เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ มักเป็นๆหายๆ บางครั้งอาจมีอาการบ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งสาเหตุของอาการเวียนศีรษะนั้น เกิดจากปัจจัยที่เกี่ยวกับการควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
สิ่งกระตุ้นที่ทำให้สูญเสียการทรงตัวเร็วขึ้น
โรคที่มีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันสูง หรือโรคหัวใจ ที่ทำให้เกิดการตีบของหลอดเลือด เลือดจึงไหลไปเลี้ยงอวัยวะทรงตัวหูชั้นในได้ไม่ดี หรือไปเลี้ยงสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัวได้ไม่เพียงพอ
สำหรับผู้ที่มีอาการเดินเซ เวียนศีรษะ ไม่ควรให้นั่งหรือนอนอยู่เพียงอย่างเดียว แต่ควรได้เดินไปทำกิจวัตรประจำวันด้วย แต่ต้องมีคนคอยดูแลอย่างใกล้ชิด และไม่ควรพยุงตลอดเวลา เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถเดินเองได้
2. โรคกระดูกพรุน
เป็นโรคที่พบในผู้สูงอายุทุกคน อันมีสาเหตุสำคัญจากการทำงานของฮอร์โมนที่ลดลง
สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน
1. ไม่ได้รับแคลเซียมเพียงพอ
2. กรรมพันธุ์
3. การใช้ยาสำหรับโรคบางอย่างทำให้เกิดการลดความหนาแน่นของกระดูก เช่น ยาคอร์ติโซน
4. การสูบบุหรี่หรือดื่มสุราเป็นประจำ
5. ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ดื่มชา หรือกาแฟ ซึ่งมีผลทำให้กระดูกเสื่อมง่าย
6. ขาดการออกกำลังกาย
7. ขาดวิตามินดี เพราะในวิตามินดี มีความจำเป็นในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้
ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคกระดูกพรุน
1. ออกกำลังกายเป็นกิจวัตร
2. ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลากระป๋องปลาเล็กปลาน้อยหรือดื่มนมพร่องมันเนยผักผลไม้เป็นต้นมา
3. งดดื่มสุราและงดสูบบุหรี่
3. โรคข้อเสื่อม
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่กระดูกอ่อนผิวข้อเป็นหลัก โดยมากมักเป็นที่ตำแหน่งข้อ คือ มีอาการปวดและเป็นหลังจากที่มีการใช้ข้อมากกว่าปกติ อาจมีอาการเจ็บด้านใดด้านหนึ่งของข้อได้ หรืออาจมีอาการบวมแดง แต่เมื่อได้พักอาการปวดก็จะลดลงหรือหายไป แต่อาการจะเป็นๆหายๆ ขึ้นอยู่กับการใช้งานข้อนอก จากนี้ยังมีอาการข้อฝืดเกิดขึ้นจากการหยุดการเคลื่อนไหวข้อเป็นเวลานาน เช่น นั่งท่าเดียว นั่งสมาธิและนั่งพับเพียบฟังเทศน์ เป็นต้น
ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคข้อเสื่อม
1. หมั่นออกกำลังกาย บริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
2. เข้าห้องน้ำไม่ควรนั่งยอง ควรปรับเปลี่ยนเป็นชักโครก หรือหาม้าสามขา มาคร่อมบนส้วมซึม
3. ไม่ควรนั่งกับพื้น หรือทำกิจกรรมที่ต้องก้มเป็นเวลานาน
4. หลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดหรือที่สูงชัน
5. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
4. โรคสมองเสื่อม
เป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งแก้ไขได้ เช่น เกิดจากการขาดสารอาหารบางชนิด หรือแก้ไขไม่ได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์
ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคสมองเสื่อม
1. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
2. ระวังการใช้ยาเอง ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งยาทุกครั้ง และควรนำยาที่รับประทานเป็นประจำไปให้แพทย์ดูเพื่อกันการสั่งยาซ้ำซ้อน
3. หมั่นไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และเจาะเลือดตรวจหาประวัติและไขมันในเลือดสูง
4. ออกกำลังกายเป็นประจำ
5. หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียดและชะลอภาวะสมองเสื่อม เช่น ดนตรีบำบัด เต้นรำ เล่นเกมฝึกสมอง กลิ่นบำบัด และการออกกำลังกายที่ฝึกความสำพันธ์ของร่างกายและการสั่งงานของสมองซีกซ้ายและขวา
5. โรคซึมเศร้า
เป็นอาการเจ็บป่วยทางจิตใจที่สำคัญซึ่งไม่อาจมองข้ามได้ เพราะโรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุหนึ่งของการฆ่าตัวตาย
เป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งแก้ไขได้ เช่น เกิดจากการขาดสารอาหารบางชนิด หรือแก้ไขไม่ได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์
ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคสมองเสื่อม
1. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
2. ระวังการใช้ยาเอง ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งยาทุกครั้ง และควรนำยาที่รับประทานเป็นประจำไปให้แพทย์ดูเพื่อกันการสั่งยาซ้ำซ้อน
3. หมั่นไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และเจาะเลือดตรวจหาประวัติและไขมันในเลือดสูง
4. ออกกำลังกายเป็นประจำ
5. หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียดและชะลอภาวะสมองเสื่อม เช่น ดนตรีบำบัด เต้นรำ เล่นเกมฝึกสมอง กลิ่นบำบัด และการออกกำลังกายที่ฝึกความสำพันธ์ของร่างกายและการสั่งงานของสมองซีกซ้ายและขวา
5. โรคซึมเศร้า
เป็นอาการเจ็บป่วยทางจิตใจที่สำคัญซึ่งไม่อาจมองข้ามได้ เพราะโรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุหนึ่งของการฆ่าตัวตาย
ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคซึมเศร้า
1. หลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียว
2. พยายามปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นในวัยนี้
3. ทำกิจกรรมหรืองานอดิเรก รวมทั้งทำกิจกรรมเข้าสังคมร่วมกับผู้อื่น
4. หากอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
1. หลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียว
2. พยายามปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นในวัยนี้
3. ทำกิจกรรมหรืองานอดิเรก รวมทั้งทำกิจกรรมเข้าสังคมร่วมกับผู้อื่น
4. หากอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
ที่มา forward email
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น