Pages

Pages

รีวิว ประกันออมทรัพย์ 10/1 IRR สูง ลดหย่อนภาษี ปี 2566

*ดูรีวิว ประกันออมทรัพย์ 10/1 ปีล่าสุดได้ที่ Link


ประกันออมทรัพย์

ประกันออมทรัพย์นั้น เป็นสิ่งที่ค่อนข้างน่าสนใจเนื่องจาก

1. สามารถลดหย่อนภาษีได้ ยิ่งฐานภาษีสูง ยิ่งได้เงินคืนเยอะ

2. ได้ผลตอบแทนที่สูง เมื่อเทียบกับฝากธนาคาร

3. ความเสี่ยงต่ำ

และประกันออมทรัพย์ 10/1 นั้น ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากจ่ายเบี้ยแค่ครั้งเดียวจบ ทำให้ไม่เป็นภาระผูกพันนานหลายปี ไว้ปีหน้า ถ้าเรามีเงินเหลือก็ค่อยหาประกัน 10/1 ตัวใหม่ แต่ถ้าไม่มีเงินเหลือ ซึ่งอาจจะมีภาระผ่อนบ้าน ผ่อนรถเยอะ ก็งดซื้อประกันปีนั้นๆ ไป


รีวิวประกัน 10/1 




1. แรบบิท ไลฟ์ hero 10/1

บริษัท: แรบบิท ไลฟ์

URL: Link 

คุ้มครอง: 10 ปี

เงินคืนระหว่างปี: ปีละ 2.1% ทุกปี

เงินคืนเมื่อครบกำหนด: 102.1%


2. ดี-ซูเปอร์ เซฟวิ่ง 10/1

บริษัท: อาคเนย์ประกันชีวิต

URL: Link 

คุ้มครอง: 10 ปี

เงินคืนระหว่างปี: ปีละ 1.8% ทุกปี

เงินคืนเมื่อครบกำหนด: 101.8%


3. บีแอลเอ สมาร์ทเซฟวิ่ง 10/1

บริษัท: กรุงเทพประกันชีวิต

URL: Link 

คุ้มครอง: 10 ปี

เงินคืนระหว่างปี: ปีละ 1.75% ทุกปี

เงินคืนเมื่อครบกำหนด: 101.75%


4. เมืองไทยประกันชีวิต 11/1

บริษัท: เมืองไทยประกันชีวิต

URL: Link 

คุ้มครอง: 11 ปี

เงินคืนระหว่างปี: ปีละ 2.00% ทุก 2 ปี

เงินคืนเมื่อครบกำหนด: 102.2%


5. ทิพยประกันชีวิต 10/1

บริษัท: ทิพยประกันชีวิต

URL: Link 

คุ้มครอง: 10 ปี

เงินคืนระหว่างปี: ไม่มี

เงินคืนเมื่อครบกำหนด: 110%



*ดูรีวิว ประกันออมทรัพย์ 10/1 ปีล่าสุดได้ที่ Link






"code ." command is not working on mac

 If you want to use vscode command line tool, but found error "code ." command is not working

Please do either step below

Solution 1:

1. open Visual Studio Code (vscode)

2. type shift + command + p

3. select option Shell Command: Install 'code' command in PATH


Solution 2:

1. add script below to your ~/.zshrc or ~/.bashrc

export PATH="$PATH:/Applications/Visual Studio Code.app/Contents/Resources/app/bin"

2. restart your terminal or run source command

15 กรกฎาคม 2566

"ทุนทางสังคม" (social capital)


 จากการศึกษาของ Raj Chetty นักเศรษฐศาสตร์ของฮาร์วาร์ด 

พบว่าเด็กจากครอบครัวยากจนที่ได้คบกับเพื่อนวัยเดียวกันที่รวยกว่า 

.

มีแนวโน้มว่าเด็กคนนั้นจะมีเงินเดือนสูงกว่าคนในวัยเดียวกันโดยเฉลี่ยถึง 20% 

เพราะการคบคนรวยจะส่งผลให้เกิด  “ทุนทางสังคม” (social capital) 

.

