ผมทำงานเป็น Creative Design และทำอาชีพเสริมคือ Tarot Reader หรือหมอดูนั่นเเหละครับ ตลอดเวลา 7 ปีที่เป็นหมอดู ได้ดูดวงให้คนเยอะมากๆ ผมไม่เคยเชื่อเรื่องชะตากรรม ดังนั้นในการดูไพ่ ผมจึงใช้โอกาสนี้ในการเรียนรู้จากลูกค้าที่ประสบความสำเร็จในชีวิตด้วย (นี่หลักฐานwww.vittarot.com)
ลูกค้าของผมมีหลายแบบ วันนี้ผมจะนำความลับของลูกค้ามาเปิดเผย โดยเลือกเฉพาะลูกค้าที่ร่ำรวยความสุข มีความมั่นคง สนุกกับการทำงาน และชีวิตไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องเงินอีกต่อไป มาเล่าให้ฟัง เพื่อนๆที่รักจะได้เห็นบางสิ่งบางอย่าง (นิสัย) ที่เหมือนกันของบุคคลเหล่านี้ ว่าเขามีความคิดอย่างไร เขาถึงมีความสุขกับชีวิต มีรายได้มากกว่ารายจ่ายหลายเท่า ทำไมเขาถึงร่ำรวยตั้งแต่อายุยังน้อยในขณะที่หลายคนไล่ล่าทั้งชีวิตยังไม่เจอ รวบรวมจากประสบการณ์การเป็นหมอดู 7 ปีของผม
เชิญอ่านได้เลยครับ
1. อย่าอายที่จะพูดเรื่องเงิน
2. เลือกวิธีที่สนุกในการหารายได้
3. มีเงินเข้ากระเป๋าไม่ต่ำกว่าสองทางขึ้นไป
4. ไม่มีข้ออ้างสำหรับการเรียนรู้
5. ไม่เคยพูดคำว่า มีเงินแต่ไม่มีความสุข จะมีไปทำไม
6. ลงทุนในสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
7. เป้าหมายเรื่องรายได้ ชัดเจน
8. คิดเรื่องการเติบโตตลอดเวลา
9. ให้รางวัลตัวเองทุกครั้งที่ทำสำเร็จ
10. ไม่ได้ใช้เวลาทั้งหมดเพื่อการทำงาน
11. ไม่ได้เป็นคนที่เก่งหมดทุกอย่าง
12. ใช้คนเป็น เลือกคนเก่งมาเคียงข้างโดยไม่สนเรื่องค่าใช้จ่าย
13. กล้าทุ่มเทเงินให้กับสิ่งที่คุ้มค่า
14. หาแนวคิดและเหตุผลที่สนับสนุนความเชื่อตัวเอง
15. รักครอบครัว
16. ทุ่มเทความสะดวกสบายให้พ่อแม่
17. พ่อแม่อยากได้อะไรที่ไม่ผิดหาให้หมด
18. เอาแต่ใจ ดื้อเงียบ
19. ฟังมากกว่าพูด
20. ชื่นชมคนที่รวยกว่าด้วยลำแข้งตัวเอง
21. อ่อนน้อมถ่อมตน
22. คิดใหญ่กว่าคนธรรมดา
23. วิ่งเข้าหาความเป็นไปไม่ได้
24. ค้นหาโอกาส แสดงตัวทุกครั้งที่โอกาสมาถึง
25. ไม่เคยรอคำว่าพร้อม
26. เลือกคบหาคนที่มองโลกในแง่ดี
27. เข้าใจความเสี่ยง
28. กล้าพูดถึงความดีของตัวเอง
29. ทำบุญแบบถึงไหนถึงกัน
30. ลงเงิน ลงแรงช่วยเหลือคนอื่น
31. ชอบให้ความรู้เด็กรุ่นใหม่
32. ไม่ขี้บ่น ไม่เคยโทษคนอื่น
33. เจอปัญหา เขากลับบอกว่านี่ไม่ใช่ปัญหา นี่คือโจทย์
34. พัฒนาตัวเองตลอดเวลา
35. เป็นนักอ่านชั้นยอด
36. เห็นคุณค่าของเวลา
37. มองเห็นอนาคตทางการงานของตัวเอง
38. บอกได้ว่าตัวเองต้องการอะไร
39. แบ่งเวลาทำงานหนัก และให้รางวัลตัวเองอย่างหนัก
40. ชอบพูดคำว่า "พี่ยังมีอะไรต้องเรียนรู้อีกเยอะ" เป็นประจำ
from http://goo.gl/fxOsl2
My personal blog about health, hobby, stock & investment, information technology, self improvement, tax and travel.
23 ธันวาคม 2556
20 ธันวาคม 2556
8 นิสัยช่วยให้เป็นเศรษฐีเงินล้าน
"พฤติกรรม" และ "นิสัย" เป็นส่วนผสมที่ทำให้คุณเป็น"เศรษฐี"ได้ ในเวลาเดียวกันพฤติกรรมและนิสัยบางอย่าง ก็บันดาล "ความยากจน" ให้กับคุณได้เหมือนกัน
หากคุณลองหมั่นสังเกตนิสัยของบรรดาเศรษฐีทั้งที่อยู่รอบตัวเราและที่อยู่ห่างตัวหน่อย ก็จะเห็นว่าพวกเขามีลักษณะนิสัยที่คล้ายๆ กัน อาจจะมีรายละเอียดบางอย่างที่แตกต่างกันบ้าง แต่โดยรวมจะค่อนไปในทางละม้ายคล้ายกัน
หากคุณลองหมั่นสังเกตนิสัยของบรรดาเศรษฐีทั้งที่อยู่รอบตัวเราและที่อยู่ห่างตัวหน่อย ก็จะเห็นว่าพวกเขามีลักษณะนิสัยที่คล้ายๆ กัน อาจจะมีรายละเอียดบางอย่างที่แตกต่างกันบ้าง แต่โดยรวมจะค่อนไปในทางละม้ายคล้ายกัน
ในทางตรงกันข้ามพวกที่ไม่เคยถูกเรียกว่าเศรษฐี ก็มักจะมีนิสัยที่ถอดแบบกันมาเช่นกันทั้ง ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ เกินตัว
ถ้าอย่างนั้นมีนิสัยอะไรบ้าง ที่ช่วยเนรมิตความเป็นเศรษฐีให้คุณ เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับ 8 นิสัยที่ช่วยให้คุณเป็นเศรษฐีเงินล้าน
ไม่ใช่นิสัยหรือพฤติกรรมทุกอย่างของคนเรา ที่จะหนุนนำให้ทุกคนขึ้นบัลลังก์ของเศรษฐีได้ เวบไซต์เอ็มเอ็มแฮบบิทส์ดอทคอม ได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับ "8 นิสัยที่จะช่วยให้คุณเป็นเศรษฐีเงินล้าน" ลองสำรวจตัวเองดู บางทีคุณอาจจะมีนิสัยเหล่านี้ซ่อนอยู่ในตัวอยู่แล้วก็ได้
บางคนอาจจะไม่มีเลย แต่ไม่เป็นไร นิสัยเหล่านี้สร้างและบ่มเพาะกันได้ หรือบางคนอาจจะแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนิดหน่อย แล้วนำนิสัยเหล่านี้มาประยุกต์ใช้อย่างไม่ยากเย็น
ลักษณะนิสัยทั้ง 8 ข้อจากนี้ไป เป็นเหมือนกฎขั้นพื้นฐานที่เศรษฐีเงินล้านส่วนใหญ่ทั่วโลกยึดถือและปฏิบัติ เพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวเอง ซึ่งคนไทยทั่วไปสามารถนำไปใช้เป็นแบบอย่าง ช่วยให้ตัวเองเป็นเศรษฐีเงินล้านได้ ด้วยหนึ่งสมองและสองมือสองขาของเรานี่เอง
1. หาเงินไว้ลงทุน..ไม่ใช่เพื่อใช้จ่าย
ใครก็ตามที่มุ่งมั่นและตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากิน ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะร่ำรวยเงินทอง เพราะคนที่หาเงินได้มาก ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะเป็นเจ้าของคำว่า "เศรษฐี"
เพราะบางคนหาได้เงินมากก็ใช้จ่ายมาก บางคนทำมาหากินแทบตาย แต่ต้องเอามาใช้หนี้สินที่ติดตัวอยู่
แต่สำหรับคนที่เป็นเศรษฐี จะมีนิสัยที่ค่อนข้างชัดเจนคือ เมื่อได้เงินมาก็จะนำไปต่อยอดการลงทุน เข้าตำราหาเงินไว้เพื่อลงทุน ไม่ใช่เพื่อใช้จ่าย
"คนส่วนใหญ่ทำงานหนัก เพื่อชำระหนี้บัตรเครดิต และบำเรอความสุขให้กับชีวิตตัวเอง แต่กลุ่มคนมีเงินตระหนักว่า ถ้านำเงินก้อนที่มีอยู่ไปต่อยอดให้ออกดอกออกผลเพิ่มความมั่งคั่งให้กับตัวเองน่าจะดีกว่า" เวบไซต์เอ็มเอ็มแฮบบิทส์ให้ทัศนะ
"วิเชฐ ตันติวานิช" กรรมการผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ MAI เห็นด้วยกับนิสัยนี้ เพราะมีคนจำนวนมากที่มีรายได้เยอะ แต่เมื่อมีมากใช้มากก็ไม่มีทางที่จะเป็นเศรษฐีได้ แต่คนที่เป็นเศรษฐีก็มักจะมีนิสัยที่ต่างออกไป เมื่อมีรายได้เข้ามา แทนที่จะโหมใช้จ่าย พวกเขาจะนำเงินไปต่อยอดลงทุนเพื่อให้เงินออกดอกออกผล
2. มีแผนและทำตามแผน
เศรษฐีเงินล้านที่รวยได้ด้วยลำแข้งของตัวเอง ไม่ได้ร่ำรวยเพราะความบังเอิญ ส่วนหนึ่งนั่นเพราะพวกเขามีนิสัยที่มีแผนและลงมือปฏิบัติตามแผน ซึ่งนั่นเป็นแรงผลักดันที่ช่วยพวกเขาให้เดินสู่ความรวย
"การวางแผนและทำตามแผนนำพวกเขาสู่จุดหมาย นั่นคือการลงทุนและสั่งสมความมั่งคั่งไว้ตลอดชีวิต" เวบไซต์เอ็มเอ็มแฮบบิทส์ให้ทัศนะ
"ดารบุษป์ ปภาพจน์" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด 2 บลจ.กรุงไทย มองว่า เรื่องสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งมือใหม่หัดลงทุนมักจะละเลยไป คือการทำตามแผนที่วางไว้โดยเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลยุทธ์ ?ออมเงินก่อน? หรือ Pay Yourself First โดยการหักเงินออมออกจากบัญชีเงินเดือนทันทีที่เงินเดือนออก ก่อนที่จะนำเงินไปใช้จ่ายอย่างอื่น เพราะแผนที่วางไว้อย่างสวยหรูนั้น จะไม่มีประโยชน์เลย หากไม่มีการนำมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
การมีวินัยในแผนลงทุนนั้นยังรวมถึง ผู้ลงทุนที่เลือกการลงทุน โดยใช้กลยุทธ์เฉลี่ยต้นทุน (Dollar Cost Averaging) ด้วยการลงทุนเป็นประจำด้วยจำนวนเงินที่เท่ากัน ผู้ลงทุนควรมีวินัย ไม่หวั่นไหวไปกับการขึ้นลงของภาวะตลาด โดยอาจใช้ร่วมกับแผนการลงทุนอัตโนมัติที่บริษัทจัดการต่างๆ มีไว้บริการ ซึ่งช่วยประหยัดทั้งเวลา และลดความวุ่นวายใจไปได้มากทีเดียว
วิเชฐเห็นด้วยกับข้อนี้ ทุกคนคิดและวางแผนการเงินการลงทุนได้ว่าจะทำโน่นนี่นั่น แต่ไม่ใช่ทุกคนที่วางแผนแล้วจะปฏิบัติหรือลงมือทำตามแผน ฉะนั้น ใครก็ตามที่วางแผนทางการเงินให้ตัวเอง แล้วเดินตามแผนก็มักจะมีแววที่จะเป็นเศรษฐี
3. ทำงานหาเงินให้มากขึ้น
ความหมายข้อนี้ดูเหมือนชัดเจน เพราะกลุ่มคนมั่งคั่งมักจะพากันแสวงหาหนทาง ที่จะสร้างหรือหารายได้ให้ไหลมาเทมาอย่างต่อเนื่องอย่างไม่มีวันหยุด ด้วยการเพิ่มจำนวนเงิน ให้ทำงานออกดอกออกผลให้พวกเขาได้มากขึ้น
นี่คือนิสัยประจำตัวของบรรดาเศรษฐี จะสังเกตเห็นได้ว่า ยิ่งร่ำรวยอยู่แล้ว ยิ่งไม่หยุดทำงาน ยิ่งมั่งคั่งอยู่แล้ว ยิ่งหาทางต่อยอดการลงทุนให้มั่งคั่งยิ่งขึ้น
เรื่องนี้วิเชฐตั้งข้อสังเกตว่า คนที่มีเงินทองหรือร่ำรวยในระดับหนึ่งแล้ว พวกเขามักไม่เก็บเงินเอาไว้อย่างเดียว แต่หาช่องทางเพื่อขยับขยายความรวย ซึ่งเมื่อถึงจุดนี้เขามักจะให้เงินทำงานช่วยอีกแรง เรียกว่าทำเงินได้ 2 เด้ง
4. เข้าใจฐานะการเงินของตัวเอง
กลุ่มคนที่มีความมั่งคั่งต่างตื่นตัวกับการรับรู้รายได้ในบัญชีส่วนตัว และรู้ว่าการไหลเวียนของเงินที่ไหลเข้าออกในบัญชีมีเท่าไร ตรงนี้จะเห็นได้ชัดว่าต่างจากคนที่ยังไม่ได้เป็นเศรษฐี ที่มักจะไม่ค่อยสนใจและใส่ใจในฐานะการเงินของตัวเองซักเท่าไร
บางคนยิ่งไปกว่านั้น เพราะปล่อยให้หนี้ท่วม นอกจากไม่ได้จัดระเบียบหนี้แล้ว ที่ร้ายกว่านั้นคือแทบไม่รู้เลยว่าหนี้ของตัวเองเบ็ดเสร็จแล้วมีเท่าไร
เรื่องนี้ดารบุษป์บอกว่าก่อนที่จะทำสิ่งใดให้ประสบความสำเร็จ เราจะต้องมีการวางแผนรู้เขา รู้เรา ซึ่งการวางแผนการลงทุนก็ไม่ต่างกัน การเข้าใจฐานะการเงินของตนเองให้ถ่องแท้ เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะมิเช่นนั้นแล้ว ก็จะเหมือนการขับรถทางไกลโดยไม่เตรียมความพร้อม ไม่ได้เช็คเครื่อง หม้อน้ำ ปริมาณน้ำมัน ไม่รู้ว่ากำลังเครื่องยนต์ของรถนั้นมีมากน้อยเพียงใด สามารถขึ้นเขา ลุยโคลนได้หรือไม่
ซึ่งการละเลยไม่เข้าใจตนเองเช่นนี้ ก็มีแต่จะจะทำให้เราประสบปัญหาและอุปสรรคระหว่างทาง ต้องเสียเวลามากกว่าที่ควรเพื่อจะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ หรือบางทีก็อาจหมดกำลังใจไปก่อนที่จะถึงเป้าหมาย
"ก่อนจะเริ่มต้นวางแผนการเงินนั้น เราจะต้องรู้ว่ารายรับของเรานั้นมีความสม่ำเสมอแค่ไหน มีส่วนเกินกว่ารายจ่ายหรือไม่ รวมถึงมีการกันเงินเผื่อสำหรับค่าใช้จ่ายฉุกเฉินเพียงพอที่จะทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องพึ่งเงินที่ตั้งใจเก็บไว้เพื่อการลงทุนระยะยาว ซึ่งหากเราละเลยขั้นตอนนี้ไป ก็ยากที่จะถึงเป้าหมายได้ "
วิเชฐเสริมว่า คนที่เป็นเศรษฐีมักจะมีนิสัยใส่ใจในเรื่องเงินทองอยู่แล้ว ทั้งรายรับรายจ่ายทำใส่เอ็กเซลชีทเอาไว้ ส่วนคนที่ยังไม่ได้เป็นเศรษฐี ควรจะทำอย่างยิ่ง นี่เป็นบันไดก้าวหนึ่งที่จะนำคุณไปเป็นเศรษฐีได้
