ในสภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวอย่างหนัก ส่งผลกระทบไปถึงตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาตามไปด้วย เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งเข้มงวดมากขึ้นที่จะปล่อยสินเชื่อบ้าน ทำให้ผู้ที่ต้องการจะซื้อบ้าน กู้ไม่ผ่านกันมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงต้องหาทางกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ด้วยการผ่อนปรนเงื่อนไขการขอกู้ซื้อบ้าน เพื่อให้ประชาชนสามารถกู้ซื้อบ้านได้ง่ายขึ้น นั่นจึงเป็นที่มาของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 13 ตุลาคม 2558 ที่ออก 3 มาตรการเด็ด เพื่ออุ้มภาคอสังหาริมทรัพย์ให้อยู่รอด ดังนี้
1. เพิ่มวงเงินกู้ซื้อบ้านพร้อมอัตราดอกเบี้ยพิเศษ
รัฐบาลได้อนุมัติวงเงินเบื้องต้น 10,000 ล้านบาท เพื่อให้ผู้ที่ถูกปฏิเสธการขอกู้ซื้อบ้านจากธนาคารพาณิชย์ สามารถขอกู้กับธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้ ซึ่งภายหลัง ธอส. ก็รับลูก ด้วยการออกมาตรการผ่อนปรนเงื่อนไขการขอสินเชื่อบ้านให้ผู้ที่มีรายได้น้อย-ปานกลางมากขึ้น โดยพิจารณาสัดส่วนความสามารถชำระหนี้ต่อรายได้เพิ่มขึ้น จากเดิมอยู่ที่ 33% เป็น 40-50% ของรายได้สุทธิต่อเดือน นั่นจึงทำให้ผู้ที่มีรายได้ไม่ถึง 30,000 บาทต่อเดือน สามารถกู้ซื้อบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทได้ (จากเดิมกู้ซื้อบ้านได้เพียงราคาไม่เกิน 1.8 ล้านบาท)
เปรียบเทียบวงเงินกู้สินเชื่อบ้านธนาคารอาคารสงเคราะห์
โดยคิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านดังนี้
และเมื่อคำนวณออกเป็นงวดผ่อนต่อเดือน ตามวงเงินกู้และรายได้สุทธิแล้ว จะได้ค่างวดผ่อนดังนี้
ภาพจาก ธนาคารอาคารสงเคราะห์
2. ลดค่าธรรมเนียมการโอนและจำนองเป็นเวลา 6 เดือน
สำหรับมาตรการนี้จะเป็นการลดการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอน จาก 2% ของราคาประเมินทุนทรัพย์ในกรณีการโอน เหลือ 0.01% รวมทั้งลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์และห้องชุด จากเดิม 1% เหลือ 0.01% ของมูลค่าที่จำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งจะมีผลเพียงแค่ 6 เดือน คือถึงวันที่ 30 เมษายน 2559
3. ซื้อบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท สามารถหักลดหย่อนภาษีได้
สำหรับผู้ที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด ในราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท สามารถนำเอา 20% ของราคาบ้าน ไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้เป็นเวลา 5 ปี โดยมีเงื่อนไขการหักลดหย่อนภาษีคือ
ทั้งนี้หากนำมาเฉลี่ยคิดเป็นรายปีของมูลค่าบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท จะลดหย่อนได้ถึง 6 แสนบาท หรือปีละ 120,000 บาท เท่ากับผ่อนบ้านราคา 3 ล้านบาท ในราคา 2,400,000 บาทเท่านั้น และถ้ารวมกับมาตรการลดหย่อนภาษีจากภาระดอกเบี้ยเงินกู้บ้านที่ปัจจุบันได้ปีละไม่เกิน 1 แสนบาทอยู่แล้ว ก็เท่ากับได้สิทธิประโยชน์เป็น 2 เท่าจากการลดหย่อนครั้งใหม่นี้เข้าไปด้วย
นอกจาก 3 มาตรการที่ใช้กระตุ้นอสังหาฯ ที่กล่าวมาข้างต้น กระทรวงการคลังก็ยังมีมาตรการเพิ่มเติมอีกด้วยการให้ธนาคารออมสินพิจารณาปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายย่อย เพื่อเป็นการส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ให้กลับมาขยายตัวได้ เพราะเชื่อว่า หากตลาดอสังหาริมทรัพย์สามารถขยายตัวได้มากขึ้น ก็จะช่วยฉุดภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาให้กลับมาคึกคักได้
การอัดฉีดเงินเข้าระบบกว่าหมื่นล้านด้วยมาตรการต่าง ๆ นั้น ย่อมส่งเเรงกระเพื่อมไปถึงภาคเอกชน ธนาคารพาณิชย์ และผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ที่จะออกมารับลูก ทำโปรโมชั่นเพื่อแข่งขัน ล่อใจลูกค้า หวังให้ตัวเองได้ส่วนแบ่งของตลาดอสังหาฯ ตามไปด้วย ทำให้ผู้ที่ได้ประโยชน์ไปเต็ม ๆ คือประชาชนที่มีรายได้น้อย มีโอกาสกู้บ้านผ่านมากขึ้นและสมหวังกับการมีบ้านเป็นของตัวเองได้
แต่คงต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิดว่า หากมีปัจจัยทางเศรษฐกิจอื่นที่ไม่สามารถทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อ หรือผ่อนชำระบ้านที่ซื้อไปได้ มาตรการดังกล่าวจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงอยู่หรือไม่ หรือจะยิ่งทำให้รัฐขาดทุนเพิ่มมากขึ้น และกลายเป็นการเพิ่มหนี้ครัวเรือน เพิ่มภาระให้กับประชาชนแทน
***หมายเหตุ : อัพเดทข้อมูลล่าสุดเมื่อเวลา 12.12 น. วันที่ 21 ตุลาคม 2558
ที่มา: http://money.kapook.com/view131907.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น