ทุนทางสังคมที่ได้รับจากการคบเพื่อรวยคือแรงบันดาลใจในการสร้างเนื้อสร้างตัว 

หรือการเรียนรู้เรื่องของธุรกิจ โอกาสที่ได้เปิดโลกสิ่งใหม่ ๆ 

และโอกาสในการหางานที่คนในสังคมระดับเดียวกันอาจไม่สามารถหยิบยื่นสิ่งเหล่านี้ให้ได้ 

.

แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ยังมีปัจจัยอื่นนอกจากนี้อีก 

เช่นการทุ่มเทของครอบครัวที่ทำงานหนักเพื่อส่งลูกไปให้ไกลที่สุด 

ลงทุนในการศึกษาของลูกเพื่อให้มีความรู้เอามาพัฒนาตัวเองต่อได้

.

สิ่งสำคัญจากงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าคนเราสามารถเลื่อนขยับฐานะทางสังคมขึ้นไปได้

คือ “การสร้างเครือข่ายทางสังคม หรือ Connection” 

.

ดร.แจเร็ด โอ’การ์-มัวร์ จากศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย 

กล่าวว่าในสมองของเรามีเซลล์กระจกเงาอยู่ ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งของการเรียนรู้

ที่เกิดจากการเลียนแบบ อย่างเช่นเด็กที่มักจะพยายามเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่นั่นเอง 

.

เราอาจกล่าวได้ว่า “ถ้าอยากเป็นคนแบบไหน ก็ให้อยู่ใกลัวกับเขาแบบนั้น” 

หรือ พยายามนำพาตัวเองให้เข้าไปอยู่ในสังคมที่รายล้อมไปด้วยคนที่สำเร็จให้ได้ 

มันก็จะเหมือนกับกฎของแรงดึงดูดที่จะดึงแต่สิ่งที่เราชอบ คิด สนใจ หรืออยากเป็นเข้ามาวนเวียนอยู่รอบตัว 

.

แต่ผลวิจัยนี้ก็ไม่ได้บอกว่าให้คุณรีบกระโดดเกาะเพื่อนรวย หรือส่งลูกไปอยู่โรงเรียนดี ๆ 

เพื่อผลประโยชน์ทันที เพราะสุดท้ายแล้ว ถ้าคอนเน็กชั่นที่ได้เห็น “เงิน” มากกว่า “มิตรภาพ” 

ความสัมพันธ์และโอกาสทางธุรกิจก็อาจพังทะลายตรงหน้าก็ได้ 

.

ที่มา Facebook Page 100WEALTH 


07 กรกฎาคม 2566

กรณีศึกษา ปีเตอร์ ลินช์ นักลงทุนที่หยุดความสำเร็จ ไว้ที่วัย 46 ปี



“ปีเตอร์ ลินช์” คือหนึ่งในผู้จัดการกองทุนระดับตำนานของโลก

โดยในช่วงปี 1977 จนถึงปี 1990 กองทุนรวมที่เขาบริหารนั้น สามารถทำผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี สูงถึง 29.2% ทำให้เขาโด่งดัง เป็นที่รู้จัก และมีรายได้มากมาย

แต่รู้ไหมว่า ปีเตอร์ ลินช์ กลับตัดสินใจลาออกจากงานประจำ ทั้งที่มีอายุเพียงแค่ 46 ปี

แล้วทำไมถึงเป็นแบบนั้น ?
BillionMoney จะย่อยให้เข้าใจ แบบง่าย ๆ

ต้องบอกว่า ชีวิตของปีเตอร์ ลินช์ ในวัยเด็กนั้นค่อนข้างลำบาก เพราะคุณพ่อของเขาเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตั้งแต่ตอนที่เขายังเด็ก

ทำให้คุณแม่ของเขาต้องทำงานหนัก เพื่อหารายได้มาเลี้ยงดูครอบครัว ซึ่งนั่นก็ทำให้ปีเตอร์ ลินช์ ต้องทำงานตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อแบ่งเบาภาระของคุณแม่อีกด้วย

