ทฤษฎี Efficient Market Hypothesis หรือทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพ มันจริงหรือไม่?
- ทุกคนสามารถเข้าถึงข่าวสารได้เท่าเทียมกัน
- แต่ละคนฉลาด ใช้เหตุผลในการตัดสินใจและไม่มีอคติ
- ราคาหุ้นจะสะท้อน ข้อมูลข่าวสารทุกอย่างทันที
- ไม่มีใครสามารถหากำไรจากราคาที่ผิดพลาดได้อย่างต่อเนื่อง
ในความเป็นจริงคือ
- มีเหตุการณ์ผิดปกติหลายอย่าง ในโลกของการลงทุน
- เกิดภาวะฟองสบู่และภาวะตลาดตกต่ำซ้ำแล้วซ้ำอีก
- คนไม่ได้ตัดสินใจด้วยเหตุผลตลอดเวลา
- อคติต่างๆมีลักษณะเป็นรูปแบบที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก
แม้แต่เรื่องในชีวิตประจำวัน
- คนเราไม่ได้ฉลาดและใช้เหตุผลในการตัดสินใจโดยไม่มีอคติ ถ้าคนเราใช้เหตุผล และความเหมาะสมในการตัดสินใจ คนเรา คงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมอาหาร ไม่สูบบุหรี่ หักห้ามใจไม่กินของหวานมากเกิน ไม่ซื้อของหรูหราเกินฐานะ กันได้ไม่ยาก ไม่ต้องพูดถึงข่าวต่างๆที่เกิดเพราะความโลภล้วนๆ
- แต่ละคนตอบสนอง ต่อข่าวสารและโอกาสต่างๆได้ไม่เท่ากัน ยกตัวอย่าง ในชีวิตประจำวัน สมมุติคุณต่อแถวรอจ่ายเงิน อยู่ที่ ช่อง ต่อคิว อยู่ๆทันใดนั้นพนักงานเปิดช่องจ่ายเงินเพิ่มอีก 1 ช่อง ก็จะมีคนที่อยู่ใกล้เล็งเห็น เข้าไปได้ก่อน คนที่แม้จะอยู่ใกล้ แต่ยืนเล่นโทรศัพท์มือถืออยู่ ก็ไม่เห็น ก่อนที่สุดท้ายแต่ละแถวจะกลับมายาวเท่าๆกันเหมือนเดิม
ทฤษฎีของ Daniel Kahneman- System1 thinking ลักษณะการคิดแบบไม่ต้องพยายาม สัญชาตญาณ
- System2 thinking คิดช้าคิดอย่างละเอียด คิดอย่างแยบคาย
ในตลาดหุ้นเราห้ามใช้วิธีคิด แบบที่ 1 เลย แต่ในทางปฏิบัติทำได้ยาก และมันไวมากที่จะเผลอใช้วิธีคิดแบบที่1
ในการลงทุนเราต้องมีแต้มต่อ ไม่ว่าจะเป็น มีข้อมูลที่ดีกว่า วิเคราะห์ได้ดีกว่า และมีอคติน้อยกว่า
เราต้องเรียนรู้ลักษณะกับดักเชิงจิตวิทยาแต่ละอย่างถ้าเรารู้จักพวกมันเราจะตระหนักถึงพวกมันได้ง่ายขึ้น และมีโอกาสที่จะรอดพ้นจากอิทธิพลของพวกมันได้มากขึ้น
อคติอย่างที่ 1 confirmation Bias
ผมขอเอาอคตินี้ขึ้นเป็นอันดับแรกเพราะเห็นพิษภัยของมัน อย่างมาก โดยเฉพาะเวลาเรา ลงทุนหุ้น/ วิเคราะห์ กันเป็นกลุ่มเป็นทีม เกรงใจกันไม่กล้าออกความเห็นแย้งกัน แย้งเพื่อน
หรือแม้แต่เรา หาข้อมูลคนเดียว อ่านบทวิเคราะห์ อ่านข้อมูลหุ้น คนเดียว confirmation bias ก็เกิดขึ้นได้ตั้งแต่เริ่มแรกที่เราเริ่มต้น Search หาข้อมูลกันเลยทีเดียวโดยที่บางทีก็ไม่รู้ตัว
ประโยคคำพูดที่เราจะใช้ Search ก็ลำเอียงแต่แรกแล้ว ก็จะได้ข้อมูลพวกนั้นออกมา มากกว่าปกติ
คนเรา มักให้น้ำหนักกับข้อมูลหรือความคิดเห็นที่ยืนยันความคิดของตัวเอง ในขณะเดียวกันก็มักจะมองข้าม
ให้น้ำหนักน้อยกับข้อมูลหรือความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับความคิดของตัวเอง (พี่เวป : เรื่องการเมืองก็เช่นกัน คนที่เห็นต่างทางการเมืองอย่างมีอคติข้อนี้ เลยไม่มีทางคุยกันรู้เรื่อง)
