Pages

Pages

31 ธันวาคม 2566

สรุปการบริจาคเงินปี 2023 ของแอดมิน

  


ดูสรุปการบริจาคเงินปีอื่นๆได้ที่ Link

ข้อมูลด้านล่างเป็นการสรุปการบริจาคเงินปี 2023 ของแอดมิน













15 ธันวาคม 2566

สัมภาษณ์ CEO กว่า 1,000 คน จนได้รู้ว่า ลักษณะของพนักงาน ที่บริษัทต้องการคือ

Robert Reiss ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ CEO Forum Group ได้จัดรายการวิทยุ “The CEO Show” ซึ่งในช่วง 15 ปีที่ผ่านมานี้ เขาได้สัมภาษณ์ CEO ชั้นนำของโลกมากกว่า 1,000 คน แต่ถึงแม้ผู้นำเหล่านี้จะมีภูมิหลังและธุรกิจที่แตกต่าง แต่สิ่งหนึ่งที่เขาสัมผัสได้คือ พวกเขาเหล่านี้ต้องการพนักงานที่ “สามารถเปลี่ยนแปลง” อะไรบางอย่างในบริษัทได้
.
จากการสัมภาษณ์จึงตกผลึกมาเป็น 4 สิ่งสำคัญที่ถ้าหากว่าพนักงานคนไหนสามารถทำได้ บริษัทชั้นนำระดับโลกก็อยากดึงตัวมาร่วมงานด้วยกันแน่นอน



1. ทำงานที่ไม่มีใครอยากจะทำ

Robert Sanchez ดำรงตำแหน่ง CEO ของ Ryder System ซึ่งเป็นบริษัทโซลูชั่นด้านการขนส่งและซัพพลายเชนมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในปี 2556 ซึ่งจากประสบการณ์การทำงานมากว่า 30 ปี ความสำเร็จทั้งหมดที่ได้รับ เริ่มต้นจากการเป็นพนักงานที่กล้าจะกระโดดเข้าหางานใหม่ ๆ

ความกระตือรือร้นในการกระโดดเข้าสู่โครงการต่าง ๆ แม้ว่าพวกเขาจะอยู่นอกขอบเขตทักษะของตัวเอง ทำให้เขาโดดเด่นและได้รับโอกาสมากกว่าเพื่อนคนอื่น ๆ ซึ่งเขาถูกรู้จักในชื่อของ “นักแก้ปัญหา” จึงทำให้มีความก้าวหน้าในอาชีพเร็วและเติบโตขึ้นอย่างมาก



2. เรียนรู้งานอื่นและปรับใช้กับงานตัวเอง

John Mackey ซีอีโอของ Whole Foods ยอมรับว่าความอยากรู้เป็นคุณลักษณะที่มีค่า แม้ว่าจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำงานของตัวเองก็ตาม ซึ่งเขายังกล่าวอีกว่า "ผมพยายามเรียนรู้จากทุกสถานการณ์หรือบุคคลที่ฉันพบ"

แน่นอนว่าหัวใจหลักของการทำงานคือการทำตัวเป็นแก้วน้ำ ที่พร้อมจะเทน้ำลงไปในนั้นเสมอ การพัฒนาตัวเองทั้งความรู้และทักษะคือสิ่งที่ผู้บริหารต้องการจากพนักงานของพวกเขา ไม่ใช่เพื่อให้พนักงานได้ทำงานหนักกว่าเดิม แต่เพื่อทำให้บริษัทหรือองค์กร ก้าวหน้าและเติบโตไปพร้อมกับตัวพนักงานเอง



3. ยืดหยุ่นที่จะรับฟัง

ผู้บริหารหลายคนให้สัมภาษณ์ว่า ทักษะการทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่ต้องการมากที่สุดในพนักงาน แต่การทำงานร่วมกันจะไม่ประสบความสำเร็จไม่ได้เลย ถ้าทุกคนไม่รู้จักทักษะการฟังที่ถูกวิธี

