26 มิถุนายน 2555

How to solve boot loop issue on Kindle Fire TWRP 2.0?




Note – adb.exe is located in Kindle Fire Utility\tools folder or
C:\Program Files (x86)\Android\android-sdk\platform-tools.
  1. Plug in USB cable to Kindle Fire on TWRP Recovery mode.
  2. Bring up Command Prompt.
  3. Key in adb shell.
  4. Key in idme bootmode 4000.
  5. Finally, key in reboot.
  6. That’s it.
from http://goo.gl/pBddc


06 มิถุนายน 2555

รวยแหวกกรอบ กับเศรษฐี ผู้คิดต่าง

เอสเอ็มอีน้อยรายที่จะพะยี่ห้อความสำเร็จ ด้วยคำว่า "เศรษฐี" เบื้องหลังคือ กลยุทธ์ที่เคี่ยวกรำ ที่สำคัญต้องคิดต่าง เหมือน 3 กรณีศึกษา

เธอ คือ เจ้าของร้านวัสดุก่อสร้างภูธร เรียนน้อย ทุนน้อย แต่ความคิดใหญ่ เดินหน้า บู๊แหลก ไม่หวั่นกับอุปสรรคปัญหา จนร้านห้องแถวเล็กๆ ขยับสู่ธุรกิจค้าปลีก-ส่ง วัสดุก่อสร้าง มีมูลค่าเกือบหมื่นล้านบาท !

เขา คือนักสร้างความแตกต่าง ผู้เข้ามาปฏิวัติ “โรงรับจำนำ” ให้กลายเป็นสถาบันการเงิน ที่ได้เงินง่าย ไว้วางใจได้ ในบรรยากาศสุดทันสมัยไม่ต่างจากธนาคาร แม้นักธุรกิจใส่สูทก็มาใช้บริการได้ ขึ้นทำเนียบเศรษฐีไปพร้อมกับความต่าง !

เขาคือ คนหนุ่มไฟแรง ผู้พิชิตธุรกิจพันล้าน ในวัยไม่ถึง 30 ปี !

นี่คือวิถี Millionaire ที่เริ่มต้นจาก แค่ 3 คำสั้นๆ คือ "เก่ง-เฮง-กล้า"

วิธีคิดสุดเฉียบ กับเรื่องเล่าสู่เส้นทางเศรษฐี ของ 3 “ตัวแม่” แห่งแวดวงธุรกิจ อย่าง “ซ้อเป็ด - นาตยา ตั้งมิตรประชา” รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท อุบลวัสดุ จำกัด ธุรกิจค้าปลีก-ส่ง วัสดุก่อสร้าง อุบลวัสดุ และ Do Home  “สิทธิวิชญ์ ตั้งธนาเกียรติ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตั้งธนสิน จำกัด ธุรกิจโรงรับจำนำ Easy Money และ “แม่สาย ประภาสะวัต”ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็ม เอส แฟคตอรี่ จำกัด ธุรกิจระบบแก๊สติดรถยนต์ยี่ห้อ Versus ที่แทคทีมมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์รวย ในงานสัมมนาประจำปี SCB SME “เคล็ด (ไม่)...ลับ สู่ความสำเร็จ ปี 2” ตอน “คิดต่าง สร้างเศรษฐี” 

บทเรียนชีวิตและประสบการณ์ธุรกิจ ที่พร้อมชี้ทางสว่างให้ผู้ประกอบการบ้านเรา ได้เข้าใกล้คำว่า “เศรษฐี” เข้าไปทุกที

“ผมมองว่า โรงรับจำนำคือสถาบันการเงินที่เก่าแก่ เป็นที่พึ่งของคนที่ต้องการสภาพคล่อง”

