Pages

Pages

25 พฤศจิกายน 2558

ซินแสหวาง​ - สรุปอุปนิสัยของคนปีเกิด 12 นักษัตรและ 5 ธาตุ




ปีชวด (ปีหนู): http://goo.gl/fA8bYu

ปีฉลู (ปีวัว): http://goo.gl/C6RCgS

ปีขาล (ปีเสือ): http://goo.gl/7Yy91f

ปีเถาะ (ปีกระต่าย): http://goo.gl/p0yvdg

ปีมะโรง (ปีมังกร): http://goo.gl/VMHyXE

ปีมะเส็ง (ปีงู): http://goo.gl/x2eTGK

ปีมะเมีย (ปีม้า): http://goo.gl/li8VHh

ปีมะแม (ปีแพะ): http://goo.gl/IkToUV

ปีวอก (ปีลิง): http://goo.gl/Q6xQiJ

ปีระกา (ปีไก่): http://goo.gl/Owhf6Q

ปีจอ (ปีสุนัข): http://goo.gl/MI9m74

ปีกุน (ปีหมู): http://goo.gl/0Z8NOJ



ที่​มา​ ​http://www.sinsaehwang.com

18 พฤศจิกายน 2558

การคำนวณภาษีเงินได้ สำหรับเงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ตอน..เมื่อถึงเวลายื่นภาษีประจำปี (2 มี.ค. 50)



สวัสดีค่ะ.. ผู้ที่ติดตามอ่านสรรหามาเล่าทุกท่าน ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการยื่นแบบชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีแล้วนะ คะ  เชื่อว่าทุกท่านคงจะได้รับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายกันครบถ้วนแล้วใช่ไหมคะ และนั่นหมายความว่าเราพร้อมที่จะยื่นแบบชำระภาษีกันได้แล้วล่ะค่ะ สรรหามาเล่าฉบับนี้ขอนำสาระเกี่ยวกับภาระภาษีของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มาเล่าให้ฟังแบบทุกแง่ทุกมุมเลยค่ะ



สำหรับท่านที่ยังเป็นสมาชิกอยู่ในกองทุน  ท่านสามารถนำเงินที่จ่ายสะสมเข้ากองทุนในปีนั้นมาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษี  แต่หากสมาชิกมีการลงทุนใน  RMF ด้วย เงินที่ได้รับยกเว้นทั้งสองกองทุนรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทค่ะ



สำหรับท่านที่สิ้นสมาชิกภาพและได้รับเงินจากกองทุน ลองพิจารณาดูว่าท่านตรงกับกรณีใดใน 3 กรณีดังนี้



กรณีแรก ถ้าท่านลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงาน  ให้ท่านนำเงินที่ได้รับจากกองทุนเฉพาะส่วนที่เป็นเงินสมทบ ผลประโยชน์ของเงินสะสม และผลประโยชน์ของเงินสมทบไปรวมคำนวณกับเงินได้ทุกประเภทเพื่อชำระภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาประจำปี โดยเงินได้สุทธิจำนวน 150,000 บาทแรกได้รับยกเว้นภาษี



กรณีที่สอง ถ้าท่านลาออกจากงาน ให้ดูว่าท่านมีระยะเวลาทำงานกี่ปี หากท่านมีระยะเวลาทำงานน้อยกว่า 5 ปี ท่านมีหน้าที่เสียภาษีเช่นเดียวกับกรณีแรก  หรือถ้าท่านมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ท่าน สามารถเลือกเสียภาษีโดยนำเงินที่ได้รับจากกองทุนไปรวมคำนวณกับเงินได้ทุก ประเภทเพื่อชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีเช่นเดียวกับกรณีแรก หรือจะไม่นำไปรวมคำนวณกับเงินได้ประเภทอื่นก็ได้

ซึ่งหากท่านไม่นำไปรวมคำนวณ ให้นำเงินที่ได้รับจากกองทุนเฉพาะส่วนที่เป็นเงินสมทบ ผลประโยชน์ของเงินสะสม และผลประโยชน์ของเงินสมทบไปคำนวณภาษี โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้เท่ากับ 7,000 บาท คูณจำนวนปีที่ทำงาน เหลือเท่าใดหักได้อีกร้อยละ 50 แล้วคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

แต่มีข้อสังเกตว่าการคำนวณภาษีในกรณีนี้จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ สุทธิจำนวน 150,000 บาทแรก และอย่าลืมกรอกใบแนบ ภงด. 91 หรือ 90 ตามแบบของกรมสรรพากรด้วย ท่านที่ไม่คุ้นเคยกับใบแนบ ลองเข้าไปดูได้ตาม ลิงค์ นี้ได้ค่ะ การกรอกใบแนบก็เพื่อให้สรรพากรทราบว่าท่านเลือกใช้สิทธิแยกคำนวณภาษีค่ะ



กรณีที่สาม ถ้า ท่านเกษียณอายุ  ให้ดูว่าท่านเป็นสมาชิกกองทุนกี่ปี หากเป็นสมาชิกกองทุนน้อยกว่า 5 ปี  เงินที่ท่านได้รับจากกองทุนไม่เข้าข่ายได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี จึงต้องเสียภาษีเช่นเดียวกับกรณีแรก หรือถ้าท่านเป็นสมาชิกกองทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ให้ดูเพิ่มเติมว่าท่านมีอายุขณะเกษียณตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไปหรือไม่ เพราะ เงินที่ได้รับจากกองทุนจะได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวนหากท่านเป็นสมาชิกกองทุน ตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป และมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์



สำหรับท่านที่อยากทราบจำนวนภาษีที่ต้องชำระ  ลองเข้าโปรแกรมช่วยคำนวณภาษีที่อยู่บนเว็บไซต์ thaipvd.com ดูก็ได้ค่ะ

สำหรับท่านที่ลาออกจากงานโดยขอคงเงินไว้ในกองทุนเดิมเพื่อรอโอนย้ายไปเข้ากองทุนของนายจ้างรายใหม่ กรณีนี้ท่านไม่มีเงินได้เกิดขึ้น  จึงยังไม่มีหน้าที่ยื่นแบบชำระภาษีจากเงินจำนวนดังกล่าว

อย่างไรก็ดี หากครบ 1 ปีแล้วยังไม่มาแจ้งว่าให้โอนเงินดังกล่าวไปเข้ากองทุนใหม่  ท่านต้องรับเงินออกจากกองทุนและมีหน้าที่ชำระภาษีจากเงินจำนวนดังกล่าว ส่วนวิธีคำนวณจะเป็นอย่างไร ต้องพิจารณาว่าท่านมีอายุงานกี่ปี โดยพิจารณาแบบเดียวกันกับกรณีที่สอง

