27 มีนาคม 2559

การยื่น ภงด 90 / ภงด 91 อย่างละเอียด (มีรูปประกอบ)

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระและเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย



การยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้ (ภงด 90 / ภงด 91)

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมา โดยจะต้องทำการยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้ (ภงด 90 / ภงด 91) ภายในสิ้นเดือนมีนาคม ซึ่งขั้นตอนการยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้ (ภงด 90 / ภงด 91) มีดังนี้


1. เข้าไปที่เว็บไซต์ https://epit.rd.go.th/publish/index.php



2. เลือก "ยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90/91"



3. log-in เข้าระบบ หรือ เลือก "ลืมรหัสผ่าน" กรณีลืมรหัสผ่าน



4. จากรูปด้านล่างให้เลือกรายการต่างๆ
รายละเอียดจากในรูป (ตามตัวเลข)

1) เงินเดือน + โบนัส ที่ได้รับทั้งปี

2) กรณีผู้เสียภาษีมีรายได้มาจากเงินปันผลจากหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และต้องการเครดิตเงินปันผล

3) กรณีผู้เสียภาษีลาออกจากงานในปีที่แล้ว และทำการขายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) และต้องการไม่นำไปรวมคำนวณภาษี

คำแนะนำ (เพื่อผลประโยชน์ทางภาษี)
ถ้าอายุงานที่บริษัทเดิม มากกว่า 5 ปี ควรเลือกตัวเลือกนี้
ถ้าอายุงานที่บริษัทเดิม ไม่ถึง 5 ปี ไม่ควรเลือกตัวเลือกนี้ และให้เลือก "เงินค่าชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายแรงงาน(กรณีนำมารวมคำนวณภาษี)" แทน

4) กรณีผู้เสียภาษีมีการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

5) กรณีผู้เสียภาษีมีการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)



5. จากรูปด้านล่าง ให้กรอกข้อมูลรายได้ และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)



6. กรณีผู้เสียภาษีมีรายได้มาจากเงินปันผลจากหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และต้องการเครดิตเงินปันผล ให้ทำขั้นตอนต่อไปนี้

* สามารถตรวจสอบจำนวนเงินปันผลที่ได้รับและพิมพิ์หลักฐานการรับเงินปันผลได้ที่
https://ivp.tsd.co.th/signin เลือกเมนู  สอบถามข้อมูล > สิทธิประโยชน์

1) จากรูปด้านล่างให้กดปุ่ม "เพิ่ม / แก้ไข เงินปันผล"


2) จากรูปที่ 4 ด้านล่างให้ใส่ข้อมูลเงินปันผลของหุ้นแต่ละตัว เมื่อใส่ข้อมูลครบถ้วนทุกบริษัทแล้ว ให้กดปุ่ม "กลับสู่หน้าหลัก"


คำแนะนำ (เพื่อผลประโยชน์ทางภาษี)

- เมื่อบริษัทได้กำไรจากการดำเนินงาน บริษัทจะต้องเสียภาษีให้รัฐบาล ประมาณ 20 - 30% ของกำไร หลักจากนั้นบริษัทจะจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นจะถูกหักภาษี ณ​ที่จ่ายอีก 10% (ผู้ถือหุ้นโดนหักภาษีสองครั้ง)

- รัฐบาลจึงอนุญาตให้ผู้ถือหุ้นสามารถทำการเครดิตเงินภาษีคืนได้ ผ่านการยื่น ภงด 90 / ภงด 91

- ผู้ถือหุ้นสามารถเลือกได้ว่า จะทำการเครดิต หรือไม่เครดิต ก็ได้

- ถ้าฐานภาษีสูงกว่า 30% การเครดิตเงินปันผลอาจจะไม่คุ้ม ก็ควรเลือกที่จะไม่ทำการเครดิตเงินปันผล (ไม่ต้องทำขั้นตอนนี้)

- ถ้าฐานภาษีไม่เยอะ การเครดิตเงินปันผลจะทำให้ผู้ถือหุ้นได้เงินคืนมาส่วนนึง ผู้ถือหุ้นควรเลือกทำการเครดิตเงินปันผล (ให้ทำตามขั้นตอนข้อนี้)


เมื่อใส่ข้อมูลครบถ้วนทุกบริษัทและกดปุ่ม "กลับสู่หน้าหลัก" แล้ว ระบบจะแสดงหน้าจอดังรูปด้านล่าง




7. กรณีผู้เสียภาษีลาออกจากงานในปีที่แล้ว และทำการขายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) และต้องการไม่นำไปรวมคำนวณภาษี ให้กรอกใบแนบ ภงด 90 / ภงด 91 ดังรูปด้านล่าง
อธิบายเพิ่มเติม
- จากรูป เป็นตัวอย่างกรณีทำงานที่บริษัทเดิม 9 ปี หักค่าใช้จ่าย 7,000 x 9
- รายละเอียดต่างๆ บริษัทจะส่งเอกสารมาให้ ให้ผู้เสียภาษีกรอกตามเอกสารนั้น


8. จากหน้าที่ 4 "บันทึกลดหย่อน" ให้กรอกข้อมูลต่างๆ ดังนี้ (ดูรูปด้านล่างประกอบ)
- ค่าลดหย่อน อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุตั้งแต่ 60 ขึ้นไป
- เบี้ยประกันชีวิต
- เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
- ค่าซื้อหน่วยลงทุน กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
- ค่าซื้อหน่วยลงทุน กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
- เงินสมทบกองทุนประกันสังคม
- ค่าซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศ


9. เมื่อกรอกข้อมูลครบทุกส่วนแล้ว ระบบจะคำนวณข้อมูลและแสดงผลลัพธ์ดังรูปด้านล่าง ให้กดปุ่ม "ยืนยันการยื่นแบบ" เพื่อทำการยืนยันการยื่นแบบ ภงด 90 / ภงด 91

บทความยอดนิยม (ล่าสุด)

บทความยอดนิยม (1 ปีย้อนหลัง)