ตอน..เมื่อถึงเวลายื่นภาษีประจำปี (2 มี.ค. 50)
สวัสดีค่ะ.. ผู้ที่ติดตามอ่านสรรหามาเล่าทุกท่าน ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการยื่นแบบชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีแล้วนะ คะ เชื่อว่าทุกท่านคงจะได้รับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายกันครบถ้วนแล้วใช่ไหมคะ และนั่นหมายความว่าเราพร้อมที่จะยื่นแบบชำระภาษีกันได้แล้วล่ะค่ะ สรรหามาเล่าฉบับนี้ขอนำสาระเกี่ยวกับภาระภาษีของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มาเล่าให้ฟังแบบทุกแง่ทุกมุมเลยค่ะ
สำหรับท่านที่ยังเป็นสมาชิกอยู่ในกองทุน ท่านสามารถนำเงินที่จ่ายสะสมเข้ากองทุนในปีนั้นมาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษี แต่หากสมาชิกมีการลงทุนใน RMF ด้วย เงินที่ได้รับยกเว้นทั้งสองกองทุนรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทค่ะ
สำหรับท่านที่สิ้นสมาชิกภาพและได้รับเงินจากกองทุน ลองพิจารณาดูว่าท่านตรงกับกรณีใดใน 3 กรณีดังนี้
กรณีแรก ถ้าท่านลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงาน ให้ท่านนำเงินที่ได้รับจากกองทุนเฉพาะส่วนที่เป็นเงินสมทบ ผลประโยชน์ของเงินสะสม และผลประโยชน์ของเงินสมทบไปรวมคำนวณกับเงินได้ทุกประเภทเพื่อชำระภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาประจำปี โดยเงินได้สุทธิจำนวน 150,000 บาทแรกได้รับยกเว้นภาษี
กรณีที่สอง ถ้าท่านลาออกจากงาน ให้ดูว่าท่านมีระยะเวลาทำงานกี่ปี หากท่านมีระยะเวลาทำงานน้อยกว่า 5 ปี ท่านมีหน้าที่เสียภาษีเช่นเดียวกับกรณีแรก หรือถ้าท่านมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ท่าน สามารถเลือกเสียภาษีโดยนำเงินที่ได้รับจากกองทุนไปรวมคำนวณกับเงินได้ทุก ประเภทเพื่อชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีเช่นเดียวกับกรณีแรก หรือจะไม่นำไปรวมคำนวณกับเงินได้ประเภทอื่นก็ได้
ซึ่งหากท่านไม่นำไปรวมคำนวณ ให้นำเงินที่ได้รับจากกองทุนเฉพาะส่วนที่เป็นเงินสมทบ ผลประโยชน์ของเงินสะสม และผลประโยชน์ของเงินสมทบไปคำนวณภาษี โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้เท่ากับ 7,000 บาท คูณจำนวนปีที่ทำงาน เหลือเท่าใดหักได้อีกร้อยละ 50 แล้วคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
แต่มีข้อสังเกตว่าการคำนวณภาษีในกรณีนี้จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ สุทธิจำนวน 150,000 บาทแรก และอย่าลืมกรอกใบแนบ ภงด. 91 หรือ 90 ตามแบบของกรมสรรพากรด้วย ท่านที่ไม่คุ้นเคยกับใบแนบ ลองเข้าไปดูได้ตาม ลิงค์ นี้ได้ค่ะ การกรอกใบแนบก็เพื่อให้สรรพากรทราบว่าท่านเลือกใช้สิทธิแยกคำนวณภาษีค่ะ
กรณีที่สาม ถ้า ท่านเกษียณอายุ ให้ดูว่าท่านเป็นสมาชิกกองทุนกี่ปี หากเป็นสมาชิกกองทุนน้อยกว่า 5 ปี เงินที่ท่านได้รับจากกองทุนไม่เข้าข่ายได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี จึงต้องเสียภาษีเช่นเดียวกับกรณีแรก หรือถ้าท่านเป็นสมาชิกกองทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ให้ดูเพิ่มเติมว่าท่านมีอายุขณะเกษียณตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไปหรือไม่ เพราะ เงินที่ได้รับจากกองทุนจะได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวนหากท่านเป็นสมาชิกกองทุน ตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป และมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์
