการบริหารจัดการ แม้ว่าจะมีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เหมือนกันก็ตาม โดยโครงสร้างการระดมทุนและการลงทุนของ REIT เป็นไปตามแนวทางสากลและไม่มีภาระภาษีที่ลักลั่นกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยตรง จึงทำให้การลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้ง “ทางตรง” และ “ทางอ้อม” เกิดความเท่าเทียมกันโดยหลักเกณฑ์การลงทุนและการบริหารจัดการ REIT จะมีความยืดหยุ่น เปิดกว้าง และเป็นมาตรฐานจึงทำให้มีแนวโน้มว่าผู้ลงทุนน่าจะได้รับผลตอบแทนที่ดี
โดย REIT มีลักษณะเป็น “กองทรัสต์” (ไม่ใช่นิติบุคคลเหมือนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์) โดยมี “ทรัสตี” ซึ่งมีสิทธิตามกฎหมายเหนือกองทรัสต์ในฐานะเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือมีสิทธิเหนือทรัพย์สิน ซึ่งมี 2 ประเภท ได้แก่
1) ทรัสตีที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของ REIT มีหน้าที่เก็บรักษาทรัพย์สินและดูแล
การจัดการ REIT ให้เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์
2) ทรัสตีที่เป็น REIT Manager ทำหน้าที่ขออนุมัติจัดตั้ง REIT ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. และมีหน้าที่จัดการ REIT รวมทั้งเป็นผู้ออกใบทรัสต์จำหน่ายให้แก่ผู้ลงทุน และนำเงินที่ได้ไปจัดตั้งกองทรัสต์และนำเงินไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต่อไป
นอกจากนี้ผู้ลงทุนหรือผู้ถือใบทรัสต์ยังได้ประโยชน์จากการที่ REIT สามารถลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่นำออกให้เช่าได้ทุกประเภท แต่ต้องไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เช่าดำเนินธุรกิจที่ผิดกฎหมาย หรือธุรกิจที่ไม่เหมาะสมบางประเภท และอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่ที่ REIT ลงทุนจะต้องสร้างเสร็จแล้วและพร้อมที่จะนำออกหาประโยชน์ ขณะที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สามารถลงทุนในอสังหาริมทรัพย์บางประเภทเท่านั้นและสามารถลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ยังสร้างไม่เสร็จหรืออาจไม่พร้อมนำออกไปหาผลประโยชน์
“ด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวของ REIT ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้ REIT เติบโตได้อย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับในต่างประเทศ”
@ REIT มาตรฐานสากล - ROE มีแนวโน้มดีขึ้น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ “โชติกา สวนานนท์” กรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ บอกว่า ปัจจุบันรูปแบบของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลกจะใช้รูปแบบของ REIT แต่ที่ประเทศไทยต้องใช้รูปแบบของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) เพราะในช่วงนั้นประเทศไทยยังไม่มี “พ.ร.บ.ทรัสต์” ในขณะที่ประเทศอื่นกองทุนอสังหาริมทรัพย์อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ทรัสต์ แต่ตอนนั้นประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายดังกล่าวใช้แต่ภาครัฐต้องการส่งเสริมให้แข่งขันกับต่างชาติได้แม้ว่าในตอนนั้นประเทศไทยยังไม่มี พ.ร.บ.ทรัสต์เลย ก็จึงตัดสินใจให้ออกกองทุนอสังหาริมทรัพย์ได้โดยอยู่ภายใต้ “พรบ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์” ผ่านรูปแบบของ “กองทุนรวม” แทนจึงออกมาเป็น “กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1)” ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งการที่ทางสำนักงาน ก.ล.ต.มีแนวทางในการจัดตั้ง REIT ขึ้นมาแทนที่กอง 1 นั้น ถือเป็นเรื่องที่ดีและเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะการที่ประเทศไทยมี REIT จะทำให้เราเหมือนชาวโลก ทำให้ REIT ไทยมีความสามารถในการแข่งขันเท่าเทียมกับชาติอื่นๆ REIT ที่มีคุณภาพก็จะมีคุณภาพที่ทัดเทียมกันกับประเทศอื่นๆ นักลงทุนทั่วโลกก็จะมองเห็น REIT ประเทศไทยดีพอๆ กับ REIT ของประเทศอื่น
“อีกจุดที่น่าสนใจของ REIT คือ การเปิดให้ REIT สามารถกู้ได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ของ REIT มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ในกรณีที่มีการกู้ยืม ตัวอย่าง สินทรัพย์ 4,000 ล้านบาท สามารถสร้างรายได้ให้ไตรมาสละ 1 บาทต่อหน่วย ถ้าต้องใช้เงินตัวเองซื้อทั้งหมด 4,000 ล้านบาท ได้ 1 บาทต่อไตรมาส แต่ถ้าใช้เงินตัวเอง 2,000 ล้านบาท กู้อีก 2,000 ล้านบาท เงิน 1 บาทที่ได้ต่อไตรมาสจะคิดเป็นอัตราผลตอบแทนสูงกว่าเดิมประมาณ 2 เท่า แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับฝีมือของผู้บริหารของผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ (REIT Manager) ด้วยเช่นกัน เพราะ REIT ที่จะกู้ยืมได้คงต้องไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีกระแสเงินสดหรือรายได้ค่าเช่าที่สม่ำเสมอดีพอสมควร แต่ REIT กับกอง 1 อะไรจะดีกว่ากันด้วยเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต.ออกมาในปัจจุบันยังบอกไม่ได้ เกณฑ์การเปลี่ยนจากกอง 1 ไปเป็น REIT ก็ยังไม่ออก เรื่องภาษีก็ยังไม่ออก แต่ด้วยแนวทางแล้วเป็นแนวทางที่ดีอย่างแน่นอนในการมี REIT ในประเทศไทย”
@ บทบาทของ บลจ.ที่เปลี่ยนไป
