แมรี่ บัฟเฟตต์ สำรวจแนวคิดลงทุนหุ้นแบบวอเรน บัฟเฟตต์
สรุปมาจากจากนิตยสาร Money & Wealth เดือน พค 2556
หลักการลงทุนแบบวอร์เรน บัฟเฟตต์
วอร์เรน บัฟเฟตต์จะพิจารณาเรื่องมูลค่าของกิจการ (intrinsic value) เขาจะคาดหมายอัตราผลตอบแทนทบต้น โดยพิจารณาตัวเลขย้อนหลังไปเป็นสิบปี ดูว่ามีรายได้เติบโตอย่างสม่ำเสมอเพียงใด รวมทั้งพิจารณามูลค่าในอนาคตของกิจการนั้นด้วย
กิจการที่บัฟเฟตต์ศึกษานั้นต้องเป็นกิจการที่สามารถเข้าใจ ศึกษาได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง กล่าวได้ว่า บัฟเฟตต์จะทำการศึกษาเชิง fundamental อย่างมาก รวมทั้งดูอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ
หลักการเรื่อง durable competitive advantage นั้นบัฟเฟตต์บอกว่า เป็นกิจการที่มีการผลิตสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะที่โดดเด่น มีความเป็น uniqueness สามารถสร้างรายได้และกำไรได้อย่างต่อเนื่องและยาวนาน โดยสินค้าหรือบริการนั้นๆ จะต้องมีลักษณะที่จะสามารถแข่งขันได้ เช่น มีแบรนด์เนมที่ดี มีลิขสิทธิ์ป้องกันคู่แข่ง หรือมีการผูกขาด กิจการประเภทนี้จะได้รับผลระโยชน์จากคุณลักษณะที่โดดเด่นของสินค้าหรือบริการและสร้างความนิยมในการบริโภค ทำให้ลูกค้ามีความจงรักภักดีต่อสินค้าหรือบริการ
ประเด็นเรื่อง growth ของกิจการนั้น บัฟเฟตต์จะมองการเติบโตของรายได้ของกิจการที่จะทำได้ในระยะยาว โดยมองไปข้างหน้าเป็นสิบๆ ปี
เรื่อง margin of safety (mos) บัฟเฟตต์จะมองหาแนวทางในการลดความเสี่ยงในการลงทุน โดยจะเข้าลงทุนในช่วงที่ราคาหุ้นในตลาดปรับตัวลดลง หรือต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ซึ่งมีหุ้นหลายตัวที่เขาอดทนเพื่อรอคอยราคาอย่างใจเย็น
หลักการในการลงทุนของบัฟเฟตต์มี 2 ข้อ คือ ข้อแรกห้ามขาดทุน และข้อสอง ให้กลับไปดูข้อหนึ่ง
พลังของผลตอบแทนทบต้น ตัวอย่างที่ยอดฮิตคือ บัฟเฟตต์ยอมขับรถเก่าๆ เพราะเขารู้ว่ามูลค่าเงิน 20,000 เหรียญที่จะนำไปซื้อรถใหม่นั้น หากนำไปลงทุนนาน 10 ปี โดยได้ผลตอบแทนปีละ 20% เงินจำนวนที่จะเพิ่มเป็น 150,000 เหรียญ และถ้าลงทุนนาน 30 ปี จะเพิ่มเป็น 9.9 ล้านเหรียญ ดังนั้นการยืดเวลาการซื้อของที่ไม่จำเป็นออกไป แล้วนำเงินจำนวนนั้นไปลงทุน ก็สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวได้
บัฟเฟตต์จะถือหุ้นนานเกินกว่า 5 ปีขึ้นไป และในการขายหุ้นนั้น บัฟเฟตต์จะพิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น ราคาหุ้นสูงกว่ามูลค่าหรือยัง มีหุ้นตัวอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าหรือไม่
การลงทุนที่ดีที่สุดของบัฟเฟตต์
best investment ของบัฟเฟตต์ คือ โคคา โคล่า, RGR Nabisco, Washington Post โดยเฉพาะโคคาโคล่านั้นเป็นสินค้าที่มีลักษณะ uniqueness และมีแบรนด์สินค้าที่นิยมไปทั่วโลก
เปิดพอร์ตลงทุน เบิร์กไชร์ แฮทธาเวย์
พอร์ตลงทุน เบิร์กไชร์ แฮทธาเวย์ ณ ปัจจุบัน พบว่ามีการลงทุนหุ้นกลุ่มไฟแนนซ์อยู่จมากสุด รองลงมาเป็นกลุ่มคอนซูเมอร์ และอันดับสามกลุ่มไอที
หุ้นทั้งหมดที่เบิร์กไชร์ แฮทธาเวย์ ถืออยู่สามารถดู
ได้ที่ http://www.dataroma.com/m/holdings.php?m=brk
from http://www.sme-talk.com/webboard/viewtopic.php?f=16&t=89
My personal blog about health, hobby, stock & investment, information technology, self improvement, tax and travel.