โดยเขาเรียนจบปริญญาตรี สาขาประวัติศาสตร์ จิตวิทยา และปรัชญา จากวิทยาลัยบอสตัน

ซึ่งในสมัยที่เรียนปริญญาตรี เขาได้เริ่มลงทุนครั้งแรก โดยใช้เงินเก็บจำนวน 100 ดอลลาร์สหรัฐ ไปซื้อหุ้นสายการบินที่ชื่อว่า “Flying Tiger Airlines” ในราคา 8 ดอลลาร์สหรัฐ

ต่อมาราคาหุ้นตัวนี้ได้เพิ่มขึ้นไปถึง 80 ดอลลาร์สหรัฐ ทำกำไรให้เขาได้เป็นอย่างมาก ซึ่งเขาเองนำเงินลงทุนก้อนนี้ ไปจ่ายค่าเทอม จนช่วยให้สามารถเรียนจบมหาวิทยาลัยได้อีกด้วย

ก่อนที่ในเวลาต่อมา เขาจะเรียนจบปริญญาโท MBA จาก Wharton School คณะด้านธุรกิจของมหาวิทยาลัย Pennsylvania ในปี 1968

โดยระหว่างที่เรียน เขาทำงานพิเศษเป็นแคดดี ในสนามกอล์ฟไปด้วย ครั้งหนึ่งเขาได้ไปเป็นแคดดีให้กับ Mr. George Sullivan ที่เป็นประธานกองทุนของ Fidelity ในขณะนั้น

ปีเตอร์ ลินช์ ซึ่งมีความสนใจเรื่องการลงทุนอยู่แล้ว จึงไปขอสมัครงานเป็นเด็กฝึกงานที่กองทุนแห่งนี้ โดยเริ่มจากตำแหน่งเด็กฝึกงานในปี 1966

จนมาเป็นนักวิเคราะห์ และได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการกองทุน Fidelity Magellan ในปี 1977

ต้องบอกว่ากองทุนที่เขาบริหาร จนสร้างชื่อเสียงให้เขาก็คือ Fidelity Magellan โดยตั้งแต่ปี 1977-1990 ปีเตอร์ ลินช์ สามารถสร้างผลตอบแทนให้กองทุน เฉลี่ยทบต้นต่อปีถึง 29.2%

พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าเราลงทุนกับกองทุนนี้ที่ปีเตอร์ ลินช์ บริหาร จำนวน 1 ล้านบาท ในช่วงเวลาดังกล่าว เงินของเราจะเพิ่มขึ้นเป็น 28 ล้านบาท

โดยปีเตอร์ ลินช์ ก็ได้ถ่ายทอดทั้งประสบการณ์ ทักษะความรู้ ทฤษฎีการเลือกหุ้นของหลายทฤษฎี ให้แก่นักลงทุนจำนวนมาก อย่างเช่น

- ทฤษฎี Cocktail Party ที่ใช้วัดภาวะตลาดหุ้นว่าอยู่ในช่วงไหน อย่างเช่น ช่วงตกต่ำ ช่วงฟื้นตัว ช่วงที่ตลาดหุ้นกำลังแพง โดยสังเกตง่าย ๆ จากบทสนทนาของผู้คนในงานปาร์ตีค็อกเทล

- การแบ่งแยกหุ้นออกเป็น 6 ประเภท คือ หุ้นโตเร็ว, หุ้นโตช้า, หุ้นใหญ่มั่นคง, หุ้นฟื้นตัว, หุ้นวัฏจักร และหุ้นทรัพย์สินมาก ซึ่งช่วยให้สามารถแยกแยะได้ว่า หุ้นตัวนั้นเป็นหุ้นประเภทไหน ทำให้เราเข้าใจหุ้นที่เราสนใจ หรือหุ้นที่เราลงทุนอยู่มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จนี้ เขาต้องแลกกับการให้เวลากับครอบครัว

โดยเขาสามารถจดจำชื่อหุ้นได้มากกว่า 2,000 ตัว
แต่เขากลับลืมวันเกิดลูกของตัวเอง

หรือช่วงวันหยุด เขายังนั่งอ่านข้อมูลและเอกสารเกี่ยวกับหุ้นจำนวนมาก ทำให้หลายครั้งเขาพลาดที่จะไปร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ กับลูก

