Pages

Pages

20 เมษายน 2563

เด็กบ้านนอกขอเล่า part 2

 เนื้อหาตอนที่แล้ว Link


Critical Thinking

"Critical Thinking หรือ การคิดเชิงวิพากษ์ เป็นความสามารถในการคิด วิเคราะห์ พิจารณา ประเมินและตัดสินใจข้อมูลที่ได้รับอย่างเป็นเหตุเป็นผล โดยมีพื้นฐานมาจากผลงานของ Benjamin Bloom (1956) โดยเป็นการจัดหมวดหมูพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านสติปัญญา โดยแบ่งออกเป็น 6 ระดับ ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมิน โดยรวมแล้วทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ หรือ Critical Thinking คือกระบวนการคิดวิเคราะห์และแยกแยะข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยไม่เอาความรู้สึกหรือความเชื่อส่วนตัวมาปะปน ทำให้เป็นทักษะที่สำคัญในด้านการตัดสินใจ โดยเฉพาะในยุคที่ข้อมูลมากมาย ถูกลำเลียงมาสู่สายตาเราอย่างง่ายดาย" ที่มา https://www.terrabkk.com/articles/197784

ปัจจุบัน คำว่า Critical Thinking นั้น เป็นคำที่ฮิตมากๆ ซึ่งในสมัยก่อนนั้นไม่มีคำๆ นี้ ผมได้มีโอกาสศึกษารายละเอียดทฤษฎี Critical Thinking อย่างคร่าวๆแล้ว ทำให้นึกย้อนกลับไปถึงสมัยเรียนปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัย

ซึ่งสมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยนั้น ผมได้มีโอกาสเรียนวิชาคณิตศาตร์ ซึ่งเนื้อหาของวิชานั้นค่อนข้างน่าสนใจ โดยจะเน้นไปที่การ proof, ตรรกะการหาเหตุและผล มีการยก scenario ต่างๆ หลายอย่างขึ้นมา และให้เราทำการพิสูจน์เพื่อหาเหตุและผลก่อนที่จะสรุป และอาจารย์ที่สอนก็มักจะย้ำกับนักศึกษาบ่อยๆ ว่าอย่าเชื่ออะไรง่ายๆ ต้องพิสูจน์ ต้องหาเหตุและผลก่อนค่อยเชื่อ ซึ่งน่าจะคล้ายๆ กับหลักการ Critical Thinking เหมือนกัน

นอกจากนั้น ถ้าใครได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็น่าจะเคยได้ยินเรื่อง "กาลามสูตร" ที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้เมื่อ 2 พันกว่าปีที่แล้ว ซึ่งหลักการต่างๆ นั้นแทบจะเรียกได้ว่านี่คือ Critical Thinking เลยครับ

"กาลามสูตร เป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่
1. มา อนุสฺสวเนน - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟัง ๆ ตามกันมาหรือเพียงใครพูดให้ฟัง
2. มา ปรมฺปราย - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมาอย่างยาวนาน
3. มา อิติกิราย - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือหรือคนส่วนใหญ่เชื่อกัน
4. มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือมีในคัมภีร์
5. มา ตกฺกเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
6. มา นยเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน (คาดคะเน) และการเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้มาปะติดปะต่อกัน
7. มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าปลงใจเชื่อเพราะการเห็นด้วยตา หรือตามลักษณะอาการที่แสดงออกมาน่าจะเป็นไปได้
8. มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีหรือทิฏฐิของตนหรือตามอคติในใจ
9. มา ภพฺพรูปตา - อย่าปลงใจเชื่อเพราะผู้พูดน่าเชื่อถือ หรือเป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือ หรือเพราะเป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง
10. มา สมโณ โน ครูติ - อย่าปลงใจเชื่อเพราะเคารพนับถือว่าคนพูดเป็นสมณะผู้นำทางจิตวิญญาณของเรา เป็นครูของเรา เป็นศาสดาของเรา"

ผมคิดว่า concept เหล่านี้ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก และใช้ได้กับชีวิตประจำวัน เพราะในโลกปัจจุบันนั้น มีข้อมูลข่าวสารต่างๆ มากมาย หลากหลายรูปแบบ หลากหลายช่องทาง เช่น ข่าว วิทยุ วิดีโอ โฆษณา การบอกเล่าปากต่อปาก การได้ยิน ได้เห็น จากคนอื่นๆ ซึ่งถ้าเราเป็นคนที่เชื่อคนง่าย หรือไม่มีเหตุและผลนั้น อาจจะทำให้ตัดสินใจผิดพลาดได้ครับ


อ่านตอน 3 ได้ที่ Link

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น