Pages

Pages

28 มกราคม 2555

มองมุมกลับ : โฆษณาออนไลน์ ถูกและดี

การทำ online marketing ทุกวันนี้ นักการตลาดอาจมองว่า ต้องลงโฆษณาในเว็บดัง ๆ ที่มีคนเข้าชมมากที่สุดในอันดับ Top 10 ถึงจะคุ้มค่าและได้ผล แต่เว็บใหญ่ ๆ ดัง ๆ ก็มีอัตราค่าโฆษณาที่แพงหูฉี่จนอดที่จะนึกเสียดายสตางค์ไม่ได้ ทำให้ต้องมาลองพิจารณาดูใหม่ว่า ยังมีแนวทางอื่นอีกหรือไม่ที่จะทำการตลาดแบบออนไลน์ให้ได้ผลโดยไม่ต้องเสียสตางค์มากมายขนาดนั้น


คุณอาจลองพิจารณาเว็บไซต์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ Top 10 แต่ยังอยู่ในระดับ Top 50 หรือ Top 100 คือมีจำนวนผู้เข้าชมคิดเป็น UIP อันดับรอง ๆ ลงมา ซึ่งก็ยังมีคนเข้าไปใช้บริการเป็นหลักหมื่นหรือหลักแสนคน แต่คิดอัตราค่าโฆษณาในราคาถูกกว่ามาก โดยเว็บไซต์ในอันดับ Top 10 อาจจะคิดฆ่าโฆษณาเป็นแสนบาทต่อเดือน ในทางกลับกันเว็บไซต์ที่มีคนเข้าเยอะแต่คิดค่าโฆษณาเพียงแค่หลักพันถึงหมื่นก็มีอยู่ไม่น้อย ถึงแม้จำนวนคนเข้าชมเว็บไซต์จะน้อยกว่า แต่เมื่อเปรียบเทียบแล้วคนอาจเข้าชมน้อยกว่าเว็บใหญ่เพียง 3-4 เท่า แต่ได้ค่าโฆษณาที่ถูกกว่าเป็น 10 เท่าทีเดียว


อีกช่องทางหนึ่งคือ เลือกลงโฆษณากับเว็บไซต์เฉพาะกลุ่ม เว็บไซต์ประเภทนี้ถึงแม้ว่าจะมีคนเข้าชมไม่มากเท่ากับพวกเว็บท่าต่าง ๆ แต่คนที่เข้าเว็บพวกนี้มักเป็นผู้ที่สนใจในเรื่องนั้นจริง ๆ หากบริษัทของคุณทำธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเว็บไซต์ดังกล่าว คุณจะมั่นใจได้ว่าคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเป้าหมายของคุณอย่างแน่นอน เช่น เว็บไซต์เกี่ยวกับรถยนต์ เว็บไซต์เกี่ยวกับกีฬาประเภทใดประเภทหนึ่ง เป็นต้น ด้วยอัตราค่าโฆษณาที่ไม่แพง แถมยังได้ลูกค้าเป้าหมายตรงกลุ่ม อย่างนี้ไม่คุ้ม อย่างไรไหว


แต่ก่อนจะมาเลือกช่องทางประชาสัมพันธ์ ต้องทำโฆษณาของคุณให้น่าสนใจเสียก่อน ไม่ใช่ว่าซื้อพื้นที่มาได้แล้ว ทำเลเยี่ยมยอด แต่โฆษณาไม่โดนใจ สื่อสารไม่รู้เรื่อง ก็เสียเวลาลงทุนลงแรงเปล่า ๆ ทั้งนี้โอกาสในการที่โฆษณาจะได้รับการตอบสนองที่ดีจะต้องประกอบด้วยหลัก AIDA


หลัก AIDA นี้คืออะไร

A มาจาก Attention หมายถึง การ “เรียกร้อง” ความสนใจ

I มาจาก Interest หมายถึง “ทำให้” สนใจ หรือกระตุ้นความต้องการ

 D มาจาก Desire หมายถึง สร้างความต้องการให้เกิดความ “อยาก” ได้มาครอบครอง

A มาจาก Action หมายถึง เร่งเร้าให้ “ซื้อ”


เมื่อ product ดี สถานที่น่าสนใจ และอัตราค่าโฆษณาไม่แพงเกินไป ทุกอย่างก็จะเอื้อต่อกัน ทำให้การทำ online marketing ได้ผลคุ้มค่ากับการลงทุนอย่างชาญฉลาดของคุณ


from http://is.gd/uee8ey


24 มกราคม 2555

คุณ "กำ" อ่ะไรอยู่???

