Pages

Pages

15 กุมภาพันธ์ 2566

สรุปความรู้ที่ไ้ด้จากการอบรมหลักสูตร Critical Thinking จาก Baseplayhouse

การคิด (Thinking) 

การคิด (Thinking) นั้นแบ่งออกได้เป็น 2 แบบคือ

1. Critical Thinking คือ การคิดเพื่อการตัดสินใจ

2. Creative Thinking คือ การคิดเพื่อสร้างสิ่งใหม่


Elements of Critical Thinking

หลังจากได้รับโจทย์ 

1.ให้เราทำความเข้าใจโดยแตกองค์ประกอบให้เยอะๆ 

2. เชื่อมโยงอย่างมีตรรกะ

3. อนุมาน ลำดับความสำคัญและสรุปใจความอย่างมีหลักการ

หลังจากนั้นค่อยตัดสินใจ


เช่น A กับ B เล่นทายชื่อสัตว์กัน

  • A นึกสัตว์ 1 ชื่อไว้ในใจ
  • B ถาม A เพื่อหาข้อมูล เช่น บินได้ใช่ไหม ก่อเชื้อโรคใช่ไหม มีพิษใช่ไหม กินได้ใช่ไหม ขนาดเท่ากำปั้นใช่ไหม ส่วน A ตอบว่าใช่หรือไม่ใช่
  • B นำข้อมูลมา Link หาจุดเชื่อมโยง เช่น บินได้ ก่อเชื้อโรค ขนาดเล็กกว่าเล็บมือ กินไม่ได้
  • B อนุมาน เช่น น่าจะเป็น ยุง แมลงวัน
  • B ตัดสินใจ บอก A ว่า ตอบว่าแมลงวัน


Fast Thinking & Slow Thinking 

ถ้าเราถามเพื่อนว่า ให้ทายชื่อสัตว์ ที่มีพิษมา คนส่วนใหญ่จะบอกว่าเป็นงู เพราะเจอบ่อย และ venom ในหนัง ในละคร มักจะเป็นงู แต่ความเป็นจริง สัตว์ที่มีพิษ เป็นตะขาบ มด ก็ได้

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะคนส่วนใหญ่ชอบใช้ Fast Thinking

Fast Thinking

  • อัตโนมัติ
  • สมองชอบ
  • มีเหตุผลน้อย
  • อาศัยประสบการณ์

Slow Thinking

  • ไม่อัตโนมัติ
  • ฝืนใจสมองตอนแรก เพราะต้องใช้พลังงานมาก
  • มีเหตุ มีผล

Mindsets of Critical Thinking

1. Start with Slow Thinking

Stop Fast Thinking

2. Breakdown the thoughts

สมมติ เราเป็นผู้ว่า กทม แล้วจะมี Disney Land มาเปิด เราก็จะต้อง break down องค์ประกอบ เช่น

  • infra
    • เดินทาง
      • ในจังหวัด
        • BTS
        • MRT
        • Taxi
        • Car
        • Motorcycle
        • รถเมล์
      • ระหว่างจังหวัด
        • Train
        • Bus
        • เครื่องบิน
      • ระหว่างประเทศ
        • เครื่องบิน
    • internet
    • น้ำไฟ
    • อาหาร
  • มลพิษ
    • เสียง
    • จราจร
    • ฝุ่น
  • แรงงาน
    • ทักษะบริการ
    • ทักษาภาษา
  • ท่องเที่ยว
    • มีห้างอื่นๆ เช่น พารากอน
    • ที่เที่ยวธรรมชาติจังหวัดใกล้เคียง

3. Hypothesis are necessary

จากข้างบน ให้ใส่ว่าแต่ละอันดีหรือไม่ดี และใส่สมมติฐานประกอบ เช่น

  • มลพิษ (ไม่ดี รถน่าจะติด คนเยอะ)
  • แรงงาน
    • ทักษะบริการ (ดี กทม มีคนมีทักษะเยอะ)
    • ทักษาภาษา (ดี กทม มีคนมีทักษะเยอะ)
  • infra
    • เดินทาง
      • ในจังหวัด
        • BTS (ไม่ดี รถไฟฟ้าไม่เพียงพอ)
        • MRT (ไม่ดี รถไฟฟ้าไม่เพียงพอ)
        • Taxi & Grab (ดี)

4. Data is a must

เอาข้อมูล Fact ต่างๆ มาสนับสนุน เช่น สถิติย้อนหลัง


Problem Solving

1. Problem

- situation appraisal: prioritize by impact & urgent คือการประเมินสถานการณ์ มีสิ่งใดเกิดขึ้นและต้องได้รับการแก้ไขบ้าง และจัดการกับสถานการ์นี้อย่างไร ให้เราทำการ priority (very high[VH], high[H], medium[M], low[L])

- define problem: ปัญหาที่เราจะแก้คืออะไร

- identify root cause:  สาเหตุของปัญหาคืออะไร

2. Solution

- implement solution: มั่นใจว่า solution นี้สามารถแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้ (correction & corrective action)