ถึงตอนนี้ท่านคงพร้อมที่จะยื่นแบบชำระภาษีกันแล้วใช่ไหมคะ   สรรหามาเล่าจะเสนอสาระเรื่องภาษีของสมาชิกกองทุนที่เกษียณแล้วแต่ได้รับการว่าจ้างให้ทำงานต่อมาเล่าให้ฟังในฉบับต่อๆไป  ติดตามอ่านให้ได้นะคะ.. แล้วพบกันใหม่ สวัสดีค่ะ

ผมเองมีประสบการณ์ในเรื่องนี้ และก็เคยสอบถามถึงการเสียภาษีไปทาง TISCO (ที่ทำงานเก่าใช้ของที่นี่) ซึ่งก็เป็นไปตามบทความ เนื่องจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินที่หักจากการทำงานบริษัท ถ้าท่านลาออกจากงาน ก็ต้องลาออกจากกองทุนโดยปริยาย แต่ทั้งนี้ท่านสามารถโอนย้ายกองทุนได้ภายใน 1 ปี

Kiatchai Accounting & Payroll รับทำเงินเดือน รับทำบัญชี ในราคาไม่แพง

หมายเหตุ ในส่วนที่เป็นสีแดงคือส่วนที่ผมแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายที่ปรับปรุงในปี 2551

ที่มาบทความ..http://www.thaipvd.com/thaipvd_v3/sunha/article05-50.shtml



ตัวอย่างการการคำนวณภาษี

กรณีที่หนึ่ง ลาออกจากงานและมีอายุงานน้อยกว่า 5 ปี

กรณีนี้จะไม่ได้รับการยกเว้น ต้องเสียภาษีเงินได้ตามปกติ โดยนำ ส่วนของเงินสมทบของนายจ้าง + ผลประโยชน์ของ เงินสะสม + ผลประโยชน์ของเงินสมทบ มารวมเป็นเงินได้ เพื่อเสียภาษี
ตัวอย่างเช่น : สมมติว่ามีสมาชิกลาออกจากกองทุน หลังจากทำงานมาแค่ 4 ปี และได้รับเงินจากกองทุน 150,000 บาท โดยเป็นเงินสะสม 40,000 บาท ดังนั้น เงินได้ที่ต้องนำคำนวณเพื่อเสียภาษี จะเท่ากับ 150,000 – 40,000 = 110,000 บาท



กรณีที่สอง ลาออกจากงานแต่มีอายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

เสียภาษีเงินได้โดยนำส่วนเงินสมทบของนายจ้าง+ผลประโยชน์ จากเงินสะสม + ผลประโยชน์จากเงินสมทบ มาคำนวณเพื่อ เสียภาษี โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ปีละ 7,000 บาท เหลือเท่าใดให้หักค่าใช้จ่ายได้อีกครึ่งหนึ่ง

ตัวอย่างเช่น : สมมติว่ามีสมาชิกลาออกจากกองทุน หลังจาก ที่ทำงานมาแล้ว 6 ปี และได้รับเงินจากกองทุน 250,000 บาท โดยเป็นส่วนของเงินสะสม 50,000 บาท ดังนั้น
เงินได้ที่นำมาคำนวณภาษีได้                                                        200,000
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนแรก (7,000 * 6 ปี)                                            (42,000)
คงเหลือ 158,000 หัก ค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2 (158,000/2)               (79,000)
คงเหลือเป็นเงินได้สุทธิที่ต้องเสียภาษี                                            79,000

ที่มาบทความ: http://www.kiatchai.com/archives/242



โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้ สำหรับเงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
http://capital.sec.or.th/webapp/esub/taxcal/tc1.htm

14 พฤศจิกายน 2558

Bandai to Produce "Super Model Spirit" Rockman Figures

It looks like Japan just keeps getting more neat Rockman goods. While the Kubrick figures will be coming out this month in Japan, Bandai is also preparing a total of 11 "Super Model Spirit" figures, measuring 6~10cm, of various characters in the Rockman franchise. These include: Rockman with Metall A (classic series) Rockman with Metall B (classic series) Roll (classic series) Forte A (classic series) Forte B (classic series) Blues (classic series) X (X series) Zero (X series) Zero (Zero series) Air Man (classic series) Cut Man (classic series)
The figures pictured are apparently prototypes, since it's listed that the final figures will come painted. Furthermore, the figures are being produced based on the number of orders that come in, so they're expected to be of high quality. The figures will run ¥650 ($7.19 US) a piece, or ¥6140 ($67.98) for a box of 12. However, a box may not contain every type of figure. The figure series is expected to go on sale in the latter half of May.

8 Ways To Think Like Warren Buffett



By Glenn Curtis

Back in 1999, Robert G. Hagstrom wrote a book about the legendary investor Warren Buffett entitled “The Warren Buffett Portfolio”. What’s so great about the book, and what makes it different from the countless other books and articles written about the “Oracle of Omaha”, is that it offers the reader valuable insight into how Buffett actually thinks about investments. In other words, the book delves into the psychological mindset that has made Buffett so fabulously wealthy.

Although investors could benefit from reading the entire book, we’ve selected a bite-sized sampling of the tips and suggestions regarding the investor mindset and ways to improve stock selection that will help you get inside Buffett’s head.



1. Think of Stocks as a Business

Many investors think of stocks and the stock market in general as nothing more than little pieces of paper being traded back and forth among investors. This might help prevent investors from becoming too emotional over a given position, but it doesn’t necessarily allow them to make the best possible investment decisions.

That’s why Buffett has stated he believes stockholders should think of themselves as “part owners” of the business in which they are investing. By thinking that way, both Hagstrom and Buffett argue that investors will tend to avoid making off-the-cuff investment decisions, and become more focused on the longer term. Furthermore, longer-term “owners” tend to analyze situations in greater detail, and then put a great deal of thought into buy and sell decisions. Hagstrom says this increased thought and analysis tends to lead to improved investment returns.



2. Increase the Size of Your Investment

While it rarely – if ever – makes sense for investors to “put all of their eggs in one basket”, putting all your eggs in too many baskets may not be a good thing either. Buffett contends that over-diversification can hamper returns as much as a lack of diversification. That’s why he doesn’t invest in mutual funds. It’s also why he prefers to make significant investments in just a handful of companies.

