Pages

Pages

17 พฤษภาคม 2560

run shell script after connecting via ssh on linux / unix

If you want to run shell script after connecting to the server via ssh on linux or unix. Simple edit this file (depend on your shell)

  • ~/.profile
  • ~/.bash_profile
  • ~/.zprofile
  • ~/.login
then try to logout and re-login, the script will be executed automatically.

10 พฤษภาคม 2560

รู้ทัน "อารมณ์" ของการซื้อบ้าน ที่มักทำให้คุณตัดสินใจพลาดในตลาดอสังหา

มาดูกันว่า “อารมณ์” ของเราจะมีอิทธิพลต่อบ้านที่เราเลือกและราคาที่เราจ่ายอย่างไรบ้าง และถ้าเราไม่รู้ทันอารมณ์ของเราที่เกี่ยวข้องกับการได้เป็นเจ้าของบ้านอาจจะนำมาซึ่งการตัดสินใจซื้อบ้านแบบผิดๆ เหมือนที่เราเคยทำมาในอดีต



มันเป็นความจริงที่ว่า “บ้าน” เป็นทรัพย์สินที่เราใช้ “อารมณ์” ในการตัดสินใจมากกว่าการลงทุนประเภทอื่นมาก เพราะบ้านเป็นทั้งที่อยู่อาศัยให้เราได้ผ่อนคลายจากโลกที่วุ่นวายข้างนอก เป็นสถานที่ๆ เราเติบโต เริ่มต้นสร้างครอบครัว และก็เลี้ยงลูกเราต่อจนโต ทั้งยังแหล่งลงทุนที่หลายคนหวังว่าจะได้ผลตอบแทนที่มากกว่าเดิมในอนาคต ดังนั้นเราจึงผูกพันกับบ้านมากกว่าการลงทุนประเภทอื่น และหลายครั้ง เราก็มักปล่อยให้ความคิดของ “การเป็นเจ้าของ” (ownership) เข้ามามีอิทธิพลและบดบังหลักการใช้เหตุผลในการ “ซื้อบ้าน” จนทำให้เราได้รับผลกระทบจากความผิดพลาดในระยะยาว ยกตัวอย่างเวลาที่คนมักสนใจในขนาดและรูปแบบของตัวบ้านมากกว่าความจริงที่ว่า พวกเขาอยากจะใช้เวลาไปกับครอบครัวให้ได้มากที่สุด ดังนั้น พวกเขาก็อาจตัดสินใจซื้อบ้านที่ “เพอร์เฟ็ค” มาก แต่กลับต้องใช้เวลาเดินทางจากบ้านไปกลับที่ทำงานมากกว่า 2 ชั่วโมง แทนที่จะได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวซะอย่างนั้น และนี่ก็เป็นข้อผิดพลาดทางด้านจิตวิทยาของคนซื้อและคนขายบ้าน ที่เรามักพบในตลาดอสังหาฯ



เพิกเฉยภาพรวม

สำหรับผู้ที่กำลังจะซื้อบ้าน พวกเขามักมองและถูกดึงดูดด้วยจุดน่าสนใจทางกายภาพของบ้าน แต่ละจุด อย่างเช่น สวนหลังบ้านที่กว้าง เฟอร์นิเจอร์สวยหรู ห้องนอนที่กว้างมาก เพราะเราเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะทำให้เรามีความสุขมากขึ้นกว่าเดิม แต่บางครั้งมันก็ไม่เป็นอย่างนั้นเสมอไป เพราะการย้ายบ้านก็ได้อย่างเสียอย่างเหมือนกัน