5. กล้ารับความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
เวบไซต์เอ็มเอ็มแฮบบิทส์ดอทคอมบอกไว้ว่า การเป็นผู้กล้ารับความเสี่ยง เป็นสิ่งต้องทำเพื่อเพิ่มความรวยให้ตัวเอง หากไม่เข้าไปฉวยโอกาสบางครั้ง เงินที่มีอยู่จะไม่มีโอกาสงอกเงย แต่เหนืออื่นใด ต้องเป็นความเสี่ยงที่คุณรับได้ และต้องมีการวางกลยุทธ์อย่างดีเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากภาวะตลาดตกต่ำหรือช่วงขาลง
ข้อนี้ วิเชฐมองว่า คนที่จะเป็นเศรษฐีได้ พวกเขามักรู้ว่าความเสี่ยงคืออะไร ประเมินได้ว่าความเสี่ยงมันใหญ่ขนาดไหน และตัวเขาเองสามารถรับความเสี่ยงได้แค่ไหน
"เพราะความเสี่ยงในระดับสูง ไม่ใช่ว่าเราไปยุ่งกับมันไม่ได้ คนที่เป็นเศรษฐีได้เขาจะประเมินพละกำลังของตัวเองก่อนว่า ความเสี่ยงแค่นี้ เรารับมือไหวมั้ย เพราะถึงจะเสี่ยงสูง แต่ถ้าเรารับความเสี่ยงไหว เราจัดการกับความเสี่ยงนั้นได้ โอกาสที่จะได้ผลตอบแทนสูงก็มี "
6. มีความอดทน&สติซ่อนอยู่ในการลงทุน
สังเกตมั้ยว่าพวกเศรษฐีเงินล้านที่ร่ำรวยจากสองมือสองขากับหนึ่งสมองของตัวเอง ไม่ได้กลายเป็นเศรษฐีเพียงชั่วข้ามคืน แต่เศรษฐีเหล่านี้เข้าใจถึงพลังแห่งดอกเบี้ยทบต้น และความพยายามลงทุนอย่างต่อเนื่องไม่หยุด เพื่อให้ได้ความร่ำรวยเป็นรางวัลตอบแทน
ดารบุษป์เปรียบเปรยให้ฟังว่ามีคนเคยเปรียบการลงทุนว่าเหมือนการไต่เทือกเขาสูง ยิ่งเป้าหมายสูงเพียงใด นอกจากต้องเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์แล้ว ต้องอาศัยจิตใจที่แข็งแกร่งจึงจะก้าวผ่านหุบเหวที่เป็นอุปสรรคไปได้ การลงทุนก็เช่นกัน ความผันผวนของตลาดหุ้นนั้นเกิดขึ้นมาทุกยุคทุกสมัย มากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป ดังนั้น เมื่อนักลงทุนได้แสวงหาเส้นทางการลงทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมายของตนเองแล้ว ก็ควรเตรียมใจที่จะพบอุปสรรคที่จะเข้ามา
หากอุปสรรคนั้นเป็นอุปสรรคที่ประเมินไว้ล่วงหน้าแล้ว เช่น เมื่อตัดสินใจลงทุนในหุ้นของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อย่างจีน อินเดีย หรือรัสเซีย ซึ่งมีโอกาสรับผลตอบแทนสูง ก็ต้องเผื่อใจสำหรับโอกาสที่จะขาดทุนอย่างมากในบางช่วงเวลาด้วยเช่นกัน
วิเชฐเสริมว่าอดทนอย่างเดียวไม่พอ สำคัญที่สุดคนที่จะเป็นเศรษฐีได้ต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา เพราะคนที่มีสติจะทำให้ตัดสินใจได้ว่าในสถานการณ์นั้นๆ เขาควรตัดสินใจอย่างไร เช่นถ้าภาวะตลาดหุ้นไม่ดี คนที่มีสติก็อาจจะประเมินและตัดสินใจได้ว่า สถานการณ์ย่ำแย่แบบนี้เขาควรจะถอนตัวออกหรืออยู่ต่อเพื่อรอ หรือหาจังหวะเข้าลงทุน
7. ได้ทีมที่ยอดเยี่ยม
กลุ่มคนร่ำรวยยังคงความมั่งคั่งของตัวเองไว้ได้ ด้วยผู้คนแวดล้อมซึ่งเป็นที่ปรึกษาการเงินและกฎหมาย ซึ่งล้วนมีฝีมือเป็นเลิศในแวดวงอาชีพนั้นๆ นั่นเป็นประเด็นที่เราเห็นได้ว่าบรรดาเศรษฐีเงินล้านมักไม่เดินหน้าสร้างความร่ำรวยโดยลำพัง
"ลองสังเกตดูสิ คนที่เป็นเศรษฐีไม่ใช่ว่าทุกคนเกิดมาท่ามกลางคนที่มีความรู้เรื่องการลงทุน แต่คนเหล่านี้จะพาตัวเองเข้าไปอยู่ท่ามกลางกลุ่มคนที่มีความรู้เรื่องการลงทุน นั่นทำให้เขามีโอกาสได้เรียนรู้แง่มุมและช่องทางต่างๆ ของการลงทุน ว่าอะไรที่จะทำให้เงินทองของเขางอกเงยขึ้น หรือมีวิธีไหนบ้างที่จะทำให้เงินออกดอกออกผล" วิเชฐให้ทัศนะ
8. รับฟัง..กลั่นกรอง...นำไปใช้
นิสัยอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้คุณเป็นเศรษฐีเงินล้านได้ด้วยความสามารถของตัวเอง คือการแสวงหาคำแนะนำจากที่ปรึกษาเชื่อถือไว้ใจได้ เศรษฐีเหล่านี้รับฟังด้วยความมุ่งมั่นมีใจจดจ่อ จากนั้นพวกเขาก็สามารถนำไปปฏิบัติและตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง เพื่อพยายามสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเอง
ดารบุษป์บอกว่าการวางแผนการลงทุนนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนชีวิต ซึ่งต้องการความมีเหตุผลสูงกว่าการเลือกซื้อข้าวของเครื่องใช้ทั่วไป การฟังเขามาแต่เพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอที่จะแน่ใจได้ว่าการลงทุนที่เหมาะกับคนอื่นนั้นจะเหมาะกับตัวเราด้วย เช่น เมื่อฟังเพื่อนๆ พูดถึงผลตอบแทนที่ได้รับ ก็ต้องนำมากลั่นกรองว่าการลงทุนนั้นมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด ผลตอบแทนที่ว่าสูงนั้นๆ คุ้มค่ากับความเสี่ยงหรือไม่ และตัวเรานั้นมีความพร้อมที่จะรับความเสี่ยงที่ว่านั้นแค่ไหน หรือมีวิธีที่จะลดหรือกระจายความเสี่ยงอย่างไรได้บ้าง โดยอาจต้องศึกษาจากข้อมูลการลงทุนในหนังสือชี้ชวน สอบถามผู้รู้ ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน
วิเชฐเองก็เห็นด้วยว่าคนจะเป็นเศรษฐีได้ เบื้องต้นต้องหัดรับฟังข้อมูล หาข้อมูลการลงทุนให้เยอะเข้าไว้ จากนั้นก็นำมากลั่นกรอง เพราะเมื่อได้ข้อมูลเยอะเราต้องกรอง จากนั้นค่อยนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการตัดสินใจลงทุน
"ผมว่านิสัยเหล่านี้เศรษฐีมีทุกคน บางคนข้อมูลเยอะ กลั่นกรองแล้ว แต่ไม่กล้าตัดสินใจที่จะลงทุน คุณก็เป็นได้แค่นักวิเคราะห์ แต่เป็นเศรษฐีไม่ได้" วิเชฐให้ความเห็นทิ้งท้าย
ใน 8 นิสัยเหล่านี้ ลองถามไถ่ตัวเองดูซิว่ามีกี่ข้อ ถ้ามีครบ 8 เตรียมสะกดคำว่าเศรษฐีรอไว้ได้เลย แต่ถ้าไม่มีสักข้อ ก็ยังไม่สายเกินไปค่อยๆ บ่มเพาะนิสัยเหล่านี้กันใหม่ได้
ถ้าอย่างนั้นมีนิสัยอะไรบ้าง ที่ช่วยเนรมิตความเป็นเศรษฐีให้คุณ เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับ 8 นิสัยที่ช่วยให้คุณเป็นเศรษฐีเงินล้าน
ไม่ใช่นิสัยหรือพฤติกรรมทุกอย่างของคนเรา ที่จะหนุนนำให้ทุกคนขึ้นบัลลังก์ของเศรษฐีได้ เวบไซต์เอ็มเอ็มแฮบบิทส์ดอทคอม ได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับ "8 นิสัยที่จะช่วยให้คุณเป็นเศรษฐีเงินล้าน" ลองสำรวจตัวเองดู บางทีคุณอาจจะมีนิสัยเหล่านี้ซ่อนอยู่ในตัวอยู่แล้วก็ได้
บางคนอาจจะไม่มีเลย แต่ไม่เป็นไร นิสัยเหล่านี้สร้างและบ่มเพาะกันได้ หรือบางคนอาจจะแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนิดหน่อย แล้วนำนิสัยเหล่านี้มาประยุกต์ใช้อย่างไม่ยากเย็น
ลักษณะนิสัยทั้ง 8 ข้อจากนี้ไป เป็นเหมือนกฎขั้นพื้นฐานที่เศรษฐีเงินล้านส่วนใหญ่ทั่วโลกยึดถือและปฏิบัติ เพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวเอง ซึ่งคนไทยทั่วไปสามารถนำไปใช้เป็นแบบอย่าง ช่วยให้ตัวเองเป็นเศรษฐีเงินล้านได้ ด้วยหนึ่งสมองและสองมือสองขาของเรานี่เอง
1. หาเงินไว้ลงทุน..ไม่ใช่เพื่อใช้จ่าย
ใครก็ตามที่มุ่งมั่นและตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากิน ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะร่ำรวยเงินทอง เพราะคนที่หาเงินได้มาก ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะเป็นเจ้าของคำว่า "เศรษฐี"
เพราะบางคนหาได้เงินมากก็ใช้จ่ายมาก บางคนทำมาหากินแทบตาย แต่ต้องเอามาใช้หนี้สินที่ติดตัวอยู่
แต่สำหรับคนที่เป็นเศรษฐี จะมีนิสัยที่ค่อนข้างชัดเจนคือ เมื่อได้เงินมาก็จะนำไปต่อยอดการลงทุน เข้าตำราหาเงินไว้เพื่อลงทุน ไม่ใช่เพื่อใช้จ่าย
"คนส่วนใหญ่ทำงานหนัก เพื่อชำระหนี้บัตรเครดิต และบำเรอความสุขให้กับชีวิตตัวเอง แต่กลุ่มคนมีเงินตระหนักว่า ถ้านำเงินก้อนที่มีอยู่ไปต่อยอดให้ออกดอกออกผลเพิ่มความมั่งคั่งให้กับตัวเองน่าจะดีกว่า" เวบไซต์เอ็มเอ็มแฮบบิทส์ให้ทัศนะ
"วิเชฐ ตันติวานิช" กรรมการผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ MAI เห็นด้วยกับนิสัยนี้ เพราะมีคนจำนวนมากที่มีรายได้เยอะ แต่เมื่อมีมากใช้มากก็ไม่มีทางที่จะเป็นเศรษฐีได้ แต่คนที่เป็นเศรษฐีก็มักจะมีนิสัยที่ต่างออกไป เมื่อมีรายได้เข้ามา แทนที่จะโหมใช้จ่าย พวกเขาจะนำเงินไปต่อยอดลงทุนเพื่อให้เงินออกดอกออกผล
2. มีแผนและทำตามแผน
เศรษฐีเงินล้านที่รวยได้ด้วยลำแข้งของตัวเอง ไม่ได้ร่ำรวยเพราะความบังเอิญ ส่วนหนึ่งนั่นเพราะพวกเขามีนิสัยที่มีแผนและลงมือปฏิบัติตามแผน ซึ่งนั่นเป็นแรงผลักดันที่ช่วยพวกเขาให้เดินสู่ความรวย
"การวางแผนและทำตามแผนนำพวกเขาสู่จุดหมาย นั่นคือการลงทุนและสั่งสมความมั่งคั่งไว้ตลอดชีวิต" เวบไซต์เอ็มเอ็มแฮบบิทส์ให้ทัศนะ
"ดารบุษป์ ปภาพจน์" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด 2 บลจ.กรุงไทย มองว่า เรื่องสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งมือใหม่หัดลงทุนมักจะละเลยไป คือการทำตามแผนที่วางไว้โดยเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลยุทธ์ ?ออมเงินก่อน? หรือ Pay Yourself First โดยการหักเงินออมออกจากบัญชีเงินเดือนทันทีที่เงินเดือนออก ก่อนที่จะนำเงินไปใช้จ่ายอย่างอื่น เพราะแผนที่วางไว้อย่างสวยหรูนั้น จะไม่มีประโยชน์เลย หากไม่มีการนำมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
การมีวินัยในแผนลงทุนนั้นยังรวมถึง ผู้ลงทุนที่เลือกการลงทุน โดยใช้กลยุทธ์เฉลี่ยต้นทุน (Dollar Cost Averaging) ด้วยการลงทุนเป็นประจำด้วยจำนวนเงินที่เท่ากัน ผู้ลงทุนควรมีวินัย ไม่หวั่นไหวไปกับการขึ้นลงของภาวะตลาด โดยอาจใช้ร่วมกับแผนการลงทุนอัตโนมัติที่บริษัทจัดการต่างๆ มีไว้บริการ ซึ่งช่วยประหยัดทั้งเวลา และลดความวุ่นวายใจไปได้มากทีเดียว
วิเชฐเห็นด้วยกับข้อนี้ ทุกคนคิดและวางแผนการเงินการลงทุนได้ว่าจะทำโน่นนี่นั่น แต่ไม่ใช่ทุกคนที่วางแผนแล้วจะปฏิบัติหรือลงมือทำตามแผน ฉะนั้น ใครก็ตามที่วางแผนทางการเงินให้ตัวเอง แล้วเดินตามแผนก็มักจะมีแววที่จะเป็นเศรษฐี
3. ทำงานหาเงินให้มากขึ้น
ความหมายข้อนี้ดูเหมือนชัดเจน เพราะกลุ่มคนมั่งคั่งมักจะพากันแสวงหาหนทาง ที่จะสร้างหรือหารายได้ให้ไหลมาเทมาอย่างต่อเนื่องอย่างไม่มีวันหยุด ด้วยการเพิ่มจำนวนเงิน ให้ทำงานออกดอกออกผลให้พวกเขาได้มากขึ้น
นี่คือนิสัยประจำตัวของบรรดาเศรษฐี จะสังเกตเห็นได้ว่า ยิ่งร่ำรวยอยู่แล้ว ยิ่งไม่หยุดทำงาน ยิ่งมั่งคั่งอยู่แล้ว ยิ่งหาทางต่อยอดการลงทุนให้มั่งคั่งยิ่งขึ้น
เรื่องนี้วิเชฐตั้งข้อสังเกตว่า คนที่มีเงินทองหรือร่ำรวยในระดับหนึ่งแล้ว พวกเขามักไม่เก็บเงินเอาไว้อย่างเดียว แต่หาช่องทางเพื่อขยับขยายความรวย ซึ่งเมื่อถึงจุดนี้เขามักจะให้เงินทำงานช่วยอีกแรง เรียกว่าทำเงินได้ 2 เด้ง