“สิทธิวิชญ์ ตั้งธนาเกียรติ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตั้งธนสิน จำกัด เปิดมุมคิดต่างของเขา ก่อนเข้ามาปฏิวัติโรงรับจำนำ ให้กลายเป็นสถาบันการเงินลุคทันสมัย นาม “Easy Money”
โรงรับจำนำยุคนี้ ต้อง โปร่ง สะอาด ไม่อับทึบ ปลอดภัย เชื่อใจได้ คนใช้บริการก็ต้องได้รับความสะดวก สบาย ง่าย รวดเร็ว ไม่ขัดเขิน ฉีกภาพโรงรับจำนำที่ฝังใจคนไทยมาหลายทศวรรษ 
 “ในวันที่เริ่มธุรกิจ เราวิเคราะห์ตลาดโรงรับจำนำ ข้อดีคือ คนต้องการใช้ แต่อุปสรรค คือ ความไม่มั่นใจ กลัวถูกกดราคา สถานที่ไม่เอื้ออำนวย แล้วเราจะแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร? โจทย์ของเรา คือ ไม่ได้แค่จะสร้างโรงรับจำนำ แต่เราต้องการสร้างสถาบันการเงินที่เชี่ยวชาญเรื่องการจำนำ”
 Easy Money  จึงเริ่มภารกิจของพวกเขา ด้วยการเปลี่ยนการรับรู้ของผู้คน ที่มีต่อคำว่า “โรงรับจำนำ” จากศูนย์รวมความอับอาย ใช้บริการแบบหลบๆ ซ่อน มาเป็นสถาบันการเงินที่ดูเป็นมิตร การตีราคาเป็นธรรม เชื่อใจได้ ได้เงินง่าย รวดเร็วทันใจ ตอบคำว่า “Easy” ตามชื่อของพวกเขา
 ทำธุรกิจต้องกล้าลงทุน เขาบอกว่าโรงรับจำนำ “จัดเต็ม” ขนาดนี้ ย่อมต้องลงทุนหนักกระเป๋า พวกเขาตัดสินใจซื้ออาคารสำนักงาน สูง 6 ชั้น ใครจะคิดว่าเป้าหมายคือเอามาทำ “โรงรับจำนำ” แต่เขาบอกว่า นี่เป็นการตอบโจทย์สถาบันการเงินที่ลูกค้าเชื่อใจได้ ไม่ต้องหวั่นเรื่องทรัพย์สินจะเสียหาย ระหว่างมาอยู่กับโรงรับจำนำ โดยสามารถสร้างระบบรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินมาตรฐานเดียวกับแบงก์ขนาดใหญ่ มี “ห้องวีไอพี” ไว้รับรองลูกค้า มีพนักงานให้บริการที่เป็นมืออาชีพ
 “พนักงานจะได้รับการอบรมว่า ไม่ว่าลูกค้าที่เดินเข้ามาจะเป็นใคร มีอาชีพอะไร นำสิ่งใดเข้ามาจำนำ ไม่ว่าจะมีราคามากหรือน้อยแค่ไหน ทุกคนก็คือผู้มีเกียรติ เขาเพียงนำทรัพย์ของเขามาแปลงเป็นเงิน เหมือนเอาของมาฝากเราไว้ แล้วก็เอาเงินไปใช้สร้างสภาพคล่อง เมื่อถึงเวลาก็แค่มารับทรัพย์ของเขากลับคืนไปเท่านั้น”
 นั่นคือคำตอบว่าทำไมลูกค้าของพวกเขาถึงครอบคลุมตั้งแต่คนรากหญ้า ไปจนกลุ่มนักธุรกิจที่มีทรัพย์สินล้นเซฟและต้องการนำมาจำนำเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสร้างสภาพคล่องให้กับพวกเขา
 ทุกอย่างดูเพอร์เฟกต์ วางหมากไว้แบบไม่มีจุดให้ตัดคะแนน แต่เพียงเปิด Easy Money วันแรก ก็เจอกับเรื่องหวาดเสียว เพราะสิ่งที่ต้อนรับการตัดริบบิ้นของพวกเขา ก็คือลูกค้าเพียง 6 ราย !
 แต่การทำธุรกิจไม่ได้อยู่เพียงแค่วันเปิดร้าน ผู้ประกอบการตัวจริงต้องมีน้ำอดน้ำทน เขาบอกว่า ของใหม่ต้องใช้เวลาให้คนได้มาทดลองใช้ หลังจากนั้นก็จะเกิดการบอกปากต่อปาก จนสร้างลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ เข้ามาเยอะขึ้น โดยเฉพาะการสร้างความแตกต่าง ทำให้กลายเป็นธุรกิจเนื้อหอมในสายตาสื่อมวลชน จนนำธุรกิจของพวกเขาไปโปรโมทให้ฟรีๆ แบบไม่มีค่าใช้จ่าย
 ตามคาถาดึงดูดสื่อที่ “รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา” ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์การตลาดและสื่อสารการตลาด สรุปไว้ให้ใช้ว่า “แปลก ใหม่ ใหญ่ ดัง”
 “นี่เป็นกรณีของ ความแตกต่าง แต่ก็ไม่ได้หนีไปจากหลักการที่มั่นคง ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้เกิดความพึงพอใจ มีการแก้ปัญหาให้กับลูกค้า และสร้างคุณค่าให้แก่ผู้บริโภค นี่เป็น Blue Ocean Strategy เขาเปลี่ยนการรับรู้ของคน ว่าไม่ใช่โรงรับจำนำแต่เป็นสถาบันการเงินที่เชี่ยวชาญเรื่องการจำนำ เป็นการทะยานออกจากทะเลแดง เข้าไปสู่ทะเลสีคราม แหวกว่ายเพียงตัวเดียวสบายๆ ไม่จำเป็นต้องไปต่อสู้กับใคร” ดร.เสรี สรุปไว้อย่างนั้น
 “ถ้าเราจะเติบโตต้องมีพื้นที่ใหญ่ ที่ครบที่ดี เมื่อความคิดใหญ่ พื้นที่ต้องรองรับ..เราต้องแตกต่าง แต่ต้องต่างในสินค้าที่เราชำนาญ”
 “ซ้อเป็ด-นาตยา ตั้งมิตรประชา” ซือเจ๊นักบู๊ ผู้ครองอาณาจักรวัสดุก่อสร้างเหยียบหมื่นล้าน รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท อุบลวัสดุ จำกัด ธุรกิจค้าปลีก-ส่ง วัสดุก่อสร้าง อุบลวัสดุ และ Do Home เปิดตำนานรบสุดมันของพวกเขา
 ซ้อเป็ดเป็นลูกสาวร้านโชห่วยในจังหวัดอุบลราชธานี ไม่ได้การศึกษาสูง เธอว่าทรัพย์ที่พ่อแม่ให้ติดตัวมาก็มีแค่ “ความขยัน อดทน รับผิดชอบ และซื่อสัตย์” เธอแต่งงานและเช่าบ้านไม้ขนาดสองห้องมาขายวัสดุก่อสร้าง ทำกันเล็กๆ สองสามีภรรยา
 เธอเชื่อในกลยุทธ์ป่าล้อมเมือง เน้นขายของถูกเป็นตัวดึงดูดลูกค้า จากนั้นก็ค่อยๆ หาซัพพลายเออร์ กระจายผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น  โดยได้ซัพพลายเออร์ช่วยเหลือในเรื่องการให้เครดิต ธุรกิจจึงค่อยๆ โตขึ้นมาได้
