Pages

Pages

02 กรกฎาคม 2563

เครดิตภาษีเงินปันผล รายได้พิเศษของนักลงทุนในหุ้น

เครดิตภาษีเงินปันผลคืออะไร

ปัจจุบันเงินปันผลที่นักลงทุนในหุ้นได้นั้นถูกหักภาษีไป 2 ครั้ง เช่น 
บริษัท A เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 20%
มีกำไรก่อนภาษี 100 บาท
มีกำไรหลังภาษี 100 - 20% = 80 บาท
สมมติบริษัท A จ่ายเงินปันผลให้นักลงทุนในหุ้นจากกำไรทั้งหมดเลย คือ 80 บาท
นักลงทุนในหุ้นจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% = 80 - 10% = 72 บาท

จะเห็นได้ว่า จากเงิน 100 บาท มาเป็น 72 บาทนั้น นักลงทุนในหุ้นเสียเงินไปทั้งหมด 28 บาท หรือคิดเป็น 28%

สมมตินักลงทุนมีฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ 10% นักลงทุนควรจะเสียภาษีแค่ 10 บาท ไม่ใช่ 28 บาท

เพื่อลดปัญหาการเสียภาษีซ้ำซ้อน กรมสรรพากรเลยอนุญาตให้นักลงทุนสามารถทำการเครดิตภาษีเงินปันผลได้ (หรือไม่ต้องทำก็ได้)



การคำนวณเครดิตภาษีเงินปันผล

สูตรการคำนวณเครดิตภาษีเงินปันผล คือ

เครดิตภาษีเงินปันผล = (เงินปันผล x อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล) / (100 - อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล)

เช่น บริษัท A เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 20% และจ่ายเงินปันผล 80 บาท
เครดิตภาษีเงินปันผล = (80 x 20) / (100 - 20) = 20 บาท

ถ้าเราต้องการเครดิตภาษีเงินปันผล เราจะต้องนำเงินปันผล + เครดิตภาษีเงินปันผล (จากตัวอย่างคือ 80 + 20 = 100 บาท) ไปรวมกับรายได้ตอนยื่น ภงด

เราสามารถดูภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทที่เราลงทุนได้จากเอกสารที่ทาง TSD ส่งมาให้เรา เวลาได้รับเงินปันผล ดังรูป




ควรเครดิตภาษีเงินปันผลหรือไม่

จากที่กล่าวไปแล้วว่า การเครดิตภาษีเงินปันผลนั้น เราสามารถเลือกที่จะทำหรือไม่ทำก็ได้ ซึ่งหลักการคำนวณคือ

ถ้าฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเราสูงกว่า ก็ไม่ควรทำ
ถ้าฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเราต่ำกว่า ก็ควรทำ

จากตารางฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จาก Link


จากตัวอย่างบริษัท A เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 20% ข้างต้น
นักลงทุนในหุ้นของบริษัท A จะได้หักไป 28% ดังนั้น
ถ้านักลงทุนฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 0%-25% ควรทำการเครดิตภาษีเงินปันผล
ถ้านักลงทุนฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 30-35% ไม่ควรทำการเครดิตภาษีเงินปันผล



ประโยชน์ของเครดิตภาษีเงินปันผล

ประโยชน์ของการเครดิตภาษีเงินปันผลนั้นมีอยู่ 2 อย่างด้วยกันคือ

1. ได้เงินคืนจากการจ่ายภาษีซ้ำซ้อน
2. ฐานรายได้สูงขึ้นทำให้เราสามารถซื้อกองทุนรวม SSF RMF ได้มากขึ้นกว่าเดิม

สมมตินาย ก เป็นพนักงานออฟฟิศ
- เงินเดือน 30,000 บาท
- โบนัส 1 เดือน หรือปีละ 30,000 บาท
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 5% หรือ เดือนละ 1,500 หรือปีละ 18,000 บาท
- ประกันสังคม ปีละ 9,000 บาท
- เมื่อกรอกข้อมูลลง โปรแกรมคำนวณภาษี
จะได้รายได้ทั้งปี 203,000 บาท และเสียภาษี 2,650 บาท
ซึ่งนาย ก สามารถซื้อ SSF RMF ได้สูงสุด 234,000 บาท ดังรูป



สมมตินาย ก ได้รับเงินปันผลจากบริษัท A ซึ่งเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 20% ปีละ 50,000 บาท และนาย ก เลือกที่จะเครดิตภาษีเงินปันผล

สูตรการคำนวณเครดิตภาษีเงินปันผล คือ

เครดิตภาษีเงินปันผล = (เงินปันผล x อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล) / (100 - อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล)

เครดิตภาษีเงินปันผล = (50,000 x 20) / (100 - 20) = 12,500 บาท

นาย ก ต้องนำรายได้ จากเงินปันผล + เครดิตภาษีเงินปันผล 
= 50,000 + 12,500 = 62,500 บาท ไปคำนวณภาษีด้วย

นาย ก จะเสียภาษี 5,775 บาท
แต่นาย ก จะได้เงินเครดิตภาษีเงินปันผลคืนเป็นเงิน 12,500 บาท
นอกจากนั้น นาย ก ยังได้รับสิทธิ์ซื้อ SSF RMF เพิ่มจาก 234,000  เป็น 271,500 บาท อีกด้วย ดังรูป


สมมติ นาย ก ซื้อ SSF RMF เต็มจำนวน การเครดิตภาษีเงินปันผล จะทำให้นาย ก ได้รับเงินคืน 12,500 บาท



ขั้นตอนการเครดิตภาษีเงินปันผล

1. ไปที่เว็บ TSD https://ivp.tsd.co.th

2. เข้าหน้า ดาวน์โหลด > ไฟล์ยื่นภาษี และกดปุ่ม ​Download เพื่อ download ไฟล์เพื่อยื่นสรรพากร ตามรูปด้านล่าง



3. ตอนยื่น ภงด 90/91 ให้เลือก "เงินปันผล ส่วนแบ่งกำไนจากหุ้น/กองทุน (มาตรา 40(4)(ข))" ตามรูปด้านล่าง



4. กดปุ่ม "นำเข้าข้อมูลจาก TSD" แล้วอัพโหลดไฟล์จากข้อ 1 ตามรูปด้านล่าง















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น