4. เข้าใจฐานะการเงินของตัวเอง
กลุ่มคนที่มีความมั่งคั่งต่างตื่นตัวกับการรับรู้รายได้ในบัญชีส่วนตัว และรู้ว่าการไหลเวียนของเงินที่ไหลเข้าออกในบัญชีมีเท่าไร ตรงนี้จะเห็นได้ชัดว่าต่างจากคนที่ยังไม่ได้เป็นเศรษฐี ที่มักจะไม่ค่อยสนใจและใส่ใจในฐานะการเงินของตัวเองซักเท่าไร
บางคนยิ่งไปกว่านั้น เพราะปล่อยให้หนี้ท่วม นอกจากไม่ได้จัดระเบียบหนี้แล้ว ที่ร้ายกว่านั้นคือแทบไม่รู้เลยว่าหนี้ของตัวเองเบ็ดเสร็จแล้วมีเท่าไร
เรื่องนี้ดารบุษป์บอกว่าก่อนที่จะทำสิ่งใดให้ประสบความสำเร็จ เราจะต้องมีการวางแผนรู้เขา รู้เรา ซึ่งการวางแผนการลงทุนก็ไม่ต่างกัน การเข้าใจฐานะการเงินของตนเองให้ถ่องแท้ เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะมิเช่นนั้นแล้ว ก็จะเหมือนการขับรถทางไกลโดยไม่เตรียมความพร้อม ไม่ได้เช็คเครื่อง หม้อน้ำ ปริมาณน้ำมัน ไม่รู้ว่ากำลังเครื่องยนต์ของรถนั้นมีมากน้อยเพียงใด สามารถขึ้นเขา ลุยโคลนได้หรือไม่
ซึ่งการละเลยไม่เข้าใจตนเองเช่นนี้ ก็มีแต่จะจะทำให้เราประสบปัญหาและอุปสรรคระหว่างทาง ต้องเสียเวลามากกว่าที่ควรเพื่อจะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ หรือบางทีก็อาจหมดกำลังใจไปก่อนที่จะถึงเป้าหมาย
"ก่อนจะเริ่มต้นวางแผนการเงินนั้น เราจะต้องรู้ว่ารายรับของเรานั้นมีความสม่ำเสมอแค่ไหน มีส่วนเกินกว่ารายจ่ายหรือไม่ รวมถึงมีการกันเงินเผื่อสำหรับค่าใช้จ่ายฉุกเฉินเพียงพอที่จะทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องพึ่งเงินที่ตั้งใจเก็บไว้เพื่อการลงทุนระยะยาว ซึ่งหากเราละเลยขั้นตอนนี้ไป ก็ยากที่จะถึงเป้าหมายได้ "
วิเชฐเสริมว่า คนที่เป็นเศรษฐีมักจะมีนิสัยใส่ใจในเรื่องเงินทองอยู่แล้ว ทั้งรายรับรายจ่ายทำใส่เอ็กเซลชีทเอาไว้ ส่วนคนที่ยังไม่ได้เป็นเศรษฐี ควรจะทำอย่างยิ่ง นี่เป็นบันไดก้าวหนึ่งที่จะนำคุณไปเป็นเศรษฐีได้
5. กล้ารับความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
เวบไซต์เอ็มเอ็มแฮบบิทส์ดอทคอมบอกไว้ว่า การเป็นผู้กล้ารับความเสี่ยง เป็นสิ่งต้องทำเพื่อเพิ่มความรวยให้ตัวเอง หากไม่เข้าไปฉวยโอกาสบางครั้ง เงินที่มีอยู่จะไม่มีโอกาสงอกเงย แต่เหนืออื่นใด ต้องเป็นความเสี่ยงที่คุณรับได้ และต้องมีการวางกลยุทธ์อย่างดีเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากภาวะตลาดตกต่ำหรือช่วงขาลง
ข้อนี้ วิเชฐมองว่า คนที่จะเป็นเศรษฐีได้ พวกเขามักรู้ว่าความเสี่ยงคืออะไร ประเมินได้ว่าความเสี่ยงมันใหญ่ขนาดไหน และตัวเขาเองสามารถรับความเสี่ยงได้แค่ไหน
"เพราะความเสี่ยงในระดับสูง ไม่ใช่ว่าเราไปยุ่งกับมันไม่ได้ คนที่เป็นเศรษฐีได้เขาจะประเมินพละกำลังของตัวเองก่อนว่า ความเสี่ยงแค่นี้ เรารับมือไหวมั้ย เพราะถึงจะเสี่ยงสูง แต่ถ้าเรารับความเสี่ยงไหว เราจัดการกับความเสี่ยงนั้นได้ โอกาสที่จะได้ผลตอบแทนสูงก็มี "
6. มีความอดทน&สติซ่อนอยู่ในการลงทุน
สังเกตมั้ยว่าพวกเศรษฐีเงินล้านที่ร่ำรวยจากสองมือสองขากับหนึ่งสมองของตัวเอง ไม่ได้กลายเป็นเศรษฐีเพียงชั่วข้ามคืน แต่เศรษฐีเหล่านี้เข้าใจถึงพลังแห่งดอกเบี้ยทบต้น และความพยายามลงทุนอย่างต่อเนื่องไม่หยุด เพื่อให้ได้ความร่ำรวยเป็นรางวัลตอบแทน
ดารบุษป์เปรียบเปรยให้ฟังว่ามีคนเคยเปรียบการลงทุนว่าเหมือนการไต่เทือกเขาสูง ยิ่งเป้าหมายสูงเพียงใด นอกจากต้องเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์แล้ว ต้องอาศัยจิตใจที่แข็งแกร่งจึงจะก้าวผ่านหุบเหวที่เป็นอุปสรรคไปได้ การลงทุนก็เช่นกัน ความผันผวนของตลาดหุ้นนั้นเกิดขึ้นมาทุกยุคทุกสมัย มากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป ดังนั้น เมื่อนักลงทุนได้แสวงหาเส้นทางการลงทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมายของตนเองแล้ว ก็ควรเตรียมใจที่จะพบอุปสรรคที่จะเข้ามา
หากอุปสรรคนั้นเป็นอุปสรรคที่ประเมินไว้ล่วงหน้าแล้ว เช่น เมื่อตัดสินใจลงทุนในหุ้นของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อย่างจีน อินเดีย หรือรัสเซีย ซึ่งมีโอกาสรับผลตอบแทนสูง ก็ต้องเผื่อใจสำหรับโอกาสที่จะขาดทุนอย่างมากในบางช่วงเวลาด้วยเช่นกัน
วิเชฐเสริมว่าอดทนอย่างเดียวไม่พอ สำคัญที่สุดคนที่จะเป็นเศรษฐีได้ต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา เพราะคนที่มีสติจะทำให้ตัดสินใจได้ว่าในสถานการณ์นั้นๆ เขาควรตัดสินใจอย่างไร เช่นถ้าภาวะตลาดหุ้นไม่ดี คนที่มีสติก็อาจจะประเมินและตัดสินใจได้ว่า สถานการณ์ย่ำแย่แบบนี้เขาควรจะถอนตัวออกหรืออยู่ต่อเพื่อรอ หรือหาจังหวะเข้าลงทุน
7. ได้ทีมที่ยอดเยี่ยม
กลุ่มคนร่ำรวยยังคงความมั่งคั่งของตัวเองไว้ได้ ด้วยผู้คนแวดล้อมซึ่งเป็นที่ปรึกษาการเงินและกฎหมาย ซึ่งล้วนมีฝีมือเป็นเลิศในแวดวงอาชีพนั้นๆ นั่นเป็นประเด็นที่เราเห็นได้ว่าบรรดาเศรษฐีเงินล้านมักไม่เดินหน้าสร้างความร่ำรวยโดยลำพัง
"ลองสังเกตดูสิ คนที่เป็นเศรษฐีไม่ใช่ว่าทุกคนเกิดมาท่ามกลางคนที่มีความรู้เรื่องการลงทุน แต่คนเหล่านี้จะพาตัวเองเข้าไปอยู่ท่ามกลางกลุ่มคนที่มีความรู้เรื่องการลงทุน นั่นทำให้เขามีโอกาสได้เรียนรู้แง่มุมและช่องทางต่างๆ ของการลงทุน ว่าอะไรที่จะทำให้เงินทองของเขางอกเงยขึ้น หรือมีวิธีไหนบ้างที่จะทำให้เงินออกดอกออกผล" วิเชฐให้ทัศนะ
8. รับฟัง..กลั่นกรอง...นำไปใช้
นิสัยอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้คุณเป็นเศรษฐีเงินล้านได้ด้วยความสามารถของตัวเอง คือการแสวงหาคำแนะนำจากที่ปรึกษาเชื่อถือไว้ใจได้ เศรษฐีเหล่านี้รับฟังด้วยความมุ่งมั่นมีใจจดจ่อ จากนั้นพวกเขาก็สามารถนำไปปฏิบัติและตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง เพื่อพยายามสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเอง
ดารบุษป์บอกว่าการวางแผนการลงทุนนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนชีวิต ซึ่งต้องการความมีเหตุผลสูงกว่าการเลือกซื้อข้าวของเครื่องใช้ทั่วไป การฟังเขามาแต่เพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอที่จะแน่ใจได้ว่าการลงทุนที่เหมาะกับคนอื่นนั้นจะเหมาะกับตัวเราด้วย เช่น เมื่อฟังเพื่อนๆ พูดถึงผลตอบแทนที่ได้รับ ก็ต้องนำมากลั่นกรองว่าการลงทุนนั้นมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด ผลตอบแทนที่ว่าสูงนั้นๆ คุ้มค่ากับความเสี่ยงหรือไม่ และตัวเรานั้นมีความพร้อมที่จะรับความเสี่ยงที่ว่านั้นแค่ไหน หรือมีวิธีที่จะลดหรือกระจายความเสี่ยงอย่างไรได้บ้าง โดยอาจต้องศึกษาจากข้อมูลการลงทุนในหนังสือชี้ชวน สอบถามผู้รู้ ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน
วิเชฐเองก็เห็นด้วยว่าคนจะเป็นเศรษฐีได้ เบื้องต้นต้องหัดรับฟังข้อมูล หาข้อมูลการลงทุนให้เยอะเข้าไว้ จากนั้นก็นำมากลั่นกรอง เพราะเมื่อได้ข้อมูลเยอะเราต้องกรอง จากนั้นค่อยนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการตัดสินใจลงทุน
"ผมว่านิสัยเหล่านี้เศรษฐีมีทุกคน บางคนข้อมูลเยอะ กลั่นกรองแล้ว แต่ไม่กล้าตัดสินใจที่จะลงทุน คุณก็เป็นได้แค่นักวิเคราะห์ แต่เป็นเศรษฐีไม่ได้" วิเชฐให้ความเห็นทิ้งท้าย
ใน 8 นิสัยเหล่านี้ ลองถามไถ่ตัวเองดูซิว่ามีกี่ข้อ ถ้ามีครบ 8 เตรียมสะกดคำว่าเศรษฐีรอไว้ได้เลย แต่ถ้าไม่มีสักข้อ ก็ยังไม่สายเกินไปค่อยๆ บ่มเพาะนิสัยเหล่านี้กันใหม่ได้
from http://goo.gl/Q55U7w
13 ธันวาคม 2556
20 ข้อ ที่ควรรู้และปฏิบัติก่อนอายุ 40
1. ไม่ต้องตั้งใจเรียนมากไป เอาแค่พอใช้ได้ก็พอ
เพราะโลกแห่งความเป็นจริง วัดกันที่ผลงาน ไม่ใช่ที่เกรด
2. การทำกิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัยนั้นสำคัญมาก
พอๆ กับการคร่ำเคร่งหน้าตำราเรียน
3. เลือกงานที่เราชอบนั้นใช่ แต่อย่าลืมด้วยว่า อาชีพนั้น..
สามารถเลี้ยงดูตัวเราได้จริงหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ก็อย่าหลอกตัวเอง
4. เมื่อถึงวัยทำงาน ใครเก็บเงินก่อน รวยเร็วกว่าและสิ่งสำคัญ
ที่ต้องจำไว้ คือ “ชีวิตที่ไม่มีหนี้ คือชีวิตที่ประเสริฐที่สุด”
5. หาเป้าหมายในชีวิตให้เจอโดยเร็วที่สุด เพราะมัน
จะเป็นเครื่องนำทางของคุณ ในชาตินี้ตลอดไป
6. ซื้อบ้านก่อน ที่จะซื้อรถ เพราะบ้านมีแต่จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
รถมีแต่มูลค่าลดลง ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า รถ=ลด
7. ดอกเบี้ยบ้านนั้นมหาโหดมาก รีบใช้ให้หมด
โดยเร็วพลัน ก่อนที่จะแก่ แล้วผ่อนไม่ไหว
8. การเก็บเงินเป็นแค่บันไดขั้นแรก
สู่ความร่ำรวย แต่ขั้นต่อมา คือ ต้องรู้จักลงทุน
9. อย่าเป็นศัตรูกับใครก็ตามบนโลกใบนี้ เพราะคุณจะไม่มีทาง
รู้ว่าวันหนึ่งเขาอาจจะยิ่งใหญ่มาก จนกลับมาทำร้ายคุณก็เป็นได้
10. คอนเน็คชั่นหรือสายสัมพันธ์เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ
ต่อให้เก่งแค่ไหน ก็สู้การมีเพื่อนเยอะไม่ได้
11. ควรมีงานทำมากกว่า 1 งาน
เพราะความมั่นคง ไม่เคยมีบนโลกใบนี้
12. อย่าคิดว่าตัวเองทำอะไรได้แค่อย่างเดียว
เพราะความสามารถของคนเรา มีมากกว่า 1 เสมอ
13. เมื่อมีโอกาสใดก็ตามเข้ามา
จงอย่าปฏิเสธ ถึงจะล้มเหลว แต่มันก็คือ ประสบการณ์
14. สร้างเนื้อ สร้างตัว
ให้ได้เร็วที่สุด ในขณะที่คุณยังมีกำลัง ยังเป็นหนุ่ม-สาว
เพราะการฝ่าฟันอุปสรรคในช่วงอายุมาก ไม่ใช่เรื่องสนุก
15. ออกเดินทางท่องเที่ยวตั้งแต่ยังหนุ่มสาว
เพราะเมื่อมีครอบครัว การเดินทางจะเป็นเรื่องยุ่งยากกว่าเดิม
16. เลือกคู่ชีวิต จงคิดให้ดีๆ อย่าดูแต่ข้อดีของเขา
แต่ต้องดูด้วยว่าเราสามารถรับข้อเสียของเขาได้มากแค่ไหน
17. การมีแฟน หรือสามีภรรยา ยังเลิกกันได้ แต่ความเป็น
พ่อแม่ลูก นั้นเลิกกันไม่ได้ เพราะฉะนั้น ควรดูแลพวกเขาให้ดีๆ
18. ความสำเร็จที่มากมายแค่ไหน ก็ไม่สามารถ
ทดแทนความล้มเหลวของครอบครัวได้
19. ลองหาเวลาอยู่ว่างๆ ไม่ต้องทำอะไรเลยดูบ้าง อย่าแบก
โลกทั้งใบไว้คนเดียว และอีกอย่างงานก็ไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต
20. สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญอันหนึ่ง โปรดถนอม
ตัวเองให้มาก เมื่อยังเป็นวัยรุ่น อย่าใช้ชีวิตให้หนักเกินไป
from http://goo.gl/vs9ZsI
เพราะโลกแห่งความเป็นจริง วัดกันที่ผลงาน ไม่ใช่ที่เกรด
2. การทำกิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัยนั้นสำคัญมาก
พอๆ กับการคร่ำเคร่งหน้าตำราเรียน
3. เลือกงานที่เราชอบนั้นใช่ แต่อย่าลืมด้วยว่า อาชีพนั้น..