"ชวินดา หาญรัตนกูล" รองกรรมการผู้จัดการ สายงานกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทุนส่วนบุคคล บลจ.กรุงไทย ยอมรับว่า รูปแบบของ REIT จะทำให้บทบาทของ บลจ.เปลี่ยนแปลงไปซึ่งถือเป็นประเด็นที่สำคัญเรื่องหนึ่งทีเดียว “ผู้จัดการกองทุน” ในบทบาทของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) จะเป็น “ผู้จัดการกองทุนอสังหาริมทรัพย์” แต่ในอนาคตเมื่อกลายเป็นรูปแบบของ REIT ผู้ทำหน้าที่นี้จะกลายเป็น “REIT Manager” ในรูปแบบเดิม REIT Manager คือ บลจ. แต่ในรูปแบบใหม่ของ REIT ทางสำนักงาน ก.ล.ต.เปิดกว้างขึ้นให้ใครก็ได้ที่มีระบบรองรับมาเป็น REIT Manager
นอกจาก บลจ.แล้ว “ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์” ก็อาจจะมีโอกาสเข้ามาทำหน้าที่นี้ได้เช่นกัน แต่ต้องมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญมีความเข้าใจ มีระบบที่รองรับได้ใบอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต.ให้ถูกต้องตามกฎกติกา เมื่อมีระบบรองรับที่จะทำ REIT ได้หรือไม่นั้น ทางสำนักงาน ก.ล.ต.ก็คงขอเข้าไปตรวจอีกครั้งหนึ่ง แต่ผู้ที่จะเข้ามาเป็น REIT Manager ก็จะเปิดกว้างขึ้น ใครมีทุนจดทะเบียนประมาณ 10 ล้านบาท ก็อาจเข้ามามีส่วนร่วมในตลาดนี้ได้เช่นกัน “เจ้าของทรัพย์สิน” ก็ทำเองได้เช่นกัน ถ้ามีความพร้อม
“บทบาทของ บลจ.ในรูปแบบของ REIT ก็จะเปลี่ยนไปจากเดิม โดยอาจจะเป็น Co-trustee หรือผู้บริหารร่วมได้ เป็นทรัสตีก็ได้ถ้ามีระบบรองรับพร้อม ในรูปแบบของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) นั้น ทรัสตี คือ ผู้ที่ดูแลทรัพย์สินของกองทุน แต่ทรัสตีใน REIT จะเข้ามาดูแลในการจัดหาผลประโยชน์เหมือนผู้จัดการกองทุนที่เรียกว่า Co - trustee บทบาทจะเปลี่ยนไปเลย ในรูปแบบของกอง 1 บลจ.เป็นคนชงเรื่องจัดตั้งกองทุน พอมาเป็น REIT ทรัสตีจะเป็นคนชงเรื่องในการจัดตั้งกองทุนแทน แต่ บลจ.ก็ยังชงเรื่องได้เลยเรียกว่า Co - trustee บทบาทก็จะกลับกันคือจากบริหารกองทุนก็มาดูแลทรัพย์สินแทน Co - trustee คือ บริหาร คือ ดูแลทรัพย์สินเป็นผู้ช่วย REIT Manager ในการจัดตั้งกองทุน ยื่นไฟลิ่งกับทางสำนักงาน ก.ล.ต.ในลักษณะนั้น บลจ.ในปัจจุบันก็จะมีผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์หรือเจ้าของทรัพย์สินที่อาจจะขอเข้ามาทำ REIT ได้ คู่แข่งก็จะมากขึ้น”
@ สภาพคล่อง-ผลตอบแทนไม่ต่างจากเดิม
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของสภาพคล่องในตลาดรองนั้น REIT ก็ไม่ต่างอะไรกับกองทุนอสังหาริมทรัพย์กอง 1 โดยชวินดา บอกว่า ผู้จัดการกองทุนต่างเห็นตรงกันว่าเป็นเรื่องของขนาดกอง REIT ในการจัดตั้งกองทุนด้วย ถ้า REIT มีขนาดเล็กสภาพคล่องก็จะน้อย แต่ถ้า REIT มีขนาดใหญ่เพียงพอสภาพคล่องในตลาดรองก็จะดีขึ้นตามลำดับ ไม่ต่างอะไรกับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน REIT จึงไม่ตอบโจทย์เรื่องสภาพคล่อง ถ้ากองเล็กสภาพคล่องก็น้อยไปด้วย ถ้ากองใหญ่ก็จะมีสภาพคล่องมากขึ้น คือ ขนาดของ REIT ทางสำนักงาน ก.ล.ต.ไม่เปลี่ยนขั้นต่ำที่ 500 ล้านบาท ถ้าระดมทุนไม่ได้ตามนั้นก็จัดตั้ง REIT ไม่ได้เช่นกัน
“และการที่เปลี่ยนกฎเป็นให้ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ถึง 50% ฟรีโฟลทอาจจะน้อยลงด้วยซ้ำ เพราะปัจจุบันให้ถือได้ 1 ใน 3 แล้วถ้าให้คนหนึ่งถือได้ 50% เลย ก็มีในมือคนหนึ่งคนใดมากไปและอาจทำให้มีสภาพคล่องน้อยลงได้เช่นกัน เรื่องสภาพคล่องอยู่ที่ขนาดกองทุนด้วยและจะต้องใหญ่พอจึงจะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ต้องมีขนาดตั้งแต่ 4,000 ล้านบาท ขึ้นไป”
ในส่วนของผลตอบแทนของ REIT กับกอง 1 นั้น อาจจะไม่ได้แตกต่างกันมากนัก เพราะกอง1 ที่ไม่ได้ลงทุนต่อแล้วโอนมาเป็น REIT ผลตอบแทนก็จะใกล้เคียงกันไม่แตกต่างกันมาก แต่ในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของ REIT จะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นจากเดิมที่เป็นกอง 1 เคยได้ประโยชน์จากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ประโยชน์ตรงนั้นก็จะไม่ได้ ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็จะเพิ่มขึ้น เวลาซื้อขายประโยชน์ที่ด้อยลงของ REIT คือภาษีในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ด้อยลงตามที่สำนักงาน ก.ล.ต.ชี้แจงมา เช่น ภาษีโอน ภาษีธุรกิจเฉพาะจะหายไป พอหายไปเวลาซื้อขายทรัพย์สินจะมีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของ REIT ทันที จากเดิมที่กอง 1 ได้ประโยชน์ตรงนี้ ดังนั้นนักลงทุนบางส่วนผลประโยชน์ก็น่าจะลดลง บางส่วนก็น่าจะเหมือนเดิม แต่ในส่วนของนักลงทุนรายย่อยประโยชน์ที่เคยได้รับเข้าใจว่าไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่ประการใด
“ส่วนเรื่องเงินปันผลนั้นในระดับกองทุนยังได้รับยกเว้นในส่วนนี้ แต่ในระดับผู้ถือหน่วยคาดว่าจะได้ประโยชน์น้อยลงโดยเฉพาะนักลงทุนที่เป็นนิติบุคคลเงินปันผลจะไม่ได้รับยกเว้นภาษี ต้องไปคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีปลายปี แม้ว่าสิทธิประโยชน์อาจลดลงบ้างสำหรับกอง REIT แต่ยังมีความน่าสนใจอยู่ ทางสำนักงาน ก.ล.ต.เองหวังว่า REIT จะเป็นช่องทางลงทุนอีกประเภทของนักลงทุนรายย่อย ดังนั้นในส่วนของนักลงทุนรายย่อยคงไม่มีผลกระทบอะไร แต่ในส่วนของสถาบันก็คงมีผลกระทบไปตามระเบียบ ถ้ามองว่าเป็นกองทุนเพื่อระดมทุนมาเพื่อรายย่อยก็ยังถือเป็นทางเลือกการลงทุนที่ยังน่าสนใจอยู่นั่นเอง”