สิ่งที่ต้องแลกในหลายๆ กรณีก็คือ ระยะเวลาในการเดินทาง หลายคนย้ายไปอยู่บ้านที่ใหญ่ขึ้นแต่ก็ไกลจากที่ทำงานมากขึ้นด้วยเช่นกัน ทำให้มีเวลาอยู่กับครอบครัวน้อยลงอีก ซึ่งการเดินทางไปกลับจากที่ทำงานนี้ก็มักไปลดทอนความสุขและเพิ่มความเครียดได้เหมือนกัน มีการศึกษาจาก Scandinavian Journal of Economics ที่ทำให้เห็นว่า คนที่ใช้เวลาในการเดินทางนานกว่า ในแง่ของความรู้สึก พวกเขาจะมีความอยู่ดีมีสุขน้อยกว่าคนที่ใช้เวลาเดินทางน้อย

มันง่ายเหลือเกินที่เราจะหลงเสน่ห์ไปกับความน่าสนใจและจุดเด่นทางแง่ของกายภาพต่างๆ ของบ้านที่จะซื้อ แต่ผู้ซื้อต้องไม่ลืมพิจารณาว่า บ้านที่จะซื้อจะส่งผลอย่างไรกับความสัมพันธ์ทางสังคมของเราบ้าง



มองข้ามรายจ่ายใหญ่ๆ

คนที่กำลังซื้อบ้านมองค่าใช้จ่ายเป็นส่วนๆ และไม่นำมาคิดรวมเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการปรับแต่งบ้าน ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจผิดๆ เกี่ยวกับราคาแท้จริงที่พวกเขาต้องจ่ายไปกับบ้านหลังนั้น อย่างเช่น บางคนก็เอาเงินไปจ่ายเงินดาวน์ไว้มากเสียจนไม่เหลือเงินไว้ซื้อเฟอร์นิเจอร์หรือของตกแต่งบ้านที่พวกเขาต้องการ ดังนั้นเวลาที่คุณจะซื้อบ้าน คุณต้องคำนวณเงินในการตกแต่งและซื้อเฟอร์นิเจอร์ด้วยเช่นกัน



ชั่งน้ำหนักระหว่างการซื้อบ้านกับการเช่าบ้าน

ความกังวลใจด้านการเงินที่ใหญ่ที่สุดในการซื้อบ้านก็คือ “จริงๆ แล้ว คุณควรที่จะซื้อบ้านหรือเปล่า” ซึ่งมีผลการวิจัยที่บอกว่า มันมีประโยชน์ในด้านจิตวิทยาที่จะตัดสินใจซื้อไปเลย ในขณะเดียวกันก็มีประโยชน์ที่จะเก็บเป็นทางเลือกไว้ด้วย

การซื้อบ้านทำให้เกิดแรงสนับสนุนทางจิตใจสูงทีเดียว เพราะการซื้อบ้านทำให้ผู้ซื้อเกิดความรู้สึกที่ว่า “ได้เป็นเจ้าของบ้านแล้วนะ” ซึ่งนับว่าเป็นจุดยิ่งใหญ่สำคัญทีเดียว เพราะการเป็นเจ้าของบ้านทำให้ผู้ซื้อสามารถควบคุมอะไรได้มากขึ้นเพราะไม่ต้องไปคอยถามความเห็นจาก “ผู้ให้เช่า” (landlord) อีกต่อไป

แต่ในขณะที่ความรู้สึกได้เป็นเจ้าของเป็นเหตุผลหนึ่งในการซื้อบ้าน แต่ก็ยังมีอีกหลายองค์ประกอบที่คุณยังไม่เคยค้นพบเมื่อได้เป็นเจ้าของบ้านจริงๆ ดังนั้นคุณต้องเตรียมความพร้อม