สามารถเลี้ยงดูตัวเราได้จริงหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ก็อย่าหลอกตัวเอง
4. เมื่อถึงวัยทำงาน ใครเก็บเงินก่อน รวยเร็วกว่าและสิ่งสำคัญ
ที่ต้องจำไว้ คือ “ชีวิตที่ไม่มีหนี้ คือชีวิตที่ประเสริฐที่สุด”
5. หาเป้าหมายในชีวิตให้เจอโดยเร็วที่สุด เพราะมัน
จะเป็นเครื่องนำทางของคุณ ในชาตินี้ตลอดไป
6. ซื้อบ้านก่อน ที่จะซื้อรถ เพราะบ้านมีแต่จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
รถมีแต่มูลค่าลดลง ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า รถ=ลด
7. ดอกเบี้ยบ้านนั้นมหาโหดมาก รีบใช้ให้หมด
โดยเร็วพลัน ก่อนที่จะแก่ แล้วผ่อนไม่ไหว
8. การเก็บเงินเป็นแค่บันไดขั้นแรก
สู่ความร่ำรวย แต่ขั้นต่อมา คือ ต้องรู้จักลงทุน
9. อย่าเป็นศัตรูกับใครก็ตามบนโลกใบนี้ เพราะคุณจะไม่มีทาง
รู้ว่าวันหนึ่งเขาอาจจะยิ่งใหญ่มาก จนกลับมาทำร้ายคุณก็เป็นได้
10. คอนเน็คชั่นหรือสายสัมพันธ์เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ
ต่อให้เก่งแค่ไหน ก็สู้การมีเพื่อนเยอะไม่ได้
11. ควรมีงานทำมากกว่า 1 งาน
เพราะความมั่นคง ไม่เคยมีบนโลกใบนี้
12. อย่าคิดว่าตัวเองทำอะไรได้แค่อย่างเดียว
เพราะความสามารถของคนเรา มีมากกว่า 1 เสมอ
13. เมื่อมีโอกาสใดก็ตามเข้ามา
จงอย่าปฏิเสธ ถึงจะล้มเหลว แต่มันก็คือ ประสบการณ์
14. สร้างเนื้อ สร้างตัว
ให้ได้เร็วที่สุด ในขณะที่คุณยังมีกำลัง ยังเป็นหนุ่ม-สาว
เพราะการฝ่าฟันอุปสรรคในช่วงอายุมาก ไม่ใช่เรื่องสนุก
15. ออกเดินทางท่องเที่ยวตั้งแต่ยังหนุ่มสาว
เพราะเมื่อมีครอบครัว การเดินทางจะเป็นเรื่องยุ่งยากกว่าเดิม
16. เลือกคู่ชีวิต จงคิดให้ดีๆ อย่าดูแต่ข้อดีของเขา
แต่ต้องดูด้วยว่าเราสามารถรับข้อเสียของเขาได้มากแค่ไหน
17. การมีแฟน หรือสามีภรรยา ยังเลิกกันได้ แต่ความเป็น
พ่อแม่ลูก นั้นเลิกกันไม่ได้ เพราะฉะนั้น ควรดูแลพวกเขาให้ดีๆ
18. ความสำเร็จที่มากมายแค่ไหน ก็ไม่สามารถ
ทดแทนความล้มเหลวของครอบครัวได้
19. ลองหาเวลาอยู่ว่างๆ ไม่ต้องทำอะไรเลยดูบ้าง อย่าแบก
โลกทั้งใบไว้คนเดียว และอีกอย่างงานก็ไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต
20. สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญอันหนึ่ง โปรดถนอม
ตัวเองให้มาก เมื่อยังเป็นวัยรุ่น อย่าใช้ชีวิตให้หนักเกินไป
from http://goo.gl/vs9ZsI
12 ธันวาคม 2556
แบบทดสอบนักชอปปิง
เมื่อราคาสินค้าลดลง ความต้องการซื้อย่อมเพิ่มขึ้น หากจะว่าไปแล้ว การลดราคาอาจได้ผลลัพธ์ที่เกินกว่าที่หลักเศรษฐศาสตร์บอกไว้เสียด้วยซ้ำ เพราะดูเหมือนผู้บริโภคจะมีปฏิกิริยาต่อสินค้าลดราคาที่ค่อนข้างรุนแรง (โดยเฉพาะคุณผู้หญิง) ผู้บริโภคบางคนไม่ได้ซื้อสินค้าเพราะว่าอยากได้ตัวสินค้าแต่ซื้อเพราะว่า ราคามันถูกมาก ข่าวคนเหยียบกันตายเพราะแย่งกันซื้อสินค้าลดราคานั้น เป็นอะไรที่มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ ราวกับว่าการได้ซื้อของลดราคามีค่ามากกว่าชีวิตของพวกเขาเองเสียอีก
แม้การลดราคาจะเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ทรงพลัง แต่บริษัทก็มีต้นทุนสูงมากในการลดราคาสินค้าเพื่อกระตุ้นยอดขาย ยังไงเสีย สิ่งที่บริษัทต้องการอย่างแท้จริงนั้นไม่ใช่ยอดขาย แต่เป็นกำไร ยิ่งบริษัทลดราคามากเท่าไร แม้ว่าจะขายสินค้าได้มากขึ้น แต่กำไรก็ยิ่งลดลง ดังนั้น การลดราคาสินค้าจึงเป็นโปรโมชั่นทางการตลาดที่ได้ผลดี แต่ว่ามีต้นทุนที่สูงมาก
ด้วยเหตุนี้ บริษัทส่วนใหญ่จึงมักไม่ค่อยลดราคากันแบบตรงไปตรงมา แต่จะต้องหาวิธีการลดราคาที่ดูสลับซับซ้อนเพื่อลวงผู้บริโภคให้รู้สึกว่าสินค้ามีราคาถูกลงมากกว่าราคาที่ลดลงจริงๆ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ส่วนลดทุกบาททุกสตางค์ที่บริษัทยอมให้แก่ลูกค้าได้ผลลัพธ์ในการกระตุ้นยอดขายที่มากที่สุด
ทางด้านผู้บริโภคเองก็ไม่น้อยหน้าเหมือนกัน คนที่ชอปปิงเก่งจริงๆ นั้นดูจะมีประสบการณ์สูงในการมองทะลุผ่านโปรโมชั่นอันสลับซับซ้อนของบริษัท และแยกแยะโปรโมชั่นที่คุ้มจริงๆ ออกจากโปรโมชั่นที่หลอก การหาวิธีซื้อสินค้าให้ได้คุ้มราคาที่สุดนั้นดูเหมือนจะเป็น Passion สำหรับยอดนักชอปปิงหลายคนเสียด้วย บริษัททั้งหลายจึงต้องพยายามหานวัตกรรมใหม่ๆ ในการลวงผู้บริโภคให้รู้สึกว่าโปรโมชั่นของบริษัทนั้นคุ้มค่าจริงๆ
สำนักงานเพื่อการค้าที่เป็นธรรม (Office of Fair Trading) ในประเทศอังกฤษได้ทำการทดลองที่น่าสนใจอันหนึ่งเพื่อทดสอบความสามารถของนักชอปปิงในการแยกแยะโปรโมชั่นที่ดูสลับซับซ้อนทั้งหลาย โดยโปรโมชั่นที่ใช้ในการทดสอบได้แก่ โปรโมชั่นที่เป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วไป 5 วิธี ได้แก่ หนึ่ง “อ่อยเหยื่อ” หรือการแจ้งราคาเพียงแค่บางส่วนเพื่อล่อให้ลูกค้ารู้สึกสนใจก่อน เมื่อเหยื่อติดเบ็ดแล้วจึงค่อยบวกราคาจิปาถะเพิ่มเติมเข้าไป (ถ้านึกไม่ออกลองนึกถึงพวกสายการบินต่างๆ) สอง “ลดกระหน่ำ” หรือการตั้งราคาปกติเอาไว้สูงๆ แล้วค่อยลดราคาลงมาเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้ส่วนลดราคามากๆ (ลองนึกถึง “สองพันบาทเราไม่ขาย แต่เราขายแค่เพียงแปดร้อยบาท” เป็นต้น) สาม “ราคาซับซ้อน” หรือการบอกราคาในแบบที่ผู้บริโภคจะต้องคิดเลขก่อนเสมอ ถึงจะรู้ราคาต่อหน่วยที่แท้จริงได้ เช่น สามอันร้อย เป็นต้น สี่ “Loss Leader” หรือขายถูกมากจริงๆ แต่มีจำนวนจำกัด และห้า “ด่วน” หรือขายถูกมากจริงๆ แต่หมดเขตภายในวันนี้เท่านั้น
ในการทดสอบครั้งนั้น กลุ่มตัวอย่างต้องใช้เงินที่มีอยู่จำนวนจำกัดซื้อสินค้าให้คุ้มที่สุดเท่าที่จะทำได้จากร้านค้าจำลองจำนวนมากที่พยายามใช้โปรโมชั่นต่างๆ ที่กล่าวมาเพื่อดึงดูดเงินจากกลุ่มตัวอย่างไปให้ได้มากที่สุด
และเพื่อให้สมจริงมากขึ้น ในการสอบถามราคาจากร้านค้าแต่ละครั้ง กลุ่มตัวอย่างจะต้องถูกหักเงินออกจำนวนหนึ่งเป็นต้นทุนในการหาข้อมูลด้วย เพราะในความเป็นจริง การสอบถามราคาจากหลายๆ แหล่งมีต้นทุนด้วยเหมือนกัน และในกรณีที่กลุ่มตัวอย่างซื้อสินค้าอย่างเดิมซ้ำๆ กันหลายๆ ชิ้นก็จะต้องถูกหักคะแนนลงส่วนหนึ่ง เนื่องจากตามหลักเศรษฐศาสตร์โดยธรรมชาติแล้ว คนเราย่อมเห็นค่าของสินค้าชนิดเดียวกันน้อยลงเมื่อเราเลือกบริโภคสินค้านั้นมากขึ้น ดังนั้นกลุ่มตัวอย่างที่เลือกซื้อแต่สินค้าตัวเดิม เพื่อทำคะแนนให้ได้มากๆ จะต้องถูกหักคะแนนส่วนหนึ่ง
ผลปรากฏว่า โดยเฉลี่ย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 155 คน มีความสามารถในการเลือกซื้อสินค้าได้อย่างถูกต้องเมื่อร้านค้าแจ้งราคาแบบตรงไปตรงมากถึง 4 ใน 5 ครั้ง แต่ความสามารถจะลดลงเมื่อโดนลวงด้วยโปรโมชั่นต่างๆ โดยกลุ่มตัวอย่างจะตัดสินใจได้แย่ที่สุดเมื่อถูกลวงด้วย อ่อยเหยื่อ รองลงมาคือ “ด่วน” “Loss Leader” “ลดกระหน่ำ” และ “ราคาซับซ้อน” ตามลำดับ
โดยรวมแล้วถือว่ากลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการแยกแยะโปรโมชั่นได้เก่งทีเดียว และยังมีแนวโน้มที่จะทำผลงานได้ดีขึ้นเรื่อยๆ ในการทดลองช่วงหลังๆ ด้วย นี่แสดงให้เห็นว่า นักชอปปิงส่วนใหญ่มีความสามารถในการปรับตัวสูงหรือพูดง่ายๆ ก็คือเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว การทดลองนี้จึงอาจชี้ให้เห็นด้วยว่า วิธีคุ้มครองผู้บริโภคที่ดีที่สุดคือการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคให้มากที่สุด แล้วปล่อยให้ลูกค้าตัดสินใจเอง แทนที่จะพยายามปกป้องผู้บริโภคด้วยการออกมาตรการบังคับผู้ขายสินค้าในรูปแบบต่างๆ เพราะผู้บริโภคนั้นมีความสามารถในการช็อปปิ้งที่เก่งกันอยู่แล้ว เพียงแต่พวกเขาต้องได้รับข้อมูลที่มากเพียงพอเท่านั้น
from http://goo.gl/7oJDYN
03 พฤศจิกายน 2556
"พรดี 4 ข้อ"จากท่าน ว.วชิรเมธี
1. อย่าเป็นนักจับผิด
คนที่คอยจับผิดคนอื่น แสดงว่า หลงตัวเองว่าเป็นคนดีกว่าคนอื่น ไม่เห็นข้อบกพร่องของตนเอง 'กิเลสฟูท่วมหัว ยังไม่รู้จักตัวอีก' คนที่ชอบจับผิด จิตใจจะหม่นหมอง ไม่มีโอกาส 'จิตประภัสสร'
ฉะนั้น จงมองคน มองโลกในแง่ดี 'แม้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ถ้ามองเป็น ก็เป็นสุข'
2. อย่ามัว แต่คิดริษยา
'แข่งกันดี ไม่ดีสักคน ผลัดกันดี ได้ดีทุกคน'
คนเรา ต้อง มีพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
คนที่เราริษยาเป็นการส่วนตัว มีชื่อว่า 'เจ้ากรรมนายเวร' ถ้าเขาสุข เราจะทุกข์ ฉะนั้น เรา ต้อง ถอดถอน
ความริษยาออกจากใจเรา เพราะไฟริษยา เป็น 'ไฟสุมขอน' (ไฟเย็น) เราริษยา 1 คน เราก็มีทุกข์ 1 ก้อน
เราสามารถถอดถอนความริษยาออกจากใจเราโดยใช้วิธี 'แผ่เมตตา' หรือ ซื้อโคมมา แล้วเขียนชื่อคนที่เราริษยา แล้วปล่อยให้ลอยไป
3. อย่าเสียเวลากับความหลัง
90% ของคนที่ทุกข์ เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ 'ปล่อยไม่ลง ปลงไม่เป็น'
มนุษย์ที่สลัดความหลังไม่ออก เหมือนมนุษย์ที่เดินขึ้นเขาพร้อมแบกเครื่องเคราต่างๆ ไว้ที่หลังขึ้นไปด้วย
ความทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว จงปล่อยมันซะ 'อย่าปล่อยให้คมมีดแห่งอดีต มากรีดปัจจุบัน'
'อยู่กับปัจจุบันให้เป็น' ให้กายอยู่กับจิต จิตอยู่กับกาย คือมี 'สติ' กำกับตลอดเวลา
4. อย่าพังเพราะไม่รู้จักพอ
ตัณหา' ที่มีปัญหา คือ ความโลภ ความอยากที่เกินพอดี เหมือนทะเลไม่เคย อิ่ม ด้วยน้ำ ไฟไม่เคย อิ่ม ด้วยเชื้อ ธรรมชาติของตัณหา คือ 'ยิ่งเติมยิ่งไม่เต็ม'
ทุกอย่าง ต้อง ดูคุณค่าที่แท้ ไม่ใช่ คุณค่าเทียม เช่น
*คุณค่าที่แท้ของนาฬิกา คืออะไร คือ ไว้ดูเวลาไม่ใช่มีไว้ใส่เพื่อความโก้หรู *คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์มือถือ คืออะไร คือไว้สื่อสาร แต่องค์ประกอบอื่นๆ ที่เสริมมาไม่ใช่คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์
เรา ต้อง ถามตัวเองว่า 'เกิดมาทำไม' 'คุณค่าที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์อยู่ตรงไหน 'ตามหา 'แก่น' ของชีวิตให้เจอ
คำว่า 'พอดี' คือ ถ้า 'พอ' แล้วจะ 'ดี' รู้จัก 'พอ' จะมีชีวิตอย่างมีความสุข
คนที่คอยจับผิดคนอื่น แสดงว่า หลงตัวเองว่าเป็นคนดีกว่าคนอื่น ไม่เห็นข้อบกพร่องของตนเอง 'กิเลสฟูท่วมหัว ยังไม่รู้จักตัวอีก' คนที่ชอบจับผิด จิตใจจะหม่นหมอง ไม่มีโอกาส 'จิตประภัสสร'
ฉะนั้น จงมองคน มองโลกในแง่ดี 'แม้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ถ้ามองเป็น ก็เป็นสุข'
2. อย่ามัว แต่คิดริษยา
'แข่งกันดี ไม่ดีสักคน ผลัดกันดี ได้ดีทุกคน'
คนเรา ต้อง มีพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
คนที่เราริษยาเป็นการส่วนตัว มีชื่อว่า 'เจ้ากรรมนายเวร' ถ้าเขาสุข เราจะทุกข์ ฉะนั้น เรา ต้อง ถอดถอน
ความริษยาออกจากใจเรา เพราะไฟริษยา เป็น 'ไฟสุมขอน' (ไฟเย็น) เราริษยา 1 คน เราก็มีทุกข์ 1 ก้อน
เราสามารถถอดถอนความริษยาออกจากใจเราโดยใช้วิธี 'แผ่เมตตา' หรือ ซื้อโคมมา แล้วเขียนชื่อคนที่เราริษยา แล้วปล่อยให้ลอยไป
3. อย่าเสียเวลากับความหลัง
90% ของคนที่ทุกข์ เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ 'ปล่อยไม่ลง ปลงไม่เป็น'
มนุษย์ที่สลัดความหลังไม่ออก เหมือนมนุษย์ที่เดินขึ้นเขาพร้อมแบกเครื่องเคราต่างๆ ไว้ที่หลังขึ้นไปด้วย
ความทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว จงปล่อยมันซะ 'อย่าปล่อยให้คมมีดแห่งอดีต มากรีดปัจจุบัน'
'อยู่กับปัจจุบันให้เป็น' ให้กายอยู่กับจิต จิตอยู่กับกาย คือมี 'สติ' กำกับตลอดเวลา
4. อย่าพังเพราะไม่รู้จักพอ
ตัณหา' ที่มีปัญหา คือ ความโลภ ความอยากที่เกินพอดี เหมือนทะเลไม่เคย อิ่ม ด้วยน้ำ ไฟไม่เคย อิ่ม ด้วยเชื้อ ธรรมชาติของตัณหา คือ 'ยิ่งเติมยิ่งไม่เต็ม'
ทุกอย่าง ต้อง ดูคุณค่าที่แท้ ไม่ใช่ คุณค่าเทียม เช่น
*คุณค่าที่แท้ของนาฬิกา คืออะไร คือ ไว้ดูเวลาไม่ใช่มีไว้ใส่เพื่อความโก้หรู *คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์มือถือ คืออะไร คือไว้สื่อสาร แต่องค์ประกอบอื่นๆ ที่เสริมมาไม่ใช่คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์
เรา ต้อง ถามตัวเองว่า 'เกิดมาทำไม' 'คุณค่าที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์อยู่ตรงไหน 'ตามหา 'แก่น' ของชีวิตให้เจอ
คำว่า 'พอดี' คือ ถ้า 'พอ' แล้วจะ 'ดี' รู้จัก 'พอ' จะมีชีวิตอย่างมีความสุข
22 ตุลาคม 2556
13 ตุลาคม 2556
อุทาหรณ์สอนใจคนที่ยังมีแรงทำมาหากิน
อยากเอามาให้อ่านสำหรับใคร ที่ไม่เคยคิดจะเก็บเงิน ไม่มีครอบครัว ไม่มีลูกหลาน และไม่มีเก็บ "ไม่คิดจะเก็บหรือเด๋วก่อน" ลองอ่านดูนะ
ก๊อปมาจากเฟสบุ๊คชื่อThai Korean Lover ขอบคุณมากที่เอามาแชร์
มี issue ที่เกาหลีมาเล่าให้ฟังค่ะ...เป็นเรื่องการตายของคุณยาย
ท่านหนึ่ง...ที่คนเกาหลีตั้งฉายาไว้ว่า " คุณยายแมคโดนัล "
คุณยายมีชื่อจริงว่า ควอน ฮาจา สมัยสาวๆคุณยายเป็นผู้หญิงหน้าตาดี
ครอบครัวมีฐานะปานกลาง แต่ถูกพ่อแม่เลี้ยงดูอย่างเจ้าหญิง
จนคุณยายสามารถเรียนจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ และ
ได้ทำงานที่ดี และ สาเหตุที่คุณยายได้ฉายานี้เป็นเพราะ....
...พอคุณยายแก่ตัวลงทุกอย่างที่ยายเคยมีก็หายไป หน้าที่การงาน
ทรัพย์สินเงินทองที่หมดไปเรื่อยๆตามการใช้จ่าย และ วันเวลา
จนทำให้คุณยายไม่มีแม้แต่บ้านอยู่ จนต้องอาศัยอยู่ตามร้านแมคโดนัล ,
ร้านกาแฟ หรือ ร้านสะดวกซื้อต่างๆที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง เป็นที่พักพิง
และ นี่ก็เป็นที่มาของฉายาคุณยายแมคโดนัลนั่นเอง ,,,
ถ้าอ่านถึงตรงนี้หลายคนอาจจะรู้สึกเศร้า หรือ สงสารมาก แต่เรื่องราว
ของคุณยายยังมีอีกมุมหนึ่ง เริ่มจากที่เพื่อนของคุณยายเล่าให้สื่อฟังว่า
สมัยสาวๆคุณยายทำงานดี และ ใช้เงินฟุ่มเฟือยมาก ใช้ชีวิตอย่าง
คนรวยในซี่รีส์เกาหลี สวย เลิศ เชิด หยิ่งสุดๆ.........จนวันหนึ่งเงินของ
คุณยายหมดลง คุณยายเลยต้องอาศัยร้าน 24 ชั่วโมงเป็นที่พักแบบนี้
แต่เหมือนโชคดีจะมาถึงคุณยาย เมื่อมีนักแสดงท่านหนึ่งพยายามช่วย
เหลือคุณยายผ่านทางรายการทีวี ช่วงนั้นจึงมีคนใจดีช่วยบริจาคเงินให้
คุณยายเยอะมาก แต่ที่น่าช็อค คือ คุณยายกลับใช้เงินที่ได้ัรับมาทั้ง
หมด เหมือนนํ้าเปล่า...เงินทั้งหมด ได้หมดลงไปกับการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
อย่างรวดเร็วอีกครั้ง และ คุณยายก็กลับสู่สภาพเดิม...
ด้วยสาเหตุนี้คนเกาหลีที่รับรู้เรื่องราวนี้ได้แสดงความคิดเห็นเกลียดชั่ง
อย่างรุนแรง ถึงขนาดบางคนแกล้งคุณยาย เวลาคุณยายนอนหลับอยู่
ในร้านกาแฟ โดยเขียนคำไม่ดีลงบนใบเสร็จร้านค้า และ แป่ะไว้บนศีรษะของคุณยาย
ถ้าเราจะเอาชีวิตของคุณยายเป็นกรณีศึกษา ซารันว่าเราจะได้ข้อคิด
การใช้ชีวิตที่ดีจากชีวิตของคุณยายค่ะ...