@ REIT ก่อหนี้ได้-เปิดโอกาสลงทุนกว้างขึ้น
วินดา ยังบอกอีกว่า การ "กู้ยืมเงิน" เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องอธิบายให้นักลงทุนเข้าใจว่ากอง REIT ไม่ใช่กอง 1 เพราะ REIT มีหนี้ได้ไม่ใช่ปลอดหนี้ไม่มีภาระเหมือนกอง 1 เมื่อ REIT มีหนี้ได้นักลงทุนจึงควรจะมอง REIT ให้คล้ายกับหุ้นมากขึ้นว่ามีการกู้ได้เหมือนกับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ แต่ข้อดีของการกู้เงินบางส่วนได้นั้น จะทำให้ ROE สูงขึ้น แต่ก็มีความเสี่ยงสูงขึ้นเช่นเดียวกัน เวลา REIT จะไปกู้ต้องขอผู้ถือหน่วย การไล่เบี้ยก็ตามปกติคือต้องไปจ่ายคืนหนี้ก่อนหากมีปัญหาอะไรขึ้นมา ดังนั้น REIT ก็ต้องมีการสำรองเงินไว้จ่ายหนี้ด้วยเช่นกัน ในบางครั้งอาจจะจ่ายผลตอบแทนผู้ถือหน่วยไม่ได้เพราะต้องไปคืนหนี้ก่อน กรณีแบบนี้ก็จะเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้น อสังหาริมทรัพย์ที่ REIT จะลงทุนนั้นจะอยู่บนความผันผวนไม่ได้ ไม่เป็นประโยชน์และไม่ดี แต่ควรจะเป็นทรัพย์สินที่มี “รายได้ชัดเจนและสม่ำเสมอ” แต่ทรัพย์สินที่ไม่แข็งแกร่งตอบโจทย์นี้ไม่ได้เพราะเมื่อไรที่อุตสาหกรรมหรือเศรษฐกิจผันผวนขึ้นมา ทรัพย์สินบางอย่างมีความอ่อนไหวมากและมีผลกระทบมากเช่นกัน
การที่สำนักงาน ก.ล.ต.เปิดโอกาสให้ REIT กู้ได้ไม่เกิน 50% นั้น ไม่จำเป็นต้องใช้เต็มเพดานอาจจะไม่ใช่ก็ได้แล้วแต่ แต่นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อาจจะใช้ก็ได้เพราะเขามีความเชี่ยวชาญในการกู้ แต่ถ้าเป็น บลจ.อาจจะไม่ได้คิดเช่นนั้น เพราะชินกับการได้เงินแล้วไม่มีภาระหนี้สบายใจกว่ากัน ดังนั้นโครงสร้างการกู้ยืมของแต่ละ REIT คงขึ้นกับการออกแบบมาว่าจะเป็นเช่นไรในแต่ละ REIT มากกว่า
การจัดตั้ง REIT ก็น่าจะเร็วขึ้นเพราะสำนักงาน ก.ล.ต.ไม่ต้องมาดูรายละเอียดของทรัพย์สินมากเท่าเหมือนกอง 1 ดูในรายละเอียดน้อยลง คนที่จะจัดตั้งต้องรับผิดชอบตัวเองมากขึ้น การจัดตั้งอาจใช้กระบวนการที่สั้นลงในการขออนุมัติ จากเดิมประมาณ 3 - 4 เดือน เร็วสุดแต่ทุกอย่างต้องนิ่ง REIT น่าจะทำได้เร็วกว่านั้น นอกจากนี้ REIT จะเปิดโอกาสการลงทุนให้กว้างขึ้นซึ่งหากเป็นรูปแบบของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) จะทำไม่ได้ เช่น สนามกอล์ฟมีรายได้แต่โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นที่ดินเปล่าแต่เป็นที่ดินที่สามารถหาประโยชน์ได้ ก.ล.ต.นับว่าเป็นทรัพย์สินที่หาผลประโยชน์ได้ก็น่าจะเอาทำกอง REIT ได้ ในขณะที่กอง 1 ทำไม่ได้ หรือที่ดินเปล่าให้เช่าเอาไปหาผลประโยชน์ให้เขาจอดรถให้สร้างตึกทำมาหากินก็น่าจะทำได้ก็จะมีความหลากหลายมากขึ้น เป็นต้น”
ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ REIT ที่กำลังจะก้าวขึ้นมาแทนที่กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) ที่นักลงทุนน่าจะใช้ทำความรู้จักและคุ้นเคยเอาไว้แต่เบื้องต้นเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจลงทุนของตัวเองในอนาคตอันใกล้นี้
from http://bit.ly/ahQfqU
นับจากนี้อีกไม่นานนัก “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1)” หนึ่งในทางเลือกการลงทุนที่ได้รับความนิยมจากผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่สม่ำเสมอในระยะยาวกำลังจะกลายเป็น “อดีต” และจะถูกเข้ามาแทนที่ด้วย “กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust : REIT)” แทนในอนาคตอันใกล้นี้
แต่เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่เดิมมีเวลาในการปรับตัว ทาง “สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)” ยังอนุญาตให้ บลจ.สามารถยื่นขอจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ใหม่ได้ และให้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เดิมสามารถเพิ่มทุนเพื่อซื้อทรัพย์สินใหม่ได้อีก “1 ปี” นับจากวันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ ซึ่งคาดว่าน่าจะเริ่มได้ในต้นปี 2554 นี้
พร้อมกันนี้ก็เปิดโอกาสให้มีการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็น REIT ได้ด้วยเช่นกัน
Fundamentals สัปดาห์นี้ มีเรื่องราวเกี่ยวกับ REIT มานำเสนอ
******
@ ก.ล.ต.อนุญาตให้จัดตั้ง REIT
เกี่ยวกับเรื่องนี้ “ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล” เลขาธิการ ก.ล.ต. บอกว่า คณะกรรมการได้อนุมัติหลักการในการจัดตั้ง “กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust: REIT)” ซึ่งจะเป็นทางเลือกการลงทุนรูปแบบใหม่ และเป็นการพัฒนาโครงสร้างการระดมทุนและการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นไปตามแนวทางสากลที่นิยมใช้กันในต่างประเทศ โดยหลักการในการกำกับดูแล REIT จะสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของ REIT ในต่างประเทศ ซึ่งมีความยืดหยุ่นกว่า “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1)” เช่น สามารถลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ได้ทุกประเภท โดยต้องมีวัตถุประสงค์ที่จะจัดหาผลประโยชน์เพื่อให้ได้ค่าเช่า แต่ต้องไม่เป็นการเช่าเพื่อทำธุรกิจที่ไม่เหมาะสมหรือผิดกฎหมาย สามารถกู้ยืมเงินได้มากขึ้นจาก 10% เป็น 50% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ผ่อนคลายข้อจำกัดในการถือหน่วยของบุคคลใดบุคคลหนึ่งมากขึ้นจากไม่เกิน 1 ใน 3 เป็น “ไม่เกิน 50%” เพื่อไม่ให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการกำหนดนโยบาย
“ทั้งนี้ การกำกับดูแล REIT จะมีลักษณะทำนองเดียวกับการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน เช่น เช่น การทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปของอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าที่มีขนาดรายการตั้งแต่ 30% ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทรัสต์ และการทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง จะทำได้ต่อเมื่อได้รับมติเสียงข้างมากจากผู้ถือใบทรัสต์ รวมทั้ง REIT Manager จะต้องมีกรรมการอิสระไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดและไม่น้อยกว่า 3 คน เพื่อเป็นปากเป็นเสียงรักษาสิทธิแทนผู้ถือใบทรัสต์ รวมทั้ง ก.ล.ต. จะกำหนดให้ REIT manager บริหารกองทรัสต์ได้เพียงกองเดียว เพื่อให้มั่นใจว่าจะทุ่มเทให้แก่กองทรัสต์นั้นและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจทำให้ผู้ถือใบทรัสต์ได้รับความเสียหาย ยกเว้นกรณีที่แสดงได้ว่าการบริหารกองทรัสต์อื่นไม่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์”
ความพิเศษของ REIT อีกประการหนึ่ง คือ บริษัทที่มีความชำนาญด้านการลงทุนและการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ที่มีความพร้อมในการจัดการ REIT สามารถขอรับความเห็นชอบจาก สำนักงาน ก.ล.ต.เพื่อบริหารจัดการ REIT ได้ด้วย ทั้งนี้ REIT จะเป็นทางเลือกการลงทุนใหม่ที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุนที่สนใจลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะเป็นวิธีที่ทำให้ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากเหมือนกับการลงทุนโดยตรงและมีข้อจำกัดน้อยกว่าการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากโครงสร้าง REIT มีความเป็นสากลและมีความยืดหยุ่นในการลงทุนและบริหารจัดการมากกว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ “ดังนั้น ในอนาคตท้ายที่สุดจึงไม่ควรมีการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) อีกต่อไป”
“ทางสำนักงาน ก.ล.ต. อยู่ระหว่างหารือกับกรมสรรพากรที่จะให้รูปแบบการจัดเก็บภาษีเกี่ยวกับธุรกรรม REIT ใกล้เคียงกับการลงทุนโดยตรงในอสังหาริมทรัพย์มากที่สุด โดยจะได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นภาระภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ต่อไป”
@ รู้จัก REIT
“จารุพรรณ อินทรรุ่ง” ผู้อำนวยการ ฝ่ายงานเลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต. อธิบายว่า REIT มีคุณสมบัติที่โดดเด่นและแตกต่างจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ทั้งในด้านรูปแบบการลงทุนและการบริหารจัดการ แม้ว่าจะมีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เหมือนกันก็ตาม โดยโครงสร้างการระดมทุนและการลงทุนของ REIT เป็นไปตามแนวทางสากลและไม่มีภาระภาษีที่ลักลั่นกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยตรง จึงทำให้การลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้ง “ทางตรง” และ “ทางอ้อม” เกิดความเท่าเทียมกันโดยหลักเกณฑ์การลงทุนและการบริหารจัดการ REIT จะมีความยืดหยุ่น เปิดกว้าง และเป็นมาตรฐานจึงทำให้มีแนวโน้มว่าผู้ลงทุนน่าจะได้รับผลตอบแทนที่ดี
โดย REIT มีลักษณะเป็น “กองทรัสต์” (ไม่ใช่นิติบุคคลเหมือนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์) โดยมี “ทรัสตี” ซึ่งมีสิทธิตามกฎหมายเหนือกองทรัสต์ในฐานะเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือมีสิทธิเหนือทรัพย์สิน ซึ่งมี 2 ประเภท ได้แก่
1) ทรัสตีที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของ REIT มีหน้าที่เก็บรักษาทรัพย์สินและดูแล
การจัดการ REIT ให้เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์
2) ทรัสตีที่เป็น REIT Manager ทำหน้าที่ขออนุมัติจัดตั้ง REIT ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. และมีหน้าที่จัดการ REIT รวมทั้งเป็นผู้ออกใบทรัสต์จำหน่ายให้แก่ผู้ลงทุน และนำเงินที่ได้ไปจัดตั้งกองทรัสต์และนำเงินไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต่อไป
นอกจากนี้ผู้ลงทุนหรือผู้ถือใบทรัสต์ยังได้ประโยชน์จากการที่ REIT สามารถลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่นำออกให้เช่าได้ทุกประเภท แต่ต้องไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เช่าดำเนินธุรกิจที่ผิดกฎหมาย หรือธุรกิจที่ไม่เหมาะสมบางประเภท และอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่ที่ REIT ลงทุนจะต้องสร้างเสร็จแล้วและพร้อมที่จะนำออกหาประโยชน์ ขณะที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สามารถลงทุนในอสังหาริมทรัพย์บางประเภทเท่านั้นและสามารถลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ยังสร้างไม่เสร็จหรืออาจไม่พร้อมนำออกไปหาผลประโยชน์
“ด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวของ REIT ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้ REIT เติบโตได้อย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับในต่างประเทศ”
