30 สิงหาคม 2567

ลาออกจากงานและขายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) เสียภาษีเท่าไหร่


กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)

  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ สวัสดิการสำหรับพนักงานออฟฟิศ เพื่อให้พนักงานแต่ละคน มีเงินสะสม มีเงินเก็บ ไว้ใช้ยามแก่ชรา 
  • เงินเดือนแต่ละเดือนของพนักงานจะถูกหักตามสัดส่วนที่พนักงานเลือก แล้วนำไปลงทุนในกองทุนต่างๆ (ขึ้นกับนโยบายแต่ละบริษัท)
  • การลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย



หลังจากลาออกจากงานทำยังไงกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดี

หลังจากพนักงานลาออกจากงาน พนักงานมีทางเลือกในการจัดการกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ดังนี้

  • คงเงินไว้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิม: เหมาะกับคนที่ย้ายงานไปที่บริษัทใหม่ คงเงินไว้ และอนาคตค่อยย้ายไปกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทใหม่ในอนาคต
  • ย้ายไป RMF for Provident Fund (RMF for PVD): เหมาะสำหรับคนที่ลาออกจากการ, ไม่มีแพลนย้ายงาน และอายุยังไม่ถึง 55 ปี
  • ขาย: เหมาะสำหรับคนที่จำเป็นต้องใช้เงิน


การขายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและการเสียภาษี

  • เงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของเราจะประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ
    • ส่วนที่ 1: เงินสะสมของเราเอง
    • ส่วนที่ 2: ผลประโยชน์ของเงินสะสมของเราเอง
    • ส่วนที่ 3: เงินสมทบที่บริษัทสมทบให้เรา
    • ส่วนที่ 4: ผลประโยชน์ของเงินสมทบที่บริษัทสมทบให้เรา

    • เงินที่ต้องนำมาคำนวณภาษี คือ ส่วนที่ 2,3,4 (หลังลาออก บริษัทจะมีเอกสารมาให้ และแสดงข้อมูลสรุปเงินส่วนต่างๆ)
    • การเสียภาษี
      • กรณี 1: อายุงาน < 5 ปี: 
        • ไม่ได้รับการลดหย่อน
        • เงินที่ต้องนำมาคำนวณภาษี คือ ส่วนที่ 2 + 3 + 4
      • กรณี 2: อายุงาน > 5 ปี และอายุพนักงาน < 55 ปี
        • ได้รับการลดหย่อน
        • เงินที่ต้องนำมาคำนวณภาษี คือ (7,000 x จำนวนปีที่ทำงาน) / 2
        • อัตราภาษีขั้นแรกแบบไม่มีการยกเว้น 150,000 บาทแรก
      • กรณี 3: อายุงาน > 5 ปี และอายุพนักงาน > 55 ปี
        • ไม่ต้องเสียภาษี
      • การเสียภาษี ยื่น ภงด ได้ 2 แบบ
        • ยื่น ภงด รวมกับรายได้ประจำครั้งเดียว
        • แยกยื่น ภงด คือ ยี่นปกติ 1 รอบ และ ยื่นสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีก 1 รอบ (เสียภาษีน้อยกว่า สอบถาม HR ที่บริษัทได้) ดูตัวอย่างแบบฟอร์มแยกยื่นได้ที่ Reference ด้านล่าง
    • ตัวอย่าง 1:
      • A ทำงาน 2 ปี, เงินส่วนที่ 2 + 3 + 4 = 100,000 บาท
      • เข้าเงื่อนไข กรณี 1 ต้องนำเงิน ​100,000 บาทมายื่น ภงด
    • ตัวอย่าง 2:
      • B ทำงาน 5 ปี, เงินส่วนที่ 2 + 3 + 4 = 100,000 บาท
      • เข้าเงื่อนไข กรณี 2
        • 2 + 3 + 4 = 100,000 บาท -----[1]
        •  7,000 x 5 = 35,000 บาท ------[2]
        • [1] - [2] = 65,000 บาท --------[3]
        • [3] / 2 = 32,500 บาท
        • ต้องนำเงิน ​32,500 บาทมายื่น ภงด และเสียภาษี 5% 1,625 บาท (อัตราภาษีขั้นแรกแบบไม่มีการยกเว้น 150,000 บาทแรก)
    • ตัวอย่าง 3:
      • C ทำงาน 10 ปี, เงินส่วนที่ 2 + 3 + 4 = 3,00,000 บาท
      • เข้าเงื่อนไข กรณี 2
        • 2 + 3 + 4 = 300,000 บาท -----[1]
        •  7,000 x 10 = 70,000 บาท ------[2]
        • [1] - [2] = 2,930,000 บาท --------[3]
        • [3] / 2 = 1,465,000 บาท
        • ต้องนำเงิน ​1,465,000 บาทมายื่น ภงด และเสียภาษี
          • 300,000 แรกเสีย 5% = 15,000 บาท (อัตราภาษีขั้นแรกแบบไม่มีการยกเว้น 150,000 บาทแรก)
          • 200,000 ถัดมา 10% =  20,000 บาท
          • 250,000 ถัดมา 15% =  37,500 บาท
          • 250,000 ถัดมา 20% = 50,000 บาท
          • ที่เหลือเสีย 25% = 116,250 บาท
          • รวมเสียภาษี 238,750 บาท
    • ตัวอย่าง 4:
      • D ทำงาน 10 ปี, เงินส่วนที่ 2 + 3 + 4 = 100,000 บาท และอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
      • เข้าเงื่อนไข 3 ไม่ต้องเสียภาษี