คาดหวังว่าจะได้เงินคืนก้อนโต

สำหรับการขายบ้าน ความจริงคือ คนส่วนใหญ่ไม่ได้ขายบ้านในราคาก้อนโตอย่างที่คิด แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีคนอีกมากที่ตั้งราคาบ้านของพวกเขาไว้อย่างโลกสวยทีเดียว มีการศึกษาของอาจารย์มหาวิทยาลัย Yale ท่านหนึ่งที่ทำการสำรวจคนซื้อบ้าน ปรากฎว่า คนซื้อบ้านนั้นคาดหวังว่าราคาในอนาคตของบ้านจะเพิ่มสูงขึ้นมาก ทำให้พวกเขาซื้อบ้านในราคาที่ไม่ได้ดีนักเมื่อดูจากทำเลและสังคมโดยรอบ เพราะพวกเขาคิดว่าเป็นการลงทุนที่ดี

แม้ว่ายังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าทำไมเจ้าของบ้านมักจะมีมุมมองต่ออนาคตที่ค่อนข้างสดใสมาก แต่นักวิชาการก็คิดว่าเป็นผลมาจาก “ภาพลวงของเงิน” คือ ความผิดพลาดที่เรามักไม่นำเอา “ค่าเงินเฟ้อ” เข้ามาพิจารณาด้วย

ลองคิดดูง่ายๆ ว่าเมื่อคุณได้บ้านจากคุณย่ามาเป็นมรดก คุณรู้ว่าราคาบ้านในปัจจุบันคือ 3 ล้าน แล้วคุณก็ดูราคาที่คุณย่าซื้อมาแค่ 5 แสน คุณก็คิดว่า “ว้าว ได้เงินเยอะเลย” แต่ที่มันดูเยอะเพราะคุณยังไม่ได้เอาเงินเฟ้อเข้ามาคำนวณในราคาบ้านเลย ดังนั้นคุณอาจจะไม่ได้ทำกำไรเท่าไรเมื่อเอาเงินเฟ้อมาคำนวณด้วย



ที่มา https://goo.gl/SF0YlG

07 พฤษภาคม 2560

"ความหลักแหลม"ที่สุดของมนุษย์ก็คือ "ความใจกว้าง"

"ความหลักแหลม"ที่สุดของมนุษย์ก็คือ "ความใจกว้าง"




ที่กรุงไทเปมีผู้รับเหมาก่อสร้างคนหนึ่ง เป็นคนหนุ่มที่ชาญฉลาดที่รู้กันทั้งวงการ มีหัวการค้าเป็นเลิศ ทำงานคล่องแคล่วว่องไว พร้อมลุยงานหนักมาตลอด หลายๆปีผ่านไป ก็ไปได้ไม่ไกล สุดท้ายหนี้สินล้นพ้นตัว จนถูกฟ้องล้มละลายในที่สุด




ในช่วงที่ชีวิตตกอับสุดๆ เขามักนั่งวิเคราะห์ถึงจุดบอดจุดอ่อนของตนอย่างละเอียด แต่ก็หาคำตอบให้ตนเองไม่ได้สักที




เพราะหากพูดถึงความเฉลียวฉลาด ความขยัน การวางแผน เขาไม่แพ้คนอื่นแน่นอน แต่ทำไมคนอื่นประสบความสำเร็จไปได้ดีกันทั้งนั้น แต่เขากลับห่างไกลจากความสำเร็จมากขึ้นเรื่อยๆ จนปัญญาสุดๆไม่รู้จะหันหน้าไปทางไหน




มีอยู่วันหนึ่งเขาเดินผ่านแผงขายหนังสือพิมพ์ข้างทาง ด้วยอารมณ์ที่เซ็งสุดกู่อยู่แล้ว ก็เลยซื้อหนังสือพิมพ์ติดมือมาฉบับหนึ่ง เปิดอ่านอย่างไม่ได้ตั้งใจ อ่านๆไป ตาสว่างขึ้นมาในทันใด มีข้อความหนึ่งบนหนังสือพิมพ์โดนใจแบบจุดประกายให้เขาสว่างไสวขึ้นมาอย่างทันตาเห็น หลังจากนั้น เขากลับมาเริ่มต้นอาชีพเดิมใหม่อีกครั้งด้วยเงินหนึ่งหมื่นเหรียญเท่าที่เขามีอยู่ในตอนนั้น




