ใครๆ ก็คงอยากซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำสุดและขายออกไปตอนที่ราคาสูงสุด แต่จะมีซักกี่คนที่จะบอกได้ว่าตอนไหนคือจังหวะที่จะต้องซื้อหรือขายได้อย่างแม่นยำจริงๆ แต่ในความเป็นจริงอาจกลายเป็นว่าซื้อตอนที่แพงและขายออกไปในตอนที่ถูกแทนก็ได้MoneyWise ฉบับนี้ขอแนะนำวิธีการลงทุนที่เห็นว่ามีประโยชน์ต่อผู้ลงทุนทั่วไป และสามารถนำมาใช้ปฏิบัติได้ง่ายๆ เรียกว่า "Dollar Cost Averaging" หรือการลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน แม้ว่าจะยังไม่มีวิธีที่สามารถบอกว่าจุดที่ราคาต่ำสุดคือเมื่อใด แต่อย่างน้อยก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่คุณจะนำเงินลงทุนทั้งหมดไปซื้อหุ้นที่ราคาสูงสุดได้
หลักการง่ายๆ ของการลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging ก็คือ คุณกำหนดวงเงินที่จะลงทุนเป็นงวด งวดละเท่าๆ กัน เช่น ลงทุนเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาสโดยไม่สนใจว่าราคาหุ้นจะขึ้นหรือลง จากการที่คุณลงทุนโดยซื้อหุ้นเป็นจำนวนเงินที่เท่าๆกันทุกครั้งนี้ ทำให้คุณซื้อหุ้น(หรือหน่วยลงทุน)ได้ในจำนวนที่มากขึ้นในช่วงที่ราคาต่ำและจำนวนที่น้อยกว่าในขณะที่หุ้นมีราคาสูง ข้อดีของการกระจายลงทุนแบบนี้ก็คือ ถ้าตลาดมีความผันผวนมาก หรือเป็นตลาดขาลง คุณมีโอกาสที่จะขาดทุนน้อยกว่าการลงทุนด้วยเงินทั้งหมดที่มีไปในคราวเดียว
ตัวอย่างของการลงทุนตามวิธี Dollar Cost Averaging หากคุณตั้งใจจะลงทุนซื้อหน่วยลงทุน 2,000 บาท ทุกๆเดือน เป็นเวลา 1 ปี เปรียบเทียบกับการซื้อหน่วยลงทุน 24,000 บาทในคราวเดียวที่ราคา 10 บาท
เดือน
|
เงินลงทุน
|
ราคาซื้อต่อหน่วย
|
จำนวนหน่วยลงทุน
|
มกราคม
|
2,000
|
10
|
200.00
|
กุมภาพันธ์
|
2,000
|
11
|
181.82
|
มีนาคม
|
2,000
|
12
|
166.67
|
เมษายน
|
2,000
|
14
|
142.86
|
พฤษภาคม
|
2,000
|
11
|
181.82
|
มิถุนายน
|
2,000
|
10
|
200.00
|
กรกฎาคม
|
2,000
|
9
|
222.22
|
สิงหาคม
|
2,000
|
9
|
222.22
|
กันยายน
|
2,000
|
8
|
250.00
|
ตุลาคม
|
2,000
|
6
|
333.33
|
พฤศจิกายน
|
2,000
|
8
|
250.00
|
ธันวาคม
|
2,000
|
10
|
200.00
|
รวม/เฉลี่ย
|
24,000
|
9.41
|
2,550.94
|
ด้วยเงินลงทุนทั้งหมด 24,000 บาท เท่ากัน ด้วยวิธีลงทุนในคราวเดียว จะได้หน่วยลงทุนจำนวน 2,400 หน่วย แต่ถ้าลงทุนด้วยวิธี Dollar Cost Averaging จะซื้อหุ้นได้จำนวน 2,550.94 หุ้น ซึ่งมีต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยเพียง 9.41 บาท