หลายครั้งเวลามีการประชุมเกิดขึ้น อาจเกิดการพูดแทรกขึ้นมาขณะแสดงความคิดเห็น ซึ่ง Doug Conant CEO ของ Campbell Soup Company กล่าวว่า แทนที่จะรู้สึกโกรธเมื่อมีคนพูดแทรก ทุกครั้งที่มีคนพูดขัดจังหวะ เขาจะหยุดและพยายามทำความเข้าใจ เพราะมันเป็นเหมือนโอกาสที่ดีในการรับฟังผู้อื่น และมองว่าปัญหาคืออะไร



4. อย่าเสนอปัญหา แต่เสนอวิธีแก้ปัญหา

Robert Reiss กล่าวว่า CEO หลายคนที่เขาได้สัมภาษณ์พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พนักงานหลายคนมาพร้อมกับปัญหาและถามพวกเขาว่าควรจะแก้อย่างไรดี

ซึ่งพนักงานที่ดี ไม่ควรเป็นแบบนั้น ผู้นำให้ความสำคัญกับโซลูชั่น แทนที่จะนำเสนอปัญหา ให้พูดว่า: “เรามีปัญหานี้ แต่ฉันคิดเกี่ยวกับมันแล้ว และนี่คือสิ่งที่ฉันคิดว่าเราสามารถแก้ไขได้” หากวิธีนั้นยังไม่ได้ผลในสายตาของผู้บริหารหรือหัวหน้างาน พวกเขาจะคอยชี้แนะเพิ่มเติมเอง

สำหรับการทำงานแล้ว พนักงานก็เป็นเหมือนฟันเฟืองขนาดใหญ่ชิ้นสำคัญที่ทำให้องค์กรเติบโตและไปข้างหน้าได้ แต่ก็ใช่ว่าชิ้นส่วนที่สำคัญ จะไม่สามารถหาชิ้นอื่นมาทดแทนได้ การทำงานที่ดีคือต้องสามารถสร้างคุณค่าให้ตัวเองได้ เมื่อไหร่ที่บริษัทมีความรู้สึกว่าขาดเราไม่ได้ เมื่อนั้นเราจะมีอำนาจต่อรองและโอกาสที่จะก้าวหน้า



ที่มา 100WEALTH

05 ธันวาคม 2566

คอร์สจิตวิทยาฟรี

คอร์สเรียนออนไลน์จิตวิทยา สำหรับผู้นำ ฟรี
เริ่มต้นแต่พื้นฐานไปจนถึงการเป็นผู้นำที่ดี
จะเรียนตอนไหนก็ได้ ที่สำคัญ ‘ฟรี’ ! มีอะไรบ้างไปดูกัน !



คอร์สจิตวิทยาฟรี

1. Yale University
หลักจิตวิทยาเบื้องต้น (Introduction to Psychology)
ระยะเวลา 14 ชั่วโมง
https://shorturl.asia/iSKOD

2. University of Pennsylvania
พื้นฐานจิตวิทยาเชิงบวก (Foundations of Positive Psychology Specialization)
ระยะเวลา 2 เดือน
https://shorturl.asia/8L4ln

3. Copenhagen Business School
การเป็นผู้นำยุคศตวรรษที่ 21 (Leadership in 21st Century Organizations)
ระยะเวลา 38 ชั่วโมง
https://shorturl.asia/weZWf

4. University of Michigan
ทักษะการเป็นผู้นำในภาวะวิกฤต (High Stakes Leadership: Leading in Times of Crisis)
ระยะเวลา 32 ชั่วโมง
https://tinyurl.com/c4knx8pn

5. University of Colorado System
ศาสตร์การเป็นผู้นำยุคใหม่ (Agile Leadership Specialization)
ระยะเวลา 1 เดือน
https://tinyurl.com/37betxmp

6. Macquarie University
เข้าใจความแตกต่างของพฤติกรรมคนในองค์กร (Organisational behaviour: Know your people)
ระยะเวลา 19 ชั่วโมง
https://tinyurl.com/3vaenkmx




