30 เมษายน 2554

ดั๊บ​เบิ้ล ​เอ ​เพา​เวอร์(Double A Power) ​เปิดจองหุ้นกู้ อายุ 3 ปี ดอก​เบี้ย 6.25% ต่อปี วันที่ 9 - 11 พ.ค. 54


บมจ.​เนชั่น​แนล ​เพา​เวอร์ ซัพพลาย ​หรือ​โรง​ไฟฟ้า​เอ็นพี​เอส ​ในกลุ่มดั๊บ​เบิ้ล ​เอ ​เพา​เวอร์ จับมือธนาคารกรุง​ไทย ​และธนาคารออมสิน ออกหุ้นกู้อายุ 3 ปี ดอก​เบี้ย 6.25 % ต่อปี จ่ายดอก​เบี้ยทุก 3 ​เดือน ​เพื่อ​เป็นทาง​เลือกสำหรับ​ผู้ที่สน​ใจลงทุน​ในระยะที่​ไม่ยาวนัก​และ​ให้ผลตอบ​แทนที่ดี

ดั๊บ​เบิ้ล ​เอ ​เพา​เวอร์ ​เปิดจองหุ้นกู้ อายุ 3 ปี ดอก​เบี้ย 6.25% ต่อปี วันที่ 9 - 11 พ.ค. 54
ข่าวทั่ว​ไป ThaiPR.net -- ศุกร์ที่ 29 ​เมษายน 2554 16:47:06 น.
ดั๊บ​เบิ้ล ​เอ ​เพา​เวอร์ ​เปิดจองหุ้นกู้ อายุ 3 ปี ดอก​เบี้ย 6.25% ต่อปี วันที่ 9 - 11 พ.ค. 54
ดูรูป​ทั้งหมด
กรุง​เทพฯ--29 ​เม.ย.--ดั๊บ​เบิ้ล ​เอ ​เพา​เวอร์

บมจ.​เนชั่น​แนล ​เพา​เวอร์ ซัพพลาย ​หรือ​โรง​ไฟฟ้า​เอ็นพี​เอส ​ในกลุ่มดั๊บ​เบิ้ล ​เอ ​เพา​เวอร์ จับมือธนาคารกรุง​ไทย ​และธนาคารออมสิน ออกหุ้นกู้อายุ 3 ปี ดอก​เบี้ย 6.25 % ต่อปี จ่ายดอก​เบี้ยทุก 3 ​เดือน ​เพื่อ​เป็นทาง​เลือกสำหรับ​ผู้ที่สน​ใจลงทุน​ในระยะที่​ไม่ยาวนัก​และ​ให้ผลตอบ​แทนที่ดี

ปัจจุบัน​เอ็นพี​เอส มี​โรง​ไฟฟ้า​ทั้งหมด 5 ​โรง มีราย​ได้ที่มั่นคงจาก​การจำหน่ายกระ​แส​ไฟฟ้า​ให้กับ​การ​ไฟฟ้าฝ่ายผลิต​แห่งประ​เทศ​ไทย ภาย​ใต้สัญญา​การรับซื้อ​ไฟฟ้าระยะยาว 25 ปี ​และ​โรงงานอุตสาหกรรม​ใน​เขตอุตสาหกรรม จังหวัดปราจีนบุรี รวม​ทั้งจำหน่าย​ไอน้ำ​ให้กับดั๊บ​เบิ้ล ​เอ ​เพื่อ​ใช้​ใน​การผลิต​เยื่อ​และกระดาษ ​โดย​เอ็นพี​เอส มีราย​ได้รวมปี 2553 สูง​ถึง 7,680 ล้านบาท ​เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ​ถึง 26%

​ผู้สน​ใจ สามารถจองซื้อหุ้นกู้ดังกล่าว ​ได้ที่ ธนาคารกรุง​ไทยทุกสาขา ​และธนาคารออมสิน ​เฉพาะสำนักพหล​โยธิน ​ในวันที่ 9 - 11 พฤษภาคม 2554 นี้​เท่านั้น
รายละ​เอียด​เพิ่ม​เติม : http://www.doubleapower.com
สอบถามข้อมูล​เพิ่ม​เติม ​โทร. 1759 กด 9 Double A Power

from http://is.gd/QQgcxB


26 เมษายน 2554

!!!!!คอนโดไม่ใช่การลงทุน ถ้าไม่ได้อยู่จริงอย่าซื้อ!!!!!

สถานการคอนโดในปัจจุบันนั้นเติบโตมหาศาลอย่างไม่ค่อยเป็นธรรมชาติ การการันตียอดขายแทบจะร้อยเปอร์เซ็น เพียงแค่ในช่วงเปิดตัวของโครงส่วนใหญ่ นั่นยั่วยวนทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่ทำตัวเป็นนักลงทุนรายย่อย รูปแบบของการซื้อเก็งกำไรคอนโดนั้นมีตั้งแต่ซื้อขายใบจอง, ขายดาวน์, ซื้อแล้วเอาไปขายเอง, ฝากเซลลขาย, ซื้อตอนเริ่มก่อสร้างขายตอนสร้างเสร็จ ไปจนถึงซื้อให้คนเช่าในระยะยาว ในทุกรูปแบบก่อให้เกิดดีมานเทียมขึ้นจากการคาดเดาตลาด ส่งผลให้ราคาคอนโดสูงกว่าที่เป็นจริงอย่างไม่มีเหตุผล ในขณะที่โครงการที่ดีกว่าก็ดูเหมือนจะแพงกว่าทยอยออกมากันอีกเรื่อยๆ เกิดการเก็งกำไรและการปั่นราคาคอนโดกันมหาศาลจนน่าเป็นห่วง จนต้องมาเขียนบทความนี้ ผู้เขียนเองเป็นส่วนหนึ่งของผู้ประกอบการ หากแต่เป็นผู้ประกอบการรายเล็กเล็กจิ๋วๆๆๆ ที่เห็นผลเสี่ยงของการเก็งกำไรคอนโดในระยะยาวและยังอยากมีงานทำไปอีกนานๆ (และไม่อยากถูกด่าในภายหลังด้วย) จึงใช้เวลาและข้อมูลเท่าที่มีอยู่ตอนนี้เขียนขึ้นมา หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคโดยทั่วไปบ้าง เดี๋ยวจะหาว่าไม่เคยเตือน....

ความน่าลงทุนในคอนโดปัจจุบันบันไม่ต่างไปจากความน่าลงทุนของแชร์แม่ชม้อย, แอมเวย์หรือจตุคามรามเทพ เป็นความน่าลงทุนที่คาดหวังที่ผลกำไรในระยะสั้นเป็นหลัก และไม่ได้มาจากตัวโปรดักโดยตรง เห็นได้ว่าไม่มีการพัฒนาในตัวโปรดัก โดยหวังผลทำกำไรเฉพาะหน้าด้วยความไม่มีประสบการณ์ของผู้บริโภคเป็นหลัก เพราะแทบจะร้อยทั้งร้อยของผู้บริโภคนั้นไม่เคยใช้ชีวิตในคอนโดมาก่อน จึงไม่มีความสามารถในการให้คุณภาพกับคอนโดที่ตัวเองซื้อมาได้ การขายคอนโดที่ยังเป็นกระดาษล่วงหน้า ผ่านระบบเซลล์เน้นมุ่งเน้นยอดขายเป็นหลัก โดยไม่ได้เน้นการให้ข้อมูลที่เป็นจริงทั้งหมดของโครงการ (หลายโครงการไม่ให้ลูกค้าดูผังโครงการ หรือปรับเปลี่ยนผังในภายหลัง, การบอกจำนวนที่จอดรถที่ไม่แน่นอน ปิดบังข้อเสียต่างๆ ฯลฯ) และจนถึงปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดๆของรัฐเข้ามาดูแล การจัดแคมเปญสร้างความแข่งขันยิ่งบีบการตัดสินใจของผู้บริโภคและสัญญาที่ไม่เป็นธรรมก็ทำให้หมดสิทธิต่อรอง ไม่ต่างจากหุ้นที่ถูกปั่นขึ้นไป จนวันนึงจะถูกทุบขายใครขายไปหมดก่อนก็รอดตัวไปใครถือไว้เยอะก็มีแต่เจ๊ง คนที่ถือโครงการใหญ่ที่สร้างไม่เสร็จอาจเสียเงินฟรี คนที่ซึ้อตอนราคาตอนปลายเทียบได้กับซื้อความเป็นหนี้ไปตลอดชีวิต

ในแง่ของผู้ประกอบการ ตลาดอสังหาริมทรัพย์นั้นถูกฝูกขาดโดยกลุ่มบริษัทไม่กี่กลุ่ม โดยถ้าไม่นับว่าเป็นบริษัทลูกบริษัทหลานหรือญาติโกโหติกากันมา เรียกได้ว่ากทม.แทบทั้งเมืองถูกสร้างขึ้นโดยคนกลุ่มเดียวและด้วยระบบเดียว (บ้านจัดสรร) ทำให้จริงๆแล้วแทบไม่มีการแข่งขันในแง่ของโปรดักเลย แต่เป็นการเสี่ยงดวงกับมาเก็ตแค็บของตลาดมากกว่า สถานการอสังหาก่อนช่วงบูมของคอนโด ผู้ประกอบการเจ้าใหญ่ๆหลายๆเจ้าได้ทุ่มทุนลงไปกับโครงการความหนาแน่นต่ำ (บ้านเดี่ยวทาวน์เฮ้าส) จนเกิดโอเวอร์ซัพพลาย ล้นตลาดอยู่เป็นจำนวนมาก การมาถึงของปรากฎการณ์คอนโดทำให้ผู้ประกอบการหน้าเก่าหลายๆเจ้า ปรับพอร์ตการลงทุนมาลงทุนในคอนโดมากขึ้นในขณะที่ยังขาดสภาพคล่องอยู่เป็นทุนเดิม เกิดการลดราคาแจกแถมโปรโมชั่นมโหฬารในตลาดบ้านจัดสรรในปัจจุบัน และเปิดตัวโครงการคอนโดใหม่ๆขึ้นมาพร้อมกันหลายๆโครงการขึ้นมาตอบรับ (มีหลายบริษัทใหญ่ในปัจจุบันที่ลงทุนกับโครงการที่สเกลใหญ่เกินตัวโดยที่ไม่มีสภาพคล่องเท่าไหร่ คงพอได้ข่าวกันบ้าง) เพราะใครๆก็กลัวตกรถขบวนนี้กันทั้งนั้น....

คอนโดนั้นเป็นโครงการที่ต้องก่อสร้างในทีเดียวทั้งตึก ไม่สามารถแบ่งแปลงสร้างเหมือนบ้านเดี่ยวได้ จึงเป็นโครงการที่ต้องลงทุนสูงในคราวเดียว การลงทุนในคอนโดของผู้ประกอบการนั้นมาจากสถาบันการเงินเป็นหลัก แบงค์นั้นอย่างที่เราๆรู้กันอยุ่แล้ว เป็นเสือนอนกิน ดังนั้นถ้าหวยยังไม่ล๊อคแบงค์ก็จะไม่แทง และไครทีเรียในการตัดสินใจของแบงค์นั้นมีเพียงอย่างเดียวคือ “กำไร” มาตราการควบคุมเดียวในการปล่อยกู้ทำโครงการของแบ็งค์ก็คือ “ยอดจอง” ถ้าโครงการไหนมียอดจองแบ็งค์ก็จะปล่อยกู้ ยิ่งจองเยอะสัดส่วนลงทุนของแบงค์ต่อผู้ประกอบการก็ยิ่งสูงตาม จนแทบกลายเป็นการจับเสือมือเปล่าของผู้ประกอบการหน้าเก่า (ในขณะที่ไม่ให้หน้าใหม่กู้) ผลักดันโครงการออกมาพร้อมๆหลายๆโครงการ ทำให้เกิดการทุ่มตลาดอย่างบ้าเลือดในช่วงพรีเซลล์และการเมคยอดจอง จะเห็นได้จากการที่โครงการหลายโครงการที่ (ข่าวว่า) ทำยอดจองถล่มทลาย แต่ยังเริ่มก่อสร้างไม่ได้ซักที ในขณะที่แบ๊งค์ต้องการปล่อยกู้สร้างตึก แต่แบงค์ก็กลัวหนี้เสียจากการผ่อนคอนโดของรายย่อยในระยะยาวด้วย การอนุมัติเงินกู้ซื้อคอนโดปัจจุบันเป็นไปได้อย่างยากลำบาก ผู้จองไม่กี่รายที่จะมีศักยภาพในการกู้จริงแม้วงเงินอยู่ที่ล้านต้นๆถึงสองล้าน แต่จากข้อมูล ในกทม.ทั้งหมดมีคนที่พอกู้เงินจำนวนนี้ได้อยู่ราว 4 แสนคนเท่านั้นเอง เมื่อเทียบกับความต้องการที่อยู่อาศัยที่เป็นจริง ตลาดหลักของคอนโดเมืองนั้นอยู่ในกทม. ซึ่งมีการขยายตัวของที่อยู่อาศัยราวๆปีละ 7-8 หมื่นยูนิต ในปัจจุบันคอนโดที่ยังอยู่ในตลาดและระหว่างก่อสร้างอีกราว 2-3 เท่าของจำนวนนี้ และมีแนวโน้มเปิดตัวมากขึ้น (ตามการปรับพอร์ตการลงทุนของผู้ประกอบการรายเก่าๆ) ยังไม่นับผู้บริโภคบางส่วนที่ไม่ยอมรับที่อยู่อาศัยที่ไม่ติดดิน จึงนับได้ว่าคอนโดมีปริมาณล้นตลาดอยู่พอสมควร (ปริมาณที่ล้นตลาดอยู่นั้นจริงๆแล้วใกล้เคียงกับช่วงก่อนฟองสบู่แตกปี 97 แถมช่วงนี้บาทไทยก็แข็งเหมือนกันซะด้วยสิ....)

