My personal blog about health, hobby, stock & investment, information technology, self improvement, tax and travel.
Pages
▼
Pages
▼
25 มีนาคม 2555
"กูเกิ้ล" ยกเครื่องใหญ่ ระบบสืบค้นข้อมูลอัจฉริยะ
"กูเกิ้ลดูรึยัง", "ลองกูเกิ้ลดูสิ", "เดี๋ยวเปิดกูเกิ้ลก่อน.." ..ฯลฯ เป็นคำที่ติดปากคนทั่วโลกมาตั้งนานแล้ว และสื่อความหมายถึง "ความแสนรู้" ของระบบสืบค้นข้อมูล หรือเสิร์ชเอนจิ้น อันดับ 1 ของโลกอันโด่งดังนี้ได้เป็นอย่างดี
ล่าสุด มีกระแสข่าวแรงพอสมควรว่า ผู้บริหารและทีมวิศวกร "กูเกิ้ล" กำลังทำงานหามรุ่งหามค่ำ เพื่อ "ยกเครื่อง" ระบบสืบค้นข้อมูลของเว็บ "กูเกิ้ล" ครั้งใหญ่ ซึ่งคาดว่าถ้าประสบความสำเร็จแล้วล่ะก็ ภายในระยะเวลาอีกแค่ 2-3 เดือนข้างหน้า "พลเมืองเน็ต" ทั่วโลกจะมีโอกาสได้ทดลองใช้งานกันถ้วนหน้า!
เว็บไซต์ข่าวน.ส.พ.ฉบับดัง "เดอะ วอลล์ สตรีต เจอร์นัล" รายงานข่าวการปรับปรุงวิธีการค้นหาข้อมูลของ "กูเกิ้ล" เอาไว้ว่า
ภาย ใน 2-3 เดือนข้างหน้านี้ เมื่อเราใช้ "กูเกิ้ล" สืบค้นข้อมูลในโลกอินเตอร์เน็ต "ผลลัพธ์" ที่ปรากฏขึ้นมาหลังเคาะแป้นเอ็นเทอร์ ก็จะไม่ได้มีแค่คำตอบเป็น "ลิงก์" สีฟ้าอีกต่อไป
แต่บรรดา "ข้อมูลแวดล้อม" อันเกี่ยวข้องกับคำตอบที่ต้องการทั้งหมดจะปรากฏขึ้นมาให้เห็นด้วย
แตกต่างจากวิธีสืบค้นข้อมูลแบบเก่าของ "กูเกิ้ล" ซึ่งโปรแกรมจะใช้วิธีค้นหาเอา "คำ" ที่สะกดเหมือนกัน เขียนเหมือนกัน และมีคนคลิกไปเข้าไปชมมากที่สุดมาโชว์ให้ดูในหน้าผลลัพธ์
พูดง่ายๆ หมายความว่า ตัว "กูเกิ้ล" นั้นไม่เข้าใจ "ความหมายที่แท้จริง" ของคำที่เรากรอกเข้าไปเพื่อค้นข้อมูล แต่อาศัยวิธีไปควานหาแค่ "คำคำนั้น" ในเว็บต่างๆ นับแสนนับล้านเว็บมาแสดงให้เราเลือกดู
อย่างไรก็ตาม ด้วยระบบใหม่นี้ "กูเกิ้ล" จะฉลาดขึ้น มีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้น โดยสามารถรู้ถึง "ความหมาย" ของคำที่เราต้องหาค้นหา พร้อมๆ กับสามารถแสดงผลลัพธ์ที่เชื่อมโยงกันได้โดยอัตโนมัติ
สำหรับระบบใหม่ที่ "กูเกิ้ล" กำลังยกเครื่องดังกล่าวเรียกว่าเทคโนโลยี "Semantic Search" หรือซีแมนติก เสิร์ช..
เป็นการต่อยอดมาจากโปรแกรมค้น-จัดทำดัชนีข้อมูลในอินเตอร์เน็ตของบริษัท "เมตาเว็บ เทคโนโลยีส์" ซึ่ง "กูเกิ้ล" เข้าเทกโอเวอร์ซื้อกิจการนี้เมื่อราวๆ 2 ปีก่อน
นายอามิต สิงหล ผู้บริหารระดับสูงของกูเกิ้ลเปิดเผยกับวอลล์ สตรีต เจอร์นัล เมื่อเร็วๆ นี้ว่า
หลังจากนี้ "เว็บกูเกิ้ล" จะแสดงผลลัพธ์การสืบค้นได้ "ตรงประเด็น" ยิ่งขึ้น โดยโปรแกรม จะไล่เปรียบเทียบคำตอบกับ "ฐานข้อมูล" หลายร้อยล้านประเภท ไม่ว่าจะเป็นฐานข้อมูลของสถานที่ คน หรือสิ่งต่างๆ อีกมากมาย และในช่วงสองปีที่ผ่านมา บริษัทกูเกิ้ลได้ค่อยๆ พัฒนาฐานข้อมูลนี้ให้ใหญ่โตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
""Semantic Search" มีความสามารถในการช่วยเชื่อมโยงคำที่แตกต่างกันเข้าด้วยกัน อาทิ เมื่อคุณค้นคำว่า กูเกิ้ล ระบบก็จะเชื่อมโยงไปถึงข้อมูลเกี่ยวกับ แลร์รี่ เพจ กับ เซอร์เกย์ บริน สองผู้ก่อตั้งกูเกิ้ลได้ด้วย" รายงานวอลล์ สตรีต เจอร์นัล ระบุ
นายอามิตยังเผยด้วยว่า ระบบสืบค้นข้อมูลใหม่ล่าสุดนี้จะทำงานคล้ายกับกระบวนวิธีการเรียนรู้ที่ทำให้ "มนุษย์เข้าใจโลก"
รายงานข่าวจากทีมงานพัฒนาเว็บกูเกิ้ลอ้างว่า การยกเครื่องครั้งใหญ่น่าจะเริ่มทดสอบใช้งานกันอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
แต่นายอามิตกล่าวว่า ยังต้องทำงานกันต่อไปอีกเป็นปี เพื่อให้เว็บกูเกิ้ลเข้าสู่ "ยุคต่อไป" ของเว็บไซต์เสิร์ชเอนจิ้น
วอลล์ สตรีต เจอร์นัล ระบุว่า อีกตัวอย่างหนึ่งของ Semantic Search ก็คือ ณ ปัจจุบัน ถ้าเราลองค้นข้อมูลคำว่า "ake Tahoe" (ทะลสาบทาโฮ) ในสหรัฐอเมริกา
คำตอบที่ได้จะเป็น "ลิงก์" เชื่อมไปสู่เว็บของสำนักงานท่องเที่ยวทาโฮ กับ ข้อมูลทะเลสาบทาโฮ ในเว็บไซต์วิกิพีเดีย ไปจนถึงสารพัดเว็บที่มีคำว่า "Lake Tahoe" อยู่ในหน้าเว็บเพจ
แต่เมื่อ "กูเกิ้ลใหม่" เริ่มใช้งาน คำตอบที่เพิ่มเติมขึ้นมาจะแสดงให้เห็นว่าระบบ "รู้จัก" ทะเลสาบดังกล่าวเป็นอย่างดี อาทิ แสดงข้อมูลตำแหน่งที่ตั้ง ลักษณะทางภูมิศาสตร์ อุณหภูมิเฉลี่ยในแต่ละช่วง หรือลงลึกไปจนถึงปริมาณความเค็มของน้ำในทะเลสาบ
หรืออีกตัวอย่าง เช่น ทุกวันนี้เมื่อเราถามกูเกิ้ลว่า "ทะเลสาบ 10 แห่งที่ใหญ่ที่สุดในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีอะไรบ้าง?" จะได้คำตอบเพียงแค่ "ลิงก์" รายชื่อทะเลสาบต่างๆ ในแคลิฟอร์เนีย หรือ "ลิงก์" ของเว็บที่ตอบคำถามดังกล่าวได้ แต่ระบบใหม่จะช่วยให้ "กูเกิ้ล" ตอบคำถามนี้ได้ด้วยตัวมันเอง
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า "กูเกิ้ล" จะละทิ้งรูปแบบการค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันไปทั้งหมด เพราะนับเป็น "จุดแข็ง" ที่ทำเงินให้มหาศาล
โดยปีที่ผ่านมาวิธีการขาย "โฆษณา" ของกูเกิ้ล ทำรายได้ให้บริษัทถึง 1.1 ล้านล้านบาท!
