Pages

Pages

07 ตุลาคม 2556

คัมภีร์นักลงทุนหน้าใหม่

ตอนผมเริ่มต้นชีวิตนักลงทุนใหม่ๆเคยฝันว่าอยากจะมี “เซียนหุ้น” เก่งๆคอยให้คำแนะนำ คล้ายๆกับนักกีฬาที่ต้องการโค้ช มาคอยช่วยให้คำแนะนำในการฝึก คอยบอกเราว่าต้องระวังอะไร ต้องศึกษาเรื่องอะไร และอะไรเป็นปัจจัยของความสำเร็จในอาชีพของเรา
วันนี้ผมโชคดีที่ได้รู้จักกับอาจารย์ นักลงทุนรุ่นพี่ รุ่นน้องเก่งๆหลายท่านที่คอยให้คำแนะนำอันมีคุณค่ากับผม ทุกครั้งที่มีโอกาสผมก็จะถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นให้กับคนที่สนใจเรียนรู้ แต่ก็ได้เพียงแค่คนหยิบมือเดียวเท่านั้น แถมหลายครั้งก็อาจจะไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ผมก็เลยสรุปแนวคิดจากประสบการณ์ส่วนตัวและที่รับการถ่ายทอดมาให้ออกมาเป็น “คู่มือสำหรับผู้เริ่มต้นการลงทุน” และหวังว่าคำแนะนำที่ผมเคยอยากได้มากๆตอนเริ่มต้นเส้นทางลงทุนนี้ จะถูกถ่ายทอดให้คนไทยได้อ่านมากที่สุด เท่าที่จะมากได้
(ถึงแม้บทความนี้จะถูกเขียนมาเพื่อ “มือใหม่” แต่ผมเชื่อว่า “มือเก๋า” หลายๆคนน่าจะได้มุมมองและแง่คิดอะไรดีๆกลับไปครับ)
8 ข้อคิดเพื่อชีวิตการลงทุนที่ประสบความสำเร็จ
ข้อ 1: ก่อนจะเริ่มลงทุน เราต้องมีทักษะในการบริหารเงินที่ดีก่อน
ก่อนที่จะถามว่า “ซื้อหุ้นตัวไหนดี?” เราควรจะตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่า
   ตอน นี้เรามีเงินเก็บเท่าไหร่? ที่ผ่านมาเก็บเงินได้เดือนละกี่บาท? สองคำถามนี้จะตรวจสอบว่าวินัยในการออมของเราเป็นอย่างไร ผมแนะนำให้แยกบัญชีที่ใช้ในการลงทุนออกมาต่างหาก (ห้ามถอนเด็ดขาด) และโอนเงินเข้าบัญชีนั้นด้วยระบบอัตโนมัติทุกๆเดือน ทำอย่างนี้จะช่วยให้เราสามารถตรวจสอบผลการดำเนินงานของเราได้ง่าย และเป็นการสร้างนิสัยในการออมที่มีประโยชน์มากๆในระยะยาว
   การลงทุน มีความหมายต่อเราอย่างไร? เพื่ออิสระทางการเงิน? เพื่อที่จะได้ลาออกจากงานที่ “ไม่ชอบ” ไปทำงานที่ “รัก”? เพื่อที่จะมีเวลาให้ครอบครัวมากขึ้น? เหตุผลที่คุณค่าเพียงพอจะทำให้เราทุ่มเทและมุ่งมั่นมากขึ้น
   เป้า หมายในการลงทุนคืออะไร? เขียนออกมาให้ชัดเจนพร้อมทั้งกำหนดเงื่อนเวลา เป้าหมายที่ท้าทายจะทำให้เรามุ่งมั่นและสนุกกับการเดินทางมากขึ้น อาจารย์นิเวศน์เคยตั้งเป้าไว้ว่าจะมีเงิน 1,000 ล้านก่อนอายุ 70 ปีแต่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ก่อนเกือบ 10 ปี สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นเลยถ้าเราไม่มีเป้าหมายที่ดี
   เรามีความ รู้ความเข้าใจในการลงทุนมากน้อยแค่ไหน? มีเวลาในการดูแลจัดการเงินของเราแค่ไหน? เรายอมรับความเสี่ยงได้มากหรือน้อย? สามคำถามนี้จะกำหนดแนวทางในการลงทุนของเรา ถ้าเรายังไม่ค่อยเข้าใจการลงทุนเท่าไหร่ การเริ่มต้นด้วยเงินน้อยๆอาจจะเป็นกลยุทธ์ที่ดีกว่า ถ้าเราไม่มีเวลาการซื้อกองทุนรวมอาจจะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า
คำถาม เหล่านี้จะช่วยปูพื้นฐานในการลงทุนให้เรา การเริ่มต้นลงทุนโดยไม่มีการบริหารเงินที่ดีเปรียบเสมือนกับการสร้างบ้านโดย ไม่ได้ตอกเสาเข็ม ปีแรกๆอาจจะยังดูดี แต่ถ้าเกิดมีปัญหาขึ้นมาจะแก้ไขได้ยากมากครับ (ถ้าบ้านไม่พังครืนไปซะก่อน)
ข้อ 2: มีทัศนคติเกี่ยวกับการลงทุนที่ถูกต้อง
