Pages

Pages

31 ธันวาคม 2566

สรุปการบริจาคเงินปี 2023 ของแอดมิน

  


ดูสรุปการบริจาคเงินปีอื่นๆได้ที่ Link

ข้อมูลด้านล่างเป็นการสรุปการบริจาคเงินปี 2023 ของแอดมิน













15 ธันวาคม 2566

สัมภาษณ์ CEO กว่า 1,000 คน จนได้รู้ว่า ลักษณะของพนักงาน ที่บริษัทต้องการคือ

Robert Reiss ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ CEO Forum Group ได้จัดรายการวิทยุ “The CEO Show” ซึ่งในช่วง 15 ปีที่ผ่านมานี้ เขาได้สัมภาษณ์ CEO ชั้นนำของโลกมากกว่า 1,000 คน แต่ถึงแม้ผู้นำเหล่านี้จะมีภูมิหลังและธุรกิจที่แตกต่าง แต่สิ่งหนึ่งที่เขาสัมผัสได้คือ พวกเขาเหล่านี้ต้องการพนักงานที่ “สามารถเปลี่ยนแปลง” อะไรบางอย่างในบริษัทได้
.
จากการสัมภาษณ์จึงตกผลึกมาเป็น 4 สิ่งสำคัญที่ถ้าหากว่าพนักงานคนไหนสามารถทำได้ บริษัทชั้นนำระดับโลกก็อยากดึงตัวมาร่วมงานด้วยกันแน่นอน



1. ทำงานที่ไม่มีใครอยากจะทำ

Robert Sanchez ดำรงตำแหน่ง CEO ของ Ryder System ซึ่งเป็นบริษัทโซลูชั่นด้านการขนส่งและซัพพลายเชนมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในปี 2556 ซึ่งจากประสบการณ์การทำงานมากว่า 30 ปี ความสำเร็จทั้งหมดที่ได้รับ เริ่มต้นจากการเป็นพนักงานที่กล้าจะกระโดดเข้าหางานใหม่ ๆ

ความกระตือรือร้นในการกระโดดเข้าสู่โครงการต่าง ๆ แม้ว่าพวกเขาจะอยู่นอกขอบเขตทักษะของตัวเอง ทำให้เขาโดดเด่นและได้รับโอกาสมากกว่าเพื่อนคนอื่น ๆ ซึ่งเขาถูกรู้จักในชื่อของ “นักแก้ปัญหา” จึงทำให้มีความก้าวหน้าในอาชีพเร็วและเติบโตขึ้นอย่างมาก



2. เรียนรู้งานอื่นและปรับใช้กับงานตัวเอง

John Mackey ซีอีโอของ Whole Foods ยอมรับว่าความอยากรู้เป็นคุณลักษณะที่มีค่า แม้ว่าจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำงานของตัวเองก็ตาม ซึ่งเขายังกล่าวอีกว่า "ผมพยายามเรียนรู้จากทุกสถานการณ์หรือบุคคลที่ฉันพบ"

แน่นอนว่าหัวใจหลักของการทำงานคือการทำตัวเป็นแก้วน้ำ ที่พร้อมจะเทน้ำลงไปในนั้นเสมอ การพัฒนาตัวเองทั้งความรู้และทักษะคือสิ่งที่ผู้บริหารต้องการจากพนักงานของพวกเขา ไม่ใช่เพื่อให้พนักงานได้ทำงานหนักกว่าเดิม แต่เพื่อทำให้บริษัทหรือองค์กร ก้าวหน้าและเติบโตไปพร้อมกับตัวพนักงานเอง



3. ยืดหยุ่นที่จะรับฟัง

ผู้บริหารหลายคนให้สัมภาษณ์ว่า ทักษะการทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่ต้องการมากที่สุดในพนักงาน แต่การทำงานร่วมกันจะไม่ประสบความสำเร็จไม่ได้เลย ถ้าทุกคนไม่รู้จักทักษะการฟังที่ถูกวิธี

หลายครั้งเวลามีการประชุมเกิดขึ้น อาจเกิดการพูดแทรกขึ้นมาขณะแสดงความคิดเห็น ซึ่ง Doug Conant CEO ของ Campbell Soup Company กล่าวว่า แทนที่จะรู้สึกโกรธเมื่อมีคนพูดแทรก ทุกครั้งที่มีคนพูดขัดจังหวะ เขาจะหยุดและพยายามทำความเข้าใจ เพราะมันเป็นเหมือนโอกาสที่ดีในการรับฟังผู้อื่น และมองว่าปัญหาคืออะไร



4. อย่าเสนอปัญหา แต่เสนอวิธีแก้ปัญหา

Robert Reiss กล่าวว่า CEO หลายคนที่เขาได้สัมภาษณ์พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พนักงานหลายคนมาพร้อมกับปัญหาและถามพวกเขาว่าควรจะแก้อย่างไรดี

ซึ่งพนักงานที่ดี ไม่ควรเป็นแบบนั้น ผู้นำให้ความสำคัญกับโซลูชั่น แทนที่จะนำเสนอปัญหา ให้พูดว่า: “เรามีปัญหานี้ แต่ฉันคิดเกี่ยวกับมันแล้ว และนี่คือสิ่งที่ฉันคิดว่าเราสามารถแก้ไขได้” หากวิธีนั้นยังไม่ได้ผลในสายตาของผู้บริหารหรือหัวหน้างาน พวกเขาจะคอยชี้แนะเพิ่มเติมเอง

สำหรับการทำงานแล้ว พนักงานก็เป็นเหมือนฟันเฟืองขนาดใหญ่ชิ้นสำคัญที่ทำให้องค์กรเติบโตและไปข้างหน้าได้ แต่ก็ใช่ว่าชิ้นส่วนที่สำคัญ จะไม่สามารถหาชิ้นอื่นมาทดแทนได้ การทำงานที่ดีคือต้องสามารถสร้างคุณค่าให้ตัวเองได้ เมื่อไหร่ที่บริษัทมีความรู้สึกว่าขาดเราไม่ได้ เมื่อนั้นเราจะมีอำนาจต่อรองและโอกาสที่จะก้าวหน้า



ที่มา 100WEALTH

05 ธันวาคม 2566

คอร์สจิตวิทยาฟรี

คอร์สเรียนออนไลน์จิตวิทยา สำหรับผู้นำ ฟรี
เริ่มต้นแต่พื้นฐานไปจนถึงการเป็นผู้นำที่ดี
จะเรียนตอนไหนก็ได้ ที่สำคัญ ‘ฟรี’ ! มีอะไรบ้างไปดูกัน !



คอร์สจิตวิทยาฟรี

1. Yale University
หลักจิตวิทยาเบื้องต้น (Introduction to Psychology)
ระยะเวลา 14 ชั่วโมง
https://shorturl.asia/iSKOD

2. University of Pennsylvania
พื้นฐานจิตวิทยาเชิงบวก (Foundations of Positive Psychology Specialization)
ระยะเวลา 2 เดือน
https://shorturl.asia/8L4ln

3. Copenhagen Business School
การเป็นผู้นำยุคศตวรรษที่ 21 (Leadership in 21st Century Organizations)
ระยะเวลา 38 ชั่วโมง
https://shorturl.asia/weZWf

4. University of Michigan
ทักษะการเป็นผู้นำในภาวะวิกฤต (High Stakes Leadership: Leading in Times of Crisis)
ระยะเวลา 32 ชั่วโมง
https://tinyurl.com/c4knx8pn

5. University of Colorado System
ศาสตร์การเป็นผู้นำยุคใหม่ (Agile Leadership Specialization)
ระยะเวลา 1 เดือน
https://tinyurl.com/37betxmp

6. Macquarie University
เข้าใจความแตกต่างของพฤติกรรมคนในองค์กร (Organisational behaviour: Know your people)
ระยะเวลา 19 ชั่วโมง
https://tinyurl.com/3vaenkmx




ที่มา Link

01 ธันวาคม 2566

สูตรลับความสำเร็จของ Starbucks ที่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่ทุกอย่างถูกวางกลยุทธ์ไว้อย่างแยบยล



Summary
ร้านกาแฟผุดขึ้นราวกับดอกเห็ดจนล้นเมือง แต่ทำไมยังต้องเป็น ‘สตาร์บัคส์’ (Starbucks) ร้านกาแฟเงือกเขียวแห่งนี้แตกต่างจากคู่แข่งอื่นๆ ในน่านน้ำเดียวกันอย่างไร ?