จนล่วงมาถึงปี 1990 เขาเริ่มตระหนักว่า เขาหมกมุ่นกับการทำงานมากเกินไป และควรจะใช้เวลากับครอบครัวและลูกมากกว่านี้

ทำให้เขาตัดสินใจลาออก จากการเป็นผู้จัดการกองทุน ตอนที่อายุเพียงแค่ 46 ปี ทั้งที่เป็นช่วงเวลาที่เขากำลังโด่งดัง เป็นที่รู้จัก และมีรายได้มากมาย

โดยเขาเปรียบเปรยชีวิตช่วงนั้นของเขา เหมือนกับเรื่องชาวนาและยักษ์วิเศษ ไว้ได้อย่างน่าสนใจ

เรื่องมีอยู่ว่า ยักษ์บอกกับชาวนาว่า ชาวนาสามารถครอบครองที่ดินมากเท่าไรก็ได้ เพื่อนำไปเพาะปลูก ตราบใดที่สามารถวิ่งไปได้เรื่อย ๆ ยิ่งวิ่งได้มากเท่าไร ก็ยิ่งได้ที่ดินเพิ่มขึ้นเท่านั้น

ชาวนาได้เริ่มออกวิ่ง และวิ่งไปเรื่อย ๆ

เวลาผ่านไป แม้เขาจะครอบครองที่ดินมากพอ สำหรับการเพาะปลูกไปได้ตลอดชีวิต ทำให้เขาและครอบครัวสามารถมีเงินใช้ไปได้หลายชั่วอายุคน แต่ชาวนาก็ยังคงวิ่งไม่หยุด แม้ร่างกายของเขาจะเปียกชุ่มไปด้วยเหงื่อ และหายใจจนแทบจะไม่ทัน

แต่ที่น่าเศร้าคือ ตอนสุดท้าย ชาวนาได้วิ่งจนขาดใจตายในที่สุด..

ปีเตอร์ ลินช์ บอกว่า เขาไม่อยากมีจุดจบแบบชาวนาในเรื่องนี้ และประโยคหนึ่งที่เขาพูดไว้ก่อนที่จะตัดสินใจลาออกก็คือ

“คุณจะยอมเป็นทาสความมั่งคั่ง ด้วยการทุ่มเทชีวิตที่เหลืออยู่ เพื่อให้มันมั่งคั่งขึ้นไปเรื่อย ๆ หรือคุณจะปล่อยให้ความมั่งคั่งที่คุณสะสมมา รับใช้คุณเสียที..”


References


ที่มา BillionMoney

อยู่เฉยให้ได้ อยู่นิ่งให้เป็น ‘ศิลปะของการไม่ทำอะไร’ เคล็ดลับสร้างความมั่งคั่งของ ชาร์ลี มังเกอร์ มหาเศรษฐกิจหมื่นล้าน


ถ้าใครรู้จักวอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) ก็น่าจะรู้จัก ชาร์ลี มังเกอร์ (Charlie Munger) คู่หูนักลงทุนคนสนิทด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งคู่เป็นมหาเศรษฐีและนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมาก ๆ อยู่ในตลาดหุ้นมานานหลายสิบปี ผ่านร้อนหนาวมาแล้วแทบจะเรียกว่าทุกรูปแบบ

มังเกอร์ (ที่ตอนนี้อายุ 99 ปีแล้ว) เคยพูดเอาไว้ว่า

“ชีวิตในบางส่วนก็เหมือนการเล่นเกมโป๊กเกอร์ ที่บางครั้งคุณต้องเรียนรู้ที่จะถอยแม้จะถือไพ่ในมือดีแค่ไหน คุณต้องเรียนรู้ที่จะรับมือกับความผิดพลาดและความจริงใหม่ ๆ ที่จะเปลี่ยนความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น”

