แต่ถ้าคนให้เช่ากับเจ้าของเป็นคนละคนกันเมื่อไรก็ไม่ต้องมองตาคุมเชิงว่าจะ ตกได้แก่ใคร กฎหมายท่านกำหนดไว้ว่า เจ้าของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างเป็นผู้รับหน้าที่อันทรงเกียรตินี้ไว้
เจ้าของอาจตกลงกันว่าตึกแถวชุดนี้ฉันให้พี่นำไปหาประโยชน์ได้ แต่ต้องจ่ายภาษีทั้งหลายเอาเอง หรือผู้ให้เช่าอาจผลักภาระนี้ให้กับ คนเช่ารับเหมาไปจ่ายเองก็ได้ หรือถ้าให้เช่าช่วงเป็นทอดต่อลงไป จะตกลงกันให้คนเช่าช่วงเป็นคนจ่ายภาษีส่วนนี้ให้ กฎหมายก็ไม่ว่ากระไรจะตกลงอย่างไรเป็นเรื่องส่วนตัวต่อเมื่อทางการไม่ได้รับ เงินค่าภาษีโรงเรือนตามจำนวนและตามกำหนดที่ออกจดหมายแจ้งไปเมื่อไรนั่นแหละ ถึงจะว่ากล่าวเอาความเราได้เมื่อนั้น
งานนี้คนที่แบกรับเต็มๆคือ เจ้าของโรงเรือน ไม่ว่าคนเช่าลืมจ่ายหรือด้วยเหตุขัดข้องอื่นใด ก็ไม่สามารถโยนกลองโยนลูกอย่างไรให้พ้นตัวได้ เพราะกฎหมายท่านกำหนดคนรับผิดชอบไว้ชัดโดยจัดเอาไว้ให้เป็นหน้าที่ของเจ้า ของโรงเรือนต่อให้มีปัญหากับคนเช่าเพราะเขาผิดสัญญา ไม่เพียงไม่จ่ายค่าภาษีโรงเรือนเท่านั้น ผู้เช่ายังปิดห้องหลบหนีไปไม่ได้ชำระเงินค่าเช่าอีกด้วยก็ตามที ก็ต้องไปทวงหนี้ติดตามกันเอาเอง
ทีนี้รายที่สัญญาเช่าครบกำหนดไปแล้วแต่ไม่ยอมออกไป จนต้องฟ้องร้องขับไล่ค่าเช่าก็ไม่ได้เพราะไม่ได้ให้ใครเช่าต่อ แบบนี้มีสงสัยว่าทำไมยังเรียกเก็บภาษีอีก
เหตุผลก็มีอยู่ว่าถ้ามีสิ่งปลูกสร้างทางการเขาตั้งเป็นหลักเอาไว้ให้ต้อง เสียภาษีโรงเรือนแม้แต่จะเปิดเป็นบริษัทของตัวเองไม่ได้ให้ใครเขาเช่าก็ต้อง จ่ายภาษี เว้นแต่จะเป็นบ้านที่มีไว้อยู่เองหรือปิดตายไว้แต่ให้คนเฝ้า โดยไม่ได้ใช้เป็นที่เก็บสินค้า ก็ได้รับยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้นการที่มีตึกแถวไว้แม้จะไม่ได้คนเช่าใหม่ก็ย่อมต้องเสียภาษีโรงเรือน ต่อไปตามปกติ โดยคำนวณภาษีเอาจากค่ารายปีที่ดูจากเงินที่ควรได้หากจะให้เช่าทรัพย์สินนั้น เป็นเกณฑ์ถ้ามีค่าเช่าก็เอาเป็นหลักคำนวณค่ารายปีได้เลย
บางรายหัวใสจัดสรรสัญญาเช่าโดยเรียกเก็บเงินกินเปล่าก้อนหนึ่ง แล้วเก็บค่าเช่าเดือนละไม่กี่สตางค์ จะได้จ่ายภาษีโรงเรือนตามเงินค่าเช่าที่ใส่ไว้ในสัญญา เป็นเจตนาเลี่ยงภาษีเห็นๆ ทำได้แต่จะรอดหรือไม่อีกเรื่องหนึ่ง
ภาษีแบบนี้เป็นภาษีแบบประเมิน คือพนักงานเจ้าหน้าที่จะเป็นคนประเมินเอาว่าทรัพย์สินนี้น่าจะหาประโยชน์ได้ ปีละเท่าไร ต่อให้เขียนในสัญญาเช่าอย่างไรหากไม่สมเหตุผล เจ้าหน้าที่ก็ประเมินจากฐานที่เห็นว่าสมควรได้ ถ้าไม่ถูกใจก็ต้องอุทธรณ์ฟ้องร้องกันต่อไปอีกยืดยาว
เงินกินเปล่าเหล่านั้นศาลท่านก็ถือว่าเป็นค่าตอบแทนจากการให้เช่าซึ่งนับ เป็นการชำระค่าเช่าล่วงหน้าที่ถูกนำมาคำนวณเป็นค่ารายปีด้วยก็ถือเสียว่า ช่วยชาติช่วยบำรุงท้องถิ่นเข้าไว้ ได้ประโยชน์จากทรัพย์สินก็แบ่งๆ ให้รัฐไป ถ้าไม่อยากสละทรัพย์เพื่อชาติขนาดนั้นก็อ่านข้อยกเว้นของกฎหมายแล้วทำตัวให้ เข้าข่ายในเกณฑ์แล้วกัน