Pages
▼
Pages
▼
26 พฤษภาคม 2556
บัฟเฟตต์ขอซบหุ้นดีกว่าลงทุนทอง
บัฟเฟตต์ลั่นไม่ขอแตะต้องทองคำแม้ราคาในตลาดจะปรับลดต่อเนื่อง เชื่อให้ผลตอบแทนไม่ดีเท่าหุ้น
วอร์เรน บัฟเฟตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร(CEO) ของบริษัท เบิร์กเชียร์ แฮธาเวย์ และมหาเศรษฐีอันดับ 4 ของโลก คือนักลงทุนระดับพระกาฬผู้ได้รับฉายาว่า “ปราชญ์แห่งโอมาฮา”
เพราะไม่เพียงจับอะไรก็เป็นเงินเป็นทองจนเหมือนเสกได้ดั่งใจเท่านั้น แต่ทัศนะด้านการลงทุนยังแหลมคมจนสามารถชี้นำทิศทางตลาดโลกอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ ทุกครั้งที่นักปราชญ์แห่งการลงทุนเอ่ย ผู้คนทั่วโลกจะต้องเงี่ยหูฟังอย่างตั้งใจและคราวนี้ก็เช่นกัน บัฟเฟตต์สร้างความสั่นสะเทือนอีกครั้ง ด้วยการแสดงความเชื่อมั่นต่อทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐว่ากำลังมาถูกทางแล้ว ส่วนราคาหุ้นในตลาดยังไม่นับว่าสูงเกินไป อีกทั้งยังน่าดึงดูดใจกว่าสินทรัพย์การลงทุนคงที่บางตัวเสียด้วยซ้ำ
ที่สำคัญก็คือ บัฟเฟตต์ยังประกาศจุดยืนด้วยว่าจะไม่ยอมแตะต้องทองคำอย่างแน่นอน แม้ว่าราคาทองคำในตลาดจะปรับลดลงอย่างต่อเนื่องจนนักลงทุนแห่ซื้อกันจ้าละหวั่น
ทั้งนี้ เมื่อผู้สื่อข่าวบุกไปถึงที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท เบิร์กเชียร์ แฮธาเวย์ ในเมืองโอมาฮา รัฐเนบราสกา และซักถามนักลงทุนรุ่นใหญ่ว่าจะช้อนซื้อทองคำตามกระแสอันร้อนแรงในตลาดหรือไม่? เจ้าตัวตอบอย่างเด็ดขาดว่า “ไม่”
“แม้ว่าราคาทองจะอยู่ที่ 1,000 เหรียญสหรัฐผมก็จะไม่ซื้อ หรือราคาจะลงมาถึง 800 เหรียญสหรัฐผมก็จะยังไม่ซื้อเพราะทองคำไม่เคยทำให้ผมรู้สึกสนใจได้ หากจะย้อนกลับไปเมื่อปี 1965 ตอนนั้น หุ้นของเบิร์กเชียร์มีราคาอยู่ที่ 15 เหรียญสหรัฐ ส่วนทองคำอยู่ที่ 35 เหรียญสหรัฐ ซึ่งจะว่าไปแล้วทองคำ 1 ออนซ์สามารถซื้อหุ้นเบิร์กเชียร์ได้ถึง 2 หุ้น หรือ 2 หุ้นหน่อยๆและจนกระทั่งถึงวันนี้หุ้นของเบิร์กเชียร์ก็ยังดีกว่าทองคำเป็นไหนๆ”
บัฟเฟตต์ ให้เหตุผลว่า นับตั้งแต่เอ่ยถึงการลงทุนทองคำไปเมื่อปีสองปีก่อน จนถึงบัดนี้ก็ยังไม่มีวี่แววว่าทองคำจะผลิดอกออกผลเป็นรูปธรรม ไม่เพียงความเคลื่อนไหวย่ำอยู่กับที่ แต่ด้วยกระแสชี้นำยังทำให้ผู้คนแห่กันซื้อด้วยราคาที่สูงขึ้นไปอีก
คำพูดของบัฟเฟตต์ประโยคนี้พาดพิงถึงความเห็นเกี่ยวกับทองคำที่ให้ไว้กับคณะผู้ถือหุ้นของบริษัทเมื่อปีที่แล้ว โดยกูรูการลงทุนได้กล่าวว่า หากนำทองคำทั้งโลกมาหลอกรวมกันจะได้รูปทรงลูกบาศก์ขนาด 21x21 เมตร น้ำหนัก 170,000 เมตริกตัน ซึ่งจะมีมูลค่า (ในขณะนั้น)ราว 9.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
ด้วยเงินมากมายมหาศาลปานนี้ ยังดีเสียกว่าหากจะนำมาลงทุนด้านอื่น เช่น หากจะนำมาซื้อที่ดิน ก็จะได้ที่ดินทั้งประเทศสหรัฐมาครอง ส่วนเงินก้อนต่อมาสามารถนำมาซื้อบริษัทที่มูลค่าสูงที่สุดในโลกอย่างเอ็กซอน โมบิลได้อีกถึง 16 บริษัท มิหนำซ้ำยังมีเงินเหลือมาใช้เล่นๆอีก 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