    Reference

    • ตัวอย่างแบบฟอร์มแยกยื่น ภงด (ที่มา)





    15 สิงหาคม 2567

    รวม Super App และ Website เกี่ยวกับการท่องเที่ยว จองตั๋วเครื่องบินและตั๋วกิจกรรมท่องเที่ยว ได้ครบจบใน App เดียว

     

    รวม Super App และ Website เกี่ยวกับการท่องเที่ยว จองตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรม แพ็คเกจทัวร์ท่องเที่ยว และตั๋วกิจกรรมท่องเที่ยวต่างๆ เช่น บัตรสวนสนุก สวนน้ำ ได้ครบจบใน App เดียว


    Agoda

    • website: https://www.agoda.com
    • จองโรมแรม
    • จองตั๋วเครื่องบิน
    • จองตั๋วกิจกรรมท่องเที่ยว


    Traveloka

    • website: https://www.traveloka.com
    • จองโรมแรม
    • จองตั๋วเครื่องบิน
    • จองตั๋วกิจกรรมท่องเที่ยว


    Robinhood

    • website: https://www.robinhoodstory.com
    • จองโรมแรม
    • จองตั๋วเครื่องบิน
    • จองตั๋วกิจกรรมท่องเที่ยว
    • สั่งอาหาร


    Klook

    • website: https://www.klook.com
    • จองโรมแรม
    • จองตั๋วเครื่องบิน
    • จองตั๋วกิจกรรมท่องเที่ยว
    • จองตั๋วรถไฟ
    • จองทัวร์



    10 สิงหาคม 2567

    รีวิวซื้อหุ้นกู้ตลาดรองกับ SCB Easy-D


    SCB Easy-D

    SCB Easy-D คือบัญชีซื้อขายหุ้นกู้ทั้งตลาดแรกและตลาดรอง หุ้นกู้ตลาดแรกนั้นมันจะหมดเร็วมาก ต้องรีบกดจองแต่เนิ่นๆ แข่งกับนักลงทุนรายอื่นๆ แต่ตลาดรองสามารถซื้อขายได้ 24 ชั่วโมงสะดวกมากๆ



    วิธีซื้อหุ้นกู้ตลาดรองกับ SCB Easy-D

    • เข้าเมนู ธุรกรรมของฉัน > การลงทุน > หุ้นกู้
    • ถ้ายังไม่เคยเปิดบัญชี ให้ทำการเปิดบัญชีหุ้นกู้ก่อน
    • หลังจากนั้นเลือกเมนู จองซื้อ/ซื้อขาย > ตลาดรอง
    • เราจะเห็นรายชื่อหุ้นกู้ทั้งหมด เราสามารถค้นหาและเรียงลำดับหุ้นกู้ตามที่สนใจได้ ดังรูป


    • กดปุ่ม "เลือก" เพื่อเข้าไปดูรายละเอียดหุ้นกู้และกดปุ่ม "ซื้อ" เพื่อซื้อหุ้นกู้



    ข้อควรระวัง

    • ก่อนซื้อหุ้นกู้ควรศึกษาข้อมูลของผู้ออกหุ้นกู้ให้ละเอียดก่อน
    • อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ ถ้า AAA จะมีความน่าเชื่อถือสูง รองลงมาก็ AA, A, BBB ตามลำดับ (แนะนำซื้อหุ้นกู้ตั้งแต่ A ขึ้นไป น่าจะปลอดภัยกว่า)
    • อายุคงเหลือ: คืออายุที่เหลือของหุ้นกู้ ถ้าครบอายุ ระบบจะคืนเงินต้นให้เราผ่านทางบัญชีที่ผูกกับ SCB Easy-D ตอนสมัคร
    • อัตราผลตอบแทน: คือผลตอบแทนของการซื้อหุ้นกู้ครั้งนี้


    ที่มา https://www.scb.co.th/th/personal-banking/digital-banking/scb-easy/easy-d-info.html







    05 สิงหาคม 2567

    เที่ยวญี่ปุ่น Autumn ใบไม้เปลี่ยนสี ไปเดือนไหนดี?

     

    ที่มา Mushroom Travel


    Note: ช่วงเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงแต่ละปี ต้องตรวจสอบข้อมูลพยากรณ์ล่าสุดที่เว็บ https://livejapan.com/en/article-a0002628/


    01 สิงหาคม 2567

    kubectl command get list of docker images from kubernetes cluster

    To get list of docker images from kubernetes cluster, create new shell script with this content

    #!/bin/bash

    deployments="$(kubectl get deploy -n YOUR_NAME_SPACE -l version=prod -o name)"
    for word in $deployments; do
      contents="$(kubectl get $word -n 
    YOUR_NAME_SPACE -o json)"
      jq .spec.template.spec.containers[0].image <<< "$contents"
    done

    บทความยอดนิยม (ล่าสุด)

    บทความยอดนิยม (1 ปีย้อนหลัง)