ซึ่งรูปแบบการทำงาน ก็คือ เมื่อเราค้นหาคำๆ ไหน เมื่อหน้าผลลัพธ์โชว์ออกมา ข้อมูลโฆษณาที่เกี่ยวข้อง หรือสัมพันธ์กับคำค้น-คำตอบ ก็จะปรากฏออกมาด้วยในตำแหน่งใกล้เคียง อาทิ ถ้าเราค้นหารถรุ่นใดรุ่นหนึ่ง กูเกิ้ลจะโชว์โฆษณาซื้อขายรถยนต์ขึ้นมาข้างๆ เป็นต้น
ว่ากันว่าภายใต้ระบบใหม่ที่กำลังซุ่มพัฒนากันนี้ การวางโฆษณาสินค้าในกูเกิ้ลจะยิ่ง "ตรงกลุ่มเป้าหมาย" มากกว่าเดิมหลายเท่า ไม่ใช่ทำในลักษณะสุ่มหว่านไปกว้างๆ เช่นตอนนี้
แต่แน่นอนว่า เมื่อกูเกิ้ลเปลี่ยนแปลงระบบสืบค้าข้อมูลใหม่... บรรดา เว็บไซต์ต่างๆ ย่อมต้องปรับเปลี่ยนวิธีการ "เขียนเว็บไซต์" เช่นกัน เพื่อให้เว็บของตนสอดคล้องกับกระบวนคิดของ "สมองกล" กูเกิ้ลยุคใหม่
วอลล์ สตรีต เจอร์นัล วิเคราะห์ว่า สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ "กูเกิ้ล" ต้องเร่งปรับระบบเสิร์ชเอนจิ้นให้รุดหน้า ก็สืบเนื่องมาจากปัจจัย 2-3 ประการสำคัญด้วยกัน นั่นคือ
1. เพื่อเพิ่มรายได้โฆษณา2. เพื่อให้เทคโนโลยีสืบค้นข้อมูลของต้นล้ำหน้าคู่แข่ง เช่น "บิง" ของค่ายไมโครซอฟท์ อย่างเด็ดขาด3. เพื่อดึงให้ "นักท่องเน็ต" ใช้เวลาอยู่กับหน้าเว็บ "กูเกิ้ล" มากขึ้น
เพราะ ทุกวันนี้กระแสความแรงของเว็บเครือข่ายสังคมออนไลน์ อาทิ "เฟซบุ๊ก" กับ "ทวิตเตอร์" ดูดดึงเอาเวลาของประชากรเน็ตไปเป็นส่วนใหญ่ ขณะเดียวกันเว็บสังคมออนไลน์ "กูเกิ้ล พลัส" ยังเบียดช่วยชิงเอาฐานลูกค้าจากเฟซบุ๊กมาได้ไม่มากเท่าที่ควร
ล่าสุด มีข่าวว่า เพื่อให้การสืบค้นข้อมูล ฉลาดล้ำกว่าเดิม ทางผู้บริหาร "กูเกิ้ล" ได้เข้าไปติดต่อประสานงานขอสิทธิในการ "เข้าถึง" ข้อมูลในเว็บไซต์หน่วยงานของรัฐ รวมถึงฐานข้อมูล "ซีไอเอ เวิลด์ แฟกต์บุ๊ก" ที่รวบรวมข้อมูลประเทศต่างๆ ทั่วโลกอีกด้วย
กูเกิ้ลใหม่ หลังผ่านการยกเครื่องจะ "อัจฉริยะ" ชนิดล้ำหน้าแซงคู่แข่งไม่เห็นฝุ่นจริงหรือไม่ จับตารอดูกันต่อไป อีกไม่ช้าไม่นาน นักท่องเน็ตทั่วโลกคงได้พิสูจน์กัน!
from http://is.gd/qjkFRo
21 มีนาคม 2555
Jeff Bezos
Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon.com ร้านค้าออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นบุตรของ Jackie หญิงอเมริกันฐานะปานกลางคนหนึ่ง
กับสามีคนที่สองของเธอ Mike Bezos ชาวอเมริกันเชื้อสายคิวบา ทั้งสองพบกันที่สาขาของธนาคารท้องถิ่นแห่งหนึ่ง ที่ทั้งสองเป็นพนักงานอยู่
Jeff ฉายแววฉลาดและชอบเรียนรู้ตั้งแต่เด็ก เขาขอบเล่นพวกสิ่งประดิษฐ์โครงงานทางวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เล็ก และฝันอยากเป็นนักฟิสิกส์ โดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับอวกาศเมื่อโตขึ้น Jeff เรียนระดับอุดมศึกษาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ที่มหาวิทยาลัยพรินสตัน และเป็นนักกิจกรรมตัวยงที่นั่นด้วย
เมื่อเรียนจบ แทนที่ Jeff จะเลือกทำงานในบริษัทที่มีชื่อเสียงขนาดใหญ่เหมือนเพื่อนร่วมรุ่น เขาเลือกทำงานกับบริษัทขนาดเล็กที่พัฒนาโปรแกรมด้านการเงิน และนั่นทำให้เขาก้าวหน้าในองค์กรได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีโอกาสได้รับผิดชอบงานสำคัญๆ ตั้งแต่เป็นพนักงานปีแรก เขากลายเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการของบริษัทหลังจากทำงานได้แค่ปีเดียว
ไม่นาน Jeff ก็ย้ายไปทำงานกับธนาคารแห่งหนึ่งในตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการเช่นกัน ด้วยความที่เป็นคนขยันและเอาใจใส่งานอย่างมาก ภายในเวลาแค่สิบเดือน เขาก็กลายเป็นรองผู้อำนวยการที่หนุ่มที่สุดในประวัติศาสตร์ของธนาคาร หลังจากนั้น สองปี เขาก็ย้ายไปทำงานกับ Hedge Fund แห่งหนึ่งและเขาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วอีกตามเคย
ในช่วงนี้เองที่ Jeff ได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า อินเทอร์เน็ต ซึ่ง แม้ว่าจะยังมีขนาดเล็กมาก แต่มันกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในอัตรา 2,300 ต่อปี เขาตื่นเต้นกับโมเดลทางธุรกิจใหม่ที่จะขายสินค้าผ่านเครือข่ายนี้เป็นอย่างมาก และคิดว่า นี่คือ โอกาสครั้งใหญ่ในช่วงชีวิตของเขาที่จะต้องรีบคว้าไว้ เพื่อสานฝันที่จะเปิดบริษัทเป็นของตัวเอง
Jeff ลังเลอยู่นานก่อนที่จะลาออกจากงานประจำที่ทำรายได้สูงมากให้กับเขา เพื่อไปลองทำธุรกิจใหม่ที่ยังไม่มีใครรู้ว่า จะเป็นไปได้หรือไม่ Jeff เล่าว่า ความคิดสุดท้ายที่ทำให้เขาตัดสินใจได้ คือ การถามตัวเองว่า ถ้าวันหนึ่งเขาอายุ 80 ปีแล้วนึกย้อนกลับไปในอดีต เขาจะเสียใจว่าวันนี้เขาได้ทิ้งงานประจำเงินเดือนสูงนี้ไปหรือเสียใจที่พลาดโอกาสที่จะได้เป็นคนกลุ่มแรกๆ ที่ลองทำธุรกิจบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนี้ แม้ว่าสุดท้ายจะไม่สำเร็จ มากกว่ากัน นั่นทำให้เขาฟังธงได้ทันทีว่า จริงๆ แล้ว เขาต้องการทำอะไรในชีวิตมากกว่ากัน
