Pages

Pages

31 ธันวาคม 2567

สรุปการบริจาคเงินปี 2024 ของแอดมิน

   


ดูสรุปการบริจาคเงินปีอื่นๆได้ที่ Link


ตั้งแต่ปี 2020 - 2024 ยอดบริจาครวมทะลุ 1 แสนบาทแล้ว



ข้อมูลด้านล่างเป็นการสรุปการบริจาคเงินปี 2024 ของแอดมิน





เส้นทางเดินเท้าที่ยาวที่สุดในโลก!!!


เส้นทางเดินเท้าที่ยาวที่สุดในโลก!!!
>>> เทียบเท่ากับการเดินไปกลับยอดเขา Everest ถึง 14 รอบ

>>> ถนนเส้นนี้เริ่มต้นที่เมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ และสิ้นสุดที่เมืองมากาดาน ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัสเซีย มีระยะทางรวมทั้งหมด 14,334 ไมล์ หรือประมาณ 23,068 กิโลเมตร

>>> เส้นนี้จะไม่ต้องข้ามมหาสมุทรหรือสิ่งกีดขวางสำคัญอื่นๆ ไม่ต้องใช้เครื่องบินหรือเรือและมีสะพาน

>>>ใช้เวลาเดินเฉลี่ย 4,364 ชั่วโมง การเดินไม่หยุดเป็นเวลา 187 วัน หรือ 561 วัน การเดินวันละ 8 ชั่วโมง และระหว่างทาง คุณจะเดินทางผ่าน 17 ประเทศ 6 โซนเวลา และทุกฤดูกาล



ที่มา link



10 ธันวาคม 2567

คำนวณ IRR ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์และแบบบำนาญแบบง่ายๆ

คำนวณ IRR ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์และแบบบำนาญแบบง่ายๆ


  • ตัวอย่างไฟล์: https://docs.google.com/spreadsheets/d/1jhRjXjpdj-U5liRK594f2cxJT9u3jMblHRknyRfy9eY/edit?usp=sharing
  • กรอกเบี้ยที่ต้องการชำระที่ column B ช่องสีเหลือง
  • กรอกบำนาญที่ได้รับที่ column D ช่องสีเหลือง
  • IRR ที่ได้คือช่อง G4 จากตัวอย่าง IRR = 2.67% 
  • จากตัวอย่าง สมมติได้รับบำนาญถึงอายุ 90 ปี ถ้าอายุปรับอายุ เช่นเป็น 99 ปี หรือ 85 ปี ให้ไปแก้สูตรช่อง G4 ด้วย จากตัวอย่างสูตรคือ =irr(D5:D60)


คำเตือน: กรณีบริษัทประกันล้มละลาย กองทุนประกันชีวิตจะคุ้มครองไม่เกิน 1 ล้านบาท (ที่มา)

05 ธันวาคม 2567

ประกันสังคม เตรียมปรับเพดานใหม่ คนต้องจ่ายเพิ่มเป็น 845-1,150 บาท/เดือน แต่เพิ่มบำนาญ-เงินทดแทนให้ผู้ประกันตน




สำหรับร่างกฎกระทรวงใหม่ ของสำนักงานปนะกันสังคม (สปส.) ฉบับนี้ เตรียมมีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 69
หลัก ๆ จะปรับปรุงกำหนดค่าจ้างขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ซึ่งเดิมกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2538) ใช้ค่าจ้างฐาน 15,000 บาท เพื่อคำนวณเงินสมทบฯ จึงได้มีแผนปรับให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ดังนี้
  • ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 17,500 บาท
  • ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2570 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2572 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 20,000 บาท
  • ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2573 เป็นต้นไป จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 23,000 บาท
เดิมฐานคำนวณอยู่ที่ 15,000 บาท ต้องจ่ายสมทบประกันสังคมสูงสุด 750 บาท เมื่อมีการปรับฐานใช้คำนวณเงินสมทบใหม่ ทำให้ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้น แต่ได้สิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น