ผมขอรวบรวมหลักคิดที่เป็นประโยชน์เท่าที่พอนึกออกให้อ่านครับ
   ”การ ซื้อหุ้น” ไม่ต่างอะไรกับการ “ร่วมลงทุน” กับเพื่อนหรือญาติของเรา เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราควรให้ความสนใจไม่ใช่แค่ราคา แต่เป็นการเติบโต (และความสม่ำเสมอ) ของผลตอบแทนที่ได้รับจากธุรกิจนั้นๆ
   การคาดเดาตลาดของตลาดเป็นสิ่งที่ทำเงินได้ยาก และการหาเงินจากการคาดเดานั้นทำได้ยากกว่า
   การซื้อขายหุ้นบ่อยๆอาจจะทำให้ผลตอบแทนในการลงทุนลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ
   การลงทุนไม่ใช่การว่ิงแข่ง 100 เมตรแต่เป็นการวิ่งมาราธอน
   สิ่งที่คนส่วนมากทำไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเสมอไป
   ราคาหุ้นอาจจะผันผวนไปตามอารมณ์ของตลาดได้ในระยะสั้น แต่สุดท้ายแล้วราคาหุ้นในระยะยาวจะสะท้อนผลประกอบการของธุรกิจ
   การซื้อหุ้นตามเซียนไม่ได้ทำให้คุณเป็น “เซียนหุ้น”
   ”ซื้อตัวไหน?” ไม่สำคัญเท่า “ซื้อเพราะอะไร?”
   ”โชค” อาจจะมีผลต่อผลตอบแทนของพอร์ตในระยะสั้นๆ แต่ในระยะยาวๆ “ฝึมือ” และ “ความทุ่มเท” จะกำหนดชะตาชีวิตของคุณ
ข้อ 3: เข้าใจหลักของดอกเบี้ยทบต้น
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยบอกไว้ว่า “ดอกเบี้ยทบต้นเป็นสิ่งมหัศจรรย์ลำดับที่ 8 ของโลก” ถ้าเราอยากจะใช้ประโยชน์จากดอกเบี้ยทบต้น เราต้องเข้าใจก่อนว่าปัจจัยที่จะมีผลต่อมูลค่าของเงินเราในอนาคตมี 3 ข้อ 1. จำนวนเงินที่เรานำมาลงทุน 2. อัตราผลตอบแทน และ 3. ระยะเวลาการลงทุน นักลงทุนทั่วไปมักจะให้ความสนใจว่าพอร์ตใหญ่แค่ไหน หรือจะได้กำไรปีละกี่เปอร์เซ็นต์ แต่จะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับระยะเวลาที่ใช้ในการลงทุนเท่าไหร่นัก นักลงทุนที่เก่งจะสามารถใช้เวลาเป็น “ตัวช่วย” ให้พอร์ตเติบโตได้โดยการเลือกลงทุนในธุรกิจที่สามารถรักษาความแข็งแกร่งได้ ในระยะยาวๆ
ข้อ 4: ต้องเข้าใจธุรกิจที่จะลงทุนอย่างถ่องแท้
บัฟเฟต์ เคยกล่าวไว้ว่า “การเป็นนักธุรกิจที่เก่งจะช่วยให้เราเป็นนักลงทุนที่ดีขึ้นได้” ฉะนั้นนักลงทุนหน้าใหม่คนไหนอยากจะประสบความสำเร็จในฐานะนักลงทุนต้องสามารถ วิเคราะห์กิจการที่เราสนใจให้เหมือนเถ้าแก่ที่กำลังจะลงทุนซื้อธุรกิจ เราต้องมองให้ออกว่าธุรกิจที่เราสนใจอยู่มีรายได้จากไหน? ต้นทุนในการดำเนินงานมาจากอะไร? การแข่งขันเป็นยังไง? มีอะไรที่เราต้องกังวลบ้าง? อะไรคือจุดแข็งหรือจุดอ่อนของธุรกิจ? โอกาสในการเติบโตของธุรกิจอยู่ที่ตรงไหน? จะบริหารเงินสดอย่างไร? จะต้องลงทุนอะไรบ้าง?
การซื้อหุ้นโดยไม่วิเคราะห์ธุรกิจให้ถ่องแท้ก็ เหมือนกับการซื้อบ้านโดยดูแค่ราคา การลงทุนก็ไม่ต่างกันอย่างที่ เบน เกรแฮม อาจารย์ของบัฟเฟต์เคยกล่าวไว้ “ราคาคือส่ิงที่คุณจ่าย คุณค่าคือสิ่งที่คุณได้รับ”
ข้อ 5: ต้องเข้าใจเครื่องมือในการวิเคราะห์ทางการเงินก่อนนำมาใช้