ในวัย 30 ปี Jeff จึงย้ายไปตั้งรกรากที่เมือง Seattle เพื่อเริ่มต้นบริษัท Amazon.com ในช่วงปีแรก เขาต้องคลุกอยู่กับโปรแกรมเมอร์อีกสองคนในห้องแคบๆ เพื่อพัฒนาระบบไอที และต้องใช้เงินออมทั้งหมดของเขาไปกับการจ่ายเงินเดือนและลงทุนซื้ออุปกรณ์ไอที โดยเป็นหุ้นสามัญ 10,000 ดอลลาร์ และอีก 44,000 ดอลลาร์ ในรูปของเงินที่ตัวเขาเองให้บริษัทกู้ ในปีถัดมา เงินส่วนตัวก็หมดลง ทำให้ต้องขายหุ้นส่วนหนึ่งให้พ่อของเขา เพื่อแลกกับเงินสด 100,000 ดอลลาร์ เพื่อมาเสริมสภาพคล่องให้กับบริษัท อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบริษัทจะยังมีผลประกอบการขาดทุนอยู่ แต่รายได้ของบริษัทก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วทุกปี บริษัทต้องวางแผนย้ายคลังสินค้าอยู่ตลอดเวลา เพราะคลังสินค้าเต็ม
หลังจากปีแรก Jeff ก็แทบจะไม่ได้จับงานพัฒนาระบบไอทีของบริษัทอีกเลย เพราะต้องยุ่งกับงานส่วนอื่นของธุรกิจมากกว่า ที่สำคัญที่สุด ก็คือ งานหาทุน ซึ่งแม้ว่า Jeff จะอยู่ในสหรัฐ แต่ในช่วงเวลานั้น การขอเงินจาก Business Angels หรือ Venture Capitalists ก็ยังไม่ได้ง่ายดายเหมือนสมัยนี้ Jeff ต้องเจอคำถามมากมายจากคนที่มองไม่ออกว่า ลูกค้าจะไปซื้อหนังสือทางอินเทอร์เน็ตทำไม ในเมื่อร้านหนังสือเป็นสถานที่ที่น่าไปเดินอย่างมาก บางคนก็มองว่า ถ้าร้านหนังสือขนาดใหญ่หันมาแข่งกับ Jeff เมื่อไร บริษัทเล็กๆ อย่าง Amazon.com ก็คงถูกบดขยี้อย่างง่ายดาย
Jeff เริ่มต้นจากการเป็นคนที่นำเสนอแผนธุรกิจแบบฟังไม่รู้เรื่อง เพราะพูดแต่เรื่องเทคนิคมากเกินไป กลายเป็นการนำเสนอที่เน้นเรื่องโมเดลทางธุรกิจมากขึ้น เขาพยายามชี้ให้นักลงทุนเห็นข้อได้เปรียบสำคัญของร้านค้าบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่ การมี Cash Cycle ที่ดีกว่า การใช้เงินลงทุนน้อยกว่าเพราะไม่ต้องมีหน้าร้าน และการเป็นธุรกิจที่มีการประหยัดต่อขนาดที่ดีกว่า เพราะเมื่อระบบเสร็จสมบูรณ์แล้ว รายได้ที่เพิ่มขึ้นจะกลายเป็นกำไร ในขณะที่ต้นทุนส่วนใหญ่จะคงที่ เขาเรียนรู้ที่จะเป็นนักธุรกิจมากขึ้น
จุดสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ Jeff ประสบความสำเร็จ คือ การที่ Jeff เน้นที่จะสร้างยอดขายให้เติบโตให้เร็วที่สุดก่อน เพื่อให้ข้อได้เปรียบคู่แข่ง แทนที่จะรีบมองกำไรตั้งแต่ปีแรกๆ ซึ่งแต่เดิมเขาถูกวิจารณ์ว่าทำธุรกิจผิดวิธี แต่สุดท้ายแล้ว Jeff ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ทุกวันนี้ Amazon มีขนาดของธุรกิจที่ใหญ่เกินกว่าที่ใครสร้าง Amazon ที่สองได้อีกแล้ว (เพราะจะแข่งต้นทุนไม่ได้ตั้งแต่วันแรก) และทุกวันนี้ Amazon ก็ยังเป็นบริษัทที่เติบโตสูงมากทุกปี ทั้งที่มีขนาดใหญ่มากแล้ว
from http://is.gd/FrUsFY
กับสามีคนที่สองของเธอ Mike Bezos ชาวอเมริกันเชื้อสายคิวบา ทั้งสองพบกันที่สาขาของธนาคารท้องถิ่นแห่งหนึ่ง ที่ทั้งสองเป็นพนักงานอยู่
Jeff ฉายแววฉลาดและชอบเรียนรู้ตั้งแต่เด็ก เขาขอบเล่นพวกสิ่งประดิษฐ์โครงงานทางวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เล็ก และฝันอยากเป็นนักฟิสิกส์ โดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับอวกาศเมื่อโตขึ้น Jeff เรียนระดับอุดมศึกษาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ที่มหาวิทยาลัยพรินสตัน และเป็นนักกิจกรรมตัวยงที่นั่นด้วย
เมื่อเรียนจบ แทนที่ Jeff จะเลือกทำงานในบริษัทที่มีชื่อเสียงขนาดใหญ่เหมือนเพื่อนร่วมรุ่น เขาเลือกทำงานกับบริษัทขนาดเล็กที่พัฒนาโปรแกรมด้านการเงิน และนั่นทำให้เขาก้าวหน้าในองค์กรได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีโอกาสได้รับผิดชอบงานสำคัญๆ ตั้งแต่เป็นพนักงานปีแรก เขากลายเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการของบริษัทหลังจากทำงานได้แค่ปีเดียว
ไม่นาน Jeff ก็ย้ายไปทำงานกับธนาคารแห่งหนึ่งในตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการเช่นกัน ด้วยความที่เป็นคนขยันและเอาใจใส่งานอย่างมาก ภายในเวลาแค่สิบเดือน เขาก็กลายเป็นรองผู้อำนวยการที่หนุ่มที่สุดในประวัติศาสตร์ของธนาคาร หลังจากนั้น สองปี เขาก็ย้ายไปทำงานกับ Hedge Fund แห่งหนึ่งและเขาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วอีกตามเคย
ในช่วงนี้เองที่ Jeff ได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า อินเทอร์เน็ต ซึ่ง แม้ว่าจะยังมีขนาดเล็กมาก แต่มันกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในอัตรา 2,300 ต่อปี เขาตื่นเต้นกับโมเดลทางธุรกิจใหม่ที่จะขายสินค้าผ่านเครือข่ายนี้เป็นอย่างมาก และคิดว่า นี่คือ โอกาสครั้งใหญ่ในช่วงชีวิตของเขาที่จะต้องรีบคว้าไว้ เพื่อสานฝันที่จะเปิดบริษัทเป็นของตัวเอง