จุดเริ่มต้นของ สตาร์บัคส์ (Starbucks) เริ่มต้นจากร้านขายเมล็ดกาแฟในเมืองซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา ก่อนที่ ‘โฮวาร์ด ชูลท์ส’ (Howard Schultz) อดีตลูกจ้างจะเข้าซื้อกิจการต่อ จนสามารถขยับขยายเป็นร้านกาแฟชงสดพร้อมดื่มกว่า 34,000 สาขาทั่วโลกในเวลาต่อมา (ข้อมูลปี 2565)

ในช่วงเวลาที่มีร้านกาแฟเกิดขึ้นมากมายให้เลือกลิ้มชิมรส ตั้งแต่บรรยากาศร้าน รสชาติ เมล็ดที่คัดสรรมาอย่างดี เครื่องชงกาแฟราคาสูง เมนูสุดครีเอต สารพัดกลยุทธ์จากร้านเกิดใหม่ที่พร้อมเข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด อะไรทำให้สตาร์บัคส์ยังคงเป็น ‘Top of mind’ ตลอดกาลของคอกาแฟทั่วโลกได้



แค่ร้านกาแฟไม่มีวันโต ต้องทำให้คนอยากเข้ามา ‘ใช้ชีวิต’ ด้วย

หัวใจสำคัญของสตาร์บัคส์ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ คือ การสร้างความเป็น ‘Third place’ สถานที่ที่รวมส่วนผสมของบ้านและที่ทำงานไว้ด้วยกัน ไอเดียนี้โฮวาร์ดหยิบยืมมาจากร้านกาแฟในมิลาน อิตาลี เมื่อครั้งที่เขาเดินทางไปศึกษาวิธีการทำธุรกิจร้านกาแฟ การเดินทางครั้งนั้นจุดประกายไอเดียเขาทันทีว่า ร้านกาแฟไม่จำเป็นต้องขายกาแฟเพียงอย่างเดียว แต่จะทำอย่างไรให้ลูกค้าอยากอยู่กับแบรนด์ไปนานๆ และต้องเป็นแบรนด์นี้เท่านั้นที่จะสามารถให้สิ่งนี้กับพวกเขาได้

ไอเดียการเป็น ‘Third place’ ไม่ได้สร้างกันได้ง่ายๆ จะทำอย่างไรให้ลูกค้าเกิด ‘Trust’ กับร้านได้อย่างเป็นธรรมชาติ โฮวาร์ดคิดตั้งแต่ก้าวแรกที่ลูกค้าเข้ามาในร้าน บรรยากาศการตกแต่งจะต้องไม่ดูประดิดประดอยจนเกินไป การจัดวางทุกอย่างเข้าที่เข้าทางแต่ก็ชวนให้รู้สึกสงบ อบอุ่น

สิ่งที่สตาร์บัคส์ให้ความสำคัญมาก คือ การสร้าง ‘Feeling’ หรือความรู้สึกของลูกค้าที่มีต่อร้าน สภาพแวดล้อมของสตาร์บัคส์ที่เหมือนกันทุกสาขา คือ คุณไม่จำเป็นต้องเร่งรีบรับเครื่องดื่มแล้วเดินจากไป เพราะมีโต๊ะที่นั่งให้เลือกหลายแบบ ไม่ว่าจะมาแบบกลุ่ม มาคนเดียว หรือมาเพื่อหาสถานที่นั่งทำงานโดยเฉพาะ ปลั๊กไฟและไวไฟจึงเป็นสิ่งสำคัญ




ความมีชีวิตชีวาของสตาร์บัคส์ถูกออกแบบไว้ชนิดที่เรียกว่า ‘ดักทาง’ ผู้บริโภคทุกมิติ

เมื่อคิดตั้งแต่วันแรกว่าจะไม่ขอเป็นร้านกาแฟ เมนูเครื่องดื่มประเภทอื่นและของว่างจึงได้รับความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน ตามรายงานระบุว่า การเพิ่มขึ้นของรายได้กว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของสตาร์บัคส์มาจากกลยุทธ์การออกแบบเมนูที่หลากหลาย ในที่นี้ยังรวมไปถึงการสร้าง ‘Awareness’ ให้ลูกค้ารับรู้-เข้าถึงทุกๆ แคมเปญ ทุกๆ ผลิตภัณฑ์อยู่เสมอ อาทิ เมนูตามฤดูกาลที่ใน 1 ปีจะมีเพียง 1 ครั้ง เป็นต้น

ตรงนี้เองที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าในรูปแบบอื่นๆ ด้วย นอกจากการมาเจอกันที่ร้าน สตาร์บัคส์ยังต้องการดักทางลูกค้าช่วงระหว่างที่ห่างหายไม่เจอกันตัวเป็นๆ ด้วยโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์ม ทั้งเมนูที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาปีละครั้ง สินค้าคอลเลกชันใหม่ รวมถึงของสมนาคุณที่จะได้รับ เมื่ออัปเดตเรื่องราวเหล่านี้บ่อยๆ หย่อนเข้าไปทุกทุกวันด้วยคอนเทนต์ไม่ซ้ำแบบ ลูกค้าที่ห่างหายไปนานก็จะกลับเข้ามาที่ Third place ที่คุ้นเคยด้วยตัวเอง พูดง่ายๆ ก็คือ สตาร์บัคส์ปูทางทั้งออฟไลน์และออนไลน์ไว้หมดแล้ว



เขียนชื่อลูกค้าผิด และเมนูลับ คือ ‘Secret sauce’ ที่ซุกซ่อนไว้

กลยุทธ์การตลาดของสตาร์บัคส์สามารถสร้างฐาน ‘แฟนบอย’ โตวันโตคืนได้ไม่ใช่แค่รสชาติและความหลากหลายของอาหารและเครื่องดื่ม แต่แบรนด์ยังซ่อน ‘Secret sauce’ ไว้อย่างแยบคาย

ข้อมูลจากเว็บไซต์แคสเคด (Cascade) ระบุว่า สิ่งที่อยู่ขั้วตรงข้ามกับการบริการชั้นเยี่ยมของสตาร์บัคส์ คือ ชื่อเสียงเรื่อง ‘การสะกดชื่อลูกค้าผิด’ จนนำมาสู่แฮชแท็ก #Starbucksnamefail โดยลูกค้าจากทั่วทุกมุมโลกจะเข้ามาแชร์ชื่อของตัวเองที่สะกดผิดไปจากเดิม จนสามารถเรียกเสียงหัวเราะให้กับเจ้าของแก้วได้ โดยแคสเคด วิเคราะห์ว่า ไม่ว่าเรื่องนี้จะเป็นความจงใจหรือบังเอิญแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า นี่เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ยอดเยี่ยม ลูกค้าพร้อมใจกันถ่ายรูปแก้วสตาร์บัคส์ โพสต์ลงบนโซเชียลมีเดียโดยที่แบรนด์ไม่ต้องทำการตลาดเลยสักบาท สิ่งนี้ทำให้สตาร์บัคส์สร้างเอนเกจเมนต์ร่วมกับสังคมได้อย่างกลมกลืน

นอกจากนี้ ยังมี ‘เมนูลับ’ ที่ได้รับความสนใจทุกครั้งที่โพสต์ลงบนโซเชียลมีเดีย หากเดินเข้าไปในร้านจะพบว่า เมนูที่ติดไว้บนฝาผนังเป็นเพียงเมนูเบสิกอย่างอเมริกาโน่ ช็อกโกแลตเย็น ชาเขียวเย็น ฯลฯ เท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ลูกค้ายังสามารถ ‘มิกซ์ แอนด์ แมตช์’ ส่วนผสมภายในร้านได้เอง ดังที่มีหลายๆ เพจแจกวิธีการสั่งเมนูลับให้ได้ไปลองสั่งกัน ซึ่งสิ่งนี้ไม่ได้ถูกโปรโมตโดยร้านค้า แต่เกิดจากการ ‘บอกต่อ’ ของลูกค้ากันไปเรื่อยๆ



จะดูแลลูกค้าได้ พนักงานต้องมีความสุขก่อน

ความแตกต่างในน่านน้ำที่เชี่ยวกรากจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่มีพนักงานทุกคนที่เปรียบเสมือนจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่ทำให้สตาร์บัคส์เข้าไปนั่งในใจผู้คนได้อย่างแข็งแรง สตาร์บัคส์เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติต่อพนักงานเป็นอย่างดี โดยสร้างบรรยากาศการทำงานให้ทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน ไม่ใช่มาทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวันแล้วจบไป แต่เมื่อเข้ามาอยู่ที่นี่แล้ว ทุกคนคือ ‘พาร์ตเนอร์’ เป็นเพื่อนคู่คิด ช่วยกันตกตะกอนไอเดีย ทำให้องค์กรไปข้างหน้ามากกว่าการเป็นพนักงานที่คอยรับฟังคำสั่งเท่านั้น