การกลับมาครั้งนี้ ธุรกิจของเขาเหมือนมีเวทย์มนต์ เริ่มจากรับตกแต่งร้านขายโชห่วยเล็กๆ ค่อยๆเดินใหม่ทีละก้าว จนสามารถลุยไปรับสร้างโรงงานปูนซีเมนต์ เริ่มจากการรับงานเหมาเล็กๆน้อยๆจากคนอื่นมาอีกทอดหนึ่ง จนสุดท้ายสามารถรับงานใหญ่ด้วยตัวเองอย่างเต็มรูปแบบ มีแต่ความราบรื่นมาตลอดทาง คนที่ร่วมค้าร่วมทุนหรือร่วมมือกับเขา ล้วนมีแต่ความสบายอกสบายใจและปนความแปลกใจในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของเขา ภายในเวลาไม่กี่ปี ทรัพย์สินของเขาเพิ่มจำนวนเป็นมูลค่าถึงร้อยล้านเหรียญ กลายเป็นเรื่องเล่าแสนมหัศจรรย์ในวงการก่อสร้าง




นักข่าวมากมายขอสัมภาษณ์เคล็ดลับในการกลับมาผงาดอย่างสง่าผ่าเผยของเขา เขาแค่พูดประโยคสั้นๆเพียงสี่พยางค์ว่า "รับแค่หกส่วน" เมื่อกาลเวลาผ่านไปปีแล้วปีเล่า ทรัพย์สินของเขาก็เพิ่มเป็นหมื่นล้านเหรียญในที่สุด




มีอยู่ครั้งหนึ่ง เขารับเชิญไปเป็นองค์ปาฐกที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง คำถามจากนักศึกษาล้วนถามเกี่ยวกับเคล็ดลับอะไรที่ทำให้เขาสามารถแปลงเงินหมื่นเหรียญเป็นหมื่นล้านเหรียญ เขายิ้มก่อนตอบว่า "เพราะผมมักยืนกรานเสมอว่า ขอรับน้อยลงสักสองส่วนสิบ" สร้างความงุนงงให้กับเหล่านักศึกษายิ่งขึ้น




เขามองหน้านักศึกษาทุกคนที่มีสายตาเต็มไปด้วยความอยากรู้แห่งความสำเร็จของเขา ในที่สุด เขาจึงเริ่มต้นเล่าชีวิตจากช่วงที่เขาตกอับที่สุด เขาบอกว่าเขาเจอหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งโดยบังเอิญ มีบทสัมภาษณ์นายลีเจอะไค่ ซึ่งเป็นลูกชายของนายลีกาชิง มหาเศรษฐีชาวฮ่องกง นั่นคือบทความที่จุดประกายให้มุมมองของเขาเปลี่ยนไป




คนสัมภาษณ์ถามนายลีเจอะไค่ว่า "คุณพ่อของคุณสอนเคล็ดลับอะไรให้คุณในการทำการค้า"




นายลีตอบว่า "ท่านไม่ได้สอนเคล็ดลับอะไรเกี่ยวกับเรื่องการค้าหรือการหาเงิน แต่ท่านเน้นสอนวิธีการวางตัวที่เหมาะสมให้ผม"




นายลีพูดต่อว่า "คุณพ่อย้ำเตือนผมอยู่เสมอ ลูกจะร่วมมือทำการค้าอะไรกับใครก็ได้ หากลูกได้รับส่วนแบ่งของกำไรมา เจ็ดส่วนสิบอาจจะดูสมเหตุสมผล แปดส่วนก็พอได้ แต่ตระกูลลีของเรา "รับแค่หกส่วน" ก็เพียงพอแล้ว"