ปัญหาการเก็งกำไรคอนโด ในระยะสั้นๆเช่น มีผู้บริโภคจำนวนมากที่ไปจองคอนโดไว้โดยที่ไม่มีความสามารถในการผ่อนจริง หลายคนไม่รู้ตัวนึกว่าผ่อนดาวน์ได้ก็พอแล้ว แต่ในขณะเดียวกันหลายคนก็รู้ว่าผ่อนไม่ได้แต่หวังจะขายจองออกให้ได้ก่อนโอน โครงการไหนขึ้นใหม่ก็ไปจองเพิ่มเอาไว้อีก ในขณะที่การขายรีเซลลไม่ซื้อง่ายขายคล่องอย่างที่คิด เพราะดีมานเทียมนั้นโอเวอซัพพลายอยู่แล้ว โครงการใหม่ๆก็มีเกิดขึ้นคลอดเวลาด้วย สุดท้ายอาจถูกบังคับโอนได้ห้องที่ไม่อยากได้มาเป็นภาระ หรือในกรณีทิ้งดาวน์นั้นจะส่วงผลกับงวดเงินกู้จากแบงค์ทำให้โครงการขนาดใหญ่ๆที่ต้องก่อสร้างนานๆถูกระงับการก่อสร้างได้ หรือปัญหาในระยะยาวเช่น ปํญหาเรื่องความแออัด โครงการคอนโดส่วนใหญ่จะพยายามฟิกซ์ขนาดยูนิตห้องไว้ให้เล็ก เพื่อให้ออกมาขายในตลาดใหญ่ ราคาต่อยูนิตจะได้ไม่สูงมาก ในขณะที่การอยู่อาศัยร่วมกันนั้นไม่เคยอยู่ในความเรียนรู้ของคนไทย การเคารพสิทธิของคนอื่นและการรักษาสมบัติส่วนรวม เสียรบกวนเด็กร้องหมาเห่าจากข้างห้อง จะเห็นผลกับโครงการที่มีความหนาแน่นสูง ในขณะที่การเก็บค่าส่วนกลางจะเป็นปัญหาของโครงการขนาดเล็ก ระบบขนส่งมวลชนของกทม.นั้นยังใช้เป็นระบบหลักไม่ได้ และคงอีกนานกว่าจะครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ การใช้รถยนต์จึงยังเป็นความจำเป็นอย่างหลีเลี่ยงไม่ได้อยู่ดี ที่จอดรถน่าจะเป็นปัญหาหลักที่เห็นได้ชัดที่สุดของคอนโดเนื่องจากกฏหมายควบคุมอาคารชุดของไทยในปัจจุบันนั้นกำหนดจำนวนที่จอดรถไว้ตามพื้นที่ขายคิดแล้วประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นของจำนวนยูนิตเท่านั้นเอง (โครงการไหนที่บอกว่า 60-70 เปอร์เซ็นแปลว่าเค้านับรวมจอดขวางไปด้วยแล้ว) ยิ่งโครงการที่มีสัดส่วนห้องเล็กมากที่จอดรถก็จะยิ่งน้อยตามไปนั่นเอง ปัญหาจากการให้เช่าห้องในระยะยาวก็ดูจะไม่มั่นคง ความต้องการเช่านั้นในพื้นที่หนึ่งๆไม่เปลี่ยนไปมาก อยู่บนพื้นฐานของปริมาณงานที่อยู่ในบริเวณเป็นหลัก ในขณะที่มีหอพัก,อาพารต์เม้นต์หรือเซอร์วิสอาพารต์เม้นต์รองรับอยู่ด้วย และอัตราการเพิ่มเรื่อยๆของห้องเปล่าที่จะมาให้เช่า จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่จะคงจำนวนและราคาเช่าในระยะยาวได้ การผ่อนคอนโดปัจจุบันแบงค์ให้กู้ที่อยู่อาศัยราคาต่ำกว่าสิบล้านบาทแทบจะร้อยเปอร์เซ็นและให้ระยะเวลาผ่อนยาวสูงสุดถึงสามสิบปี นั่นหมายถึงหนี้ก้อนมหาศาลชั่วชีวิตแลกกับห้องรูหนูขนาด 30 ตรม. ต่อให้ดอกเบี้ยในปัจจุบันยังถูกอยู่แต่ในระยะเวลา 30 ปีก็ไม่แน่จะมีอะไรเกิดขึ้นได้บ้าง และหลังจากสามสิบปีสำหรับโครงการหนาแน่นสูงก็ไม่รู้สภาพจะเหลือซักเท่าไหร่

เท่าที่เขียนมานั้นคงยังไม่ใช่ทั้งหมดของปัญหาและสถานการที่กำลังเกิดขึ้น (แต่ขี้เกียจพิมพ์แล้วเมื่อยมือ) หวังว่าเพื่อนๆในห้องนี้ที่สนใจซื้อคอนโดอยู่ จะได้พิจารณาปัจจัยเสี่ยงและตัดสินใจอย่างรอบคอบขึ้นได้บ้าง ที่อยู่อาศัยนั้นเป็นสิ่งจำเป็น แต่มันก็ไม่ใช่ตลาดหุ้นที่จะเข้ามาทำกำไรกันจริงจัง (ตลาดหุ้นเองก็ไม่ใช่ว่าใครจะได้กำไรซักเท่าไหร่) กำไรที่ได้มากก็มาจากผู้บริโภคอื่นที่มาซื้อต่อ ไม่ได้เป็นการสร้างงานหรือสินค้าใดๆ ยิ่งเพิ่มค่าใช้จ่ายทางอ้อมแก่อุตสาหกรรมที่รองรับ ดังนั้นจึงขอแนะนำให้ซื้อคอนโดเฉพาะเอาไว้อยู่จริงเท่านั้น จะช่วยให้ตลาดคอนโดมีราคาที่เป็นจริงมากขึ้น และผู้ประกอบการก็จะมาแข่งขันกันที่คุณภาพเพิ่มขึ้น ให้ผู้บริโภคได้โปรดักที่มีคุณภาพและราคาที่สมเหตุสมผลจริงในระยะยาว..... เอวัง

http://is.gd/3Hlfak


20 เมษายน 2554

งบการเงินสำหรับนักลงทุน (1-5) : นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

ที่ผ่านมามีหลายท่านอยากให้ผมเขียนหนังสือเกี่ยวกับการ วิเคราะห์งบการเงินบ้าง เพราะหาหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่อ่านง่ายๆไม่ได้เลย แต่ผมเองนั้นมิใช่นักบัญชี ความรู้บัญชีที่มีอยู่ก็เป็นเพียงแค่ความรู้ที่สะสมมาเพื่อใช้เอาตัวรอดใน ตลาดหุ้นเท่านั้น หลายปีผ่านไป ก็ยังมีคนถามเรื่องนี้อยู่ ไม่ทราบจะทำอย่างไรเหมือนกัน เอาเป็นว่าผมจะใช้บล็อกเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้สักพักก็แล้วกัน เป็นแค่การเล่าให้ฟังว่าตัวผมเองดูอะไรในงบการเงินบ้างเวลาลงทุน

เรื่องงบการเงินนั้น ผมยอมรับว่า ผมเองไม่ได้ให้น้ำหนักมากนัก เพราะผมตัดสินใจลงทุนจากเหตุผลเชิงคุณภาพเป็นหลัก (ธุรกิจมีอนาคตที่สดใส บริษัทมีกลยุทธ์การเติบโตที่ดี บริษัทมีข้อได้เปรียบที่ชัดเจน ฯลฯ)  ผมจะใช้งบการเงินเป็นแค่การตรวจสอบอีกชั้นหนึ่งเพื่อให้แน่ใจว่า ตัวเลขต่างๆสอดคล้องกับสิ่งที่เราคิดหรือไม่ และใช้ดูว่าบริษัทยังมีอะไรอย่างอื่นที่เราต้องกังวลอีกหรือเปล่า ผมถือว่า ผมเน้นลงทุนแต่ในบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือระดับหนึ่งแล้วเท่านั้น และอาศัยการกระจายการลงทุน แทนการวิเคราะห์งบการเงินแบบเจาะลึก นักลงทุนบางคนอาจใช้งบการเงินเป็นเครื่องมือหลักในการเลือกหุ้น เช่น คนที่ลงทุนในแนว Asset Play แต่ผมก็ไม่เคยลงทุนในแนวนั้นเลย ผมคิดว่าผมคงไม่ได้รู้บัญชีลึกซึ้งมากขนาดที่จะขุดพบสิ่งที่ซ่อนอยู่ในงบการ เงินที่คนทั่วไปมองไม่เห็นออกมาได้ งบการเงินเป็นสิ่งที่บอกอดีตและปัจจุบันของบริษัทได้ดี แต่บอกอนาคตได้น้อย ผมจึงให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์เชิงคุณภาพมากกว่า

สาระสำคัญของงบการเงินของบริษัทมหาชนนั้นอยู่ ในงบสามตัวใหญ่ ได้แก่ งบดุล งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสด ส่วนหมายเหตุประกอบงบการเงิน และงบแสดงส่วนเปลี่ยนแปลงของผู้ถือหุ้นนั้น เป็นส่วนของรายละเอียดเพิ่มเติม ถ้าจะให้ดีเวลาอ่านงบการเงินควรพลิกไปอ่านความเห็นของผู้สอบบัญชีด้วยสักนิด งบการเงินที่ดีควรเป็นงบที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข ถ้าหากผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็น หรือแสดงความเห็นอย่างมีเงิ่อนไข มักทำให้ผมไม่ค่อยอยากอ่านงบการเงินของบริษัทนั้นต่อแล้ว เพราะไม่รู้ว่า สิ่งที่แสดงอยู่ในงบการเงินนั้นจะเชื่อถือได้มากแค่ไหน และพาลให้อยากเลิกคิดลงทุนในบริษัทนั้นไปด้วยเลย เพราะไม่รู้ว่าเราจะเสี่ยงลงทุนกับบริษัทที่ไม่สามารถแสดงงบการเงินในแบบที่ เรียบร้อยตามหลักบัญชีให้นักลงทุนดูได้ไปทำไม ในเมื่อเรายังมีตัวเลือกอื่นดีๆอีกมากมายในตลาด

และเช่นเดียวกัน การเป็นนักลงทุนนั้น ที่จริงแล้วไม่จำเป็นต้องเก่งบัญชีมากๆ แต่ควรเข้าใจภาพใหญ่ๆของการดูงบการเงิน เวลาที่เจองบการเงินของบริษัทที่ซ้บซ้อนมากๆ มีรายการพิเศษเยอะๆ แทนที่เราจะต้องพยายามแกะให้ได้ เราสามารถเปลี่ยนไปลงทุนในบริษัทอื่นที่มีงบการเงินที่เข้าใจได้ง่ายกว่าแทน ก็ได้ มีให้เลือกอีกเยอะแยะในตลาด วอเรน บัฟเฟต กล่าวว่า บริษัทที่เขียนงบการเงินให้คนอ่านเข้าใจยากๆ เหมือนไม่อยากให้คนเข้าใจนั้น แสดงว่าอาจมีอะไรบางอย่างที่ไม่ดีที่เขาจะต้องแอบซ่อนเอาไว้ ถ้าธุรกิจดีจริงๆ เขามักจะอยากโชว์

แนวคิดอย่างแรกที่อยากให้นักลงทุนมองเวลาที่เริ่มต้นอ่านงบการเงินคือ งบดุลเป็นบัญชีที่แสดง “ฐานะการเงินของบริษัท” ณ วันสิ้นงวด พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ สมมติว่าหยุดกิจกรรมทุกอย่างไว้ชั่วคราว ณ วันสิ้นงวด แล้วลองนับดูว่าบริษัทมีสมบัติอะไรติดตัวบ้าง มีหนี้เท่าไร (เอาสินทรัพย์หักหนี้สินจะเหลือเป็นส่วนที่เป็นของบริษัทจริงๆ) ส่วนงบกำไรขาดทุนนั้นคือบัญชีที่แสดง ผลงานของบริษัท “ตลอด” งวดบัญชีนั้น กล่าวคือ ตลอดช่วงเวลาของรอบบัญชีนั้น บริษัททำรายได้ไปได้เท่าไร หักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือกำไรเท่าไร (รายได้หักค่าใช้จ่ายเท่ากับกำไร) งบดุลจึงเป็นเหมือนภาพนิ่งเมื่อวันจบงวด ส่วนงบกำไรขาดทุนนั้นเป็นผลงานรวมตลอดระยะเวลาทั้งหมดเฉพาะในรอบบัญชีนั้น

ส่วนงบกระแสเงินสดนั้น เป็นบัญชีที่แสดงการไหลเข้าออกของเงินสดระหว่างรอบบัญชีนั้น นักบัญชีบังคับให้บริษัทมหาชนต้องแสดงการไหลเข้าออกของเงินสดด้วยเพื่อ “กันเหนียว” กล่าวคือ เวลาคิดกำไรขาดทุนตามหลักบัญชีนั้นอาจมีช่องว่างบางอย่างที่ทำให้บริษัทฉายภาพว่าธุรกิจไปได้ดี ทั้งที่จริงๆแล้วมีปัญหา การบังคับให้ต้องแสดงงบกระแสเงินสดด้วยนั้น จะช่วยทำให้บริษัทหาช่องว่างได้ยากขึ้น บางคนบอกว่างบกระแสเงินสดสำคัญ งบกำไรขาดทุนไม่สำคัญ บางคนบอกว่างบกำไรขาดทุนสำคัญ งบกระแสเงินสดไม่สำคัญ แต่ที่จริงแล้ว เวลาดูงบการเงินควรดูทั้งสามงบประกอบกันว่าสอดคล้องกันหรือไม่ถึงจะชัวร์ สรุปก็คือสำคัญทั้งสามงบ

นอกจากนี้ ในแต่ละงบยังแยกออกเป็นสองชุดคือ งบการเงินเฉพาะบริษัท และงบการเงินรวม ด้วย เพราะบริษัทหนึ่งๆ อาจประกอบด้วยบริษัทร่วมและบริษัทย่อยหลายบริษัท เช่น พวกโฮลดิ้งคอมปะนี งบการเงินรวมคืองบที่รวมงบการเงินของบริษัทร่วมและบริษัทย่อยเข้าด้วยกันให้ เหมือนเป็นบริษัทเดียวกัน จะได้เห็นสถานะการเงินทั้งหมดของบริษัท มีคำถามเสมอว่า เราควรดูงบการเงินเฉพาะของบริษัทหรืองบการเงินรวมดี บ่อยครั้งที่บริษัทมหาชนต้องการให้แต่ละหน่วยธุรกิจบริหารจัดการตัวอย่างแบบ เป็นเอกเทศ จึงทำให้ต้องมีโครงสร้างเป็นบริษัทร่วมและบริษัทย่อย แต่ ในมุมของผู้ถือหุ้นแล้ว ไม่ว่าจะซอยยังไงก็เป็นสมบัติของผู้ถือหุ้นเหมือนกัน การที่ต้องจัดทำงบการเงินรวมก็เป็นวิธีการทางบัญชีที่จะช่วยทำให้กลุ่ม ธุรกิจดูเหมือนเป็นก้อนเดียวกัน โดยปกติแล้ว ผมจึงดูแต่งบการเงินรวมเป็นหลัก มีบางกรณีเหมือนกันที่เราควรจะดูงบการเงินเฉพาะของบริษัทมากกว่างบการเงินรวม แต่เป็นกรณีที่น้อยมากครับ ไม่อยากขยายความให้ชวนปวดหัว