Jeff ลังเลอยู่นานก่อนที่จะลาออกจากงานประจำที่ทำรายได้สูงมากให้กับเขา เพื่อไปลองทำธุรกิจใหม่ที่ยังไม่มีใครรู้ว่า จะเป็นไปได้หรือไม่ Jeff เล่าว่า ความคิดสุดท้ายที่ทำให้เขาตัดสินใจได้ คือ การถามตัวเองว่า ถ้าวันหนึ่งเขาอายุ 80 ปีแล้วนึกย้อนกลับไปในอดีต เขาจะเสียใจว่าวันนี้เขาได้ทิ้งงานประจำเงินเดือนสูงนี้ไปหรือเสียใจที่พลาดโอกาสที่จะได้เป็นคนกลุ่มแรกๆ ที่ลองทำธุรกิจบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนี้ แม้ว่าสุดท้ายจะไม่สำเร็จ มากกว่ากัน นั่นทำให้เขาฟังธงได้ทันทีว่า จริงๆ แล้ว เขาต้องการทำอะไรในชีวิตมากกว่ากัน
ในวัย 30 ปี Jeff จึงย้ายไปตั้งรกรากที่เมือง Seattle เพื่อเริ่มต้นบริษัท Amazon.com ในช่วงปีแรก เขาต้องคลุกอยู่กับโปรแกรมเมอร์อีกสองคนในห้องแคบๆ เพื่อพัฒนาระบบไอที และต้องใช้เงินออมทั้งหมดของเขาไปกับการจ่ายเงินเดือนและลงทุนซื้ออุปกรณ์ไอที โดยเป็นหุ้นสามัญ 10,000 ดอลลาร์ และอีก 44,000 ดอลลาร์ ในรูปของเงินที่ตัวเขาเองให้บริษัทกู้ ในปีถัดมา เงินส่วนตัวก็หมดลง ทำให้ต้องขายหุ้นส่วนหนึ่งให้พ่อของเขา เพื่อแลกกับเงินสด 100,000 ดอลลาร์ เพื่อมาเสริมสภาพคล่องให้กับบริษัท อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบริษัทจะยังมีผลประกอบการขาดทุนอยู่ แต่รายได้ของบริษัทก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วทุกปี บริษัทต้องวางแผนย้ายคลังสินค้าอยู่ตลอดเวลา เพราะคลังสินค้าเต็ม
หลังจากปีแรก Jeff ก็แทบจะไม่ได้จับงานพัฒนาระบบไอทีของบริษัทอีกเลย เพราะต้องยุ่งกับงานส่วนอื่นของธุรกิจมากกว่า ที่สำคัญที่สุด ก็คือ งานหาทุน ซึ่งแม้ว่า Jeff จะอยู่ในสหรัฐ แต่ในช่วงเวลานั้น การขอเงินจาก Business Angels หรือ Venture Capitalists ก็ยังไม่ได้ง่ายดายเหมือนสมัยนี้ Jeff ต้องเจอคำถามมากมายจากคนที่มองไม่ออกว่า ลูกค้าจะไปซื้อหนังสือทางอินเทอร์เน็ตทำไม ในเมื่อร้านหนังสือเป็นสถานที่ที่น่าไปเดินอย่างมาก บางคนก็มองว่า ถ้าร้านหนังสือขนาดใหญ่หันมาแข่งกับ Jeff เมื่อไร บริษัทเล็กๆ อย่าง Amazon.com ก็คงถูกบดขยี้อย่างง่ายดาย
Jeff เริ่มต้นจากการเป็นคนที่นำเสนอแผนธุรกิจแบบฟังไม่รู้เรื่อง เพราะพูดแต่เรื่องเทคนิคมากเกินไป กลายเป็นการนำเสนอที่เน้นเรื่องโมเดลทางธุรกิจมากขึ้น เขาพยายามชี้ให้นักลงทุนเห็นข้อได้เปรียบสำคัญของร้านค้าบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่ การมี Cash Cycle ที่ดีกว่า การใช้เงินลงทุนน้อยกว่าเพราะไม่ต้องมีหน้าร้าน และการเป็นธุรกิจที่มีการประหยัดต่อขนาดที่ดีกว่า เพราะเมื่อระบบเสร็จสมบูรณ์แล้ว รายได้ที่เพิ่มขึ้นจะกลายเป็นกำไร ในขณะที่ต้นทุนส่วนใหญ่จะคงที่ เขาเรียนรู้ที่จะเป็นนักธุรกิจมากขึ้น
จุดสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ Jeff ประสบความสำเร็จ คือ การที่ Jeff เน้นที่จะสร้างยอดขายให้เติบโตให้เร็วที่สุดก่อน เพื่อให้ข้อได้เปรียบคู่แข่ง แทนที่จะรีบมองกำไรตั้งแต่ปีแรกๆ ซึ่งแต่เดิมเขาถูกวิจารณ์ว่าทำธุรกิจผิดวิธี แต่สุดท้ายแล้ว Jeff ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ทุกวันนี้ Amazon มีขนาดของธุรกิจที่ใหญ่เกินกว่าที่ใครสร้าง Amazon ที่สองได้อีกแล้ว (เพราะจะแข่งต้นทุนไม่ได้ตั้งแต่วันแรก) และทุกวันนี้ Amazon ก็ยังเป็นบริษัทที่เติบโตสูงมากทุกปี ทั้งที่มีขนาดใหญ่มากแล้ว
from http://is.gd/FrUsFY
18 มีนาคม 2555
"ประโยชน์ของการออม คือการสร้างนิสัย"...เคล็ดลับลงทุนของ "ดร.ยุ้ย"
“ประโยชน์ของการออมเงินมันคือการสร้างนิสัย และการออมเงินมันก็คล้าย ๆ กับเรื่องการซื้อบ้าน เช่นลูกค้ารายหนึ่งเล่าให้ฟังว่า อยากซื้อบ้านอยากผ่อนเพราะมันจะสร้างวินัย ทำให้เรามีหน้าที่ และทำให้เรารู้สึกภูมิใจ เพราะลูกค้ารายนี้มีอายุแค่เพียง 28 - 29 ปีเอง เมื่อเรามีวินัย มีหน้าที่ที่จะส่งบ้าน พอวันข้างหน้าเราส่งบ้านหมด บ้านก็มีมูลค่าที่เพิ่มขึ้น มันก็คือการออมอย่างหนึ่งด้วย”
การออมเงินถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องปฏิบัติให้สม่ำเสมอ และควรปลูกฝังการประหยัดให้กับลูกหลานของเราด้วยตั้งแต่อายุยังน้อย เพื่ออนาคตจะได้ไม่ต้องพบกับความลำบาก “คอลัมน์เจาะพอร์ตคนดัง”ฉบับนี้ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้บริหารหญิงเก่งอย่าง “ดร.ยุ้ย หรือ เกษรา ธัญลักษณ์” แห่ง บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA ที่วันนี้จะมาเผยเคล็ดลับการออมเงินและการสอนลูกให้รู้จักการออมเงินในแบบฉบับของหญิงสมัยใหม่มาฝากคุณผู้อ่าน และถ้าสนใจจะนำไปปรับใช้กับลูกหลานของตนเอง“ดร.ยุ้ย” บอกยินดีคร๊า...
