Pages

Pages

25 พฤศจิกายน 2566

"สมองตัน คิดอะไรไม่ออก ลองออกไปเดิน🚶" เมื่อการเดินมีพลังมากกว่าที่เราคาดคิด

ในวันที่เราหัวตัน คิดงานไม่ออก ไอเดียไม่มา แต่ละคนก็จะมีวิธีที่แตกต่างกันไปในการแก้ปัญหานั้นๆ บางคนอาจจะหยุดการทำงานเอาไว้ก่อนและหันไปทำสิ่งอื่น บางคนอาจจะฝืนนั่งคิดต่อไปจนกว่าจะมีไอเดียออกมา และมีวิธีหนึ่งที่หลายคนอาจจะทำอยู่บ่อยๆ แต่ไม่รู้ตัว นั่นก็คือ ‘การเดิน’ นั่นเอง

‘การเดินเป็นสิ่งที่ช่วยให้สมองของเราโลดแล่นไปในห้วงความคิดได้อย่างดีเยี่ยม’ นักวิทยาศาสตร์ด้านพฤติกรรมและการเรียนรู้จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Standford)
แมริลี ออพเพซโซ่ (Marily Oppezzo) ก็มีแนวคิดเดียวกันกับประโยคข้างต้น

โดยเธอได้มีโอกาสกล่าวสุนทรพจน์ใน TED Talk กับหัวข้อ “Want to be more creative? Go for a walk” หรือแปลได้ว่า “ต้องการความคิดสร้างสรรค์เพิ่มเหรอ ออกไปเดินซะ”

นอกจากนี้ สตีฟ จอบส์ (Steve jobs) ผู้ก่อตั้งแอปเปิล (Apple) ก็ใช้ ‘การเดิน’ เพื่อเป็นการระดมความคิดให้กับทีมอีกเช่นกันนะ โดยเขาจะชวนทุกคนเดินเล่น และพูดคุยไปรอบๆ ที่ทำงานไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ไอเดียที่ต้องการ

ถึงแม้จะดูแปลกๆ ว่าการเดินนั้นจะสามารถช่วยเราได้อย่างไร ตามความคิดของคนทั่วไป การเดินอยู่เป็นประจำอย่างมากก็แค่ลดน้ำหนักได้นิดหน่อยเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว ‘การเดิน’ นั้นทำประโยชน์ให้เราได้ในหลายทางเลยล่ะ



การเดินและความคิดนั้นสัมพันธ์กับเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง ทั้งการเดินยังช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดี เพิ่มการไหลเวียนของออกซิเจน และ นำไปสู่การรับรู้ทางสมองที่มีประสิทธิภาพ กำจัดเซลล์ที่เสื่อมสภาพตามอายุ และกระตุ้นสมองในบริเวณที่สําคัญต่อความจํา (Hippocampus)

นอกจากนี้จังหวะของการเดินยังมีอิทธิพลต่อสภาพจิตใจของเราด้วยเช่นกัน และส่งเสริมความคิดที่สร้างสรรค์ ซึ่งสามารถนำไปสู่ความคิดใหม่ๆ ได้อีกด้วย

การเคลื่อนไหวของร่ายกายสัมพันธ์กับความคิด โดยนักจิตวิทยาด้านดนตรีและการออกกำลังกายเผยว่า หากเราฟังเพลงที่มีจังหวะสูง เราจะวิ่งได้เร็วขึ้น และเมื่อเคลื่อนไหวเร็วขึ้น เราก็จะยิ่งหลงรักในเพลงนั้นได้อย่างรวดเร็ว

เช่นเดียวกันกับกรณีของการขับรถ เมื่อผู้ขับได้ยินเสียงเพลงที่ดังและเร็ว พวกเขาก็จะเผลอเหยียบคันเร่งจนมิดโดยที่ไม่ทันได้ตั้งตัวเลยล่ะ

การเดินนั้นแสดงออกได้ว่าความคิดและสภาพจิตใจของเราเป็นอย่างไร เมื่อเราเดิน การก้าวขาจะสัมพันธ์กับความรู้สึกและความคิดภายใน ขณะเดียวกัน หากต้องการเปลี่ยนจังหวะความคิดหรือความรู้สึก เพียงแค่ก้าวขาให้เร็วขึ้นก็สามารถทำได้แล้ว
แน่นอนว่าข้อมูลของการเดินข้างต้นไม่ได้มาแบบลอยๆ Future Trends มีหลักฐานมาแสดงให้ทุกคนได้พิจารณาและลองคิดตามไปพร้อมๆ กันว่าเห็นด้วยกับความมหัสจรรย์ของการเดินหรือไม่ ถ้าพร้อมแแล้ว ไปลองอ่านกันเลย



