Pages

Pages

30 สิงหาคม 2567

ลาออกจากงานและขายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) เสียภาษีเท่าไหร่


กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)

  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ สวัสดิการสำหรับพนักงานออฟฟิศ เพื่อให้พนักงานแต่ละคน มีเงินสะสม มีเงินเก็บ ไว้ใช้ยามแก่ชรา 
  • เงินเดือนแต่ละเดือนของพนักงานจะถูกหักตามสัดส่วนที่พนักงานเลือก แล้วนำไปลงทุนในกองทุนต่างๆ (ขึ้นกับนโยบายแต่ละบริษัท)
  • การลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย



หลังจากลาออกจากงานทำยังไงกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดี

หลังจากพนักงานลาออกจากงาน พนักงานมีทางเลือกในการจัดการกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ดังนี้

  • คงเงินไว้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิม: เหมาะกับคนที่ย้ายงานไปที่บริษัทใหม่ คงเงินไว้ และอนาคตค่อยย้ายไปกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทใหม่ในอนาคต
  • ย้ายไป RMF for Provident Fund (RMF for PVD): เหมาะสำหรับคนที่ลาออกจากการ, ไม่มีแพลนย้ายงาน และอายุยังไม่ถึง 55 ปี
  • ขาย: เหมาะสำหรับคนที่จำเป็นต้องใช้เงิน


การขายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและการเสียภาษี

  • เงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของเราจะประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ
    • ส่วนที่ 1: เงินสะสมของเราเอง
    • ส่วนที่ 2: ผลประโยชน์ของเงินสะสมของเราเอง
    • ส่วนที่ 3: เงินสมทบที่บริษัทสมทบให้เรา
    • ส่วนที่ 4: ผลประโยชน์ของเงินสมทบที่บริษัทสมทบให้เรา

    • เงินที่ต้องนำมาคำนวณภาษี คือ ส่วนที่ 2,3,4 (หลังลาออก บริษัทจะมีเอกสารมาให้ และแสดงข้อมูลสรุปเงินส่วนต่างๆ)
    • การเสียภาษี
      • กรณี 1: อายุงาน < 5 ปี: 
        • ไม่ได้รับการลดหย่อน
        • เงินที่ต้องนำมาคำนวณภาษี คือ ส่วนที่ 2 + 3 + 4
      • กรณี 2: อายุงาน > 5 ปี และอายุพนักงาน < 55 ปี
        • ได้รับการลดหย่อน
        • เงินที่ต้องนำมาคำนวณภาษี คือ (7,000 x จำนวนปีที่ทำงาน) / 2
        • อัตราภาษีขั้นแรกแบบไม่มีการยกเว้น 150,000 บาทแรก
      • กรณี 3: อายุงาน > 5 ปี และอายุพนักงาน > 55 ปี
        • ไม่ต้องเสียภาษี
      • การเสียภาษี ยื่น ภงด ได้ 2 แบบ
        • ยื่น ภงด รวมกับรายได้ประจำครั้งเดียว
        • แยกยื่น ภงด คือ ยี่นปกติ 1 รอบ และ ยื่นสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีก 1 รอบ (เสียภาษีน้อยกว่า สอบถาม HR ที่บริษัทได้) ดูตัวอย่างแบบฟอร์มแยกยื่นได้ที่ Reference ด้านล่าง
    • ตัวอย่าง 1:
      • A ทำงาน 2 ปี, เงินส่วนที่ 2 + 3 + 4 = 100,000 บาท
      • เข้าเงื่อนไข กรณี 1 ต้องนำเงิน ​100,000 บาทมายื่น ภงด
    • ตัวอย่าง 2:
      • B ทำงาน 5 ปี, เงินส่วนที่ 2 + 3 + 4 = 100,000 บาท
      • เข้าเงื่อนไข กรณี 2
        • 2 + 3 + 4 = 100,000 บาท -----[1]
        •  7,000 x 5 = 35,000 บาท ------[2]
        • [1] - [2] = 65,000 บาท --------[3]
        • [3] / 2 = 32,500 บาท
        • ต้องนำเงิน ​32,500 บาทมายื่น ภงด และเสียภาษี 5% 1,625 บาท (อัตราภาษีขั้นแรกแบบไม่มีการยกเว้น 150,000 บาทแรก)
    • ตัวอย่าง 3:
      • C ทำงาน 10 ปี, เงินส่วนที่ 2 + 3 + 4 = 3,00,000 บาท
      • เข้าเงื่อนไข กรณี 2
        • 2 + 3 + 4 = 300,000 บาท -----[1]
        •  7,000 x 10 = 70,000 บาท ------[2]
        • [1] - [2] = 2,930,000 บาท --------[3]
        • [3] / 2 = 1,465,000 บาท
        • ต้องนำเงิน ​1,465,000 บาทมายื่น ภงด และเสียภาษี
          • 300,000 แรกเสีย 5% = 15,000 บาท (อัตราภาษีขั้นแรกแบบไม่มีการยกเว้น 150,000 บาทแรก)
          • 200,000 ถัดมา 10% =  20,000 บาท
          • 250,000 ถัดมา 15% =  37,500 บาท
          • 250,000 ถัดมา 20% = 50,000 บาท
          • ที่เหลือเสีย 25% = 116,250 บาท
          • รวมเสียภาษี 238,750 บาท
    • ตัวอย่าง 4:
      • D ทำงาน 10 ปี, เงินส่วนที่ 2 + 3 + 4 = 100,000 บาท และอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
      • เข้าเงื่อนไข 3 ไม่ต้องเสียภาษี



    Reference

    • ตัวอย่างแบบฟอร์มแยกยื่น ภงด (ที่มา)





    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น