ผลที่ตามมา มองข้ามข้อเสียหรือแง่ลบของหุ้นและบริษัท ซื้อหุ้นตัวหนึ่งในสัดส่วนที่เยอะเกินไป ถือหุ้นที่จริงๆไม่ได้ดีอย่างที่คิดนานเกินไป
วิธีช่วยแก้confimation bias คือการคิดตรงกันข้าม
ซื่อสัตย์กับตัวเอง ตั้งคำถามเราสามารถฆ่าหุ้นตัวนี้อย่างไรได้บ้าง คนที่ไม่ชอบพูดตัวนี้เขามีเหตุผลอะไร ถ้ามันดีจริงทำไมราคาถึงยังถูก หาคนมาคิดแย้ง (แต่ส่วนใหญ่เราจะ unfriend เค้าไปหมดแล้ว ฮา)
อคติอย่างที่ 2 Overconfidence Bias
ข้อนี้ ผมคิดว่า ผมก็โดนเต็มๆ ยิ่งศึกษามาก ความมั่นใจมันยิ่งลดลง555
คนเรามักจะมีความสามารถและความฉลาด คิดว่าคาดการณ์อนาคตได้ดี มากเกินความเป็นจริง เชื่อในวิจารณญาณของตัวเองมากเกินไป (ประโยคที่ผมคิดว่าโดนใจ ที่พี่เวปพูด คือ เรามักจะ Overconfidence ว่าเราน่ะ… ไม่ได้ overconfidence )
คนอเมริกัน 94% คิดว่าตัวเองฉลาดกว่าระดับเฉลี่ย คน 86% คิดว่าตัวเองมี Common Sense ดีกว่าระดับเฉลี่ย และคน 79% คิดว่าตัวเองหน้าตาดีกว่าระดับเฉลี่ย
ทำไมเราถึง overconfident
- เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะมองตัวเองดี มองบวก
- ได้ผลลัพธ์ดีๆติดต่อกัน (beginner luck)
- ทำสิ่งที่ตัวเองมีประสบการณ์น้อย (ยังไม่รู้ว่าจริงๆมันยาก มันมีปัจจัย 1234..)
*พี่เวปให้ดูกราฟระดับความมั่นใจที่สวนทางกับระดับฝีมือที่แท้จริง
*พี่เวปให้ดูชนิดของกิจกรรม ว่าใช้ฝีมือหรือใช้โชค = การลงทุนในหุ้นในระยะสั้น ค่อนไปทางการใช้โชคอย่างมากใกล้เคียง กับ Slot Machine [ส่วนหมากรุกนั้นใกล้เคียงกับ การใช้ฝีมือมากที่สุด]
วิธีดูว่ากิจกรรมอะไรใช้โชคหรือใช้ฝีมือให้ลองทำตรงกันข้าม หมายความว่าถ้าเราตั้งใจที่จะแพ้มันต้องแพ้ได้ เช่นซื้อหุ้น 5 ตัวตั้งใจว่าพรุ่งนี้ให้มันลงทุกตัวสามารถควบคุมมันได้ไหม ระยะสั้นยาก บางตัวมันขึ้น แต่ในระยะยาว จะใกล้เคียงไปทางด้านฝีมือมากขึ้นเรื่อยๆ ซื้อหุ้น 5 ตัวตั้งใจให้มันลงทุกตัวในระยะ 10 ปีอาจจะเลือกหุ้นเน่าได้ไม่ยาก
การลด overconfidence bias ถามตัวเองว่า เรามีหลักฐานอะไรที่พิสูจน์ว่าตัวเองเก่ง ถ้าคนที่มีความสามารถอย่างเราพยายามเท่าๆกับเราถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว คนทั้งโลกคงประสบความสำเร็จกันมากมายแล้วหรือเปล่า ประวัติความสำเร็จของเรามีความต่อเนื่องยาวนานมา นานแค่ไหน
อคติอย่างที่ 3 Loss Aversion Bias หลีกเลี่ยงความสูญเสีย (Loss ความสูญเสีย, Aversionเกลียดชัง หลีกเลี่ยง)
คนเราจะพยายามหลีกเลี่ยงการขาดทุนมากกว่าการหากำไร
ความเสียใจที่เกิดจากการขาดทุน รุนแรงเป็น2เท่า ของความดีใจที่เกิดจากการได้กำไร
ผลที่ตามมา
- ถือหุ้นขาดทุนนานเกินไป ขายไม่ลง ทำใจขายไม่ได้ รับไม่ได้ ถือเงินสดมากเกินไปเพราะกลัวขาดทุน
- ขายหุ้นที่ได้กำไรเร็วเกินไป
วิธีคิดแก้ไข เช่น ถ้าถือหุ้นแดง(ดอยอยู่) ถามตัวเองว่า ถ้าสมมุติเราไม่ได้มีหุ้น เราถือแต่เงินสด ณ เวลานี้ ราคานี้ คุณภาพบริษัทนี้ เราจะเข้าซื้อหุ้นตัวนี้ไหม?