เอาแค่นี้ก่อนนะครับสำหรับการ overview เอาไว้ตอนหน้าจะมาลงรายละเอียดทีละงบว่า เราควรดูอะไรในงบเหล่านั้นบ้าง

Friday, 29 October 2010

งบการเงินสำหรับนักลงทุน (1/5) : overview

นรินทร์  โอฬารกิจอนันต์

.
งบการเงินสำหรับนักลงทุน (2/5) : งบกำไรขาดทุน
.
Friday, 5 November 2010
.
ในฐานะ growth investor ถ้าผมเปิดงบกำไรขาดทุนขึ้นมาดู สิ่งแรกที่ผมมักจะดูก่อนเสมอคือการเติบโตของรายได้ครับ บริษัทที่ปกติดีควรมีรายได้เพิ่มขึ้นเสมอเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน จะเพิ่มมากหรือน้อยก็แล้วแต่ แต่ไม่ควรจะลดลงอย่างยิ่ง ที่ต้องเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน แทนที่จะเทียบกับงวดที่แล้ว ก็เพราะธุรกิจมักมีเรื่องของฤดูกาลเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงควรเทียบผลงานในช่วงเดียวกันของทุกปี และผมมักจะสนใจเฉพาะการเติบโตของรายได้ที่มาจากธุรกิจหลัก ไม่ใช่รายได้รวม เพราะรายได้อื่นๆ เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนและมักไม่ใช่แก่นของธุรกิจของบริษัท จึงไม่ควรนำมาเกี่ยวข้องเวลาประเมินสภาวะของกิจการ
.
ที่จริงผมให้ความสำคัญกับการเติบโตของรายได้หลักมากกว่ากำไรเสียอีก เพราะการทำธุรกิจนั้นกำไรย่อมต้องมีความผันผวนบ้างเป็นเรื่องธรรมดาของการทำ ธุรกิจที่ต้องมีความไม่แน่นอน บริษัทที่กำไรเพิ่มขึ้นได้อย่างสม่ำเสมอเป็นเส้นตรง คงมีแต่บริษัทที่แต่งบัญชีเองเท่านั้น ดังนั้น ถ้ากำไรของบริษัทลดลงบ้างในบางช่วง ผมไม่ถือว่าคอขาดบาดตาย และไม่มีความจำเป็นต้องรีบขายหุ้นหนี ซึ่งจะต่างกับคนที่เล่นหุ้นระยะสั้นด้วยวิธีการเก็ง EPS เป็นรายไตรมาส กลุ่มนี้ถ้าเขารู้ว่า EPS ไตรมาสหน้ากำลังจะลดลง ปกติเขาจะรีบหนีทันที แต่สำหรับผม ถ้ารายได้ยังเติบโตได้อยู่ สุดท้ายแล้วกำไรก็จะกลับมาสร้างจุดสูงสุดใหม่ได้อีก
.
แต่ถ้าหากรายได้ลดลงนั้น น่าเป็นห่วงมากกว่า เพราะปกติแล้วถ้าธุรกิจแย่ลงชั่วคราว บริษัทมักเลือกที่จะรักษารายได้เอาไว้ แล้วยอมลดกำไรลง มากกว่าที่จะปล่อยให้รายได้ลดลง เพราะถ้าโวลู่มขายลดลง ต้นทุนต่อหน่วยมักจะเพิ่มขึ้น ทำให้บริษัทแข่งขันไม่ได้ด้วย รักษาโวลุ่มไว้ก่อนดีกว่า ดังนั้น ถ้าหากรายได้ถึงขั้นลดลง แสดงว่าปัญหาของบริษัทน่าจะไม่ธรรมดา ธุรกิจอาจจะกำลังหมดยุค หรือบริษัทกำลังเสียความสามารถในการแข่งขันไปอย่างถาวร
.
เว้นแต่พวกที่ขายสินค้าคอมโมฯ ที่ราคาตลาดผันผวนสูงๆ เช่น ถ่านหิน โรงกลั่น ฯลฯ พวกนี้บางทีราคาตลาดผันผวนแรงมากๆ ก็อาจทำให้รายได้ลดลงได้โดยที่ปริมาณการขายไม่ได้ลด ดังนั้น ถ้าหากบริษัทเหล่านี้มีรายได้ลดลง ควรรีบตรวจสอบดูว่า ปริมาณการขายลดลงด้วยหรือไม่
.
ถัดจากการเติบโตของรายได้ ผมจะตรวจสอบดูว่า Gross Margin ของบริษัทเปลี่ยนไปอย่างไร Gross Margin ก็คือ (รายได้-ต้นทุนขาย) หารด้วย รายได้ หรืออาจจะตรวจดูว่าต้นทุนขายเพิ่มขึ้นมากกว่าหรือน้อยกว่ารายได้ที่เพิ่ม ขึ้นก็ได้ (ความหมายจะเหมือนกัน) ถ้า Gross Margin ไม่ต่ำลง แสดงว่า ไม่มีอะไรผิดปกติ ถ้าหากต่ำลง แสดงว่า ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น หรือมิฉะนั้น อาจเกิดจากบริษัทยอม dump ราคาลงมา เพื่อดึงยอดขายเอาไว้ ก็ได้
.
นอกจากนี้ ถ้าอยู่ดีๆ Gross Margin ของบริษัทเพิ่มขึ้น อาจเป็นสัญญาณที่แสดงว่าพื้นฐานของบริษัทกำลังจะดีขึ้นได้ด้วย เช่น ตลาดอยู่ในช่วงเติบโตสูง หรือสินค้าใหม่ของบริษัทอาจสร้างความแตกต่างได้มากกว่าเดิมทำให้บริษัทมี market power มากขึ้น สามารถ command pricing ได้มากกว่าเดิม มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ ครับว่า หุ้นที่กำลังจะทะยาน Gross Margin มักกระตุ้นขึ้นให้เห็นก่อน
.
ถัดจาก Gross Margin ผมจะดู Operating Margin ซึ่งได้แก่ EBIT หารด้วย รายได้ ครับ ถ้า Operating Margin ดีขึ้น แสดงว่าบริษัทอาจบริหารจัดการได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรืออาจเป็นรายได้สูงขึ้น ทำให้ค่าโสหุ้ยต่อหน่วยลดลง ซึ่งเป็นเรื่องดีทั้งนั้น
.
สังเกตว่าผมจะสนใจ Operating Margin มากกว่า Net Profit Margin เพราะ Net Income นั้นนับรวมภาษีและดอกเบี้ยด้วย ทั้ง สองรายการนี้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างทางการเงินของบริษัทและการบริหารภาษี ฉะนั้นจึงไม่ค่อยเกี่ยวกับพื้นฐานของธุรกิจที่เปลี่ยนไปเท่าไร ทำให้เมื่อนำมารวมแล้ว อาจให้ภาพที่บิดเบื่อนเกี่ยวกับพื้นฐานของบริษัทได้ครับ วัดกันแฟร์ๆ เฉพาะรายการที่เกี่ยวกับ operation ไปเลยแมนกว่าครับ
.
อีกเรื่องที่ต้องระวัง คือ เราไม่สามารถสรุปได้ว่าธุรกิจไหนดีด้วยการดูว่า Margin สูงหรือต่ำ เพราะขึ้นอยู่กับ economic ของแต่ละธุรกิจด้วย อย่างธุรกิจค้าปลีกนั้นมี Net Margin แค่ 3% เท่านั้น แต่อาจเป็นธุรกิจที่ดีกว่าธุรกิจผลิตเครื่องสำอางค์ที่มี Net Margin 10% เพราะว่า Turnover มันสูงกว่ากันมาก ในการเปรียบเทียบ Margin ข้ามบริษัทนั้น เราเปรียบเทียบได้แค่กับบริษัทอื่นที่ทำธุรกิจที่เหมือนกันเปี๊ยบ หาก Margin สูงกว่าก็แสดงว่า บริษัทมีความสามารถในการแข่งขันมากกว่าคู่แข่ง แต่ปกติแล้ว แม้แต่ธุรกิจแบบเดียวกัน ก็ยังไม่เหมือนกันเปี๊ยบเลย อย่างเช่น บริษัทบ้านบางบริษัทเน้นทำบ้านหรู บางบริษัทเน้นทำบ้านตลาดล่าง การที่บริษัทเน้นทำบ้านหรูมี Margin สูงกว่าอาจไม่ได้แปลว่าดีกว่าเสมอไป เพราะเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วที่บ้านหรูควรจะมีมาร์จิ้นสูงกว่าบ้านตลาดล่าง การเปรียบเทียบ Margin ข้ามบริษัทจึงเป็นสิ่งที่ควรระวัง แค่เปรียบเทียบกับตัวเองในอดีตน่าจะดีกว่า
.
####
.
งบการเงินสำหรับนักลงทุน (3/5) : งบดุล
.
Wednesday, 10 November 2010
.
งบดุลคือบัญชีแสดง “ฐานะทางการเงิน” ของบริษัท กล่าวคือ สมมติว่าหยุดกิจกรรมทั้งหมดเอาไว้ชั่วคราว ณ วันปิดบัญชี บริษัทเป็นเจ้าของสินทรัพย์อะไรบ้าง มีหนี้สินอยู่เท่าไร ส่วนต่างระหว่างสินทรัพย์กับหนี้สินทั้งหมดของบริษัทนั้นเรียกว่า ส่วนของเจ้าของ ซึ่งหมายถึงส่วนของสินทรัพย์ที่ผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าของจริงๆ ถ้าหากหักหนี้ออกหมดแล้ว ตามสมการ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ
.
ในการตรวจสอบงบดุลตามปกติ ผมมักจะเริ่มต้นด้วยการตรวจดูลูกหนี้การค้าก่อน ลูกหนี้การค้าควรเพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนในสัดส่วนที่น้อยกว่าหรือ เท่ากับรายได้ที่โตขึ้น เพราะถ้าเพิ่มขึ้นมากกว่า อาจเป็นสัญญาณที่แสดงว่า บริษัทเร่งยอดขายด้วยการปล่อยเครดิตให้แก่ลูกค้ามากขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ ลูกค้าอยากซื้อ ซึ่งเป็นการเร่งยอดขายในระยะสั้น ที่อาจนำมาซึ่งปัญหาหนี้เสียในระยะยาวได้ ถ้าหากเห็นว่าไม่ปกติให้เปิดไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหมายเหตุประกอบงบการ เงินเพื่อดูว่าจำนวนลูกหนี้การค้าแบ่งแยกตามระยะเวลาค้างจ่ายทอดยาวออกไปมาก ขึ้นหรือไม่ มีลูกหนี้การค้าที่สงสัยว่าจะเก็บเงินไม่ได้มากน้อยแค่ไหน ถ้ามี บริษัทได้มี่การตั้งสำรองไว้แล้วเพียงพอหรือไม่ ลูกหนี้การค้าเป็นรายการที่สำคัญมากในธุรกิจประเภทซื้อมาขายไป บ่อยครั้งที่บริษัทเหล่านี้ทำยอดขายให้ดูดีด้วยการผ่อนคลายเรื่องเครดิต แต่สุดท้ายแล้วรายได้ที่เพิ่มขึ้นนั้นตามเก็บเงินไม่ได้ กลายเป็นหนี้เสีย
.
ถัดจากลูกหนี้การค้าก็คือ สินค้าคงคลัง ที่ ควรเพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีที่แล้วในสัดส่วนที่น้อยกว่าหรือเท่ากับต้น ทุนขาย (การค้าใหญ่ขึ้นก็ต้องสต๊อกสินค้ามากขึ้นได้แต่ควรจะไม่มากกว่า)
.
การทำบัญชีสินค้าคงคลังนั้น หลักบัญชียอมให้บริษัทเลือกวิธีลงบัญชีได้หลายแบบ (LIFO, LIFO, average cost) เพื่อให้สะท้อนความเป็นจริงได้มากที่สุด แต่ในทางตรงกันข้ามก็เป็นช่องโหว่ที่บริษัทอาจใช้เพื่อบริหารงบให้ดูดีได้ ด้วย ถ้าหากเป็นธุรกิจที่ขายสินค้าที่ราคาเปลี่ยนแปลงเร็ว เช่น สินค้าไอที หรือราคาเปลี่ยนแปลงช้า แต่สินค้ามักสต็อกไว้นานกว่าจะขายออกไปจนทำให้ราคาทุนต่างกับราคาปัจจุบัน มากๆ อย่างเช่น ที่ดิน วิธีตัดสินค้าคงคลังเวลาเกิดยอดขายที่แตกต่างกันนั้นจะทำให้ต้นทุนขายแตก ต่างกันได้อย่างมาก ยิ่งถ้ามีการปรับเปลี่ยนวิธีระหว่างงวด หรือมี LIFO Liquation ตัวเลขต้นทุนขายในงวดนั้นอาจสื่ออะไรไม่ได้เลย ตัว เลขกำไรของธุรกิจที่ขายสินค้าที่มีราคาต้นทุนเปลี่ยนแปลงได้บ่อยจึงใช้วัด อะไรได้น้อยเหมื่อนกัน การเปรียบเทียบผลงานระหว่างคู่แข่งยิ่งต้องระวังเข้าไปใหญ่ เพราะไม่รู้ว่าวิธีการตัดจ่ายสินค้าคงคลังของสองบริษัทต่างกันมากแค่ไหน
.
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนของบริษัทที่สำคัญได้แก่ เครื่องจักร อาคารและที่ดิน สินทรัพย์เหล่านี้ส่วนใหญ่จะลงบัญชีที่ราคาทุนและตัดจ่ายค่าเสื่อมไปเรื่อยๆ ระยะเวลา (ถ้ามี) ซึ่งอาจไม่ได้สื่อความหมายอะไรมากนัก เพราะมูลค่าตลาดที่แท้จริงของสินทรัพย์เหล่านี้มักต่างกับมูลค่าทางบัญชีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นสินทรัพย์ที่ซื้อมานานแล้ว โดยมากแล้วผมไม่ได้สนใจรายการเหล่านี้มากนักครับ
.
ลองตรวจดูว่าบริษัทมีสินทรัพย์อื่นๆอะไรบ้าง กิจการที่ดีไม่ควรจะมีสินทรัพย์อื่นๆมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากไม่ได้แจงไว้ด้วยว่าสินทรัพย์เหล่านั้นคืออะไร เพราะสินทรัพย์อื่นๆ คือบรรทัดที่บริษัทสามารถซุก non-productive assets ทั้งหลายเอาไว้ รวมทั้งพวกรายการสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เช่น เงินกู้กรรมการบริษัท/ผู้ถือหุ้นใหญ่บางคน รายการทำนองนี้ไม่ควรจะมีเลยเพราะอาจบ่งชี้ถึงความไม่โปร่งใส ธรรมภิบาลที่ไม่ดี และการมี conflict of interest ของบริษัทมหาชน อย่างไรก็ตาม ถ้าหากรายการเหล่านี้มีมูลค่าน้อยกว่า 5% ของสินทรัพย์ทั้งหมด ก็พอจะยอมรับได้ แต่ถ้ามากกว่านั้นก็อาจเป็นเรื่องที่เราต้องกังวล
.
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญเวลาดูงบดุลก็คือ การตรวจสอบความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัท เวลามองเรื่องหนี้นั้นเรามักสนใจแค่ว่าบริษัทมีหนี้มากหนี้น้อยเมื่อเทียบกับทุน แต่ที่จริงแล้วเรื่องที่สำคัญกว่านั้นมากคือ เรื่องสภาพคล่อง บริษัทจะมีหนี้มากหรือน้อยแต่ถ้าขาดสภาพคล่องที่จะจ่ายหนี้ในระยะอันใกล้ก็ น่ากลัวเท่ากัน ลองดูว่าบริษัทมีเงินสดมากเท่าไรเมื่อเทียบกับดอกเบี้ยที่จ่ายอยู่ในแต่ละปี รวมทั้งเงินต้นส่วนที่มีกำหนดจะต้องชำระคืนภายในไม่เกินหนึ่งปีข้างหน้า ซึ่งบริษัทจะต้องแยกไว้ให้เห็นในงบดุล ถ้าหากบริษั่ทมีเงินสดน้อยเมื่อเทียบกับภาระหนี้ในระยะสั้น บริษัทอาจหวังใช้ลูกหนี้การค้าที่กำลังจะถูกเปลี่ยนเป็นเงินในอนาคตในการ ชำระหนี้ก็ได้ (หมุนเงินเอา) ลองเปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างภาระหนี้ในระยะสั้นกับสินทรัพย์หมุนเวียนเหล่า นี้ดูก็แล้วกัน เรื่องพวกนี้เอาไว้ผมจะพูดถึงอีกทีตอนที่พูดถึงเรื่อง ratio analysis ก็แล้วกันครับ
.
สุดท้ายควรเช็คดูในหมายเหตุประกอบงบการเงินว่า บริษัทมีหนี้สินที่อยู่นอกงบดุลอื่นๆ ด้วยหรือไม่ ที่สำคัญได้แก่ ความเสี่ยงที่จะโดนฟ้องร้องในอนาคต สัญญาที่มีภาระผูกผันทางการเงินต่างๆ และพวก lease obligation ทั้งหลาย สิ่งเหล่านี้ที่จริงแล้วถือเป็นส่วนหนึ่งของหนี้สินของบริษัทด้วย แต่ไม่ได้รวมไว้ในงบดุลตามหลักบัญชี ซึ่งเราก็ไม่ควรจะมองข้าม อีก เรื่องหนึ่งที่ผมชอบตรวจดูในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วยคือ บริษัทยังมีวงเงินเหลืออยู่กับสถาบันการเงินอีกเท่าไรที่ยังไม่ได้กู้จริง ตรงนี้ถือว่าเป็น buffer ที่สำคัญอย่างหนึ่งของธุรกิจ บริษัทที่ทำธุรกิจด้วยกู้จนเต็มวงเงินตลอดเวลาย่อมแสดงถือวัฒนธรรมการบริหาร งานที่ค่อนข้าง aggressive เกินไป เวลาเกิด market shock มักกระทบรุนแรง อีกทั้งเวลาเจอโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจก็อาจไม่สามารถ take opportunity ได้ทันท่วงที เพราะไม่มีสภาพคล่องส่วนเกินที่จะนำมาใช้ลงทุนได้ทันทีครับ.
.
####
.
งบการเงินสำหรับนักลงทุน (4/5) : งบกระแสเงินสด
.
Tuesday, 16 November 2010
.
งบกระแสเงินสดเป็นบัญชีที่แสดงการไหลเข้าออกของเงินสดที่เกิดขึ้นสะสมในกิจการระหว่างรอบบัญชีนั้น ในทางบัญชีเราแบ่งกระแสเงินสดออกเป็นสามจำพวกคือ กระแสเงินสดที่เกี่ยวกับการดำเนินงาน กระแสเงินสดที่เกี่ยวกับการลงทุน และกระแสเงินสดด้านการเงิน โดยที่เมื่อนำกระแสเงินสดทั้งสามจำพวกมารวมกัน จะต้องเท่ากับเงินสดที่เปลี่ยนแปลงไปในรอบบัญชีนั้นพอดี เพราะกระแสเงินสดมีแค่สามอย่าง ถ้านำมาบวกกันก็ต้องเท่ากับเงินสดที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในบริษัทระหว่างงวด นั้นนั่นเอง
.
ในงบกระแสเงินสด จะแสดงกระแสเงินสดทั้งสามประเภทให้ดูทีละประเภท ถ้าลองนำกระแสเงินสดทั้งสามประเภทมาบวกกันจะพบว่าต้องเท่ากับผลต่างระหว่าง เงินสดตอนปลายงวดกับต้นงวดที่โชว์อยู่ในงบดุลของบริษัทนั้นพอดีด้วย
.