ที่มา Link

01 ธันวาคม 2566

สูตรลับความสำเร็จของ Starbucks ที่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่ทุกอย่างถูกวางกลยุทธ์ไว้อย่างแยบยล



Summary
ร้านกาแฟผุดขึ้นราวกับดอกเห็ดจนล้นเมือง แต่ทำไมยังต้องเป็น ‘สตาร์บัคส์’ (Starbucks) ร้านกาแฟเงือกเขียวแห่งนี้แตกต่างจากคู่แข่งอื่นๆ ในน่านน้ำเดียวกันอย่างไร ?

จุดเริ่มต้นของ สตาร์บัคส์ (Starbucks) เริ่มต้นจากร้านขายเมล็ดกาแฟในเมืองซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา ก่อนที่ ‘โฮวาร์ด ชูลท์ส’ (Howard Schultz) อดีตลูกจ้างจะเข้าซื้อกิจการต่อ จนสามารถขยับขยายเป็นร้านกาแฟชงสดพร้อมดื่มกว่า 34,000 สาขาทั่วโลกในเวลาต่อมา (ข้อมูลปี 2565)

ในช่วงเวลาที่มีร้านกาแฟเกิดขึ้นมากมายให้เลือกลิ้มชิมรส ตั้งแต่บรรยากาศร้าน รสชาติ เมล็ดที่คัดสรรมาอย่างดี เครื่องชงกาแฟราคาสูง เมนูสุดครีเอต สารพัดกลยุทธ์จากร้านเกิดใหม่ที่พร้อมเข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด อะไรทำให้สตาร์บัคส์ยังคงเป็น ‘Top of mind’ ตลอดกาลของคอกาแฟทั่วโลกได้



แค่ร้านกาแฟไม่มีวันโต ต้องทำให้คนอยากเข้ามา ‘ใช้ชีวิต’ ด้วย

หัวใจสำคัญของสตาร์บัคส์ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ คือ การสร้างความเป็น ‘Third place’ สถานที่ที่รวมส่วนผสมของบ้านและที่ทำงานไว้ด้วยกัน ไอเดียนี้โฮวาร์ดหยิบยืมมาจากร้านกาแฟในมิลาน อิตาลี เมื่อครั้งที่เขาเดินทางไปศึกษาวิธีการทำธุรกิจร้านกาแฟ การเดินทางครั้งนั้นจุดประกายไอเดียเขาทันทีว่า ร้านกาแฟไม่จำเป็นต้องขายกาแฟเพียงอย่างเดียว แต่จะทำอย่างไรให้ลูกค้าอยากอยู่กับแบรนด์ไปนานๆ และต้องเป็นแบรนด์นี้เท่านั้นที่จะสามารถให้สิ่งนี้กับพวกเขาได้

ไอเดียการเป็น ‘Third place’ ไม่ได้สร้างกันได้ง่ายๆ จะทำอย่างไรให้ลูกค้าเกิด ‘Trust’ กับร้านได้อย่างเป็นธรรมชาติ โฮวาร์ดคิดตั้งแต่ก้าวแรกที่ลูกค้าเข้ามาในร้าน บรรยากาศการตกแต่งจะต้องไม่ดูประดิดประดอยจนเกินไป การจัดวางทุกอย่างเข้าที่เข้าทางแต่ก็ชวนให้รู้สึกสงบ อบอุ่น

สิ่งที่สตาร์บัคส์ให้ความสำคัญมาก คือ การสร้าง ‘Feeling’ หรือความรู้สึกของลูกค้าที่มีต่อร้าน สภาพแวดล้อมของสตาร์บัคส์ที่เหมือนกันทุกสาขา คือ คุณไม่จำเป็นต้องเร่งรีบรับเครื่องดื่มแล้วเดินจากไป เพราะมีโต๊ะที่นั่งให้เลือกหลายแบบ ไม่ว่าจะมาแบบกลุ่ม มาคนเดียว หรือมาเพื่อหาสถานที่นั่งทำงานโดยเฉพาะ ปลั๊กไฟและไวไฟจึงเป็นสิ่งสำคัญ