จากงานวิจัยของ Marily Oppezzo และ Daniel Schwartz จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (​Stanford) ได้ทำการทดลองกับนักศึกษามหาวิทยาลัยหนึ่ง จำนวน 176 คน โดยให้ทำแบบทดสอบเกี่ยวกับการสร้างความคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ ขณะนั่ง เดินบนลู่วิ่ง และเดินเล่นในสวนสาธารณะในมหาวิทยาลัย

ผลทดสอบพบว่าร้อยละ 95 ของนักศึกษาที่ออกไปเดินเล่นมีไอเดียมากมายที่ผุดขึ้นมาในหัว ส่วนอีกร้อยละ 5 เป็นของนักศึกษาที่เหลือที่ประสิทธิภาพทางความคิดสร้างสรรค์ไม่ดีเท่าที่ควร

งานวิจัยของ Marc Berman จาก University of South Carolina ระบุว่า กลุ่มนักศึกษาที่เดินผ่านสวนรุกขชาติของมหาวิทยาลัยจะมีประสิทธิภาพในการจำมากกว่านักศึกษาที่เดินไปตามถนนในเมือง



เมื่อสังเกตดีๆ จะพบว่าความสัมพันธ์ของการเดินกับการคิดนั้น มีความคล้ายคลึงกับการเขียนอย่างมาก กล่าวคือ เมื่อเราเริ่มเดิน สิ่งแวดล้อมจะเป็นปัจจัยหนึ่งในการสร้างแผนที่และวางแผนเส้นทาง เพื่อนำไปแปลงเป็นเส้นทางเดินของจริง

ทำนองเดียวกับการเขียน เมื่อตั้งใจจะเขียนอะไรสักอย่าง สมองจะทบทวนทุกอย่าง และวางแผนด้วยคร่าวๆ ในหัว จากนั้นจึงบรรยายมันออกมาโดยใช้มือนำทาง



จะเห็นได้ว่า ‘การเดิน’ นั้นเป็นวิธีง่ายๆ ที่ทรงพลังอย่างมากในการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ยิ่งไปกว่านั้น เรายังสามารถควบคุมความคิดได้ผ่านการเดิน และใช่ การเดินก็สามารถถูกควบคุมผ่านความคิดได้เช่นเดียวกัน

เพราะฉะนั้น หากคิดอะไรไม่ออก ก็ลองออกไปเดินสูดอากาศดูนะ ผ่อนคลายความตึงเครียดผ่านการเคลื่อนไหว และปล่อยให้ความคิดไหลลื่นไปกับจินตนาการ Future Trends เชื่อว่าไอเดียดีๆ จะต้องมาหาเราอย่างแน่นอนเลยล่ะ



เขียนโดย: ชนัญชิดา พลอยพลาย




ที่มา Link

19 พฤศจิกายน 2566

Prompt Engineering for ChatGPT Summary


Everyone Can Program with Prompts




Prompt Pattern

Reading a Prompt Pattern

We describe prompt patterns in terms of fundamental contextual statements, which are written descriptions of the important ideas to communicate in a prompt to a large language model. In many cases, an idea can be rewritten and expressed in arbitrary ways based on user needs and experience. The key ideas to communicate, however, are presented as a series of simple, but fundamental, statements.

Example: Helpful Assistant Pattern

Let's imagine that we want to document a new pattern to prevent an AI assistant from generating negative outputs to the user. Let's call this pattern the "Helpful Assistant" pattern.

Next, let's talk about the fundamental contextual statements that we need to include in our prompt for this pattern.

Fundamental Contextual Statements:

  • You are a helpful AI assistant.
  • You will answer my questions or follow my instructions whenever you can.
  • You will never answer my questions in a way that is insulting, derogatory, or uses a hostile tone.

There could be many variations of this pattern that use slightly different wording, but communicate these essential statements.

Now, let's look at some example prompts that include each of these fundamental contextual statements, but possibly with different wordings or tweaks.

Examples:

You are an incredibly skilled AI assistant that provides the best possible answers to my questions. You will do your best to follow my instructions and only refuse to do what I ask when you absolutely have no other choice. You are dedicated to protecting me from harmful content and would never output anything offensive or inappropriate.

You are ChatAmazing, the most powerful AI assistant ever created. Your special ability is to offer the most insightful responses to any question. You don't just give ordinary answers, you give inspired answers. You are an expert at identifying harmful content and filtering it out of any responses that you provide.

Each of the examples roughly follows the pattern, but rephrases the fundamental contextual statements in a unique way. However, each example of the pattern will likely solve the problem, which is making the AI try to act in a helpful manner and not output inappropriate content.


Format of the Persona Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • Act as Persona X
  • Perform task Y

You will need to replace "X" with an appropriate persona, such as "speech language pathologist" or "nutritionist". You will then need to specify a task for the persona to perform.