อคติอย่างที่ 4 Cognitive dissonance Bias (การรับรู้/ความเข้าใจ ขัดแย้ง)
ในชีวิตประจำวัน เจอเยอะมากๆ คือ เวลาสิ่งที่ควรทำ กับสิ่งที่อยากทำ ไม่เหมือนกัน คนเราจะหาเหตุผลหลอกตัวเองให้ได้ทำในสิ่งที่อยากทำ หรือหาเหตุผล(เหตุผลอ่อนๆ เหตุผลเข้าข้างตัวเอง)มาหักล้าง
เวลาสิ่งที่ควรเชื่อกับสิ่งที่อยากเชื่อไม่เหมือนกัน คนเราจะรู้สึกไม่สบายใจ และจะพยายามหาเหตุผลมาหลอกตัวเอง ให้ได้เชื่อในสิ่งที่อยากเชื่อ หรือหาเหตุผลหักล้างเพื่อไม่ต้องเชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ
บิดเบือนเหตุผล ความจำ หรือเหตุการณ์ในอดีตเพื่อให้สอดคล้องกับความเชื่อของตนเอง
ยกตัวอย่าง คนเงินเดือนไม่มาก อยากมีวินัยการออมเงินแต่ก็อยากขับ bmwรุ่นใหม่ ใส่เหตุผลเข้าข้างตัวเองว่า ของมันต้องมี มีแล้วเติมพลังชีวิต มีแรงขับไปหาตังเพิ่มใหม่ได้ บลาๆ
อคติอย่างที่ 5 Representativeness Bias (representative = ตัวแทน ผู้แทน)
คนเรามีแนวโน้มที่จะจัดหมวดหมู่ สิ่งของ และความคิด เช่น หุ้น value หุ้น growth หุ้นปันผล หุ้นอิ่มตัวแล้ว เป็นต้น
คือ คนเราใช้ข้อมูลจำนวน น้อย มาสรุป เพื่อให้เข้าใจง่าย ประหยัดพลังงานสมอง
อื่นๆ เช่น วิกฤต เกิดทุก10ปี (อย่างรอบนี้ก็12ปี)
ผลที่ตามมา ตัดสินใจลงทุน โดยข้อมูลที่ไม่มากพอ คิดว่าคาดเดาได้มากเกินไป
เราด่วนตัดสินหุ้นบางตัวไปโดยการจัดกลุ่ม ก่อนที่จะได้ศึกษาอย่างละเอียดรึเปล่า
อคติอย่างที่ 6 Familiarity Bias
คนเรา มักจะชอบสิ่งที่ตัวเองคุ้นเคย ยิ่งคุ้นเคยยิ่งชอบ
ตัดตัวเลือกอื่นๆมากมายที่ไม่รู้จัก
ไม่ซื้อหุ้นที่ตัวเองไม่เคยใช้สินค้า/บริการ
ซื้อหุ้นของบริษัทในประเทศเท่านั้น
อคติอย่างที่ 7 Hindsight Bias
พอเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นแล้ว คนเรามีแนวโน้มที่จะคิดว่า ตัวเองรู้ก่อนแล้วว่ามันจะต้องเกิดขึ้น ทำให้คนประเมินความสามารถในการคาดการณ์ของตัวเองสูงเกินไป
คนประเภทหวยออกแล้วค่อยพูด
ผลคือ
- ขาดโอกาสในการเรียนรู้
- แยกแยะไม่ได้ว่าความสำเร็จเกิดจากโชคหรือความสามารถ
อคติอย่างที่ 8 Availability Biasคนเรามักพิจารณาจากข้อมูลที่ตัวเองนึกได้ หรือคุ้นเคย แค่บางส่วน
ความทรงจำของเรา มันมีทั้งที่เลือนลางไป และคงอยู่ฝังใจ
ตาม The sins of Memory 2 ชนิด คือ
- The Sin of Transience คือ ความทรงจำปกติ จะถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลา
- The Sin of Persistence คือ ความทรงจำที่กระตุ้นอารมณ์มากๆ ทั้งดีและไม่ดี เราจะจำได้
ผลคือ
- ตอบสนองต่อเหตุการณ์ล่าสุดมากเกินไป
- ตัดสินใจจากเรื่องราวล่าสุด
- ให้น้ำหนักเรื่องราวล่าสุดมากเกินไป