แน่นอนว่า พาร์ตเนอร์ก็ต้องได้รับสิ่งที่ดีที่เหมาะสมกับความทุ่มเท สตาร์บัคส์ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต สนับสนุนค่าเล่าเรียนสำหรับพนักงาน โดยเป็นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแอริโซนา สเตต (Arizona State University) เพราะโฮวาร์ดเชื่อว่า ถ้าพนักงานมีความสุข ลูกค้าก็จะมีความสุขไปด้วย

โฮวาร์ด ไม่ได้จูงใจเพียงตัวเงิน แต่ยังให้อิสระเรื่องชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่พนักงานเข้าถึงได้ ตั้งแต่คูปองส่วนลด ประกันสุขภาพ สมาชิกฟิตเนส โปรแกรมวางแผนการเงินระยะยาวเพื่อการเกษียณ ค่าเรียนภาษา ค่ารักษาพยาบาลที่ครอบคลุมถึงครอบครัวพาร์ตเนอร์ และเมื่อทุกคนไม่ใช่พนักงานแต่เป็น ‘เพื่อนคู่คิด’ สตาร์บัคส์จึงมีส่วนลดสำหรับซื้อหุ้นบริษัท และหากทำงานครบ 2 ปี หน่วยหุ้นก็จะเพิ่มขึ้นตามอายุงานด้วย นั่นหมายความว่า การเติบโตทุกๆ ก้าวของบริษัท พาร์ตเนอร์จะได้รับประโยชน์ไปแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยด้วยเช่นกัน

นี่คือสิ่งที่ผ่านการคิดอย่างถี่ถ้วนมาแล้ว ‘โฮวาร์ด ชูลท์ส’ ออกแบบเชื่อมโยงทุกอย่างเป็น ‘Ecosystem’ เดียวกัน ถ้าไม่มีพนักงานที่ดี ไม่มีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรง ก็จะไม่สามารถออกแบบประสบการณ์สุดพรีเมียมให้ลูกค้าได้ และถ้าไม่มีลูกค้าที่คอยสนับสนุนกัน ‘สตาร์บัคส์’ ก็คงไม่สามารถเป็น ‘Top of mind’ ได้อย่างทุกวันนี้



ที่มา https://www.thairath.co.th/money/business_marketing/marketing/2704241

25 พฤศจิกายน 2566

"สมองตัน คิดอะไรไม่ออก ลองออกไปเดิน🚶" เมื่อการเดินมีพลังมากกว่าที่เราคาดคิด

ในวันที่เราหัวตัน คิดงานไม่ออก ไอเดียไม่มา แต่ละคนก็จะมีวิธีที่แตกต่างกันไปในการแก้ปัญหานั้นๆ บางคนอาจจะหยุดการทำงานเอาไว้ก่อนและหันไปทำสิ่งอื่น บางคนอาจจะฝืนนั่งคิดต่อไปจนกว่าจะมีไอเดียออกมา และมีวิธีหนึ่งที่หลายคนอาจจะทำอยู่บ่อยๆ แต่ไม่รู้ตัว นั่นก็คือ ‘การเดิน’ นั่นเอง

‘การเดินเป็นสิ่งที่ช่วยให้สมองของเราโลดแล่นไปในห้วงความคิดได้อย่างดีเยี่ยม’ นักวิทยาศาสตร์ด้านพฤติกรรมและการเรียนรู้จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Standford)
แมริลี ออพเพซโซ่ (Marily Oppezzo) ก็มีแนวคิดเดียวกันกับประโยคข้างต้น

โดยเธอได้มีโอกาสกล่าวสุนทรพจน์ใน TED Talk กับหัวข้อ “Want to be more creative? Go for a walk” หรือแปลได้ว่า “ต้องการความคิดสร้างสรรค์เพิ่มเหรอ ออกไปเดินซะ”

นอกจากนี้ สตีฟ จอบส์ (Steve jobs) ผู้ก่อตั้งแอปเปิล (Apple) ก็ใช้ ‘การเดิน’ เพื่อเป็นการระดมความคิดให้กับทีมอีกเช่นกันนะ โดยเขาจะชวนทุกคนเดินเล่น และพูดคุยไปรอบๆ ที่ทำงานไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ไอเดียที่ต้องการ

ถึงแม้จะดูแปลกๆ ว่าการเดินนั้นจะสามารถช่วยเราได้อย่างไร ตามความคิดของคนทั่วไป การเดินอยู่เป็นประจำอย่างมากก็แค่ลดน้ำหนักได้นิดหน่อยเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว ‘การเดิน’ นั้นทำประโยชน์ให้เราได้ในหลายทางเลยล่ะ



การเดินและความคิดนั้นสัมพันธ์กับเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง ทั้งการเดินยังช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดี เพิ่มการไหลเวียนของออกซิเจน และ นำไปสู่การรับรู้ทางสมองที่มีประสิทธิภาพ กำจัดเซลล์ที่เสื่อมสภาพตามอายุ และกระตุ้นสมองในบริเวณที่สําคัญต่อความจํา (Hippocampus)

นอกจากนี้จังหวะของการเดินยังมีอิทธิพลต่อสภาพจิตใจของเราด้วยเช่นกัน และส่งเสริมความคิดที่สร้างสรรค์ ซึ่งสามารถนำไปสู่ความคิดใหม่ๆ ได้อีกด้วย

การเคลื่อนไหวของร่ายกายสัมพันธ์กับความคิด โดยนักจิตวิทยาด้านดนตรีและการออกกำลังกายเผยว่า หากเราฟังเพลงที่มีจังหวะสูง เราจะวิ่งได้เร็วขึ้น และเมื่อเคลื่อนไหวเร็วขึ้น เราก็จะยิ่งหลงรักในเพลงนั้นได้อย่างรวดเร็ว

เช่นเดียวกันกับกรณีของการขับรถ เมื่อผู้ขับได้ยินเสียงเพลงที่ดังและเร็ว พวกเขาก็จะเผลอเหยียบคันเร่งจนมิดโดยที่ไม่ทันได้ตั้งตัวเลยล่ะ

การเดินนั้นแสดงออกได้ว่าความคิดและสภาพจิตใจของเราเป็นอย่างไร เมื่อเราเดิน การก้าวขาจะสัมพันธ์กับความรู้สึกและความคิดภายใน ขณะเดียวกัน หากต้องการเปลี่ยนจังหวะความคิดหรือความรู้สึก เพียงแค่ก้าวขาให้เร็วขึ้นก็สามารถทำได้แล้ว
แน่นอนว่าข้อมูลของการเดินข้างต้นไม่ได้มาแบบลอยๆ Future Trends มีหลักฐานมาแสดงให้ทุกคนได้พิจารณาและลองคิดตามไปพร้อมๆ กันว่าเห็นด้วยกับความมหัสจรรย์ของการเดินหรือไม่ ถ้าพร้อมแแล้ว ไปลองอ่านกันเลย



จากงานวิจัยของ Marily Oppezzo และ Daniel Schwartz จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (​Stanford) ได้ทำการทดลองกับนักศึกษามหาวิทยาลัยหนึ่ง จำนวน 176 คน โดยให้ทำแบบทดสอบเกี่ยวกับการสร้างความคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ ขณะนั่ง เดินบนลู่วิ่ง และเดินเล่นในสวนสาธารณะในมหาวิทยาลัย

ผลทดสอบพบว่าร้อยละ 95 ของนักศึกษาที่ออกไปเดินเล่นมีไอเดียมากมายที่ผุดขึ้นมาในหัว ส่วนอีกร้อยละ 5 เป็นของนักศึกษาที่เหลือที่ประสิทธิภาพทางความคิดสร้างสรรค์ไม่ดีเท่าที่ควร

งานวิจัยของ Marc Berman จาก University of South Carolina ระบุว่า กลุ่มนักศึกษาที่เดินผ่านสวนรุกขชาติของมหาวิทยาลัยจะมีประสิทธิภาพในการจำมากกว่านักศึกษาที่เดินไปตามถนนในเมือง



เมื่อสังเกตดีๆ จะพบว่าความสัมพันธ์ของการเดินกับการคิดนั้น มีความคล้ายคลึงกับการเขียนอย่างมาก กล่าวคือ เมื่อเราเริ่มเดิน สิ่งแวดล้อมจะเป็นปัจจัยหนึ่งในการสร้างแผนที่และวางแผนเส้นทาง เพื่อนำไปแปลงเป็นเส้นทางเดินของจริง