 “มาคิดว่าถ้าเราจะโตได้ ก็น่าจะปล่อยเครดิตให้กับลูกค้า เพราะการขายเงินสดหน้าร้านเราโตช้ามาก การที่เป็นร้านท้องถิ่นทำให้มองออกว่าลูกค้าคนไหนเชื่อถือได้ แต่ไม่ได้ปล่อยเครดิตเรี่ยราด เพราะเราจะเจ๊งเอา แต่โฟกัสไปที่ผู้รับเหมาซึ่งเป็นหน่วยราชการ เพราะโอกาสโกงมีน้อยมาก ราชการเป็นรัฐบาล มีประเทศไหนที่รัฐบาลโกงประชาชนมันเป็นไปไม่ได้ จึงเข้าหากลุ่มนี้”
 ซึ่งก็ดูจะได้ผล เมื่อธุรกิจของพวกเขาเติบโตเร็วมาก เรียกว่าก้าวกระโดดจากห้องแถวสองห้อง มาเป็นสี่ห้อง และเพิ่มมาเป็นกว่า 2 ไร่ ในเวลาเพียงไม่กี่ปี
 “จากนั้นก็มาปรึกษากับสามี บอกสามีว่าถ้าเราอยู่อย่างนี้เราไม่รอดแน่ ร้านเราเล็กอยู่ในเมือง ขึ้นของ ลงของ ลำบาก การบริหารจัดการก็เริ่มไม่ไหว เลยคิดออกไปนอกตัวเมืองประมาณ 8 กิโล ใจจริงก็เริ่มเครียดนะ เพราะออกมาไกล และต้องถมที่อีกเยอะมาก แต่เราต้องมั่นใจ มันไกลก็จริง แต่สิ่งที่เราจะทำได้คือ เพิ่มไลน์สินค้าได้มากขึ้นจากเดิมกว่า 2,000 ไอเท็ม ก็ถือว่าเยอะแล้วในสมัยนั้น แต่บอกสามีว่า จะเพิ่มเป็น 4 หมื่นไอเท็ม ...เชื่อแม่ทัพใหญ่สิ แม่ทัพจะพาไปเอง” เธอบอก
 การทำงานที่สามีเป็นหน่วยคิด ซ้อเป็นหน่วยบุก เรียกว่าลุยอย่างเดียวไม่กลัวใคร เธอสารภาพว่าจริงๆ หัวใจก็หดเหลือนิดเดียว เพราะเสียงห้ามจากคนรอบข้าง กับคำว่า โอกาสเจ๊งมีสูง ขนาดสถาบันการเงินยังโบกมือลาไม่อยากให้กู้
 “คิดว่า ถ้าเราจะใหญ่ ความคิดเราใหญ่ แต่พื้นที่ไม่ใหญ่ เราไม่มีทางใหญ่ได้ ความคิดใหญ่ พื้นที่ก็ต้องรองรับ”
 มีร้านใหม่ที่ห่างไกลจากตัวเมือง ซ้อเป็ดเลือกทุบหม้อข้าว หันหลังให้ร้านเก่าที่ติดตลาดไปแล้ว  เพื่อมาบุกกับร้านใหม่เต็มที่ 
 จากสถานที่ใหญ่ ร้านใหม่ ลุคทันสมัย สินค้าเยอะ เน้นของถูก ลูกค้าได้รับความสะดวกสบาย บนพื้นที่ 24 ไร่ เพียงปีเศษๆ ก็ซื้อที่เพิ่มอีก 39 ไร่ กลายเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดด ของธุรกิจภูธรที่ใครก็มองข้ามไม่ได้ !
 “การทำธุรกิจ เราจะทำสองคนไม่ได้ ถ้าไม่มีทีมงานที่ดี เราเริ่มปลูกฝังเด็กของเราว่า การศึกษาไม่ได้เป็นตัวกำหนดที่ไม่ให้คนเราประสบความสำเร็จ การศึกษาเป็นแค่ส่วนประกอบเท่านั้น แต่การกระทำเป็นสิ่งที่ทำให้เราชนะเป้าหมาย”
 นักบู๊แห่งอุบลวัสดุพร่ำสอนทีมงานของพวกเธอ เพราะมองว่านี่คือหัวใจของความสำเร็จในธุรกิจ ณ วันนี้
 “ถ้าเราจะลุยไปข้างหน้า ต้องเตรียมคนของเราให้พร้อม เพราะคนเป็นตัวกำหนดว่าเราจะชนะ หรือแพ้ เราต้องมาดูว่าคนของเราเป็นอย่างไร ต้องให้เขา ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน และรับผิดชอบ เมื่อเขาเพิ่มจำนวนขึ้น ก็ต้องใช้ระบบที่ดีเข้ามาดูแล” 
 ในวันที่วิกฤติต้มยำกุ้งเล่นงานธุรกิจในประเทศไทยให้บอบช้ำไปถ้วนหน้า ซ้อเป็ดบอกว่าพวกเธอก็เจอหนัก เพราะไปกู้เงินต่างชาติมา และธุรกิจวัสดุก่อสร้างก็ได้รับผลกระทบสาหัสสากรรจ์ ผู้รับเหมาล้มระเนระนาด ขณะที่ผู้บริโภคสักกี่คนที่จะควักเงินซื้อสินค้าประเภทนี้ในวันข้าวยากหมากแพง... แต่มีเหรอแค่นี้จะทำให้ซ้อท้อ
 “เราปิดการสื่อสารทุกอย่าง ไม่รับรู้ เดินหน้าดับเครื่องชนอย่างเดียว คิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะประคับประคองลูกน้องไปได้ เพราะลูกน้องคืออนาคต เราเลี้ยงเขามา 10-20 ปี แล้วจะไปไล่เขาออกมันไม่มีเหตุผล ลดอะไรก็ลดได้แต่ลดลูกน้องไม่ได้ เพราะอนาคตยังไปอีกไกล เราต้องใช้พวกเขา”
 เธอเริ่มฟื้นพลังใจของลูกน้อง ให้ร่วมกันฟันฝ่าวิกฤติปัญหา เพื่อหาทางเพิ่มส่วนแบ่งตลาดให้มากขึ้น ในยามวิกฤติ
 “ตอนนั้นร้านค้าในเมืองทุกร้านกลัวหมด ไม่กล้านำของเข้ามาขาย เขาบอกว่าวิกฤติจะไปขายใคร แต่เราไม่กลัว เพราะในวิกฤติก็มีโอกาส”
 และอุบลวัสดุ ก็ได้เห็นโอกาสนั้นจริงๆ เมื่อการบุกตลาดครั้งนี้ ทำให้พวกเขาได้ลูกค้าหน้าใหม่ๆ ทั้ง กลุ่มผู้ใช้  ลูกค้าช่วงและผู้รับเหมารายย่อย  กลับมาทดแทนความสูญเสีย
 “เราค่อยๆ ใช้หนี้ไป ตอนนั้นทุกคนบอกให้อุบลวัสดุ ล้ม เพราะไปไม่รอดแน่ ธุรกิจวัสดุก่อสร้างเจอหนักที่สุด แต่ทั้งซัพพลายเออร์และธนาคารต่างก็บอกว่าเราจะล้มไม่ได้ เรายังมีกำไร ยังสามารถจ่ายดอกเบี้ยได้ ถ้าเราล้มเราจะไม่มีอนาคตเลย เรามียอดขายในตอนนั้นกว่า 3,000 ล้านบาท และเราจ่ายหนี้ธนาคารมาโดยตลอด มองว่าถ้าเราคิดจะก้าวไปข้างหน้า เราพร้อมหรือยังเรื่องเครดิต เพราะเครดิตเราต้องสร้างด้วยตัวเอง และเครดิตเราต้องรักษาไว้ให้ได้”
 วิธีคิดแบบนี้ที่ทำให้อุบลวัสดุรอดพ้นวิกฤติ มาเป็นอาณาจักรวัสดุก่อสร้างแห่งแผ่นดินอีสาน ที่มีสาขาครอบคลุมใน 5 จังหวัด ได้แก่ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ยโสธร มุกดาหาร และอุบลราชธานี และเร็วๆ นี้พวกเขาจะประกาศความใหญ่บึ้มด้วยการเปิดสาขาที่ขอนแก่น บนเนื้อที่ถึง 108 ไร่ เพื่อขยับรายได้ จาก 8,000 ล้านบาทในวันนี้ ไปสู่ 1 หมื่นล้านบาท และ 1.3 หมื่นล้านบาทในปีต่อๆ ไป
 รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา บอกว่า ซ้อเป็ดให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจแบบ Positive some Game คือทุกคนได้หมด ไม่ใช่ตัวเองได้ประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว ทั้งซัพพลายเออร์ ลูกค้า และลูกน้อง ทุกคนต้องมีส่วนได้
 กลายเป็นความสำเร็จของอุบลวัสดุในวันนี้
 ในยุคนี้จะมีสักกี่คนที่ไม่รู้จัก “แม่สาย ประภาสะวัต” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็ม เอส แฟคตอรี่ จำกัด เขาคือเจ้าของธุรกิจพันล้านในวัยไม่ถึง 30 ปี !
 “ระหว่างความฝันกับความจริง ต่างกันแค่ลงมือทำ” แม่สายเชื่อในสิ่งนั้น
 เขาไม่ได้เริ่มต้นธุรกิจจากความสมบูรณ์แบบ ไม่มีเงิน เรียนมาไม่ตรงสาย ประสบการณ์ก็ไม่มี แต่มาจากจุดเริ่มต้นแค่ “ผมอยากทำธุรกิจ”
 แม่สาย มาจับธุรกิจระบบแก๊สติดรถยนต์ เพียงเพราะคิดว่า ถ้าไปทำธุรกิจอื่นที่คนทำเยอะอยู่แล้ว ชื่อของพวกเขาก็ไม่รู้จะไปอยู่ในอันดับที่เท่าไร แต่ถ้าทำธุรกิจนี้ เวลานั้นก็อยู่ในลิสต์ไม่เกินเบอร์ 3
 เมื่อความต้องการของคนอยากติดแก๊สรถยนต์มากขึ้น พวกเขามองไกลไปกว่าการเปิดร้านติดแก๊ส แต่คือการสอนติดแก๊ส และขายอุปกรณ์ในการติดแก๊ส โดยมองคู่แข่ง เป็นพาร์ทเนอร์ แล้วสร้างโอกาสจากสิ่งเหล่านี้
 “ผมคิดว่า เราไม่มีลูกค้า แต่เราสามารถสร้างลูกค้าขึ้นมาได้ เขาซื้อของผม เพราะว่าผมสอนเขาทำธุรกิจได้ ผมอยากมีสาขาทั่วประเทศ โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนมาก ก็คิดว่าเราน่าจะหา หุ้นส่วน เรามีโนว์ฮาว มีสินค้า เขามีสถานที่ มีคน  มีเงิน เราก็จับสิ่งนี้มารวมกัน โดยมุ่งไปยังอู่ที่ติดตั้งเครื่องยนต์  ประดับยนต์ เหล่านี้ เพื่อให้เขาสามารถทำธุรกิจแก๊ส เป็นธุรกิจเสริมได้ เราทำกำไรในอุปกรณ์ที่เราขาย ไม่จำเป็นต้องมีข้อตกลง มีสัญญาให้ต้องทะเลาะกัน”
 วิธีคิดแบบแม่สาย พวกเขาไม่ได้กลัวคู่แข่ง แต่มองว่าการมีคนมาทำแบบเดียวกันเพิ่มขึ้น แสดงว่ามีตลาดเกิดขึ้นแล้ว เมื่อตลาดเกิดก็ไม่จำเป็นต้องไปแข่งให้เหนื่อย แต่เปลี่ยนคู่แข่งเป็นหุ้นส่วน สร้างพาร์ทเนอร์ ด้วยความจริงใจ ความรู้และความร่วมมือ
 “เมื่อเป็นพาร์ทเนอร์ ผมต้องเป็นพาร์ทเนอร์ที่ดีที่สุด ผมไม่ชอบขายใคร เพราะเขาจำเป็นต้องซื้อของผม แต่เพราะผมคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเขา ผมเป็นพาร์ทเนอร์ที่จะสนับสนุนให้เขาโตได้มากที่สุด ผมว่าถ้าเราอยากอยู่รอดบนธุรกิจอย่าไปกลัวที่เขาจะไปซื้อกับคนอื่น หน้าที่ที่คุณต้องกลัว คือกลัวไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า”
 คนหนุ่มรุ่นใหม่ คิดไกล คิดต่าง อย่างแม่สาย บอกเราว่า..
 “คนทำธุรกิจบอกจะเติบโตปีละ 10-20%  แต่บริษัทผมเริ่มต้นตั้งเป้าโตปีละ 1,000% ปีหนึ่งยอดขายโตขึ้น 10 เท่า ผมวางไว้อย่างนี้ แม้ไม่ได้ก็ต้องโตขึ้น 5 เท่า คือ 500% สิ่งที่ผมทำ ผมไม่ได้มีความเชื่อหรือเปิดตำราเล่มไหน แต่มีแนวคิดที่เป็นเรา และคิดว่าทำแบบนี้น่าจะเป็นไปได้ ก็แค่ลุยไป”
 นี่คือวิธีคิดของเขา ที่แม้วันนี้ธุรกิจจะเหยียบพันล้านบาทแต่แผนเติบโตก็ยังไม่หยุดนิ่ง โดยเฉพาะการวางหมากธุรกิจเตรียมรับตลาดอาเซียนในอนาคต
 หลากหลายวิธีคิดของเซียนธุรกิจ ที่ใช้ไต่บันไดเศรษฐี ด้วยสิ่งที่ รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา บอกว่ามาจากคำเพียง 3 คำ คือ เก่ง เฮง กล้า ทั้งสามคน มีความเก่ง คือรู้ในสิ่งที่ทำ คิดเป็น คิดสร้างสรรค์  ส่วนความ เฮง คือได้จังหวะที่เหมาะสม เพราะถ้าเก่งแต่ไม่มีจังหวะก็ทำไม่ได้ ปิดท้ายกับความกล้า เพราะแม้จะเก่งและมีโอกาส แต่หากเป็นคนที่ขาดความกล้า ก็ไม่รวยเสียทีบวกกับกุญแจความสำเร็จที่เรียกว่า “ความแตกต่าง” คือหนทางสู่ชัยชนะของพวกเขา
 “เหมือนคำที่ว่า Differentiate or Die สร้างความแตกต่างไม่ได้ ก็ไปตายซะ!” ดร.เสรี บอกไว้เช่นนั้น
--------------------------------------------
สูตรลับเศรษฐีฉบับหางว่าว
๐ รวยได้ ต้อง เก่ง เฮง  กล้า
๐ เรียน รู้ รับ เริ่ม และ เร่งรัดตัวเอง
๐ สร้างความแตกต่าง สร้างจุดยืนธุรกิจ
๐ ต้องแก้ปัญหาให้คนได้ ให้ราคาที่รู้สึกคุ้ม ให้ความสะดวกแก่ลูกค้า
๐ ธุรกิจต้องวิ่งหา Blue Ocean
๐ ต้องสร้างแบรนด์ดีเอ็นเอ
๐ แปลก ใหม่ ใหญ่ ดัง สื่อจะสนใจ
๐ จะสร้างธุรกิจให้สำเร็จต้อง อดทน
๐ ทำธุรกิจเป็นธรรม ทุกคนต้องมีส่วนได้
๐ ต้องเห็นความสำคัญของทุนมนุษย์
๐ สร้างพาร์ทเนอร์ ด้วยความจริงใจ ร่วมมือ และใส่ใจ อาศัยความรู้เป็นที่ตั้ง
๐ จะโตได้ ต้องมีความเชื่อ และวัดความพอใจลูกค้าตลอดเวลา