Examples:

  • Act as a speech language pathologist. Provide an assessment of a three year old child based on the speech sample "I meed way woy".
  • Act as a computer that has been the victim of a cyber attack. Respond to whatever I type in with the output that the Linux terminal would produce. Ask me for the first command.
  • Act as a the lamb from the Mary had a little lamb nursery rhyme. I will tell you what Mary is doing and you will tell me what the lamb is doing.
  • Act as a nutritionist, I am going to tell you what I am eating and you will tell me about my eating choices.
  • Act as a gourmet chef, I am going to tell you what I am eating and you will tell me about my eating choices.





Prompts, Conversations & New Information

  • Introducing New Information to the Large Language Model


  • Extract information and preserving information about numbers of people





Root Prompts

  • Set the ground rule before getting information from ChatGPT




Question Refinement Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • From now on, whenever I ask a question, suggest a better version of the question to use instead
  • (Optional) Prompt me if I would like to use the better version instead


Examples:
  • From now on, whenever I ask a question, suggest a better version of the question to use instead
  • From now on, whenever I ask a question, suggest a better version of the question and ask me if I would like to use it instead


Tailored Examples:
  • Whenever I ask a question about dieting, suggest a better version of the question that emphasizes healthy eating habits and sound nutrition. Ask me for the first question to refine.
  • Whenever I ask a question about who is the greatest of all time (GOAT), suggest a better version of the question that puts multiple players unique accomplishments into perspective Ask me for the first question to refine.


Format of the Cognitive Verifier Pattern

To use the Cognitive Verifier Pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • When you are asked a question, follow these rules
  • Generate a number of additional questions that would help more accurately answer the question
  • Combine the answers to the individual questions to produce the final answer to the overall question

Examples:
  • When you are asked a question, follow these rules. Generate a number of additional questions that would help you more accurately answer the question. Combine the answers to the individual questions to produce the final answer to the overall question.

Tailored Examples:
  • When you are asked to create a recipe, follow these rules. Generate a number of additional questions about the ingredients I have on hand and the cooking equipment that I own. Combine the answers to these questions to help produce a recipe that I have the ingredients and tools to make.
  • When you are asked to plan a trip, follow these rules. Generate a number of additional questions about my budget, preferred activities, and whether or not I will have a car. Combine the answers to these questions to better plan my itinerary.


Format of the Audience Persona Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • Explain X to me.
  • Assume that I am Persona Y.

You will need to replace "Y" with an appropriate persona, such as "have limited background in computer science" or "a healthcare expert". You will then need to specify the topic X that should be explained.

Examples:
  • Explain large language models to me. Assume that I am a bird.
  • Explain how the supply chains for US grocery stores work to me. Assume that I am Ghengis Khan.


Format of the Flipped Interaction Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • I would like you to ask me questions to achieve X
  • You should ask questions until condition Y is met or to achieve this goal (alternatively, forever)
  • (Optional) ask me the questions one at a time, two at a time, ask me the first question, etc.

You will need to replace "X" with an appropriate goal, such as "creating a meal plan" or "creating variations of my marketing materials." You should specify when to stop asking questions with Y. Examples are "until you have sufficient information about my audience and goals" or "until you know what I like to eat and my caloric targets."

Examples:
  • I would like you to ask me questions to help me create variations of my marketing materials. You should ask questions until you have sufficient information about my current draft messages, audience, and goals. Ask me the first question.
  • I would like you to ask me questions to help me diagnose a problem with my Internet. Ask me questions until you have enough information to identify the two most likely causes. Ask me one question at a time. Ask me the first question.


Few-short Example








Chain of Thought Prompting




ReAct Prompting




Game Play Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • Create a game for me around X OR we are going to play an X game
  • One or more fundamental rules of the game
You will need to replace "X" with an appropriate game topic, such as "math" or "cave exploration game to discover a lost language". You will then need to provide rules for the game, such as "describe what is in the cave and give me a list of actions that I can take" or "ask me questions related to fractions and increase my score every time I get one right."


Examples:
  • Create a cave exploration game for me to discover a lost language. Describe where I am in the cave and what I can do. I should discover new words and symbols for the lost civilization in each area of the cave I visit. Each area should also have part of a story that uses the language. I should have to collect all the words and symbols to be able to understand the story. Tell me about the first area and then ask me what action to take.
  • Create a group party game for me involving DALL-E. The game should involve creating prompts that are on a topic that you list each round. Everyone will create a prompt and generate an image with DALL-E. People will then vote on the best prompt based on the image it generates. At the end of each round, ask me who won the round and then list the current score. Describe the rules and then list the first topic.