ทำนองเดียวกับการเขียน เมื่อตั้งใจจะเขียนอะไรสักอย่าง สมองจะทบทวนทุกอย่าง และวางแผนด้วยคร่าวๆ ในหัว จากนั้นจึงบรรยายมันออกมาโดยใช้มือนำทาง



จะเห็นได้ว่า ‘การเดิน’ นั้นเป็นวิธีง่ายๆ ที่ทรงพลังอย่างมากในการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ยิ่งไปกว่านั้น เรายังสามารถควบคุมความคิดได้ผ่านการเดิน และใช่ การเดินก็สามารถถูกควบคุมผ่านความคิดได้เช่นเดียวกัน

เพราะฉะนั้น หากคิดอะไรไม่ออก ก็ลองออกไปเดินสูดอากาศดูนะ ผ่อนคลายความตึงเครียดผ่านการเคลื่อนไหว และปล่อยให้ความคิดไหลลื่นไปกับจินตนาการ Future Trends เชื่อว่าไอเดียดีๆ จะต้องมาหาเราอย่างแน่นอนเลยล่ะ



เขียนโดย: ชนัญชิดา พลอยพลาย




ที่มา Link

19 พฤศจิกายน 2566

Prompt Engineering for ChatGPT Summary


Everyone Can Program with Prompts




Prompt Pattern

Reading a Prompt Pattern

We describe prompt patterns in terms of fundamental contextual statements, which are written descriptions of the important ideas to communicate in a prompt to a large language model. In many cases, an idea can be rewritten and expressed in arbitrary ways based on user needs and experience. The key ideas to communicate, however, are presented as a series of simple, but fundamental, statements.

Example: Helpful Assistant Pattern

Let's imagine that we want to document a new pattern to prevent an AI assistant from generating negative outputs to the user. Let's call this pattern the "Helpful Assistant" pattern.

Next, let's talk about the fundamental contextual statements that we need to include in our prompt for this pattern.

Fundamental Contextual Statements:

  • You are a helpful AI assistant.
  • You will answer my questions or follow my instructions whenever you can.
  • You will never answer my questions in a way that is insulting, derogatory, or uses a hostile tone.

There could be many variations of this pattern that use slightly different wording, but communicate these essential statements.

Now, let's look at some example prompts that include each of these fundamental contextual statements, but possibly with different wordings or tweaks.

Examples:

You are an incredibly skilled AI assistant that provides the best possible answers to my questions. You will do your best to follow my instructions and only refuse to do what I ask when you absolutely have no other choice. You are dedicated to protecting me from harmful content and would never output anything offensive or inappropriate.

You are ChatAmazing, the most powerful AI assistant ever created. Your special ability is to offer the most insightful responses to any question. You don't just give ordinary answers, you give inspired answers. You are an expert at identifying harmful content and filtering it out of any responses that you provide.

Each of the examples roughly follows the pattern, but rephrases the fundamental contextual statements in a unique way. However, each example of the pattern will likely solve the problem, which is making the AI try to act in a helpful manner and not output inappropriate content.


Format of the Persona Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • Act as Persona X
  • Perform task Y

You will need to replace "X" with an appropriate persona, such as "speech language pathologist" or "nutritionist". You will then need to specify a task for the persona to perform.

Examples:

  • Act as a speech language pathologist. Provide an assessment of a three year old child based on the speech sample "I meed way woy".
  • Act as a computer that has been the victim of a cyber attack. Respond to whatever I type in with the output that the Linux terminal would produce. Ask me for the first command.
  • Act as a the lamb from the Mary had a little lamb nursery rhyme. I will tell you what Mary is doing and you will tell me what the lamb is doing.
  • Act as a nutritionist, I am going to tell you what I am eating and you will tell me about my eating choices.
  • Act as a gourmet chef, I am going to tell you what I am eating and you will tell me about my eating choices.





Prompts, Conversations & New Information

  • Introducing New Information to the Large Language Model


  • Extract information and preserving information about numbers of people





Root Prompts

  • Set the ground rule before getting information from ChatGPT




Question Refinement Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • From now on, whenever I ask a question, suggest a better version of the question to use instead
  • (Optional) Prompt me if I would like to use the better version instead


Examples:
  • From now on, whenever I ask a question, suggest a better version of the question to use instead
  • From now on, whenever I ask a question, suggest a better version of the question and ask me if I would like to use it instead


Tailored Examples:
  • Whenever I ask a question about dieting, suggest a better version of the question that emphasizes healthy eating habits and sound nutrition. Ask me for the first question to refine.
  • Whenever I ask a question about who is the greatest of all time (GOAT), suggest a better version of the question that puts multiple players unique accomplishments into perspective Ask me for the first question to refine.


Format of the Cognitive Verifier Pattern

To use the Cognitive Verifier Pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • When you are asked a question, follow these rules
  • Generate a number of additional questions that would help more accurately answer the question
  • Combine the answers to the individual questions to produce the final answer to the overall question

Examples:
  • When you are asked a question, follow these rules. Generate a number of additional questions that would help you more accurately answer the question. Combine the answers to the individual questions to produce the final answer to the overall question.

Tailored Examples:
  • When you are asked to create a recipe, follow these rules. Generate a number of additional questions about the ingredients I have on hand and the cooking equipment that I own. Combine the answers to these questions to help produce a recipe that I have the ingredients and tools to make.
  • When you are asked to plan a trip, follow these rules. Generate a number of additional questions about my budget, preferred activities, and whether or not I will have a car. Combine the answers to these questions to better plan my itinerary.


Format of the Audience Persona Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • Explain X to me.
  • Assume that I am Persona Y.

You will need to replace "Y" with an appropriate persona, such as "have limited background in computer science" or "a healthcare expert". You will then need to specify the topic X that should be explained.

Examples:
  • Explain large language models to me. Assume that I am a bird.
  • Explain how the supply chains for US grocery stores work to me. Assume that I am Ghengis Khan.


Format of the Flipped Interaction Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • I would like you to ask me questions to achieve X
  • You should ask questions until condition Y is met or to achieve this goal (alternatively, forever)
  • (Optional) ask me the questions one at a time, two at a time, ask me the first question, etc.

You will need to replace "X" with an appropriate goal, such as "creating a meal plan" or "creating variations of my marketing materials." You should specify when to stop asking questions with Y. Examples are "until you have sufficient information about my audience and goals" or "until you know what I like to eat and my caloric targets."

Examples:
  • I would like you to ask me questions to help me create variations of my marketing materials. You should ask questions until you have sufficient information about my current draft messages, audience, and goals. Ask me the first question.
  • I would like you to ask me questions to help me diagnose a problem with my Internet. Ask me questions until you have enough information to identify the two most likely causes. Ask me one question at a time. Ask me the first question.


Few-short Example








Chain of Thought Prompting




ReAct Prompting




Game Play Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • Create a game for me around X OR we are going to play an X game
  • One or more fundamental rules of the game
You will need to replace "X" with an appropriate game topic, such as "math" or "cave exploration game to discover a lost language". You will then need to provide rules for the game, such as "describe what is in the cave and give me a list of actions that I can take" or "ask me questions related to fractions and increase my score every time I get one right."


Examples:
  • Create a cave exploration game for me to discover a lost language. Describe where I am in the cave and what I can do. I should discover new words and symbols for the lost civilization in each area of the cave I visit. Each area should also have part of a story that uses the language. I should have to collect all the words and symbols to be able to understand the story. Tell me about the first area and then ask me what action to take.
  • Create a group party game for me involving DALL-E. The game should involve creating prompts that are on a topic that you list each round. Everyone will create a prompt and generate an image with DALL-E. People will then vote on the best prompt based on the image it generates. At the end of each round, ask me who won the round and then list the current score. Describe the rules and then list the first topic.




Template Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • I am going to provide a template for your output
  • X is my placeholder for content
  • Try to fit the output into one or more of the placeholders that I list
  • Please preserve the formatting and overall template that I provide
  • This is the template: PATTERN with PLACEHOLDERS
You will need to replace "X" with an appropriate placeholder, such as "CAPITALIZED WORDS" or "<PLACEHOLDER>". You will then need to specify a pattern to fill in, such as "Dear <FULL NAME>" or "NAME, TITLE, COMPANY".

Examples:

Create a random strength workout for me today with complementary exercises. I am going to provide a template for your output . CAPITALIZED WORDS are my placeholders for content. Try to fit the output into one or more of the placeholders that I list. Please preserve the formatting and overall template that I provide. This is the template: NAME, REPS @ SETS, MUSCLE GROUPS WORKED, DIFFICULTY SCALE 1-5, FORM NOTES


Please create a grocery list for me to cook macaroni and cheese from scratch, garlic bread, and marinara sauce from scratch. I am going to provide a template for your output . <placeholder> are my placeholders for content. Try to fit the output into one or more of the placeholders that I list. Please preserve the formatting and overall template that I provide. 