ครอบครัวที่น่ารักอยู่ครอบครัวหนึ่ง ในครอบครัวนี้มี พ่อ แม่ และบุตรชายวัย 5 ขวบกำลังน่ารักเลยทีเดียวเจ้าหนูเป็นเด็กที่ซนอย่างร้ายกาจและขี้สงสัยอย่างมาก

อยู่มาวันหนึ่งเจ้าหนูก้อนึกครึ้มอกครึ้มใจอย่างไรบอกไม่ถูกไปคว้าเอาแจกันหยกแกะสลักต้นราชวงศ์หมิง ซึ่งนั่นก้อหมายความว่ามันราคาแพงมากกก นำมาเล่นพลิกคว่ำพลิกหงาย สักพักก้อล้วงมือเข้าไปในแจกัน

ทันใดนั้นเจ้าหนูก้อทำตาโตเท่าไข่ห่านดูเหมือนจะดีใจที่ล้วงเข้าไปเจออะไรสักอย่างแต่ปัญหาหาอยู่ที่ว่า เจ้าหนูจะดึงมือออกมาได้อย่างไร้เจ้าหนูเริ่มกระสับกระส่ายพยายามดึงมือออกมาแต่ก้อไม่สำมะเร็จ จนต้องใช้ไม้ตายคือ
"ทำไม่ได้ร้องไห้ไว้ก่อน"

เสียงเอ็ดอึงเป็นผลให้พ่อและแม่ต้องวิ่งมาดู
เมื่อมาพบเข้าต่างก้อพยายามช่วยกันดึงมือของเจ้าหนูออกจากแจกันด้วยวิธีต่างๆ
น้ำมันก้อแล้ว น้ำสบู่ก้อแล้วทำอีท่าไหนก้อไม่ออก
จนสุดท้ายผู้เป็นพ่อต้องตัดใจทุบแจกันหยกราชวงศ์หมิงทิ้งเพื่อรักษามือของลูกชายเอาไว้

เมื่อมือของเจ้าหนูหลุดจากแจกันแล้วพ่อและแม่
ก้อพบว่ามือเจ้าหนูกำอะไรบางอย่างจนแน่น
ผู้เป็นแม่จึงถามลูกชายว่า "หนูกำอะไรอยู่จ้ะลูก ?"
เจ้าหนูตอบพร้อมทำสีหน้าขึงขัง "ผมปล่อยมันไม่ได้หรอกครับ

"แล้วมันคืออะไรจ้ะลูก?" ผู้เป็นพ่อเริ่มสงสัย
"มันเป็นสตางค์ครับ"
เจ้าหนูตอบพร้อมกับค่อยๆแบมือออกอย่างทนุถนอม
จึงปรากฏว่า ในมือของเจ้าหนูมีเพียงเหรียญสลึงอยู่สองเหรียญ
เจ้าหนูหารู้ไม่ว่าการที่ เขาพยายามกำเหรียญเอาไว้ทำให้ครอบครัวต้องสูญเสียของมีค่ากว่าเป็นพันๆเท่า

แล้วเพื่อนๆ ล่ะ ขณะที่คุณกำลังใช้ชีวิตอยู่นี้ คุณกำลัง

"กำ"อะไรไว้ในชีวิตบ้าง

เงิน?
บ้าน?
งาน?
รถ?
ทิฐิ? ...

แล้วสิ่งที่คุณกำอยู่ทำให้คุณสูญเสียอะไรที่มีค่ามหาศาลไปบ้าง

เวลา....
ครอบครัว....
พ่อแม่.....
คนที่รักเรา.....
สวรรค์

แล้วคุณล่ะ "กำ"อะไรอยู่???


from http://is.gd/7SDD10


22 มกราคม 2555

"ปรับโฟกัส"เคล็ดลับความอยู่รอดของฟูจิ

ฟูจิ ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและหนึ่งในการปรับตัวคือการทำธุรกิจที่หลากหลาย

เมื่อทศวรรษ 2503 ฟูจิฟิล์ม โฮลดิงส์ คอร์ป บริษัทผลิตฟิล์มและกล้องถ่ายรูปสัญชาติญี่ปุ่น เพิ่งเริ่มต้นขยายธุรกิจไปทั่วโลก ในขณะที่ อีสต์แมน โกดัก โค ผู้ผลิตฟิล์มและกล้องถ่ายรูปของสหรัฐ เป็นผู้นำที่ไม่มีใครก้าวตามทัน

50 ปีผ่านไป ฟิล์มถ่ายรูปกลายเป็นของล้าสมัย และ โกดัก ไม่อาจรักษาความเป็นผู้นำในโลกของการถ่ายรูปเอาไว้ได้ จนต้องยื่นคำร้องขอรับการพิทักษ์ทรัพย์ภายใต้กฎหมายล้มละลายของสหรัฐ