ดร.ยุ้ย บอกว่า ตอนนี้เป็นคุณแม่ลูกหนึ่ง และสอนหนังสือที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงเป็นผู้บริหารของ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งการสอนหนังสือ และการเป็นผู้บริหารทำให้เราสามารถกำหนดเวลาของการทำงานได้อย่างชัดเจน ซึ่งทั้งหมดสามารถทำได้อย่างไม่มีปัญหา และกับการสอนลูกกับการออมเงินเราก็จะมีวิธีด้วยการซื้อหนังสือที่เป็นนิทานในตลาดหลักทรัพย์มาสอนอยู่เสมอว่า การประหยัดอดออมมันมีคุณค่าอย่างไรบ้าง
สำหรับการบริหารเงินออมของ “ดร.ยุ้ย”บอกว่า รายได้ส่วนใหญ่ที่เข้ามาจะเป็นในรูปแบบของเงินปันผลของบริษัทและเงินค่าสอนหนังสือ โดยทั้งหมดจะแบ่งเก็บออมไว้ใน 3 รูปแบบ โดยส่วนแรกจะเป็นค่าใช้จ่ายปกติในชีวิตประจำวัน ส่วนที่ 2 เก็บไว้เป็นเซฟวิ่ง ซื้อหุ้นกู้ ซื้ออสังหาริมทรัพย์เก็บสะสม และส่วนสุดท้ายเป็นการฝากธนาคารไว้เพื่อการลงทุนอนาคตตามโอกาสที่เหมาะสม เช่น ถ้าช่วงไหนหุ้นตกเราอาจจะนำเงินตรงนี้ถอนออกมาเพื่อซื้อหุ้นตัวนั้น ๆ แต่จะเป็นการลงทุนแบบระยะสั้น ๆ นอกจากนี้แล้วการลงทุนทองคำมีด้วยเช่นกัน แต่จะเป็นแบบทองก้อนมากว่าทองรูปพรรณ สาเหตุที่ลงทุนทองคำเพราะมองว่ามันเป็นแอสเซทที่น่าสนใจ มูลค่าไม่เคยเท่ากับศูนย์ แต่การลงทุนในหุ้นยังเท่ากับศูนย์บาทได้
“ประโยชน์ของการออมเงินมันคือการสร้างนิสัย และการออมเงินมันก็คล้าย ๆ กับเรื่องการซื้อบ้าน เช่นลูกค้ารายหนึ่งเล่าให้ฟังว่า อยากซื้อบ้านอยากผ่อนเพราะมันจะสร้างวินัย ทำให้เรามีหน้าที่ และทำให้เรารู้สึกภูมิใจ เพราะลูกค้ารายนี้มีอายุแค่เพียง 28 - 29 ปีเอง เมื่อเรามีวินัย มีหน้าที่ที่จะส่งบ้าน พอวันข้างหน้าเราส่งบ้านหมด บ้านก็มีมูลค่าที่เพิ่มขึ้น มันก็คือการออมอย่างหนึ่งด้วย”
ส่วนงานบริหารของบริษัทตอนนี้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต้องบอกว่ามีการแข่งขันกันสูงมาก สิ่งที่สำคัญที่สุดมันอยู่ที่ช่วงจังหวะ ทุนแข็งแกร่ง และการแข่งขันในแบรนด์ดิ้ง ที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจและไว้วางใจ เพราะหนึ่งสิ่งที่สำคัญของการซื้อบ้านมันก็เหมือนกับการออมเงินด้วยเช่นกัน มูลค่าของบ้านไม่มีตก มีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามระยะเวลา ซึ่งการเลือกบ้านก็เป็นอีกหนึ่งของการลงทุนถ้าเราเลือกเป็น มันก็จะเป็นเงินออมในอนาคตได้เช่นกัน
“เสนา ทำอสังหาริมทรัพย์มากกว่า 30 ปีแล้ว เราต้องการเป็นคนทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้ครอบคลุม 360 องศา ซึ่งก่อนหน้านี้เราจะทำทาวเฮ้าส์เพียงอย่างเดียว ตอนนี้เราก็เริ่มที่จะทำหลายอย่างมากขึ้น ซึ่งเป็นจุดยืนของเรา เพื่อเป็นการสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าในครบ”ดร. ยุ้ย บอก
ดร.ยุ้ย บอกว่า การทำงานที่ดีให้ประสบความสำเร็จนั้นจะมีคำคมที่ใช้อยู่เสมอคือ “ถ้าชกยังไม่ครบ 10 ยกเราไม่เลิก” ซึ่งถ้าเรายังทำไม่ครบเราจะไม่ยอมเลิก นอกจากนี้แล้วการทำธุรกิจที่ดีต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพราะถ้าเราเชื่อมั่นว่ามันดีแล้วเราก็จะไม่มีการพัฒนา แต่พี่คิดว่า “การแข่งขัน” คือการพัฒนา
สุดท้าย ดร. ยุ้ย ฝากบอกว่า โดยส่วนตัวแล้วการใช้จ่ายเงินค่อนข้างจะมีกรอบ ซึ่งถ้าเรามีเงิน 100 บาท จะต้องแบ่งเก็บไว้ 20 บาท เพื่อเป็นเซฟวิ่ง แต่จะทำแบบสบาย ๆ ไม่ต้องตรึงเครียด แต่ต้องทำอย่างมีวินัยด้วย เพราะสิ่งที่เราเก็บไว้ต้องยอมรับว่ามันจะช่วยเราได้ในยามฉุกเฉิน เพราะไม่รู้ว่าในวันข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น สิ่งหนึ่งที่เราต้องยอมรับคือ ต้องดูแลตัวเอง เพราะมันจะเป็นเครื่องมือของความมั่นคงด้านการเงิน และเราจะใช้หลักนี้เป็นเครื่องมือในการดูแลเราได้
////////////////
ชื่อ - นามสกุล ดร. เกษรา ธัญลักษณ์ (ยุ้ย)
วันเดือนปีเกิด 29 สิงหาคม 2517
การศึกษา บช.บ. (การเงิน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
M.B.A. (Finance and Accounting)University of California, U.S.A.
M.A. (Economics) Claremont Graduate University, U.S.A.
Ph.D. (Economics) Claremont Graduate University, U.S.A.