from bangkokbiznews.com

กฎของชีวิต-กฎของการลงทุน


ผมได้อ่านหนังสือเรื่อง “กฎของชีวิต” (The Rules of Life) เขียนโดย Richard Templar แล้วก็นึกไปถึงเรื่องของการลงทุน เพราะกฎหลาย ๆ  ข้อนั้น   ผมคิดว่ามันนำมาประยุกต์ใช้กับการลงทุนได้เป็นอย่างดี  ลองมาดูกันทีละข้อ


ข้อแรก ที่ผมคิดว่านักลงทุนควรนำมาใช้ก็คือ  “รู้ว่าอะไรสำคัญและอะไรไม่สำคัญ”   ผมคงไม่พูดในเรื่องอื่น ๆ  ของชีวิต  แต่ในเรื่องของการลงทุนแล้ว  นี่คือสิ่งที่จะทำให้เราชนะหรือแพ้ได้  ยกตัวอย่างเช่น  เราคิดว่าการอยู่รอดของเศรษฐกิจกรีซนั้นสำคัญต่อการทำกำไรหรือผลประกอบการระยะยาวของบริษัทหรือหุ้นที่เราลงทุนอยู่ไหม?  ถ้าเราคิดว่าไม่  ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องไปกังวลว่ากรีซจะแก้ปัญหาของตนเองได้หรือไม่  ในความเป็นจริง  สิ่งที่สำคัญในเรื่องของการลงทุน  ก็เช่นเดียวกับในเรื่องของชีวิต  คือมันมีอยู่ไม่มาก  และเราก็ควรจะต้องรู้  อย่าสนใจหรือทุ่มเทกับสิ่งที่ไม่สำคัญมากนัก


ข้อสอง   “ถ้าคุณจะกระโดดลงคลอง  ก็ขอให้แน่ใจว่าคุณรู้ว่าน้ำนั้นลึกเท่าไร”  นี่ก็เป็นเรื่องของการรู้ว่าความเสี่ยงของชีวิตและในกรณีของเราก็คือ  การลงทุน  เป็นอย่างไร  ตัวอย่างเช่น  ถ้าเราซื้อหุ้นตัวเดียวด้วยเงินทั้งหมดและใช้มาร์จินด้วยโดยที่เราคิดว่าหุ้นตัวนั้นดีเยี่ยมและถูกมากและมันจะทำให้เรารวยไปเลย  เราก็อาจจะพลาดและเกิดหายนะได้  ดังนั้น  ในการลงทุนทุกครั้งและตลอดเวลา  เราจะต้องรู้ว่า  “น้ำนั้น  ลึกแค่ไหน”  ประเด็นก็คือ  เราจะเสี่ยงอะไรก็ตาม  ตรวจสอบและวิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนที่สุด  ดูว่าถ้าพลาดร้ายแรง  เราจะยังอยู่รอดได้และไม่เสียหายมากเกินไป


ข้อสาม  ซึ่งผมจะรวมกฎสามข้อเข้าด้วยกันก็คือ  “มีระบบความเชื่อของตนเอง”    “มีความมั่นคงและยึดมั่นในสิ่งที่ทำ”  และ  “มีศรัทธาต่อสิ่งนั้น”  นี่คือกฎที่จะทำให้เราไม่วอกแวก   และความคิดและการกระทำของเราจะเป็นระบบที่ถูกต้องและสอดคล้องกันในระยะยาว  แต่สิ่งที่ผมอยากจะกล่าวเพิ่มเติมก็คือ  ระบบความเชื่อของเรานั้นจะต้องเป็นระบบที่ถูกต้องที่มีการพิสูจน์มาช้านาน  ตัวอย่างเช่น  ถ้าเรามีความเชื่อว่าการลงทุนในหุ้นนั้น  ก็คือการเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งของธุรกิจ  วิธีที่จะชนะในระยะยาวก็คือ  การถือหุ้นหรือบริษัทที่ดีเยี่ยมในราคาที่ยุติธรรมให้ยาวที่สุด  เราก็จะต้องเชื่อและทำแบบนั้น  อย่ากลับไปกลับมาโดยการขายไปอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดสถานการณ์บางอย่างที่เราอาจจะกลัวเกินเหตุหรือคิดว่าราคาหุ้นอาจจะสูงเกินไปแล้วชั่วคราว


บางคนอาจจะสงสัยว่า  “ระบบที่ถูกต้อง”  ที่ผมพูดถึงในข้อสามนั้น  มีเพียงระบบเดียวหรือ?  และใครจะเป็นคนบอกว่าระบบความคิดไหนเป็นระบบที่ดีและถูกต้องที่สุด  คำตอบของผมก็คือ  คงไม่มีใครบอกได้  มีระบบมากมายที่มีคนคิดและเสนอขึ้นมา  เราเองจะต้องเป็นคนเลือกที่จะเชื่อ  บางคนอาจจะบอกว่าวิธีการลงทุนที่จะได้ผลตอบแทนสูงที่สุดก็คือการซื้อหุ้นในยามที่มันมีราคาถูกและขายเมื่อมันมีราคายุติธรรมหรือแพงแล้ว  การคิดถึงหุ้นเราไม่ควรคิดว่าเราเป็นเจ้าของธุรกิจเพราะเราไม่ได้มีอำนาจอะไรเลยในการควบคุมกิจการ  นี่ก็เป็นระบบความเชื่ออีกแบบหนึ่งซึ่งผมก็บอกไม่ได้ว่าดีกว่าแบบแรกหรือไม่  บางทีมันอาจจะดีกว่าในบางตลาดหุ้นและแย่กว่าในบางแห่ง  ประเด็นของผมก็คือ  ถ้าคุณเชื่อแบบไหน  คุณก็ควรจะทำแบบสม่ำเสมอและสอดคล้องกันทุกอย่าง- ด้วยความศรัทธา   อย่างเริ่มต้นซื้อหุ้นด้วยความคิดหนึ่งแต่ขายหุ้นด้วยความคิดอีกชุดหนึ่งซึ่งอยู่ตรงกันข้าม


ข้อสี่  “อยู่ข้างเทพ  อย่าอยู่ข้างมาร”  นี่ก็เป็นกฎที่น่าจะมีคำถามตามมาว่า  ข้างไหนคือเทพและข้างไหนคือมาร?  คำตอบก็คือ  เราก็ต้องเป็นคนที่คิดและเลือก  ว่าที่จริง  คงไม่มีใครเลือกที่จะเป็นมารหรืออยู่ข้างมาร  เขาคิดว่าฝั่งที่เขาเลือกคือเทพ  สำหรับผมแล้ว  ผมคิดว่านักลงทุนนั้นจะต้องเลือกข้าง  “ผู้ชนะ”  ซึ่งก็คือ  ข้างเทพ  เพราะผู้ชนะนั้นจะเป็นคน  “เขียนประวัติศาสตร์”  และแน่นอน  เขาจะต้องเขียนว่าเขาเป็นฝ่ายเทพ  ความหมายของผมก็คือ  ในการลงทุน  เราควรเลือกบริษัทที่อยู่ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่อยู่ในช่วงของการเติบโต  เป็นธุรกิจที่กำลังมี  “กระแส”  หรือมี  “ลมพัดมาทางข้างหลัง”  เป็นอุตสาหกรรม “เทพ”  นอกจากนั้น  เราควรเลือกบริษัทที่กำลังเป็น  “ผู้ชนะ”  เป็นบริษัท “เทพ”   วิธีที่เราจะเลือกได้ถูกต้องนั้น  นอกจากการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง  ซึ่งบ่อยครั้งจะต้องมองไปถึง  “กระแสระดับโลก”  ที่อาจจะมาก่อนแล้ว    เรายังต้องพยายามตัดอคติและความรู้สึกส่วนตัวที่มีออกให้มากที่สุด  เพราะนั่นมักทำให้เรามีความลำเอียงจนทำให้วิเคราะห์ผิดไปได้