อคติอย่างที่ 9 Anchoring Biasเวลาเราคิดเกี่ยวกับตัวเลข,มูลค่า ตัวเลขบางตัวจะเข้ามามีอิทธิพล ต่อการตัดสินใจของเรา (anchor ตัวเลข)
เวลาเราจะวัดประเมินเรื่องใดเรื่องหนึ่งเรามักจะ อ้างอิงกับเรื่องอื่นๆที่ดูเหมือนจะคล้ายกัน (anchor เหตุการณ์)
[พี่เวปให้ดูคลิป ตอน Steve Jobs เปิดตัว iPad เครื่องแรก ตอนแรกบอกคุณสมบัติเครื่อง และจะขายที่ 999 ดอลลาร์ ห้องเงียบกริบ บอกว่าสมราคา แต่แล้วบอกความจริงว่าจะขายที่ 499 คนดีใจกันใหญ่ anchor ตัวเลขไปแล้ว]
ราคาสูงสุดในอดีตอาจทำให้เราคิดว่าหุ้นตอนนี้ถูก จริงๆอาจจะยังแพงอยู่มาก
ราคาต่ำสุด อาจจะทำให้เราคิดว่าหุ้นขึ้นมาแพงแล้ว หลายครั้งเราไปอิงกับราคาต่ำสุดทำให้เราไม่ได้ซื้อ
ราคาล่าสุดก็มีผลต่อการตัดสินใจเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น บางทีเวลาทยอยซื้อ ซื้อไปไม้นึงแล้วราคาขึ้น เราติดกับดักราคาเดิม ไม้สองเราไม่ยอมซื้อแพงกว่าราคาเดิม บางทีไม่ได้ซื้อเพิ่มอีกเลย
ราคาเป้าที่นักวิเคราะห์บอก เป็นราคาที่ไม่น่าติดเพราะเขาปรับขึ้นปรับลงไปเรื่อยๆ
ราคา ipo ก็ชอบยึดกัน ถูกกว่า ipo แพงกว่า ipoแล้ว
Anchoring เหตุการณ์ก็มี ยกตัวอย่าง วิกฤต
อย่างวิกฤตเราก็ชอบเทียบกับวิกฤตก่อนๆ จริงๆดีเทลแต่ละวิกฤตมันต่างกันมาก เหมือนกันแค่บางส่วน
(พี่เวปถามขำๆใครคิดว่าวิกฤตไหนๆมันก็เหมือนๆกันให้ยกมือ ถามต่อ ใครว่า มันเหมือนๆกันตรงพอร์ตเราก็เละเหมือนๆกัน ฮา)
สรุปว่าตัวเลขที่เราต้องคิดถึงมีแค่ราคาตลาดกับ มูลค่าที่เหมาะสม อย่าให้เลขอื่นๆที่มันไม่เกี่ยวข้องมาทำให้ไขว้เขว
อคติอย่างที่ 10 Status Quo Bias
คนเรามีแนวโน้มที่จะตัดสินใจเลือกทางเลือกอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน Comfort zone สบายใจดี
ถ้าเลือกอะไรใหม่ๆมันมีความไม่แน่นอน มันมีความไม่รู้ มันมีความเสี่ยง เราจะไม่สบายใจ
อย่าลืมว่าการอยู่เฉยๆก็เป็นทางเลือกหนึ่งเหมือนกัน
ความผิดพลาดของคนเรามี 2 อย่างคือ
- ความผิดพลาดที่เกิดจาก ลงมือทำ
- ความผิดพลาดที่เกิดจาก ไม่ลงมือทำ
แต่เรามักจะเสียใจถ้าเป็นความผิดพลาดที่เราลงมือทำมากกว่า แบบว่า ไม่น่ารนหาเรื่องเลย
ผลที่ตามมา
- คือเราทำอะไรเหมือนเดิม
- เวลาที่ควรซื้อก็อยู่เฉยๆไม่ซื้อ
- เวลาที่ควรขายก็อยู่เฉยๆไม่ขาย
- ถ้ารวมกับloss aversion ก็จะทำให้ถือหุ้นขาดทุนไปเรื่อยๆ
วิธีแก้ไข
- ระลึกไว้ว่าการไม่กล้าเสี่ยงเลยก็คือความเสี่ยง
- การไม่เปลี่ยนแปลงอะไรก็คือการตัดสินใจที่เราต้องรับผิดชอบเหมือนกัน บางครั้งสถานการณ์เดิมที่เราสบายใจมันอาจจะไม่เหมาะสมแล้ว
- มองหาทางเลือกอื่นๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ตัวเองได้คิดเปรียบเทียบ