@ REIT มาตรฐานสากล - ROE มีแนวโน้มดีขึ้น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ “โชติกา สวนานนท์” กรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ บอกว่า ปัจจุบันรูปแบบของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลกจะใช้รูปแบบของ REIT แต่ที่ประเทศไทยต้องใช้รูปแบบของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) เพราะในช่วงนั้นประเทศไทยยังไม่มี “พ.ร.บ.ทรัสต์” ในขณะที่ประเทศอื่นกองทุนอสังหาริมทรัพย์อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ทรัสต์ แต่ตอนนั้นประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายดังกล่าวใช้แต่ภาครัฐต้องการส่งเสริมให้แข่งขันกับต่างชาติได้แม้ว่าในตอนนั้นประเทศไทยยังไม่มี พ.ร.บ.ทรัสต์เลย ก็จึงตัดสินใจให้ออกกองทุนอสังหาริมทรัพย์ได้โดยอยู่ภายใต้ “พรบ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์” ผ่านรูปแบบของ “กองทุนรวม” แทนจึงออกมาเป็น “กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1)” ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งการที่ทางสำนักงาน ก.ล.ต.มีแนวทางในการจัดตั้ง REIT ขึ้นมาแทนที่กอง 1 นั้น ถือเป็นเรื่องที่ดีและเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะการที่ประเทศไทยมี REIT จะทำให้เราเหมือนชาวโลก ทำให้ REIT ไทยมีความสามารถในการแข่งขันเท่าเทียมกับชาติอื่นๆ REIT ที่มีคุณภาพก็จะมีคุณภาพที่ทัดเทียมกันกับประเทศอื่นๆ นักลงทุนทั่วโลกก็จะมองเห็น REIT ประเทศไทยดีพอๆ กับ REIT ของประเทศอื่น
“อีกจุดที่น่าสนใจของ REIT คือ การเปิดให้ REIT สามารถกู้ได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ของ REIT มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ในกรณีที่มีการกู้ยืม ตัวอย่าง สินทรัพย์ 4,000 ล้านบาท สามารถสร้างรายได้ให้ไตรมาสละ 1 บาทต่อหน่วย ถ้าต้องใช้เงินตัวเองซื้อทั้งหมด 4,000 ล้านบาท ได้ 1 บาทต่อไตรมาส แต่ถ้าใช้เงินตัวเอง 2,000 ล้านบาท กู้อีก 2,000 ล้านบาท เงิน 1 บาทที่ได้ต่อไตรมาสจะคิดเป็นอัตราผลตอบแทนสูงกว่าเดิมประมาณ 2 เท่า แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับฝีมือของผู้บริหารของผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ (REIT Manager) ด้วยเช่นกัน เพราะ REIT ที่จะกู้ยืมได้คงต้องไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีกระแสเงินสดหรือรายได้ค่าเช่าที่สม่ำเสมอดีพอสมควร แต่ REIT กับกอง 1 อะไรจะดีกว่ากันด้วยเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต.ออกมาในปัจจุบันยังบอกไม่ได้ เกณฑ์การเปลี่ยนจากกอง 1 ไปเป็น REIT ก็ยังไม่ออก เรื่องภาษีก็ยังไม่ออก แต่ด้วยแนวทางแล้วเป็นแนวทางที่ดีอย่างแน่นอนในการมี REIT ในประเทศไทย”
@ บทบาทของ บลจ.ที่เปลี่ยนไป
"ชวินดา หาญรัตนกูล" รองกรรมการผู้จัดการ สายงานกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทุนส่วนบุคคล บลจ.กรุงไทย ยอมรับว่า รูปแบบของ REIT จะทำให้บทบาทของ บลจ.เปลี่ยนแปลงไปซึ่งถือเป็นประเด็นที่สำคัญเรื่องหนึ่งทีเดียว “ผู้จัดการกองทุน” ในบทบาทของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) จะเป็น “ผู้จัดการกองทุนอสังหาริมทรัพย์” แต่ในอนาคตเมื่อกลายเป็นรูปแบบของ REIT ผู้ทำหน้าที่นี้จะกลายเป็น “REIT Manager” ในรูปแบบเดิม REIT Manager คือ บลจ. แต่ในรูปแบบใหม่ของ REIT ทางสำนักงาน ก.ล.ต.เปิดกว้างขึ้นให้ใครก็ได้ที่มีระบบรองรับมาเป็น REIT Manager
นอกจาก บลจ.แล้ว “ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์” ก็อาจจะมีโอกาสเข้ามาทำหน้าที่นี้ได้เช่นกัน แต่ต้องมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญมีความเข้าใจ มีระบบที่รองรับได้ใบอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต.ให้ถูกต้องตามกฎกติกา เมื่อมีระบบรองรับที่จะทำ REIT ได้หรือไม่นั้น ทางสำนักงาน ก.ล.ต.ก็คงขอเข้าไปตรวจอีกครั้งหนึ่ง แต่ผู้ที่จะเข้ามาเป็น REIT Manager ก็จะเปิดกว้างขึ้น ใครมีทุนจดทะเบียนประมาณ 10 ล้านบาท ก็อาจเข้ามามีส่วนร่วมในตลาดนี้ได้เช่นกัน “เจ้าของทรัพย์สิน” ก็ทำเองได้เช่นกัน ถ้ามีความพร้อม
“บทบาทของ บลจ.ในรูปแบบของ REIT ก็จะเปลี่ยนไปจากเดิม โดยอาจจะเป็น Co-trustee หรือผู้บริหารร่วมได้ เป็นทรัสตีก็ได้ถ้ามีระบบรองรับพร้อม ในรูปแบบของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) นั้น ทรัสตี คือ ผู้ที่ดูแลทรัพย์สินของกองทุน แต่ทรัสตีใน REIT จะเข้ามาดูแลในการจัดหาผลประโยชน์เหมือนผู้จัดการกองทุนที่เรียกว่า Co - trustee บทบาทจะเปลี่ยนไปเลย ในรูปแบบของกอง 1 บลจ.เป็นคนชงเรื่องจัดตั้งกองทุน พอมาเป็น REIT ทรัสตีจะเป็นคนชงเรื่องในการจัดตั้งกองทุนแทน แต่ บลจ.ก็ยังชงเรื่องได้เลยเรียกว่า Co - trustee บทบาทก็จะกลับกันคือจากบริหารกองทุนก็มาดูแลทรัพย์สินแทน Co - trustee คือ บริหาร คือ ดูแลทรัพย์สินเป็นผู้ช่วย REIT Manager ในการจัดตั้งกองทุน ยื่นไฟลิ่งกับทางสำนักงาน ก.ล.ต.ในลักษณะนั้น บลจ.ในปัจจุบันก็จะมีผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์หรือเจ้าของทรัพย์สินที่อาจจะขอเข้ามาทำ REIT ได้ คู่แข่งก็จะมากขึ้น”
@ สภาพคล่อง-ผลตอบแทนไม่ต่างจากเดิม