Buffett is a firm believer that investors must first do their homework before investing in any security. But after that due diligence process is completed, investors should feel comfortable enough to dedicate a sizable portion of assets to that stock. They should also feel comfortable in winnowing down their overall investment portfolio to a handful of good companies with excellent growth prospects.

Buffett’s stance on taking time to properly allocate your funds is furthered with his comment that it’s not just about the best company, but how you feel about the company. If the best business you own presents the least financial risk and has the most favorable long-term prospects, why would you put money into your 20th favorite business instead of adding money to the top choices?



3. Reduce Portfolio Turnover

Rapidly trading in and out of stocks can potentially make an individual a lot of money, but according to Buffett, this trader is actually hampering his or her investment returns. That’s because portfolio turnover increases the amount of taxes that must be paid on capital gains and boosts the total amount of commission dollars that must be paid in a given year.

The “Oracle” contends that what makes sense in business also makes sense in stocks: An investor should ordinarily hold a small piece of an outstanding business with the same tenacity that an owner would exhibit if he owned all of that business.

Investors must think long term. By having that mindset, they can avoid paying huge commission fees and lofty short-term capital gains taxes. They’ll also be more apt to ride out any short-term fluctuations in the business, and to ultimately reap the rewards of increased earnings and/or dividends over time.



4. Develop Alternative Benchmarks

While stock prices may be the ultimate barometer of the success or failure of a given investment choice, Buffett does not focus on this metric. Instead, he analyzes and pores over the underlying economics of a given business or group of businesses. If a company is doing what it takes to grow itself on a profitable basis, then the share price will ultimately take care of itself.

Successful investors must look at the companies they own and study their true earnings potential. If the fundamentals are solid and the company is enhancing shareholder value by generating consistent bottom-line growth, the share price, in the long term, should reflect that. (To learn how to judge fundamentals on your own, see What Are Fundamentals?)



5. Learn to Think in Probabilities

Bridge is a card game in which the most successful players are able to judge mathematical probabilities to beat their opponents. Perhaps not surprisingly, Buffett loves and actively plays the game, and he takes the strategies beyond the game into the investing world.

Buffett suggests that investors focus on the economics of the companies they own (in other words the underlying businesses), and then try to weigh the probability that certain events will or will not transpire, much like a Bridge player checks the probabilities of his opponents’ hands. He adds that by focusing on the economic aspect of the equation and not the stock price, an investor will be more accurate in his or her ability to judge probability.

Thinking in probabilities has its advantages. For example, an investor that ponders the probability that a company will report a certain earnings growth rate over a five- or 10-year period is much more apt to ride out short-term fluctuations in the share price. By extension, this means that his investment returns are likely to be superior, and that he will also realize fewer transaction and/or capital gains costs.



6. Recognize the Psychological Aspects of Investing

Very simply, this means that individuals must understand that there is a psychological mindset that the successful investor tends to have. More specifically, the successful investor will focus on probabilities and economic issues and let decisions be ruled by rational, as opposed to emotional, thinking.

More than anything, investors’ own emotions can be their worst enemy. Buffett contends that the key to overcoming emotions is being able to retain your belief in the real fundamentals of the business, and don’t get too concerned about the stock market.

Investors should realize that there is a certain psychological mindset that they should have if they want to be successful, and try to implement that mindset.



7. Ignore Market Forecasts

There is an old saying that the Dow “climbs a wall of worry”. In other words, in spite of the negativity in the marketplace, and those who perpetually contend that a recession is “just around the corner”, the markets have fared quite well over time. Therefore, doomsayers should be ignored.

On the other side of the coin, just as many eternal optimists argue that the stock market is headed perpetually higher. These should be ignored as well.

In all this confusion, Buffett suggests that investors should focus their efforts on isolating and investing in shares that are not currently being accurately valued by the market. The logic here is that as the stock market begins to realize the company’s intrinsic value (through higher prices and greater demand), the investor will stand to make a lot of money.


8. Wait for the Fat Pitch

Hagstrom’s book uses the model of legendary baseball player Ted Williams as an example of a wise investor. Williams would wait for a specific pitch (in an area of the plate where he knew he had a high probability of making contact with the ball) before swinging. It is said that this discipline enabled Williams to have a higher lifetime batting average than the average player.

Buffett, in the same way, suggests that all investors act as if they owned a lifetime decision card with only 20 investment choice punches in it. The logic is that this should prevent them from making mediocre investment choices and hopefully, by extension, enhance the overall returns of their respective portfolios.



Bottom Line

“The Warren Buffett Portfolio” is a timeless book that offers valuable insight into the psychological mindset of the legendary investor Warren Buffett. Of course, if learning how to invest like Warren Buffett were as easy as reading a book, everyone would be rich! But if you take that time and effort to implement some of Buffett’s proven strategies, you could be on your way to better stock selection and greater returns.



credit: http://www.forbes.com/sites/investopedia/2013/08/28/8-ways-to-think-like-warren-buffett

หนังสือเล่มเล็ก



ชีวิตประจำวันหรือ “งานประจำ” ของผมทุกวันนี้ไม่ใช่การนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์และสั่งซื้อขายหุ้น ไม่ใช่การเฝ้าติดตามราคาหุ้นรายนาทีหรือรายชั่วโมง เพราะปกติผมจะซื้อหรือขายหุ้นปีละไม่กี่ครั้งและครั้งละไม่กี่วัน ผมคำนวณคร่าว ๆ แล้วหุ้นแต่ละตัวที่ซื้อมาจะถูกถือไว้โดยเฉลี่ยน่าจะประมาณ 5 ปี ดังนั้น ปริมาณการซื้อขายหุ้นของผมจะค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับมูลค่าการลงทุนของผม สำหรับโบรกเกอร์แล้ว ผมน่าจะเป็น “ลูกค้ารายย่อย--ขนาดใหญ่” แม้ว่าช่วงที่มีการซื้อขายแต่ละครั้งอาจจะมีปริมาณมาก การซื้อขายหุ้นของผมจึงไม่ใช่ “งานลงทุน” แต่เป็นงานเล็ก ๆ ที่ต้องทำเป็นบางครั้งเมื่อผมเจอหุ้นที่จะซื้อหรือขาย