แม้เวลาจะผ่านไปอีก 100 ปี ที่ดินจะยังคงให้ผลผลิตอันมีค่าต่อไป ไม่ว่ามูลค่าสินทรัพย์จะผันผวนไปเช่นไรก็ตาม อีกทั้งหุ้นในบริษัทที่ถือครองอยู่ก็อาจให้ผลกำไรงอกเงยขึ้นมาอีกถึง 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐเทียบกับทองคำ 170,000 เมตริกตันแล้วผลลัพธ์ห่างกันลิบลับ เพราะทองคำก็จะยังคงมีปริมาณเท่าเดิม ไร้ศักยภาพที่จะผลิดอกออกผลให้เป็นชิ้นเป็นอัน
“คุณอาจพะเน้าพะนอก้อนทองคำแต่ไม่มีวันที่มันจะตอบสนองคุณ”บัฟเฟตต์ ทิ้งท้าย
from http://goo.gl/ar3lS
วอร์เรน บัฟเฟตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร(CEO) ของบริษัท เบิร์กเชียร์ แฮธาเวย์ และมหาเศรษฐีอันดับ 4 ของโลก คือนักลงทุนระดับพระกาฬผู้ได้รับฉายาว่า “ปราชญ์แห่งโอมาฮา”
เพราะไม่เพียงจับอะไรก็เป็นเงินเป็นทองจนเหมือนเสกได้ดั่งใจเท่านั้น แต่ทัศนะด้านการลงทุนยังแหลมคมจนสามารถชี้นำทิศทางตลาดโลกอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ ทุกครั้งที่นักปราชญ์แห่งการลงทุนเอ่ย ผู้คนทั่วโลกจะต้องเงี่ยหูฟังอย่างตั้งใจและคราวนี้ก็เช่นกัน บัฟเฟตต์สร้างความสั่นสะเทือนอีกครั้ง ด้วยการแสดงความเชื่อมั่นต่อทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐว่ากำลังมาถูกทางแล้ว ส่วนราคาหุ้นในตลาดยังไม่นับว่าสูงเกินไป อีกทั้งยังน่าดึงดูดใจกว่าสินทรัพย์การลงทุนคงที่บางตัวเสียด้วยซ้ำ
ที่สำคัญก็คือ บัฟเฟตต์ยังประกาศจุดยืนด้วยว่าจะไม่ยอมแตะต้องทองคำอย่างแน่นอน แม้ว่าราคาทองคำในตลาดจะปรับลดลงอย่างต่อเนื่องจนนักลงทุนแห่ซื้อกันจ้าละหวั่น
ทั้งนี้ เมื่อผู้สื่อข่าวบุกไปถึงที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท เบิร์กเชียร์ แฮธาเวย์ ในเมืองโอมาฮา รัฐเนบราสกา และซักถามนักลงทุนรุ่นใหญ่ว่าจะช้อนซื้อทองคำตามกระแสอันร้อนแรงในตลาดหรือไม่? เจ้าตัวตอบอย่างเด็ดขาดว่า “ไม่”
“แม้ว่าราคาทองจะอยู่ที่ 1,000 เหรียญสหรัฐผมก็จะไม่ซื้อ หรือราคาจะลงมาถึง 800 เหรียญสหรัฐผมก็จะยังไม่ซื้อเพราะทองคำไม่เคยทำให้ผมรู้สึกสนใจได้ หากจะย้อนกลับไปเมื่อปี 1965 ตอนนั้น หุ้นของเบิร์กเชียร์มีราคาอยู่ที่ 15 เหรียญสหรัฐ ส่วนทองคำอยู่ที่ 35 เหรียญสหรัฐ ซึ่งจะว่าไปแล้วทองคำ 1 ออนซ์สามารถซื้อหุ้นเบิร์กเชียร์ได้ถึง 2 หุ้น หรือ 2 หุ้นหน่อยๆและจนกระทั่งถึงวันนี้หุ้นของเบิร์กเชียร์ก็ยังดีกว่าทองคำเป็นไหนๆ”
บัฟเฟตต์ ให้เหตุผลว่า นับตั้งแต่เอ่ยถึงการลงทุนทองคำไปเมื่อปีสองปีก่อน จนถึงบัดนี้ก็ยังไม่มีวี่แววว่าทองคำจะผลิดอกออกผลเป็นรูปธรรม ไม่เพียงความเคลื่อนไหวย่ำอยู่กับที่ แต่ด้วยกระแสชี้นำยังทำให้ผู้คนแห่กันซื้อด้วยราคาที่สูงขึ้นไปอีก
คำพูดของบัฟเฟตต์ประโยคนี้พาดพิงถึงความเห็นเกี่ยวกับทองคำที่ให้ไว้กับคณะผู้ถือหุ้นของบริษัทเมื่อปีที่แล้ว โดยกูรูการลงทุนได้กล่าวว่า หากนำทองคำทั้งโลกมาหลอกรวมกันจะได้รูปทรงลูกบาศก์ขนาด 21x21 เมตร น้ำหนัก 170,000 เมตริกตัน ซึ่งจะมีมูลค่า (ในขณะนั้น)ราว 9.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