ในทางตรงกันข้าม ฟูจิฟิล์ม เปลี่ยนแปลงตัวเองจากซัพพลายเออร์รายเล็กในธุรกิจถ่ายรูป กลายเป็นบริษัทที่มีความหลากหลาย รวมถึงธุรกิจดูแลสุขภาพ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ชิเงะทากะ โคโมริ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร ฟูจิฟิล์ม กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ ทั้ง ฟูจิฟิล์ม และ โกดัก ต่างรู้ดีว่ากระแสคลื่นดิจิทัลกำลังถาโถมเข้าใส่ แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า จะรับมืออย่างไร

สิ่งที่ ฟูจิฟิล์ม ตัดสินใจทำ คือ มองให้ไกลกว่าการปรับตัวจากการถ่ายรูปแบบอะนาล็อกเป็นการถ่ายรูปแบบดิจิทัล บริษัทพยายามดึงเอาความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเคมีมาขยายผล จนนำไปสู่การผลิตสินค้าอื่นๆ เช่น ยา เครื่องสำอาง และจอภาพผลึกเหลว (แอลซีดี)

การเปลี่ยนแปลงของ ฟูจิฟิล์ม ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและราบรื่น บริษัทต้องปลดพนักงานไปหลายพันคน และต้องปิดโรงงานหลายแห่ง

โคโมริ รับตำแหน่งประธานเมื่อปี 2543 ซึ่งเป็นช่วงที่ความต้องการฟิล์มถ่ายรูปถึงจุดสูงสุดพอดี และเมื่อเขาก้าวขึ้นเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหารในอีก 3 ปีต่อมา ฟูจิฟิล์ม ก็สามารถเอาตัวรอดในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ด้วยการปรับโครงสร้างองค์กร และลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ

ในปี 2548-2549 ฟูจิฟิล์ม ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายกว่า 200,000 ล้านเยน ส่วนใหญ่อยู่ในธุรกิจฟิล์มถ่ายรูป และสามารถทำกำไรสูงเป็นประวัติการณ์ภายในเวลาไม่นาน

ฟูจิฟิล์ม มาถึงจุดเปลี่ยนอีกครั้ง หลังจากเกิดวิกฤติการเงินโลก ทำให้บริษัทต้องลดต้นทุนค่าใช้จ่ายอีก 175,000 ล้านเยน ระหว่างปี 2552-2553

โคโมริ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จ ได้แก่ ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจเมื่อถึงยุคดิจิทัล สิ่งที่ทำให้ ฟูจิฟิล์ม แตกต่างจาก โกดัก คือ บริษัทมีความพยายามแผ่ขยายเทคโนโลยีที่เคยใช้พัฒนาการถ่ายรูป

"ในทางเทคนิค เรามีแหล่งทรัพยากรที่หลากหลายอยู่แล้ว ดังนั้น เราจึงคิดว่าต้องมีทางทำให้ทรัพยากรเหล่านั้นกลายเป็นธุรกิจใหม่ๆ" โคโมริ รำลึกความหลัง พร้อมกับเสริมว่า ฟูจิฟิล์ม คงไม่อาจรักษาความสามารถในการทำกำไร หากมุ่งความสนใจไปที่การถ่ายรูปดิจิทัลแต่เพียงอย่างเดียว

ในการผลิตฟิล์มถ่ายรูป ผู้ผลิตแต่ละรายต้องใช้สารเคมีประมาณ 100 ชนิด ฟูจิฟิล์ม จึงนำความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสารเคมีต่างๆ มาประยุกต์สร้างฟิล์มที่ใช้ในจอแอลซีดีสำหรับคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ

นอกจากนี้ ฟูจิฟิล์ม ยังนำความรู้เกี่ยวกับสารเคมีมาพัฒนายารักษาโรค โดยขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างพัฒนายารักษาโรคไข้หวัดใหญ่ ส่วนธุรกิจเครื่องสำอาง บริษัทมีครีมบำรุงผิว แอสตาลิฟต์ ที่อาศัยเทคโนโลยีต้านอนุมูลอิสระแบบเดียวกับที่ใช้รักษารูปถ่ายไม่ให้สีซีดจาง

"เวลาที่ผ่านไปแสดงให้เห็นข้อเท็จจริงว่า เมื่อต้องสูญเสียธุรกิจหลัก บริษัทบางรายสามารถปรับตัวเอาชนะสถานการณ์เลวร้ายได้ ขณะที่บางรายไม่เป็นเช่นนั้น ซึ่ง ฟูจิฟิล์ม สามารถเอาชนะสถานการณ์ได้ด้วยการสร้างความหลากหลาย" โคโมริ กล่าว

from http://is.gd/acYTn4