- ถ้า ไม่มีประสบการณ์ หรือทางเลือกอื่นๆ ยิ่งมีแนวโน้มจะไม่ทำอะไรเลย
อคติอย่างที่ 11 Endowment Biasคืออคติที่บอกว่า เราให้ค่ากับสิ่งที่ตัวเองเป็นเจ้าของมากเกินไป
มองหุ้นบริษัทที่เราถืออยู่ดีเกินจริง
ในบอร์ด Thai vi ใครมาว่าหุ้นเราไม่ดี เรากดไม่พอใจเลย (แต่ก่อนในบอร์ดมีปุ่มกด ไม่พอใจ ได้ด้วย)
ในชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่าง ใครมีลูก ชอบคิดว่าลูกตัวเองเก่งเกินจริง คนเป็นแม่เอาลูกตัวเองไปชมให้เพื่อนฟัง เพื่อนคิดในใจ ลูกใครก็ทำได้นี่หว่า
หรือในข่าวลูกฉันเป็นคนดี คนเป็นแม่มักจะมองลูกตัวเองดีเกินจริงเสมอ
วิธีแก้ไข
- คิดย้อน ถ้าเราไม่มีหุ้น เรามีแต่เงินสดเราจะยังซื้ออยู่ไหม
- เปิดใจกว้างฟังความเห็น จากคนอื่นๆ (แต่ส่วนใหญ่เพื่อนที่ไม่เห็นด้วยเราก็เลิกคบหมดแล้ว ฮา)
อคติอย่างที่ 12 Affinity Bias (ความเกี่ยวดอง,ความสัมพันธ์,ความชื่นชอบ)คนเรามักเลือกสิ่งที่ตัวเองชอบ สะท้อนคุณค่า ภาพลักษณ์หรือตัวตนของเรา
บางคนซื้อหุ้นที่ขายสินค้าที่มีภาพลักษณ์ที่เราชอบ แต่จริงๆอาจไม่ใช่บริษัทที่น่าลงทุน
อย่างพี่เวปก็ยกตัวอย่างว่าชอบร้านหนังสือมาก อยากเป็นเจ้าของร้านหนังสือ แต่หุ้นร้านหนังสือในตลาด ราคาไม่น่าลงทุน ก็เลยซื้อไปนิดหน่อยแก้ Bias จะได้จบๆ (ฮา)
บางคนใช้สินค้า Apple เกือบทุกชิ้น iPad iPhone iPod I Watch แต่ไม่ได้หมายความว่าหุ้น Apple ไม่ดี
หมายความว่า ถ้าตัดสินใจซื้อเพราะเหตุผลที่เราชอบสินค้าเฉยๆโดยไม่ดูด้านอื่นเลยน่ะเป็น Bias ข้อนี้
อคติอย่างที่ 13 Mental Accounting Bias
คนเราเวลาคิดเรื่องเงิน หรือสินทรัพย์ มักแยกออกเป็นกลุ่มๆ เป็นบัญชี
ยกตัวอย่างเช่น เงินจากการทำงาน เงินมรดก เงินลาภลอย เงินสำหรับใช้เที่ยว เงินสำหรับใช้จ่าย
ใครถูกลอตเตอรี่ แล้วหมดในปีเดียว มีคนไปสัมภาษณ์เขามองว่าเงินล็อตเตอรี่เป็นเงินลาภลอยมันใช้ง่าย ถ้าเขาคิดว่ามันไม่ต่างกับเงินที่กว่าจะได้มาด้วยหยาดเหงื่อแรงกายเขาไม่ใช้หมดง่ายขนาดนั้น ทั้งที่จริงๆมันก็เป็นเงินเหมือนกัน
บางคนมีเงิน 100 กำไรหุ้นมาเป็น 200 เราจะกล้าเสี่ยงมากขึ้น เพราะคิดว่ายังไงกำไรมา 100 แล้ว
จริงๆกำไรที่ได้มาหรือเงินต้นมันก็เป็นเงินเหมือนกัน
วิธีแก้
- มองผลตอบแทนรวม
- เงิน ทุกบาทกำไรทุกบาทมีค่าเท่ากันหมด
อคติอย่างที่ 14 Self – Attribution Biasเวลาประสบความสำเร็จแล้วชอบคิดว่าความสามารถเราเองล้วนๆ
เราชอบคิดว่าเราเล่นหุ้นแล้วได้กำไร กำไรคือความฉลาด ของเรา แต่พอล้มเหลวเราชอบโทษปัจจัยภายนอก
ข้อนี้เป็นธรรมชาติอยู่ในยีนส์ เพื่อปกป้อง self ตัวเอง