งานปัจจุบัน กรรมการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA
อาจารย์ ภาควิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
from http://is.gd/uoPABf
การออมเงินถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องปฏิบัติให้สม่ำเสมอ และควรปลูกฝังการประหยัดให้กับลูกหลานของเราด้วยตั้งแต่อายุยังน้อย เพื่ออนาคตจะได้ไม่ต้องพบกับความลำบาก “คอลัมน์เจาะพอร์ตคนดัง”ฉบับนี้ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้บริหารหญิงเก่งอย่าง “ดร.ยุ้ย หรือ เกษรา ธัญลักษณ์” แห่ง บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA ที่วันนี้จะมาเผยเคล็ดลับการออมเงินและการสอนลูกให้รู้จักการออมเงินในแบบฉบับของหญิงสมัยใหม่มาฝากคุณผู้อ่าน และถ้าสนใจจะนำไปปรับใช้กับลูกหลานของตนเอง“ดร.ยุ้ย” บอกยินดีคร๊า...
ดร.ยุ้ย บอกว่า ตอนนี้เป็นคุณแม่ลูกหนึ่ง และสอนหนังสือที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงเป็นผู้บริหารของ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งการสอนหนังสือ และการเป็นผู้บริหารทำให้เราสามารถกำหนดเวลาของการทำงานได้อย่างชัดเจน ซึ่งทั้งหมดสามารถทำได้อย่างไม่มีปัญหา และกับการสอนลูกกับการออมเงินเราก็จะมีวิธีด้วยการซื้อหนังสือที่เป็นนิทานในตลาดหลักทรัพย์มาสอนอยู่เสมอว่า การประหยัดอดออมมันมีคุณค่าอย่างไรบ้าง
สำหรับการบริหารเงินออมของ “ดร.ยุ้ย”บอกว่า รายได้ส่วนใหญ่ที่เข้ามาจะเป็นในรูปแบบของเงินปันผลของบริษัทและเงินค่าสอนหนังสือ โดยทั้งหมดจะแบ่งเก็บออมไว้ใน 3 รูปแบบ โดยส่วนแรกจะเป็นค่าใช้จ่ายปกติในชีวิตประจำวัน ส่วนที่ 2 เก็บไว้เป็นเซฟวิ่ง ซื้อหุ้นกู้ ซื้ออสังหาริมทรัพย์เก็บสะสม และส่วนสุดท้ายเป็นการฝากธนาคารไว้เพื่อการลงทุนอนาคตตามโอกาสที่เหมาะสม เช่น ถ้าช่วงไหนหุ้นตกเราอาจจะนำเงินตรงนี้ถอนออกมาเพื่อซื้อหุ้นตัวนั้น ๆ แต่จะเป็นการลงทุนแบบระยะสั้น ๆ นอกจากนี้แล้วการลงทุนทองคำมีด้วยเช่นกัน แต่จะเป็นแบบทองก้อนมากว่าทองรูปพรรณ สาเหตุที่ลงทุนทองคำเพราะมองว่ามันเป็นแอสเซทที่น่าสนใจ มูลค่าไม่เคยเท่ากับศูนย์ แต่การลงทุนในหุ้นยังเท่ากับศูนย์บาทได้
“ประโยชน์ของการออมเงินมันคือการสร้างนิสัย และการออมเงินมันก็คล้าย ๆ กับเรื่องการซื้อบ้าน เช่นลูกค้ารายหนึ่งเล่าให้ฟังว่า อยากซื้อบ้านอยากผ่อนเพราะมันจะสร้างวินัย ทำให้เรามีหน้าที่ และทำให้เรารู้สึกภูมิใจ เพราะลูกค้ารายนี้มีอายุแค่เพียง 28 - 29 ปีเอง เมื่อเรามีวินัย มีหน้าที่ที่จะส่งบ้าน พอวันข้างหน้าเราส่งบ้านหมด บ้านก็มีมูลค่าที่เพิ่มขึ้น มันก็คือการออมอย่างหนึ่งด้วย”
ส่วนงานบริหารของบริษัทตอนนี้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต้องบอกว่ามีการแข่งขันกันสูงมาก สิ่งที่สำคัญที่สุดมันอยู่ที่ช่วงจังหวะ ทุนแข็งแกร่ง และการแข่งขันในแบรนด์ดิ้ง ที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจและไว้วางใจ เพราะหนึ่งสิ่งที่สำคัญของการซื้อบ้านมันก็เหมือนกับการออมเงินด้วยเช่นกัน มูลค่าของบ้านไม่มีตก มีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามระยะเวลา ซึ่งการเลือกบ้านก็เป็นอีกหนึ่งของการลงทุนถ้าเราเลือกเป็น มันก็จะเป็นเงินออมในอนาคตได้เช่นกัน
“เสนา ทำอสังหาริมทรัพย์มากกว่า 30 ปีแล้ว เราต้องการเป็นคนทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้ครอบคลุม 360 องศา ซึ่งก่อนหน้านี้เราจะทำทาวเฮ้าส์เพียงอย่างเดียว ตอนนี้เราก็เริ่มที่จะทำหลายอย่างมากขึ้น ซึ่งเป็นจุดยืนของเรา เพื่อเป็นการสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าในครบ”ดร. ยุ้ย บอก
ดร.ยุ้ย บอกว่า การทำงานที่ดีให้ประสบความสำเร็จนั้นจะมีคำคมที่ใช้อยู่เสมอคือ “ถ้าชกยังไม่ครบ 10 ยกเราไม่เลิก” ซึ่งถ้าเรายังทำไม่ครบเราจะไม่ยอมเลิก นอกจากนี้แล้วการทำธุรกิจที่ดีต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพราะถ้าเราเชื่อมั่นว่ามันดีแล้วเราก็จะไม่มีการพัฒนา แต่พี่คิดว่า “การแข่งขัน” คือการพัฒนา
สุดท้าย ดร. ยุ้ย ฝากบอกว่า โดยส่วนตัวแล้วการใช้จ่ายเงินค่อนข้างจะมีกรอบ ซึ่งถ้าเรามีเงิน 100 บาท จะต้องแบ่งเก็บไว้ 20 บาท เพื่อเป็นเซฟวิ่ง แต่จะทำแบบสบาย ๆ ไม่ต้องตรึงเครียด แต่ต้องทำอย่างมีวินัยด้วย เพราะสิ่งที่เราเก็บไว้ต้องยอมรับว่ามันจะช่วยเราได้ในยามฉุกเฉิน เพราะไม่รู้ว่าในวันข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น สิ่งหนึ่งที่เราต้องยอมรับคือ ต้องดูแลตัวเอง เพราะมันจะเป็นเครื่องมือของความมั่นคงด้านการเงิน และเราจะใช้หลักนี้เป็นเครื่องมือในการดูแลเราได้
////////////////
ชื่อ - นามสกุล ดร. เกษรา ธัญลักษณ์ (ยุ้ย)
วันเดือนปีเกิด 29 สิงหาคม 2517
การศึกษา บช.บ. (การเงิน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
M.B.A. (Finance and Accounting)University of California, U.S.A.
M.A. (Economics) Claremont Graduate University, U.S.A.
Ph.D. (Economics) Claremont Graduate University, U.S.A.