This is the template: 
Aisle <name of aisle>: 
<item needed from aisle>, <qty> (<dish(es) used in>




Meta Language Creation Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • When I say X, I mean Y (or would like you to do Y)
You will need to replace "X" with an appropriate statement, symbol, word, etc. You will then need to may this to a meaning, Y.


Examples:
  • When I say "variations(<something>)", I mean give me ten different variations of <something>
    • Usage: "variations(company names for a company that sells software services for prompt engineering)"
    • Usage: "variations(a marketing slogan for pickles)"
  • When I say Task X [Task Y], I mean Task X depends on Task Y being completed first.
    • Usage: "Describe the steps for building a house using my task dependency language."
    • Usage: "Provide an ordering for the steps: Boil Water [Turn on Stove], Cook Pasta [Boil Water], Make Marinara [Turn on Stove], Turn on Stove [Go Into Kitchen]"



Recipe Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • I would like to achieve X
  • I know that I need to perform steps A,B,C
  • Provide a complete sequence of steps for me
  • Fill in any missing steps
  • (Optional) Identify any unnecessary steps
You will need to replace "X" with an appropriate task. You will then need to specify the steps A, B, C that you know need to be part of the recipe / complete plan.

Examples:
I would like to purchase a house. I know that I need to perform steps make an offer and close on the house. Provide a complete sequence of steps for me. Fill in any missing steps.

I would like to drive to NYC from Nashville. I know that I want to go through Asheville, NC on the way and that I don't want to drive more than 300 miles per day. Provide a complete sequence of steps for me. Fill in any missing steps.



Ask for Input Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • Ask me for input X
You will need to replace "X" with an input, such as a "question", "ingredient", or "goal".

Examples:
From now on, I am going to cut/paste email chains into our conversation. You will summarize what each person's points are in the email chain. You will provide your summary as a series of sequential bullet points. At the end, list any open questions or action items directly addressed to me. My name is Jill Smith. Ask me for the first email chain.

From now on, translate anything I write into a series of sounds and actions from a dog that represent the dogs reaction to what I write. Ask me for the first thing to translate.



Outline Expansion Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • Act as an outline expander.
  • Generate a bullet point outline based on the input that I give you and then ask me for which bullet point you should expand on.
  • Create a new outline for the bullet point that I select.
  • At the end, ask me for what bullet point to expand next.
  • Ask me for what to outline.
Examples:
Act as an outline expander. Generate a bullet point outline based on the input that I give you and then ask me for which bullet point you should expand on. Each bullet can have at most 3-5 sub bullets. The bullets should be numbered using the pattern [A-Z].[i-v].[* through ****]. Create a new outline for the bullet point that I select. At the end, ask me for what bullet point to expand next. Ask me for what to outline.









Menu Actions Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • Whenever I type: X, you will do Y.
  • (Optional, provide additional menu items) Whenever I type Z, you will do Q.
  • At the end, you will ask me for the next action.
You will need to replace "X" with an appropriate pattern, such as "estimate <TASK DURATION>" or "add FOOD". You will then need to specify an action for the menu item to trigger, such as "add FOOD to my shopping list and update my estimated grocery bill".

Examples:
Whenever I type: "add FOOD", you will add FOOD to my grocery list and update my estimated grocery bill. Whenever I type "remove FOOD", you will remove FOOD from my grocery list and update my estimated grocery bill. Whenever I type "save" you will list alternatives to my added FOOD to save money. At the end, you will ask me for the next action. Ask me for the first action.


 



Fact Check List Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • Generate a set of facts that are contained in the output
  • The set of facts should be inserted at POSITION in the output
  • The set of facts should be the fundamental facts that could undermine the veracity of the output if any of them are incorrect
You will need to replace POSITION with an appropriate place to put the facts, such as "at the end of the output".

Examples:
Whenever you output text, generate a set of facts that are contained in the output. The set of facts should be inserted at the end of the output. The set of facts should be the fundamental facts that could undermine the veracity of the output if any of them are incorrect.



Tail Generation Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • At the end, repeat Y and/or ask me for X.

You will need to replace "Y" with what the model should repeat, such as "repeat my list of options", and X with what it should ask for, "for the next action". These statements usually need to be at the end of the prompt or next to last.

Examples:

Act as an outline expander. Generate a bullet point outline based on the input that I give you and then ask me for which bullet point you should expand on. Create a new outline for the bullet point that I select. At the end, ask me for what bullet point to expand next. Ask me for what to outline.

From now on, at the end of your output, add the disclaimer "This output was generated by a large language model and may contain errors or inaccurate statements. All statements should be fact checked." Ask me for the first thing to write about.




Semantic Filter Pattern

To use this pattern, your prompt should make the following fundamental contextual statements:
  • Filter this information to remove X
You will need to replace "X" with an appropriate definition of what you want to remove, such as. "names and dates" or "costs greater than $100".

Examples:

Filter this information to remove any personally identifying information or information that could potentially be used to re-identify the person.


Filter this email to remove redundant information.



Resources

15 พฤศจิกายน 2566

10 นิสัยรวย!! ที่พวกมหาเศรษฐีมักมีเหมือนกัน

“นิสัยรวย” ไม่ใช่แค่คำพูดเล่นๆ เพราะมันมีอยู่จริง เมื่อ “ทอม คอร์ลีย์” นักวางแผนการเงิน ผู้เขียนหนังสือ Rich Habits ได้ศึกษาลักษณะเด่นของเศรษฐี 233 คน ที่มีทรัพย์สินเฉลี่ย 4.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 143 ล้านบาท) จนสังเกตเห็นแนวคิดการใช้ชีวิตที่แตกต่างจากคนทั่วไป ถ้าเพื่อนๆ อยากมี “นิสัยรวย” อย่างเศรษฐีก็ลองมาดูกันครับว่าต้องทำยังไงบ้าง



1. เศรษฐีต้องอดทนและรอเวลา

ในหนังสือ Rich Habits แบ่งประเภทของเศรษฐีออกเป็น 4 รูปแบบตามลักษณะการหาเงิน ซึ่งกว่าที่จะเป็นเศรษฐีได้นั้น แต่ละประเภทก็ใช้เวลาแตกต่างกันไป

-กลุ่มนักลงทุนมัธยัสถ์ (Saver-Investors) ที่ใช้ชีวิตเรียบง่าย ไม่มีหนี้สิน มีเงินออมไปลงทุนต่อยอด Passive Income จะใช้เวลาเฉลี่ย 32 ปี

-กลุ่มเศรษฐีที่ไต่เต้าตำแหน่งในบริษัทใหญ่ๆ (Big Company Climbers) ใช้เวลาเฉลี่ย 22 ปี

-กลุ่มเศรษฐีอัจฉริยะ เชี่ยวชาญในศาสตร์ต่างๆ (Virtuosos) ใช้เวลาเฉลี่ย 21 ปี

-กลุ่มเศรษฐีเจ้าของกิจการ ใช้เวลาเฉลี่ย 12 ปี



2. เศรษฐีตั้งใจวางแผนการเงิน

49% ของเศรษฐีจะเริ่มออมเงิน 20% ของรายได้ หรือมากกว่านั้น ตั้งแต่วันแรกที่พวกเขาเริ่มทำงาน และทุกคนก็วางแผนการเงินเพื่อเกษียณไว้เป็นอย่างดี โดย 65% มีรายได้มากกว่า 3 ทาง และ 29% มีรายได้มากกว่า 5 ทางเลยทีเดียว



3. เศรษฐีจะประหยัด และไม่เล่นการพนัน

หัวใจสำคัญของการสร้างความมั่งคั่ง คือการไม่ใช้ชีวิตบนความเสี่ยงทางการเงิน ดังนั้น 64% ของเศรษฐีจึงซื้อบ้านแบบ “เจียมเนื้อเจียมตัว” และอีก 55% ซื้อรถมือสอง ส่วนเรื่องการท่องเที่ยวก็ประหยัดสุดๆ เศรษฐีเกือบทั้งหมดใช้จ่ายน้อยกว่า 6,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 200,520 บาท) ต่อปีในวันหยุดพักผ่อน นอกจากนี้ยังพบว่า 84% ของพวกเขาไม่เคยเล่นการพนันเลย