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของสภาพคล่องในตลาดรองนั้น REIT ก็ไม่ต่างอะไรกับกองทุนอสังหาริมทรัพย์กอง 1 โดยชวินดา บอกว่า ผู้จัดการกองทุนต่างเห็นตรงกันว่าเป็นเรื่องของขนาดกอง REIT ในการจัดตั้งกองทุนด้วย ถ้า REIT มีขนาดเล็กสภาพคล่องก็จะน้อย แต่ถ้า REIT มีขนาดใหญ่เพียงพอสภาพคล่องในตลาดรองก็จะดีขึ้นตามลำดับ ไม่ต่างอะไรกับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน REIT จึงไม่ตอบโจทย์เรื่องสภาพคล่อง ถ้ากองเล็กสภาพคล่องก็น้อยไปด้วย ถ้ากองใหญ่ก็จะมีสภาพคล่องมากขึ้น คือ ขนาดของ REIT ทางสำนักงาน ก.ล.ต.ไม่เปลี่ยนขั้นต่ำที่ 500 ล้านบาท ถ้าระดมทุนไม่ได้ตามนั้นก็จัดตั้ง REIT ไม่ได้เช่นกัน
“และการที่เปลี่ยนกฎเป็นให้ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ถึง 50% ฟรีโฟลทอาจจะน้อยลงด้วยซ้ำ เพราะปัจจุบันให้ถือได้ 1 ใน 3 แล้วถ้าให้คนหนึ่งถือได้ 50% เลย ก็มีในมือคนหนึ่งคนใดมากไปและอาจทำให้มีสภาพคล่องน้อยลงได้เช่นกัน เรื่องสภาพคล่องอยู่ที่ขนาดกองทุนด้วยและจะต้องใหญ่พอจึงจะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ต้องมีขนาดตั้งแต่ 4,000 ล้านบาท ขึ้นไป”
ในส่วนของผลตอบแทนของ REIT กับกอง 1 นั้น อาจจะไม่ได้แตกต่างกันมากนัก เพราะกอง1 ที่ไม่ได้ลงทุนต่อแล้วโอนมาเป็น REIT ผลตอบแทนก็จะใกล้เคียงกันไม่แตกต่างกันมาก แต่ในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของ REIT จะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นจากเดิมที่เป็นกอง 1 เคยได้ประโยชน์จากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ประโยชน์ตรงนั้นก็จะไม่ได้ ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็จะเพิ่มขึ้น เวลาซื้อขายประโยชน์ที่ด้อยลงของ REIT คือภาษีในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ด้อยลงตามที่สำนักงาน ก.ล.ต.ชี้แจงมา เช่น ภาษีโอน ภาษีธุรกิจเฉพาะจะหายไป พอหายไปเวลาซื้อขายทรัพย์สินจะมีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของ REIT ทันที จากเดิมที่กอง 1 ได้ประโยชน์ตรงนี้ ดังนั้นนักลงทุนบางส่วนผลประโยชน์ก็น่าจะลดลง บางส่วนก็น่าจะเหมือนเดิม แต่ในส่วนของนักลงทุนรายย่อยประโยชน์ที่เคยได้รับเข้าใจว่าไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่ประการใด
“ส่วนเรื่องเงินปันผลนั้นในระดับกองทุนยังได้รับยกเว้นในส่วนนี้ แต่ในระดับผู้ถือหน่วยคาดว่าจะได้ประโยชน์น้อยลงโดยเฉพาะนักลงทุนที่เป็นนิติบุคคลเงินปันผลจะไม่ได้รับยกเว้นภาษี ต้องไปคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีปลายปี แม้ว่าสิทธิประโยชน์อาจลดลงบ้างสำหรับกอง REIT แต่ยังมีความน่าสนใจอยู่ ทางสำนักงาน ก.ล.ต.เองหวังว่า REIT จะเป็นช่องทางลงทุนอีกประเภทของนักลงทุนรายย่อย ดังนั้นในส่วนของนักลงทุนรายย่อยคงไม่มีผลกระทบอะไร แต่ในส่วนของสถาบันก็คงมีผลกระทบไปตามระเบียบ ถ้ามองว่าเป็นกองทุนเพื่อระดมทุนมาเพื่อรายย่อยก็ยังถือเป็นทางเลือกการลงทุนที่ยังน่าสนใจอยู่นั่นเอง”
@ REIT ก่อหนี้ได้-เปิดโอกาสลงทุนกว้างขึ้น
วินดา ยังบอกอีกว่า การ "กู้ยืมเงิน" เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องอธิบายให้นักลงทุนเข้าใจว่ากอง REIT ไม่ใช่กอง 1 เพราะ REIT มีหนี้ได้ไม่ใช่ปลอดหนี้ไม่มีภาระเหมือนกอง 1 เมื่อ REIT มีหนี้ได้นักลงทุนจึงควรจะมอง REIT ให้คล้ายกับหุ้นมากขึ้นว่ามีการกู้ได้เหมือนกับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ แต่ข้อดีของการกู้เงินบางส่วนได้นั้น จะทำให้ ROE สูงขึ้น แต่ก็มีความเสี่ยงสูงขึ้นเช่นเดียวกัน เวลา REIT จะไปกู้ต้องขอผู้ถือหน่วย การไล่เบี้ยก็ตามปกติคือต้องไปจ่ายคืนหนี้ก่อนหากมีปัญหาอะไรขึ้นมา ดังนั้น REIT ก็ต้องมีการสำรองเงินไว้จ่ายหนี้ด้วยเช่นกัน ในบางครั้งอาจจะจ่ายผลตอบแทนผู้ถือหน่วยไม่ได้เพราะต้องไปคืนหนี้ก่อน กรณีแบบนี้ก็จะเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้น อสังหาริมทรัพย์ที่ REIT จะลงทุนนั้นจะอยู่บนความผันผวนไม่ได้ ไม่เป็นประโยชน์และไม่ดี แต่ควรจะเป็นทรัพย์สินที่มี “รายได้ชัดเจนและสม่ำเสมอ” แต่ทรัพย์สินที่ไม่แข็งแกร่งตอบโจทย์นี้ไม่ได้เพราะเมื่อไรที่อุตสาหกรรมหรือเศรษฐกิจผันผวนขึ้นมา ทรัพย์สินบางอย่างมีความอ่อนไหวมากและมีผลกระทบมากเช่นกัน
การที่สำนักงาน ก.ล.ต.เปิดโอกาสให้ REIT กู้ได้ไม่เกิน 50% นั้น ไม่จำเป็นต้องใช้เต็มเพดานอาจจะไม่ใช่ก็ได้แล้วแต่ แต่นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อาจจะใช้ก็ได้เพราะเขามีความเชี่ยวชาญในการกู้ แต่ถ้าเป็น บลจ.อาจจะไม่ได้คิดเช่นนั้น เพราะชินกับการได้เงินแล้วไม่มีภาระหนี้สบายใจกว่ากัน ดังนั้นโครงสร้างการกู้ยืมของแต่ละ REIT คงขึ้นกับการออกแบบมาว่าจะเป็นเช่นไรในแต่ละ REIT มากกว่า
การจัดตั้ง REIT ก็น่าจะเร็วขึ้นเพราะสำนักงาน ก.ล.ต.ไม่ต้องมาดูรายละเอียดของทรัพย์สินมากเท่าเหมือนกอง 1 ดูในรายละเอียดน้อยลง คนที่จะจัดตั้งต้องรับผิดชอบตัวเองมากขึ้น การจัดตั้งอาจใช้กระบวนการที่สั้นลงในการขออนุมัติ จากเดิมประมาณ 3 - 4 เดือน เร็วสุดแต่ทุกอย่างต้องนิ่ง REIT น่าจะทำได้เร็วกว่านั้น นอกจากนี้ REIT จะเปิดโอกาสการลงทุนให้กว้างขึ้นซึ่งหากเป็นรูปแบบของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) จะทำไม่ได้ เช่น สนามกอล์ฟมีรายได้แต่โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นที่ดินเปล่าแต่เป็นที่ดินที่สามารถหาประโยชน์ได้ ก.ล.ต.นับว่าเป็นทรัพย์สินที่หาผลประโยชน์ได้ก็น่าจะเอาทำกอง REIT ได้ ในขณะที่กอง 1 ทำไม่ได้ หรือที่ดินเปล่าให้เช่าเอาไปหาผลประโยชน์ให้เขาจอดรถให้สร้างตึกทำมาหากินก็น่าจะทำได้ก็จะมีความหลากหลายมากขึ้น เป็นต้น”
ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ REIT ที่กำลังจะก้าวขึ้นมาแทนที่กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) ที่นักลงทุนน่าจะใช้ทำความรู้จักและคุ้นเคยเอาไว้แต่เบื้องต้นเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจลงทุนของตัวเองในอนาคตอันใกล้นี้
from http://bit.ly/ahQfqU
19 พฤศจิกายน 2553
PTT เตรียมเสนอขายหุ้นกู้อายุ 100 ปี 1 ธ.ค. 53 นี้
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. บอกว่า บริษัทฯ ตั้งเป้าการเติบโตรายได้ปีหน้าเพิ่มขึ้น 10% จากปีนี้ ที่บริษัทฯ คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 2 ล้านล้านบาท โดยการเติบโตในปีหน้าได้รับปัจจัยหนุนจากราคาขายผลิตภัณฑ์ทั้งน้ำมันและปิโตรเคมีที่ปรับตัวสูงขึ้นจากปีนี้ ตามแนวโน้มของราคาน้ำมันเฉลี่ยในปีหน้า รวมถึงยังมีปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นจากการเดินเครื่องโรงแยกก๊าซธรรมชาติแห่งที่ 6 ที่จะสามารถผลิตเต็มกำลังการผลิตได้ในเดือนธันวาคมนี้ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดสอบระบบการผลิต
นอกจากนี้ ปตท.มีแผนเสนอขาย หุ้นกู้อายุ 100 ปี ในวันที่ 1 ธันวาคมนี้ ซึ่งเป็นหุ้นกู้ที่มีอายุยาวที่สุดของไทย หุ้นกู้ดังกล่าวเป็นหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ และไม่มีประกัน ซึ่งจะครบกำหนดไถ่ถอนในปี 2653 ซึ่งผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิไถ่ถอนก่อน กำหนดได้ในปีที่ 50 และปีที่ 75 จะเสนอขายแก่ผู้ลงทุนสถาบัน และผู้ลงทุนรายใหญ่ หุ้นกู้ดังกล่าวมีวงเงินไม่เกิน 3 พันล้านบาท เพื่อนำเงินที่ได้ไปใช้ในการลงทุน หรือ เป็นเงินทุนหมุนเวียนทั่วไป หรือ เพื่อรีไฟแนนซ์หุ้นกู้เดิม
from http://www.moneychannel.co.th/Menu6/NewsUpdate/tabid/89/newsid491/129033/Default.aspx
นอกจากนี้ ปตท.มีแผนเสนอขาย หุ้นกู้อายุ 100 ปี ในวันที่ 1 ธันวาคมนี้ ซึ่งเป็นหุ้นกู้ที่มีอายุยาวที่สุดของไทย หุ้นกู้ดังกล่าวเป็นหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ และไม่มีประกัน ซึ่งจะครบกำหนดไถ่ถอนในปี 2653 ซึ่งผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิไถ่ถอนก่อน กำหนดได้ในปีที่ 50 และปีที่ 75 จะเสนอขายแก่ผู้ลงทุนสถาบัน และผู้ลงทุนรายใหญ่ หุ้นกู้ดังกล่าวมีวงเงินไม่เกิน 3 พันล้านบาท เพื่อนำเงินที่ได้ไปใช้ในการลงทุน หรือ เป็นเงินทุนหมุนเวียนทั่วไป หรือ เพื่อรีไฟแนนซ์หุ้นกู้เดิม
from http://www.moneychannel.co.th/Menu6/NewsUpdate/tabid/89/newsid491/129033/Default.aspx
18 พฤศจิกายน 2553
ยุคของ BRIC
เมื่อปี 2001 ได้มีนักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมนแซคส์คนหนึ่ง ชื่อ จิม โอนีล ได้ทำนายไว้ว่า เมื่อถึงปี 2050 มหาอำนาจทางเศรษฐกิจจะเปลี่ยน
จากประเทศอย่างสหรัฐไปเป็นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีประชากรมากๆ ได้แก่ จีน อินเดีย รัสเซีย และบราซิล หรือเรียกรวมกันสั้นๆ ว่า กลุ่มประเทศ BRIC หลังจากนั้น คำว่า BRIC ก็เริ่มเป็นคำที่ถูกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย
เหตุผลที่ จิม โอนีล เชื่ออย่างนั้นเป็นเพราะโลกยุคใหม่เป็นโลกที่ไร้พรมแดน ทำให้สินค้า-บริการ-เงินทุนและเทคโนโลยี ถ่ายเทถึงกันได้หมด ประเทศกำลังพัฒนาจึงสามารถขยับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ให้เข้าไปใกล้กับประเทศที่พัฒนาแล้วได้อย่างรวดเร็ว เหมือนเวลาที่เราเปิดท่อเชื่อมถึงกัน น้ำย่อมไหลจากที่สูงไปหาที่ต่ำ จนระดับน้ำเท่ากัน ประเทศกำลังพัฒนาที่นำระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีมาใช้หรือที่เรียกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่ทั้งหมด จะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูงจนไปถึงปี 2050 ความเป็นอยู่ของคนในประเทศเหล่านี้ จะแตกต่างจากคนในประเทศที่พัฒนาแล้วน้อยลง
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศในกลุ่ม BRIC ซึ่งแต่เดิมเคยถูกกดเอาไว้นาน เนื่องจากระบบการเมืองแบบปิดหรือมิฉะนั้นก็ไม่มีเสถียรภาพ ในยุคปัจจุบันประเทศกลุ่มนี้สามารถปรับเปลี่ยนระบอบการเมืองของตัวเองใหม่ เพื่อทำให้ตัวเองได้รับประโยชน์จากโลกาภิวัตน์อย่างเต็มที่ จีนอาศัยค่าแรงที่ถูกมานานและประชากรที่มากในการขันอาสาเป็นโรงผลิตสินค้าให้กับโลก ทำให้เกิดการจ้างงานมากมาย อินเดียก็จะทำตัวเป็นเอาท์ซอร์สเซอร์ธุรกิจบริการของโลก ส่วนรัสเซียและบราซิลนั้นมีทรัพยากรธรรมชาติมาก จึงเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญของโลก และทำให้มีอำนาจต่อรองกับโลกมากขึ้น ประเทศที่มีประชากรมากยังทำให้มีตลาดเศรษฐกิจภายในประเทศที่ใหญ่ ทำให้ได้เปรียบเรื่องต้นทุนต่อหน่วย และยังกลายเป็นตลาดสำคัญที่ประเทศอื่นจะต้องจับตาอีกด้วย
เกือบสิบปีที่ผ่านไป คำทำนายของจิม โอนีล ที่หลายคนมองไม่ออกว่าจะเป็นไปได้จริง ก็ดูเหมือนจะชัดเจนหนักขึ้นทุกที โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีจีน ซึ่ง โอนีลได้ทายไว้ว่าภายในปี 2015 จีนจะมีขนาดเศรษฐกิจแซงประเทศญี่ปุ่น แต่ดูเหมือนว่าภายในปีนี้ จีนน่าจะแซงญี่ปุ่นได้แล้ว นับว่าสิ่งที่โอนีลทายไว้เกี่ยวกับจีนนั้นออกจะอนุรักษนิยมมากเกินไปด้วยซ้ำ โอนีลเชื่อว่าถัดจากจีนจะเป็นคราวของอินเดียบ้าง โดยที่อินเดียจะเติบโตได้ในอัตราที่เร็วกว่าจีนด้วย แต่เวลานี้ ยังดูไม่ออกว่าจะเป็นไปได้อย่างไร คงต้องคอยติดตามกันดูครับ ส่วนบราซิลนั้นมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่โดดเด่นมากนัก ส่วนรัสเซียนั้นค่อนข้างจะเติบโตจากฐานที่สูงกว่าเพื่อนอยู่แล้ว อัตราการเติบโตจึงอาจดูไม่โดดเด่นมากนัก แต่ด้วยจำนวนประชากรที่มาก คงหนีไม่พ้นที่รัสเซียจะต้องมีบทบาทในโลกมากขึ้นทุกวัน ดูเหมือนยุคของ BRIC กำลังเกิดขึ้นอยู่แล้ว ไม่ต้องรอให้ถึงปี 2050