การ “ติดตามหุ้น” นั้น สิ่งที่ “ไม่สำคัญ” แต่ผมก็ทำตลอดเวลาก็คือการดูจอราคาหุ้นเป็นระยะเมื่อนั่ง “ทำงาน” ที่บ้านซึ่งก็คือ “สำนักงาน” ของผม การดูราคาหุ้นนั้น ผมคิดว่ามันคงเป็นเรื่องของ “สัญชาติญาณ” ของคนที่น่าจะ “อดไม่ได้” ที่จะต้องเฝ้าดู “ทรัพย์สมบัติ” ของตนถ้ามัน “กอง” อยู่ตรงหน้า หรืออีกอย่างหนึ่งก็คือการที่คนชอบ “ลุ้น” ว่าตนเอง “ได้หรือเสีย” บน “จอคอมพิวเตอร์” ขณะที่ผมนั่งทำงานอื่นอยู่ที่โต๊ะ แต่ในกรณีที่ผมต้องออกไปทำงานหรือมีกิจธุระนอกบ้าน ผมก็ไม่จำเป็นต้องติดตามราคาหุ้น พูดอย่างสรุปก็คือ ผมไม่ได้ใช้เวลากับการดูราคาหุ้นเป็นเรื่องเป็นราว ผมจะ “จับตาดู” หุ้นบางตัวในบางช่วงเวลาเพื่อมองหา “โอกาส” ในการที่จะซื้อหรือขายเท่านั้น

การติดตามหุ้นที่สำคัญของผมนั้น คือการติดตามการดำเนินงานและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ผมลงทุนอยู่และบริษัทอื่นที่ผมสนใจแต่ยังไม่ได้ลงทุน การติดตามการดำเนินงานนั้น ผมใช้วิธีการอ่านจากหนังสือ หนังสือพิมพ์และวารสารต่าง ๆ รวมถึงสื่ออินเตอร์เน็ตและทางทีวีที่ผมพบเจอโดยไม่ได้ตั้งใจ นอกจากนั้น ผมก็ยังติดตามบริษัทจากการไป “จ่ายตลาด” ซื้ออาหารและของใช้ประจำวันที่ผมทำเป็นประจำเกือบทุกสัปดาห์รวมทั้งการท่องเที่ยวที่ผมทำเป็นระยะ ดังนั้น นี่ก็ไม่ใช่งานที่ผมต้อง “ใช้เวลา” เป็นเรื่องเป็นราว ส่วนการติดตาม “ผลการดำเนินงาน” ที่เป็นตัวเลขรายได้และกำไรของบริษัทนั้น ผมก็ใช้เวลาเพียงปีละ 4 ครั้ง คือในช่วงที่มีการประกาศผลประกอบการรายไตรมาศและรายปี

การเรียนรู้เกี่ยวกับบริษัทจดทะเบียนโดยเฉพาะบริษัทใหม่ ๆ ที่เข้ามาซื้อขายหุ้นในตลาดนั้น ผมโชคดีที่ว่าผมทำรายการทีวีที่เกี่ยวกับการสัมภาษณ์ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน ทุกสัปดาห์ผมจะได้คุยและซักถามผู้บริหารประมาณ 2-3 บริษัท ดังนั้น ผมก็จะได้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับบริษัทจำนวนมากเนื่องจากผมทำรายการนั้นมาหลายปีแล้ว บริษัทหลายแห่งนั้นผมเคยพูดคุยด้วยหลายครั้งและนั่นก็พอเพียงที่ผมจะใช้เป็นฐานหลักของการวิเคราะห์หุ้นรายตัว ผมคิดว่าผมไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปพบบริษัทเพื่อที่จะศึกษาตัวบริษัทมากนัก ดังนั้น ผมไม่ไปงานOpportunity Day หรือไปคุยกับผู้บริหารบริษัทก่อนที่จะพิจารณาซื้อหุ้น มีบางบริษัทที่ผมถือหุ้นจำนวนมากที่ผมอาจจะไปเยี่ยมเยียนติดตามการดำเนินงานอยู่บ้างเหมือนกันแต่นั่นเป็น “ข้อยกเว้น” ไม่ใช่เรื่องปกติ

การไปพบผู้บริหารหรือผู้ให้ข้อมูลที่เรียกว่า IR ของบริษัทเป็นการ “ส่วนตัว” นั้น ข้อดีก็คือ บางครั้งเราอาจจะได้ข้อมูลลึก ๆ หรือความเข้าใจในสถานการณ์ที่อาจจะกำลังเกิดขึ้นโดยเฉพาะที่เป็น “เรื่องดี ๆ” ของบริษัท เช่นเดียวกับเรื่องที่ “ไม่ดี” ที่เราอาจจะเห็นหรือรู้สึกได้ ซึ่งนั่นก็จะทำให้เราสามารถ “ฉกฉวยโอกาส” ในการซื้อหรือขายหุ้นและทำกำไรหรือลดการขาดทุนได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นก็อาจจะทำให้เข้าใจในตัวบริษัทมากขึ้นซึ่งทั้งสองเรื่องนั้น สำหรับVI หลายคนแล้วก็เป็นเรื่องที่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งยวด สำหรับบางคนแล้วเขาแทบจะบอกว่าถ้าไม่เจอผู้บริหารเขาก็จะไม่ซื้อหุ้นเลย อย่างไรก็ตาม การไปพบบริษัทแบบนั้นก็มีข้อเสียอยู่เหมือนกันในความเห็นของผมนั่นก็คือ การไปพบผู้บริหารอาจจะทำให้เราถูก “ชักนำ” ให้เกิด “ความลำเอียง” ว่าบริษัทมีคุณสมบัติดีกว่าที่ควรจะเป็นและ/หรือเชื่อว่าบริษัทจะสามารถเติบโตได้รวดเร็วต่อเนื่องด้วยความสามารถของบริษัทและผู้บริหารทั้ง ๆ ที่ข้อมูลผลประกอบการของกิจการที่ผ่านมาอาจจะไม่ได้บอกอย่างนั้น หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เราอาจจะถูกชักนำให้ “เชื่อในสิ่งที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์” สำหรับผมเองที่เน้นการลงทุนระยะยาวที่ต้องอิงอยู่กับ “พื้นฐานระยะยาว” ของบริษัทเป็นหลักนั้น หุ้นที่จะเข้าข่ายควรจะต้องได้รับการ “พิสูจน์ด้วยตัวเลขผลประกอบการ” มาพอสมควรแล้วว่าเป็นกิจการที่ดีเยี่ยม ความจำเป็นต้องพบผู้บริหารมีน้อย