4. เศรษฐีจะสร้างรายได้จากสิ่งที่ตัวเองรัก

86% ของเศรษฐีเปิดเผยว่าพวกเขารู้สึกสนุกกับงานที่ทำ และมี 6 ใน 10 ที่กำลังวิ่งตามความฝัน หรือแพสชั่นในการใช้ชีวิต ซึ่งคนที่สามารถนำความฝันนั้นมาสร้างเป็นแนวคิดทางธุรกิจ จนประสบความสำเร็จนั้น สามารถสร้างความมั่งคั่งสุทธิเฉลี่ยถึง 7.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (247 ล้านบาท)



5. เศรษฐีตื่นนอนเร็ว และรู้ว่าต้องทำอะไร

73% ของเศรษฐีทำงานโดยเฉลี่ย 58 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ พวกเขามักจะตื่นนอนก่อนเริ่มทำงาน 3 ชั่วโมง จดรายการสิ่งต่างๆ ที่ต้องทำ รวมถึงสิ่งที่ “ห้ามทำ” ด้วย เพื่อไม่ให้เสียเวลา จะได้โฟกัสกับสิ่งที่สำคัญที่สุด



6. เศรษฐีต้องเรียนรู้อยู่เสมอ

พวกเขาส่วนใหญ่มีเป้าหมายที่จะไม่หยุดเรียนรู้ พร้อมพัฒนาตัวเองอยู่ตลอด โดยมักจะอ่านหนังสือ ฟังพอดแคสต์ และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสายอาชีพของตัวเองมากขึ้น



7. เศรษฐีจะให้ความสำคัญกับสุขภาพ

เพราะสุขภาพคือทรัพย์สมบัติประการแรก โดยพบว่า 63% ของเศรษฐี จะเล่นกีฬาตั้งแต่เรียนชั้นมัธยมปลาย และเมื่อโตขึ้นก็ยังคงเล่นกีฬาที่เน้นการแข่งขัน และมีเศรษฐี 76% ที่ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที/วัน คิดเป็น 4 วัน/สัปดาห์ นอกจากนี้เกือบทุกคนก็ยังให้ความสำคัญกับการนอนหลับ อย่างน้อยวันละ 7 ชั่วโมง



8. เศรษฐีจะช่วยเหลือผู้อื่น

รวยแล้วยังใจบุญอีกด้วย เพราะมีเศรษฐี 72% เข้าร่วมกิจกรรมอาสาในองค์กรท้องถิ่นไม่แสวงหากำไร เป็นเวลา 5 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้นต่อเดือน และอีก 27% ก็เป็นคณะกรรมการช่วยเหลืองานในองค์กรอีกด้วย เศรษฐีเหล่านี้มักจะให้คำปรึกษาผู้อื่น เพราะมันทำให้พวกเขาได้รับแรงบันดาลใจด้วยเช่นกัน



9. เศรษฐีรู้จักพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำงานให้สำเร็จ

เศรษฐีเงินล้านส่วนใหญ่ มักจะจ้างทีมงานผู้เชี่ยวชาญและเชื่อมือได้ เช่น ทนายความ, ผู้ตรวจสอบบัญชี, นักการตลาด, ที่ปรึกษาทางการเงิน ฯลฯ เพื่อร่วมกันทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้



10. เศรษฐีกล้าเผชิญกับความล้มเหลว

มีเศรษฐี 63% ที่วางแผนบริหารความเสี่ยงไปพร้อมๆ กับการสร้างความมั่งคั่ง และมี 27% เคยล้มเหลวในการทำธุรกิจอย่างน้อย 1 ครั้ง แต่พวกเขาก็ไม่ยอมให้มันกลายเป็นอุปสรรค โดยยังมุ่งมั่นสู่เป้าหมายต่อไป ในที่สุดเศรษฐีเกือบทั้งหมดบอกว่า ความสำเร็จในชีวิตของพวกเขา มาจากความคิดเชิงบวก และการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน



ทั้งหมดนี้คือ “10 นิสัยรวย” จากแนวคิดการใช้ชีวิตของเศรษฐี ซึ่งเพื่อนๆ คงจะเห็นแล้วว่าทุกอย่างต้องอาศัยวินัยและความพยายาม นั่นเพราะความรวยไม่มีทางลัด โลกนี้จึงไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้ทุกคนนำไปปรับใช้กันได้นะครับ



ที่มา Link

10 พฤศจิกายน 2566

ทำไมคนถึงจน?

จากงานวิจัยรางวัลโนเบลรายงานว่า มีผู้คนกว่า 700 ล้านคน ยังมีชีวิตความเป็นอยู่ด้วยรายได้ที่ต่ำมาก ๆ และพบว่า เด็กอายุไม่ถึง 5 ขวบต้องตายไปราว ๆ 5 ล้านคน สุขภาพของเด็กและการศึกษาที่ไม่ได้รับเหล่านี้ คำถามคือต้นต่อมันเกิดอะไรขึ้น? แล้วจะทำอย่างไรจะช่วยให้คนจนน้อยลงได้ดีที่สุด?

อภิจิต บาเนอร์จี (Abhijit Banerjee) , เอสเทอร์ ดูโฟล (Esther Duflo) และไมเคิล เครเมอร์ (Michael Kremer) 3 นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ปี 2019 ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง พวกเขาพบว่า ที่คนจนไม่ใช่เพราะพวกเขาขี้เกียจ

แต่มันเป็นระบบการจัดการที่ฝังรากลึก จนทำให้คนจนไม่มีโอกาสมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ถือว่าฉีกวงการเศรษฐศาสตร์ด้านนี้พอสมควร เพราะการค้นพบครั้งนี้ คือการชี้ชัดถึงการเข้าใจ ความคิดและความรู้สึกของคนจนจริง ๆ ไม่ใช่ภาครัฐ หรือนักวิชาการ ที่คิดเองเออเองว่าต้องช่วยคนจนอย่างไร

เขาพบว่าสาเหตุหลัก มี 5 อย่าง ซึ่งถ้าแก้ได้ จะช่วยคนจนทั่วโลกได้เยอะมากนั่นคือ…



1. ปัญหาการศึกษา (การศึกษาฟรี แต่เด็กไม่มีเสรีในการเลือก)

รัฐมักเข้าใจผิดว่า หากให้สวัสดิการการเรียนฟรี เช่น อาหารกลางวัน หรือ หนังสือฟรี จะช่วยคนจนอยากเรียนหนังสือมากขึ้น แต่จริง ๆ การออกแบบหลักสูตรให้ตรงกับกลุ่มผู้เรียนที่เขาอยากเรียนจริงๆ ต่างหาก ที่ช่วยให้เด็กยากจนอยากเรียนมากขึ้น ซึ่งได้ผลดีกว่า (หรือต้องใช้งบมากว่าการให้ฟรี) ดังนั้นภาครัฐควรเร่งแก้ปัญหาให้ตรงจุดอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ประชากร มีคุณภาพเมื่อคนจนได้เรียนในสิ่งที่รัก เขาจะต่อยอดเป็นอาชีพและพัฒนาประเทศได้ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า การสร้างคนให้คิดเป็นจะทำให้ประเทศขาดทุนได้อย่างไร



2. สาธารณสุขดีกับคนรวยแต่กลับซวยที่คนจน

คงเดาไม่ยากสำหรับปัญหาเรื่องสาธาณสุขที่ทำลายชีวิตคนจน จากการทดลองพบว่า ผู้คนจะนำลูกหลานมาฉีดวัคซีนฟรีมากกว่าการที่ต้องจ่ายเงินค่าวัคซีน แม้จะถูกมากก็ตาม ปัญหานี้ทำให้เด็กที่ได้รับวัคซีนตายน้อยลง ดังนั้น เมื่อค่าใช้จ่ายวัคซีนไม่ถูกผลักภาระให้กับกลุ่มคนจน เขาจะมีเด็กที่เติบโตเป็นมันสมองของชาติได้ รัฐบาลควรแจกวัคซีนฟรีไปเลย ถือเป็นการลงทุนในระยาว เพื่อรักษาชีวิตเด็ก ๆ เพื่อพัฒนาประเทศต่อไป



3. คนจนมักยึดมั่นกับความเชื่อผิด ๆ เนื่องจากขาดองค์ความรู้สำคัญ

คนจนมักจะเข้าใจผิด หรือมีข้อมูลผิด ๆ เพราะขาดข้อเท็จจริงไป เช่น การทำเกษตรที่ใส่ปุ๋ยมากจนเกินไป จนผลผลิตต่ำเกิดรายได้น้อย หรือไม่รู้ว่าต้องไปเลือกตั้ง สส.ทำไม เลือกแล้วเขาจะได้ประโยชน์อะไร ดังนั้นรัฐควรให้ข้อมูลข้อเท็จจริงอย่างเรียบง่ายและสร้างความน่าสนใจแล้วเร่งให้เขาลงมือทำทันทีตามหลักวิทยาศาสตร์ จะให้ผลลัพธ์และผลผลิตที่ดีและช่วยให้เขามีเงินมากขึ้นได้ รัฐต้องพิสูจน์ข้อนี้ให้ได้ เมื่อเกิดความเชื่อตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เขาจะเปิดใจที่จะศึกษาความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงมากขึ้น