งานปัจจุบัน กรรมการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA
อาจารย์ ภาควิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
from http://is.gd/uoPABf
02 มีนาคม 2555
เบอร์โทรติดต่อที่ทำการไปรษณีย์
สถานที่ | โทร | |
ที่ทำการไปรษณีย์โรบินสันรัชดา | -- | |
ที่ทำการไปรษณีย์คูคต | 02 | 531-1075 |
ที่ทำการไปรษณีย์นานา | 02 | 252-7598 |
ที่ทำการไปรษณีย์สาทร | 02 | 285-1974 |
ที่ทำการไปรษณีย์สีลม | 02 | 231-4813 |
ที่ทำการไปรษณีย์ดุสิต | 02 | 243-7886 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางนา | 02 | 396-0010 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางปู | 02 | 323-9567 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางแค | 02 | 413-0562 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางโพ | 02 | 585-6477 |
ที่ทำการไปรษณีย์สำโรง | 02 | 394-0380 |
ที่ทำการไปรษณีย์ดินแดง | 02 | 247-5361 |
ที่ทำการไปรษณีย์ท่าพระ | 02 | 467-5605 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางบอน | 02 | 416-1301 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางบ่อ | 02 | 338-1221 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางพลี | 02 | 317-1238 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางรัก | 02 | 236-9847 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางอ้อ | 02 | 424-8059 |
ที่ทำการไปรษณีย์ปากน้ำ | 02 | 395-0002 |
ที่ทำการไปรษณีย์ปากลัด | 02 | 463-4688 |
ที่ทำการไปรษณีย์รังสิต | 02 | 523-7102 |
ที่ทำการไปรษณีย์รัฐสภา | 02 | 243-8949 |
ที่ทำการไปรษณีย์สวนพลู | 02 | 287-2757 |
ที่ทำการไปรษณีย์สามแยก | 02 | 221-8684 |
ที่ทำการไปรษณีย์สามโคก | 02 | 593-1325 |
ที่ทำการไปรษณีย์สำเหร่ | 02 | 439-6258 |
ที่ทำการไปรษณีย์ออเงิน | 02 | 998-2188 |
ที่ทำการไปรษณีย์คลองตัน | 02 | 392-2583 |
ที่ทำการไปรษณีย์คลองถนน | 02 | 531-6002 |
ที่ทำการไปรษณีย์คลองสาน | 02 | 437-7045 |
ที่ทำการไปรษณีย์คลองเตย | 02 | 240-0622 |
ที่ทำการไปรษณีย์จตุจักร | 02 | 940-5400 |
ที่ทำการไปรษณีย์จิตรลดา | 02 | 281-6271 |
ที่ทำการไปรษณีย์ตึกช้าง | 02 | 937-4956 |
ที่ทำการไปรษณีย์ธัญบุรี | 02 | 577-2907 |
ที่ทำการไปรษณีย์นนทบุรี | 02 | 580-0507 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางกรวย | 02 | 447-5722 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางซื่อ | 02 | 585-2687 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางพลัด | 02 | 424-8564 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางใหญ่ | 02 | 920-0388 |
ที่ทำการไปรษณีย์บึงกุ่ม | 02 | 376-1755 |
ที่ทำการไปรษณีย์พระโขนง | 02 | 390-2270 |
ที่ทำการไปรษณีย์มหาดไทย | 02 | 622-1397 |
ที่ทำการไปรษณีย์มีนบุรี | 02 | 543-7217 |
ที่ทำการไปรษณีย์ยานนาวา | 02 | 287-3036 |
ที่ทำการไปรษณีย์ราชเทวี | 02 | 251-5522 |
ที่ทำการไปรษณีย์ลำลูกกา | 02 | 569-1360 |
ที่ทำการไปรษณีย์ศิริราช | 02 | 411-2087 |
ที่ทำการไปรษณีย์สวนใหญ่ | 02 | 525-2179 |
ที่ทำการไปรษณีย์หนองจอก | 02 | 543-1356 |
ที่ทำการไปรษณีย์หนองแขม | 02 | 421-1708 |
ที่ทำการไปรษณีย์หลักสี่ | 02 | 574-0233 |
ที่ทำการไปรษณีย์หัวหมาก | 02 | 318-2560 |
ที่ทำการไปรษณีย์อุดมสุข | 02 | 393-9392 |
ที่ทำการไปรษณีย์อ่อนนุช | 02 | 321-2626 |
ที่ทำการไปรษณีย์เทศปทุม | 02 | 581-6323 |
ที่ทำการไปรษณีย์ไทรน้อย | 02 | 597-1152 |
ที่ทำการไปรษณีย์คลองกุ่ม | 02 | 377-5555 |
ที่ทำการไปรษณีย์คลองจั่น | 02 | 378-1606 |
ที่ทำการไปรษณีย์คลองด่าน | 02 | 330-1910 |
ที่ทำการไปรษณีย์คลองหลวง | 02 | 516-8383 |
ที่ทำการไปรษณีย์จรเข้บัว | 02 | 509-3656 |
ที่ทำการไปรษณีย์ดอนเมือง | 02 | 566-1586 |
ที่ทำการไปรษณีย์ตลาดขวัญ | 02 | 525-0364 |
ที่ทำการไปรษณีย์ตลิ่งชัน | 02 | 448-5701 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางเสาธง | 02 | 315-1782 |
ที่ทำการไปรษณีย์ปทุมธานี | 02 | 581-5562 |
ที่ทำการไปรษณีย์ประตูน้ำ | 02 | 255-1960 |
ที่ทำการไปรษณีย์ปากเกร็ด | 02 | 584-3116 |
ที่ทำการไปรษณีย์ป้อมปราบ | 02 | 222-3866 |
ที่ทำการไปรษณีย์พัฒนาการ | 02 | 318-2561 |
ที่ทำการไปรษณีย์พุทธมณฑล | 02 | 441-9503 |
ที่ทำการไปรษณีย์ยุติธรรม | 02 | 513-7824 |
ที่ทำการไปรษณีย์รองเมือง | 02 | 214-4322 |
ที่ทำการไปรษณีย์รามคำแหง | 02 | 314-0495 |
ที่ทำการไปรษณีย์ลาดพร้าว | 02 | 514-0014 |
ที่ทำการไปรษณีย์วัดเลียบ | 02 | 222-9858 |
ที่ทำการไปรษณีย์สนามเป้า | 02 | 279-5694 |
ที่ทำการไปรษณีย์สันติสุข | 02 | 381-3905 |
ที่ทำการไปรษณีย์สามเสนใน | 02 | 279-8048 |
ที่ทำการไปรษณีย์สำโรงใต้ | 02 | 183-2198 |
ที่ทำการไปรษณีย์สุทธิสาร | 02 | 276-0500 |
ที่ทำการไปรษณีย์หนองเสือ | 02 | 549-1057 |
ที่ทำการไปรษณีย์หลานหลวง | 02 | 281-3807 |
ที่ทำการไปรษณีย์หัวลำโพง | 02 | 216-6561 |
ที่ทำการไปรษณีย์ห้วยขวาง | 02 | 645-2731 |
ที่ทำการไปรษณีย์อ้อมน้อย | 02 | 420-2399 |