ด้วยเงินมากมายมหาศาลปานนี้ ยังดีเสียกว่าหากจะนำมาลงทุนด้านอื่น เช่น หากจะนำมาซื้อที่ดิน ก็จะได้ที่ดินทั้งประเทศสหรัฐมาครอง ส่วนเงินก้อนต่อมาสามารถนำมาซื้อบริษัทที่มูลค่าสูงที่สุดในโลกอย่างเอ็กซอน โมบิลได้อีกถึง 16 บริษัท มิหนำซ้ำยังมีเงินเหลือมาใช้เล่นๆอีก 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
แม้เวลาจะผ่านไปอีก 100 ปี ที่ดินจะยังคงให้ผลผลิตอันมีค่าต่อไป ไม่ว่ามูลค่าสินทรัพย์จะผันผวนไปเช่นไรก็ตาม อีกทั้งหุ้นในบริษัทที่ถือครองอยู่ก็อาจให้ผลกำไรงอกเงยขึ้นมาอีกถึง 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐเทียบกับทองคำ 170,000 เมตริกตันแล้วผลลัพธ์ห่างกันลิบลับ เพราะทองคำก็จะยังคงมีปริมาณเท่าเดิม ไร้ศักยภาพที่จะผลิดอกออกผลให้เป็นชิ้นเป็นอัน
“คุณอาจพะเน้าพะนอก้อนทองคำแต่ไม่มีวันที่มันจะตอบสนองคุณ”บัฟเฟตต์ ทิ้งท้าย
from http://goo.gl/ar3lS
ข้อคิดสุดยอดของบัฟเฟตต์
วอเร็น บัฟเฟตต์ ไม่เคยเขียนหนังสือการลงทุน แต่แนวคิดเกี่ยวกับการลงทุนของเขานั้น ส่วนใหญ่น่าจะมาจาก รายงานประจำปีที่เสนอต่อผู้ถือหุ้นบริษัทเบิร์กไชร์ แฮทธาเวย์ ที่เขาเป็นประธานอยู่ และอีกจำนวนไม่น้อยมาจากการพูดหรือแสดงความคิดเห็นในที่ต่าง ๆ หลังจากนั้นก็มีคนหลายคนที่ศึกษาและรวบรวมความคิดของเขาออกมาเป็นหมวดหมู่เป็นระบบ และกลายเป็นหนังสือแนวทางหรือกลยุทธ์การลงทุน “แบบบัฟเฟตต์” ซึ่งแน่นอน มีหลายเวอร์ชั่น แล้วแต่ว่าใครจะมองอย่างไร อย่างไรก็ตาม ถ้าตัดเรื่องของการเขียนเป็นรูปเล่มที่ต้องมีการพรรณนาเรืองราวต่าง ๆ ที่ยืดยาวออกไป เราก็พอจะหาแนวคิดที่เป็น “แก่น” จริง ๆ ของบัฟเฟตต์ได้จากคำกล่าวหรือข้อคิดสำคัญ ๆ ของบัฟเฟตต์ที่พูดไว้ในที่ต่าง ๆ ได้ และต่อไปนี้คือข้อคิดดี ๆ ที่เป็น “สุดยอด” ของบัฟเฟตต์
คำกล่าวที่หนึ่ง ก็คือ “สำหรับเรื่องของการลงทุนแล้ว กฎข้อที่หนึ่งก็คือ อย่าขาดทุน และกฎข้อที่สองก็คือ ให้กลับไปดูกฎข้อที่หนึ่ง” นั่นก็คือ สำหรับบัฟเฟตต์แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการลงทุนก็คือ คุณต้องพยายามอย่าให้ขาดทุน บัฟเฟตต์นั้นไม่เคยพูดถึงว่าเวลาลงทุนเขาคาดว่าจะกำไรเท่าไร กำไรกี่เปอร์เซ็นต์ ซื้อหุ้นแล้วมีโอกาสที่จะหุ้นจะปรับตัวขึ้นไปมากน้อยแค่ไหน พูดง่าย ๆ เขาดูความเสี่ยงที่เป็น Down Side หรือขาลง มากกว่าโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนสูงในด้านขาขึ้นหรือ Up Side เหตุผลสำคัญผมคิดว่าน่าจะอยู่ที่การลงทุนของบัฟเฟตต์ที่เน้นการลงทุนถือหุ้นระยะยาวมาก ดังนั้น หุ้นจะขึ้นหรือเปล่าในเดือนหน้าหรือปีหน้าเขาไม่สนใจ เขาสนใจแต่ว่าในระยะยาวแล้ว หุ้นที่เขาซื้อจะไม่ลดลงอย่างถาวรเนื่องจากผลการดำเนินงานแย่ลง