ข้อห้า  “คุณจะไม่มีวันเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างได้”  ว่าที่จริงผมคิดว่าคนเราอาจจะเข้าใจอย่างลึกซึ้งเฉพาะในบางเรื่องเท่านั้น  เรื่องส่วนใหญ่นั้นเราไม่ค่อยจะเข้าใจหรอกแต่เราอาจจะคิดว่าเราเข้าใจ  กฎข้อนี้เพื่อที่จะเตือนใจเราให้รู้ว่ายังมีเรื่องที่เราไม่เข้าใจอีกมาก  และถ้าเราไม่เข้าใจแต่เราตัดสินใจลงทุน  เราก็อาจจะพบกับความผิดหวังได้ง่าย ๆ  วิธีการของผมก็คือ  ถ้าเรายังไม่ค่อยจะเข้าใจหุ้นตัวไหน  ก็อย่าไปลงทุนหรืออย่าลงทุนมาก  ถ้าเราลงทุนก็จะต้องรู้ว่ามันคือการ  “เก็งกำไร”  และโอกาสเสียก็มีไม่น้อย   โดยส่วนตัวผมแล้ว  ผมจะพยายามทำความเข้าใจในเรื่องของโลกในวงกว้าง  ทั้งเรื่องการเมือง  เศรษฐกิจ  สังคม  วิทยาศาสตร์  ปรัชญา  และอื่น ๆ  อีกร้อยแปด  ผมพยายามที่จะเข้าใจ  “ภาพใหญ่”  ของสิ่งเหล่านี้  ในขณะที่ถ้าเป็นเรื่องที่ผมสนใจเป็นพิเศษ  เช่น  การลงทุน  ผมก็จะพยายามศึกษาให้มากเพื่อที่จะได้  “รู้จริง”  โชคดีที่ว่า  ในการลงทุนนั้น   การมีความรู้ในเรื่องของโลกอย่างกว้าง  สามารถที่จะช่วยทำให้การลงทุนดีขึ้นมาก


ข้อหก  “รักษาคุณธรรมและจริยธรรมให้สูงเข้าไว้”  นี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับชีวิตเช่นเดียวกับการลงทุน   เป็นเรื่องธรรมชาติที่สิ่งมีชีวิตซึ่งรวมถึงคนจะต้องดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอด  บางครั้งก็เกิดการ  “แย่งชิง”  ทรัพยากรกัน   การที่เราจะมีชีวิตที่ดีได้  เราต้องยึดถือคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีตลอดเวลาเพราะนี่คือ  “กติกา”  ที่คนส่วนใหญ่ยอมรับและยกย่อง  ถ้าเราทำผิดเราจะไม่ได้รับความเชื่อถือไปนานหรือตลอดไป   และนั่นจะทำให้ชีวิตในอนาคตของเราตกต่ำลงและยากที่จะแก้ไขได้  ในเรื่องของการลงทุนนั้น  ก็เช่นเดียวกัน  อย่าใช้วิธีการที่ไม่มีคุณธรรมในการลงทุนหรือเล่นหุ้นแม้ว่ามันจะทำให้เราได้กำไรเร็วและมาก  อะไรคือคุณธรรมในการลงทุนนี่ก็เป็นประเด็นอยู่เหมือนกัน  แน่นอน  การทำผิดกฎหมายไม่ว่าจะถูกจับได้หรือไม่ก็ต้องถือว่าไม่มีคุณธรรมแน่นอน  แต่การกระทำอย่างอื่นที่ทำให้นักลงทุนคนอื่นเสียหายโดยที่เราได้ประโยชน์   ตัวอย่างเช่น  เราแนะนำให้เขาซื้อหุ้นตัวหนึ่งแต่ในเวลาเดียวกันเราขาย  แล้วหลังจากนั้นราคาหุ้นก็ตกต่ำลงมามากเนื่องจากข้อมูลที่เรารู้อยู่ก่อนแล้ว   แบบนี้ก็อาจจะถือว่าเราไม่ได้มีคุณธรรมที่สูงพอ  แม้จะยอมรับกันว่า  ในเรื่องของการลงทุน  ทุกคนต้องรับผิดชอบกับการกระทำของตนเอง


สุดท้าย   สำหรับคนที่ประสบความสำเร็จจากการลงทุนจนทำให้มีเงินมากพอที่จะใช้ชีวิตแบบเศรษฐี  หรือแม้แต่คนที่มุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่งคั่งอย่างรวดเร็วจากการลงทุนก็คือ  “รู้ว่าความสุขที่แท้จริงมาจากไหน”  เรื่องนี้ผมขอตอบเองว่า   เงินนั้นก่อให้เกิดความสุขได้ถึงระดับหนึ่งเท่านั้น  เงินที่มากขึ้นจากนั้นจะสร้างความสุขเพิ่มขึ้นได้น้อยลงและน้อยลงเรื่อย ๆ   ดังนั้น  การมุ่งที่จะหาความสุขจากเงินมากเกินไปรังแต่จะก่อให้เกิดความทุกข์ขึ้นมาแทน  เพราะความสุขที่แท้จริงนั้น  ผมว่าอยู่ในใจเสียมากกว่า


from bangkokbiznews.com




เหตุผลที่คนตัดสินใจ "อยู่" หรือ "ลาออก" จากงาน


โดยผลวิจัยดังกล่าวเป็นหนึ่งในยี่สิบหัวข้อของการสำรวจ "work Thailand" ซึ่งทำการศึกษาพร้อมกันทั่วเอเชียรวม 13 ประเทศ เป็นการสำรวจความเห็นพนักงานที่ทำงานในองค์กรต่างๆ ทั่วเอเชีย ในประเด็นของการรักษาคน มีเหตุผลอะไรบ้าง? ที่คนตัดสินใจ "อยู่" หรือ "ลาออก" จากงาน

ล้วงลึกผลสำรวจความคิดเห็นของพนักงาน 6,700 คน จาก 32 บริษัทชั้นนำซึ่งครอบคลุมทั้งบริษัทต่างชาติและบริษัทในประเทศ จากการศึกษาของ บริษัท วัทสัน ไวแอท (ประเทศไทย) จำกัด