ปี 2569-2571 ปรับฐานค่าจ้างเป็น 17,500 บาท จ่ายเงินสมทบสูงสุด 875 บาทต่อเดือน แต่ได้สิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น ดังนี้
  • เงินทดแทนกรณีเจ็บป่วย 8,750 บาทต่อเดือน (291 บาทต่อวัน สูงสุด 180 วัน รวม 52,500 บาท)
  • เงินสงเคราะห์คลอดบุตร 26,250 บาทต่อครั้ง
  • เงินทดแทนกรณีทุพพลภาพ 8,750 บาทต่อเดือน
  • เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 105,000 บาท
  • เงินทดแทนกรณีว่างงาน 8,750 บาทต่อเดือน
  • เงินบำนาญ กรณีส่งเงินสมทบ 15 ปี 3,500 บาทต่อเดือน ส่วนกรณีส่งเงินสมทบ 25 ปี 6,125 บาทต่อเดือน


ปี 2572-2574 ฐานปรับค่าจ้างเป็น 20,000 บาท จ่ายเงินสมทบสูงสุด 1,000 บาทต่อเดือน สิทธิประโยชน์เพิ่มเติม ดังนี้
  • เงินทดแทนกรณีเจ็บป่วย 10,000 บาทต่อเดือน (333 บาทต่อวัน สูงสุด 180 วัน รวม 60,000 บาท)
  • เงินสงเคราะห์คลอดบุตร 30,000 บาทต่อครั้ง
  • เงินทดแทนกรณีทุพพลภาพ 10,000 บาทต่อเดือน
  • เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 120,000 บาท
  • เงินทดแทนกรณีว่างงาน 10,000 บาทต่อเดือน
  • เงินบำนาญ กรณีส่งเงินสมทบ 15 ปี 4,000 บาทต่อเดือน ส่วนกรณีส่งเงินสมทบ 25 ปี 7,000 บาทต่อเดือน


ปี 2575 เป็นต้นไป ปรับฐานค่าจ้างเป็น 23,000 บาท จ่ายเงินสมทบสูงสุด 1,150 บาทต่อเดือน สิทธิประโยชน์ได้รับเพิ่ม ได้แก่
  • เงินทดแทนกรณีเจ็บป่วย 11,500 บาทต่อเดือน (383 บาทต่อวัน สูงสุด 180 วัน รวม 69,000 บาท)
  • เงินสงเคราะห์คลอดบุตร 34,500 บาทต่อครั้ง
  • เงินทดแทนกรณีทุพพลภาพ 11,500 บาทต่อเดือน
  • เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 138,000 บาท
  • เงินทดแทนกรณีว่างงาน 11,500 บาทต่อเดือน
  • เงินบำนาญ กรณีส่งเงินสมทบ 15 ปี 4,600 บาทต่อเดือน ส่วนกรณีส่งเงินสมทบ 25 ปี 8,050 บาทต่อเดือน


ที่มา https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=585237234191198&id=100081147782841

นิตยสารการท่องเที่ยวต่างประเทศ Let's Go with Traveloka

 


ดาวน์โหลด นิตยสารการท่องเที่ยวต่างประเทศ Let's Go with Traveloka ได้ฟรีที่ Link


28 พฤศจิกายน 2567

รีวิวประกันชีวิตแบบบำนาญ ซัมซุงแฮปปี้บำนาญ55 A100/10 (บำนาญแบบลดหย่อนได้)

ประกันชีวิตแบบบำนาญ ซัมซุงแฮปปี้บำนาญ55 A100/10 (บำนาญแบบลดหย่อนได้)

  • ซื้อ Online ได้ที่ URL: https://digital.samsunglife.co.th/digital-insurance/#/product-detail/8160
  • ชำระเบี้ย 10 ปี
  • ได้รับบำนาญตั้งแต่อายุ 55 ปี ไปจนถึง 100 ปี
  • คืนทุกค่อนข้างไว และได้รับเงินบำนาญไวกว่าหลายๆ บริษัท (ได้ตอน 55 ปี)
  • IRR ค่อนข้างสูง
  • ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาท
อายุ เพศ คืนทุนตอนกี่ปี IRR
35 ชาย 69 3.86%
35 หญิง 71 3.51%
40 ชาย 71 3.46%
40 หญิง 72 3.14%

25 พฤศจิกายน 2567

สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Reverse Mortgate) ธนาคารออมสิน

 


