Pages

Pages

25 มกราคม 2566

บริจาคของที่ไหนดี ? มาดู 8 สถานที่บริจาค เปลี่ยนของเหลือใช้ให้ผู้ด้อยโอกาส ไปกันง่ายๆ ได้บุญด้วย


1. มูลนิธิกระจกเงา

ถ้าพูดถึงแหล่งบริจาคสิ่งของ ที่แรกที่ผมนึกถึงเลยก็คือมูลนิธิกระจกเงานี่ล่ะครับ โดยมูลนิธิกระจกเงานี้เป็นองค์กรเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมหลายส่วนเลยครับ ทั้งเป็นคนกลางในการรับบริจาคสิ่งของและนำไปกระจายให้กับผู้ยากไร้และผู้ขาดแคลน ปัจจุบันผมเห็นมีแคมเปญช่วยหางานให้คนไร้บ้านอีกด้วย น่ารักสุด ๆ ใครที่มีของเหลือใช้ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ หรือบริจาคเป็นเงินก็ได้ครับ เค้ารับหมด

 

ช่องทางการติดต่อ 

โทรศัพท์ : 02-973-2236, 02-973-2237, 02-973-3533, 02-973-3833 และสายด่วน 061-909-1840

Facebook : https://www.facebook.com/mirrorf



2. มูลนิธิวัดสวนแก้ว

มูลนิธิวัดสวนแก้ว เป็นอีกที่หนึ่งที่คนมักนึกถึงเมื่อคิดจะบริจาคสิ่งของครับ โดยมูลนิธิแห่งนี้เค้ารับบริจาคหมดเช่นกันครับไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ แถมเค้ายังมีรถไปรับของถึงที่เลยนะครับ (ในเขตกรุงเทพ) เรียกว่าอำนวยความสะดวกสุด ๆ ใครที่มีเสื้อผ้าเก่าใส่ไม่ได้แล้ว หรือทีวีเก่าที่ไม่ใช้แต่ไม่มีเวลาไปบริจาค ก็สามารถติดต่อให้เค้ามารับของได้เลยนะครับ 

 

ช่องทางการติดต่อ 

โทรศัพท์ : 02-595-1444, 02-921-5601-4, 02-921-5023, 02-921-6310, 02-921-6391, 02-595-1946, 02-595-1947, 02-921-6262, 092-940-3125, 098-310-3956, 092-288-4854, 098-458-6999

Facebook : https://bit.ly/3g0yMV2




3. ร้านปันกัน

ผมชอบไอเดียของร้านนี้มากครับ ดูน่ารัก ทันสมัย น่าสนับสนุนมาก ร้านปันกันจัดตั้งและดำเนินงานโดยมูลนิธิยุวพัฒน์ โดยเค้ารับบริจาคสิ่งของที่มีสภาพดี เพื่อนำมาขายที่หน้าร้านแล้วนำเงินไปเป็นทุนการศึกษาให้เด็กยากไร้ในมูลนิธิยุวพัฒน์อีกต่อหนึ่งครับ ซึ่งร้านปันกันนี้มีหน้าร้านอยู่ตามห้างดัง ๆ ในกรุงเทพหลายแห่งเลยครับ ใครสนใจก็สามารถไปอุดหนุนหรือจะนำสิ่งของไปบริจาคที่หน้าร้านเลยก็ได้ครับ

 

ช่องทางการติดต่อ 

โทรศัพท์ : 02-301-1096, 081-903-6639

Facebook : https://www.facebook.com/pankansociety





4. ห้องได้บุญ สภากาชาดไทย

เห็นชื่อกาชาดส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกันดีว่าเป็นเกี่ยวกับการให้เลือด-รับบริจาคเลือด แต่นอกจากบริการด้านดังกล่าวแล้ว สภากาชาดยังมีส่วนงานที่ชื่อว่า "ห้องได้บุญ" อยู่ด้วยครับ โดยห้องได้บุญนี้จะเป็นส่วนงานที่รับบริจาคสิ่งของเหลือใช้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นของใช้ในบ้าน เสื้อผ้า หรือเครื่องประดับ เมื่อได้รับของบริจาคมาแล้วก็จะนำมาวางจำหน่ายในราคาถูกที่ตึกอำนวยนรธรรม สภากาชาดไทย เพื่อนำเงินไปบำรุงสภากาชาดไทยหรือนำไปใช้ในกิจกรรมการกุศลต่าง ๆ ต่อไปครับ 

 