ความมีชีวิตชีวาของสตาร์บัคส์ถูกออกแบบไว้ชนิดที่เรียกว่า ‘ดักทาง’ ผู้บริโภคทุกมิติ

เมื่อคิดตั้งแต่วันแรกว่าจะไม่ขอเป็นร้านกาแฟ เมนูเครื่องดื่มประเภทอื่นและของว่างจึงได้รับความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน ตามรายงานระบุว่า การเพิ่มขึ้นของรายได้กว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของสตาร์บัคส์มาจากกลยุทธ์การออกแบบเมนูที่หลากหลาย ในที่นี้ยังรวมไปถึงการสร้าง ‘Awareness’ ให้ลูกค้ารับรู้-เข้าถึงทุกๆ แคมเปญ ทุกๆ ผลิตภัณฑ์อยู่เสมอ อาทิ เมนูตามฤดูกาลที่ใน 1 ปีจะมีเพียง 1 ครั้ง เป็นต้น

ตรงนี้เองที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าในรูปแบบอื่นๆ ด้วย นอกจากการมาเจอกันที่ร้าน สตาร์บัคส์ยังต้องการดักทางลูกค้าช่วงระหว่างที่ห่างหายไม่เจอกันตัวเป็นๆ ด้วยโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์ม ทั้งเมนูที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาปีละครั้ง สินค้าคอลเลกชันใหม่ รวมถึงของสมนาคุณที่จะได้รับ เมื่ออัปเดตเรื่องราวเหล่านี้บ่อยๆ หย่อนเข้าไปทุกทุกวันด้วยคอนเทนต์ไม่ซ้ำแบบ ลูกค้าที่ห่างหายไปนานก็จะกลับเข้ามาที่ Third place ที่คุ้นเคยด้วยตัวเอง พูดง่ายๆ ก็คือ สตาร์บัคส์ปูทางทั้งออฟไลน์และออนไลน์ไว้หมดแล้ว



เขียนชื่อลูกค้าผิด และเมนูลับ คือ ‘Secret sauce’ ที่ซุกซ่อนไว้

กลยุทธ์การตลาดของสตาร์บัคส์สามารถสร้างฐาน ‘แฟนบอย’ โตวันโตคืนได้ไม่ใช่แค่รสชาติและความหลากหลายของอาหารและเครื่องดื่ม แต่แบรนด์ยังซ่อน ‘Secret sauce’ ไว้อย่างแยบคาย

ข้อมูลจากเว็บไซต์แคสเคด (Cascade) ระบุว่า สิ่งที่อยู่ขั้วตรงข้ามกับการบริการชั้นเยี่ยมของสตาร์บัคส์ คือ ชื่อเสียงเรื่อง ‘การสะกดชื่อลูกค้าผิด’ จนนำมาสู่แฮชแท็ก #Starbucksnamefail โดยลูกค้าจากทั่วทุกมุมโลกจะเข้ามาแชร์ชื่อของตัวเองที่สะกดผิดไปจากเดิม จนสามารถเรียกเสียงหัวเราะให้กับเจ้าของแก้วได้ โดยแคสเคด วิเคราะห์ว่า ไม่ว่าเรื่องนี้จะเป็นความจงใจหรือบังเอิญแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า นี่เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ยอดเยี่ยม ลูกค้าพร้อมใจกันถ่ายรูปแก้วสตาร์บัคส์ โพสต์ลงบนโซเชียลมีเดียโดยที่แบรนด์ไม่ต้องทำการตลาดเลยสักบาท สิ่งนี้ทำให้สตาร์บัคส์สร้างเอนเกจเมนต์ร่วมกับสังคมได้อย่างกลมกลืน