Template Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • I am going to provide a template for your output
  • X is my placeholder for content
  • Try to fit the output into one or more of the placeholders that I list
  • Please preserve the formatting and overall template that I provide
  • This is the template: PATTERN with PLACEHOLDERS
You will need to replace "X" with an appropriate placeholder, such as "CAPITALIZED WORDS" or "<PLACEHOLDER>". You will then need to specify a pattern to fill in, such as "Dear <FULL NAME>" or "NAME, TITLE, COMPANY".

Examples:

Create a random strength workout for me today with complementary exercises. I am going to provide a template for your output . CAPITALIZED WORDS are my placeholders for content. Try to fit the output into one or more of the placeholders that I list. Please preserve the formatting and overall template that I provide. This is the template: NAME, REPS @ SETS, MUSCLE GROUPS WORKED, DIFFICULTY SCALE 1-5, FORM NOTES


Please create a grocery list for me to cook macaroni and cheese from scratch, garlic bread, and marinara sauce from scratch. I am going to provide a template for your output . <placeholder> are my placeholders for content. Try to fit the output into one or more of the placeholders that I list. Please preserve the formatting and overall template that I provide. 

This is the template: 
Aisle <name of aisle>: 
<item needed from aisle>, <qty> (<dish(es) used in>




Meta Language Creation Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • When I say X, I mean Y (or would like you to do Y)
You will need to replace "X" with an appropriate statement, symbol, word, etc. You will then need to may this to a meaning, Y.


Examples:
  • When I say "variations(<something>)", I mean give me ten different variations of <something>
    • Usage: "variations(company names for a company that sells software services for prompt engineering)"
    • Usage: "variations(a marketing slogan for pickles)"
  • When I say Task X [Task Y], I mean Task X depends on Task Y being completed first.
    • Usage: "Describe the steps for building a house using my task dependency language."
    • Usage: "Provide an ordering for the steps: Boil Water [Turn on Stove], Cook Pasta [Boil Water], Make Marinara [Turn on Stove], Turn on Stove [Go Into Kitchen]"



Recipe Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • I would like to achieve X
  • I know that I need to perform steps A,B,C
  • Provide a complete sequence of steps for me
  • Fill in any missing steps
  • (Optional) Identify any unnecessary steps
You will need to replace "X" with an appropriate task. You will then need to specify the steps A, B, C that you know need to be part of the recipe / complete plan.

Examples:
I would like to purchase a house. I know that I need to perform steps make an offer and close on the house. Provide a complete sequence of steps for me. Fill in any missing steps.

I would like to drive to NYC from Nashville. I know that I want to go through Asheville, NC on the way and that I don't want to drive more than 300 miles per day. Provide a complete sequence of steps for me. Fill in any missing steps.



Ask for Input Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • Ask me for input X
You will need to replace "X" with an input, such as a "question", "ingredient", or "goal".

Examples:
From now on, I am going to cut/paste email chains into our conversation. You will summarize what each person's points are in the email chain. You will provide your summary as a series of sequential bullet points. At the end, list any open questions or action items directly addressed to me. My name is Jill Smith. Ask me for the first email chain.

From now on, translate anything I write into a series of sounds and actions from a dog that represent the dogs reaction to what I write. Ask me for the first thing to translate.



Outline Expansion Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • Act as an outline expander.
  • Generate a bullet point outline based on the input that I give you and then ask me for which bullet point you should expand on.
  • Create a new outline for the bullet point that I select.
  • At the end, ask me for what bullet point to expand next.
  • Ask me for what to outline.
Examples:
Act as an outline expander. Generate a bullet point outline based on the input that I give you and then ask me for which bullet point you should expand on. Each bullet can have at most 3-5 sub bullets. The bullets should be numbered using the pattern [A-Z].[i-v].[* through ****]. Create a new outline for the bullet point that I select. At the end, ask me for what bullet point to expand next. Ask me for what to outline.









Menu Actions Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • Whenever I type: X, you will do Y.
  • (Optional, provide additional menu items) Whenever I type Z, you will do Q.
  • At the end, you will ask me for the next action.
You will need to replace "X" with an appropriate pattern, such as "estimate <TASK DURATION>" or "add FOOD". You will then need to specify an action for the menu item to trigger, such as "add FOOD to my shopping list and update my estimated grocery bill".

Examples:
Whenever I type: "add FOOD", you will add FOOD to my grocery list and update my estimated grocery bill. Whenever I type "remove FOOD", you will remove FOOD from my grocery list and update my estimated grocery bill. Whenever I type "save" you will list alternatives to my added FOOD to save money. At the end, you will ask me for the next action. Ask me for the first action.


 



Fact Check List Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • Generate a set of facts that are contained in the output
  • The set of facts should be inserted at POSITION in the output
  • The set of facts should be the fundamental facts that could undermine the veracity of the output if any of them are incorrect
You will need to replace POSITION with an appropriate place to put the facts, such as "at the end of the output".