ในหมวดกระแสเงินสดเกี่ยวกับการดำเนินงานนั้น จะดูแล้วงงๆนิดหน่อย เพราะปกติแล้วการทำบัญชีเพื่อโชว์กระแสเงินสดรับหรือจ่ายของกิจกรรมที่ เกี่ยวกับการดำเนินงานให้ดูเป็นอย่างๆ (เช่น เงินสดรับจ่ายจากลูกค้า เงินสดรับจ่ายจากซัพพลายเออร์) นั้นค่อนข้างจะยุ่งยาก หลักบัญชีจึงยอมให้บริษัทแสดงกระแสเงินสดเกี่ยวกับการดำเนินงานทางอ้อม (INDIRECT METHOD) โดยเริ่มต้นจากกำไรสุทธิ แล้ว reconcile กลับด้วยรายการที่ไม่เกี่ยวกับเงินสดต่างๆ จนกระทั้งกลายเป็นกระแสเงินสดเกี่ยวกับดำเนินงาน
.
คนที่ไม่ใช่นักบัญชีเวลาอ่านรายการในกระแสเงินสดเกี่ยว กับการดำเนินงานแล้วพยายามจะนึกภาพตาม ว่าจริงๆแล้วแต่ละบรรทัดมันเกิดขึ้นอย่างไรเลยมักจะงง เพราะจริงๆแล้ว รายการพวกนี้เป็นเพียงแค่ item ที่มา reconcile ทางบัญชีให้กำไรสุทธิถอยกลับมาเป็นกระแสเงินสดเท่านั้น สรุป ก็คือ เห็นแล้วก็ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก เหลือบไปดูบรรทัดสุดท้ายที่เขียนว่า เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน เลยดีกว่า ตัวนี้เป็นเสมือนตัวเลขที่บอกว่า ธุรกิจนี้ผลิตเงินสดไปได้เท่าไรตลอดรอบบัญชีนั้น ซึ่งควรจะเป็นบวก (ถ้าเป็นลบแสดงว่ายิ่งขยันยิ่งขาดทุน) และจะให้ดีควรมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงจากงวดที่แล้วไปในทิศทางเดียวกันกับกำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุนของบริษัทด้วย ถ้าหากกำไรวิ่งไปทาง กระแสเงินสดวิ่งไปอีกทาง อาจเป็นไปได้ว่าบริษัทอาจกำลังสร้างภาพอะไรบางอย่างอยู่รึเปล่า
.
บางบริษัทชอบ capitalize ค่าใช้จ่ายต่างๆเอาไว้ในงบดุล แทนที่จะตัดจ่ายออกมาเพื่อทำให้กำไรที่โชว์ออกมาดูสูง (ค่าใช้จ่ายน้อย) เช่น พวกค่าสิทธิ์ต่างๆ ค่าพัฒนาซอฟต์แวร์ ค่าซื้อกิจการ หรือแม้แต่ค่าโฆษณา บริษัทชอบอ้างว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเหล่านี้ที่มี future benefit เลยขอตั้งเป็นสินทรัพย์เอาไว้ก่อนแล้วค่อยทยอยตัดจ่ายออกมาทีหลัง เพื่อให้กำไรในระยะสั้นดูดี พอนานๆไป ก็ค่อยตัดด้อยค่าเป็นรายการใหญ่ๆออกมา แล้วบอกว่านักลงทุนไม่ต้องไปสนใจ เพราะเป็นรายการพิเศษเกิดขึ้นครั้งเดียว แต่ทำเช่นนี้อยู่เนื่องๆ ทำให้กำไรในยามปกติดูสูงกว่าที่ควรจะเป็น ถ้าหากเราดูแต่งบกำไรขาดทุนอย่างเดียว ไม่ตรวจกระแสเงินสดด้วยว่าไปในทิศทางเดียวกันหรือเปล่า ก็จะถูกบริษัทตบตาด้วยวิธีการแบบนี้ได้
.
กระแสเงินสดกลุ่มถัดมาคือ กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน อันนี้หมายถึง บริษัทได้จ่ายเงินออกไปเพื่อสร้างอนาคตอะไรบ้างระหว่างงวด เช่น ลงทุนซื้อที่ดิน เครื่องจักร อาคาร หรือกิจการต่างๆ กระแสเงินสดในกลุ่มนี้เราแยกออกมาจากกระแสเงินสดเกี่ยวกับการดำเนินงาน เพราะเป็นรายการที่จ่ายไปเพื่ออนาคต รายได้ยังไม่ได้เข้ามาจริงในงวดปัจจุบัน ถ้านำมารวมกันจะทำให้ดูเหมือนธุรกิจมีรายจ่ายสูงเกินจริง เพราะที่จริงแล้วพวกนี้เป็นรายจ่ายเพื่อสร้างอนาคต โดยปกติแล้วเงินสดสุทธิในกิจกรรมการลงทุนมักเป็นเลขติดลบ เพราะเป็นการจ่ายเงินออกไปเพื่อลงทุนซื้อสิ่งของต่างๆ
.
กลุ่มสุดท้ายในงบกระแสเงินสดคือ กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน ได้แก่ รายรับรายจ่ายทั้งหลายที่เกี่ยวกับเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นของบริษัท เช่น เงินกู้รับ เงินจ่ายคืนหนี้ เงินปันผล เงินเพิ่มทุนรับ เป็นต้น รายการเหล่านี้ถูกแยกออกมาอีกหมวดหนึ่งต่างหากก็เพราะไม่ได้เกิดจากการทำ ธุรกิจ บางบริษัทอาจมีกระแสเงินสดดีเยี่ยม เพราะว่ากู้แหลก หรือเจ้าของรวยใส่เงินอุดตัวแดงเข้ามาเรื่อยๆ แต่ที่จริงแล้วตัวธุรกิจเองขาดทุนย่อยยับไม่ทำเงิน
.
โดยมากแล้วเวลาดูงบกระแสเงินสด ผมก็เพียงแต่ดูกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานว่าเป็นบวกและไปในทิศทางเดียว กันกับกำไรสุทธิในวบกำไรขาดทุนหรือไม่ บางคนบอกว่า กระแสเงินสดดำเนินงานบวกกระแสเงินสดลงทุนจะต้องเป็นบวกด้วย แต่สำหรับผมคิดว่าไม่จำเป็น เพราะถ้าหากธุรกิจมีโอกาสในการเติบโตสูง บริษัทอาจลงทุนมากกว่ากระแสเงินสดที่ผลิตได้เอง ทำให้กระแสเงินสดติดลบ (ต้องอาศัยกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินช่วย) แต่ไม่น่าห่วง เพราะเป็นการลงทุนเพิ่มการเติบโตในอนาคต (รายได้ของบริษัทควรเติบโตสูงด้วยจึงจะน่าเชื่อถือ) เว้นแต่ว่า เราไม่เชื่อว่าธุรกิจนี้จะเติบโตได้อีกและควรที่จะจ่ายเงินสดออกมาตอบแทนผู้ ถือหุ้น (ปันผล) มากกว่าที่จะนำเงินกลับไปลงทุนเพิ่มในธุรกิจอีก
.
ตัวเลขอีกตัวหนึ่งที่มีประโยชน์กับเราในงบกระแสเงินสดคือ “ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจ่าย” เพราะเป็นตัวเลขที่ทำให้เรารู้ว่า ในรอบบัญชีนั้นบริษัทได้ตัดจ่ายค่าเสื่อมไปเป็นค่าใช้จ่ายเท่าไร ส่วนใหญ่แล้วตัวเลขนี้มักอยู่ในบรรทัดต่อจากกำไรสุทธิในกลุ่มกระแสเงินสด ดำเนินงาน ถ้าเราเอา EBIT ในงบกำไรขาดทุนมาบวกกลับด้วยตัวเลขนี้จะได้เป็นสิ่งที่เรียกว่า EBITDA ซึ่งนักวิเคราะห์นิยมนำมาใช้เป็นตัวแทนของ “กำไรที่เป็นเงินสด” ของบริษัท บางคนนิยมมอง EBITDA มากกว่า EBIT เพราะค่าเสื่อมเป็นอะไรที่เกี่ยวกับนโยบายทางบัญชีมาก อาจเป็นช่องโหว่ของการตบตานักลงทุนได้ ทำให้ได้ภาพที่ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับผลประกอบการในงวดปัจจุบัน การเอาค่าเสื่อมออกไปแล้วดูเฉพาะ EBITDA แทนอาจได้ภาพที่ดูสะอาดกว่า บางคนเรียก EBITDA ว่า Earnings before I tricked dumb analysts (แต่จริงๆ EBITDA ก็มีข้อเสียในแง่อื่นด้วย ดูประกอบไปทั้งสองอย่างนั้นแหละชัวร์กว่า)
.
นี่อาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งด้วยที่ทำให้ผมสนใจ ตัวเลขรายได้ในงบการเงินมากกว่าตัวเลขอื่นเพราะมันเป็นตัวเลขในบรรทัดเริ่ม ต้น (topline) ที่ยังไม่ได้ผ่านการถูกบิดเบือนโดยนโยบายบัญชีมากนัก ยิ่ง ตัวเลขที่อยู่ต่ำลงมาในงบการเงินเท่าไรมันก็ยิ่งถูกบิดเบือนได้ง่ายด้วย นโยบายทางบัญชีต่างๆ กำไรสุทธิที่เราสนใจกันมากที่สุดนั้นอยู่ในบรรทัดสุดท้าย (bottom line) ของงบการเงินเลย จึงไม่รู้ว่าตลอดทางที่ผ่านมาในแต่ละบรรทัดมันถูกบิดเบือนโดยตัวเลขในบรรทัด บนๆ ไปมากขนาดไหนแล้ว
.
####
.
งบการเงินสำหรับนักลงทุน (5/5) : ratio analysis
.
Thursday, 25 November 2010
.
วิธีตรวจงบการเงินที่ง่ายที่สุดคือ การวัดอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ หรือที่เรียกว่า Ratio Analysis อัตราส่วนทางการเงินนั้นมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายตัวมาก เราอาจตรวจดูอัตราส่วนหลายๆตัวพร้อมกัน เพื่อเป็นการตรวจสุขภาพโดยทั่วไปของบริษัทก็ได้ ต่อไปนี้เป็นอัตราส่วนสำคัญ 6 ตัว ที่ผมแนะนำให้ลองตรวจสอบดูก็จะได้ภาพของธุรกิจที่ครอบคลุมพอสมควร
.
1. Quick Ratio = (เงินสดและเทียบเท่า + ลูกหนี้การค้า + ตราสารการเงินระยะสั้น) / หนี้สินหมุนเวียน
.
Quick Ratio ใช้เช็ค “สภาพคล่อง” ของบริษัท โดยลองสมมติว่าถ้าเจ้าหนี้ระยะสั้น (หนี้สินหมุนเวียน) ทั้งหมดมาทวงหนี้พร้อมกัน บริษัทจะยังสามารถหมุนเงินสด (จากสินทรัพย์หมุนเวียนที่หมุนได้เร็ว) มาใช้คืนได้หรือไม่ โดยสามัญสำนึก Quick Ratio ก็ควรมากกว่า 1.0 และยิ่งมากก็ยิ่งดี ที่จริงแล้วมีอัตราส่วนอีกตัวที่คล้ายกันชื่อ Current Ratio ซึ่งนับรวมสินทรัพย์หมุนเวียนทั้งหมดของบริษัทว่าเป็นสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว แต่ ผมไม่ชอบ เพราะไม่รู้ว่าสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ คืออะไรบ้าง และเวลาบริษัทขาดสภาพคล่องส่วนใหญ่แล้วสินค้าคงคลังมักจะหมุนไม่ค่อยออก เลยชอบดู Quick Ratio มากกว่าครับ
.
2. Return on Assets (ROA)EBIT * (1-Taxrate) / สินทรัพย์เฉลี่ย
.
สินทรัพย์เฉลี่ย ROA ใช้วัดผลตอบแทนของธุรกิจ เพราะวัดกำไร(EBIT)ที่ทำได้ เทียบกับเงินทุนที่จมอยู่ในสินทรัพย์ทั้งหลายของกิจการ (ต้อง เฉลี่ยต้นปีกับท้ายปีเอา เพราะว่าไม่เท่ากัน) โปรดสังเกตว่า ผลตอบแทนของธุรกิจที่แท้จริงนั้นต้องวัดเทียบกับสินทรัพย์มิใช่รายได้ เพราะสุดท้ายแล้ว ต้นทุนจริงๆของผู้ถือหุ้นคือเงินทุนที่จมอยู่ในรูปของสินทรัพย์ของบริษัทแทน ที่จะเอาเงินนั้นไปหาผลตอบแทนอย่างอื่น บางคนใช้ Net Income แทนกำไร แต่ผมคิดว่าควรใช้ EBIT มากกว่า เพราะสินทรัพย์เป็นของเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นรวมกัน แต่ Net Income เป็นผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นเท่านั้น เพราะหักดอกเบี้ยออกไปแล้ว ส่วนเหตุที่ต้องคูณด้วย 1-TaxRate เป็นเพราะ EBIT นั้นยังไม่ได้หักภาษีซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทออก มีอัตราส่วนอีกตัวหนึ่งที่คล้ายกันคือ ROE ซึ่งวัดผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นอย่างเดียว แต่ ผมเห็นว่า ROA นั้นดีกว่า ROE เพราะธุรกิจอย่างเดียวกัน อาจมี ROE ต่างกันได้ด้วยการกู้เงิน ถ้าอยากวัดศักยภาพของธุรกิจจริงๆ โดยไม่เกี่ยวกับการกู้เงิน ต้องดูกันที่ ROA ธุรกิจทั่วไปควรมี ROA อย่างน้อย 10% เฉลี่ยในระยะยาว ยกเว้นพวกสถาบันการเงินซึ่งไม่มีทางทำ ROA สูงเท่ากับ Real Sector ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ดี
.
3. Debt to equity Ratio(หนี้สิน) / ส่วนของทุน
.
ส่วนของทุน D/E ratio คือ อัตราส่วนมาตรฐานที่ใช้ตรวจดู Leverage ของบริษัท หมายความว่า บริษัทใช้หนี้มากขนาดไหนในการเร่งผลตอบแทน เพราะบริษัทสองบริษัทที่ทำผลตอบแทนทางธุรกิจได้เท่ากัน บริษัทที่มีหนี้มากกว่าจะทำผลตอบแทนกลับสู่ผู้ถือหุ้นได้สูงกว่า (ROE มากกว่า) เนื่องจากใช้เงินทุนของผู้ถือหุ้นน้อย แล้วอาศัยการกู้เงินมาทุนแทน การที่บริษัทมี D/E ratio ที่สูงเกินไป จึงแสดงถึงความเสี่ยงที่ซ่อนอยู่ในผลตอบแทนที่มากกว่า เพราะถ้าธุรกิจสะดุด บริษัทที่มีหนี้มากกว่าย่อมเดือดร้อนมากกว่า อย่างไรก็ตาม การที่บริษัทไม่มีหนี้เลยไม่ได้แปลว่าเป็นสิ่งที่ดีเสมอไป บริษัทที่มีธุรกิจมั่นคงในระดับหนึ่งแล้ว และมีสินทรัพย์ถาวรที่สามารถใช้ค้ำประกันหนี้ได้ การมีหนี้น้อยเกินไปเท่ากับเป็นการละทิ้งโอกาสที่จะประหยัดภาษี เพราะหนี้เป็น Tax-shield อย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นการมีหนี้บ้างไม่ใช่เรื่องเสียหาย อาจเป็นเรื่องที่ควรกระทำเสียด้วยซ้ำ แต่ที่เราต้องระวังคือการมีหนี้มากจนเกินไปจนทำให้ธุรกิจเกิดความเสี่ยงมากกว่าที่จะช่วยทำให้ประหยัดภาษี สำหรับธุรกิจทั่วไปควรมี D/E ไม่เกิน 1.0 ถ้าเป็นธุรกิจซื้อมาขายไปอาจมี D/E ได้ถึง 3.0 ยกเว้นพวกสถาบันการเงินที่จะต้องมี D/E ที่สูงกว่านั้นมากครับ
.
4. Interest Coverage Ratio(EBIT) / ดอกเบี้ยจ่าย
.
ดอกเบี้ยจ่าย Interest Coverage Ratio ใช้ประมาณความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งแหล่งเงินภายนอกบริษัท เพราะถ้าบริษัทมีภาระจ่ายดอกเบี้ยต่อปีน้อยกว่ากำไรที่ได้จากธุรกิจมากๆ บริษัทก็สามารถรับผิดชอบภาระดอกเบี้ยได้ด้วยผลกำไรจากธุรกิจเอง นับว่าเป็นความมั่นคงอย่างหนึ่งของธุรกิจในแง่ของสภาพคล่อง บริษัทที่มีค่านี้น้อยกว่า 2.0 แสดงว่าผลตอบแทนส่วนใหญ่ของธุรกิจตกอยู่ในมือเจ้าหนี้ แทนที่จะเป็นของผู้ถือหุ้น ซึ่งอาจแสดงถึงการกู้เงินที่มากเกินไปด้วย
.
5. Asset Turnover(รายได้) / สินทรัพย์
.
สินทรัพย์ Asset Turnover ใช้วัด “ประสิทธิภาพ” ของธุรกิจ เพราะวัดว่าภายใต้สินทรัพย์ที่มีอยู่จำนวนหนึ่ง บริษัทสามารถสร้างรายได้ได้มากแค่ไหน ยิ่งสร้างรายได้ได้มากแสดงว่าสินทรัพย์ของบริษัทถูกนำไปใช้อย่างคุ้มค่า เพราะนำไปหมุนให้เปลี่ยนเป็นเงินได้เร็ว บางบริษัทขายของกำไรน้อยมาก แต่สินค้าหมุนเวียนเร็ว ก็สามารถสร้างผลตอบแทนทางธุรกิจที่สูงกว่าได้เหมือนกัน Asset Turnover จึงเป็นตัวเลขที่ไม่ควรมองข้าม ครั้ง หนึ่งผมเคยเปรียบเทียบมาร์จิ้นของบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันแล้วเห็นว่า เหมือนๆกันหมด แต่พอลองดู Asset Turnover ก็เห็นว่าแตกต่างกันมาก ทำให้ผมเกิดความสนใจบริษัทที่มี Asset Turnover สูงกว่าเพื่อน เพราะแสดงว่าจริงๆ แล้วบริษัทนี้ใช้สินทรัพย์ได้มีประสิทธิภาพมากกว่า แต่เวลาดูมาร์จิ้นแล้วไม่เห็นความแตกต่างเป็นเพราะลูกค้าของอุตสาหกรรมนี้ ค่อนข้างมีการเปรียบเทียบราคาสูงมาก ทำให้ไม่มีบริษัทไหนสามารถเอากำไรเกินตลาดได้ แล้วในที่สุดก็ทำให้ผมได้ค้นพบหุ้นชั้นยอดในเวลาต่อมา ถ้าเราดูแต่มาร์จิ้นเราจะไม่พบความแตกต่างตรงนี้ครับ
.
6. Inventory Turnover(ต้นทุนสินค้าขาย) / สินค้าคงคลังเฉลี่ย
.
สินค้าคงคลังเฉลี่ย อันนี้เหมือน Asset Turnover แต่วัดกันที่การหมุนสินค้าคงคลังอย่างเดียวเลย เป็นการเช็คว่าสินค้าของบริษัทหมุนเวียนดีหรือไม่ มี dead stock ที่อาจเสื่อมค่าในอนาคตได้เยอะหรือไม่ เป็นตัวเลขที่สำคัญมากสำหรับธุรกิจที่ขายสินค้าที่แตกต่าง เพราะแม้ว่าสินค้าที่แตกต่างมักจะทำมาร์จิ้นได้สูง แต่ถ้ามีส่วนที่ขายไม่ออกเยอะมาก (ซึ่งปกติต้องมีส่วนหนึ่งอยู่แล้ว) ถึงเวลาต้องมาตัดขาดทุนทิ้ง ทำให้สรุปแล้วอาจทำกำไรได้น้อยหรือขาดทุนเลยก็ได้ ถ้าเอา 365 ตั้งหารด้วย Inventory Turnover จะได้อัตราส่วนใหม่ที่เรียกว่า Days Inventory Turnover มีหน่วยเป็น วัน ซึ่งหมายถึงระยะเวลาโดยประมาณที่สินค้าของบริษัทจะค้างอยู่ในคลังก่อนที่จะ ทำยอดขายให้บริษัทได้ ถ้ายิ่งมีค่าน้อยก็แสดงว่าสินค้าซื้อง่ายขายคล่อง ขายได้แบบแทบไม่ต้องขนขึ้นบ้านเลย เป็นต้น
.
งบการเงินสำหรับนักลงทุน
.
โดย นรินทร์  โอฬารกิจอนันต์