เวลาเจอเรื่องไม่ดี ชอบบอกว่าเราโชคร้าย อาจจะจริงบางส่วน แต่จริงๆ ตัวเราเองนั่นแหละที่มีส่วนให้เราไปเจอเรื่องนั้นค่อนข้างมาก
วิธีพิสูจน์
- เวลาจะซื้อหุ้นเราจดเหตุผลเอาไว้ว่า เราซื้อด้วยเหตุผลอะไร
- แล้วพอเวลาผ่านไปมันขึ้นจริงด้วยเหตุผลนี้จริงๆเราค่อยเคลมได้ว่าเป็นความสามารถเรา
อคติอย่างที่ 15 Outcome Biasพี่เวปยกตัวอย่างปลาหมึก Paul ที่ทายผลฟุตบอลโลก ถูกต้อง 8 matches ติดกัน ทั้งๆที่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นเหตุบังเอิญ
จริงๆถ้าเราไปหาข้อมูลมันมีคน ถ่ายคลิป ไว้เยอะแยะทั้งหนู เต่า ช้าง ทั้งวัว แต่พอมันไม่ถูก มันก็ไม่ดังขึ้นมา ไม่ได้มาออกข่าว
ตรงกับคำที่บอกว่าคนตายไม่ได้พูด Survivorship Bias
ผลที่ตามมา
- ซื้อหุ้นหรือสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีในช่วงที่ผ่านมา
- ขายหุ้นหรือสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนแย่ในช่วงที่ผ่านมา
- ใช้กลยุทธ์ที่ได้ผลตอบแทนดีในช่วงที่ผ่านมา
- ตัดสินใจลงทุนโดยดูจากผลลัพธ์ไม่ได้ดูกระบวนการ
อคติอย่างที่ 16 Herding and Social Interactionคนเรามีแนวโน้มชอบทำตามสิ่งที่คนส่วนใหญ่กำลังทำ
การทำเหมือนๆคนอื่นทำให้รู้สึกสบายใจ
สิ่งที่คนส่วนใหญ่กำลังทำจะมีอิทธิพลทำให้เราอยากทำสิ่งนั้นด้วย
ยิ่งเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน คลุมเครือ แล้วไม่มีความรู้ เรายิ่งมีแนวโน้มที่จะทำตามคนส่วนใหญ่ไปก่อน
เรามักจะคิดว่า เขาอาจจะรู้อะไรที่เราไม่รู้
ผลที่ตามมา
- ซื้อแพง
- ขายถูก
- สุดท้ายโทษคนอื่นไม่โทษตัวเอง
- ไม่เกิดการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้พี่เว็บเปิดวีดีโอ ให้ดู 2 เรื่อง วีดีโอแรก เป็น คนอยู่ในลิฟท์จะหันหน้าเข้าหากำแพงหมดเลย เป็นหน้าม้าอยู่ 4-5 คน พอคนใหม่เข้าไป ก็จะหันหน้าเข้ากำแพงตาม (vdo ทำมาก่อนcovidนะ)
ส่วนอีกวีดีโอหนึ่งอันนี้ผมช็อคมากๆ เป็นหน้าม้าประมาณ 6-7 คนรอเข้าห้องตรวจ พอ มีเสียง ติ๊ด ทุกคนจะยืนตรงขึ้น แล้วก็ฟังชื่อว่าพยาบาลประกาศเรียกใครเข้าไปตรวจ เสร็จแล้วคนนั้นก็จะเดินเข้าห้องตรวจที่เหลือก็นั่งลง เพราะคิวต่อไปก็จะมีเสียงตี๊ด แล้วทุกคนก็จะลุกขึ้นยืน (จริงๆจะลุกทำไม) เป็นอย่างนี้ ทุกครั้ง
จนเหลือคนสุดท้ายคือคนที่มารอตรวจจริงที่โดนหลอก นั่งอยู่คนเดียว พอมีเสียงติ๊ดแล้วก็ยังยืน (หน้าม้าคนอื่นไปหมดแล้ว) แล้วมีคนไข้จริงคนใหม่ เดินมาเพิ่มอีก 1-2 คน กลายเป็นว่าคนสุดท้ายเมื่อกี้ที่โดนหน้าม้าหลอก ไปบอก ให้คนใหม่ยืนด้วยซ้ำ บอกว่าก่อนหน้านี้ใครๆเขาก็ทำอย่างนี้กัน
Benjamin Graham :
“You are neither right nor wrong because the crowd disagrees with you.