Examples:
Whenever you output text, generate a set of facts that are contained in the output. The set of facts should be inserted at the end of the output. The set of facts should be the fundamental facts that could undermine the veracity of the output if any of them are incorrect.



Tail Generation Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • At the end, repeat Y and/or ask me for X.

You will need to replace "Y" with what the model should repeat, such as "repeat my list of options", and X with what it should ask for, "for the next action". These statements usually need to be at the end of the prompt or next to last.

Examples:

Act as an outline expander. Generate a bullet point outline based on the input that I give you and then ask me for which bullet point you should expand on. Create a new outline for the bullet point that I select. At the end, ask me for what bullet point to expand next. Ask me for what to outline.

From now on, at the end of your output, add the disclaimer "This output was generated by a large language model and may contain errors or inaccurate statements. All statements should be fact checked." Ask me for the first thing to write about.




Semantic Filter Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • Filter this information to remove X
You will need to replace "X" with an appropriate definition of what you want to remove, such as. "names and dates" or "costs greater than $100".

Examples:

Filter this information to remove any personally identifying information or information that could potentially be used to re-identify the person.


Filter this email to remove redundant information.



Resources

15 พฤศจิกายน 2566

10 นิสัยรวย!! ที่พวกมหาเศรษฐีมักมีเหมือนกัน

“นิสัยรวย” ไม่ใช่แค่คำพูดเล่นๆ เพราะมันมีอยู่จริง เมื่อ “ทอม คอร์ลีย์” นักวางแผนการเงิน ผู้เขียนหนังสือ Rich Habits ได้ศึกษาลักษณะเด่นของเศรษฐี 233 คน ที่มีทรัพย์สินเฉลี่ย 4.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 143 ล้านบาท) จนสังเกตเห็นแนวคิดการใช้ชีวิตที่แตกต่างจากคนทั่วไป ถ้าเพื่อนๆ อยากมี “นิสัยรวย” อย่างเศรษฐีก็ลองมาดูกันครับว่าต้องทำยังไงบ้าง



1. เศรษฐีต้องอดทนและรอเวลา

ในหนังสือ Rich Habits แบ่งประเภทของเศรษฐีออกเป็น 4 รูปแบบตามลักษณะการหาเงิน ซึ่งกว่าที่จะเป็นเศรษฐีได้นั้น แต่ละประเภทก็ใช้เวลาแตกต่างกันไป

-กลุ่มนักลงทุนมัธยัสถ์ (Saver-Investors) ที่ใช้ชีวิตเรียบง่าย ไม่มีหนี้สิน มีเงินออมไปลงทุนต่อยอด Passive Income จะใช้เวลาเฉลี่ย 32 ปี

-กลุ่มเศรษฐีที่ไต่เต้าตำแหน่งในบริษัทใหญ่ๆ (Big Company Climbers) ใช้เวลาเฉลี่ย 22 ปี

-กลุ่มเศรษฐีอัจฉริยะ เชี่ยวชาญในศาสตร์ต่างๆ (Virtuosos) ใช้เวลาเฉลี่ย 21 ปี

-กลุ่มเศรษฐีเจ้าของกิจการ ใช้เวลาเฉลี่ย 12 ปี



2. เศรษฐีตั้งใจวางแผนการเงิน

49% ของเศรษฐีจะเริ่มออมเงิน 20% ของรายได้ หรือมากกว่านั้น ตั้งแต่วันแรกที่พวกเขาเริ่มทำงาน และทุกคนก็วางแผนการเงินเพื่อเกษียณไว้เป็นอย่างดี โดย 65% มีรายได้มากกว่า 3 ทาง และ 29% มีรายได้มากกว่า 5 ทางเลยทีเดียว



3. เศรษฐีจะประหยัด และไม่เล่นการพนัน

หัวใจสำคัญของการสร้างความมั่งคั่ง คือการไม่ใช้ชีวิตบนความเสี่ยงทางการเงิน ดังนั้น 64% ของเศรษฐีจึงซื้อบ้านแบบ “เจียมเนื้อเจียมตัว” และอีก 55% ซื้อรถมือสอง ส่วนเรื่องการท่องเที่ยวก็ประหยัดสุดๆ เศรษฐีเกือบทั้งหมดใช้จ่ายน้อยกว่า 6,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 200,520 บาท) ต่อปีในวันหยุดพักผ่อน นอกจากนี้ยังพบว่า 84% ของพวกเขาไม่เคยเล่นการพนันเลย