สำหรับท่านที่อยากทราบจำนวนภาษีที่ต้องชำระ ลองเข้าโปรแกรมช่วยคำนวณภาษีที่อยู่บนเว็บไซต์ thaipvd.com ดูก็ได้ค่ะ
สำหรับท่านที่ลาออกจากงานโดยขอคงเงินไว้ในกองทุนเดิมเพื่อรอโอนย้ายไปเข้ากองทุนของนายจ้างรายใหม่ กรณีนี้ท่านไม่มีเงินได้เกิดขึ้น จึงยังไม่มีหน้าที่ยื่นแบบชำระภาษีจากเงินจำนวนดังกล่าว
อย่างไรก็ดี หากครบ 1 ปีแล้วยังไม่มาแจ้งว่าให้โอนเงินดังกล่าวไปเข้ากองทุนใหม่ ท่านต้องรับเงินออกจากกองทุนและมีหน้าที่ชำระภาษีจากเงินจำนวนดังกล่าว ส่วนวิธีคำนวณจะเป็นอย่างไร ต้องพิจารณาว่าท่านมีอายุงานกี่ปี โดยพิจารณาแบบเดียวกันกับกรณีที่สอง
ถึงตอนนี้ท่านคงพร้อมที่จะยื่นแบบชำระภาษีกันแล้วใช่ไหมคะ สรรหามาเล่าจะเสนอสาระเรื่องภาษีของสมาชิกกองทุนที่เกษียณแล้วแต่ได้รับการว่าจ้างให้ทำงานต่อมาเล่าให้ฟังในฉบับต่อๆไป ติดตามอ่านให้ได้นะคะ.. แล้วพบกันใหม่ สวัสดีค่ะ
ผมเองมีประสบการณ์ในเรื่องนี้ และก็เคยสอบถามถึงการเสียภาษีไปทาง TISCO (ที่ทำงานเก่าใช้ของที่นี่) ซึ่งก็เป็นไปตามบทความ เนื่องจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินที่หักจากการทำงานบริษัท ถ้าท่านลาออกจากงาน ก็ต้องลาออกจากกองทุนโดยปริยาย แต่ทั้งนี้ท่านสามารถโอนย้ายกองทุนได้ภายใน 1 ปี
Kiatchai Accounting & Payroll รับทำเงินเดือน รับทำบัญชี ในราคาไม่แพง
หมายเหตุ ในส่วนที่เป็นสีแดงคือส่วนที่ผมแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายที่ปรับปรุงในปี 2551
ที่มาบทความ..http://www.thaipvd.com/thaipvd_v3/sunha/article05-50.shtml
ตัวอย่างการการคำนวณภาษี
กรณีที่หนึ่ง ลาออกจากงานและมีอายุงานน้อยกว่า 5 ปี
กรณีนี้จะไม่ได้รับการยกเว้น ต้องเสียภาษีเงินได้ตามปกติ โดยนำ ส่วนของเงินสมทบของนายจ้าง + ผลประโยชน์ของ เงินสะสม + ผลประโยชน์ของเงินสมทบ มารวมเป็นเงินได้ เพื่อเสียภาษี
ตัวอย่างเช่น : สมมติว่ามีสมาชิกลาออกจากกองทุน หลังจากทำงานมาแค่ 4 ปี และได้รับเงินจากกองทุน 150,000 บาท โดยเป็นเงินสะสม 40,000 บาท ดังนั้น เงินได้ที่ต้องนำคำนวณเพื่อเสียภาษี จะเท่ากับ 150,000 – 40,000 = 110,000 บาท
กรณีที่สอง ลาออกจากงานแต่มีอายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
เสียภาษีเงินได้โดยนำส่วนเงินสมทบของนายจ้าง+ผลประโยชน์ จากเงินสะสม + ผลประโยชน์จากเงินสมทบ มาคำนวณเพื่อ เสียภาษี โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ปีละ 7,000 บาท เหลือเท่าใดให้หักค่าใช้จ่ายได้อีกครึ่งหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น : สมมติว่ามีสมาชิกลาออกจากกองทุน หลังจาก ที่ทำงานมาแล้ว 6 ปี และได้รับเงินจากกองทุน 250,000 บาท โดยเป็นส่วนของเงินสะสม 50,000 บาท ดังนั้น
เงินได้ที่นำมาคำนวณภาษีได้ 200,000
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนแรก (7,000 * 6 ปี) (42,000)
คงเหลือ 158,000 หัก ค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2 (158,000/2) (79,000)
คงเหลือเป็นเงินได้สุทธิที่ต้องเสียภาษี 79,000
ที่มาบทความ: http://www.kiatchai.com/archives/242
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้ สำหรับเงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
http://capital.sec.or.th/webapp/esub/taxcal/tc1.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น