4. ปัญหาเพศสภาพและการเมือง

หลายคนอาจสงสัยว่าข้อนี้เป็นปัญหาหลักยังไง? ลองนึกภาพว่าบนโลกมีผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่สังคมในอดีตมักสร้างผู้ชายให้เป็นใหญ่กว่า และกีดกันความสามารถของผู้หญิง เป็นสาเหตุที่ทำให้คนจนฝังรากลึก เพราะผู้หญิงไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ การปกครองจึงมีขีดจำกัด ผู้หญิงไม่สามารถดิ้นรนที่จะมีชีวิตที่ดีได้ แม้จะมีจำนวนมากกว่า คนจนถึงมากนั่นเอง จากการวิจัยพบว่า ผู้หญิงสามารถเป็นผู้นำชุมชนได้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาชีวิตและความเป็นอยู่ได้ดี เช่น จะกังวลเรื่องน้ำและถนนมากว่าผู้ชาย และจะหาทางให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีให้ได้ ดังนั้นรัฐบาลควรเสริมอำนาจให้ผู้หญิงมีบทบาท ในการแก้ปัญหากลุ่มคนจนด้วย



5. ระบบการเงินของรัฐทิ้งคนจน

การลงทุนของคนจนในแต่ละครั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายเช่น ค่าเดือนทางไปฝากเงิน หรือ ภาษีในการทำธุรกรรมการเงิน ซึ่งมันเป็นต้นทุนที่สูงมากสำหรับเขา นำมาซึ่งการไม่มีเงินเก็บ คนจนไม่สามารถมีหลักประกันเพื่อขอสินเชื่อในธนาคารได้ จึงต้องเป็นหนี้นอกนระบบเเทน ทางแก้คือรัฐควรใช้ “ไมโครเครดิต” (microcredit) คือให้เงินกู้กับคนจน สร้างช่องทางที่ลดต้นทุนทางการเงินของคนจนให้ได้ เช่น โอนเงินได้ที่บ้านไม่ต้องเสียค่ารถ ฟรีค่าธรรมเนียม ไม่ต้องพ่วงประกัน บัตรเครดิตใด ๆ

ทั้งหมดนี้คือวิธีการแก้ปัญหาความยากจนของคนได้ดีที่สุดในปัจจุบัน จนประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง ได้ชื่นชมการค้นพบครั้งนี้ว่ามันเป็นความงดงามในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมแก่ความเป็นอยู่ที่ดีของมวลมนุษยชาติ

ความจนเป็นปัญหาระดับโลกที่เศรษฐศาสตร์ในอดีตจนถึงปัจจุบันยังแก้ไม่ได้สักที การค้นพบครั้งนี้อาจช่วยคนจนให้มีชีวิตที่ดีขึ้นได้ แต่ขณะเดียวกันมันก็สูญเปล่าไปได้หากผู้นำประเทศกลับมองข้ามมันไป...



ที่มา Link

01 พฤศจิกายน 2566

ธนาคารไหนขายประกันชีวิตแบบบำนาญบ้าง

ข้อดีของการซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญผ่านสาขาธนาคาร

  • สะดวก เราสามารถเดินไปที่สาขาธนาคารเพื่อซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญได้เลย
  • ถ้าเราสงสัย ก็สามารถพูดคุยปรึกษากับพนักงานธนาคารได้


ธนาคารไหนขายประกันชีวิตแบบบำนาญบ้าง
  • ธนาคารออมสิน
    • แบบบำนาญ 85/1: link
    • แบบบำนาญ 85/60: link
    • แบบบำนาญ 90/5: link
    • แบบบำนาญ 90/60: link

    • TTB
      • Happy Retire 90/5: link
    • TISCO
      • ประกันบำนาญ TISCO My Wish Retirement 99/5, 99/10, 99/60: link
      • ประกันบำนาญ TISCO My Wish Pension 99/1, 99/5, 99/60: link
    • ธนาคารกสิกรไทย
      • ประกันชีวิตเพื่อการเกษียณ 60/5: link
      • ประกันชีวิตแบบบำนาญ A85/5: link
    • ธนาคารกรุงศรี
      • กรุงศรีประกันบํานาญ แฮปปี้ รีไทร์ A85/1, A85/5, A85/10, A85/A60: link
      • กรุงศรีประกันบำนาญ แฮปปี้ ไลฟ์ 85/1, 85/5, 85/10, 85/60: link
    • ธนาคารกรุงไทย
      • ประกันบำนาญ 85/5: link
    • UOB
      • PRUhappy annuity 390 วางแผนเกษียณแบบสบายๆ 85/60: link
      • PRU Prime Annuity 90/5 เกษียณสำราญ: link
    • LH Bank
      • Happy Retire 855 (85/5): link
    • ธนาคารเกียรตินาคินภัทร
      • ประกันชีวิตแบบบำนาญ เคเคพีเจน อินฟินิท 88/5: link
      • KKPGEN INFINITE RETURN 90/5, 90/10: link
    • CIMB Thai
      • ซีไอเอ็มบี ไทย สุขใจวัยเกษียณ A60/10: link




    25 ตุลาคม 2566

    SSPF หุ้นออฟฟิศติดรถไฟฟ้าแบบ freehold น่าตีแตกไหม



    หุ้น SSPF

    • หุ้น SSPF นั้นเป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ที่มีกรรมสิทธิ์ในอาคารและที่ดิน (freehold) ของสำนักงานอาคารแอทสาทร
    • ทำเลของสำนักงานอาคารแอทสาทรถือว่าดีมาก เพราะติดกับสถานีรถไฟฟ้า BTS Saint Louis สะดวกต่อการเดินทาง

    • ราคา NAV ปัจจุบันอยู่ที่ 11.0717 บาท (ข้อมูล ณ วันที่ : 30 ก.ย. 2566) แต่ราคาตลาดอยู่ที่ 5 บาท ข้อมูล ณ วันที่ : 25 ต.ค. 2566) ต่ำกว่า NAV มากกว่า 50% (Price / NAV = 0.4)
    • จากรายงานประงานประจำปี 2566
      • Occupancy Rate ล่าสุดอยู่ที่ 31% (ปี 2562 ช่วงก่อนโควิดอยู่ที่ 86%)
      • อัตราค่าเช่าต่อ ตรม ล่าสุดอยู่ที่ 688 บาท (ปี 2562 ช่วงก่อนโควิดอยู่ที่ 554) โต 24%
      • เงินปันผลล่าสุดอยู่ที่ 0.1169 บาทต่อหุ้น (ปี 2562 ช่วงก่อนโควิดอยู่ที่ 0.4715 บาทต่อหุ้น)
      • สาเหตุที่ปันผลและ Occupancy Rate ต่ำเนื่องจากผู้เช่ารายใหญ่ซึ่งก็คือ Prudential ไม่ต่อสัญญาและผลกระทบจากโควิด

      • จากรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นล่าสุด (21 ตุลาคม 2565)
        • บริษัทมีการปรับแผนโดยปล่อยเช่าพื้นที่ขนาดเล็กลง เพื่อให้ตอบโจทย์รูปแบบการทำงานแบบใหม่ และมีผู้เช่าใหม่มาเช่าแล้ว 2 ราย
        • บริษัทจัดการคาดว่าในปี 2566 จะมีรายได้จากค่าเช่าที่เพิ่มขึ้นและจะส่งผลให้กองทุนรวมสามารถประกาศ จ่ายเงินปันผลในอัตราที่สูงขึ้น
      • สมมติคาดการณ์ว่าอนาคต 5 ปีข้างหน้าบริษัทสามารถทำ Occupancy Rate กลับไปอยู่ที่ 86% เท่าอดีตได้
        • น่าจะได้เงินปันผลประมาณ 0.58 บาทต่อหุ้น (สมมติอัตราค่าเช่าอีก 5 ปีข้างหน้าอยู่ที่ 688 บาทเท่าปัจจุบัน แต่ถ้าสามารถปรับค่าเช่าได้ก็จะได้เงินปันผลมากกว่านี้)
        • Dividend Yield จะได้ 0.58 / 5 = 11.6%
      • หุ้น SSPF ที่เป็นออฟฟิศติดรถไฟฟ้าแบบ freehold ตัวนี้น่าตีแตกไหม???