การ เข้าใจเครื่องมือเหล่านี้อย่างครึ่งๆกลางๆอาจจะทำให้เราประสบกับปัญหาได้ ตัวอย่างเช่น P/E หรือ อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น เราต้องเข้าใจว่า P/E ต่ำไม่ได้แปลว่าดีกว่าเสมอไป เราต้องรู้ว่า “กำไรต่อหุ้น” นั้นมีที่มายังไง (ย้อนหลังหรือปีปัจจุบัน เป็นกำไรพิเศษหรือกำไรจากการดำเนินงาน) และปัจจัยใดบ้างที่จะมีผลต่อค่า P/E เหล่านั้น สิ่งเหล่านี้เป็นอะไรที่ซับซ้อนและอาจจะใช้เวลาในการเรียนรู้ซักระยะ แต่ถ้าอยากจะเรียนทางลัดการเข้าอบรมหรือการหาหนังสือดีๆมาอ่านก็จะช่วยได้ ผมอยากให้คอยถามตัวเองทุกครั้งก่อนนำตัวเลขทางการเงินไปใช้ว่า “ตัวเลขนี้จริงๆแล้วคืออะไร?” “มีอะไรซ่อนอยู่ในตัวเลขนี้รึเปล่า?”  “ปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลต่อตัวเลขเหล่านี้?”
ข้อ 6: ต้องรู้จักเรียนรู้และพัฒนาตัวเองตลอดเวลา
พี่ Web พรชัยเคยพูดไว้ว่า “ถ้าไม่อ่าน ถ้าไม่ศึกษา ออกจากตลาดไปเลยดีกว่า” ผมว่าคำพูดนี้ไม่ได้กล่าวเกินจริงเลย เพราะถ้าเราสังเกตดูนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จเกือบทุกคนมีนิสัยเป็นนักอ่านตัวยงทั้งนั้น บัฟเฟต์ ปีเตอร์ ลินช์ เกรแฮม ดร.นิเวศน์ การที่คนเหล่านี้อ่านเยอะก็เพราะเค้าเชื่อว่า “ข้อมูลคือขุมทรัพย์” หน้าที่หลักของนักลงทุนคือการตัดสินใจ และการมีฐานความรู้ที่กว้างและลึกจะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องมาก ขึ้นในระยะยาว
ข้อ 7: ฝึกการควบคุมตนเอง
เนื่องจาก การซื้อขายหุ้นทำได้ง่ายมาก การควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ไม่ไปทำอะไรที่ไม่ควรทำจะมีประโยชน์อย่างมาก การจด Investment Diary (จดบันทึกการลงทุนของเรา ว่าลงทุนตัวไหน เมื่อไหร่ เพราอะไร) การไม่ตามข่าวตามตลาดจนบ่อยเกินไป และการนั่งสมาธิเป็นประจำก็จะช่วยให้เราแยกแยะ “อารมณ์” ออกจาก “เหตุผล” ได้ง่ายขึ้น
(พี่คนขายของเคยแนะนำว่าการนั่งสมาธิวันละ 5 นาทีจะทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนดีขึ้น ผมนำมาลองใช้ดูแล้วพบว่านอกจากจะทำให้เรา “นิ่ง” ขึ้นแล้วยังช่วยให้เราเครียดน้อยลง มีความสุขกับสิ่งรอบตัวได้ง่ายขึ้นด้วยครับ)
ข้อ 8: มีความสุขในการลงทุน
ผม เชื่อว่าถ้าเราได้ทำในสิ่งที่รัก (ฉันทะ หรือ Passion) เราก็จะทำมันอย่างเต็มที่ ตั้งใจ และก็จะทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาดีขึ้น การลงทุนก็ไม่ต่างกัน จะทำผลตอบแทนให้ดีต้องมีความสุขกับการลงทุน แต่นักลงทุนหลายคนกลับมองเพียงว่าจะหาเงินให้ได้เยอะๆอย่างไร แต่สุดท้ายก็ต้องมานั่งเครียดจนไม่มีอันจะกินทุกครั้งเวลาหุ้นที่ซื้อไว้ ปรับตัวลง
ความสุขจากการลงทุนเกิดจากการที่เรามี “แนวทางในการลงทุน” ที่เหมาะกับตัวเรา บางคนชอบความตื่นเต้นเร้าใจก็จะชอบซื้อๆขายๆ บางคนชอบความมั่นคงอาจจะชอบลงทุนในกิจการที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง การได้ลงทุนในแนวทางที่เหมาะกับตัวเองจะช่วยให้เครียดน้อยลง ทำผลงานได้ดีขึ้น และที่สำคัญที่สุด จะทำให้เรามีความสุขในชีวิตมากขึ้น
สุดท้ายแล้วที่เราอยากมีเงินเยอะๆก็เพราะอยากจะมีความสุขไม่ใช่เหรอครับ?
ถ้าใครอ่านแล้วคิดว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ผมก็อยากให้ช่วยกันแชร์ ช่วยกันแบ่งปันให้เพื่อนๆที่สนใจการลงทุนครับ ถ้าใครมีข้อสงสัยอะไรก็โพสถามได้นะครับ ถ้านักลงทุนท่านไหนอยากจะแบ่งปันไอเดียดีๆให้กับน้องๆมือใหม่ในวงการก็เรียน เชิญครับ ถือว่าช่วยๆกันครับ ขอบคุณมากๆครับ

from http://goo.gl/vUR8Zv

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น