โดยผลวิจัยดังกล่าวเป็นหนึ่งในยี่สิบหัวข้อของการสำรวจ "work Thailand" ซึ่งทำการศึกษาพร้อมกันทั่วเอเชียรวม 13 ประเทศ เป็นการสำรวจความเห็นพนักงานที่ทำงานในองค์กรต่างๆ ทั่วเอเชีย ในประเด็นของการรักษาคน มีเหตุผลอะไรบ้าง? ที่คนตัดสินใจ "อยู่" หรือ "ลาออก" จากงาน



10 เหตุผลคนอยู่ต่อ 

ทายาท ศรีปลั่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท วัทสัน ไวแอท (ประเทศไทย) จำกัด ที่ปรึกษาทางด้านการจัดการและพัฒนาองค์กร เล่าให้ "ผู้จัดการรายสัปดาห์" ฟังว่า ในกลุ่มคนทำงาน 6,700 คน มีจำนวน 62% ยังมีความพึงพอใจที่จะทำงานปัจจุบันอยู่ต่อไป และอีก 38% ยังมีความลังเลใจอยู่ว่าอยากจะออกไปหางานใหม่ทำ หรือจะทนอยู่ทำงานต่อไปดี?

"10 เหตุผลที่คนส่วนใหญ่เลือกจะอยู่ที่ทำงานเดิมต่อไป" เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย คือ

1. ความมั่นคงของงานและของตนเอง 13%

2. ผลประโยชน์และสวัสดิการ 12%

3. เงินเดือนและค่าตอบแทน 9%

4. ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 7%

5. โอกาสและความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน 7%

6. มีโครงการฝึกอบรมพนักงานที่ดี 6%

7. บริษัทมีแนวโน้มทางธุรกิจที่สดใส 6%

8. ได้รับโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ 5%

9. มีโอกาสได้ใช้ทักษะที่มีอยู่ 5% และ

10. บริษัทมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก 4%

ทายาทกล่าวว่า เหตุผลทั้งหมดถือว่าเป็นเสียงสะท้อนของคนกลุ่มใหญ่ในสังคม ที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยยุคนี้ถ้ามนุษย์เงินเดือนจะเลือกหางาน หรือเลือกที่จะอยู่กับองค์กรหนึ่งองค์กรใด? จะดูว่าบริษัทมีความมั่นคงหรือไม่? ถ้ามั่นคงก็อยู่นาน

ขณะที่ตัวบริษัทเองก็ได้เปรียบในแง่ของการดึงคนมีความสามารถ มาอยู่กับองค์กรตัวเองได้ โดยคำจำกัดความของความมั่นคงจะมี 2 อย่างคือ ความมั่นคงกับตัวพนักงานเอง และความมั่นคงของบริษัท เช่น เป็นตำแหน่งงานสำคัญ หรือบริษัทเป็นธุรกิจหลักของกลุ่ม

ถ้าเปรียบเทียบเหตุผล "ความมั่นคงของงาน" ในอันดับที่ 1 กับเหตุผล "บริษัทมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก" ในอันดับที่ 10 การเป็นองค์กรที่มั่นคงถือเป็นปัจจัยสำคัญกว่า ส่วนที่มาของการมีชื่อเสียง อาจจะมาจากหลากหลายเหตุผล อย่างเช่น ผ่านกลไกประชาสัมพันธ์ ผ่านการสร้างภาพลักษณ์องค์กร

"องค์กรได้ดิบได้ดี แต่ตัวพนักงานนั้นจะมั่นคงด้วยหรือเปล่า? เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เหตุผลทั้งสองข้อนี้จึงไม่เหมือนกันในความรู้สึกของพนักงาน แต่แน่นอนชื่อเสียงองค์กรเป็นสิ่งที่ดี คนรู้จักบริษัทที่เราทำงานอยู่ ก็ถือเป็นหน้าเป็นตาเหมือนกัน แต่ก็เป็นเรื่องของภาวะทางจิตใจมากกว่า แต่ความมั่นคงของงาน ถือเป็นความมั่นคงของชีวิต ของอาชีพ จึงเป็นเรื่องสำคัญกว่าความมีหน้ามีตาของบริษัท"



10 เหตุผลคนคิดอยากไป 

ขณะที่ "10 เหตุผลที่คนส่วนใหญ่เลือกจะไปจากบริษัท" เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ข้อสรุปที่ได้คือ

 1. ค่าตอบแทนทางด้านเงินเดือนที่ดีขึ้น 19%

2. โอกาสความก้าวหน้าดีกว่าเดิม 16%

3. สวัสดิการดีขึ้น 15%

4. ความมั่นคงของงาน 6%

5. มีโอกาสที่จะได้ทำเรื่องส่วนตัวที่สนใจ 4%

6. มีโปรแกรมฝึกอบรมและพัฒนาที่ดีกว่า 4%

7. เหตุผลส่วนตัวไม่เกี่ยวกับบริษัท 4%

8. มีโอกาสที่จะพัฒนาฝีมือทักษะได้มากกว่า 4%

9. มีระบบการบริหารผลปฏิบัติงานเป็นธรรมมากกว่า 3% และ

10. ตำแหน่งงานดีขึ้น 3%

ทายาทอธิบายว่า คนที่ตัดสินใจแล้วว่าจะไป จะเป็นกลุ่มคนที่กำลังมองหาค่าตอบแทนทางด้านเงินเดือน หรือในรูปแบบอื่นๆ ที่ดีขึ้นกว่าเดิม เป็นการแสวงหาโอกาสทางด้านการเงินที่ดีขึ้นจึงกลายเป็นเหตุผลหล ักอันดับ 1 แตกต่างจากเหตุผลแรกของคนที่เลือกจะอยู่องค์กรเดิมต่อไป โดยมองที่ความมั่นคงของงานและของตนเองเป็นเป้าหมายหลัก " คนที่ตัดสินใจจะอยู่จะมองเรื่องสวัสดิการมากกว่าผลตอบแทนที่เป็ นตัวเงิน"

สิ่งที่น่ามองต่อไปคือ เหตุผลของการจากไป อันดับ 4 'ความมั่นคงของงาน' เป็นประเด็นที่ไม่เคยปรากฏเลยในช่วงเศรษฐกิจวิกฤต แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมา คาดว่าคนส่วนใหญ่คงได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดี การตัดสินใจเลือก "อยู่" หรือ "ไป" จากงานจึงระมัดระวังมากขึ้นไม่ผลีผลาม และเพิ่มความมั่นคงของตนเองในงานมากขึ้นเป็นกรณีพิเศษ

ส่วนเหตุผลการจากไปอันดับ 10 'ตำแหน่งงานดีขึ้น' เขาวิเคราะห์ว่า สมัยหนึ่งคนไทยแคร์ตำแหน่งมาก ซึ่งปัจจุบันค่านิยมดังกล่าวก็ยังมีอยู่ แต่ถ้าเรียงลำดับตามความสำคัญแล้วจะไปรั้งท้ายอยู่อันดับ 10 แสดงว่าความสุขทางใจที่เป็นนามธรรมถูกผลักออกไป และคนทำงานยุคใหม่จะดูเรื่องอะไรที่กินได้อยู่ได้มากกว่า แสดงออกถึงความก้าวหน้าในอาชีพ และสวัสดิการที่ดีกว่า