คำกล่าวที่สอง “เป็นเรื่องที่ดีกว่าที่เราจะซื้อธุรกิจที่ดีสุดยอดในราคาปานกลาง แทนที่จะซื้อธุรกิจปานกลางในราคาที่ดีสุดยอด” ความหมายก็คือ บัฟเฟตต์นั้นไม่เน้นซื้อของถูกหรือซื้อได้ในราคาที่ “ดีสุดยอด” เขาคิดว่าธุรกิจที่ดีสุดยอดนั้น ในระยะยาวแล้วมูลค่าของกิจการก็จะเติบโตขึ้นไปเรื่อย ๆ ดังนั้น ถ้าเราสามารถซื้อได้ในราคาที่เหมาะสม ไม่แพง ราคาหุ้นก็จะปรับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามผลประกอบการของมัน ยิ่งถือนานก็ยิ่งดี ตรงกันข้าม หุ้นของกิจการปานกลางนั้น ผลประกอบการก็มักจะไม่ดีขึ้นเป็นเรื่องเป็นราว ทำให้มูลค่าของกิจการไม่ใคร่เพิ่มขึ้น จริงอยู่ ในวันแรกเราอาจจะซื้อได้ในราคาที่ถูกมาก และก็มีโอกาสที่ราคาของมันจะปรับเพิ่มขึ้นไปเข้าหามูลค่าที่เหมาะสมหรือเข้าหา Intrinsic Value แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน นอกจากนั้น หลังจากที่มันปรับตัวขึ้นไปครั้งเดียวแล้ว ราคาของมันก็อาจจะนิ่งไม่ไปไหนอยู่นานเพราะกิจการไม่ได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ดังนั้น ยิ่งถือนาน ผลตอบแทนก็จะลดลง ซึ่งนำไปสู่ คำกล่าวที่สาม
คำกล่าวที่สาม “เวลาเป็นเพื่อนของธุรกิจที่มหัศจรรย์ แต่เป็นศัตรูของธุรกิจพื้น ๆ” นั่นก็คือ ถ้าเราถือหุ้นของ “ธุรกิจมหัศจรรย์” หรือธุรกิจที่ดีสุดยอด คุณจะอยากถือไว้นานที่สุด ให้เวลากับการลงทุน เพราะยิ่งเวลาผ่านไป กำไรของบริษัทก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในอัตราที่สูงต่อเนื่อง ตรงกันข้าม ธุรกิจพื้น ๆ นั้น ในบางช่วงเช่นช่วงแรก ๆ ราคาอาจจะปรับตัวขึ้นด้วยสาเหตุอะไรบางอย่างซึ่งอาจจะรวมถึงการที่มีคนเห็นว่ามันเป็นหุ้นที่ถูกและเข้ามาซื้อทำให้หุ้นปรับตัวขึ้น แต่เมื่อถือหุ้นนานขึ้นเรื่อย ๆ แต่กำไรของบริษัทและราคาหุ้นกลับไม่ปรับตัวขึ้น ผลก็คือ เมื่อเวลาผ่านไป ผลตอบแทนต่อปีก็จะลดลงเรื่อย ๆ ยิ่งถือนานก็ยิ่งแย่
คำกล่าวที่สี่ “แนวทางของเราก็คือ กำไรจากการไม่มีการเปลี่ยนแปลงแทนที่จะเปลี่ยนแปลง อย่างหมากฝรั่ง Wrigley มันเป็นเรื่องของการไม่เปลี่ยนแปลงที่ดึงดูดใจผม ผมไม่คิดว่ามันจะถูกเปลี่ยนโดยอินเตอร์เน็ต นั่นคือธุรกิจที่ผมชอบ” นั่นก็คือ บัฟเฟตต์ นั้น มองว่าธุรกิจที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปง่ายด้วยปัจจัยอื่นโดยเฉพาะทางด้านของเท็คโนโลยี จะถือว่าเป็นธุรกิจที่สามารถคาดการณ์ผลประกอบการได้ในระยะยาว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญมากสำหรับเขาที่ต้องการลงทุนระยะยาวมากหรือตลอดไป ดังนั้น ถ้าอะไรที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ง่าย เขาก็มักจะหลีกเลี่ยงไม่ลงทุนแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงบางทีอาจจะทำให้บริษัทหนึ่งมีผลประกอบการที่ก้าวกระโดดและทำให้หุ้นปรับตัวขึ้นได้มหาศาลอย่างหุ้นอินเตอร์เน็ตทั้งหลาย อย่างไรก็ตาม กิจการที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายก็มีความเสี่ยงสูงเกินกว่าที่บัฟเฟตต์จะรับได้
คำกล่าวที่ห้า “สิ่งที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นกับเราก็คือ บริษัทที่ยิ่งใหญ่ ประสบกับปัญหาชั่วคราว เราต้องการซื้อมันเมื่อมันอยู่บนโต๊ะผ่าตัด” นี่เป็น “โอกาสทอง” ที่บัฟเฟตต์แสวงหาตลอดมา จากอดีตจะเห็นว่าเขาเคยทำเงินมหาศาลอย่างรวดเร็วจากการซื้อหุ้นของกิจการที่ดีสุดยอดแต่ประสบปัญหาชั่วคราวที่สามารถแก้ไขได้ อาทิเช่นหุ้นของอเมริกันเอ็กซเพรส หุ้นโค๊ก และหุ้นอีกหลายตัวในช่วงที่เกิดวิกฤติซับไพร์มในอเมริกา