from http://is.gd/JEebUF


18 เมษายน 2554

กลยุทธ์ !ลงทุนให้เช่าที่พักอาศัยเหนือดบ.ฝาก


ผลตอบแทนการลงทุนให้เช่าที่พักอาศัยเหนือดอกเบี้ยเงินฝากเลือกอสังหาฯอย่างรอบคอบเพื่อผลตอบแทนสูงสุด เฉลี่ยปี53 อยู่ที่ระดับ6.1%

อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในธนาคารที่อยู่ในระดับต่ำในปัจจุบันเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความต้องการลงทุนในตลาดให้เช่าที่พักอาศัย ซึ่งเป็นตลาดที่นักลงทุนคาดหวังที่จะได้รับผลตอบแทนเป็นรายปี และคาดหวังว่ามูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อไว้จะเพิ่มขึ้นในอนาคต จากรายงานการศึกษาวิจัยของ ซีบี ริชาร์ด เอลลิส และจากธุรกรรมที่เกิดขึ้นจริงในการปล่อยเช่าที่พักอาศัย พบว่า อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยโดยรวมของการปล่อยเช่าคอนโดมิเนียมที่อยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯในปี 2553 อยู่ที่ระดับ 6.1% ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 2 % อยู่มาก

หัวใจสำคัญในการรักษาผลตอบแทนให้สม่ำเสมอ คือ การเลือกอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกต้อง และการมีความเข้าใจในความต้องการและงบประมาณของผู้เช่า สิ่งสำคัญที่จะต้องใช้ในการพิจารณาเลือกอสังหาริมทรัพย์เพื่อนำมาปล่อยเช่า ได้แก่ ทำเลที่ตั้ง การเลือกอาคาร และขนาดห้องที่ถูกต้องเหมาะสม