ประเด็นที่เขามักจะพูดเสมอคือความอดทนในการลงทุน และความสำคัญของการลงทุนอย่างฉลาดคือรู้ว่าเมื่อไหร่ที่ควรจะถอยออกไปจากตลาดก่อน เป็นปรัชญาการลงทุนที่พยายามป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสินทรัพย์ที่ถืออยู่ ไม่เสี่ยงมากเกินไปโดยไม่จำเป็นในสถานการณ์ที่ยังไม่เหมาะสม เขาเคยกล่าวว่า

“เราได้รับประโยชน์ในระยะยาวอย่างน่าเหลือ โดยไม่ต้องพยายามเป็นคนฉลาดมากนัก แค่พยายามไม่โง่บ่อย ๆ ก็พอ”

ประโยคนี้ทำให้เห็นแนวคิดที่สำคัญในการลงทุนของมังเกอร์ได้เป็นอย่างดี คนที่พยายามฉลาดมักจะมองหาหนทางที่ซ่อนอยู่เพื่อสร้างรายได้ใหม่ ๆ ให้มากขึ้น แต่มันก็ไม่ได้หมายความพยายามเป็นคนฉลาดจะสร้างผลตอบแทนที่ดีเสมอไป บางครั้งก็เป็นการลงทุนที่ผิดพลาด ซึ่งพอพลาดบ่อย ๆ นั่นก็จะส่งผลเสียต่อทรัพย์สินของเราด้วย

อีกอย่างหนึ่งคือเราต้องมองการลงทุนเป็นเรื่องของระยะยาว และถ้าเราไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องการลงทุนหรือมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการคัดเลือกหุ้น การจะสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำในระยะยาวเหมือนมังเกอร์หรือบัฟเฟตต์จึงไม่ใช่เรื่องง่าย

ดูอย่างเหตุการณ์ของ STARK ในบ้านเราที่เคยเป็นหุ้นมูลค่าหลักหมื่นล้าน ด้วยงบการเงินหรือตัวเลขแล้วหน้ากระดาษเป็นบริษัทที่น่าลงทุน แต่สุดท้ายก็มีเรื่องการตบแต่งงบบัญชีเข้ามา ทำให้เกิดความเสียหายให้นักลงทุนมากมายเช่นกัน

(หรือกรณีคลาสสิกของต่างประเทศอย่างของ Enron ก็มีความคล้ายคลึงกัน)

ความผิดพลาดในการลงทุนที่แย่ ๆ เพียงไม่กี่ครั้งอาจจะทำให้แผนการเงินที่เราวางเอาไว้ล้มไปเลยก็ได้ แค่คิดดูว่าเอาเงินไปทุ่มกับ STARK หรือหุ้นเพียงไม่กี่ตัวที่ไม่ได้เป็นไปตามที่คิด เงินที่อุตส่าห์หามาได้อาจจะหายไปหมดเลย

การเลือกหุ้นแบบรายตัว ลงทุนในคริปโตฯ หรืออะไรก็ตามที่เป็นการลงทุนแบบเชิงรุก (Active Investing) คนกลุ่มนี้จะคิดว่าถ้าเลือกหุ้นได้ดี หาโอกาสใหม่ ๆ ในตลาดได้ ก็จะเอาชนะตลาดได้ กล้าเสี่ยงเพื่อจะได้ผลตอบแทนที่เยอะขึ้น บางคนก็ทำได้จริง (แต่ก็ไม่ได้ทำได้ง่าย ๆ) และ หลายต่อหลายคนก็ล้มหายตายจากไประหว่างทาง

เราต้องถามตัวเองด้วยว่าเรารู้ไหมว่ากำลังทำอะไรอยู่?​ ลงทุนในบริษัทนี้เพราะอะไร? หรือแค่ทำเพราะคนนั้นคนนี้ในกลุ่มลับต่าง ๆ บอกมา? สิ่งที่เราลงทุนเป็นอะไรที่มีมูลค่าแบบยั่งยืนรึเปล่า? หรือเป็นแค่กระแสที่ผ่านมาวูบวาบแล้วก็ผ่านไป?