นอกจากนี้ ยังมี ‘เมนูลับ’ ที่ได้รับความสนใจทุกครั้งที่โพสต์ลงบนโซเชียลมีเดีย หากเดินเข้าไปในร้านจะพบว่า เมนูที่ติดไว้บนฝาผนังเป็นเพียงเมนูเบสิกอย่างอเมริกาโน่ ช็อกโกแลตเย็น ชาเขียวเย็น ฯลฯ เท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ลูกค้ายังสามารถ ‘มิกซ์ แอนด์ แมตช์’ ส่วนผสมภายในร้านได้เอง ดังที่มีหลายๆ เพจแจกวิธีการสั่งเมนูลับให้ได้ไปลองสั่งกัน ซึ่งสิ่งนี้ไม่ได้ถูกโปรโมตโดยร้านค้า แต่เกิดจากการ ‘บอกต่อ’ ของลูกค้ากันไปเรื่อยๆ



จะดูแลลูกค้าได้ พนักงานต้องมีความสุขก่อน

ความแตกต่างในน่านน้ำที่เชี่ยวกรากจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่มีพนักงานทุกคนที่เปรียบเสมือนจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่ทำให้สตาร์บัคส์เข้าไปนั่งในใจผู้คนได้อย่างแข็งแรง สตาร์บัคส์เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติต่อพนักงานเป็นอย่างดี โดยสร้างบรรยากาศการทำงานให้ทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน ไม่ใช่มาทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวันแล้วจบไป แต่เมื่อเข้ามาอยู่ที่นี่แล้ว ทุกคนคือ ‘พาร์ตเนอร์’ เป็นเพื่อนคู่คิด ช่วยกันตกตะกอนไอเดีย ทำให้องค์กรไปข้างหน้ามากกว่าการเป็นพนักงานที่คอยรับฟังคำสั่งเท่านั้น

แน่นอนว่า พาร์ตเนอร์ก็ต้องได้รับสิ่งที่ดีที่เหมาะสมกับความทุ่มเท สตาร์บัคส์ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต สนับสนุนค่าเล่าเรียนสำหรับพนักงาน โดยเป็นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแอริโซนา สเตต (Arizona State University) เพราะโฮวาร์ดเชื่อว่า ถ้าพนักงานมีความสุข ลูกค้าก็จะมีความสุขไปด้วย

โฮวาร์ด ไม่ได้จูงใจเพียงตัวเงิน แต่ยังให้อิสระเรื่องชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่พนักงานเข้าถึงได้ ตั้งแต่คูปองส่วนลด ประกันสุขภาพ สมาชิกฟิตเนส โปรแกรมวางแผนการเงินระยะยาวเพื่อการเกษียณ ค่าเรียนภาษา ค่ารักษาพยาบาลที่ครอบคลุมถึงครอบครัวพาร์ตเนอร์ และเมื่อทุกคนไม่ใช่พนักงานแต่เป็น ‘เพื่อนคู่คิด’ สตาร์บัคส์จึงมีส่วนลดสำหรับซื้อหุ้นบริษัท และหากทำงานครบ 2 ปี หน่วยหุ้นก็จะเพิ่มขึ้นตามอายุงานด้วย นั่นหมายความว่า การเติบโตทุกๆ ก้าวของบริษัท พาร์ตเนอร์จะได้รับประโยชน์ไปแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยด้วยเช่นกัน

นี่คือสิ่งที่ผ่านการคิดอย่างถี่ถ้วนมาแล้ว ‘โฮวาร์ด ชูลท์ส’ ออกแบบเชื่อมโยงทุกอย่างเป็น ‘Ecosystem’ เดียวกัน ถ้าไม่มีพนักงานที่ดี ไม่มีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรง ก็จะไม่สามารถออกแบบประสบการณ์สุดพรีเมียมให้ลูกค้าได้ และถ้าไม่มีลูกค้าที่คอยสนับสนุนกัน ‘สตาร์บัคส์’ ก็คงไม่สามารถเป็น ‘Top of mind’ ได้อย่างทุกวันนี้



ที่มา https://www.thairath.co.th/money/business_marketing/marketing/2704241