นอกจากประเทศในกลุ่ม BRIC แล้ว กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ที่มีศักยภาพไม่แพ้กัน แต่อาจจะมีจำนวนประชากรไม่มากเท่า ทำให้สุดท้ายแล้วขนาดเศรษฐกิจโดยรวมเลยไม่ใหญ่ติดอันดับยังมีอีก 11 ประเทศที่โอนีลมองไว้ เรียกว่า กลุ่ม N 11 (Next Eleven) ได้แก่ บังกลาเทศ อียิปต์ อินโดนีเซีย อิหร่าน เม็กซิโก ไนจีเรีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ตุรกี และเวียดนาม ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วจะถูกลดความสำคัญลงไป เพราะเติบโตได้ช้ากว่ามากจนทำให้ขนาดของเศรษฐกิจแทบจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนักในอีก 40 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งญี่ปุ่นที่เศรษฐกิจถดถอยลงอย่างต่อเนื่อง
โลกทุกวันนี้ เปลี่ยนโฉมหน้าไปเร็วมาก ถ้าปรับความคิดของเราไม่ทันอาจเป็นคนหลุดโลกได้เลย
from http://bit.ly/9kVsCg
จากประเทศอย่างสหรัฐไปเป็นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีประชากรมากๆ ได้แก่ จีน อินเดีย รัสเซีย และบราซิล หรือเรียกรวมกันสั้นๆ ว่า กลุ่มประเทศ BRIC หลังจากนั้น คำว่า BRIC ก็เริ่มเป็นคำที่ถูกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย
เหตุผลที่ จิม โอนีล เชื่ออย่างนั้นเป็นเพราะโลกยุคใหม่เป็นโลกที่ไร้พรมแดน ทำให้สินค้า-บริการ-เงินทุนและเทคโนโลยี ถ่ายเทถึงกันได้หมด ประเทศกำลังพัฒนาจึงสามารถขยับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ให้เข้าไปใกล้กับประเทศที่พัฒนาแล้วได้อย่างรวดเร็ว เหมือนเวลาที่เราเปิดท่อเชื่อมถึงกัน น้ำย่อมไหลจากที่สูงไปหาที่ต่ำ จนระดับน้ำเท่ากัน ประเทศกำลังพัฒนาที่นำระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีมาใช้หรือที่เรียกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่ทั้งหมด จะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูงจนไปถึงปี 2050 ความเป็นอยู่ของคนในประเทศเหล่านี้ จะแตกต่างจากคนในประเทศที่พัฒนาแล้วน้อยลง
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศในกลุ่ม BRIC ซึ่งแต่เดิมเคยถูกกดเอาไว้นาน เนื่องจากระบบการเมืองแบบปิดหรือมิฉะนั้นก็ไม่มีเสถียรภาพ ในยุคปัจจุบันประเทศกลุ่มนี้สามารถปรับเปลี่ยนระบอบการเมืองของตัวเองใหม่ เพื่อทำให้ตัวเองได้รับประโยชน์จากโลกาภิวัตน์อย่างเต็มที่ จีนอาศัยค่าแรงที่ถูกมานานและประชากรที่มากในการขันอาสาเป็นโรงผลิตสินค้าให้กับโลก ทำให้เกิดการจ้างงานมากมาย อินเดียก็จะทำตัวเป็นเอาท์ซอร์สเซอร์ธุรกิจบริการของโลก ส่วนรัสเซียและบราซิลนั้นมีทรัพยากรธรรมชาติมาก จึงเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญของโลก และทำให้มีอำนาจต่อรองกับโลกมากขึ้น ประเทศที่มีประชากรมากยังทำให้มีตลาดเศรษฐกิจภายในประเทศที่ใหญ่ ทำให้ได้เปรียบเรื่องต้นทุนต่อหน่วย และยังกลายเป็นตลาดสำคัญที่ประเทศอื่นจะต้องจับตาอีกด้วย
เกือบสิบปีที่ผ่านไป คำทำนายของจิม โอนีล ที่หลายคนมองไม่ออกว่าจะเป็นไปได้จริง ก็ดูเหมือนจะชัดเจนหนักขึ้นทุกที โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีจีน ซึ่ง โอนีลได้ทายไว้ว่าภายในปี 2015 จีนจะมีขนาดเศรษฐกิจแซงประเทศญี่ปุ่น แต่ดูเหมือนว่าภายในปีนี้ จีนน่าจะแซงญี่ปุ่นได้แล้ว นับว่าสิ่งที่โอนีลทายไว้เกี่ยวกับจีนนั้นออกจะอนุรักษนิยมมากเกินไปด้วยซ้ำ โอนีลเชื่อว่าถัดจากจีนจะเป็นคราวของอินเดียบ้าง โดยที่อินเดียจะเติบโตได้ในอัตราที่เร็วกว่าจีนด้วย แต่เวลานี้ ยังดูไม่ออกว่าจะเป็นไปได้อย่างไร คงต้องคอยติดตามกันดูครับ ส่วนบราซิลนั้นมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่โดดเด่นมากนัก ส่วนรัสเซียนั้นค่อนข้างจะเติบโตจากฐานที่สูงกว่าเพื่อนอยู่แล้ว อัตราการเติบโตจึงอาจดูไม่โดดเด่นมากนัก แต่ด้วยจำนวนประชากรที่มาก คงหนีไม่พ้นที่รัสเซียจะต้องมีบทบาทในโลกมากขึ้นทุกวัน ดูเหมือนยุคของ BRIC กำลังเกิดขึ้นอยู่แล้ว ไม่ต้องรอให้ถึงปี 2050
นอกจากประเทศในกลุ่ม BRIC แล้ว กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ที่มีศักยภาพไม่แพ้กัน แต่อาจจะมีจำนวนประชากรไม่มากเท่า ทำให้สุดท้ายแล้วขนาดเศรษฐกิจโดยรวมเลยไม่ใหญ่ติดอันดับยังมีอีก 11 ประเทศที่โอนีลมองไว้ เรียกว่า กลุ่ม N 11 (Next Eleven) ได้แก่ บังกลาเทศ อียิปต์ อินโดนีเซีย อิหร่าน เม็กซิโก ไนจีเรีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ตุรกี และเวียดนาม ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วจะถูกลดความสำคัญลงไป เพราะเติบโตได้ช้ากว่ามากจนทำให้ขนาดของเศรษฐกิจแทบจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนักในอีก 40 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งญี่ปุ่นที่เศรษฐกิจถดถอยลงอย่างต่อเนื่อง
โลกทุกวันนี้ เปลี่ยนโฉมหน้าไปเร็วมาก ถ้าปรับความคิดของเราไม่ทันอาจเป็นคนหลุดโลกได้เลย
from http://bit.ly/9kVsCg