งานหลักที่สำคัญและใช้เวลามากของผมจริง ๆ ในทุกวันนี้น่าจะอยู่ที่การอ่านหนังสือที่เป็น “ความรู้ที่หลากหลาย” และต้องเป็น “ความรู้ที่แท้จริง” นั่นก็คือ เป็นความรู้ที่ได้รับการศึกษาและพิสูจน์ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ความรู้ที่ผมสนใจศึกษานั้นรวมถึงเรื่องของจิตวิทยา ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยาและการเมือง สงครามและการแข่งขัน เรื่องของการเงินและการแข่งขันทางธุรกิจ ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็น และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของโลก เป็นต้น เมื่ออ่านและเข้าใจหัวใจหรือข้อสรุปของความรู้นั้นแล้ว ผมก็จะพยายาม “เชื่อมโยง” ความรู้ต่าง ๆ เหล่านั้นเข้าด้วยกันเพื่อนำมาอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต ผมไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ผมทำนั้นจะเป็นแนวทางที่ ชาร์ลี มังเกอร์ คู่หูและหุ้นส่วนของบัฟเฟตต์ทำหรือไม่ แต่ที่ได้ทำมานานผมรู้สึกว่าผมมีความเข้าใจประเด็นต่าง ๆ ของโลกมากขึ้น ทุกสิ่งทุกอย่างมีความสัมพันธ์กันอย่างมีเหตุผลมากขึ้น และนี่อาจจะช่วยให้ผมสามารถตัดสินใจลงทุนได้ดีขึ้นอย่างที่มังเกอร์บอก

การอ่านหนังสือเพื่อทำความเข้าใจกับความรู้ ทฤษฎี ประวัติศาสตร์และเรื่องราวมากมายของโลก อาทิเช่น เรื่องของตลาดเสรีและระบบทุนนิยมที่บุกเบิกโดย อาดัม สมิทธิ ทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่อธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ได้อย่างลึกซึ้งของ ชาร์ล ดาร์วิน สงครามและการแข่งขันระหว่างประเทศที่ฉายภาพโดดเด่นจากสงครามใหญ่โดยเฉพาะสงครามโลกทั้งสองครั้ง การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แนวทางแบบ Value Investment ของเบน เกรแฮมและการเกิดขึ้นของทฤษฎีตลาดหุ้นที่มีประสิทธิภาพของกลุ่มนักวิชาการนำโดย ยูจีน ฟามา มาร์โควิทซ์และชาร์ป ทฤษฎีการแข่งขันทางธุรกิจโดยเฉพาะในด้านของการกำหนดกลยุทธ์ที่นำเสนอโดย Aries กับ Jack Trout ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของโลกและไทย และการขึ้นลงและวิกฤติตลาดหุ้นทั่วโลก เป็นต้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ต้องใช้เวลามากมายโดยเฉพาะถ้าเราต้องเริ่มต้นจากศูนย์เนื่องจากเราไม่ได้เรียนมาเลยจากห้องเรียนหรือ “ติดลบ” เนื่องจากเราเรียนมาด้วยข้อมูลหรือทฤษฎีที่ผิด

ด้วยปริมาณข้อมูลและความรู้มากมายที่อาจจะมีประโยชน์มหาศาลในการลงทุนจึงเป็นเรื่องที่ยากมากที่เราจะอ่านหรือศึกษาได้หมดในเวลาอันสั้น และสำหรับคนที่ยังมีภารกิจงานประจำที่ต้องทำตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น ผมคิดว่าเขาคงมีเวลาไม่พอ ส่วนตัวผมเองนั้นก็ต้องยอมรับว่าความรู้หลากหลายเหล่านั้น ส่วนใหญ่ผมได้มาหลังจากที่เลิกทำงานประจำมาเมื่อกว่า 10 ปีมาแล้ว นอกจากนั้น ผมได้ค้นพบว่า วิธีที่จะเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้นอย่างหนึ่งก็คือ พยายามอ่าน “หนังสือเล่มเล็ก” ที่อธิบายหรือเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งระยะหลัง ๆ ผมได้เห็นว่ามีออกมามากขึ้น หนังสือเล่มเล็กนั้นมีข้อดีคือมันช่วยสรุป “หัวใจ” ของเรื่องต่าง ๆ เอาเฉพาะ“แก่น” หรือ “พื้นฐาน” ของเรื่องโดยไม่สนใจรายละเอียดที่บางครั้งทำให้เรา “หลงทาง” หรือสับสน “หนังสือเล่มเล็ก” ในความหมายของผมนั้นอาจจะรวมถึงหนังสือ “การ์ตูน” สั้น ๆ หรือภาพยนตร์ที่ช่วยให้เราเข้าใจเรื่องราวที่เป็น “ภาพใหญ่” ได้ในเวลาอันสั้น และนี่ก็คือเทคนิคการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่ผมอยากให้ทดลองดู มันอาจจะส่งผลกระทบให้เราได้อย่างมหาศาลกับการลงทุน—และชีวิต


นิสัยบัฟเฟตต์


ถ้าจะพูดถึงคนที่ร่ำรวยและมีชื่อเสียงมากระดับโลกและจะเป็น “ตำนาน” ที่คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ต่อไปอีกนานนั้น แน่นอนว่าบัฟเฟตต์ต้องเป็นหนึ่งในนั้น นิสัยหรือพฤติกรรมของคนที่อยู่ในระดับนี้ส่วนใหญ่ที่เราได้รับรู้ก็คือ พวกเขามีชีวิตที่หรูหรา อยู่ในสังคมของ “คนชั้นสูง” มีความรู้สึกและวางตัวที่อาจจะเรียกว่า “เย่อหยิ่ง” และ “โอ้อวดตนเอง” เป็นต้น แต่สำหรับบัฟเฟตต์เองแล้ว เขาไม่ได้เป็นอย่างนั้น หรือถ้าจะมีก็น้อยกว่าคนอื่นที่อยู่ในระดับใกล้เคียงมาก ผมไม่รู้ว่าเป็นเรื่องเฉพาะตัวหรือเป็นเพราะว่าบัฟเฟตต์เป็น Value Investor และ VI นั้นโดยธรรมชาติมักจะมีนิสัยหรือพฤติกรรมที่แตกต่างจากคนรวยกลุ่มอื่นตั้งแต่ต้น พอรวยแล้วก็ยังไม่ได้เปลี่ยนนิสัยแบบคนที่รวยจากอาชีพอื่น

มาดูกันว่าบัฟเฟตต์มีนิสัยแบบไหนที่ค่อนข้างจะแปลกจากคนรวยและมีชื่อเสียงอื่น—และคนธรรมดา บางทีนิสัยแบบบัฟเฟตต์นั้นอาจจะเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เขาเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จสูงสุด และถ้าเป็นแบบนั้น การเรียนรู้นิสัยบัฟเฟตต์ก็น่าจะมีประโยชน์กับนักลงทุนที่จะนำมาใช้

