31 สิงหาคม 2566

การนับปีของ RMF นับยังไง??

หลายคนสงสัย เรื่องเงื่อนไขการถือครอง RMF ที่ว่า ต้องถือครองจนถึงอายุ 55 ปี และต้องลงทุนอย่างน้อยมา 5 ปี โดยนับแบบวันชนวัน ถึงจะขายได้แบบไม่ผิดเงื่อนไข การนับปีที่ว่านี้นับยังไง นับแต่ละครั้งที่ซื้อเลยรึเปล่า ใครสงสัยมาอ่านกัน...

การลงทุนใน RMF นั้นเป็นการเก็บเงินเพื่อการเกษียณ และได้ลดหย่อนภาษีเป็นของแถม แต่มีเงื่อนไขที่เราต้องปฏิบัติตามเพื่อจะได้ไม่มีความยุ่งยากตามมา

มาทวนเงื่อนไขของ RMF กันเล็กน้อยนะ

1. ลดหย่อนภาษี
ซึ่งตั้งแต่ปี 2563 มีการปรับเพิ่มให้สามารถซื้อ RMF ได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ และเมื่อรวมกับกลุ่มการออมเพื่อการเกษียณทั้งหมด ได้แก่ ประกันบำนาญ/PVD/กบข./กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน/ กอช. และยังต้องรวมกับ SSF (super saving fund) ด้วยแล้วไม่เกิน 500,000 บ.

2. ความยืดหยุ่นของการลงทุน
ซื้อทุกปี เว้นได้ไม่เกิน 1 ปีติดต่อกัน โดยเมื่อก่อนมีกำหนดซื้อขั้นต่ำอย่างน้อย 3% ของรายได้ หรือ 5,000 บ. แล้วแต่จำนวนไหนต่ำกว่า แต่ตั้งแต่ปี 2563 ไป ไม่มีกำหนดการซื้อขั้นต่ำ เพียงแต่ยังต้องลงทุนทุกปี จะลงในกอง RMF เดิมที่เราเคยซื้ออยู่แล้ว หรือกอง RMF กองอื่น ของ บลจ. อื่นก็ได้ แค่ต้องลงทุนในกิงประเภท RMF ทุกปี

3. ระยะเวลาการถือครอง ประเด็นนี้ที่หลายคนสงสัย และวันนี้จะมาเล่ารายละเอียดของประเด็นนี้ให้อ่านกัน และประเด็นนี้ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนจากเดิม
 
และตั้งแตปี 2563 ที่เปลี่ยนเกณฑ์บางอย่างของการลดหย่อนภาษีด้วย RMF แต่การนับปีก็ยังคงต่อเนื่องไปเหมือนเดิม ถ้าเรายังทำถูกเงื่อนไข

เงื่อนไขการถถถือครอง ต้องถือไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับแบบวันชนวัน) โดยจะนับเฉพาะปีที่ลงทุนเท่านั้น และอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ถึงจะขายคืนได้แบบไม่ผิดเงื่อนไข และขายคืนได้ทั้งหมดที่ซื้อมา
.
.
.
มาดูกันว่าการนับระยะเวลาการถือครองที่บอกว่า นับแบบวันชนวัน ปีชนปีนี้คือยังไงกัน นับแต่ละก้อนเลยรึเปล่า

เงื่อนไขที่จะขายคืนได้ จะต้องมีอายุตั้งแต่ 55 ปี และถือครองมาไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยเป็นการนับแบบวันชนวัน ปีชนปี

เช่น มานีจะมีอายุครบ 55 ปี วันที่ 1 สิงหาคม 62

โดยมานีเริ่มลงทุน RMF ครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 57

และลงทุนต่อเนื่องมาทุกปี ในปี 2558, 2559, 2560, 2561, 2562

\มานีจะขายคืนหน่วยลงทุนทั้งหมดของ RMF ทุกกองที่ซื้อมาตั้งแต่ 2557-2562 ได้ตั้งแต่ 2 ธันวาคม 62 เป็นต้นไป