นางสาวพรพิมล พึ่งเขื่อนขันธ์ ผู้อำนวยการแผนกซื้อขายที่พักอาศัยของ ซีบี ริชาร์ด เออลิส ประเทศไทยกล่าว
ว่า ทำเลนับเป็นปัจจัยสำคัญอันดับหนึ่งสำหรับตลาดให้เช่าที่พักอาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับตลาดผู้เช่าชาวต่างชาติซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของคอนโดมิเนียมย่านใจกลางเมืองในกรุงเทพฯ จากการวิเคราะห์ธุรกรรมการเช่าที่พักอาศัยโดย ซีบี ริชาร์ด เอลลิส ในปี 2553 พบว่า ผู้เช่าชาวต่างชาติยังคงให้ความสำคัญกับการเลือกทำเลเป็นพิเศษ โครงการที่สามารถเดินทางไปยังสถานีขนส่งมวลชนต่าง ๆ และอยู่ใกล้สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้เช่า อาทิ ร้านอาหาร ศูนย์การค้า โรงเรียน และ โรงพยาบาลนั้นจะเป็นที่ต้องการมากกว่าโครงการอื่นๆ

จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า 50% ของการปล่อยเช่ากระจุกตัวอยู่ในย่านสุขุมวิท ช่วงระหว่างสุขุมวิทซอย 1 - 63 และสุขุมวิทซอย 2 - 42 ตามมาด้วยย่านสีลม/สาทร และย่านลุมพินี ทั้งนี้ โครงการที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้เช่าชาวต่างชาติ ได้แก่ พลาซ่า แอทธินี ในซอยร่วมฤดี พาร์ค ชิดลม และโดมัสในซอยสุขุมวิท 16 -18 โดยทั่วไป การขายต่อห้องชุดในโครงการที่สร้างเสร็จแล้วเหล่านี้จะมีน้อยกว่าโครงการทั่วไปเพราะมีโอกาสที่ดีในการปล่อยเช่า และผู้ลงทุนจำเป็นต้องอาศัยบริษัทที่เป็นตัวแทนเพื่อช่วยหาห้องชุดที่ยังมีการเสนอขาย

แม้ว่าราคาขายอาจจะแตกต่างกันอยู่มากตามทำเลที่ตั้งโครงการ ทว่า อัตราผลตอบแทนจากการปล่อยเช่าในย่านสุขุมวิท ลุมพินี และสีลม/สาทรนั้นไม่ได้แตกต่างกันมากนัก ราคาขายต่อตารางเมตรในย่านลุมพินีสูงกว่าในย่านสุขุมวิท แต่จากสถิติพบว่า ย่านลุมพินีเป็นย่านที่มีกลุ่มผู้เช่าชาวต่างชาติที่มีงบประมาณในการเช่าสูงสุด ตัวอย่างเช่น ราคาขายต่อคอนโดมิเนียมในโครงการพลาซ่า แอทธินีที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้สูงเกือบถึง 160,000 บาทต่อตารางเมตร ในขณะที่ราคาขายต่อคอนโดมิเนียมในย่านสุขุมวิทอยู่ระหว่าง 120,000 บาท - 130,000 บาท ต่อตารางเมตร

ห้องชุดขนาด1ห้องนอนผลตอบแทนสูงสุด7.2%

นอกจากนี้ การเลือกขนาดห้องชุดที่มีความเหมาะสมก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ห้องชุดขนาด 1 ห้องนอนให้ผลตอบแทนสูงสุดที่ 7.2% แต่อัตราการแข่งขันก็สูงมากที่สุด ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดแรงกดดันด้านผลตอบแทนที่ลดลง โดยความต้องการเช่าห้องชุดขนาดเล็กจะมาจากกลุ่มพนักงานบริษัทชาวไทย ซึ่งต่างจากความต้องการห้องชุดขนาดใหญ่ที่มี 2 - 3 ห้องนอนอยู่ในโครงการระดับไฮเอนด์และระดับหรู ซึ่งจะมาจากผู้เช่าชาวต่างชาติที่มีงบประมาณในการเช่าสูง แม้ว่าอัตราเฉลี่ยของผลตอบแทนจากห้องชุดขนาดใหญ่จะต่ำกว่าโดยอยู่ที่ระดับ 5.6% แต่อัตราการเข้าพักอาศัยกลับอยู่ในระดับที่ดีกว่า

อย่างไรก็ดี จากการที่มีห้องชุดขนาด 1 ห้องนอนที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างราว 11,000 ยูนิตในปัจจุบัน ผู้ลงทุนควรมีความระมัดระวังในการเลือกซื้อโครงการที่เสนอขายห้องชุดจำนวนมากที่มีรูปแบบเดียวกัน และจำเป็นต้องประเมินถึงความต้องการเช่าห้องชุดเหล่านั้นในตลาดก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ

อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญกว่าขนาดของห้องชุด คือ ประสิทธิภาพและประโยชน์ใช้สอยของผังห้องชุด ประกอบกับความน่าสนใจของทำเลที่ตั้ง ตัวอย่างเช่น ห้องชุดสไตล์โมเดิร์นขนาด 3 ห้องนอน พื้นที่ 150 ตารางเมตร ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สามารถปล่อยเช่าได้ในระดับราคาที่เทียบเท่ากับห้องชุดขนาด 3 ห้องนอนที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่าแต่ไม่ได้มีความน่าสนใจในแง่ของทำเลที่ตั้ง การวางผังห้อง การออกแบบ และการตกแต่งภายในห้อง

นอกเหนือจากการเลือกทำเลและขนาดห้องแล้ว การเลือกโครงการที่เหมาะสมถูกต้องก็มีส่วนสำคัญอย่างมากในการรักษาผลตอบแทนให้สม่ำเสมอ การเลือกอาคารที่เหมาะสมนั้นจะช่วยให้นักลงทุนมั่นใจได้ว่าจะได้รับผลตอบแทนสูงกว่า 5% เช่นเดียวกันกับมูลค่าที่เพิ่มขึ้นของห้องชุดในระยะกลางจนถึงระยะยาว นอกจากนี้ สิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลางก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการพิจารณาของผู้เช่าเช่นกัน ภายในโครงการควรมีสระว่ายน้ำ ห้องออกกำลังกาย ห้องซาวน่า/อบไอน้ำ รวมถึงพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจและพื้นที่สีเขียว นักลงทุนควรพิจารณาถึงสิ่งเหล่านี้เป็นพิเศษหากต้องการจะลงทุนในห้องชุดขนาดใหญ่ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เช่าชาวต่างชาติที่เข้าพักอาศัยเป็นครอบครัวและมีสมาชิกในครอบครัวเป็นเด็กด้วย

อายุการใช้งานของอาคารก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรง ต่อระดับผลตอบแทน โดยทั่วไปแล้ว อาคารใหม่มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า แต่อย่างไรก็ตาม นักลงทุนอาจพิจารณาลงทุนห้องชุดในโครงการเก่าบางแห่ง เพราะตั้งอยู่ในทำเลทองที่ไม่สามารถหาได้อีก และตัวอาคารได้รับการดูแลรักษาอย่างดีมาโดยตลอด เช่น โครงการสมคิด การ์เด้นส์ เป็นต้น

จากการศึกษาของแผนกวิจัย ซีบี ริชาร์ด เอลลิส พบว่า อัตราผลตอบแทนจากการปล่อยเช่าที่พักอาศัยประเภทต่างๆไม่แตกต่างกันมากนักมแม้ว่าอาคารบางแห่งสร้างมาแล้วเกินกว่า 10 ปี ดังนั้น ตราบเท่าที่อาคารตั้งอยู่ในทำเลที่ดี และพื้นที่ส่วนกลางได้รับการดูแลรักษาและปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ อาคารเก่าก็ยังคงสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ เนื่องจากห้องชุดในอาคารเก่าจะมีราคาขายต่ำกว่า ทำให้เจ้าของห้องชุดสามารถปล่อยเช่าในราคาที่ต่ำกว่าได้ในขณะที่ยังคงได้รับผลตอบแทนในระดับที่ใกล้เคียงกันกับห้องชุดในอาคารใหม่

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ควรทราบ คือ ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอนั้นจะมาจากอาคารเก่าที่ได้รับการดูแลรักษามาเป็นอย่างดีโดยตลอดเท่านั้น หากสภาพพื้นที่ส่วนกลางของอาคารไม่ได้รับการปรับปรุงหรือหากเจ้าของห้องชุดไม่ได้ทำการตกแต่งใหม่ ก็จะทำให้ผลตอบแทนลดลง นอกจากนี้ อาคารเก่ายังมีแนวโน้มที่จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าในการดูแลรักษาและมีแนวโน้มที่จะมีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนเสริม เพื่อใช้ในการยกระดับและปรับปรุงอาคารหากเงินกองทุนส่วนกลางมีไม่เพียงพอ ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาระดับผลตอบแทนให้สม่ำเสมอและเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ให้อยู่ในระดับสูงสุด นักลงทุนควรรู้ถึงจังหวะที่เหมาะสมในการซื้อและขาย
การลงทุนซื้อที่พักอาศัยเพื่อการปล่อยเช่านั้นต่างจากการลงทุนในหุ้นหรือการฝากเงินในธนาคาร เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดการพื้นที่ส่วนกลาง ค่าประกัน ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษาภายในห้องชุด รวมไปถึงช่วงที่ยังไม่มีผู้เช่าเข้าพัก เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายต่างๆเหล่านี้แล้ว ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยที่ได้ก่อนหักภาษีจะอยู่ที่ระดับ 3.7% ซึ่งยังคงสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในธนาคาร นอกจากนี้ การเลือกห้องชุดที่ถูกต้องนั้นจะช่วยเพิ่มมูลค่าของห้องชุดในอนาคตได้อีกด้วย

“ห้องชุดที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ทั้งหมดในข้างต้น มีแนวโน้มที่จะขายได้ในเวลาอันรวดเร็วหลังจากเปิดขายในตลาด ทีมงานแผนกซื้อขายที่พักอาศัยของเราติดต่อกับนักลงทุนที่มองหาห้องชุดที่เหมาะสำหรับการปล่อยเช่าอยู่เป็นประจำ แต่ปัญหาที่นักลงทุนจำนวนมากประสบ คือ ห้องชุดที่ดีมักจะมีการซื้อขายที่รวดเร็วมาก นักลงทุนจำเป็นต้องคอยเปิดรับโอกาสใหม่ๆอยู่เสมอ และต้องเตรียมพร้อมที่จะตัดสินใจเมื่อมีโอกาสที่ดีมาถึง” นางสาวพรพิมล กล่าวย้ำ


ซีบี ริชาร์ด เอลลิส จะนำคอนโดมิเนียมใหม่เกือบ 20 แห่งขึ้นบนเว็บไซต์ของบริษัทในแต่ละสัปดาห์ และส่งรายชื่อคอนโดมิเนียมใหม่ๆให้กับนักลงทุนที่ต้องการซื้อเพื่อนำมาปล่อยเช่าอยู่เป็นประจำ

ท่ามกลางภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ และความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบัน ทำให้การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่พักอาศัย ซึ่งมีศักยภาพทั้งในด้านมูลค่าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต และรายได้จากการปล่อยเช่า รวมถึงเป็นการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ จะยังคงได้รับความสนใจของนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง


เกี่ยวกับ ซีบี ริชาร์ด เอลลิส
ซีบี ริชาร์ด เอลลิส (NYSE:CBG) เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (พิจารณาจากผลประกอบการในปี 2553) ที่ให้บริการแบบครบวงจร มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในนครลอสแองเจลลิส พร้อมด้วยบุคลากรราว 31,000 คนในสำนักงานมากกว่า 300 สาขาที่ให้บริการแก่เจ้าของโครงการ นักลงทุน และผู้ซื้อรายย่อยทั่วโลก ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 500 บริษัทมีผลประกอบการที่ดีที่สุดในโลกโดยนิตยสารฟอร์จูน และได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 500 บริษัทที่มีความน่าเชื่อถือโดยสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์

ซีบี ริชาร์ด เอลลิส เริ่มเปิดดำเนินการครั้งแรกในกรุงเทพมหานครเมื่อปีพ.ศ.2531 และขยายไปสู่สาขาภูเก็ตในปีพ.ศ. 2547 โดยให้บริการด้านการเป็นตัวแทนในการซื้อขาย และให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้าน คอนโดมิเนียม วิลล่า อพาร์ตเมนต์ เซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ อาคารสำนักงาน ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจอุตสาหกรรม โรงแรม ที่ดิน และให้บริการด้านการให้คำปรึกษา ซึ่งรวมถึง การให้บริการให้คำปรึกษาด้านการลงทุน การวิจัยตลาด และการประเมินราคาทรัพย์สิน นอกจากนี้ ยังให้บริการในด้านการบริหารอสังหาริมทรัพย์ด้วยมาตรฐานระดับสากล หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้บริการ สามารถเข้าชมได้ที่ www.cbre.co.th




from http://is.gd/Jy8CmZ


16 เมษายน 2554

ดูการ์ตูนออนไลน์ฟรี(dragonball, yuyu hakuso, naruto, etc.)


http://is.gd/sjl7Mr


9 เหตุผลที่คนแห่ลงทุน’ทองคำ’

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท เอส.พี.ซี พรีเชียส เมททอล จำกัด ได้เชิญ นายเจฟฟรีย์ นิโคลส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนทองคำระดับโลก มาบรรยายในหัวข้อ “How Viable is Gold as a Long-Term Investment” เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มและทิศทางราคาทองคำ

เจฟฟรีย์ นิโคลส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนทองคำระดับโลก ระบุว่า”ราคาทองน่าจะขึ้นถึง 1,500 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ภายในสิ้นปีนี้ และขยับถึง 2,000 ดอลลาร์ ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า  โดยมีเหตุผล 9 ข้อที่คนแห่ลงทุนในทองคำ คือ

1) เศรษฐกิจสหรัฐยังขาดเสถียรภาพ   และต้องใช้เวลานานในการแก้ไข และมีโอกาสเกิดวิกฤตซ้ำสอง (double-dip) สูง ขณะที่ดอลลาร์อ่อนค่าลงแล้ว 30% นับจากปี 2544

2) ปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปที่มีต้นตอจากกรีซและลุกลามไปยังหลายชาติในอียู สั่นคลอนความเชื่อมั่นต่อค่าเงินยูโร วิกฤตยุโรปก็เช่นเดียวกับในสหรัฐ

3) ธนาคารกลางของประเทศที่มีปัญหาเศรษฐกิจหันมาเพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรองมาก ขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสกุลเงินของตน ส่วนประเทศในเอเชียที่เคยถือเงินดอลลาร์และยูโรในทุนสำรองหันมาถือทองคำมาก ขึ้นเรื่อย ๆ แนวโน้มเช่นนี้มีมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ดังกรณีของธนาคารกลางอินเดียที่ซื้อทองคำจากไอเอ็มเอฟมากถึง 200 ตัน ทั้งที่ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลประเทศต่าง ๆ เป็นผู้ขายทองคำสุทธิมาตลอด จนกระทั่งปีที่แล้วกลับกลายเป็นผู้ซื้อสุทธิมากที่สุด และเชื่อว่าปีนี้รัฐยังคงเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ต่อไป