      รีวิว IRR แต่ละช่วงอายุ ของประกันบำนาญ 85/60 ทิพยประกันชีวิต จากธนาคารออมสิน

      รีวิว IRR แต่ละช่วงอายุ ของประกันบำนาญ 85/60 ทิพยประกันชีวิต จากธนาคารออมสิน


      ตัวอย่างการอ่านตาราง 
      กรณี 1 เพศชาย อายุ 30 ปี
      • เบี้ยที่ต้องชำระ 17,960 บาทต่อปี
      • ชำระเบี้ยจนถึงอายุ 59 ปี (30 งวด)
      • รับบำนาญปีละ 60,000 บาท ตั้งแต่อายุ 60 - 85 ปี
      • คืนทุน 8.98 ปี หรือคุ้มทุนที่อายุประมาณ 68 ปี
      • IRR 3.82

      กรณี 2 เพศหญิง อายุ 45 ปี
      • เบี้ยที่ต้องชำระ 53,245 บาทต่อปี
      • ชำระเบี้ยจนถึงอายุ 59 ปี (15 งวด)
      • รับบำนาญปีละ 60,000 บาท ตั้งแต่อายุ 60 - 85 ปี
      • คืนทุน 13.31 ปี หรือคุ้มทุนที่อายุประมาณ 73 ปี
      • IRR 3.43



      รายละเอียดประกันบำนาญ 85/60 ทิพยประกันชีวิต จากธนาคารออมสิน







      15 ตุลาคม 2566

      รวมประกันโรคมะเร็ง โรคร้ายแรง เจอจ่ายจบ เบี้ยคงที่ ตลอดสัญญา

       รวมประกันโรคมะเร็ง โรคร้ายแรง เจอจ่ายจบ เบี้ยคงที่ ตลอดสัญญา

      ประกันภัยสุดคุ้ม ชุดมนุษย์เงินเดือน (กรุงเทพประกันภัย)


      ประกันภัยโรคมะเร็งซูเปอร์เซฟ (กรุงเทพประกันภัย)


      ประกันภัยโรคมะเร็ง (กรุงเทพประกันภัย)


      แคนเซอร์ แคร์ (TTB)








      10 ตุลาคม 2566

      [แจกฟรี] ตารางการออมเงินแบบ DCA ให้ครบ 1 ล้านบาท

      [แจกฟรี] ตารางการออมเงินแบบ DCA ให้ครบ 1 ล้านบาท

      • แบ่งตามจำนวนเงินที่จะ DCA แต่ละเดือน และผลตอบแทนต่อปี
      • เช่น ถ้าเราฝากออมทรัพย์ได้ดอกเบี้ยปีละ 1.5% และออมเงินเดือนละ 3,000 บาท เราจะมีเงิน 1,038,537.80 บาท ใน 24 ปี



      05 ตุลาคม 2566

      03 ตุลาคม 2566

      มนุษย์เงินเดือนที่ไม่ได้เป็นข้าราชการ ต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่ก่อนเกษียณ

       หลายคนที่เป็นมนุษย์เงินเดือน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานออฟฟิศ หรือทำงานโรงงาน มักจะมีคำถามในใจว่า ตัวเองต้องมีเงินเก็บกี่บาท ก่อนเกษียณ หรือบางทีเราก็อาจจะกังวัลใจว่า เกิดโชคไม่ดีโดนเลิกจ้าง หรือไม่สามารถทำงานได้ไม่ว่าจะเกิดจากปัญหาสุขภาพหรืออะไรก็แล้วแต่ เราต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่ ถึงจะอยู่ได้โดยไม่ลำบาก


      บทความนี้ จะขอแนะนำโปรแกรมคำนวณเงินเก็บที่ต้องมีหลังเกษียณ ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าไปลองเล่นได้ที่ Link


      จากรูปด้านล่าง สมมติฐานคือ

      • ต้องการเกษียณตอนอายุ 55 ปี
      • คาดว่าจะอยู่ถึง 90 ปี (เวลาหลังเกษียณ 35 ปี)
      • ดอกเบี้ยที่ได้รับ 1.5% ทบต้นรายวัน (ใช้ดอกเบี้ยเงินฝาก e-Saving มาคำนวณ)
      • ต้องการเงิน 30,000 ต่อเดือน ทุกเดือน
      • จะต้องมีเงินเก็บ 9.8 ล้านบาท



      รูปด้านล่างเป็นตารางสรุปว่าเราต้องมีเงินเก็บกี่บาท ก่อนเกษียณ (โดยใช้สมมติฐานดอกเบี้ย และอายุขัยตามข้างบน) เช่น

      • ต้องการเกษียณตอนอายุ 40 ปี และต้องการเงิน 30,000 บาทต่อเดือนทุกเดือน จะต้องมีเงินเก็บ 12.7 ล้านบาท
      • ต้องการเกษียณตอนอายุ 50 ปี และต้องการเงิน 30,000 บาทต่อเดือนทุกเดือน จะต้องมีเงินเก็บ 10.9 ล้านบาท








      01 ตุลาคม 2566

      Add scroll animation on your website with AOS

      AOS is a javascript library to animate on scroll, see demo and example here

      30 กันยายน 2566

      Learn coding only with Scratch

       



      Scratch is a coding community for everyone who want to code. There are a lot of tutorials and documents here.

      To build your scratch application is quite simple, we just connect the coding blocks together.





      This is my first scratch application :) Link


      25 กันยายน 2566

      Benefits of React Native

      1. Uses JavaScript

      The first benefit of React Native is that it is entirely coded in JavaScript. This means you can use your existing JavaScript skills and put them to use when building React Native apps.

      JavaScript has been the most popular programming language in the world for many years, and its compatibility with React Native is a huge perk for helping JavaScript developers become mobile developers.



      2. Uses React

      The next benefit of using React Native is, as you probably guessed, that it uses React.

      To simplify this for you:

      JavaScript + React = React Native

      JavaScript and React make React Native.

      React Native apps are written entirely in JavaScript using React. React is the most popular and in-demand web framework today and is used by several major companies and startups to build their web applications. With React Native, you can use React to build mobile applications.

      You can also use all the principles learned in React with React Native. This means you can use the component-based architecture that comes with React. Code sharing between mobile and web platforms becomes more manageable, saving development costs.



      3. Builds Cross-Platform Native Apps

      The third benefit of using React Native is that it builds cross-platform apps on both iOS and Android. But did you know that you can’t distinguish them from an app built using native languages such as Swift or Kotlin?

      With React Native, you build a real native mobile app. It is impressive since you are coding in JavaScript and rendering components native to the platform. This is one of the reasons why apps built using React Native have a superior user experience (UX).

      React Native provides platform-agnostic components that map directly to the platform’s native user interface (UI) building blocks. This results in high-quality native apps that offer a great user experience.



      4. Cost Effective

      This is because React Native is a cost-effective option for teams. Teams can be smaller in size, with developers working cross-platform on the same code base. There is no need to support separate codebases for iOS and Android.

      This results in faster development time. This also means that the code is easier to test and debug. Once you find a bug, it is simultaneously removed in iOS and Android. This eliminates the need to maintain multiple codebases.

      All of these result in an overall reduction in costs!



      5. Developer Experience

      The last benefit is that, unlike developing traditional native mobile apps, developing React Native apps is a far superior developer experience. You will enjoy the ease of development, all the developer tools it comes with, and how straightforward it is to debug.

      Let’s explore some features you can utilize to enjoy a great developer experience.
       

      Fast Refresh

      React Native supports fast refresh, which gives almost instant feedback for your changes in React Components while the app is running on an emulator. The quick refresh feature is a big time-saver for developers. You can see your changes on the emulator as soon as you hit save!


      Easy Debugging

      Debugging React Native apps is simple since you are essentially debugging JavaScript code. You can use the Chrome developer tools to debug the JavaScript code. In addition, you can use the React Developer tools to debug the React Component hierarchy.


      Over-the-Air Updates

      The next feature, which is another big time-saver, is over-the-air updates. In traditional native apps, both iOS and Android, the release process can be tedious and getting approval from the app store can take several days. With React Native, you may be able to avoid this wait, depending on your changes. App Center’s Code Push is a cloud service that enables React Native developers to deploy mobile app updates directly to the users’ devices. It acts as a central repository to which developers can publish updates, and those apps can query for updates. This means small features or bug fixes can be made available to users immediately, without redistribution through the respective app stores. Features like Over the Air (OTA) updates make the React Native developer experience seamless.






      Conclusion

      The React Native community is growing incredibly fast, and now is a great time to learn.




      Reference: React Native Course by Meta (Coursera)