เพราะถือครบ 5 ปี โดยนับจากวันที่เริ่มซื้อหน่วยลงทุนวันแรก (1 ธันวาคม 57) เป็นหลัก และ อายุตั้งแต่ 55 ปี โดยกฏหมายจะถือ RMF ชุดนี้ทั้งหมดตั้งแต่ 2557-2562 ถือต่อเนื่องมาครบ 5 ปีแล้ว
.
.
โดยการนับจะถือการลงทุนครั้งแรกเป็นสำคัญ เพื่อใช้สำหรับการครบเงื่อนไขเพื่อการขายคืนนะ
.
.
ถ้าอายุ 55 ไปแล้วแต่ยังทำงานมีรายได้อยู่ จะลงทุน RMF ต่อได้ไหม??
เช่น มานีครบอายุ 55 ปี เมื่อ 1 ส.ค. 62 แต่ยังทำงานต่อ กะว่าจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี มานีก็สามารถลงทุนต่อใน RMF เพื่อนำมาลดหย่อนภาษีต่อได้
.
.
แบบนี้มานีเมื่อครบ 55 ปี และถือครบ 5 ปี ที่เข้าเงื่อนไขตั้งแต่ 2 ธ.ค. 62 มานีอยากจะขายคืนตอนไหนก็ได้ใช่ไหม??

ใช่และมานีจะเลือกขายทั้งหมด หรือขายบางส่วนก็ได้ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มานีขาย RMF การนับปีจะสิ้นสุดลง และถ้ามานีจะลงทุน RMF ต่อเพื่อมาลดหย่อน การนับปีที่ว่า ต้องถือไป 5 ปี จะถูกเริ่มนับไหม่นะ
.
.
จากตัวอย่างมานีที่เล่าตอนต้นว่า มานีจะมีอายุครบ 55 ปี วันที่ 1 สิงหาคม 62

โดยมานีเริ่มลงทุน RMF ครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 57

และลงทุนต่อเนื่องมาทุกปี ในปี 2558, 2559, 2560, 2561, 2562

มานีขายคืนหน่วยลงทุนของ RMF บางส่วนที่ซื้อมาของปี 2557-2559 เมื่อวันที่ 3 มกราคม 63 ซึ่งสามารถทำได้เพราะมานีมีอายุครบ 55 ปี และถือครองมาไม่น้อยกว่า 5 ปี

พอปี 2563 มานีมีรายได้อยู่ และอยากลดหย่อนภาษีด้วย RMF และเริ่มซื้อ RMF เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2563 การนับปีของ RMF ตรงนี้จะถูกเริ่มนับใหม่ โดยเริ่มนับวันที่ 1 สิงหาคม 2563 นะ เพราะเมื่อไหร่ที่มีการขาย RMF ไม่ว่าจะบางส่วนหรือทั้งหมด การนับปีของเดิมจะสิ้นสุดลง และถ้ามานีจะลงทุน RMF ต่อเพื่อมาลดหย่อนภาษี ก็ต้องนับ 1 ใหม่ และการนับ 5 ปีจะนับจากวันที่ซื้อ RMF ใหม่นี้นะ

ดังนั้นถ้ายังต้องใช้สิทธิลดหย่อนภาษีของ RMF ก็อย่าเพิ่งขายคืน RMF ค่อยเก็บไว้ขายตอนที่คิดว่าจะไม่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจาก RMF แล้วน่าจะดีกว่านะ

การลงทุนใน RMF ควรมองเป็นการเก็บเงินเพื่อการเกษียณเริ่มตั้งแต่เริ่มต้นทำงานมีราได้ที่ต้องสียภาษีนะ ไม่ใช่เรื่องของคนวัยใกล้เกษียณเท่านั้นนะ
.
.
การวางแผนเกษียณ และได้ประหยัดภาษีกับกอง RMF ก็น่าสนใจนะ



ที่มา Link

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความยอดนิยม (ล่าสุด)

บทความยอดนิยม (1 ปีย้อนหลัง)