4) ความต้องการที่เพิ่มสูงจากจีนและอินเดีย หรือประเทศอื่น ๆ ที่นิยมทองคำ ในแดนมังกรและแดนภารต ทองคำไม่เพียงเป็นโลหะมีค่าแต่ยังเป็นเครื่องแสดงสถานภาพและความรุ่งเรือง เมื่อเศรษฐกิจในประเทศเจริญ มีคนชั้นกลางและเศรษฐีมากขึ้น ความต้องการครอบครองทองคำก็ยิ่งสูงตาม ด้านทางการปักกิ่งนั้นหนุนหลังกระแสนี้เต็มที่ เพราะไม่เพียงช่วยกระตุ้นการออม แต่ยังช่วยลดการนำเงินไปลงในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จนเกิดฟองสบู่ได้อีกด้วย

5) ภาคเอกชนในประเทศพัฒนาแล้ว หันมาลงทุนในทองมากขึ้น ด้วยขาดความเชื่อมั่นในรัฐบาลประเทศตนว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ได้ในเร็ววัน ประชาชนตลอดจนบรรดากองทุนจึงหันมาแสวงหาความมั่งคงในโลหะสีเหลืองแทน

6) การขยายตัวของผลิตภัณฑ์และ ช่องทางการลงทุนในทองคำ การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และวิธีการลงทุนในทองคำแบบใหม่ ๆ ช่วยให้นักลงทุนรายย่อยและสถาบันเข้าถึงการลงทุนทองคำมากขึ้น อาทิ กองทุน Gold ETF ที่ปัจจุบันมีกองทุนเช่นนี้กว่า 80 กองทุนทั่วโลก

7) ตลาดทองคำยังมีขนาดเล็ก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นหรือตลาดตราสารอื่น ๆ การเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยสามารถสร้างความแตกต่างได้มหาศาล และเพราะยังมีผู้เข้ามาลงทุนไม่มาก โอกาสและช่องทางจึงยังมีเหลือเฟือ

8) ราคาอาหารและสินค้าเกษตรที่พุ่งสูง เพราะภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ขณะที่ดีมานด์กลับพุ่งพรวด เพราะจำนวนประชากรโลกและความต้องการบริโภคต่อคนเพิ่มขึ้น ราคาอาหารจึงปรับขึ้น และสร้างแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งจะกระตุ้นให้ราคาทองคำดีดตัว

9) ปริมาณทองจากเหมืองมีเท่าเดิมหรือลดลง เหมืองทองคำทั่วโลกต่างมีปริมาณการผลิตลดลง ประกอบกับต้นทุนสูงขึ้นทั้งค่าแรง ค่าสำรวจ ค่าดูแลสิ่งแวดล้อม และแม้จะค้นพบแหล่งแร่ทองแห่งใหม่ก็ไม่สามารถร่อนออกมาใช้ได้ทันที ยังต้องผ่านกระบวนการอีกหลายขั้น เมื่อซัพพลายไม่สนองตอบได้ทันต่อดีมานด์ ราคาจึงวิ่งขึ้น


from http://is.gd/KILRvA


เจาะลึก AYFLTFDIV และ AYFDIVRMF

หุ้นระยะยาวอยุธยาปันผล (AYFLTFDIV) และอยุธยาหุ้นปันผลเพื่อการเลี้ยงชีพ (AYFDIVRMF) เป็นกองทุนที่มีผลการดำเนินงานดี   ในรอบ 10 เดือนให้ผลตอบแทนสูงถึง 60%

โมเดลการลงทุนกองทุนทั้ง 2 เน้นลงทุนในหุ้นที่มีกระแสเงินสดดีเป็นหลัก รวมถึงหุ้นที่มีการจ่ายปันผลในระดับสูง และบริษัทที่มีโอกาสการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงภาวะเศรษฐกิจจะไม่ดี ซึ่งบริษัทเหล่านี้

นอกจากต้องใช้เงินลงทุนแล้ว ยังมีกระแสเงินสดเหลือเพียงพอจ่ายปันผลในระดับที่สูงได้ด้วย เป็นโมเดลที่ใช้กับกองทุนเปิดอยุธยาหุ้นปันผล และได้ผลดี

โมเดลนี้ อยุธยาเขาเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2006 กลยุทธ์การบริหารพอร์ตลงทุน ใช้สไตล์ Active  ไม่ใช่ ซื้อแล้วถือยาว

ระหว่างทาง ผู้บริหารกองทุนจะมีการปรับเปลี่ยนพอร์ตอยู่ตลอดเวลา ตามจังหวะและโอกาสการลงทุน
แต่โดยรวมยังคงโมเดลหลักๆเอาไว้ ไม่ได้กระโดดไป กระโดดมาตามอารมณ์ของตลาด จนละเลยวินัยและเสีย Theme  การลงทุน

กองทุนทั้ง 2 นี้ อยุธยา  เอาโมเดลที่ใช้กับกองทุนเปิดอยุธยาหุ้นปันผล ลงทุนมาทำเป็นLTF และ RMF ครับ

อยุธยา มีกองทุน อยุธยาหุ้นปันผล มาระยะหนึ่ง จนมั่นใจแล้วว่าเป็นกองทุนที่ดี และน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ลงทุน เขาจึงเอากองทุนนี้ มาทำ

ความตั้งใจของอยุธยา ช่วงนั้น ก็คือ จะให้กองทุนนี้ เป็นกองทุนสำหรับผู้ต้องการประหยัดภาษีเป็นหลักครับ โดยเฉพาะกับคนที่ลงทุนกับกองทุน อยุธยาหุ้นปันผล มาแล้ว ย่อมต้องเห็นแล้วว่าผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร

ถ้ายังมีรายได้และยังต้องเสียภาษีเงินได้ ก็สามารถซื้อ 2 กองนี้เพื่อลดหย่อนภาษีได้ แต่ ถ้าไม่นำไปหักภาษี ไม่แนะนำครับ

ไม่มีประโยชน์และอาจเป็นโทษก็ได้  ถ้าหากไปขายออกอาจมีปัญหากับสรรพากรได้ ลงทุนในกองทุนอยุธยาหุ้นปันผล เดิมดีแล้ว

อันนี้คือรายละเอียดของทั้ง 2 กองทุน

ถ้าไปดูผลการดำเนินงานของ AYFLTFDIV และ AYFDIVRMF) เทียบกับ Benchmark กองทุนนี้ Outperform Benchmark ได้ทุกปี ดูจากประวัติผลการดำเนินงานย้อนหลัง ทำได้ดี
3 เดือน ทำได้ 23.06%
6 เดือน  ทำได้45.55%
ตั้งแต่ต้นปี  ทำได้ 60.38%
1 ปี   ทำได้ 75.31%
3 ปี   ทำได้ 56.23%

อันนี้ผลตอบแทนของอยุธยาหุ้นปันผลเพื่อการเลี้ยงชีพ (AYFDIVRMF
3 เดือน ทำได้ 23.11% %
6 เดือน  ทำได้45.65%
ตั้งแต่ต้นปี  ทำได้ +60.10%
1 ปี   ทำได้ +75.77%
3 ปี   ทำได้ +61.83%(

นี่คือ ดัชนีตลาดหุ้น Benchmark ที่ใช้วัดกองทุนทั้ง 2 กองทุน
3 เดือน  ทำได้ 15.03%
6 เดือน  ทำได้ 28.94%
ตั้งแต่ปี   ทำได้ 34.02%
1 ปี  ทำได้ 43.64%
3 ปี  ทำได้ 8.51%

กองทุนเปิดหุ้นระยะยาวอยุธยาปันผล จ่ายเงินปันผลมาแล้ว 5 ครั้ง รวม 2.84 บาทต่อหน่วยลงทุน เอา Portfolio ล่าสุดไปดูต่อนะครับ

อันนี้เป็นรายกลุ่ม ของ AYFLTFDIV ข้อมูล ณ วันที่ 29 ต.ค. 2553 การลงทุนกระจายไปในกลุ่มต่างๆดังนี้
หมวดพาณิชย์24.91%
หมวดธนาคาร16.62%
หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์12.79%
หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค11.47%
หมวดวัสดุก่อสร้าง9.51%

ส่วนอันนี้เป็นพอร์ตของ AYFDIVRMF หมวดพาณิชย์24.94%
หมวดธนาคาร16.40%
หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์12.46%
หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค11.54%
หมวดวัสดุก่อสร้าง10.57%

จะเห็นจากหุ้นรายข้างบนมีทั้งบริษัทในกลุ่มต่างๆปนๆกันอยู่ครับ แต่เขาไม่ได้จัดสรรเงินลงทุนตามกลุ่มนะครับ เขาดูที่ตัวบริษัทจึงเป็นผลที่ตามมา

ถ้าไปดูผลการดำเนินงานย้อนหลังที่ยาวหน่อย จะเห็นได้ชัดว่า AYFLTFDIV และ  AYFDIVRMF ไม่ใช่กองทุนที่ให้น้ำหนักตามดัชนีแน่นอนครับ เพราะมันเบี่ยงออกจากดัชนีอย่างชัดเจน มากบ้าง น้อยบ้างแล้วแต่ช่วงจังหวะของตลาด

เขาสามารถเลือกลงทุนในหุ้นที่มี Valuation น่าสนใจได้หลากหลาย sector จะเลือกหุ้นลงทุนคละเคล้ากันไป ทั้งหุ้นที่ให้เงินปันผลสูงและหุ้นเติบโต และเน้นลงทุนระยะกลางถึงยาว

ตัวที่อยู่ใน Top ten ของเขา เป็นหุ้นที่มีมีกระแสเงินสดดีๆ และบริษัทหลักๆที่เขาลงทุน แทบทั้งหมดเป็นที่รู้จันดีทั้งนั้น

มีตัวอย่างที่ยกขึ้นตรงนี้สักเล็กน้อย เพื่อให้เห็นภาพคร่าวๆว่า ธุรกิจในกลุ่มนี้เขามีการเคลื่อนไหวอย่างไร
ข้อมูลพวกนี้เกิดขึ้นในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา

อย่าง บมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป AYFLTFDIV  ถืออยู่ 10.42%  ส่วน AYFDIVRMF ถือ  10.19%

ชื่อ บมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป อาจไม่คุ้นเคยหูคนไทยนัก แต่แบงก์ทิสโก้ หลายคนคงเคยใช้บริการ
อันนี้เป็นตัวอย่างความเคลื่อนไหวของธุรกิจนี้ครับ พอให้เห็นภาพว่า ธุรกิจพวกนี้กำลังเติบโต

บมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป มีกำไรที่เติบโตแข็งแกร่งมากกว่า 20% ต่อปี  เป็นหุ้นทีมีความสามารถในการทำกำไรที่ดี  จ่ายปันผลดีต่อเนื่อง  สูงที่สุดในกลุ่มที่ 5%

เป้าหมายการเติบโตสินเชื่อปี 2554 ที่ 15% โดยมีเป้าหมายการขยายสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่ 15% สินเชื่อ SME 15% และวางเป้าหมายการเติบโตสินเชื่อเช่าซื้อที่ 10%

ตั้งเป้า ROE สูงกว่า 20%: เนื่องจาการเติบโตสินเชื่อดี บริหารส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิได้ดี รายได้จากค่าธรรมเนียมขยายตัว   บริษัทวางแผนคงนโยบายการจ่ายปันผลขั้นต่ำ 50%

นี้คือพื้นฐานของหุ้นที่ดูจากผลกำไร กำไร ไม่ใช่ sentiment ของตลาด

ตัวที่สอง…
บมจ.สยามแม็คโคร AYFLTFDIV  ถืออยู่10.20%ของมูลค่าหน่วยลงทุน  AYFDIVRMF ถือ 9.99% ของมูลค่าหน่วยลงทุน

สยามแม็คโคร ดำเนินธุรกิจประเภทศูนย์ค้าส่งในรูปแบบ เป็นบริษัทในกลุ่มเอสเอชวีจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งดำเนินธุรกิจหลากหลายประเภททั่วโลก

ปัจจุบันศูนย์ค้าส่งแม็คโครเปิดให้บริการอยู่ใน 6 ประเทศ และมีสาขามากกว่า 165 สาขาทั่วโลก
สำหรับแม็คโครในประเทศไทย  เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2532 ที่สาขาลาดพร้าว   ปัจจุบัน มีอยู่ 47 สาขา
20ปีที่เขาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย

ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหรือเฟื่องฟู บริษัทนี้ ยังคงประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในการจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคให้แก่ลูกค้าที่เป็นสมาชิกจำนวนกว่า 2 ล้านคน

เมื่อไปดูยอดขายและผลกำไรของบริษัทแล้ว ปรากฏว่ายอดขายและกำไรดีมาก

สิ่งหนึ่งที่เห็นชัดคือ อัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อยอดขายเพิ่มขึ้น  ร้อยละ 31.7 เป็นผลมาจาก

สินค้าที่มีกำไรขั้นต้นสูงมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้น

สยามแม็คโคร เป็นหุ้นที่มีกระแสเงินสด และการเติบโตค่อนข้างโดดเด่น

ตัวที่สาม …บมจ. ซีพี ออลล์ หรือ เซเว่นอีเลฟเว่น

ตัวนี้ AYFLTFDIV  ถืออยู่9.73%ของมูลค่าหน่วยลงทุน  AYFDIVRMF ถือ 9.73% ของมูลค่าหน่วยลงทุน

CPALL เป็นผู้นำตลาด แต่ก็ยังซื้อขายด้วย PEG ที่ต่ำสุดหากเทียบกับหลักทรัพย์ที่ทำธุรกิจ
คล้ายคลึงกันในกลุ่มพาณิชย์ (SET) ที่ระดับ 0.6 เท่า

สำหรับปี 54 อีกทั้งยังมีอัตราผลตอบแทนส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) ที่สูงคือ 39.6% อัตราการเติบโตของกำไรสุทธิปี 53 เป็น 26% และปี 54 เป็น 33%

อัตราการทำกำไรขั้นต้นในไตรมาส 3 ก็เพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยจากช่วงต้นปี มาอยู่ที่ประมาณ 27-28%  