คำกล่าวที่หก “นานมาแล้ว เซอร์ไอแซ็คนิวตันให้กฎ 3 ข้อของการเคลื่อนที่ของวัตถุซึ่งเป็นผลงานที่เป็นอัจฉริยะ แต่ความสามารถของนิวตันไม่คลุมไปถึงเรื่องการลงทุน เขาขาดทุนมากมายในวิกฤติการณ์ฟองสบู่เซ้าท์ซี เขากล่าวภายหลังว่า ‘ผมสามารถคำนวณการเคลื่อนไหวของดวงดาวได้ แต่ผมไม่สามารถคำนวณความบ้าคลั่งของคน’ ถ้าเขาไม่ถูกทรมานจากการขาดทุนในครั้งนั้นมากเกินไป เขาคงได้ค้นพบกฎข้อที่สี่ของการเคลื่อนไหว นั่นคือ ‘สำหรับนักลงทุนโดยรวม ผลตอบแทนลดลงเมื่อมีการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น’ ”ง ความหมายของคำกล่าวนี้ก็คือ บัฟเฟตต์มองว่า ยิ่งเราซื้อขายหุ้นมากขึ้น เราก็จะต้องเสียต้นทุนค่าคอมมิชชั่นเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับส่วนต่างราคาซื้อราคาขาย และอาจจะเกิดความผิดพลาดในด้านของจังหวะการซื้อขาย ทั้งหมดนั้นทำให้ยิ่งเทรดหุ้นมาก ผลตอบแทนก็ยิ่งลดลง
คำกล่าวสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ บัฟเฟตต์บอกว่า “เหนือสิ่งอื่นใด คุณจะพบว่าใครว่ายน้ำล่อนจ้อนก็ต่อเมื่อกระแสน้ำลดลง” ความหมายก็คือ การที่จะดูว่าใครมีฝีมือในการลงทุนจริง ๆ หรือหลักการลงทุนแบบไหนได้ผลในระยะยาวจริง ๆ นั้น เราจะต้องดูตอนที่ตลาดหลักทรัพย์ตกต่ำหรือซบเซาลงมาก ๆ เพราะนั่นคือเวลาที่จะพิสูจน์ว่ากลยุทธ์การลงทุนใช้ได้ผลจริง เพราะในยามที่ตลาดดีหรือช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นโดดเด่นเป็นกระทิงนั้น กลยุทธ์หลาย ๆ แบบอาจให้ผลดีหรือแม้แต่ดีกว่ากลยุทธ์ที่กูรูระดับโลกใช้กัน แต่ในยามที่ตลาดตกต่ำ กลยุทธ์นั้นอาจจะทำให้ขาดทุนมหาศาลและทำให้ผลตอบแทนโดยรวมระยะยาวกลับแย่ลงหรือไม่ดีอย่างที่คิด
ทั้งหมดนั้นก็เป็นเพียงบางส่วนของ “อัจฉริยะ” ของบัฟเฟตต์ ที่ได้ผ่านการทดสอบมาต่อเนื่องยาวนานคิดแล้วน่าจะถึงห้าสิบปีที่เขาลงทุนมา อย่างไรก็ตาม เขาบอกว่า “คนชอบอ้างอิงความคิดของเรา แต่น้อยคนที่จะปฏิบัติตามแนวทางการลงทุนที่เราทำ” และนี่ก็คงเป็นเรื่องธรรมชาติของคน หลักการลงทุนแบบบัฟเฟตต์นั้น มันฝืนความรู้สึกของคนที่มักจะชอบ “ทำอะไรบางอย่าง” การซื้อแล้วถือหุ้นไว้เฉย ๆ แบบบัฟเฟตต์นั้น ไม่ใช่เรื่องทำได้ง่าย
from: settrade
คำกล่าวที่หนึ่ง ก็คือ “สำหรับเรื่องของการลงทุนแล้ว กฎข้อที่หนึ่งก็คือ อย่าขาดทุน และกฎข้อที่สองก็คือ ให้กลับไปดูกฎข้อที่หนึ่ง” นั่นก็คือ สำหรับบัฟเฟตต์แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการลงทุนก็คือ คุณต้องพยายามอย่าให้ขาดทุน บัฟเฟตต์นั้นไม่เคยพูดถึงว่าเวลาลงทุนเขาคาดว่าจะกำไรเท่าไร กำไรกี่เปอร์เซ็นต์ ซื้อหุ้นแล้วมีโอกาสที่จะหุ้นจะปรับตัวขึ้นไปมากน้อยแค่ไหน พูดง่าย ๆ เขาดูความเสี่ยงที่เป็น Down Side หรือขาลง มากกว่าโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนสูงในด้านขาขึ้นหรือ Up Side เหตุผลสำคัญผมคิดว่าน่าจะอยู่ที่การลงทุนของบัฟเฟตต์ที่เน้นการลงทุนถือหุ้นระยะยาวมาก ดังนั้น หุ้นจะขึ้นหรือเปล่าในเดือนหน้าหรือปีหน้าเขาไม่สนใจ เขาสนใจแต่ว่าในระยะยาวแล้ว หุ้นที่เขาซื้อจะไม่ลดลงอย่างถาวรเนื่องจากผลการดำเนินงานแย่ลง