- preventive action: จะป้องกันการเกิดปัญหาอื่นๆ ที่คล้ายกันได้อย่างไร (preventive action)


ตัวอย่าง เคส COVID19

problems

  • เรียนออนไลน์ไม่มีปรระสิทธิภาพ
  • หน้ากากไม่พอ
  • ข่าวปลอม
  • วัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ
  • วัคซีนไม่ทั่วถึง
  • เสียชีวิตสูงขึ้น
  • เตียงไม่พอ
  • etc

prioritize by impact & urgent

วัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ (urgent:H, impact:VH) => เสียชีวิตสูงขึ้น (urgent:VH, impact:VH) => เตียงไม่พอ (urgent:VH, impact:VH)

วัคซีนไม่ทั่วถึง (urgent:H, impact:VH) => เสียชีวิตสูงขึ้น (urgent:VH, impact:VH) => เตียงไม่พอ (urgent:VH, impact:VH)

define problem

wh-questions
- what
- who
- where
- when
- why: ทำไมต้องแก้นะ
- goal (quantity): วัดผลได้ไหม ตัวเลขเป็นไง
- goal (quality): แก้แล้วเป็นไง


problem การเสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้น
- what: การเสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้น
- who: ผู้ป่วย 20-35
- where: เสียชีวิตที่บ้าน(หาเตียงไม่ได้)
- when: ตั้งแต่ประกาศทำ home isolation
- why: ต้องการลดจำนวนผู้เสียชีวิต
- goal (quality): ให้กลับไปเป็นค่าปกติ
- goal (quantity): ลดจาก 35% to 20%


identify root cause

ถาม ทำไม ไปเรื่อยๆ แล้วเลือกสาเหตุจริงๆ หลังจากนั้นลอง proof เช่น ลองแก้กับกลุ่มเล็กๆ ก่อน

คนไม่เข้าใจ home isolation ไม่รู้ว่า ต้องอาการแบบไหน ถึงค่อยมา รพ และไม่รู้จะหาเตียงว่างได้ยังไง

การแก้ปัญหา

1. การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า (correction)

- จะมีผลกระทบตามมา

2. แก้ที่สาเหตุ (corrective action)

- ย้อนมาต้นเหตุ ก่อนเกิดปัญหา

3. ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา (preventive action)

- ปัญหา อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ก็ได้


เคส ​covid แก้โดยการให้ความรู้ และประชาสัมพันธ์ เรื่อง home isolation


how to curiosity การเอ๊ะ

forced curiosity
  • เอ๊ะ จากการถามโต้งๆ,
  • e.g., why blue?
  • ตั้งเพื่อเก็บข้อมูล

spot the odd

  • เอ๊ะ จากสิ่งผิดปกติ ต้องสังเกตุ เปรียบเทียบ,
  • e.g., why blue, not red?
  • เป็นการตั้งคำถามที่ดี เพื่อพิสูจน์

is / is-not tool

is / is-not ต้องเป็นข้อเท็จจริงเท่านั้น ห้ามเป็นการคาดเดา

is คือสิ่งที่เป็นปัญหา

is-not คือสิ่งที่ไม่เป็นปัญหา



ตัวอย่าง เคสไฟไหม้ห้องครัว


ตัวอย่าง เคสกำไรบริษัทลดลงอย่างมีนัยยะ




ตรรกะวิบัติ (Fallacies)
  • Bandwagon: อ้างคนหมู่มากในการสร้างความชอบธรรม
  • Confirmation Bias: อ้างเฉพาะหลักฐานที่ตนสนใจแล้วตัดสินใจจากสิ่งที่ตนคิดว่าใช่โดยเพิกเฉยต่อหลักฐานอื่นๆ
  • Composition: อ้างว่าสิ่งหนึ่งเป็นแบบนั้น สิ่งๆ อื่นก็จะเป็นแบบนั้นหมด
  • Fallacy of The Single Cause: อ้างว่าเหตุการณ์หรือปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนเกิดจาก "สาเหตุ" หนึ่งข้อเท่านั้น
  • Slippery Slope: อ้างเหตุผลที่ไม่เกี่ยวกันแล้วนำมาสรุปแบบผิดๆ
  • Straw Man: อุปโลกน์จุดยืนของอีกฝ่ายทั้งที่อีกฝ่ายไม่ได้กล่าวถึง
  • Sunk Cost Fallacy: การตัดสินใจของเราขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอดีตมากกว่าการตัดสินใจที่มีเหตุผลในปัจจุบัน

Critical Thinking Tips
  • ช่างสงสัย ถามให้เยอะ (เน้นปลายเปิด) เข้าใจให้มากขึ้น
  • แยกองค์ประกอบได้เยอะ จะให้วิเคราะห์ได้รอบด้าน
  • หาหลักฐานสนับสนุนการอนุมาน
  • หลักเลี่ยงตรรกะวิบัติ (Fallacy) เนื้อหาสรุป







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น