ขณะที่ความเสี่ยงทางการเงินก็ต่ำ มีฐานะเป็นเงินสดสุทธิมาตั้งแต่อดีต ปีนี้คาดเงินปันผลระดับ 1.75 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend Yield ที่ระดับ 4.1%

เซเว่นอีเลฟเว่นเป็นธุรกิจที่เป็น Cash Cow Company ถือว่าเป็นธุรกิจที่เป็นทั้ง Defensive และมี
Growth อย่างต่อเนื่อง

อีกตัวคือ บมจ.ไดนาสตี้เซรามิค หรือหุ้นกระเบื้องปูพื้นบุผนัง “ไดนาสตี้” ตัวนี้ AYFLTFDIV  ถืออยู่ 7.23 %ของมูลค่าหน่วยลงทุน  AYFDIVRMF ถือ 7.33% ของมูลค่าหน่วยลงทุน

อันนี้ข้อมูลผลการดำเนินงานล่าสุด

ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนของปี 2553 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2553 เทียบกับ
ระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน มียอดขายสินค้ารวม 5,031 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 577 ล้านบาทหรือ
ร้อยละ 13 อัตรากำไรขั้นต้นร้อยละ 44.3 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้นร้อยละ 42.7
เหลือเป็นกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ทั้งสิ้น 928 ล้านบาท หรือ 2.28 บาทต่อหุ้น
เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันปีก่อน 164 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 22

จุดที่น่าสนใจและน่าติดตามก็คือ …อัตรากำไรขั้นต้นมีพัฒนาการที่ดีขึ้นต่อเนื่อง แม้ว่ารายได้และกำไรในไตรมาสนี้ จะลดลงเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส แต่อัตรากำไรขั้นต้นกลับเพิ่มขึ้นจาก 45.2% ในไตรมาสก่อนเป็น 45.7% เป็นอัตราที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์และสูงที่สุดในอุตสาหกรรมกระเบื้องปู พื้น
DCC เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในประเทศ ด้วยกำลังการผลิต 50 ล้าน ตรม./
เดือน ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยจึงต่ำกว่าผู้ผลิตรายอื่น และบริษัทยังมีแผนขยายกำลัง
การผลิตเป็น 61 ล้าน ตรม. ในต้นปีหน้าเพื่อรองรับตลาดในต่างจังหวัดที่ยังมีความต้อง
การสูง โดยเฉพาะในภาคอีสานและเหนือ

จุดเด่นที่เห็นได้ชัดคือ บริษัทฯ ไม่มีหนี้สินทั้งเงินกู้ยืมระยะสั้นและระยะยาว
นั่นคือพื้นฐานของหุ้นที่ดูจากผลกำไร ไม่ใช่ sentiment ของตลาด
อีกตัวอย่าง คือ  บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์
ตัวนี้ คนไทยรู้จักในแบรนด์ “ซีเล็คทูน่า” หรือ “ปลาเส้นฟิซโซ่” เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ ปลา อาหารทะเล

ล่าสุดเข้าไปควบกิจการ MWB ซึ่งเป็นผู้นำตลาดอาหารทะเลที่ยุโรป ทำให้ไทยยูเนียโฟรเซ่น ก้าวเข้าสู่การเป็นผู้เล่นรายสำคัญในตลาดโลก

ตัวนี้เงินปันผลค่อนข้างโดดเด่น   กระแสเงินสดค่อนข้างดี

อีกตัวหนึ่ง บมจ.ทุนธนชาต  หรือ คนทั่วไปจะรู้จักในนาม แบงก์ธนชาต ตัวนี้  AYFLTFDIV  ถืออยู่ 6.21%ของมูลค่าหน่วยลงทุน  AYFDIVRMF ถือ 6.21% ของมูลค่าหน่วยลงทุนเช่นกัน

แบงก์ธนชาต  เพิ่งประกาศกำไรออกมา ไตรมาส 3 ปี 2553 มีกำไร 1,538 ล้านบาท โต 53.5% บวก
5 ไตรมาสติด ส่วน 9 เดือนของปี กำไรไปแล้วกว่า 4,250 ล้านบาท

ส่วนตัวนี้  บมจ.โกลว์ พลังงาน AYFLTFDIV  ถืออยู่  5.85% ของมูลค่าหน่วยลงทุน  AYFDIVRMF ถือ 6.59% ของมูลค่าหน่วยลงทุนเช่นกัน

กำไรจากการดำเนินงานใน 3Q10โตมาก โดยเป็นกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพราะตัวบริษัทฯ มีหนี้ก้อนใหญ่อยู่ในรูปสกุลดอลลาร์สูงถึง 650 ล้านดอลลาร์ พอค่าเงินบาทแข็งก็ได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน

นอกจากนั้นก็มีหุ้น  บมจ.ปตท.  หุ้น บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์  และหุ้นช่อง 3 บมจ.บีอีซี เวิลด์
ต้องลองพิจารณาดูว่าหุนที่กองทุนทั้ง 2 ลงทุน

ดูแล้วมั่นใจ  ไปด้วยได้ไหม เพราะTheme นี้ เป็น Theme หุ้นปันผล และเติบโตสูง แต่ต้องมีกระแสเงินสดดี

อย่าลืม การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุ ผลการดำเนินงานในอดีต  มิได้เป็นสิ่งยืนยันในอนาคต

ข้อมูลข้างต้น เป็นตัวอย่างความเคลื่อนไหวของกองทุนนี้ เราในฐานะผู้ลงทุนควรตัดสินใจอย่างไร ต้องตัดสินด้วยตัวเอง เพระสไตล์อาจจะแตกต่าง

ข้อมูลที่เราตีความเพื่อมองไปข้างหน้าก็อาจจะแตกต่าง เวลาเลือกลงทุนกับกองทุนต้องดูไปถึงคุณภาพของบริษัทจัดการ ผู้จัดการกองทุน ความต่อเนื่องของทีม วินัยและกระบวนการลงทุนที่เป็น Qualitative


from http://is.gd/QdBV2k



โหลดไฟล์ .apk andriod application ลง pc แล้วค่อย install ลง smart phone

 http://www.getjar.com
http://www.brothersoft.com/mobile


เฉลยข้อสอบสัมภาษณ์งาน (2)

List บทความที่เกี่ยวข้อง
  • เฉลยข้อสอบสัมภาษณ์งาน (1) Link
  • เฉลยข้อสอบสัมภาษณ์งาน (2) Link
  • เฉลยข้อสอบสัมภาษณ์งาน (3) Link



เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเราช่วยกันเตรียมความพร้อมของท่านผู้อ่านที่สนใจไปสมัครงาน ว่าจะเตรียมการตอบคำถามอย่างไรให้มั่นใจ ได้ใจ...ได้งาน

คำถามที่ฮอตฮิตติดปากผู้สัมภาษณ์งานที่เราคุยไว้ 4 ข้อได้แก่

1. เล่าเรื่องตัวเองให้เราฟังหน่อยค่ะ

2 แล้วทำไหมถึงจะออกจากงานปัจจุบัน

3 ทำไมเราควรจ้างคุณคะ

4 คาดว่าจะทำอะไรในอีก 5 ปีข้างหน้า


คำถามเหล่านี้ตอบแบบง่ายๆ พื้นๆก็ได้ แต่จะตอบ แบบ “เป็น” แบบได้ใจ ต้องใช้เวลาในการเรียบเรียง

วันนี้มาไล่เรียงดูข้อสอบเพิ่ม จะได้ไม่รู้สึกว่าถูกขึ้นเขียง ยามถูกสัมภาษณ์เจาะใจ



5 จุดอ่อนที่สำคัญของคุณคืออะไร

นี่คือคำถามยอดนิยม เตรียมคำตอบคมๆไว้ได้เลยค่ะ

สิ่งที่อาจหลีกเลี่ยง คือคำตอบแบบแสนใสซื่อ อาทิ

“หนูเป็นคนที่ไม่ใส่ใจในรายละเอียดค่ะ”

แนวทางการตอบ น่าจะคุยประเด็นเน้นจุดอ่อนที่เราเข้าไปแก้ไขได้แล้ว เช่น

“ในอดีต ดิฉันมักประหม่าเวลาที่ต้องพูดและนำเสนอข้อมูลต่อหน้าคนจำนวนมาก จึงตั้งใจพัฒนาทักษะนี้ โดยได้เข้าเรียนเรื่องทักษะการนำเสนอ และหาโอกาสฝึกฝนมาโดยตลอด ปัจจุบันเชื่อว่าทำได้ดี แม้จะยังมีกังวลอยู่บ้างก็ตามค่ะ”



6 คุณชอบทำงานแบบไหนคะ

คำตอบที่ฟังเวิ้งว้าง ว่างเปล่า มีอาทิ

“ชอบการทำงานแบบท้าทาย” “ชอบทำงานที่ได้พบปะผู้คน” “ชอบทำงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ”

เตรียมคำตอบที่เฉพาะเจาะจง และถือโอกาสเล่าให้ฟังถึงประเด็นที่โยงใยกับงานที่เราสนใจ น่าจะทำแต้มเพิ่มได้ไม่ยาก เช่น

“ผมชอบทำงานเป็นทีม เพราะปัจจุบันการทำงานต้องอาศัยความรู้และความร่วมมือจากหลายฝ่าย เช่น การทำงานด้านการตลาด จำเป็นต้องเป็นทีมใกล้ชิดกับฝ่ายต่างๆ เช่นฝ่ายขาย ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนฝ่ายวางแผน เป็นต้น”



7 คุณไม่ชอบทำงานแบบไหนเอ่ย

คำตอบที่มีความเสี่ยง มีอาทิ

“ดิฉันไม่ชอบทำงานที่มีขั้นตอนมาก เพราะทำให้ช้า และประสิทธิภาพต่ำ”

“ดิฉันไม่สบายใจที่ต้องทำงานในที่ๆ มี “การเมือง” มากมาย เพราะไม่โปร่งใส ไม่ได้วัดกันด้วยฝีมือ”

คำตอบเหล่านี้ถือว่ามีความเสี่ยงเพราะ ไม่ว่าองค์กรไหนๆ ก็คงมี “ขั้นตอน” หรือ “การเมือง” บ้างไม่มากก็น้อย

เมื่อบอกว่าเบื่อหน่าย ไม่ชอบเรื่องที่อาจมีในองค์กรเขาเช่นกัน จึงมีความเป็นไปได้สูงว่าผู้ถามจะเริ่มระแวงแคลงใจว่า เมื่อมาเจอเจ้า “ขั้นตอน” “การเมือง” หรือไม่ว่าสิ่งใดที่เราเลือกตอบ ในองค์กรของเขา เรามิถอดใจให้เขากลุ้มใจหรืออย่างไร

ดังนั้นหากอยากได้งานใหม่นี้ อาจระมัดระวัง เลือกตอบ เลี่ยงใช้ประเด็นที่เห็นว่าไม่เสี่ยงมาก เช่น

“ดิฉันชอบงานที่ทำปัจจุบัน แต่การที่เป็นองค์กรเล็ก รับผิดชอบงานหลายอย่าง ส่งผลให้ไม่สามารถมุ่งทุ่มเทให้เป็นผู้รู้จริงเฉพาะด้านได้ ประเด็นที่ไม่สบายใจ คือ การยังไม่ได้ใช้ศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่”



8 เพื่อนๆคุณมักอธิบายว่าคุณเป็นคนอย่างไร

คำตอบที่เสียดายโอกาส อาจเป็น

“เพื่อนๆ มักเห็นว่าดิฉันเป็นคนมีความอดทนสูง”

ที่น่าเสียดายคือ จังหวะนี้ถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่จะใช้คำตอบโน้มน้าว โยงใย ให้เห็นว่าเรามีจุดแข็ง ที่แซงโค้งคู่แข่งที่อยากแย่งงานนี้ไปจากเรา

คำตอบที่เจ๋งกว่า น่าจะเป็น

“คนที่รู้จักดิฉันดีมักมีความเห็นว่าดิฉันมีความมุ่งมั่น อดทน อาทิ เพื่อนที่ทำงานให้สมญานามว่า “หญิงอึด”ตัวอย่างเช่น เคยต้องขอข้อมูลที่บริษัทต้องการด่วนจากหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่ง ต้องใช้ความพยายามติดต่อ ขอร้อง จนในที่สุดเจ้าหน้าที่ใจอ่อน ให้ความร่วมมือ จนบริษัทมีข้อมูลครบถ้วนในการตัดสินใจ”



9 คุณต้องการเงินเดือนเท่าไร

เมื่อไปสัมภาษณ์งาน อย่างไรๆก็คงต้องเตรียมตอบคำถามนี้

คำตอบแบบที่ควรหลีกเลี่ยง คือ

“เอ่อ...คือ เท่าไหร่ก็ได้ แล้วแต่จะพิจารณาค่ะ”

เพราะฟังดูอ่อนโยนติดอ่อนแอไปเล็กน้อย

คนยุคใหม่ต้องทำตัว “สวยเลือกได้” แบบอ่อนนอก แข็งใน

หากยังไม่ถึงเวลาต่อรองตัวเลขชัดเจน อาจมาในแนว

“ดิฉันเชื่อว่าบริษัท...เป็นองค์กรชั้นนำระดับแนวหน้า คงมีระดับเงินเดือนที่เป็นมาตรฐานในอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์

เงินเดือนที่ได้อยู่ปัจจุบันคือ...บาท จึงคาดหวังว่าในความรับผิดชอบใหม่ จะได้เพิ่มประมาณ...เปอร์เซ็นต์”

โดยเว้นที่ไว้เผื่อเจรจา ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดาของการหางาน

คำถามยังมีอีกมากมาย วิธีง่ายๆในการเตรียมตอบข้อสอบ คือ ตอบโดยเข้าไปนั่งในใจเขา แทนการนึกถึงแต่ตัวเราว่าต้องการอะไร

ที่สำคัญ การตอบอย่างเข้าใจใส้พุงของผู้ถาม ด้วยศิลปะของผู้เชี่ยวชาญโดยทำการบ้านมาก่อน ต่างจากการหลอกเขา ซึ่งเท่ากับหลอกตัวเอง

โกงข้อสอบ แม้ได้คะแนนดี แต่โลกนี้...ไม่มีความลับค่ะ



ที่มา http://is.gd/uRv4Fy


บทความยอดนิยม (ล่าสุด)

บทความยอดนิยม (1 ปีย้อนหลัง)