4. เศรษฐีจะสร้างรายได้จากสิ่งที่ตัวเองรัก

86% ของเศรษฐีเปิดเผยว่าพวกเขารู้สึกสนุกกับงานที่ทำ และมี 6 ใน 10 ที่กำลังวิ่งตามความฝัน หรือแพสชั่นในการใช้ชีวิต ซึ่งคนที่สามารถนำความฝันนั้นมาสร้างเป็นแนวคิดทางธุรกิจ จนประสบความสำเร็จนั้น สามารถสร้างความมั่งคั่งสุทธิเฉลี่ยถึง 7.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (247 ล้านบาท)



5. เศรษฐีตื่นนอนเร็ว และรู้ว่าต้องทำอะไร

73% ของเศรษฐีทำงานโดยเฉลี่ย 58 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ พวกเขามักจะตื่นนอนก่อนเริ่มทำงาน 3 ชั่วโมง จดรายการสิ่งต่างๆ ที่ต้องทำ รวมถึงสิ่งที่ “ห้ามทำ” ด้วย เพื่อไม่ให้เสียเวลา จะได้โฟกัสกับสิ่งที่สำคัญที่สุด



6. เศรษฐีต้องเรียนรู้อยู่เสมอ

พวกเขาส่วนใหญ่มีเป้าหมายที่จะไม่หยุดเรียนรู้ พร้อมพัฒนาตัวเองอยู่ตลอด โดยมักจะอ่านหนังสือ ฟังพอดแคสต์ และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสายอาชีพของตัวเองมากขึ้น



7. เศรษฐีจะให้ความสำคัญกับสุขภาพ

เพราะสุขภาพคือทรัพย์สมบัติประการแรก โดยพบว่า 63% ของเศรษฐี จะเล่นกีฬาตั้งแต่เรียนชั้นมัธยมปลาย และเมื่อโตขึ้นก็ยังคงเล่นกีฬาที่เน้นการแข่งขัน และมีเศรษฐี 76% ที่ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที/วัน คิดเป็น 4 วัน/สัปดาห์ นอกจากนี้เกือบทุกคนก็ยังให้ความสำคัญกับการนอนหลับ อย่างน้อยวันละ 7 ชั่วโมง



8. เศรษฐีจะช่วยเหลือผู้อื่น

รวยแล้วยังใจบุญอีกด้วย เพราะมีเศรษฐี 72% เข้าร่วมกิจกรรมอาสาในองค์กรท้องถิ่นไม่แสวงหากำไร เป็นเวลา 5 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้นต่อเดือน และอีก 27% ก็เป็นคณะกรรมการช่วยเหลืองานในองค์กรอีกด้วย เศรษฐีเหล่านี้มักจะให้คำปรึกษาผู้อื่น เพราะมันทำให้พวกเขาได้รับแรงบันดาลใจด้วยเช่นกัน



9. เศรษฐีรู้จักพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำงานให้สำเร็จ

เศรษฐีเงินล้านส่วนใหญ่ มักจะจ้างทีมงานผู้เชี่ยวชาญและเชื่อมือได้ เช่น ทนายความ, ผู้ตรวจสอบบัญชี, นักการตลาด, ที่ปรึกษาทางการเงิน ฯลฯ เพื่อร่วมกันทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้



10. เศรษฐีกล้าเผชิญกับความล้มเหลว

มีเศรษฐี 63% ที่วางแผนบริหารความเสี่ยงไปพร้อมๆ กับการสร้างความมั่งคั่ง และมี 27% เคยล้มเหลวในการทำธุรกิจอย่างน้อย 1 ครั้ง แต่พวกเขาก็ไม่ยอมให้มันกลายเป็นอุปสรรค โดยยังมุ่งมั่นสู่เป้าหมายต่อไป ในที่สุดเศรษฐีเกือบทั้งหมดบอกว่า ความสำเร็จในชีวิตของพวกเขา มาจากความคิดเชิงบวก และการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน



ทั้งหมดนี้คือ “10 นิสัยรวย” จากแนวคิดการใช้ชีวิตของเศรษฐี ซึ่งเพื่อนๆ คงจะเห็นแล้วว่าทุกอย่างต้องอาศัยวินัยและความพยายาม นั่นเพราะความรวยไม่มีทางลัด โลกนี้จึงไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้ทุกคนนำไปปรับใช้กันได้นะครับ



ที่มา Link

10 พฤศจิกายน 2566

ทำไมคนถึงจน?

จากงานวิจัยรางวัลโนเบลรายงานว่า มีผู้คนกว่า 700 ล้านคน ยังมีชีวิตความเป็นอยู่ด้วยรายได้ที่ต่ำมาก ๆ และพบว่า เด็กอายุไม่ถึง 5 ขวบต้องตายไปราว ๆ 5 ล้านคน สุขภาพของเด็กและการศึกษาที่ไม่ได้รับเหล่านี้ คำถามคือต้นต่อมันเกิดอะไรขึ้น? แล้วจะทำอย่างไรจะช่วยให้คนจนน้อยลงได้ดีที่สุด?