คำกล่าวที่สอง “เป็นเรื่องที่ดีกว่าที่เราจะซื้อธุรกิจที่ดีสุดยอดในราคาปานกลาง แทนที่จะซื้อธุรกิจปานกลางในราคาที่ดีสุดยอด” ความหมายก็คือ บัฟเฟตต์นั้นไม่เน้นซื้อของถูกหรือซื้อได้ในราคาที่ “ดีสุดยอด” เขาคิดว่าธุรกิจที่ดีสุดยอดนั้น ในระยะยาวแล้วมูลค่าของกิจการก็จะเติบโตขึ้นไปเรื่อย ๆ ดังนั้น ถ้าเราสามารถซื้อได้ในราคาที่เหมาะสม ไม่แพง ราคาหุ้นก็จะปรับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามผลประกอบการของมัน ยิ่งถือนานก็ยิ่งดี ตรงกันข้าม หุ้นของกิจการปานกลางนั้น ผลประกอบการก็มักจะไม่ดีขึ้นเป็นเรื่องเป็นราว ทำให้มูลค่าของกิจการไม่ใคร่เพิ่มขึ้น จริงอยู่ ในวันแรกเราอาจจะซื้อได้ในราคาที่ถูกมาก และก็มีโอกาสที่ราคาของมันจะปรับเพิ่มขึ้นไปเข้าหามูลค่าที่เหมาะสมหรือเข้าหา Intrinsic Value แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน นอกจากนั้น หลังจากที่มันปรับตัวขึ้นไปครั้งเดียวแล้ว ราคาของมันก็อาจจะนิ่งไม่ไปไหนอยู่นานเพราะกิจการไม่ได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ดังนั้น ยิ่งถือนาน ผลตอบแทนก็จะลดลง ซึ่งนำไปสู่ คำกล่าวที่สาม
คำกล่าวที่สาม “เวลาเป็นเพื่อนของธุรกิจที่มหัศจรรย์ แต่เป็นศัตรูของธุรกิจพื้น ๆ” นั่นก็คือ ถ้าเราถือหุ้นของ “ธุรกิจมหัศจรรย์” หรือธุรกิจที่ดีสุดยอด คุณจะอยากถือไว้นานที่สุด ให้เวลากับการลงทุน เพราะยิ่งเวลาผ่านไป กำไรของบริษัทก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในอัตราที่สูงต่อเนื่อง ตรงกันข้าม ธุรกิจพื้น ๆ นั้น ในบางช่วงเช่นช่วงแรก ๆ ราคาอาจจะปรับตัวขึ้นด้วยสาเหตุอะไรบางอย่างซึ่งอาจจะรวมถึงการที่มีคนเห็นว่ามันเป็นหุ้นที่ถูกและเข้ามาซื้อทำให้หุ้นปรับตัวขึ้น แต่เมื่อถือหุ้นนานขึ้นเรื่อย ๆ แต่กำไรของบริษัทและราคาหุ้นกลับไม่ปรับตัวขึ้น ผลก็คือ เมื่อเวลาผ่านไป ผลตอบแทนต่อปีก็จะลดลงเรื่อย ๆ ยิ่งถือนานก็ยิ่งแย่
คำกล่าวที่สี่ “แนวทางของเราก็คือ กำไรจากการไม่มีการเปลี่ยนแปลงแทนที่จะเปลี่ยนแปลง อย่างหมากฝรั่ง Wrigley มันเป็นเรื่องของการไม่เปลี่ยนแปลงที่ดึงดูดใจผม ผมไม่คิดว่ามันจะถูกเปลี่ยนโดยอินเตอร์เน็ต นั่นคือธุรกิจที่ผมชอบ” นั่นก็คือ บัฟเฟตต์ นั้น มองว่าธุรกิจที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปง่ายด้วยปัจจัยอื่นโดยเฉพาะทางด้านของเท็คโนโลยี จะถือว่าเป็นธุรกิจที่สามารถคาดการณ์ผลประกอบการได้ในระยะยาว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญมากสำหรับเขาที่ต้องการลงทุนระยะยาวมากหรือตลอดไป ดังนั้น ถ้าอะไรที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ง่าย เขาก็มักจะหลีกเลี่ยงไม่ลงทุนแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงบางทีอาจจะทำให้บริษัทหนึ่งมีผลประกอบการที่ก้าวกระโดดและทำให้หุ้นปรับตัวขึ้นได้มหาศาลอย่างหุ้นอินเตอร์เน็ตทั้งหลาย อย่างไรก็ตาม กิจการที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายก็มีความเสี่ยงสูงเกินกว่าที่บัฟเฟตต์จะรับได้