กรณีตัวอย่าง

  • สามี ภรรยา มีชื่อในโฉนดบ้าน และคนใดคนนึงอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • บ้าน ราคาประเมิน 1 ล้านบาท จะกู้ reverse mortgate ได้ 70%
  • จะได้เงิน 25 ปี ทุกเดือนเดือนละประมาณ 1,700 บาท
  • ถ้าอายุเกิน 85 ปี แล้วยังไม่เสียชีวิต ก็จะอยู่บ้านได้เรื่อยๆ จนกว่าจะเสียชีวิต
  • ถ้าคนใดเสียชีวิต อีกคนก็อยู่ได้เรื่อยๆ จนกว่าจะเสียชีวิต
  • หลัง 2 คนเสียชีวิต ทายาทมี 2 ทางเลือก
    • ถ้าอยากได้บ้าน ก็จ่ายเงินให้ธนาคารออมสิน
    • ถ้าไม่อยากได้บ้าน ธนาคารออมสินจะนำบ้านไปขาย แล้วถ้ามีเงินส่วนต่างก็จะนำเงินส่วนต่างมาให้ทายาท

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.gsb.or.th/personals/reverse-mortgage/

20 พฤศจิกายน 2567

บ้าน / คอนโด 2 ล้านบาท ผ่อนกี่ปีหมด


ตัวอย่างตารางการผ่อนบ้าน / คอนโด ราคา 2 ล้านบาท ว่ากี่ปีถึงจะผ่อนหมด (ถ้าใครมีบ้านถูกกว่าหรือแพงกว่า ก็เทียบสัดส่วนได้เลย)

ต้องการผ่อนกี่ปี ผ่อนเดือนละ (บาท) ดอกเบี้ยทั้งหมด (บาท)
10 19,871.00 384,519.86
15 14,396.07 591,292.23
20 11,702.23 808,535.04
30 9,092.91 1,273446.52

*สมมติฐาน ดอกเบี้ย 3.60% ถ้าใครกู้ได้ดอกถูกกว่านี้ยิ่งผ่อนหมดไวขึ้น
*ดอกเบี้ยลดหย่อนภาษีได้ สูงสุดปีละ 100,000 บาท

ที่มา App Loan (โหลดได้ฟรีทั้ง iPhone & Android)
















[Lets go with traveloka] นิตยสารการท่องเที่ยว โหลดฟรี ภาษาไทยและอังกฤษ

 



[Lets go with traveloka] นิตยสารการท่องเที่ยว โหลดฟรี ภาษาไทยและอังกฤษ link 

17 พฤศจิกายน 2567

โรงพยาบาลนนทเวช (NTV) หุ้นพื้นฐานดี ปันผลโอเค ราคาไม่แพง และมีสินทรัพย์แฝงสูง (hidden asset)



หุ้นโรงพยาบาลนนทเวช จำกัด (มหาชน) หรือ NTV เป็นหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลที่น่าสนใจพอสมควร
  • PE ไม่แพง 13.09 เท่า
  • ปันผลโอเค 4.60%
  • ROE โอเค 14.86 เท่า
  • หนี้ต่ำมาก DE 0.14 เท่า
*ข้อมูล ณ​วันที่ 18 พ.ย. 2024



ตัวโรงพยาบาลนั้นมีทำเลที่ค่อนข้างดี อยู่ติดกับห้าง The Mall งามวงศ์วาน รายล้อมไปด้วยหมู่บ้านและคอนโด (link) ลูกค้าส่วนใหญ่คือคนไทยในย่านงามวงศ์วาน ชื่อเสียงใช้ได้ และมีมาตรฐานระดับโลก JCI



นอกจากนั้นโรงพยาบาลนนทเวช (NTV) ยังมี hidden asset ที่น่าสนใจมาก (หุ้นทั้งหมด 160,000,000 หุ้น) คือ
  • ที่ดินเปล่า ถนนรัตนาธิเบศร์ 197.47 ลบ. หรือมูลค่า 1.23 บาทต่อหุ้น
  • เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 901.59 ลบ หรือมูลค่า 5.63 บาทต่อหุ้น
ถ้าบริษัทขายที่ดินถนนรัตนาธิเบศร์ และนำเงินทั้งหมดจ่ายให้ผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นจะได้รับปันผลพิเศษ 6.86 บาทต่อหุ้น หรือได้เงินปันผลพิเศษ 21% (ราคาหุ้นปัจจุบัน 32 บาท)

15 พฤศจิกายน 2567

สมุดสะสมสติ๊กเกอร์ Dragon Ball (Set 4)

 

































ดูสมุดสะสมสติ๊กเกอร์แบบอื่นๆได้ที่ link


ที่มา https://www.facebook.com/man5baht