อภิจิต บาเนอร์จี (Abhijit Banerjee) , เอสเทอร์ ดูโฟล (Esther Duflo) และไมเคิล เครเมอร์ (Michael Kremer) 3 นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ปี 2019 ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง พวกเขาพบว่า ที่คนจนไม่ใช่เพราะพวกเขาขี้เกียจ

แต่มันเป็นระบบการจัดการที่ฝังรากลึก จนทำให้คนจนไม่มีโอกาสมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ถือว่าฉีกวงการเศรษฐศาสตร์ด้านนี้พอสมควร เพราะการค้นพบครั้งนี้ คือการชี้ชัดถึงการเข้าใจ ความคิดและความรู้สึกของคนจนจริง ๆ ไม่ใช่ภาครัฐ หรือนักวิชาการ ที่คิดเองเออเองว่าต้องช่วยคนจนอย่างไร

เขาพบว่าสาเหตุหลัก มี 5 อย่าง ซึ่งถ้าแก้ได้ จะช่วยคนจนทั่วโลกได้เยอะมากนั่นคือ…



1. ปัญหาการศึกษา (การศึกษาฟรี แต่เด็กไม่มีเสรีในการเลือก)

รัฐมักเข้าใจผิดว่า หากให้สวัสดิการการเรียนฟรี เช่น อาหารกลางวัน หรือ หนังสือฟรี จะช่วยคนจนอยากเรียนหนังสือมากขึ้น แต่จริง ๆ การออกแบบหลักสูตรให้ตรงกับกลุ่มผู้เรียนที่เขาอยากเรียนจริงๆ ต่างหาก ที่ช่วยให้เด็กยากจนอยากเรียนมากขึ้น ซึ่งได้ผลดีกว่า (หรือต้องใช้งบมากว่าการให้ฟรี) ดังนั้นภาครัฐควรเร่งแก้ปัญหาให้ตรงจุดอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ประชากร มีคุณภาพเมื่อคนจนได้เรียนในสิ่งที่รัก เขาจะต่อยอดเป็นอาชีพและพัฒนาประเทศได้ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า การสร้างคนให้คิดเป็นจะทำให้ประเทศขาดทุนได้อย่างไร



2. สาธารณสุขดีกับคนรวยแต่กลับซวยที่คนจน

คงเดาไม่ยากสำหรับปัญหาเรื่องสาธาณสุขที่ทำลายชีวิตคนจน จากการทดลองพบว่า ผู้คนจะนำลูกหลานมาฉีดวัคซีนฟรีมากกว่าการที่ต้องจ่ายเงินค่าวัคซีน แม้จะถูกมากก็ตาม ปัญหานี้ทำให้เด็กที่ได้รับวัคซีนตายน้อยลง ดังนั้น เมื่อค่าใช้จ่ายวัคซีนไม่ถูกผลักภาระให้กับกลุ่มคนจน เขาจะมีเด็กที่เติบโตเป็นมันสมองของชาติได้ รัฐบาลควรแจกวัคซีนฟรีไปเลย ถือเป็นการลงทุนในระยาว เพื่อรักษาชีวิตเด็ก ๆ เพื่อพัฒนาประเทศต่อไป



3. คนจนมักยึดมั่นกับความเชื่อผิด ๆ เนื่องจากขาดองค์ความรู้สำคัญ

คนจนมักจะเข้าใจผิด หรือมีข้อมูลผิด ๆ เพราะขาดข้อเท็จจริงไป เช่น การทำเกษตรที่ใส่ปุ๋ยมากจนเกินไป จนผลผลิตต่ำเกิดรายได้น้อย หรือไม่รู้ว่าต้องไปเลือกตั้ง สส.ทำไม เลือกแล้วเขาจะได้ประโยชน์อะไร ดังนั้นรัฐควรให้ข้อมูลข้อเท็จจริงอย่างเรียบง่ายและสร้างความน่าสนใจแล้วเร่งให้เขาลงมือทำทันทีตามหลักวิทยาศาสตร์ จะให้ผลลัพธ์และผลผลิตที่ดีและช่วยให้เขามีเงินมากขึ้นได้ รัฐต้องพิสูจน์ข้อนี้ให้ได้ เมื่อเกิดความเชื่อตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เขาจะเปิดใจที่จะศึกษาความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงมากขึ้น