ช่องทางการติดต่อ 

โทรศัพท์ : 02-256-4622, 02-256-4440-2

Facebook : https://www.facebook.com/HongDaiBoon/





5. มูลนิธิบ้านนกขมิ้น

มูลนิธิบ้านนกขมิ้นเป็นองค์กรเอกชนที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือเด็กไร้บ้านครับ โดยดูแลทั้งเด็กในโครงการของตัวเองและนำของไปบริจาคให้เด็กขาดโอกาสในชุมชนต่าง ๆ ซึ่งของที่เราบริจาคไปนั้นเค้าจะนำไปแจกจ่ายให้กับเด็กยากไร้ตามชุมชนอื่น ๆ ส่วนนึ่ง อีกส่วนที่ยังมีสภาพดีก็จะนำไปขายเป็นของมือสอง เพื่อนำเงินมาเลี้ยงดูเด็ก ๆ ในมูลนิธิฯ ครับ การบริจาคสามารถส่งได้ทั้งไปรษณีย์ หรือไปบริจาคเองได้ที่มูลนิธิได้เลยครับ (มูลนิธิตั้งอยู่บ้านเลขที่ 89 ซอยเสรีไทย 17 ครับ)

 

ช่องทางการติดต่อ 

โทรศัพท์ : 094-940-0606, 088-077-0330

Facebook : https://www.facebook.com/baannokkamin1989/





6. ทัณฑสถานหญิง

ทัณฑสถานหญิงเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่เราสามารถนำสิ่งของไปบริจาคได้ครับ แต่เค้ารับบางชนิดเท่านั้นนะครับ ทัณฑสถานหญิงรับบริจาคเฉพาะหนังสือ ผ้าอนามัย และชั้นในสตรีครับ ถ้าเป็นชุดชั้นในมือสองเราต้องซักทำความสะอาดให้เรียบร้อยก่อนบริจาค ส่วนกางเกงในเค้ารับแต่ของใหม่นะครับ มือสองไม่รับครับ ถ้าใครสนใจบริจาคก็ลองติดต่อไปสอบถามได้เลยครับผม 

 

ช่องทางการติดต่อ 

โทรศัพท์ : 02-967-3556 และ 02-967-6141

Facebook : https://www.facebook.com/cwcith/




7. PAPER RANGER 

PAPER RANGER เป็นโครงการจิตอาสาสมุดเพื่อน้องครับ โดยเค้ารับบริจาคกระดาษ A4 ใช้แล้วที่ยังมีหน้าว่างเหลือ 1 หน้า ไปทำเป็นสมุดจดให้น้อง ๆ ที่ยากไร้ใช้เพื่อการศึกษา ต่อยอดการเรียนรู้ต่อไปครับ ออฟฟิศใครที่ต้องทิ้งเอกสารที่ใช้แล้วเพียงหน้าเดียวบ่อย ๆ ก็ลองติดต่อที่นี่ดูนะครับ เปลี่ยนขยะกระดาษกองพะเนิน ให้กลายเป็นโอกาสทางการศึกษาให้เด็ก ๆ ดีกว่าเนอะ

 

ช่องทางการติดต่อ 

โทรศัพท์ : 089-670-4600

Facebook : https://www.facebook.com/wearepaperranger/




8. โครงการหลังคาเขียว

โครงการหลังคาเขียว (Green Roof) เค้ารับบริจาคกล่องนมยูเอชที หรือกล่องน้ำผลไม้ไปทำเป็นแผ่นหลังคาครับ โดยหลังคา 1 แผ่นต้องใช้กล่องนมถึง 2,000 กล่องเลยทีเดียว แล้วที่สำคัญ หลังคาที่ทำจากกล่องนมยูเอชทีนี้จะมีความแข็งแรง ทนทาน ไม่เป็นเชื้อรา ไม่ดูดความร้อน และมีคุณสมบัติทนไฟเพิ่มเข้ามาด้วย พอได้หลังคามาแล้วเค้าจะส่งต่อให้มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก เพื่อแจกจ่ายให้ผู้ที่ขาดแคลนต่อไปครับ ใครที่อยากบริจาคก็ล้างกล่องนมให้สะอาด พับให้แบน แล้วนำไปบริจาคได้ที่บิ๊กซีทั่วประเทศเลยครับ 

 

ช่องทางการติดต่อ 

โทรศัพท์ : 02-747-8881

Facebook : https://www.facebook.com/Thaigreenroof/



ที่มา https://www.livinginsider.com/inside_topic/8451/8-place-for-donate.html

21 มกราคม 2566

คู่มือการลงทุนในกองทุน REIT ฉบับสมบูรณ์

 


REIT คืออะไร

สมัยก่อน เรามักจะเห็นคนรวยชอบซื้อ ชอบสะสมอสังหาริมทรัพย์ ที่มีทำเลดีๆ และราคาไม่สูงมาก ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ เพื่อลงทุนระยะยาวแล้วขายทำกำไรส่วนต่างราคา หรือเพื่อปล่อยเช่า สร้าง Passive Income 

การลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์ตรงๆ นั้นต้องใช้เงินค่อนข้างสูง หลักแสน หลักล้าน หรือสิบล้านบาท ซึ่งคนที่ไม่ได้มีฐานะดีมากนั้น อาจจะลงทุนได้ลำบาก แต่ปัจจุบันเรามีกองทุนที่ชื่อว่า REIT ซึ่งจะเปิดโอกาสให้คนที่ไม่ได้มีเงินมากๆ ได้เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้เหมือนกัน

กองทุน REIT นั้นคือหุ้นประเภทนึงที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย​ ซึ่งเป็นการระดมทุนเพื่อไปซื้อหรือเซ้งอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบต่างๆ แล้วนำมาปล่อยเช่าและรับรู้รายได้จากค่าเช่า

การลงทุนในกองทุน REIT ก็เปรียบเสมือนว่าเราลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อรับรายได้จากค่าเช่านั่นเอง  และเราสามารถลงทุนในกองทุน REIT เพื่อสร้าง Passive Income ได้โดยใช้เงินลงทุนหลักร้อย หลักพันบาทเท่านั้น


ข้อดีและข้อเสียของ REIT

ข้อดีของ ​REIT

  • สภาพคล่องสูง สามารถซื้อขายได้ทุกวัน
  • ใช้เงินลงทุนน้อย เงินร้อย เงินพัน ก็สามารถซื้อได้ ตัวอย่างเช่น GAHREIT ราคาหุ้นละ 8 บาท เราสามารถเริ่มต้นซื้อได้ด้วยเงิน 800 บาท (8 x 100 หุ้น)
  • จ่ายปันผลสม่ำเสมอ เพราะกองทุน REIT มีรายได้จากค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ และกองทุน REIT หลายๆ กองทุน จ่ายปันผลทุกไตรมาส การลงทุนในกองทุน REIT เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้าง Passive Income
  • เงินปันผลค่อนข้างสูง (3-6%) ดีกว่าฝากธนาคาร
  • ค่าเช่าสามารถปรับเพิ่มขึ้นได้ตามเงินเฟ้อ ทำให้ผู้ลงทุนได้รับเงินปันผลที่สูงขึ้นในอนาคต
  • มีผู้จัดการกองทุน REIT ที่จะมาบริหารจัดการ หาผู้เช่า โฆษณา และบำรุงรักษาทรัพย์สินให้เรื่อยๆ
  • ผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้หลากหลายทรัพย์สิน หลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการกระจายความเสี่ยงไปในตัว ตัวอย่างเช่น สมมติเรามีเงิน 2 ล้านบาท 
    • ถ้าเราเลือกลงทุนซื้อคอนโดเพื่อปล่อยเช่า เราก็ซื้อได้แค่ 1 ห้อง ซึ่งถ้าเกิดไม่มีคนเช่า เราก็ไม่มีรายได้
    • ถ้าเราเลือกซื้อกองทุน REIT เราสามารถซื้อกองทุน REIT ได้หลายๆ กองทุน เช่น CPNREIT, LPF, IMPACT, DREIT, etc ถ้าบางกองทุนไม่จ่ายเงินปันผล แต่เราก็จะยังได้รับเงินปันผลจากกองอื่นๆ อยู่ ซึ่งทางเลือกที่สองนี้ ค่อนข้างปลอดภัยกว่าทางเลือกแรก
ข้อเสียของ REIT
  • ผู้ลงทุนไม่สามารถ Leverage หรือกู้เงินมาลงทุนได้ ต้องใช้เงินสดเท่านั้น



ประเภทของ REIT 
แบ่งตามอุตสาหกรรม
  • Commerce คือกองทุน REIT ที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวกับค้าปลีก เช่น
    • LPF ลงทุนในพื้นที่ห้างสรรพสินค้า Lotus (บางสาขา) เพื่อปล่อยเช่า
    • CPNREIT ลงทุนในพื้นที่ห้างสรรพสินค้า Central (บางสาขา) เพื่อปล่อยเช่า (CPNREIT ลงทุนทั้ง Commerce และ Office)
  • Industrial คือกองทุน REIT ที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรม เช่น
    • WHART ลงทุนในโรงงานและคลังสินค้าของกลุ่ม WHA เพื่อปล่อยเช่า
    • ​FTREIT ลงทุนในโรงงานและคลังสินค้าของกลุ่ม FPT เพื่อปล่อยเช่า
  • Office คือกองทุน REIT ที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวกับออฟฟิศ เช่น
    • TPRIME ลงทุนในออฟฟิศ Exchange Tower และ Mercury Tower เพื่อปล่อยเช่า
    • CPNCG ลงทุนในออฟฟิศ Central World เพื่อปล่อยเช่า
  • Residential คือกองทุน REIT ที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวกับโรงแรม เช่น
    • GAHREIT ลงทุนในโรงแรม Sheraton Hua Hin Resort & Spa
  • Infrastructure คือกองทุน REIT ที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน เช่น
    • DIF ลงทุนในเสาเครือคร่ายของ True
  • Other อื่นๆ เช่น
    • IMPACT ลงทุนใน Impact Exhibition