ที่ทำการไปรษณีย์อ้อมใหญ่ | 02 | 429-0892 |
ที่ทำการไปรษณีย์เสนานิคม | 02 | 579-4148 |
ที่ทำการไปรษณีย์ไตรรัตน์ | 02 | 521-0224 |
ที่ทำการไปรษณีย์คลองบางนา | 02 | 393-0612 |
ที่ทำการไปรษณีย์จันทรเกษม | 02 | 511-2392 |
ที่ทำการไปรษณีย์ด่านสำโรง | 02 | 384-1306 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางกระบือ | 02 | 243-3251 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางบัวทอง | 02 | 924-1503 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางปะแก้ว | 02 | 427-6520 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางลำภูบน | 02 | 282-2481 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางโพงพาง | 02 | 683-1699 |
ที่ทำการไปรษณีย์พระประแดง | 02 | 463-0604 |
ที่ทำการไปรษณีย์พัฒน์พงศ์ | 02 | 236-5272 |
ที่ทำการไปรษณีย์ภาษีเจริญ | 02 | 444-4313 |
ที่ทำการไปรษณีย์ราชดำเนิน | 02 | 282-1811 |
ที่ทำการไปรษณีย์รามอินทรา | 02 | 521-3044 |
ที่ทำการไปรษณีย์ลาดกระบัง | 02 | 737-4831 |
ที่ทำการไปรษณีย์สะพานใหม่ | 02 | 521-1912 |
ที่ทำการไปรษณีย์อ่อนนุช 1 | 02 | 361-5396 |
ที่ทำการไปรษณีย์กระทุ่มล้ม | 02 | 429-2900 |
ทำการไปรษณีย์กลางบางรัก | 02 | 614-7457 |
ที่ทำการไปรษณีย์กล้วยน้ำไท | 02 | 391-2487 |
ที่ทำการไปรษณีย์งามวงศ์วาน | 02 | 589-5497 |
ที่ทำการไปรษณีย์จุฬาลงกรณ์ | 02 | 216-0232 |
ที่ทำการไปรษณีย์ทุ่งเศรษฐี | 02 | 316-6369 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางกอกน้อย | 02 | 418-4651 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางกอกใหญ่ | 02 | 465-7492 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางขุนนนท์ | 02 | 424-0177 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางคอแหลม | 02 | 289-2677 |
ที่ทำการไปรษณีย์บึงทองหลาง | 02 | 375-1678 |
ที่ทำการไปรษณีย์ประสานมิตร | 02 | 262-1737 |
ที่ทำการไปรษณีย์ปากเกร็ด 2 | 02 | 583-2690 |
ที่ทำการไปรษณีย์พลับพลาไชย | 02 | 233-6822 |
ที่ทำการไปรษณีย์ศึกษาธิการ | 02 | 282-0842 |
ที่ทำการไปรษณีย์หน้าพระลาน | 02 | 224-4705 |
ที่ทำการไปรษณีย์ไทยพาณิชย์ | 02 | 254-7812 |
ที่ทำการไปรษณีย์กองทัพอากาศ | 02 | 523-9165 |
ที่ทำการไปรษณีย์ซีคอนสแควร์ | 02 | 721-8510 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางขุนเทียน | 02 | 416-5137 |
ที่ทำการไปรษณีย์ราษฎร์บูรณะ | 02 | 427-7187 |
ที่ทำการไปรษณีย์ลาดหลุมแก้ว | 02 | 599-1740 |
ที่ทำการไปรษณีย์วงเวียนใหญ่ | 02 | 437-1227 |
ที่ทำการไปรษณีย์วัดพระยาไกร | 02 | 211-8374 |
ที่ทำการไปรษณีย์สมุทรปราการ | 02 | 384-1316 |
ที่ทำการไปรษณีย์สหประชาชาติ | 02 | 282-4694 |
ที่ทำการไปรษณีย์เกษตรศาสตร์ | 02 | 579-8534 |
ที่ทำการไปรษณีย์เจ้าคุณทหาร | 02 | 326-6035 |
ที่ทำการไปรษณีย์ซันทาวเวอร์ส | 02 | 617-7646 |
ที่ทำการไปรษณีย์พระปิ่นเกล้า | 02 | 881-9105 |
ที่ทำการไปรษณีย์วังเทวะเวสม์ | 02 | 281-2805 |
ที่ทำการไปรษณีย์สาธุประดิษฐ์ | 02 | 294-5205 |
ที่ทำการไปรษณีย์ทำเนียบรัฐบาล | 02 | 282-1220 |
ที่ทำการไปรษณีย์บางนาทาวเวอร์ | 02 | 312-0216 |
ที่ทำการไปรษณีย์กระทรวงการคลัง | 02 | 273-9405 |
ที่ทำการไปรษณีย์พระสมุทรเจดีย์ | 02 | 425-8649 |
ที่ทำการไปรษณีย์สามแยกลาดพร้าว | 02 | 513-0568 |
ที่ทำการไปรษณีย์ไทยประกันชีวิต | 02 | 246-9801 |
ที่ทำการไปรษณีย์มหาวิทยาลัยสยาม | 02 | 457-0504 |
ที่ทำการไปรษณีย์ศรีนครินทรวิโรฒ | 02 | 259-3753 |
ที่ทำการไปรษณีย์เซ็นทรัลพระราม | 02 | 872-4248 |
ที่ทำการไปรษณีย์เพชรบุรีตัดใหม่ | 02 | 314-3435 |
ที่ทำการไปรษณีย์ธรรมศาสตร์รังสิต | 02 | 564-4439 |
ที่ทำการไปรษณีย์ศูนย์หนังสือจุฬา | 02 | 251-8162 |
ที่ทำการไปรษณีย์มอนเทอเรย์ทาวเวอร์ | 02 | 308-0030 |
ที่ทำการไปรษณีย์เซ็นทรัลซิตี้บางนา | 02 | 361-1116 |
ที่ทำการไปรษณีย์ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต | 02 | 958-0768 |
ที่ทำการไปรษณีย์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | 02 | 134-4290 |
ที่ทำการไปรษณีย์จิวเวลรี่เทรดเซ็นเตอร์ | 02 | 267-4419 |
ที่ทำการไปรษณีย์พระจอมเกล้าพระนครเหนือ | 02 | 585-4303 |
ที่ทำการไปรษณีย์มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย | 02 | 275-2215 |
ที่ทำการไปรษณีย์ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ | 02 | 229-4288 |
สาขาที่ปิดดึก
1. สาขารามคำแหง อยู่ข้างๆเดอะมอลล์ราม ฝั่งเดียวกับเมเจอร์รามค่ะ เปิด 9.00-21.00 ทุกวัน
2. สาขาซีคอนสแควร์ อยู่ทางลานจอดรถ B1 หรือ B2 เนี่ยแหละ ปิด 2 ทุ่ม
3. สาขาเซ็นทรัลพระราม 2 ปิด 2 ทุ่ม
4. สาขาสุวรรณภูมิ 24 ชม. 0-2134-4290
5. ที่ทำการไปรษณีย์เซ็นทรัลซิตี้บางนา 02 361-1116 ปิด 2 ทุ่ม อยู่ข้างล่าง KFC
6. ที่ทำการไปรษณีย์ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต 02 958-0768 ปิด 2 ทุ่ม
7. ห้างเซ็นทรัล เวิลด์ พลาซา ราชดำริห์ อยู่ชั้นใต้ดิน 10.00น - 20.00น เปิดทุกวันจ้า
credit http://is.gd/DwtVT5