4. ปัญหาเพศสภาพและการเมือง

หลายคนอาจสงสัยว่าข้อนี้เป็นปัญหาหลักยังไง? ลองนึกภาพว่าบนโลกมีผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่สังคมในอดีตมักสร้างผู้ชายให้เป็นใหญ่กว่า และกีดกันความสามารถของผู้หญิง เป็นสาเหตุที่ทำให้คนจนฝังรากลึก เพราะผู้หญิงไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ การปกครองจึงมีขีดจำกัด ผู้หญิงไม่สามารถดิ้นรนที่จะมีชีวิตที่ดีได้ แม้จะมีจำนวนมากกว่า คนจนถึงมากนั่นเอง จากการวิจัยพบว่า ผู้หญิงสามารถเป็นผู้นำชุมชนได้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาชีวิตและความเป็นอยู่ได้ดี เช่น จะกังวลเรื่องน้ำและถนนมากว่าผู้ชาย และจะหาทางให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีให้ได้ ดังนั้นรัฐบาลควรเสริมอำนาจให้ผู้หญิงมีบทบาท ในการแก้ปัญหากลุ่มคนจนด้วย



5. ระบบการเงินของรัฐทิ้งคนจน

การลงทุนของคนจนในแต่ละครั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายเช่น ค่าเดือนทางไปฝากเงิน หรือ ภาษีในการทำธุรกรรมการเงิน ซึ่งมันเป็นต้นทุนที่สูงมากสำหรับเขา นำมาซึ่งการไม่มีเงินเก็บ คนจนไม่สามารถมีหลักประกันเพื่อขอสินเชื่อในธนาคารได้ จึงต้องเป็นหนี้นอกนระบบเเทน ทางแก้คือรัฐควรใช้ “ไมโครเครดิต” (microcredit) คือให้เงินกู้กับคนจน สร้างช่องทางที่ลดต้นทุนทางการเงินของคนจนให้ได้ เช่น โอนเงินได้ที่บ้านไม่ต้องเสียค่ารถ ฟรีค่าธรรมเนียม ไม่ต้องพ่วงประกัน บัตรเครดิตใด ๆ

ทั้งหมดนี้คือวิธีการแก้ปัญหาความยากจนของคนได้ดีที่สุดในปัจจุบัน จนประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง ได้ชื่นชมการค้นพบครั้งนี้ว่ามันเป็นความงดงามในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมแก่ความเป็นอยู่ที่ดีของมวลมนุษยชาติ

ความจนเป็นปัญหาระดับโลกที่เศรษฐศาสตร์ในอดีตจนถึงปัจจุบันยังแก้ไม่ได้สักที การค้นพบครั้งนี้อาจช่วยคนจนให้มีชีวิตที่ดีขึ้นได้ แต่ขณะเดียวกันมันก็สูญเปล่าไปได้หากผู้นำประเทศกลับมองข้ามมันไป...



ที่มา Link

01 พฤศจิกายน 2566

ธนาคารไหนขายประกันชีวิตแบบบำนาญบ้าง

ข้อดีของการซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญผ่านสาขาธนาคาร

  • สะดวก เราสามารถเดินไปที่สาขาธนาคารเพื่อซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญได้เลย
  • ถ้าเราสงสัย ก็สามารถพูดคุยปรึกษากับพนักงานธนาคารได้


ธนาคารไหนขายประกันชีวิตแบบบำนาญบ้าง
  • ธนาคารออมสิน
    • แบบบำนาญ 85/1: link
    • แบบบำนาญ 85/60: link
    • แบบบำนาญ 90/5: link
    • แบบบำนาญ 90/60: link

    • TTB
      • Happy Retire 90/5: link
    • TISCO
      • ประกันบำนาญ TISCO My Wish Retirement 99/5, 99/10, 99/60: link
      • ประกันบำนาญ TISCO My Wish Pension 99/1, 99/5, 99/60: link
    • ธนาคารกสิกรไทย
      • ประกันชีวิตเพื่อการเกษียณ 60/5: link
      • ประกันชีวิตแบบบำนาญ A85/5: link
    • ธนาคารกรุงศรี
      • กรุงศรีประกันบํานาญ แฮปปี้ รีไทร์ A85/1, A85/5, A85/10, A85/A60: link
      • กรุงศรีประกันบำนาญ แฮปปี้ ไลฟ์ 85/1, 85/5, 85/10, 85/60: link
    • ธนาคารกรุงไทย
      • ประกันบำนาญ 85/5: link
    • UOB
      • PRUhappy annuity 390 วางแผนเกษียณแบบสบายๆ 85/60: link
      • PRU Prime Annuity 90/5 เกษียณสำราญ: link
    • LH Bank
      • Happy Retire 855 (85/5): link
    • ธนาคารเกียรตินาคินภัทร
      • ประกันชีวิตแบบบำนาญ เคเคพีเจน อินฟินิท 88/5: link
      • KKPGEN INFINITE RETURN 90/5, 90/10: link
    • CIMB Thai
      • ซีไอเอ็มบี ไทย สุขใจวัยเกษียณ A60/10: link