เราทุกคนอยากจะร่ำรวยทั้งสิ้น ไม่มีใครเข้ามาในตลาดหุ้นหรือลงทุนแล้วคิดว่า “โอ้ววว...วันนี้จะเอาเงินไปละลายกับอะไรดี?” มันไม่มีครับ เราทุกคนอยากเป็นผู้ชนะ อยากมีเงินกันทั้งสิ้น แต่การลงทุนเชิงรุกเป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ ในการประสบความสำเร็จ

เพราะมันอาศัยความรู้ ความมีวินัย ต้องทุ่มเทเวลาอย่างมากในการศึกษาอย่างจริงจัง ติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลา คอยตรวจสอบผู้บริหาร งบการเงิน หรือแนวทางการลงทุนของธุรกิจแต่ละบริษัทที่ไปลงทุน ภาพโดยรวมของเศรษฐกิจเป็นยังไง ฯลฯ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนทำได้ (หรืออยากทำ) ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยอะไรก็ตามแต่ เพราะฉะนั้นการลงทุนแบบเชิงรับ (Passive Investing) ที่ลงทุนในกองทุนรวมดัชนีหรือกองทุนรวมหุ้น อย่าง ETFs พวกนี้ก็ถือว่าเป็นการลงทุนที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะเรายังอยู่ในตลาดแต่ไม่กินเวลาชีวิตมากจนเกินไป

บัฟเฟตต์กล่าวถึงเรื่องนี้หลายครั้งสำหรับคนที่อยากลงทุนแล้วยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการเงินหรือการลงทุนมากนัก ก็แนะนำว่าลงทุนในกองทุนรวมดัชนีก็สร้างผลตอบแทนที่ดีได้

ในจดหมายถึงผู้ถือหุ้นปี 1993 บัฟเฟตต์บอกว่า

“ยกตัวอย่างเช่นการลงทุนในกองทุนรวมดัชนี นักลงทุนที่ไม่รู้อะไรเลยสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีมากกว่านักลงทุนมืออาชีพซะอีก มันดูย้อนแย้ง แต่เมื่อ ‘เงินโง่ๆ’ รู้ว่าขอบเขตมันอยู่ตรงไหน มันก็ไม่โง่อีกต่อไป”

ในหนังสือ “The Little Book of Common Sense Investing” ที่วางขายในปี 2007 บัฟเฟตต์ก็บอกว่า

“กองทุนรวมดัชนีที่มีค่าธรรมเนียมต่ำเป็นการลงทุนในตราสารทุนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับนักลงทุนส่วนใหญ่”

ซึ่งเขาก็เน้นย้ำอีกทีในการประชุมผู้ถือหุ้นปี 2020 ว่า

“ในมุมมองของผมแล้วสำหรับคนส่วนใหญ่ สิ่งที่ดีที่สุดที่ควรทำคือการเป็นเจ้าของกองทุนดัชนี S&P 500”

แน่นอนไม่ได้หมายความว่าบัฟเฟตต์จะไม่เห็นด้วยกับการลงทุนแบบเชิงรุก เพียงแต่เขามองว่าสำหรับคนทั่วไปแล้วการลงทุนแบบเชิงรุกนั้นอาจจะให้ผลตอบแทนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น แต่เราจะไม่ลงทุนเลยก็ไม่ได้ เงินเฟ้อทำให้การฝากเงินไว้ในธนาคารจะทำให้มูลค่ามันลดลงเรื่อย ๆ

เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราต้องทำในฐานะนักลงทุนทั่วไปคือ

1. เลือกกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะกับเรา อาจจะลองมองหากองทุนดัชนีที่ให้ผลตอบแทนในระยะยาวเป็นที่น่าพอใจ อาจจะเป็นกองทุนรวมดัชนีตลาดหุ้นต่างชาติก็ได้ถ้ามองว่าตลาดของไทยยังไม่น่าสนใจ

2. อดทนรอ ต้องลงทุนอย่างสม่ำเสมอ อยู่เฉยให้ได้ อยู่นิ่งให้เป็น แม้ตลาดจะหวือหวาหรือบางทีดูน่าหอมหวานแค่ไหนก็ตาม ก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไรตามตลาดหรือคนรอบข้าง

ลองปรับมุมมองว่าการลงทุนเป็นเส้นทางสู่ช่วงวัยเกษียณที่เราจะมีเงินใช้ได้อย่างไม่ขัดสน ใช้ชีวิตโดยไม่ลำบากมาก แทนที่จะเป็นเครื่องมือการสร้างรายได้มหาศาล มังเกอร์บอกว่า

“การรอให้เป็นนี่แหละที่จะช่วยคุณในฐานะนักลงทุน และคนส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะทนรอได้”



ที่มา https://aommoney.com


01 กรกฎาคม 2566

ตำรวจเตือน กลโกงใหม่มิจฉาชีพ งานนี้ค่ายมือถือ ก็ช่วยอะไรไม่ได้

เพจเฟซบุ๊ก สืบนครบาล IDMB ได้ออกมาโพสต์ข้อความ ระบุเตือนประชาชน เผยว่า กลโกงใหม่ ระบาดหนัก!






ปลอม SMS ไม่ผ่านเครือข่ายมือถือ เหยื่อโดนแล้วกว่า 50 ราย หลายคนอาจจะได้รับข้อความแบบภาพข้างล่างนี้แล้ว และถึงกับงงว่าเกิดอะไรขึ้น?

ทำไมข้อความของมิจฉาชีพ ถึงมาโผล่ใน SMS ที่ใช้ชื่อธนาคาร วันนี้แอดมินจะมาอธิบายง่ายๆให้ฟัง เพื่อจะได้ระวังตัวกัน 
  • ข้อความในภาพด้านบนเป็นข้อความ SMS จริง ส่งมาจากธนาคารจริงแท้และแน่นอน ส่วนข้อความในกรอบสีแดง เป็นข้อความ SMS ที่ส่งมาจากมิจฉาชีพ โดยมิจฉาชีพใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า False Base Station หรือ FBS ที่สามารถส่ง SMS ไปหาเหยื่อ 
  • โดยสามารถปลอมชื่อให้เหมือนกับหน่วยงานอื่นๆ ได้ 
  • มันไม่ได้ส่งผ่านเครือข่ายมือถือ ดังนั้น ถ้าเราไปถามค่ายมือถือ เขาจะไม่รู้เรื่องด้วย พอมันแนบลิงค์มาด้วย กลายเป็นว่า คนจะหลงเชื่อว่ามาจากธนาคารจริงๆ 
  • สำหรับอุปกรณ์ FBS นี้จะมีลักษณะเป็นกล่อง มีเทคโนโลยีสามารถจำลองตนเองเป็นเครือข่ายหนึ่ง เมื่อมีเป้าหมายเข้ามาใกล้อุปกรณ์ดังกล่าวโทรศัพท์มือถือจะหลุดจากเครือข่ายโอเปอเรเตอร์เพียงเสี้ยววินาที และไปจับสัญญาณกับ FBS แทน เพื่อส่ง SMS ปลอมไปยังเป้าหมายโดยไม่ทันได้สังเกต
  • อุปกรณ์ FBS นี้ เป็นอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่สามารถนำไปที่ไหนก็ได้ด้วย ซึ่งแต่เดิมเจ้าเครื่องนี้ หน่วยงานตำรวจในต่างประเทศเค้าเอาไว้ใช้ในภารกิจต่างๆ แต่ตอนนี้ กลายเป็นเครื่องมือของมิจฉาชีพไปแล้ว 
  • กลโกงและเทคนิค FBS ของมิจฉาชีพเคยระบาดและเกิดขึ้นแล้วที่จีนเมื่อปี 2557 มีการพบอุปกรณ์ดังกล่าวจำนวน 1,500 สถานี ซึ่งขณะนั้นมีผู้ต้องสงสัย 3,540 คน และจับดำเนินคดีได้ 1,330 คน โดยFBS เริ่มเข้ามาแพร่ระบาดในไทยเมื่อช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา 
  • แต่สิ่งที่เราจะต้องรู้ คือ ธนาคารเลิกส่งลิงค์ผ่านทาง SMS กันแล้ว หากมีลิงค์ส่งมาอ้างมาจากธนาคาร ให้สันนิษฐานไว้ก่อนได้เลยว่า มาจากมิจฉาชีพ


ที่มา Link