เมื่อพูดมาถึงตอนนี้ เขาซึ่งยืนอยู่บนเวทีพูดอย่างเน้นย้ำว่า "บทสัมภาษณ์บทนี้ ผมบรรจงอ่านไม่ต่ำกว่าร้อยเที่ยว และในที่สุด ผมก็คิดว่าผมสามารถเข้าใจถึงแก่นแท้ของมัน จุดสูงสุดของการวางตัวก็คือ "ความใจกว้าง" เพราะฉะนั้น "ความหลักแหลม"ที่สุดของมนุษย์ก็คือ "ความใจกว้าง"




ลองคิดสักนิดจะตระหนักว่า นายลีกาชิงมักจะยินดีให้คนอื่นได้มากกว่าอีกสองส่วน มันจึงเป็นสาเหตุที่ว่า ใครๆก็อยากร่วมมือร่วมทุนกับนายลีกาชิง เพราะมีแต่ได้กับได้




แม้นายลีกาชิงมักจะยินดีที่จะรับแค่หกส่วนแทนที่จะรับแปดส่วน โอกาสการทำธุรกิจจึงเพิ่มขึ้นมากมาย ใครมีโปรเจ็คหรือโอกาสก็มักจะมาหาเขาก่อน ลองคิดดูว่าถ้าเขารับเต็มจำนวนทั้งแปดส่วน โอกาสร้อยครั้งอาจจะลดลงมาเหลือไม่กี่ครั้ง สรุปแล้ว ส่วนไหนจะได้เงินมากกว่า นั่นคือเคล็ดลับของความสำเร็จ"




"ผมประสบความล้มเหลวในช่วงแรกของชีวิต ล้วนมาจากการคิดเล็กคิดน้อยไม่ยอมให้มีอะไรเล็ดลอดหรือเสียเปรียบใคร ตรงกันข้าม กลับพยายามเค้นหาผลประโยชน์จากคู่ค้าให้มากเข้าไว้ เพราะคิดว่ากำไรยิ่งสูง ก็ย่อมหมายถึงความสำเร็จที่หอมหวาน ในที่สุด อาจดูดีเหมือนมีกำไรดีในวันนี้ แต่กลับพ่ายแพ้เสียอนาคตและโอกาสไปหมด"




ก่อนจบการปราศัย เขาได้หยิบเอาหนังสือพิมพ์เก่าๆออกมาจากกระเป๋าเอกสาร นั่นก็คือบทความที่เขาเอ่ยถึง หลายๆปีนี้ เขานำมันติดตัวเสมอ เพียงเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจเตือนสติตัวเขาเอง บนช่องว่างของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น เขาใช้พู่กันจีนเขียนตัวหนังสือเล็กๆอย่างบรรจงว่า.....

"เจ็ดส่วนสิบอาจจะดูสมเหตุสมผล แปดส่วนก็คงได้ แต่ผมขอแค่หกส่วนสิบก็เพียงพอแล้ว"




นักธุรกิจในวงการอสังหาริมทรัพย์ผู้นี้ นามว่านายหลิน เจิ่น เจีย เป็นประธานบริษัท ฉวนเซิ่น พัฒนาอสังริมทรัพย์ จำกัด แห่งกรุงไทเป ปัจจุบันเขาเป็นเศรษฐีระดับต้นๆของใต้หวัน เขาบอกว่า ที่เล่ามาทั้งหมดนั้น ก็คือจุดเริ่มต้นของที่มาของทรัพย์สินหมื่นล้านเหรียญของเขาในวันนี้



***********




การมุ่งหาผลประโยชน์สูงสุด

เป็นเรื่องธรรมดาที่ใครๆเขาก็ทำกัน

แต่หากรู้จักแบ่งปันผลประโยชน์ให้ผู้อื่น

เขาผู้นั้นคือคนเหนือคน




คนใจกว้างที่ซื่อสัตย์

หนทางชีวิตเขาจะทั้งกว้างทั้งยาวไกลกว่าเสมอ




"ขจรศักดิ์"