แบ่งตามกรรมสิทธิ์การถือครองที่ดิน
  • Freehold คือกองทุนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินของโครงการ เป็นเจ้าของที่ดิน ทำให้ได้รับ Capital Gain ในอนาคต ถ้าหากราคาที่ดินมีแนวโน้มสูงขึ้น ถ้าเราถือกองทุน REIT แบบ Freehold ก็เปรียบเสมือน เราก็เป็นเจ้าของที่ดินนั้นๆ ด้วย
  • Leasehold คือกองทุนลงทุนแบบสิทธิ์การเช่าที่ดิน (เซ้ง) ซึ่งถ้าสัญญาเช่าที่ดินหมดอายุ ราคากองทุนก็จะเป็น 0
  • Freehold & Leasehold คือกองทุนอาจจะมีทรัพย์สินบางส่วนเป็น Freehold และทรัพย์สินอีกบางส่วนเป็น Leasehold



เงินปันผลกองทุน REIT ค่อนข้างน่าสนใจ
รูปด้านล่าง คือกองทุน REIT ที่จ่ายเงินปันผลมากกว่า 5% (จากข้อมูลวันที่ 20 มกราคม 2023)





ตัวอย่างกองทุน ​REIT ที่น่าสนใจ
  • LPF
    • สัดส่วน freehold ค่อนข้างสูง ประมาณ 70%
    • ให้เช่าพื้นที่ในห้างโลตัส 20 กว่าสาขา ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ
    • ปันผลปัจจุบันประมาณปีละ 4%-5%
  • FTREIT
    • สัดส่วน freehold ค่อนข้างสูง ประมาณ 70%
    • คลังสินค้าและโรงงานอุตสาหกรรม
    • ปันผลปัจจุบันประมาณปีละ 5%
  • IMPACT
    • สัดส่วน freehold 100%
    • ให้เช่าพื้นที่อาคารแสดงสินค้า impact เมืองทองธานี
    • ปันผลปัจจุบันประมาณปีละ 5%
  • GAHREIT
    • สัดส่วน freehold 100%
    • โรงแรม Sheraton Hua-Hin Resort & Spa
    • ปันผลปัจจุบันประมาณปีละ 5%-6%



ข้อควรระวัง
  • ไม่ควรลงทุนหุ้นหรือกองทุน REIT แค่ 1-2 ตัว เพราะมีความเสี่ยง ควรลงทุนอย่างน้อย 6 ตัว และกระจายหลายๆ อุตสาหกรรม เช่น โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ออฟฟิศ
  • เงินปันผลในอดีต ไม่การันตีว่าอนาคตจะได้เงินปันผลเท่าเดิม เราในฐานะนักลงทุนต้องวิเคราะห์ ติดตามข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ

15 มกราคม 2566

เงินบำนาญชราภาพ จากประกันสังคม (SSO)

 




*คนที่อายุครบ 55 ปี ต้องไปแจ้งรับสิทธิ์ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน ภายใน 1 ปี ไม่งั้นถือว่าสละสิทธิ์


ที่มา 

02 มกราคม 2566

MongoDB index optimization (ESR rule, Compound Indexes, Index Cardinality)


 List of good tutorials related to MongoDB index




ESR rule summary
  • ESR: Equality comes first, then Sort and Range, for example


  • $ne or $nin are range operators, not equality operators
  • $regex are range operator
  • $in can be an equality operator or a range operator. When $in is used alone, it is an equality operator that does a series of equality matches. $in acts like a range operator when it is used with .sort(). For example



Compound Indexes

  • Sort on Multiple Fields

  • Sort and Index Prefix


  • Sort and Non-prefix Subset of an Index





Index Cardinality
from e-book "MongoDB: The Definitive Guide: Powerful and Scalable Data Storage"









01 มกราคม 2566

สรุปช้อปดีมีคืน 2566

สรุปช้อปดีมีคืน 2566

ระยะเวลา: 1 มกราคม 2566 - 15 กุมภาพันธ์ 2566

รายละเอียด:

  • ซื้อสินค้าและบริการ ไม่เกิน 30,000 บาท (ใช้ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ หรือ e-Tax)
  • ซื้อสินค้าและบริการ ไม่เกิน 10,000 บาท (ใช้ e-Tax เท่านั้น)
*ใช้ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ คือกระดาษที่ผู้ประกอบการเขียนมือ (ไม่ได้ print จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์)



ที่มา Link