......ไม่อยากมองเป็นเรื่องดี หรือ ไม่ดี / ผิด หรือ ถูก ?
เพราะซารันว่าทุกคนมีหนทาง การถูกเลี้ยงดู และ ทางเลือกชีวิตที่ต่าง
กัน แต่...ก็ยังแอบเสียดาย ถ้าคุณยายไม่ใช้เงินฟุ่มเฟือยขนาดที่ผ่านมา และ ระวังในการใช้ชีวิตมากกว่านี้ก็คงจะดี..
สุดท้าย นอนหลับให้สบายนะคะ...
หวังว่าเรื่องราวของคุณยายจะช่วยเป็นคติเตือนใจใครหลายๆคนที่กำลัง
ใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือย และ ประมาทได้...ขอบคุณค่ะคุณยายแมคโดนัล
ก๊อปมาจากเฟสบุ๊คชื่อThai Korean Lover ขอบคุณมากที่เอามาแชร์
มี issue ที่เกาหลีมาเล่าให้ฟังค่ะ...เป็นเรื่องการตายของคุณยาย
ท่านหนึ่ง...ที่คนเกาหลีตั้งฉายาไว้ว่า " คุณยายแมคโดนัล "
คุณยายมีชื่อจริงว่า ควอน ฮาจา สมัยสาวๆคุณยายเป็นผู้หญิงหน้าตาดี
ครอบครัวมีฐานะปานกลาง แต่ถูกพ่อแม่เลี้ยงดูอย่างเจ้าหญิง
จนคุณยายสามารถเรียนจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ และ
ได้ทำงานที่ดี และ สาเหตุที่คุณยายได้ฉายานี้เป็นเพราะ....
...พอคุณยายแก่ตัวลงทุกอย่างที่ยายเคยมีก็หายไป หน้าที่การงาน
ทรัพย์สินเงินทองที่หมดไปเรื่อยๆตามการใช้จ่าย และ วันเวลา
จนทำให้คุณยายไม่มีแม้แต่บ้านอยู่ จนต้องอาศัยอยู่ตามร้านแมคโดนัล ,
ร้านกาแฟ หรือ ร้านสะดวกซื้อต่างๆที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง เป็นที่พักพิง
และ นี่ก็เป็นที่มาของฉายาคุณยายแมคโดนัลนั่นเอง ,,,
ถ้าอ่านถึงตรงนี้หลายคนอาจจะรู้สึกเศร้า หรือ สงสารมาก แต่เรื่องราว
ของคุณยายยังมีอีกมุมหนึ่ง เริ่มจากที่เพื่อนของคุณยายเล่าให้สื่อฟังว่า
สมัยสาวๆคุณยายทำงานดี และ ใช้เงินฟุ่มเฟือยมาก ใช้ชีวิตอย่าง
คนรวยในซี่รีส์เกาหลี สวย เลิศ เชิด หยิ่งสุดๆ.........จนวันหนึ่งเงินของ
คุณยายหมดลง คุณยายเลยต้องอาศัยร้าน 24 ชั่วโมงเป็นที่พักแบบนี้
แต่เหมือนโชคดีจะมาถึงคุณยาย เมื่อมีนักแสดงท่านหนึ่งพยายามช่วย
เหลือคุณยายผ่านทางรายการทีวี ช่วงนั้นจึงมีคนใจดีช่วยบริจาคเงินให้
คุณยายเยอะมาก แต่ที่น่าช็อค คือ คุณยายกลับใช้เงินที่ได้ัรับมาทั้ง
หมด เหมือนนํ้าเปล่า...เงินทั้งหมด ได้หมดลงไปกับการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
อย่างรวดเร็วอีกครั้ง และ คุณยายก็กลับสู่สภาพเดิม...
ด้วยสาเหตุนี้คนเกาหลีที่รับรู้เรื่องราวนี้ได้แสดงความคิดเห็นเกลียดชั่ง
อย่างรุนแรง ถึงขนาดบางคนแกล้งคุณยาย เวลาคุณยายนอนหลับอยู่
ในร้านกาแฟ โดยเขียนคำไม่ดีลงบนใบเสร็จร้านค้า และ แป่ะไว้บนศีรษะของคุณยาย
ถ้าเราจะเอาชีวิตของคุณยายเป็นกรณีศึกษา ซารันว่าเราจะได้ข้อคิด
การใช้ชีวิตที่ดีจากชีวิตของคุณยายค่ะ...
......ไม่อยากมองเป็นเรื่องดี หรือ ไม่ดี / ผิด หรือ ถูก ?
เพราะซารันว่าทุกคนมีหนทาง การถูกเลี้ยงดู และ ทางเลือกชีวิตที่ต่าง
กัน แต่...ก็ยังแอบเสียดาย ถ้าคุณยายไม่ใช้เงินฟุ่มเฟือยขนาดที่ผ่านมา และ ระวังในการใช้ชีวิตมากกว่านี้ก็คงจะดี..
สุดท้าย นอนหลับให้สบายนะคะ...
หวังว่าเรื่องราวของคุณยายจะช่วยเป็นคติเตือนใจใครหลายๆคนที่กำลัง
ใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือย และ ประมาทได้...ขอบคุณค่ะคุณยายแมคโดนัล
from http://goo.gl/6W8nsf
07 ตุลาคม 2556
คัมภีร์นักลงทุนหน้าใหม่
ตอนผมเริ่มต้นชีวิตนักลงทุนใหม่ๆเคยฝันว่าอยากจะมี “เซียนหุ้น” เก่งๆคอยให้คำแนะนำ คล้ายๆกับนักกีฬาที่ต้องการโค้ช มาคอยช่วยให้คำแนะนำในการฝึก คอยบอกเราว่าต้องระวังอะไร ต้องศึกษาเรื่องอะไร และอะไรเป็นปัจจัยของความสำเร็จในอาชีพของเรา
วันนี้ผมโชคดีที่ได้รู้จักกับอาจารย์ นักลงทุนรุ่นพี่ รุ่นน้องเก่งๆหลายท่านที่คอยให้คำแนะนำอันมีคุณค่ากับผม ทุกครั้งที่มีโอกาสผมก็จะถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นให้กับคนที่สนใจเรียนรู้ แต่ก็ได้เพียงแค่คนหยิบมือเดียวเท่านั้น แถมหลายครั้งก็อาจจะไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ผมก็เลยสรุปแนวคิดจากประสบการณ์ส่วนตัวและที่รับการถ่ายทอดมาให้ออกมาเป็น “คู่มือสำหรับผู้เริ่มต้นการลงทุน” และหวังว่าคำแนะนำที่ผมเคยอยากได้มากๆตอนเริ่มต้นเส้นทางลงทุนนี้ จะถูกถ่ายทอดให้คนไทยได้อ่านมากที่สุด เท่าที่จะมากได้
(ถึงแม้บทความนี้จะถูกเขียนมาเพื่อ “มือใหม่” แต่ผมเชื่อว่า “มือเก๋า” หลายๆคนน่าจะได้มุมมองและแง่คิดอะไรดีๆกลับไปครับ)
8 ข้อคิดเพื่อชีวิตการลงทุนที่ประสบความสำเร็จ
ข้อ 1: ก่อนจะเริ่มลงทุน เราต้องมีทักษะในการบริหารเงินที่ดีก่อน
ก่อนที่จะถามว่า “ซื้อหุ้นตัวไหนดี?” เราควรจะตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่า
ตอน นี้เรามีเงินเก็บเท่าไหร่? ที่ผ่านมาเก็บเงินได้เดือนละกี่บาท? สองคำถามนี้จะตรวจสอบว่าวินัยในการออมของเราเป็นอย่างไร ผมแนะนำให้แยกบัญชีที่ใช้ในการลงทุนออกมาต่างหาก (ห้ามถอนเด็ดขาด) และโอนเงินเข้าบัญชีนั้นด้วยระบบอัตโนมัติทุกๆเดือน ทำอย่างนี้จะช่วยให้เราสามารถตรวจสอบผลการดำเนินงานของเราได้ง่าย และเป็นการสร้างนิสัยในการออมที่มีประโยชน์มากๆในระยะยาว
การลงทุน มีความหมายต่อเราอย่างไร? เพื่ออิสระทางการเงิน? เพื่อที่จะได้ลาออกจากงานที่ “ไม่ชอบ” ไปทำงานที่ “รัก”? เพื่อที่จะมีเวลาให้ครอบครัวมากขึ้น? เหตุผลที่คุณค่าเพียงพอจะทำให้เราทุ่มเทและมุ่งมั่นมากขึ้น
เป้า หมายในการลงทุนคืออะไร? เขียนออกมาให้ชัดเจนพร้อมทั้งกำหนดเงื่อนเวลา เป้าหมายที่ท้าทายจะทำให้เรามุ่งมั่นและสนุกกับการเดินทางมากขึ้น อาจารย์นิเวศน์เคยตั้งเป้าไว้ว่าจะมีเงิน 1,000 ล้านก่อนอายุ 70 ปีแต่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ก่อนเกือบ 10 ปี สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นเลยถ้าเราไม่มีเป้าหมายที่ดี
เรามีความ รู้ความเข้าใจในการลงทุนมากน้อยแค่ไหน? มีเวลาในการดูแลจัดการเงินของเราแค่ไหน? เรายอมรับความเสี่ยงได้มากหรือน้อย? สามคำถามนี้จะกำหนดแนวทางในการลงทุนของเรา ถ้าเรายังไม่ค่อยเข้าใจการลงทุนเท่าไหร่ การเริ่มต้นด้วยเงินน้อยๆอาจจะเป็นกลยุทธ์ที่ดีกว่า ถ้าเราไม่มีเวลาการซื้อกองทุนรวมอาจจะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า
คำถาม เหล่านี้จะช่วยปูพื้นฐานในการลงทุนให้เรา การเริ่มต้นลงทุนโดยไม่มีการบริหารเงินที่ดีเปรียบเสมือนกับการสร้างบ้านโดย ไม่ได้ตอกเสาเข็ม ปีแรกๆอาจจะยังดูดี แต่ถ้าเกิดมีปัญหาขึ้นมาจะแก้ไขได้ยากมากครับ (ถ้าบ้านไม่พังครืนไปซะก่อน)
ข้อ 2: มีทัศนคติเกี่ยวกับการลงทุนที่ถูกต้อง
ผมขอรวบรวมหลักคิดที่เป็นประโยชน์เท่าที่พอนึกออกให้อ่านครับ
”การ ซื้อหุ้น” ไม่ต่างอะไรกับการ “ร่วมลงทุน” กับเพื่อนหรือญาติของเรา เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราควรให้ความสนใจไม่ใช่แค่ราคา แต่เป็นการเติบโต (และความสม่ำเสมอ) ของผลตอบแทนที่ได้รับจากธุรกิจนั้นๆ
การคาดเดาตลาดของตลาดเป็นสิ่งที่ทำเงินได้ยาก และการหาเงินจากการคาดเดานั้นทำได้ยากกว่า
การซื้อขายหุ้นบ่อยๆอาจจะทำให้ผลตอบแทนในการลงทุนลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ
การลงทุนไม่ใช่การว่ิงแข่ง 100 เมตรแต่เป็นการวิ่งมาราธอน
สิ่งที่คนส่วนมากทำไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเสมอไป
การลงทุนไม่ใช่การว่ิงแข่ง 100 เมตรแต่เป็นการวิ่งมาราธอน
สิ่งที่คนส่วนมากทำไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเสมอไป
ราคาหุ้นอาจจะผันผวนไปตามอารมณ์ของตลาดได้ในระยะสั้น แต่สุดท้ายแล้วราคาหุ้นในระยะยาวจะสะท้อนผลประกอบการของธุรกิจ
การซื้อหุ้นตามเซียนไม่ได้ทำให้คุณเป็น “เซียนหุ้น”
”ซื้อตัวไหน?” ไม่สำคัญเท่า “ซื้อเพราะอะไร?”
”ซื้อตัวไหน?” ไม่สำคัญเท่า “ซื้อเพราะอะไร?”
”โชค” อาจจะมีผลต่อผลตอบแทนของพอร์ตในระยะสั้นๆ แต่ในระยะยาวๆ “ฝึมือ” และ “ความทุ่มเท” จะกำหนดชะตาชีวิตของคุณ
ข้อ 3: เข้าใจหลักของดอกเบี้ยทบต้น
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยบอกไว้ว่า “ดอกเบี้ยทบต้นเป็นสิ่งมหัศจรรย์ลำดับที่ 8 ของโลก” ถ้าเราอยากจะใช้ประโยชน์จากดอกเบี้ยทบต้น เราต้องเข้าใจก่อนว่าปัจจัยที่จะมีผลต่อมูลค่าของเงินเราในอนาคตมี 3 ข้อ 1. จำนวนเงินที่เรานำมาลงทุน 2. อัตราผลตอบแทน และ 3. ระยะเวลาการลงทุน นักลงทุนทั่วไปมักจะให้ความสนใจว่าพอร์ตใหญ่แค่ไหน หรือจะได้กำไรปีละกี่เปอร์เซ็นต์ แต่จะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับระยะเวลาที่ใช้ในการลงทุนเท่าไหร่นัก นักลงทุนที่เก่งจะสามารถใช้เวลาเป็น “ตัวช่วย” ให้พอร์ตเติบโตได้โดยการเลือกลงทุนในธุรกิจที่สามารถรักษาความแข็งแกร่งได้ ในระยะยาวๆ
ข้อ 4: ต้องเข้าใจธุรกิจที่จะลงทุนอย่างถ่องแท้
บัฟเฟต์ เคยกล่าวไว้ว่า “การเป็นนักธุรกิจที่เก่งจะช่วยให้เราเป็นนักลงทุนที่ดีขึ้นได้” ฉะนั้นนักลงทุนหน้าใหม่คนไหนอยากจะประสบความสำเร็จในฐานะนักลงทุนต้องสามารถ วิเคราะห์กิจการที่เราสนใจให้เหมือนเถ้าแก่ที่กำลังจะลงทุนซื้อธุรกิจ เราต้องมองให้ออกว่าธุรกิจที่เราสนใจอยู่มีรายได้จากไหน? ต้นทุนในการดำเนินงานมาจากอะไร? การแข่งขันเป็นยังไง? มีอะไรที่เราต้องกังวลบ้าง? อะไรคือจุดแข็งหรือจุดอ่อนของธุรกิจ? โอกาสในการเติบโตของธุรกิจอยู่ที่ตรงไหน? จะบริหารเงินสดอย่างไร? จะต้องลงทุนอะไรบ้าง?
การซื้อหุ้นโดยไม่วิเคราะห์ธุรกิจให้ถ่องแท้ก็ เหมือนกับการซื้อบ้านโดยดูแค่ราคา การลงทุนก็ไม่ต่างกันอย่างที่ เบน เกรแฮม อาจารย์ของบัฟเฟต์เคยกล่าวไว้ “ราคาคือส่ิงที่คุณจ่าย คุณค่าคือสิ่งที่คุณได้รับ”
ข้อ 5: ต้องเข้าใจเครื่องมือในการวิเคราะห์ทางการเงินก่อนนำมาใช้
การ เข้าใจเครื่องมือเหล่านี้อย่างครึ่งๆกลางๆอาจจะทำให้เราประสบกับปัญหาได้ ตัวอย่างเช่น P/E หรือ อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น เราต้องเข้าใจว่า P/E ต่ำไม่ได้แปลว่าดีกว่าเสมอไป เราต้องรู้ว่า “กำไรต่อหุ้น” นั้นมีที่มายังไง (ย้อนหลังหรือปีปัจจุบัน เป็นกำไรพิเศษหรือกำไรจากการดำเนินงาน) และปัจจัยใดบ้างที่จะมีผลต่อค่า P/E เหล่านั้น สิ่งเหล่านี้เป็นอะไรที่ซับซ้อนและอาจจะใช้เวลาในการเรียนรู้ซักระยะ แต่ถ้าอยากจะเรียนทางลัดการเข้าอบรมหรือการหาหนังสือดีๆมาอ่านก็จะช่วยได้ ผมอยากให้คอยถามตัวเองทุกครั้งก่อนนำตัวเลขทางการเงินไปใช้ว่า “ตัวเลขนี้จริงๆแล้วคืออะไร?” “มีอะไรซ่อนอยู่ในตัวเลขนี้รึเปล่า?” “ปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลต่อตัวเลขเหล่านี้?”