You are right because your data and reasoning are right”
อคติอย่างที่ 17 Expert & Authority Bias
คนเรามีแนวโน้มที่จะเชื่อคำแนะนำของคนที่เราคิดว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ เช่นนักวิเคราะห์ ผู้บริหาร หรือเซียนหุ้น
ยิ่งถ้าเราไม่มีความรู้เราจะยิ่งเชื่อ
ถ้าเรากำลังกดดันทำอะไรไม่ถูกเราจะยิ่งเชื่อ
ยิ่งวัฒนธรรมบ้านเราจะมีBiasข้อนี้มากกว่า นับถือผู้สูงอายุ หรือตำแหน่งหน้าที่การงาน เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด
จริงๆที่ควรจะเป็นคือ ใครเหตุผลดีกว่าไม่ว่าคุณจะเป็นใคร
ผลที่ตามมา
- คนที่เราเชื่ออาจไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญจริง
- ผู้เชี่ยวชาญก็ไม่ได้รู้ทุกเรื่อง ผู้เชี่ยวชาญอาจคิดผิด
- ผู้เชี่ยวชาญไม่สามารถให้คำแนะนำแก่เราได้ตลอดเวลา
- เราจะลงทุนแบบไม่มีหลักยึด เราจะไม่มีโอกาสเรียนรู้
Anthony bolton : “กูรูหลายคนไม่ใช่ตัวจริง”
(พี่เวปขึ้นรูป sensor กูรูมาท่านหนึ่ง ฮาแตกกันครึ่งห้อง
SET จะไป 1650 จุด ให้เหตุผลแบบจิตสัมผัส
[ส่วนตัว คนนี้ผมสงสัยมานานแล้ว แล้วผมก็ตามอ่านคอมเม้นตามดูยอด Like สูงมากๆ
expert bias กับ herding Bias ขอบคุณพี่เวปที่สอน ผมขอฟันธงละ การจะหลุดจาก bias มันยากจริงๆนะครับ)
อีกตัวอย่าง
ตอนหุ้น Facebook ipo ที่ 38ดอลล์ แล้วไป low ที่ 17ดอลล์
ตอนราคาที่ 22ดอลล์ ขึ้นปกแมกกาซีนใหญ่ ที่อเมริกา บอกว่า FB Overvalue
ไม่ได้บอกว่าเขาถูกหรือผิดแต่สิ่งที่พี่เว็บจะบอกคือเราไม่ใช่ว่าอ่านแล้วเชื่อเขาเลย เชื่อเลยโดยไม่ ทำอะไรต่อ เราควรถามตัวเองเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าไม่เห็นด้วยเราควรทำการบ้านต่อ
แต่คนส่วนมาก พออ่านเจอคำแนะนำแบบนี้มักจะเชื่อเลย เพราะคิดว่าเขาต้องรู้เขาต้องมีข้อมูลมากแล้ว
การแก้ไข
- ความอยากซื้ออยากขายของเราเกิดขึ้น เพราะได้ฟังได้อ่านคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเช่นนักวิเคราะห์ ผู้บริหาร หรือเซียนหุ้นใช่หรือไม่
- ที่ผ่านมา คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญคนที่ว่า มีความถูกต้องมากน้อยแค่ไหน
- ควรหาข้อมูลและวิเคราะห์เพิ่มเติม
อคติอย่างที่ 18 Hot – Seat Biasเวลาคนเราถูกกระตุ้นหรืออยู่ในสถานการณ์กดดัน เราจะใช้เหตุผลน้อยลง ใช้อารมณ์ตัดสินใจมากขึ้น และลงมือทำผิดจากแผนที่คิดไว้ หรือเลือกทำในสิ่งที่แตกต่างจากสิ่งที่เราจะเลือกทำในภาวะปกติ
ในสถานการณ์กดดันผลเสียของการมีความรู้หรือประสบการณ์น้อยจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น
ผลที่ตามมา
- ขายหุ้นออกไปเพราะทนดูมันตกติดต่อกันไม่ได้
- ซื้อหุ้นเพราะทนเห็นคนอื่นได้กำไรกันไม่ได้
การแก้ไข
- เขียนแผนการลงทุนไว้ล่วงหน้า
- ก่อนตัดสินใจทำใจให้ว่างหายใจเข้าออกช้าๆ นาทีละ 4-6 ครั้ง
- ลองทิ้งช่วงให้ใจสงบสักพัก ใช้เวลาตัดสินใจให้มากขึ้นแล้วดูว่าเราตัดสินใจแบบเดิมหรือเปล่า