หลักการ และอัตราในการจัดเก็บภาษีโรงเรือน ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ 2475 ให้ผู้รับประเมินชำระภาษีปีละครั้ง ตามค่ารายปีของทรัพย์สิน คือ โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น นั้น ในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี
“ค่ารายปี” หมายความว่า จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นให้เช่า ให้ถือว่าค่าเช่านั้นคือค่ารายปี แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าค่าเช่า นั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้
กรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้ เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินกิจการเอง หรือด้วยเหตุประการอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีได้ โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สินขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนด
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
* ที่ดินให้กินความถึง ทางน้ำ บ่อน้ำ สระน้ำ ฯลฯ
* โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆให้กินความถึงแพด้วย เช่นอาคารพาณิชย์ หอพัก โรงแรม โกดังเก็บสินค้า ฯลฯ
* ให้ผู้รับประเมิน ยื่นแบบพิมพ์เพื่อแจ้งรายการทรัพย์สิน (ภ.ร.ด. 2) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่ซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ ตั้งแต่เดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ ของทุกปี
* ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินไปชำระต่อพนักงานจัดเก็บภาษีภายใน 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน (ภ.ร.ด.)
* การชำระภาษีให้ถือว่าได้มีการชำระแล้วในวันที่พนักงานจัดเก็บภาษีได้ลงลายมือชื่อในใบเสร็จรับเงิน (ภ.ร.ด. 12)
เอกสารที่ต้องนำมาเสียภาษี
1.ถ้าเป็นผู้เช่าอยู่ให้นำสำเนาเอกสารสัญญาการเช่ามาด้วยจำนวน 1 ฉบับ
2.สำเนาใบเสร็จรับเงินของ อบต.หรือเทศบาล ปีที่ผ่านมา(ถ้ามี)
ภาษีป้าย
ภาษีป้าย
อัตตราภาษีป้ายแบ่งดังนี้
1. ป้ายที่มีอักษรไทยล้วนให้คิดอัตตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศหรือปนกับภาพและหรือเครื่องหมายอื่นๆ ให้คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
3. ป้ายดังต่อไปนี้ให้คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
ก. ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดๆหรือไม่
ข. ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
4. ป้ายตาม (1) (2) หรือ (3) เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้วมีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ200บาท
from http://www.umarin.com/board/index.php?topic=469.0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น