ตำแหน่ง-อายุงาน-อายุตัว 

เมื่อมองลึกลงไปถึงระดับของตำแหน่งงานที่มีผลต่อการ "อยู่" สิ่งที่พบคือ 79% ของระดับผู้บริหาร ยังต้องการทำงานอยู่ที่เดิมต่อไป ส่วน 60% ของระดับพนักงานปฏิบัติการ ก็ยังคงยืนยันจะทำงานอยู่ที่เดิมต่อไป

ขณะที่ระดับของตำแหน่งงานที่มีผลต่อการ "ไป" สิ่งที่พบคือ 21% ของผู้บริหารยังลังเลที่จะอยู่หรือไปดี และอีก 40% ของระดับพนักงานปฏิบัติการก็ยังลังเลเช่นกัน

"โดยภาพรวมผู้บริหารยังอยากอยู่ที่เดิม เป็นเพราะว่าการเป็นผู้บริหารมั่นคงกว่า ในแง่ของการเงินที่ดีขึ้น ส่วนพนักงานยังอยากหาโอกาสงานที่ดีขึ้นในองค์กรใหม่ๆ ความภักดีต่อองค์กรน้อยลง ขณะที่ผู้บริหารใช้เวลาอยู่นานกว่า มีความคุ้นเคยกับวัฒนธรรมองค์กรสูงกว่า จึงตัดสินใจที่จะลงหลักปักฐานมากกว่า" ทายาทกล่าว

สำหรับอายุงานที่มีผลต่อการ "อยู่" หรือ "ไป" จากองค์กรเช่นกัน ผลวิจัยระบุชัดว่า กลุ่มคนที่ต้องการอยู่ อายุงานน้อยกว่า 1 ปีอยากอยู่ 67%, 1-5 ปี 57%, 5-10 ปี 58% และมากกว่า 10 ปี 69% ขณะที่กลุ่มคนที่ต้องการไป อายุงานน้อยกว่า 1 ปี 33%, 1-5 ปี 43%, 5-10 ปี 42% และมากกว่า 10 ปี 31%

ทายาทอธิบายว่า พนักงานที่อยู่เกินกว่า 10 ปี จะมีความผูกพันกับองค์กรมากที่สุด ขณะที่อายุงาน 2-9 ปี จะพยายามปรับตัวให้เข้ากับองค์กร แต่ถ้ามีโอกาสก็ยังเปิดใจหางานใหม่ อย่างไรก็ดีอายุงานไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญชี้ว่า คนที่อยู่นานมากจะไม่คิดย้ายงานเลย เพราะสภาพแวดล้อมสังคมเปลี่ยนไป คนยุคนี้ต้องการหาความมั่นคงเป็นหลัก บางคนก็มองว่าอยู่นานๆ แล้วเป็นคนไม่มีค่าไปเลยก็มี

"สมัยก่อนให้ความสำคัญกับระบบอาวุโส ยิ่งอยู่นานจะยิ่งได้รับความมั่นคงมาก แต่ปัจจุบันมีระบบการวัดผลงานมากขึ้น ระดับความสามารถของคนต้องปรับมาตรฐานตลอดเวลา ทำให้อายุงานมากไม่ได้มองว่าเป็นผลดีเสมอไป สังคมทำงานเปลี่ยนแปลงไปมากจากภาพตรงนี้"

ขณะที่อายุตัวที่มีผลต่อการ "อยู่" หรือ "ไป" จากองค์กรพบว่า ในกลุ่มคนที่อยู่ อายุน้อยกว่า 30 ปีอยากอยู่ 60%, 30-40 ปี 61%, 40-50 ปี 71% และมากกว่า 50 ปี 79% ส่วนกลุ่มคนที่คิดจะไป อายุน้อยกว่า 30 ปีคิดอยากจะไป 40%, 30-40 ปี 39%, 40-50 ปี 29% และมากกว่า 50 ปี 21% แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คนยิ่งอายุเยอะจะอยู่กับองค์กรนาน เพราะความคล่องตัวในการหางานใหม่ลดลง ส่วนคนที่อายุน้อยก็มีสัดส่วนที่อยากจะอยู่มากกว่าไป โดยมองถึงหลายเหตุผลมาประกอบ



3-5 ปีค่อยคิดเปลี่ยนใจ 

ทายาทสรุปว่า ก่อนที่เราจะเลือกงาน หรือเข้าทำงาน ต้องดูงานให้ดี เพราะเมื่อเราตัดสินใจทำงานไปแล้ว ก็ควรจะอยู่กับองค์กรนั้นๆ ระยะหนึ่ง ให้เกิน 3-5 ปีก่อนที่จะย้ายงาน เพราะเป็นช่วงเวลาที่จะพิสูจน์ว่า เราเป็นคนสู้งาน และพัฒนาการทางด้านความรู้และวุฒิภาวะจะเกิดขึ้น

คนที่อยู่ระยะสั้นแล้วหางานไปเรื่อยๆ จะกลายเป็นคนที่ขาดวุฒิภาวะในการทำงาน วุฒิภาวะทางด้านอารมณ์ และความมั่นคงทางด้านจิตใจก็น้อยลงด้วย เพราะไม่เคยทนอะไรได้นานๆ ไม่เคยฟันฝ่าอุปสรรคบริหารให้ลุล่วงด้วยดี

"3 ปัจจัยสำคัญ วุฒิภาวะทางด้านอารมณ์ วุฒิภาวะทางด้านประสบการณ์ และตัวเนื้อประสบการณ์จริงๆ จะน้อย คนทำงานต้องผ่านช่วงนี้ให้ได้"

ขณะที่ประเด็นของการลาออกจากงาน ต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายด้าน การเงินไม่ใช่ปัจจัยที่ดีที่สุดเสมอไป ในบางช่วงอายุถ้าเราคำนึงถึงเรื่องเงินถือเป็นเรื่องระยะสั้นมา ก เราน่าจะคำนึงถึงโอกาสที่จะทำผลงาน โอกาสที่จะเป็นคนที่มีความสามารถเพิ่มเติมขึ้นไปกว่าเดิมมากกว่ า

รวมถึงการพัฒนาตัวเองให้เป็นคนเก่งมีความสามารถ จะต้องไม่ละทิ้งปัจจัยพื้นฐานของความเป็นมนุษย์คือ ความพยายาม ความเก่ง ที่ไปเปรียบเทียบกับคนอื่นแล้วเราเก่งกว่า



from ผู้จัดการรายสัปดาห์




บทความยอดนิยม (ล่าสุด)

บทความยอดนิยม (1 ปีย้อนหลัง)