คำกล่าวที่ห้า “สิ่งที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นกับเราก็คือ บริษัทที่ยิ่งใหญ่ ประสบกับปัญหาชั่วคราว เราต้องการซื้อมันเมื่อมันอยู่บนโต๊ะผ่าตัด” นี่เป็น “โอกาสทอง” ที่บัฟเฟตต์แสวงหาตลอดมา จากอดีตจะเห็นว่าเขาเคยทำเงินมหาศาลอย่างรวดเร็วจากการซื้อหุ้นของกิจการที่ดีสุดยอดแต่ประสบปัญหาชั่วคราวที่สามารถแก้ไขได้ อาทิเช่นหุ้นของอเมริกันเอ็กซเพรส หุ้นโค๊ก และหุ้นอีกหลายตัวในช่วงที่เกิดวิกฤติซับไพร์มในอเมริกา
คำกล่าวที่หก “นานมาแล้ว เซอร์ไอแซ็คนิวตันให้กฎ 3 ข้อของการเคลื่อนที่ของวัตถุซึ่งเป็นผลงานที่เป็นอัจฉริยะ แต่ความสามารถของนิวตันไม่คลุมไปถึงเรื่องการลงทุน เขาขาดทุนมากมายในวิกฤติการณ์ฟองสบู่เซ้าท์ซี เขากล่าวภายหลังว่า ‘ผมสามารถคำนวณการเคลื่อนไหวของดวงดาวได้ แต่ผมไม่สามารถคำนวณความบ้าคลั่งของคน’ ถ้าเขาไม่ถูกทรมานจากการขาดทุนในครั้งนั้นมากเกินไป เขาคงได้ค้นพบกฎข้อที่สี่ของการเคลื่อนไหว นั่นคือ ‘สำหรับนักลงทุนโดยรวม ผลตอบแทนลดลงเมื่อมีการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น’ ”ง ความหมายของคำกล่าวนี้ก็คือ บัฟเฟตต์มองว่า ยิ่งเราซื้อขายหุ้นมากขึ้น เราก็จะต้องเสียต้นทุนค่าคอมมิชชั่นเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับส่วนต่างราคาซื้อราคาขาย และอาจจะเกิดความผิดพลาดในด้านของจังหวะการซื้อขาย ทั้งหมดนั้นทำให้ยิ่งเทรดหุ้นมาก ผลตอบแทนก็ยิ่งลดลง
คำกล่าวสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ บัฟเฟตต์บอกว่า “เหนือสิ่งอื่นใด คุณจะพบว่าใครว่ายน้ำล่อนจ้อนก็ต่อเมื่อกระแสน้ำลดลง” ความหมายก็คือ การที่จะดูว่าใครมีฝีมือในการลงทุนจริง ๆ หรือหลักการลงทุนแบบไหนได้ผลในระยะยาวจริง ๆ นั้น เราจะต้องดูตอนที่ตลาดหลักทรัพย์ตกต่ำหรือซบเซาลงมาก ๆ เพราะนั่นคือเวลาที่จะพิสูจน์ว่ากลยุทธ์การลงทุนใช้ได้ผลจริง เพราะในยามที่ตลาดดีหรือช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นโดดเด่นเป็นกระทิงนั้น กลยุทธ์หลาย ๆ แบบอาจให้ผลดีหรือแม้แต่ดีกว่ากลยุทธ์ที่กูรูระดับโลกใช้กัน แต่ในยามที่ตลาดตกต่ำ กลยุทธ์นั้นอาจจะทำให้ขาดทุนมหาศาลและทำให้ผลตอบแทนโดยรวมระยะยาวกลับแย่ลงหรือไม่ดีอย่างที่คิด
ทั้งหมดนั้นก็เป็นเพียงบางส่วนของ “อัจฉริยะ” ของบัฟเฟตต์ ที่ได้ผ่านการทดสอบมาต่อเนื่องยาวนานคิดแล้วน่าจะถึงห้าสิบปีที่เขาลงทุนมา อย่างไรก็ตาม เขาบอกว่า “คนชอบอ้างอิงความคิดของเรา แต่น้อยคนที่จะปฏิบัติตามแนวทางการลงทุนที่เราทำ” และนี่ก็คงเป็นเรื่องธรรมชาติของคน หลักการลงทุนแบบบัฟเฟตต์นั้น มันฝืนความรู้สึกของคนที่มักจะชอบ “ทำอะไรบางอย่าง” การซื้อแล้วถือหุ้นไว้เฉย ๆ แบบบัฟเฟตต์นั้น ไม่ใช่เรื่องทำได้ง่าย
from: settrade