ข้อ 6: ต้องรู้จักเรียนรู้และพัฒนาตัวเองตลอดเวลา
พี่ Web พรชัยเคยพูดไว้ว่า “ถ้าไม่อ่าน ถ้าไม่ศึกษา ออกจากตลาดไปเลยดีกว่า” ผมว่าคำพูดนี้ไม่ได้กล่าวเกินจริงเลย เพราะถ้าเราสังเกตดูนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จเกือบทุกคนมีนิสัยเป็นนักอ่านตัวยงทั้งนั้น บัฟเฟต์ ปีเตอร์ ลินช์ เกรแฮม ดร.นิเวศน์ การที่คนเหล่านี้อ่านเยอะก็เพราะเค้าเชื่อว่า “ข้อมูลคือขุมทรัพย์” หน้าที่หลักของนักลงทุนคือการตัดสินใจ และการมีฐานความรู้ที่กว้างและลึกจะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องมาก ขึ้นในระยะยาว
ข้อ 7: ฝึกการควบคุมตนเอง
เนื่องจาก การซื้อขายหุ้นทำได้ง่ายมาก การควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ไม่ไปทำอะไรที่ไม่ควรทำจะมีประโยชน์อย่างมาก การจด Investment Diary (จดบันทึกการลงทุนของเรา ว่าลงทุนตัวไหน เมื่อไหร่ เพราอะไร) การไม่ตามข่าวตามตลาดจนบ่อยเกินไป และการนั่งสมาธิเป็นประจำก็จะช่วยให้เราแยกแยะ “อารมณ์” ออกจาก “เหตุผล” ได้ง่ายขึ้น
(พี่คนขายของเคยแนะนำว่าการนั่งสมาธิวันละ 5 นาทีจะทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนดีขึ้น ผมนำมาลองใช้ดูแล้วพบว่านอกจากจะทำให้เรา “นิ่ง” ขึ้นแล้วยังช่วยให้เราเครียดน้อยลง มีความสุขกับสิ่งรอบตัวได้ง่ายขึ้นด้วยครับ)
ข้อ 8: มีความสุขในการลงทุน
ผม เชื่อว่าถ้าเราได้ทำในสิ่งที่รัก (ฉันทะ หรือ Passion) เราก็จะทำมันอย่างเต็มที่ ตั้งใจ และก็จะทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาดีขึ้น การลงทุนก็ไม่ต่างกัน จะทำผลตอบแทนให้ดีต้องมีความสุขกับการลงทุน แต่นักลงทุนหลายคนกลับมองเพียงว่าจะหาเงินให้ได้เยอะๆอย่างไร แต่สุดท้ายก็ต้องมานั่งเครียดจนไม่มีอันจะกินทุกครั้งเวลาหุ้นที่ซื้อไว้ ปรับตัวลง
ความสุขจากการลงทุนเกิดจากการที่เรามี “แนวทางในการลงทุน” ที่เหมาะกับตัวเรา บางคนชอบความตื่นเต้นเร้าใจก็จะชอบซื้อๆขายๆ บางคนชอบความมั่นคงอาจจะชอบลงทุนในกิจการที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง การได้ลงทุนในแนวทางที่เหมาะกับตัวเองจะช่วยให้เครียดน้อยลง ทำผลงานได้ดีขึ้น และที่สำคัญที่สุด จะทำให้เรามีความสุขในชีวิตมากขึ้น
สุดท้ายแล้วที่เราอยากมีเงินเยอะๆก็เพราะอยากจะมีความสุขไม่ใช่เหรอครับ?
ความสุขจากการลงทุนเกิดจากการที่เรามี “แนวทางในการลงทุน” ที่เหมาะกับตัวเรา บางคนชอบความตื่นเต้นเร้าใจก็จะชอบซื้อๆขายๆ บางคนชอบความมั่นคงอาจจะชอบลงทุนในกิจการที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง การได้ลงทุนในแนวทางที่เหมาะกับตัวเองจะช่วยให้เครียดน้อยลง ทำผลงานได้ดีขึ้น และที่สำคัญที่สุด จะทำให้เรามีความสุขในชีวิตมากขึ้น
สุดท้ายแล้วที่เราอยากมีเงินเยอะๆก็เพราะอยากจะมีความสุขไม่ใช่เหรอครับ?
ถ้าใครอ่านแล้วคิดว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ผมก็อยากให้ช่วยกันแชร์ ช่วยกันแบ่งปันให้เพื่อนๆที่สนใจการลงทุนครับ ถ้าใครมีข้อสงสัยอะไรก็โพสถามได้นะครับ ถ้านักลงทุนท่านไหนอยากจะแบ่งปันไอเดียดีๆให้กับน้องๆมือใหม่ในวงการก็เรียน เชิญครับ ถือว่าช่วยๆกันครับ ขอบคุณมากๆครับ
from http://goo.gl/vUR8Zv
จะถือหุ้นกี่ตัวในพอร์ตดี?
ใน Meeting ของ Road to Billion ที่ผ่านมามีคนถามคุณสุมาอี้กับผมว่า “ควรจะมีหุ้นซักกี่ตัวดี?” คำถามนี้คงเป็นเรื่องที่ค้างคาใจนักลงทุนหลายท่านเพราะในงานสัมมนาแทบทุกครั้ง ผมมักจะได้ยินคนถามคำถามนี้ ผมก็เลยได้โอกาสไปค้นคว้าหาแง่มุมต่างๆมาแลกเปลี่ยนกับผู้อ่าน เป็นการลองบิดกุญแจไขปัญหาที่ค้างคาอยู่ในหน้าอก (ข้างซ้าย) ของนักลงทุนทุกท่าน
แต่ก่อนจะตอบว่ามีหุ้นกี่ตัวดี เราควรจะถามก่อนว่าจำนวนหุ้นที่เราถือจะมีผลยังไงต่อพอร์ตและชีวิตของเราบ้าง
1. หุ้นเยอะ ต้องการเวลาแยะ
ปี เตอร์ ลินช์ เคยพูดว่า “หุ้นก็เหมือนกับลูก มีเท่าที่คุณพอจะดูแลเค้าได้ก็พอ” เดี๋ยวคนไทยส่วนมากมีลูกแค่คนเดียวหรืออย่างมากก็สองคน ลองนึกภาพมีลูกซัก 10 คนเหมือนสมัยก่อนคงจะตลกพิลึก แต่ “หุ้น” ต่างกับ “ลูก” ตรงที่ว่าหุ้นของแต่ละคนอาจจะต้องการเวลาในการดูแลต่างกัน ซึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
เราต้องตามงบเป็นรายไตรมาสหรือเปล่า?
เราจำเป็นต้องเฝ้าราคาหุ้นหรือเปล่า?
เรารู้จักอุตสาหกรรมหรือหุ้นตัวนั้นดีแค่ไหน?
เรามีประสบการณ์ในการลงทุนมากน้อยแค่ไหน?
หุ้นที่เราถือในพอร์ตมีความคล้ายคลึงกันแค่ไหน?
ส่วน ตัวแล้วผมยังไม่มีลูก แต่ก่อนที่ผมจะตัดสินใจลงทุน ผมจะใช้เวลาศึกษาหุ้นแต่ละตัวเยอะมาก และถ้าตัดสินใจแล้วก็จะไม่ได้ใช้เวลาในการตามเท่าไหร่ (อาจจะมีตามงบรายไตรมาสบ้าง แต่ก็แค่ปีละ 4 หน) ก็เลยสามารถดูแลหุ้นได้ประมาณ 8 – 10 ตัว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผมจะถือเท่านั้นนะครับ มันเป็นแค่แนวทางเฉยๆ ผมอาจจะมีหุ้นมากกว่านั้นได้ถ้าหุ้นพวกนั้นไม่ต้องการเวลาจากผมมากหรือไม่มี นัยสำคัญกับพอร์ต
เราจำเป็นต้องเฝ้าราคาหุ้นหรือเปล่า?
เรารู้จักอุตสาหกรรมหรือหุ้นตัวนั้นดีแค่ไหน?
เรามีประสบการณ์ในการลงทุนมากน้อยแค่ไหน?
หุ้นที่เราถือในพอร์ตมีความคล้ายคลึงกันแค่ไหน?
ส่วน ตัวแล้วผมยังไม่มีลูก แต่ก่อนที่ผมจะตัดสินใจลงทุน ผมจะใช้เวลาศึกษาหุ้นแต่ละตัวเยอะมาก และถ้าตัดสินใจแล้วก็จะไม่ได้ใช้เวลาในการตามเท่าไหร่ (อาจจะมีตามงบรายไตรมาสบ้าง แต่ก็แค่ปีละ 4 หน) ก็เลยสามารถดูแลหุ้นได้ประมาณ 8 – 10 ตัว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผมจะถือเท่านั้นนะครับ มันเป็นแค่แนวทางเฉยๆ ผมอาจจะมีหุ้นมากกว่านั้นได้ถ้าหุ้นพวกนั้นไม่ต้องการเวลาจากผมมากหรือไม่มี นัยสำคัญกับพอร์ต
2. จำนวนหุ้นน้อย ความเสี่ยงกระจุกตัว
คุณสุ มาอี้เคยพูดว่า “ถึงหุ้นจะดีแค่ไหนมันก็มีโอกาสจะพลาดได้” โดยส่วนตัว ถึงแม้หุ้น “ร้านค้าห้องแถว” จะดีอย่างไร จะมีความสามารถในการแข่งขันเยอะแค่ไหน เติบโตได้ไกลเท่าไหร่ ผมก็คงนอนไม่ค่อยหลับถ้าจำเป็นต้องถือหุ้นตัวนั้นเพียงตัวเดียว เพราะหุ้นทุกตัวย่อมมีความเสี่ยง แต่ถ้าในทางตรงกันข้ามพอร์ตผมมีหุ้น 50 ตัว ผมก็ไม่รู้ว่าจะผมตื่นขึ้นมาหาหุ้นใหม่ๆไปทำไมเหมือนกัน เพราะไม่ว่าจะเลือกถูกหรือเลือกผิดมันก็ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อพอร์ตซักเท่า ไหร่
เบนจามิน เกรแฮม เคยบอกไว้ว่าเราจะสามารถได้ประโยชน์จากการ “กระจายความเสี่ยง” ถ้าเรามีหุ้น 10 – 30 ตัวในพอร์ตเรา แต่ในขณะที่ปีเตอร์ ลินช์ และบัฟเฟต์ เคยพูดว่าหุ้น 5 ตัวก็น่าจะเพียงพอแล้ว
แล้วเราจะมีกี่ตัวดี?
วิธี คิดแบบง่ายๆในการประเมินระดับความเสี่ยงที่เรารับได้: สมมติว่าเราถือหุ้น 5 ตัว แสดงว่าแต่ละตัวจะมีน้ำหนัก 20% ของพอร์ตโดยเฉลี่ย ถ้าหุ้นตัวใดตัวหนึ่งปรับตัวลง 30% พอร์ตคุณจะลดลงประมาณ 6% คุณรับกับมันได้รึเปล่า?(ถ้าคุณมีระบบ cut loss คุณอาจจะใช้ตัวเลข 5% 10% แล้วแต่ระบบของคุณเพื่อนำมาคำนวณความเสี่ยงได้) ลองคำนวณเล่นๆดูครับ ปรับไปปรับมาก็จะเจอตัวเลขที่เราคิดว่าเหมาะสมครับ
3. ผลตอบแทนที่เราจะได้รับ?
ผม เคยได้ยินนักลงทุนหลายท่านบอกว่า “จำนวนหุ้นที่น้อยกว่า” จะทำให้เราได้ “ผลตอบแทนที่ดีขึ้น” แต่ถ้าเราลองมาคิดดูดีๆจะพบว่าเรา “อาจจะ” ได้ผลตอบแทนที่มากขึ้น “ถ้า” เราเลือกหุ้นได้ถูกตัว เพราะฉะนั้นการถือหุ้นจำนวนน้อยตัวหรือแบบ Focus จะมีประโยชน์มากกว่าสำหรับนักลงทุนที่พอจะมีความสามารถระดับหนึ่งแล้ว แต่สำหรับนักลงทุนหน้าใหม่หรือนักลงทุนที่ยังลองผิดลองถูกอยู่อย่างผม การถือแบบ Focus อาจจะไม่ได้ให้ผลประโยชน์เท่ากับนักลงทุนที่เก่งๆและยังอาจจะเพิ่มความ เสี่ยงให้กับพอร์ตมากกว่าการถือหุ้นหลายๆตัว
ผมสังเกตว่านักลงทุนหน้า ใหม่บางท่านชอบอัดเงินทั้งพอร์ตเข้าไปซื้อ “หุ้นเด็ด” โดยไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ พูดอีกอย่างคือเล่นหุ้นแบบ “แทงหวย” คนแบบนี้ส่วนมากก็มักจะถูกเจ้ามือหวยกินเรียบจนหลายคนขยาดการลงทุนไปเลย
ใน อีกมุมนึง ปีเตอร์ ลินช์ เคยบอกไว้ว่าเค้าไม่รู้หรอกว่าหุ้นตัวไหนจะกลายเป็นหุ้น 5 เด้ง 10 เด้ง เพราะฉะนั้นการมีหุ้นเยอะๆก็อาจจะเหมือนการซื้อลอตเตอรี่ ถ้าเราซื้อหลายๆใบก็อาจจะมีโอกาสถูกมากกว่า ฉะนั้นในบางครั้งการถือหุ้นหลายๆตัว (ที่ผ่านการคัดกรองมาแล้ว) ก็อาจจะดีกว่าการใช้เวลาไปกับการเลือกหุ้นเพียงตัวเดียวที่จะให้ผลตอบแทน สูงสุดก็ได้ครับ เพราะบางครั้งเราก็ไม่รู้ว่าไอเดียการลงทุนของเราอันไหนจะออกดอกออกผล
นอกจาก ปัจจัยที่ต้องพิจารณาทั้งสามข้อแล้ว จำนวนหุ้นที่ถืออาจจะต้องเพิ่มขึ้นตามความจำเป็นถ้าคุณมีพอร์ตขนาดใหญ่หรือ ลงทุนในหุ้นที่มีสภาพคล่องน้อย และอาจจะลดลงได้ถ้าคุณมีหุ้นที่คุณชอบและมั่นใจมากๆ (อย่าลืมว่าทุกคนมีโอกาสที่จะผิด) จะว่าไปการปรับสัดส่วนหุ้นในพอร์ตก็อาจจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการ ตัดสินใจ คงจะไม่มีสูตรตายตัว
สุดท้ายแล้วใครจะมี “ลูก” กี่คนก็แล้วแต่จะเลือกเลยครับ ตามจริตและความสามารถของแต่ละคน ถ้าอยากจะมีลูกเยอะก็อาจจะต้องเหนื่อยหน่อย แต่ก็อุ่นใจเพราะเวลาแก่ตัวไปจะได้ไม่เหงาครับ 555
คนอื่นๆถือหุ้นกันกี่ตัวครับ? มีหลักอะไรในการคิดบ้าง? มาแลก
from http://goo.gl/BxAB8P
15 กันยายน 2556
Insurance Business ธุรกิจประกันภัย
Insurance Business ธุรกิจประกันภัย
Post by JoeSoros
จดโดย Kongkiti
1. ในไทยแบ่ง License เป็น ประกันชีวิต, และประกันวินาศภัย เพื่อนบ้าน ขายรวมกัน
2. รับเงินก่อน จ่าย Claim ทีหลัง
3. เป็นธุรกิจกระดาษ -> ดู Probability -> ต้องใช้คณิตศาสตร์ประกันภัย คำนวณ
4. ดูอัตราดอกเบี้ย, สถิติ ต่างๆ
5. เน้นเรื่อง เงินสำรอง -> เพียงพอจ่ายผู้เอาประกัน
6. แบบประกัน คปภ. ควบคุม ออกใหม่ ยาก ใช้เวลา
7. แบบประกันให้ดูว่า ขายได้มั๊ย, ทำได้จริงมั๊ย,มีกำไรมั๊ย
8. Adverse Selection -> การ Screen ลูกค้า
9. Moral Hazard -> ลูกค้าถลุงเงินบริษัทเก่งมั๊ย เช่น ป่วยนิดเดียว แต่อยากนอนโรงพยาบาลนานๆ ให้หมอเขียนบิลให้
10. ประกันที่ดี มีการแบ่ง ซอยย่อย คัดเลือกลุ่มลูกค้า
11. ประกัน 2 แบบ ALR, non-ALR
12. non-ALR คือ non-Active Life Reserve
-> จ่ายเบี้ยคุ้มครองสั้นๆ ใน 1 ปีสามารถ Control Loss Ratio ได้
*Loss Ratio คือ Claimed หารด้วย Net Earned Premium
-> คือ Claimed เพิ่ม ก็เพิ่มเบี้ย
-> Cash Cow / Cash Generation
13. ALR คือ Active Life Reserve
-> พวกจ่ายเบี้ย แล้วคุ้มครองนานเกิน 1 ปี
-> การตั้งสำรอง ซับซ้อน
-> ดู Long Term (พวกประกันชีวิต)
14. เงินสำรอง มี 2 แบบ
14.1 Claimed Reserve คือ มี Claimed ก็บันทึกไว้-> ประกันวินาศภัย
14.2 Policy Reserve เอาเงินฝากประกันไว้ก่อน -> ประกันชีวิต
15. แบบประกันชีวิตแบบต่างๆ เยอะแยะมากมาย
16. วิธีการคิดกำไร/Valuation ของบริษัทประกันชีวิต 4 แบบ (จริงๆ มีมากกว่านี้)
16.1 หลักการเงินสำรอง -> ดูงบดุล -> คุ้มครองผู้บริโภค (แบ่งย่อยได้เป็น Thai GAAP-คปภ. และ RBC)
16.2 ตั้งสำรองเฉลี่ยๆ เฉลี่ย Earning แล้วหา PE -> US GAAP
16.3 สรรพากร (เกณฑ์ภาษี)
16.4 Appraisal Value (EV), Economic Value Added
-> AV = EV + VoNB
-> EV = ANW+VIF
*EV (Embedded Value) คิดเหมือนธุรกิจมหาวิทยาลัย
*ANW (Adjusted Net Worth) = Asset (ราคาตลาด) - Liability (คปภ.)