นิสัยแรกที่ผมเห็นก็คือ การให้ความรัก นับถือ และเชื่อใจคนอื่นอย่างเต็มที่เมื่อเขาเข้าไปร่วมงานด้วย นั่นคือ เมื่อเขาตัดสินใจเข้าไปซื้อธุรกิจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเบิร์กไชร์แล้ว เขาก็จะไม่เข้าไปแทรกแซงการทำงานและการตัดสินใจเกือบทุกเรื่องยกเว้นเฉพาะการลงทุนใหญ่ ๆ และการจัดสรรกำไรเท่านั้น เขาจะให้ความรัก ความนับถือ และเชื่อใจต่อคนหรือซีอีโอที่บริหารงานมากและดูเหมือนว่าจะไม่เคย “ตั้งคำถาม” อะไรกับการทำงานหรือตัดสินใจของพวกเขาเลย สิ่งที่เขาบอกกับซีอีโอก็คือ ให้พวกเขาคิดและทำเหมือนกับว่าพวกเขานั้นเป็นเจ้าของบริษัทเท่านั้น การให้ความรัก นับถือและเชื่อใจแก่คนอื่นนั้น ทำให้บัฟเฟตต์ได้รับความรัก ความนับถือและเชื่อใจตอบจากคนอื่นเท่า ๆ กัน เห็นได้จากการที่ผู้บริหารหรือซีอีโอของเบิร์กไชร์นั้นมักจะอยู่กับบัฟเฟตต์ไปตลอดไม่ไปไหนและบัฟเฟตต์เองก็แทบจะไม่เคยให้ใครออก เขาบอกว่าระบบของเบิร์กไชร์นั้น “ไม่มีการเกษียณ” สำหรับซีอีโอ

นิสัยที่สองที่แตกต่างจากคนอื่นของบัฟเฟตต์ก็คือ ความ “จงรักภักดี” ที่มีต่อสิ่งรอบตัว ที่สำคัญก็คือ เมื่อบัฟเฟตต์ซื้อธุรกิจมาแล้ว เขาก็จะเก็บรักษามันไว้ “ตลอดไป” แม้ว่าหลายกิจการนั้นพื้นฐานอาจจะเปลี่ยนไปแล้วเขาก็มักจะไม่ขายทิ้งเหมือนนักลงทุนอื่น เขายังเก็บหุ้นไว้เพราะเขาอยู่กับมันมานานและรู้จักผู้บริหารเป็นอย่างดี เขายินดีที่จะได้รับผลตอบแทนที่ลดลงและในที่สุดอาจจะล้มหายตายจากไป ผมคิดว่าเขาคงคิดว่าเขาได้รับผลตอบแทนจากบริษัทมานานและมากพอแล้ว ดังนั้น ถ้าเขาจะเสียหายบ้างจากการที่ไม่ได้ขายมันไปก่อน มันก็ไม่ได้มีผลกระทบอะไรมากนัก นอกจากเรื่องของธุรกิจแล้ว ผมก็รู้สึกว่าบัฟเฟตต์นั้นชอบทำอะไรซ้ำ ๆ เดิม ๆ เช่น เขาชอบกินอาหารเช่น สเต็กร้านเดิม ๆ ดื่ม โค๊กแบบเดิม ๆ เป็นสิบ ๆ ปีอย่างไม่รู้เบื่อ ดูเหมือนว่าเขาจะ “จงรักภักดี” ต่อสิ่งที่เขาคิดว่าดีอยู่แล้วมาก ความคิดของเขาก็คือ ไม่รู้จะ“เสี่ยง” ไปทำไมกับของใหม่ที่ยังไม่รู้ว่าดีหรือไม่

ความคิดที่อิสระและเป็นตัวของตัวเองสูงมาก นี่คือนิสัยอีกอย่างหนึ่งของบัฟเฟตต์ เขาไม่เคยทำตามคนอื่นหรือตามความคาดหวังของสังคม เขาไม่เคยกลัวที่จะถูกมองว่าเป็นคน “ตกยุค”เช่นในช่วงที่หุ้นไฮเท็คเติบโตเป็น “ฟองสบู่” ช่วงปีทศวรรษปี 1990 ถึง 2000 เขาเองก็ไม่สนใจลงทุนในหุ้นเหล่านั้นเลยเพราะเขาคิดว่ามันเป็นกิจการที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็วมากซึ่งทำให้การคาดการณ์รายได้และกำไรทำได้ยากมากและเขาเองก็ไม่รู้จักธุรกิจดีพอ ผลงานการลงทุนของเขาจึงดูไม่ดีนักเมื่อเทียบกับคนที่ลงทุนในหุ้นไฮเท็คเหล่านั้น เช่นเดียวกัน ในบางช่วงการแข่งขันทางด้านการขายประกันภัยรุนแรงมากและทุกคนต่างก็ขายประกันในราคาที่ “ขาดทุน” เพื่อที่จะสร้างยอดขายให้เติบโตและทำกำไรในระยะสั้น บัฟเฟตต์ปฎิเสธที่จะทำตาม เขา “ยอม” ถูกมองเป็นบริษัทที่กำลัง “ถดถอย” ในขณะที่บริษัทอื่นโตขึ้น แต่แล้วเมื่อเหตุการณ์เปลี่ยนไป ฟองสบู่หุ้นไฮเท็คแตก และบริษัทประกันที่ขายประกันราคาถูกเกินไปต้องขาดทุนหนัก บัฟเฟตต์ก็กลับมามีผลงานที่โดดเด่นขึ้นกว่าเดิม

นิสัยที่สี่ของบัฟเฟตต์ก็คือ เขากำหนดขอบเขตและมาตรฐานของตนเองหรือพูดหยาบ ๆ ก็คือ เป็นตัวของตัวเองสูง เขาไม่สนใจและไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ทุกเรื่องหรือทุกอุตสาหกรรม เพราะเขาเลือกเฉพาะอุตสาหกรรมและบริษัทที่เขารู้เท่านั้น เขากำหนด Circle of Competent หรือขอบเขตความสามารถของเขาที่เขาจะทำได้ดีและเขาจะไม่ออกจากขอบเขตนี้ สิ่งที่บัฟเฟตต์ทำนั้น เขาก็จะหาธุรกิจหรือบริษัทที่ดูได้ง่ายเข้าใจง่ายและไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง เขาพูดว่าเขาพยายามหารั้วเตี้ย ๆ ซักหนึ่งฟุตเพื่อที่ว่าเขาจะได้ข้ามมันไปง่าย ๆ เขาไม่ต้องการรั้วสูง ๆ เพื่อที่จะแสดงความสามารถในการกระโดดข้ามมัน ดังนั้น เราจึงเห็นหุ้นที่บัฟเฟตต์ลงทุนนั้น ส่วนมากจึงเป็นหุ้นของธุรกิจธรรมดามากเช่น บริษัทขายซ้อสมะเขือเทศ ร้านเฟอร์นิเจอร์ ร้านขายเครื่องประดับเพชร บริษัทรถไฟ ธนาคาร และอื่น ๆ ที่เข้าใจไม่ยากและไม่เห็นจะมีอะไรน่าตื่นเต้นในยุคที่เครื่องมือสื่อสารอย่างไอแพดเปลี่ยนรุ่นทุก 2- 3 ปีและมีฟีเจอร์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา

มาตรฐานที่บัฟเฟตต์ใช้เองนั้น เขาบอกว่าเขาไม่สนใจมาตรฐานของสังคมหรือคนอื่น เขาไม่สนใจว่าคนอื่นจะมองตนเองอย่างไร เขาแนะนำว่านักลงทุนควรที่จะมี Inner Score Card หรือมาตรฐานที่อยู่ภายในใจของเรา นั่นก็คือ ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับคนอื่นหรือสนใจว่าคนอื่นเขาจะมองเราอย่างไร เราควรที่จะกำหนดมาตรฐานของตนเองว่าเราตั้งเป้าไว้เหมาะสมและทำได้ตามเป้าหรือไม่ เช่น ถ้าเราคิดว่าเราควรทำผลตอบแทนการลงทุนได้ปีละ 12% ทบต้นโดยการลงทุนในหุ้นที่มีระดับความความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เช่นต้องลงทุนในหุ้นไม่ต่ำกว่า 5-6 ตัวและไม่มีหุ้นตัวใดที่มีสัดส่วนสูงเกิน 30% ในกรณีแบบนี้ เราก็ต้องพยายามทำให้สำเร็จ ไม่ใช่ว่าพอเห็นคนอื่นกำลังทำผลตอบแทนดีเยี่ยมกว่าเรา เราก็พยายามไปเปรียบเทียบกับเขาเพราะกลัวว่าเราจะถูกมองว่าไม่มีความสามารถเท่า เพราะถ้าเราคิดอย่างนั้น กลยุทธ์และวิธีการต่าง ๆ ก็จะรวนไปหมด และเราก็อาจจะไม่มีความสุขในการลงทุนหรือทำงาน

นิสัยสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงและแปลกไปจากเพื่อนระดับเดียวกันของเขาก็คือ บัฟเฟตต์นั้นแม้ว่าจะรวยเป็นอันดับ 1-3 ของโลกมานาน แต่เขาเป็นคนที่มีความสมถะและประหยัดมาก ดูเหมือนว่าเขาจะชอบผู้บริหารที่เน้นการลดต้นทุนการดำเนินงานโดยเฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลัก เขาไม่ชอบความฟุ่มเฟือยในทุกกรณี เขาไม่ชอบผู้บริหารที่กินเงินเดือนสูงมากโดยที่ไม่ได้อิงกับผลการดำเนินงานของบริษัท ตัวบัฟเฟตต์เองนั้นถ้าจำไม่ผิดเขารับเงินเดือนในฐานะของซีอีโอเบิร์กไชร์ปีละแค่ 100,000 เหรียญซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับบริษัทที่ใหญ่ขนาดเป็น 1 ใน 10 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา ส่วนตัวบัฟเฟตต์เองนั้น ทุกวันนี้เขาก็ยังอยู่บ้านเดิมที่อยู่มาหลายสิบปีที่เขาซื้อมาในราคาไม่กี่หมื่นเหรียญและน่าจะเป็นบ้านระดับชนชั้นกลาง เขายังขับรถเองและใช้ชีวิตเหมือนคนชั้นกลางเป็นส่วนใหญ่

หลายคนคงเถียงในใจว่านิสัยส่วนตัวของบัฟเฟตต์นั้นไม่น่าจะเกี่ยวกับความสามารถในการลงทุนของเขา แต่ผมเองเชื่อว่านิสัยส่วนตัวกับการลงทุนนั้นคงจะมีอะไรเกี่ยวข้องกันอยู่ ผมเองได้อ่านประวัติของ VI ระดับโลกและได้ศึกษา VI เด่น ๆ หลายคนในตลาดหุ้นไทยที่ผมรู้จัก ผมพบว่านิสัยของพวกเขาหลาย ๆ คนนั้น มีบางส่วนคล้าย ๆ กับของ บัฟเฟตต์ ที่กล่าวถึง ผมคิดว่านิสัยบางอย่างนั้นเอื้ออำนวยให้คน ๆ นั้นกลายเป็นนักลงทุนและเข้าใจและตัดสินใจในการลงทุนได้ดีขึ้น นิสัยบางอย่างก็ขัดแย้งกับการเป็นนักลงทุนและทำให้เขาเป็นนักลงทุนที่ดีได้ยาก ดังนั้น ก่อนที่จะลงทุนโดยเฉพาะในแนว VI เราควรวิเคราะห์นิสัยของตนเองก่อนว่า เรามีแนวโน้มที่จะเป็น VI ที่ดีได้ไหม


10 พฤศจิกายน 2558

เปิด 3 มาตรการล่อใจคนซื้อบ้าน ลดค่าโอน - จำนอง เคลมภาษีได้

ส่องมาตรการรัฐ อุ้มอสังหาฯ หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ อัดฉีดเงินหมื่นล้าน ผ่อนปรนเงื่อนไขกู้ซื้อบ้าน ช่วยคนมีรายได้ปานกลาง ซื้อบ้านได้ง่ายขึ้น
          ในสภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวอย่างหนัก ส่งผลกระทบไปถึงตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาตามไปด้วย เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งเข้มงวดมากขึ้นที่จะปล่อยสินเชื่อบ้าน ทำให้ผู้ที่ต้องการจะซื้อบ้าน กู้ไม่ผ่านกันมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงต้องหาทางกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ด้วยการผ่อนปรนเงื่อนไขการขอกู้ซื้อบ้าน เพื่อให้ประชาชนสามารถกู้ซื้อบ้านได้ง่ายขึ้น นั่นจึงเป็นที่มาของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 13 ตุลาคม 2558 ที่ออก 3 มาตรการเด็ด เพื่ออุ้มภาคอสังหาริมทรัพย์ให้อยู่รอด ดังนี้
1. เพิ่มวงเงินกู้ซื้อบ้านพร้อมอัตราดอกเบี้ยพิเศษ