จะเห็นว่าการลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging นี้ แม้จะไม่ได้ทำให้คุณลงทุนที่จุดต่ำสุดที่ 6 บาท/หน่วยทั้งหมด แต่ก็สามารถป้องกันไม่ให้คุณนำเงินลงทุนทั้งหมดที่มีไปซื้อที่ราคา 14 บาท/หน่วยไว้ด้วย ประเด็นสำคัญของการลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging นี้คือหากคุณลงทุนด้วยเงินจำนวนเท่าๆกันแล้ว เมื่อหุ้นลงจะทำให้คุณซื้อหุ้นได้จำนวนมากขึ้น และเมื่อหุ้นขึ้นจะทำให้คุณซื้อหุ้นได้น้อยลง พอเฉลี่ยกันแล้วทำให้ต้นทุนการลงทุนของคุณไม่สูงจนเกินไป
ข้อดีของการลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging นอกจากจะช่วยกระจายความเสี่ยงของการลงทุนไปในช่วงเวลาต่างๆ แล้ว ยังเป็นการสร้างวินัยในการลงทุน ช่วยให้ไม่หวั่นไหวไปกับความผันผวนของตลาด (ซึ่งก็ผันผวนเป็นปกติอยู่แล้ว) เช่น ซื้อเพิ่มมากๆ ในช่วงที่ราคาขึ้นสูง หรือขายออกในช่วงที่ราคาตกต่ำ
อย่างไรก็ตามการลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุนนี้ไม่ได้รับประกันว่าคุณจะกำไรเสมอไป หรือ ไม่มีทางขาดทุน แต่คุณก็มั่นใจได้ว่าคุณไม่ได้มีต้นทุนที่ราคาสูงสุด และไม่ได้ถูกล่อลวงให้ขายในราคาต่ำสุด แต่หากคุณลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุนนี้คุณจะเข้าไปซื้อหุ้นเรื่อยๆแม้ว่าราคาหุ้นจะลดลงก็ตาม คุณก็ยังมีโอกาสที่ดีกว่าในการที่จะทำกำไรเมื่อตลาดกลับเป็นขาขึ้น
อีกตัวอย่างหนึ่ง คัดลอกมาจาก moneychannel.co.th(link) ซึ่งลงทุนแบบ dollar cost averaging ทุกเดือน เดือนละ 1,000 บาท
มูลค่าเงินลงทุนจากการทยอยลงทุนทุกเดือน เดือนละ 1,000 บาท
| |||
จำนวนปีที่ออม |
ผลตอบแทนที่คาดหวัง
| ||
2%
|
6%
|
10%
| |
5
|
63,123
|
69,824
|
77,172
|
10
|
132,816
|
163,264
|
201,458
|
20
|
294,718
|
455,646
|
723,987
|
30
|
492,075
|
979,256
|
2,079,293
|
จากตารางข้างต้นจะเห็นได้ถึงมหัศจรรย์แห่งดอกเบี้ยทบต้น โดยถ้ายิ่งเริ่มต้นออมได้เร็วเท่าไหร่ก็จะยิ่งทวีค่าเงินออมได้เร็วขึ้นเท่านั้น แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของการออมอย่างมีวินัย
- ในอัตราผลตอบแทนเท่ากันที่ 2% ผู้ที่เริ่มต้นออมก่อนจะได้เงินถึง 132,816 บาท เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี แต่ถ้าเริ่มต้นช้าสัดส่วนของเงินออมที่จะทวีค่าเพิ่มขึ้นก็จะน้อยลงด้วยเช่นกัน
- การออมเงินเพียงเดือนละ 1,000 บาท จะสามารถกลายเป็นเกือบ 1 ล้านบาทได้ภายในเวลา 30 ปี ที่ผลตอบแทนเฉลี่ย 6%
- ผลตอบแทนที่สูงก็จะต้องมีความเสี่ยงที่สูงตามมาด้วย แต่ถ้าไม่อยากเสี่ยงและหวังผลตอบแทนเพียงแค่ 2% ก็อาจไม่ครอบคลุมกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นได้
Dollar Cost Averaging in the real world
ตัวอย่างการทำ dollar cost averaging กับกองทุนรวม scbdv แต่จำนวนเงินอาจจะไม่เท่ากันทุกเดือน (เน้นเฉพาะหลักการการทะยอยซื้อเรื่อยๆ ด้วยจำนวนเงินน้อยๆ)
ข้อมูลจนถึงวันที่ 12 พ.ค. 2554
บวกด้วยเงินปันผล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น