*VIF (Value in Force) = มูลค่าเบี้ยปีต่ออายุ
*VoNB (Value of New Business) -> คำนวณค่อนข้างซับซ้อน ถามตัวเลขจากบริษัทเอา แล้ว Monitor อัตราการเติบโตของตัวเลขนี้เอา
*ทุกอย่างคิดเป็น Present Value
สงสัยไปถามนักคณิตศาสตร์ประกันภัย เอาดีกว่าครับ ไปอบรมมาแล้ว ก็ยังงงอยู่ Assumption เยอะเกิน
17.คุณทอมมี่ บอกว่า Top Line บริษัทประกันชีวิต อย่าไปดูมาก ดูเป็น AV, EV
18. ดูจาก GDP Penetration Rate ของประกันในไทยยังโตได้อีก โดยเฉพาะ ประกันชีวิต
19. แต่ประกันในไทย ยังมีไว้เพื่อขาย คือ ต้องไปง้อลูกค้าซื้อ ไม่เหมือน Developed Country ที่ทุกคนรู้ถึงความสำคัญของประกัน เป็นตลาดของปู้ซื้อ
นโยบายสำคัญที่ คปภ. กำลัง Promote
1. Micro Insurance
2. เบี้ยประกัน นักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่มาเที่ยวเมืองไทย
ประกันชีวิต ดูอะไรบ้าง
1. Earning Smooth มั๊ย (ดูวิธีการตั้งสำรอง)
2. Growth of VoNB
3. SWOT
4. Distribution Channel
5. Asset Liability Management
ผมแถมสรุปให้ว่า ประกันวินาศภัย ดูอะไรบ้าง
1. ผู้บริหาร, คนที่คุมการลงทุน
2. โครงสร้างต้นทุน + EoS (Economy of Scale)
3. อัตราเติบโตเบี้ยรับ (Direct Premium Written)
4. บริษัทเก่งประกันอะไร
5. ช่องทางการจำหน่าย, การเติบโตในอนาคต
from http://goo.gl/fnpPw9
Post by JoeSoros
จดโดย Kongkiti
1. ในไทยแบ่ง License เป็น ประกันชีวิต, และประกันวินาศภัย เพื่อนบ้าน ขายรวมกัน
2. รับเงินก่อน จ่าย Claim ทีหลัง
3. เป็นธุรกิจกระดาษ -> ดู Probability -> ต้องใช้คณิตศาสตร์ประกันภัย คำนวณ
4. ดูอัตราดอกเบี้ย, สถิติ ต่างๆ
5. เน้นเรื่อง เงินสำรอง -> เพียงพอจ่ายผู้เอาประกัน
6. แบบประกัน คปภ. ควบคุม ออกใหม่ ยาก ใช้เวลา
7. แบบประกันให้ดูว่า ขายได้มั๊ย, ทำได้จริงมั๊ย,มีกำไรมั๊ย
8. Adverse Selection -> การ Screen ลูกค้า
9. Moral Hazard -> ลูกค้าถลุงเงินบริษัทเก่งมั๊ย เช่น ป่วยนิดเดียว แต่อยากนอนโรงพยาบาลนานๆ ให้หมอเขียนบิลให้
10. ประกันที่ดี มีการแบ่ง ซอยย่อย คัดเลือกลุ่มลูกค้า
11. ประกัน 2 แบบ ALR, non-ALR
12. non-ALR คือ non-Active Life Reserve
-> จ่ายเบี้ยคุ้มครองสั้นๆ ใน 1 ปีสามารถ Control Loss Ratio ได้
*Loss Ratio คือ Claimed หารด้วย Net Earned Premium
-> คือ Claimed เพิ่ม ก็เพิ่มเบี้ย
-> Cash Cow / Cash Generation
13. ALR คือ Active Life Reserve
-> พวกจ่ายเบี้ย แล้วคุ้มครองนานเกิน 1 ปี
-> การตั้งสำรอง ซับซ้อน
-> ดู Long Term (พวกประกันชีวิต)
14. เงินสำรอง มี 2 แบบ
14.1 Claimed Reserve คือ มี Claimed ก็บันทึกไว้-> ประกันวินาศภัย
14.2 Policy Reserve เอาเงินฝากประกันไว้ก่อน -> ประกันชีวิต
15. แบบประกันชีวิตแบบต่างๆ เยอะแยะมากมาย
16. วิธีการคิดกำไร/Valuation ของบริษัทประกันชีวิต 4 แบบ (จริงๆ มีมากกว่านี้)
16.1 หลักการเงินสำรอง -> ดูงบดุล -> คุ้มครองผู้บริโภค (แบ่งย่อยได้เป็น Thai GAAP-คปภ. และ RBC)
16.2 ตั้งสำรองเฉลี่ยๆ เฉลี่ย Earning แล้วหา PE -> US GAAP
16.3 สรรพากร (เกณฑ์ภาษี)
16.4 Appraisal Value (EV), Economic Value Added
-> AV = EV + VoNB
-> EV = ANW+VIF
*EV (Embedded Value) คิดเหมือนธุรกิจมหาวิทยาลัย
*ANW (Adjusted Net Worth) = Asset (ราคาตลาด) - Liability (คปภ.)
*VIF (Value in Force) = มูลค่าเบี้ยปีต่ออายุ
*VoNB (Value of New Business) -> คำนวณค่อนข้างซับซ้อน ถามตัวเลขจากบริษัทเอา แล้ว Monitor อัตราการเติบโตของตัวเลขนี้เอา
*ทุกอย่างคิดเป็น Present Value
สงสัยไปถามนักคณิตศาสตร์ประกันภัย เอาดีกว่าครับ ไปอบรมมาแล้ว ก็ยังงงอยู่ Assumption เยอะเกิน
17.คุณทอมมี่ บอกว่า Top Line บริษัทประกันชีวิต อย่าไปดูมาก ดูเป็น AV, EV
18. ดูจาก GDP Penetration Rate ของประกันในไทยยังโตได้อีก โดยเฉพาะ ประกันชีวิต
19. แต่ประกันในไทย ยังมีไว้เพื่อขาย คือ ต้องไปง้อลูกค้าซื้อ ไม่เหมือน Developed Country ที่ทุกคนรู้ถึงความสำคัญของประกัน เป็นตลาดของปู้ซื้อ
นโยบายสำคัญที่ คปภ. กำลัง Promote
1. Micro Insurance
2. เบี้ยประกัน นักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่มาเที่ยวเมืองไทย
ประกันชีวิต ดูอะไรบ้าง
1. Earning Smooth มั๊ย (ดูวิธีการตั้งสำรอง)
2. Growth of VoNB
3. SWOT
4. Distribution Channel
5. Asset Liability Management
ผมแถมสรุปให้ว่า ประกันวินาศภัย ดูอะไรบ้าง
1. ผู้บริหาร, คนที่คุมการลงทุน
2. โครงสร้างต้นทุน + EoS (Economy of Scale)
3. อัตราเติบโตเบี้ยรับ (Direct Premium Written)
4. บริษัทเก่งประกันอะไร
5. ช่องทางการจำหน่าย, การเติบโตในอนาคต
from http://goo.gl/fnpPw9
‘หุ้นดี’ …ดูอย่างไร – Value Way
ถ้าท่านศึกษาบทวิเคราะห์ หรือคำแนะนำของโบรกเกอร์ตาม นสพ.ต่างๆจะพบอยู่บ่อยๆ ว่า มักจะมีคำแนะนำของนักวิเคราะห์ให้ซื้อ ‘หุ้นพื้นฐานดี’ เก็บไว้ลงทุนระยะยาว บางแห่งก็จะบอกชื่อหุ้นให้ซื้อลงทุนเรียบร้อย โดยที่ท่านไม่ต้องไปปวดหัวกับการค้นหา ‘หุ้นพื้นฐานดี’ อย่างที่กล่าวไว้
ขณะที่นักลงทุนจำนวนมากซื้อหุ้นตามที่มีคนบอก จากนั้นจึงค่อยไปศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจนั้นเพิ่มเติมตามหลัง หรือลงทุนโดยซื้อหุ้นตามที่มีคนแนะนำให้เราซื้อหุ้นตัวนั้นตัวนี้ โดยที่เราไม่ได้เข้าใจ และศึกษาธุรกิจนั้นอย่างถ่องแท้ด้วยตัวเอง
วิธีการดังที่กล่าวมา จึงไม่ใช่วิธีที่ ‘นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า’ หรือ Value Investor ควรปฏิบัติ
สำหรับ ‘นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า’ ควรจะทำศึกษาหุ้นตัวนั้นและการบ้านอย่างหนักก่อนที่จะลงทุนซื้อหุ้นบริษัทไหนสักบริษัทหนึ่ง
การหา ‘หุ้นพื้นฐานดี’ นั้นไม่ยากเกินความสามารถและเราสามารถค้นหาได้ด้วยตัวเราเอง ยิ่งถ้าเราเข้าใจในธุรกิจที่เราลงทุนแล้ว เราก็ไม่ต้องไปกังวลกับสภาพของตลาดหุ้น ที่ราคาหุ้นอ่อนไหวไปตาม ‘ความโลภ’ และ ‘ความกลัว’ ของอารมณ์นักลงทุนทั้งหลายในตลาด
หุ้นพื้นฐานดีสามารถบอกได้โดยดูจากงบการเงินของบริษัทนั้น ก็คือ งบดุล งบการเงิน และงบกระแสเงินสด โดยดูย้อนหลังไปหลายๆ ปี เพื่อป้องกันการตกแต่งบัญชี และดูความสามารถของบริษัทว่าแข็งแกร่งจริงหรือไม่
วิธีดูหุ้นพื้นฐานดีที่จะกล่าวในที่นี้ จะพูดถึงเฉพาะหุ้นที่มีประวัติการดำเนินงานที่ดี โดยไม่ได้ครอบคลุมถึงหุ้นที่เพิ่งผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ (Turnaround) ที่ผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในเวลาไม่นาน
ลักษณะที่ดี 9 ประการของ ‘หุ้นพื้นฐานดี’ ควรจะมีดังต่อไปนี้
1.มียอดขายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
หุ้นที่ดีควรจะมียอดขายที่เติบโตขึ้น ถ้าเติบโตเพิ่มขึ้นได้ทุกปีก็จะดีมาก แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจนั้นมีการขยายตัว และสามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมนั้นได้ ส่วนหุ้นที่มียอดขายสาละวันเตี้ยลงทุกปีทุกปี น่าจะเป็นหุ้นที่ควรหลีกเลี่ยง หมายถึงว่า กิจการนั้นกำลังถูกคู่แข่งแย่งตลาดสินค้าไป หรือไม่ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้นก็อาจจะอยู่ในข่ายอุตสาหกรรมตะวันตกดิน (sunset industry) หรือผู้บริหารมีปัญหาในการดำเนินกิจการ แต่ยอดขายเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่าหุ้นนั้นเป็นหุ้นพื้นฐานดีหรือไม่ ต้องใช้ปัจจัยอีกหลายอย่างในการวิเคราะห์ธุรกิจ ดังจะกล่าวต่อไป
2. มีการควบคุมต้นทุนการดำเนินงานที่ดี
บริษัทที่มีการควบคุมการดำเนินงานที่ดี เราสามารถตรวจสอบดูได้จากงบกำไรขาดทุน โดยสังเกตจากต้นทุนสินค้าและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ควรจะไปตามยอดขายของกิจการ ถ้ายอดขายสูงขึ้นค่าใช้จ่ายก็สามารถอนุโลมให้เพิ่มขึ้นได้ตามสัดส่วนยอดขายที่สูงขึ้น แต่ธุรกิจที่ยอดขายลดลงแต่ต้นทุน และค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น นักลงทุนควรจะระวังและถ้าเกิดขึ้นเป็นประจำควรตรวจสอบให้ดีก่อนลงทุนในบริษัทนั้น
3. ไม่ประสบปัญหาขาดทุน
บริษัทที่ดีควรจะมีความสามารถในการทำกำไรอย่างสม่ำเสมอ บริษัทที่ประสบภาวะขาดทุน เป็นการแสดงให้เห็นถึงการขาดประสิทธิภาพของผู้บริหาร ถ้าขาดทุนตลอดปีหรือไม่ ก็ขาดทุนปีเว้นปี นักลงทุนควรเอาเวลาไปศึกษาธุรกิจอื่นจะดีกว่า ยกเว้นท่านที่ชอบลงทุนใน ‘หุ้นฟื้นคืนชีพ’ (Turnaround) ที่ขาดทุนมาหลายปีอยู่ดีๆ ก็กลับมาทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ อันนี้ก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน แต่สำหรับท่านที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการลงทุนมากนัก ควรหลีกเลี่ยงหุ้นที่มีผลดำเนินงานขาดทุนจะปลอดภัยกว่า
4. เงินทุนหมุนเวียนเป็นบวก (Positive Working Capital)
ธุรกิจที่ดีควรมีทรัพย์สินหมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียน เพราะธุรกิจควรมีการเตรียมความพร้อมของเงินทุนระยะสั้นให้เพียงพอต่อการจ่ายคืนหนี้สินระยะสั้น มิฉะนั้นธุรกิจอาจจะมีปัญหาการเงินเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะบริษัทที่ทำการกู้ยืมระยะสั้นมาก อาจจะต้องสำรองเงินสดไว้พอสมควรทีเดียวสำหรับการจ่ายคืนหนี้ที่เรียกเก็บภายใน เวลาไม่นาน ยกเว้นธุรกิจบางประเภท เช่น ธุรกิจค้าปลีก หรือค้าส่ง ที่รับเงินจากการขายให้กับลูกค้าเป็นเงินสดแต่ได้เครดิตจากผู้ผลิตสินค้าเป็นเวลาหลายเดือนก่อนที่จะจ่ายเงิน ในกรณีนี้เงินทุนหมุนเวียนอาจจะติดลบได้ ซึ่งกลับกลายเป็นจุดแข็งสำหรับธุรกิจประเภทนี้เสียอีก เพราะแทนที่จะต้องมีเงินสำหรับของที่อยู่ในสต็อกกลับเป็นผู้ผลิตสินค้าที่จะต้องเป็นคนจ่ายเงินค่าสินค้าคงคลังแทน
5. มีหนี้ไม่มากหรือมีหนี้อยู่ในฐานะที่เหมาะสม
ตัวเลขคร่าวๆ ที่ใช้กันส่วนใหญ่ในการตรวจสอบสภาพหนี้สินของธุรกิจก็คือ ‘อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน’ (Debt/Equity Ratio) ธุรกิจที่มีหนี้สินต่อทุนสูง แสดงว่า มีการกู้ยืมหนี้ระยะยาวมาก และทำให้ธุรกิจนั้นมีความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจสูง อัตราหนี้สินต่อทุนที่พอเหมาะที่ใช้กันทั่วไปคือ น้อยกว่าหนึ่งเท่า หรือไม่เกินสองเท่า
6. มีกำไรสะสม (Retain Earning) เพิ่มขึ้นทุกปี
ธุรกิจที่ดีควรมีกำไรสะสมเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และสามารถนำกำไรสะสมนั้นไปลงทุนต่อให้งอกเงยเพิ่มมากขึ้นจากเดิม ธุรกิจที่มีกำไรสะสมลดลง นักลงทุนควรตั้งคำถามก่อนที่จะลงทุนในบริษัทนั้นว่า บริษัทนำกำไรสะสมนั้นไปใช้ ทำอะไรและมีประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นหรือไม่
7. มีส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholder Equity) เพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ
บริษัทที่สามารถเพิ่มส่วนของผู้ถือหุ้นได้อย่างสม่ำเสมอนับว่า เป็นธุรกิจที่น่าสนใจ แสดงให้เห็นถึงความสามารถของผู้บริหารในการนำเงินของบริษัทไปลงทุนในกิจการที่มีประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น ควรหลีกเลี่ยงบริษัทที่มีส่วนผู้ถือหุ้นลดลงหรือติดลบ แสดงว่า ธุรกิจนั้นที่ผ่านมามีการขาดทุนเกิดขึ้น
8. กำไรต่อยอดขาย (Profit Margin) มากพอสมควร
ธุรกิจที่มีกำไรต่อยอดขายสูง แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการควบคุมต้นทุนของกิจการในระดับที่ดี แต่กำไรต่อยอดขายสูง อาจจะดึงดูดให้คู่แข่งหน้าใหม่ๆเข้ามาในอุตสาหกรรมนั้นมากขึ้น ในขณะที่ธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมมีการแข่งขันสูงส่วนมากจะมีกำไรต่อยอดขายต่ำ เพราะมีการตัดราคาสินค้าเพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาซื้อสินค้าและบริการของตน ทำให้กำไรของทั้งอุตสาหกรรมลดลง ดังนั้น ธุรกิจที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูงก็คือ ธุรกิจที่มีต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ (Cost Leadership)
9. ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (Return on Equity) สูง
ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น คำนวณจาก กำไรหารด้วยส่วนผู้ถือหุ้น (Net Profit/ Equity) ธุรกิจที่มีผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นสูงแสดงว่า ผู้บริหารสามารถบริหารเงินทุนของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่บางธุรกิจที่มีเงินกู้ยืมสูงก็อาจจะทำให้ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นสูงขึ้นได้ เพราะเงินลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของหนี้สินระยะยาวมากกว่าส่วนผู้ถือหุ้น ดังนั้น ในบางกรณีอาจจะจำเป็นต้องใช้อัตราส่วนผลตอบแทนต่อเงินลงทุน (Return on Total Capital) ในการตรวจสอบความสามารถในการดำเนินงานของธุรกิจนั้น จะเหมาะสมมากขึ้น เนื่องจากได้รวมส่วนหนี้สินระยะยาวในการคำนวณไว้ด้วย