          รัฐบาลได้อนุมัติวงเงินเบื้องต้น 10,000 ล้านบาท เพื่อให้ผู้ที่ถูกปฏิเสธการขอกู้ซื้อบ้านจากธนาคารพาณิชย์ สามารถขอกู้กับธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้ ซึ่งภายหลัง ธอส. ก็รับลูก ด้วยการออกมาตรการผ่อนปรนเงื่อนไขการขอสินเชื่อบ้านให้ผู้ที่มีรายได้น้อย-ปานกลางมากขึ้น โดยพิจารณาสัดส่วนความสามารถชำระหนี้ต่อรายได้เพิ่มขึ้น จากเดิมอยู่ที่ 33% เป็น 40-50% ของรายได้สุทธิต่อเดือน นั่นจึงทำให้ผู้ที่มีรายได้ไม่ถึง 30,000 บาทต่อเดือน สามารถกู้ซื้อบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทได้ (จากเดิมกู้ซื้อบ้านได้เพียงราคาไม่เกิน 1.8 ล้านบาท) 

          เปรียบเทียบวงเงินกู้สินเชื่อบ้านธนาคารอาคารสงเคราะห์

           รายได้สุทธิ 10,000 บาทต่อเดือน เดิมกู้ได้ 600,000 บาท ปรับเป็น 1,000,000 บาท
           รายได้สุทธิ 20,000 บาทต่อเดือน เดิมกู้ได้ 1,200,000 บาท ปรับเป็น 2,000,000 บาท
           รายได้สุทธิ 30,000 บาทต่อเดือน เดิมกู้ได้ 1,800,000 บาท ปรับเป็น 3,000,000 บาท


สินเชื่อบ้าน


โดยคิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านดังนี้

           ปีแรก ดอกเบี้ย 3.50% ต่อปี
           ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 4.25% ต่อปี
           ปีที่ 3 จนถึงครบสัญญา แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ลูกค้าสวัสดิการ ดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR -1.00% ต่อปี และลูกค้ารายย่อยทั่วไป ดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR -0.75% ต่อปี ซึ่งถือเป็นอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด

          และเมื่อคำนวณออกเป็นงวดผ่อนต่อเดือน ตามวงเงินกู้และรายได้สุทธิแล้ว จะได้ค่างวดผ่อนดังนี้


สินเชื่อบ้าน ธอส


2.  ลดค่าธรรมเนียมการโอนและจำนองเป็นเวลา 6 เดือน
          สำหรับมาตรการนี้จะเป็นการลดการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอน จาก 2% ของราคาประเมินทุนทรัพย์ในกรณีการโอน เหลือ 0.01% รวมทั้งลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์และห้องชุด จากเดิม 1% เหลือ 0.01% ของมูลค่าที่จำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งจะมีผลเพียงแค่ 6 เดือน คือถึงวันที่ 30 เมษายน 2559

3. ซื้อบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท สามารถหักลดหย่อนภาษีได้

          สำหรับผู้ที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด ในราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท สามารถนำเอา 20% ของราคาบ้าน ไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้เป็นเวลา 5 ปี โดยมีเงื่อนไขการหักลดหย่อนภาษีคือ

           ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท
           ต้องเป็นการซื้อครั้งแรก (ไม่เคยถือสิทธิ์ในอสังหาฯ อื่นมาก่อน) 
           เป็นการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง
           ถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาฯ นั้น เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันโอน
           ต้องจ่ายค่าซื้อและโอนกรรมสิทธิ์ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2559 เท่านั้น
           ต้องใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อเนื่องกัน 5 ปีภาษี นับตั้งแต่ปีภาษีที่มีการจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์โดยให้แบ่งใช้สิทธิเป็นจํานวนเท่า ๆ กันในแต่ละปีภาษี

          ทั้งนี้หากนำมาเฉลี่ยคิดเป็นรายปีของมูลค่าบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท จะลดหย่อนได้ถึง 6 แสนบาท หรือปีละ 120,000 บาท เท่ากับผ่อนบ้านราคา 3 ล้านบาท ในราคา 2,400,000 บาทเท่านั้น และถ้ารวมกับมาตรการลดหย่อนภาษีจากภาระดอกเบี้ยเงินกู้บ้านที่ปัจจุบันได้ปีละไม่เกิน 1 แสนบาทอยู่แล้ว ก็เท่ากับได้สิทธิประโยชน์เป็น 2 เท่าจากการลดหย่อนครั้งใหม่นี้เข้าไปด้วย

          นอกจาก 3 มาตรการที่ใช้กระตุ้นอสังหาฯ ที่กล่าวมาข้างต้น กระทรวงการคลังก็ยังมีมาตรการเพิ่มเติมอีกด้วยการให้ธนาคารออมสินพิจารณาปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายย่อย เพื่อเป็นการส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ให้กลับมาขยายตัวได้ เพราะเชื่อว่า หากตลาดอสังหาริมทรัพย์สามารถขยายตัวได้มากขึ้น ก็จะช่วยฉุดภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาให้กลับมาคึกคักได้

          การอัดฉีดเงินเข้าระบบกว่าหมื่นล้านด้วยมาตรการต่าง ๆ นั้น ย่อมส่งเเรงกระเพื่อมไปถึงภาคเอกชน ธนาคารพาณิชย์ และผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ที่จะออกมารับลูก ทำโปรโมชั่นเพื่อแข่งขัน ล่อใจลูกค้า หวังให้ตัวเองได้ส่วนแบ่งของตลาดอสังหาฯ ตามไปด้วย ทำให้ผู้ที่ได้ประโยชน์ไปเต็ม ๆ คือประชาชนที่มีรายได้น้อย มีโอกาสกู้บ้านผ่านมากขึ้นและสมหวังกับการมีบ้านเป็นของตัวเองได้

          แต่คงต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิดว่า หากมีปัจจัยทางเศรษฐกิจอื่นที่ไม่สามารถทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อ หรือผ่อนชำระบ้านที่ซื้อไปได้ มาตรการดังกล่าวจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงอยู่หรือไม่ หรือจะยิ่งทำให้รัฐขาดทุนเพิ่มมากขึ้น และกลายเป็นการเพิ่มหนี้ครัวเรือน เพิ่มภาระให้กับประชาชนแทน


***หมายเหตุ : อัพเดทข้อมูลล่าสุดเมื่อเวลา 12.12 น. วันที่ 21 ตุลาคม 2558

ที่มา: http://money.kapook.com/view131907.html