อคติอย่างที่ 19 The power of storyสมองคนเป็นตัวประมวลเรื่องราวไม่ใช่ตัวประมวลเหตุผล
ยิ่งถ้าเป็นเรื่องเล่าที่ฟังแล้วมีความสุขเราจะเชื่อง่าย
ผลที่ตามมา
- ซื้อหุ้น เพราะผู้บริหารเล่าเรื่องโครงการมากมาย
- ซื้อหุ้นเพราะหลงลมปากผู้บริหาร
- ไม่ขายหุ้นเพราะผู้บริหารหาเหตุผลมาสนับสนุนผลประกอบการที่แย่
- ใช้กลยุทธ์การลงทุนที่มีคนทำแล้วได้ผลดี ฟังแล้วเจ๋ง เคลิ้ม แต่จริงๆเป็นกลยุทธ์ที่เสียง
แก้ไข
- สิ่งที่เราเชื่อมีหลักฐานจำนวนมากพอมายืนยันหรือเปล่า
อคติอย่างที่ 20 Recency Bias & extrapolationเราชอบคิดว่า อะไรดีมันก็จะดีต่อไป อะไรแย่มันก็จะแย่ต่อไป
หุ้นที่ราคาขึ้นมันก็จะขึ้นไปเรื่อยๆ
วิธีคิด
- ตระหนักว่าทุกอย่างในโลกไม่สามารถดำเนินไปทางใดทางหนึ่งได้ตลอด ความรุ่งเรืองจะตามมาด้วยความเสื่อมถอย
- ความมืดจะตามมาด้วยแสงสว่าง
- ศึกษาประวัติศาสตร์
- ศึกษาวัฏจักร
“ถ้ามันอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์มันก็คงจะสะท้อนอยู่ในราคาหุ้นแล้ว” Bill Miller
“การคาดหวังหรือวาดฝันว่าผลลัพธ์ในอนาคตมันจะเหมือนกับที่เคยเป็นในอดีตเป็นเรื่องอันตราย” Lord Keynes
“การที่ราคาหุ้นขึ้นมา 20 เปอร์เซ็นต์มันหมายความว่าหุ้นตัวนี้มีความน่าสนใจน้อยลงไป 20%”
Francisco Gracia Parames
ประเด็นสำคัญคือปัจจัยบวกหรือลบที่ว่า ถูกสะท้อนอยู่ในราคาแล้วหรือยัง
ตอนทุกอย่างมันดี ให้ถามว่า Too good to be true แล้วรึเปล่า
ตอนทุกอย่างมันแย่ให้ถามว่า Too bad to be true รึเปล่า
อคติอย่างที่ 21 Halo effect Bias
เราชอบใช้ข้อมูลแง่มุมเดียวมาสรุปเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั้งหมด
มักเกิดขึ้นตอนที่เราไม่ได้รู้เรื่องนั้นดีจริงหรือรู้จักคนนั้นดีพอเราก็จะดูจากภายนอกนั่นแหละ
เหมือนการที่เราตัดสินคน จากภายนอก เช่นเสื้อผ้าหรือรถที่ขับ เพราะเราไม่ได้รู้จักเขา
วอร์เรนบัฟเฟตต์บอกว่าตอนผมยังไม่ดังพูดอะไรไปก็ไม่มีใครเชื่อ แต่ตอนนี้พูดอะไรซี้ซั้วคนยังคิดว่าซ่อนความหมายเป็นนัยอะไรเอาไว้หรือเปล่า
จบ Bias 21 ข้อ
RECOMMENDATION จากพี่เวป- อ่านหนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยาการลงทุนหาความรู้ให้มากๆ
- ฝึกให้รู้เท่าทันความคิดตัวเอง
- ฝึกสติสมาธิ
- นอนให้พอ ตัดเรื่องกังวล ออกกำลังกายกินอาหารมีประโยชน์
- พยายามอย่าตัดสินใจอะไรตอนนี้ เครียดนอนไม่พอ
- ASK WHY? 3 times หรือ 5 times ยิ่งดี
- ถามตัวเอง ว่า ทำไม ลึกลงไปเรื่อยๆ เราจะถึงรากเหง้าของปัญหา คือถามแล้วตอบ แล้วถามจี้ในคำตอบต่อไปเรื่อยๆ
- จดไดอารี่การลงทุน
- รู้จุดอ่อนตัวเอง
- ติดคำคมจุดอ่อนตัวเอง เพื่อ เตือนสติ หรือติดposter บัฟเฟต ไรงี้ (ติดรูปพี่เวปไว้remind เรื่อง Biasได้ไหมครับ 55)
- วางแผนล่วงหน้า
- ควบคุมสภาพแวดล้อม เหมือนคนลดน้ำหนักก็อย่าให้ตัวเองไปเห็นของหวานเยอะ
- เรียนรู้ตลอดเวลา
- อ่อนน้อมถ่อมตน