ผลตอบแทนต่อเงินลงทุน หาได้จากกำไรหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นและหนี้สินระยะยาว (Net Profit/(Longterm Liability+Equity)) บริษัทที่มีผลตอบแทนต่อเงินลงทุนสูง จะน่าสนใจกว่าบริษัทที่มีอัตราส่วนนี้ต่ำ
การค้นหาลักษณะที่ดี 9 ประการข้างต้นของหุ้นที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ จะช่วยให้ท่านมีความรู้ความเข้าใจในหุ้นที่ท่านลงทุนมากขึ้น แทนที่จะรอให้คนอื่นหรือนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ตามโบรกเกอร์ต่างๆ มาแนะนำ ‘หุ้นพื้นฐานดี’ ให้กับท่าน
ท่านสามารถที่จะเริ่มศึกษาและค้นหา ‘หุ้นพื้นฐานดี’ ได้ด้วยตัวท่านเอง ซึ่งนับว่าเป็นหนทางในการเป็น ‘นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า’ หรือ Value Investor ที่ดีทางหนึ่ง
: วิบูลย์ พึงประเสริฐ
11 กันยายน 2556
โลกจะน่าอยู่ขึ้นถ้าผู้นำมีคุณลักษณะของเพศหญิง
ในโอกาสวันแม่นี้ดิฉันอยากจะขอแบ่งปันข้อคิดจากนักวิชาการที่ค้นพบสิ่งดีๆ เกี่ยวกับคุณลักษณะของเพศหญิงที่มีอยู่ในตัวมนุษย์
ในคนทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชาย จะมีคุณลักษณะและอุปนิสัยหลายๆ อย่าง บางคุณลักษณะนั้นแจงออกมาเป็นคุณลักษณะของเพศชาย (Masculine) คือออกจะแข็งกร้าว คนจีนจะเรียกว่า “บู๊” บางคุณลักษณะก็แจงออกมาเป็นคุณลักษณะของเพศหญิง (Feminine) ซึ่งอาจจะอนุมานว่าเป็น “บุ๋น” หรือบางคุณลักษณะจะออกมากลางๆ (neutral)
John Gerzema ที่ปรึกษาด้านความเป็นผู้นำ ร่วมกับ Michael D’Antonio ได้เขียนหนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อ The Athena Doctrines แปลตรงตัวก็คือ “ลัทธิอธีนา” อธีนาเป็นเทพธิดาของกรีก ถ้าเป็นโรมัน คือ มิเนอร์วา (Minerva)
ขอเล่าถึงอธีนาก่อนนะคะ เพราะเป็นที่มาของชื่อหนังสือซึ่งผู้เขียนตั้งชื่อได้อย่างชาญฉลาดจริงๆ
เทพธิดา หรือเทพีอธีนา ซึ่งมีวิหารพาร์เธนอนเป็นวิหารประจำตัว มีมะกอกเป็นต้นไม้ประจำตัว และมีกรุงเอเธนส์เป็นเมืองประจำตัว เป็นพระธิดาของ ซุส (Seus) หรือ จูปิเตอร์ ซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุด บางตำนานกล่าวว่าไม่มีพระมารดา แต่ประสูติมาจากพระนลาฎหรือหน้าผากของซุส แต่บางตำราก็เล่าว่า ซุสทรงบรรทมกับเมติส เทพีแห่งความคิดและความเฉลียวฉลาด แล้วทรงนึกขึ้นมาได้ว่าหากเทพีเมติสทรงครรภ์ และเป็นพระโอรสก็น่าจะเก่งเกินกว่าพระองค์ จึงทรงกลืนเทพีเมติสลงไป แต่ช้าไปเสียแล้ว เทพีเมติสทรงครรภ์แล้ว และเมื่อครบกำหนด เทพีอธีนาก็ประสูติมาจากพระนลาฎของซุส และเป็นพระธิดาที่ซุสทรงโปรดมากที่สุด
เทพีอธีนาเป็นเทพีแห่งความเฉลียวฉลาด ความเข้มแข็งกล้าหาญ เป็นตัวแทนแห่งแรงบันดาลใจ ความศิวิไลซ์ ความยุติธรรม มีเหตุผล และความบริสุทธิ์ นอกจากนั้นยังเป็นเทพีแห่งศิลปะและวรรณกรรม ตามเรื่องราวที่ปรากฏในเทพนิยายของกรีกและโรมันนั้น เทพีอธีนาทรงเป็นผู้ช่วยเหลือวีรบุรุษต่างๆ หลายคน เช่น เฮอร์คิวลิส เจสัน และโอดิซุส เป็นต้น
นั่นคือที่มาของชื่อหนังสือ ซึ่งผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นว่าจากการทำวิจัยโดยสัมภาษณ์คน 64,000 คนจากหลายประเทศทั่วโลก พบว่าคุณลักษณะของเพศหญิงที่มีอยู่ในตัวผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำหญิงหรือชาย ไม่ว่าจะอยู่ในโลกของธุรกิจหรือการเมือง เป็นที่นิยมของมากกว่า ผู้คนมองว่าหากผู้นำต่างๆ มีคุณลักษณะของเพศหญิงมากขึ้น โลกคงจะไม่วุ่นวาย วิกฤติการณ์ทางการเงินคงไม่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า สงครามและความขัดแย้งคงจะลดน้อยลงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ผู้เขียนยังเห็นว่า ผู้ที่มีคุณลักษณะของเพศหญิงอยู่ในตัว เป็นผู้ที่เหมาะสมจะเป็นผู้นำในศตวรรษต่อไปแทนที่ ความแข็งกร้าว และคุณลักษณะของเพศชาย ที่เป็นค่านิยมที่ชื่นชอบในศตวรรษที่ผ่านมา
คุณผู้ชายอย่าเพิ่งน้อยใจจะพลิกไปอ่านเรื่องอื่นค่ะ เพราะในคนคนหนึ่ง จะมีคุณลักษณะของทั้งสองเพศปนกันอยู่แล้ว เพียงแต่คุณลักษณะไหนเด่นมากกว่า หรือถูกนำมาใช้มากกว่าเท่านั้นเอง
คุณลักษณะของเพศต่างๆ ที่ผู้เขียนมีการแยกแยะไว้ แบ่งเป็นสามกลุ่มคือ คุณลักษณะของเพศหญิง คุณลักษณะเป็นกลาง และคุณลักษณะของเพศชาย ดิฉันอาจจะแปลมาไม่ตรงร้อยเปอร์เซ็นต์เนื่องจากไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคล แต่ขอนำเสนอเท่าที่สามารถทำได้ ในเนื้อที่ที่จำกัดค่ะ
คุณลักษณะที่จัดว่าเป็นคุณลักษณะเพศหญิงมีดังนี้ น่าเชื่อถือ ต้นกำเนิด มีจิตวิญญาณอิสระ มีเสน่ห์ พูดอธิบายได้ พึ่งพาได้ ทุ่มเท มีเหตุผล คล่องแคล่วว่องไว ปรับตัวได้ดี ผูกพัน สุขภาพดี ป๊อปปูล่า (เป็นที่นิยม) ไม่ตอบโต้ ใส่ใจ มองถึงชุมชน ให้ความช่วยเหลือ สร้างสรรค์ ยืดหยุ่น มีสัญชาตญาณดี เข้าสังคมได้ดี จริงใจ เห็นอกเห็นใจ กรุณา ให้การสนับสนุน เป็นผู้ให้ ทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันได้
เป็นผู้ฟังที่ดี ให้ความรัก มีความรู้สึกอ่อนไหว เปราะบาง นุ่มนวล มีสไตล์ ติดดิน วางแผนเพื่ออนาคต เปิดรับความคิดใหม่ๆ มีเอกลักษณ์ ใจกว้าง ทำงานเป็นทีม ซื่อสัตย์ มีจินตนาการดี ถ่อมตัว ช่างสงสัยใฝ่รู้ มีความจงรักภักดี มีวิจารณญาณ ให้ความร่วมมือ
ผูกพัน/มีส่วนร่วม เป็นมิตร ทันสมัย ไม่คิดถึงตัวเอง มีวิสัยทัศน์ รับผิดชอบต่อสังคม มีเมตตา ให้กำลังใจ มีความเห็นอกเห็นใจ แสดงออกซึ่งความรู้สึก มีความเข้าใจ อดทน รู้จังหวะ ไม่ตกเทรนด์ ให้ความสำคัญกับครอบครัว ใส่ใจ มีความเข้าใจจิตใจผู้อื่น มีความอ่อนไหว ดูแลใส่ใจ และเฉิดฉาย
ผูกพัน/มีส่วนร่วม เป็นมิตร ทันสมัย ไม่คิดถึงตัวเอง มีวิสัยทัศน์ รับผิดชอบต่อสังคม มีเมตตา ให้กำลังใจ มีความเห็นอกเห็นใจ แสดงออกซึ่งความรู้สึก มีความเข้าใจ อดทน รู้จังหวะ ไม่ตกเทรนด์ ให้ความสำคัญกับครอบครัว ใส่ใจ มีความเข้าใจจิตใจผู้อื่น มีความอ่อนไหว ดูแลใส่ใจ และเฉิดฉาย
สำหรับคุณลักษณะบางอย่าง ถือว่าเป็นกลาง (Neutral) คือไม่ได้เป็นคุณลักษณะของเพศใดเพศหนึ่ง คือ มีวิสัยทัศน์ กระตือรือร้น เรียบง่าย ของแท้ แตกต่าง กระฉับกระเฉงว่องไว ปราศจากความกังวล ร่วมแรงร่วมใจ เฉลียวฉลาด มีเล่ห์เหลี่ยม ตรงไปตรงมา ยึดประเพณีนิยม สนุกสนาน
คุณสมบัติที่เป็นเพศชาย ซึ่งผู้หญิงก็มีได้และใช้ได้ คือ มุ่งมั่น แข็งแรง ไม่โอนอ่อน แตกต่าง ทุ่มเท ทนทาน ก้าวร้าว กล้าหาญ หยิ่งยโส ไม่โอนอ่อน เป็นผู้นำ นำอย่างเป็นกลาง วิเคราะห์ได้ดี ภาคภูมิใจ ตัดสินใจเด็ดขาด มีความทะเยอทะยาน แบกภาระเกินควร ทำงานหนัก มีตรรกะดี สร้างคนให้เห็นด้วยอย่างเป็นเอกฉันท์ พึ่งตนเอง
กล้าท้าทาย ชอบแข่งขัน ใจกล้า ดื้อ ชอบสอดแทรก ผลักดัน กำกับ ให้ความสำคัญกับงาน/อาชีพ ไม่อยู่นิ่ง มั่นใจ ตรงไปตรงมา เห็นแก่ตัว เป็นอิสระ เข้าถึงยาก ชอบความก้าวหน้า มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบจำกัดวง
ตามความเห็นของดิฉัน ไม่ว่าคุณสมบัติใดก็สามารถนำมาใช้ได้ทั้งนั้น แต่ต้องใช้ให้ถูกจังหวะ ถูกเวลา คุณสมบัติที่เป็นเพศชายบางอย่าง ผู้นำหญิงก็ต้องนำมาใช้ เช่น มั่นใจ การตัดสินใจเด็ดขาด การผลักดัน ความมุ่งมั่น การตรงไปตรงมา
สำหรับผู้นำชาย บางครั้งต้องใช้คุณลักษณะของเพศหญิงบ้างเหมือนกัน เช่น เมตตา เป็นมิตร จริงใจ ถ่อมตัว ยืดหยุ่น รับฟัง เข้าใจ เห็นอกเห็นใจ รู้จังหวะ ไม่คิดถึงตนเอง ดูแลใส่ใจ รับผิดชอบต่อสังคม
และคุณลักษณะเป็นกลาง ที่ควรจะต้องมีคือ มีวิสัยทัศน์ กระตือรือร้น เฉลียวฉลาด ร่วมแรงร่วมใจ และถ้าจะให้ดี ควรมีความสนุกสนานด้วยค่ะ ดิฉันพบว่าเมื่อเราสนุกกับงาน เพื่อนร่วมงานของเราจะทำงานด้วยความสนุกไปด้วยและผลงานจะออกมาดี คนทำงานไม่เครียด
หวังว่าท่านจะได้ประโยชน์และนำไปประยุกต์ใช้ได้บ้างนะคะ ทั้งในการทำงานและในชีวิตส่วนตัว ผู้นำต้องเล่นได้หลายบทบาท ทั้งบทดีและบทโหด จำได้ว่าเมื่อเข้าชั้นทำกิจกรรมเกี่ยวกับความเป็นผู้นำเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน ผู้เข้าร่วมอบรมหญิงส่วนใหญ่จะมีปัญหากับการที่จะต้องสวมบทบาทโหดๆ อาจารย์จึงสำทับว่า จะเป็นผู้นำได้ “ถึงบทโหด ต้องกระโดดเข้าใส่” ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ตาม
ดิฉันได้เรียนรู้ว่า ผู้นำที่ดี ไม่มีคนชอบทั้งหมดค่ะ ต้องมีทั้งคนชอบและมีคนไม่ชอบในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ จะเป็นผู้นำในดวงใจได้หรือไม่นั้น ต้องวัดกันหลังจากหมดหน้าที่ไป ว่ายังทำให้ผู้คนจดจำในทางบวกได้หรือไม่ ได้ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่องค์กร แก่ผู้ร่วมงาน และแก่สังคมหรือไม่
ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ที่กรุณาแนะนำหนังสือเล่มนี้ให้ค่ะ
from http://goo.gl/cJ4vcI
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
บทความยอดนิยม (ล่าสุด)
-
หมากฮอส เป็นกีฬาหมากกระดานประเภทหนึ่ง ประกอบด้วยผู้เล่น 2 ฝ่าย อุปกรณ์การเล่น ได้แก่ กระดานและตัวหมาก ...
-
หลายคนที่กำลังลังเลว่าจะทำงานอะไร มักจะมีคำถามว่า ทำงานข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือ พนักงานบริษัทเอกชน ทำงานอะไรดี? ซึ่งกลุ่มงานทั้ง ...
-
คำนวณ IRR ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์และแบบบำนาญแบบง่ายๆ ตัวอย่างไฟล์: https://docs.google.com/spreadsheets/d/1jhRjXjpdj-U5liRK594f2cxJT9u3jMblH...
-
*ดูรีวิว ประกันออมทรัพย์ 10/1 ปีล่าสุดได้ที่ Link ประกันออมทรัพย์ ประกันออมทรัพย์นั้น เป็นสิ่งที่ค่อนข้างน่าสนใจเนื่องจาก 1. สามารถลดหย่อน...
-
เส้นทางเดินเท้าที่ยาวที่สุดในโลก!!! >>> เทียบเท่ากับการเดินไปกลับยอดเขา Everest ถึง 14 รอบ >>> ถนนเส้นนี้เริ่มต้นที่เมืองเ...
-
REIT คืออะไร สมัยก่อน เรามักจะเห็นคนรวยชอบซื้อ ชอบสะสมอสังหาริมทรัพย์ ที่มีทำเลดีๆ และราคาไม่สูงมาก ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ เพ...
-
โครงการ ช้างทองเฮอริเทจพาร์ค จังหวัด เชียงใหม่ รีวิว: Link Facebook: Link Google Map: Link
-
To replace each new line with enter ( \n) in Visual Studio Code ( vscode ) do the steps from images below and click "Replace All...
-
เมตตาทุนนิยม - ปรีชา ประกอบกิจ เคยได้ยินคำว่า “เมตตาทุนนิยม” ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Com passionate Capitalism กันบ้างไหมครับ ก่อนอื่นต...
-
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายไ...
บทความยอดนิยม (1 ปีย้อนหลัง)
-
หมากฮอส เป็นกีฬาหมากกระดานประเภทหนึ่ง ประกอบด้วยผู้เล่น 2 ฝ่าย อุปกรณ์การเล่น ได้แก่ กระดานและตัวหมาก ...
-
หลายคนที่กำลังลังเลว่าจะทำงานอะไร มักจะมีคำถามว่า ทำงานข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือ พนักงานบริษัทเอกชน ทำงานอะไรดี? ซึ่งกลุ่มงานทั้ง ...
-
REIT คืออะไร สมัยก่อน เรามักจะเห็นคนรวยชอบซื้อ ชอบสะสมอสังหาริมทรัพย์ ที่มีทำเลดีๆ และราคาไม่สูงมาก ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ เพ...
-
สำหรับร่างกฎกระทรวงใหม่ ของสำนักงานปนะกันสังคม (สปส.) ฉบับนี้ เตรียมมีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 69 หลัก ๆ จะปรับปรุงกำหนดค่าจ้างขั้นสูงที่ใช้เป็นฐ...
-
https://www.youtube.com/watch?v=728hIrzcXqw ที่มา https://www.facebook.com/ZipmexThailand https://www.youtube.com/@Zipmex/videos LINE กลุ...
-
แจกฟรี โปรแกรมคำนวณเงินเก็บเพื่อวางแผนเกษียณ วิธีใช้งานไม่ยาก ช่องสีเหลือง แถวแรก "เงินเก็บต่อเดือน" ให้กรอกเงินเก็บต่อเดือนที่เรา...
-
เมตตาทุนนิยม - ปรีชา ประกอบกิจ เคยได้ยินคำว่า “เมตตาทุนนิยม” ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Com passionate Capitalism กันบ้างไหมครับ ก่อนอื่นต...
-
To replace each new line with enter ( \n) in Visual Studio Code ( vscode ) do the steps from images below and click "Replace All...
-
โธมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) “To invent, you need a good imagination and a pile of junk.” ในการประดิษฐ์คิดค้น คุณจะ...
-
*คนที่อายุครบ 55 ปี ต้องไปแจ้งรับสิทธิ์ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน ภายใน 1 ปี ไม่งั้นถือว่าสละสิทธิ์ ที่มา SSO https://www.kwilife.com...